ขั้นตอนการจัดฟัน แต่ละเดือน

1.ปรึกษาทันตแพทย์ เพื่อวางแผนการจัดฟัน โดยทันตแพทย์จะให้คำแนะนำ ข้อควรปฏิบัติ การดูแล รวมถึงพูดคุยรายละเอียดค่าใช้จ่ายทั้งหมด
2.พิมพ์ปากทำแบบจำลองฟัน เพื่อดูการสบฟัน โครงสร้างฟัน และเอกซเรย์ฟัน เพื่อดูลักษณะกระดูกขากรรไกร
3.ทำการเคลียร์ช่องปาก เช่น การขูดหินปูน การอุดฟัน และการถอนฟัน
4.ทำการติดเครื่องมือจัดฟันและนัดหมายมาพบเดือนละครั้ง เพื่อติดตามการเปลี่ยนแปลงและเปลี่ยนเครื่องมือ / ยางดึงฟัน
5.หมั่นดูแลรักษาและแปรงฟันให้สะอาดเป็นพิเศษ และขูดหินปูนเป็นประจำ ทุกๆ 6 เดือน
6.หลังจัดฟันเสร็จและถอดเครื่องมือแล้ว ทันตแพทย์จะให้ใส่รีเทนเนอร์ เพื่อคงสภาพตำแหน่งของฟันหลังการถอดลวดจัดฟันแล้ว

คนไข้จำนวนมากเข้ามาพบกับทันตแพทย์จัดฟันด้วยเหตุผลว่าจะได้ยิ้มอย่างมั่นใจ  การสบฟันที่ดีจะช่วยให้ฟันสวย โดยการลงทุนกับการจัดฟัน คุณจะได้รับรอยยิ้มที่สวยและช่วยเพิ่มความมั่นใจของคุณเอง

การจัดฟันไม่ได้ช่วยแค่เรื่องการสวยงามเท่านั้น ยังช่วยให้การสบฟัน ซึ่งส่งผลถึงการพูดและการเคี้ยวอีกด้วย

ช่วงที่ทำการปรึกษากับทันตแพทย์จัดฟัน คนไข้ยังสามารถสอบถามถึงการแก้ไขการสบฟันที่ผิดปกติได้ด้วย

หากฟันของคุณมีลักษณะดังต่อไปนี้ ควรพบหมอจัดฟันเพื่อให้คุณหมอจัดฟันวางแผนเพื่อการรักษา

1. ฟันยื่น (Protruding Upper Teeth)

หมายถึงระยะที่เหลื่อมกันในแนวดิ่งของขอบด้านตัดฟันซี่กลางบนและฟันตัดซี่กลางล่าง ค่าปกติของโอเวอร์ไบท์มีค่าระหว่าง 10 เปอร์เซ็นต์ ถึง 40 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งหมายถึงจำนวนเปอร์เซนต์ที่ฟันตัดซี่กลางบนสบเหลื่อมฟันตัดซี่กลางล่างในแนวดิ่ง

2. ฟันสบเปิด (Open Bite)

คือการสบฟันชนิดที่ฟันตัดบนสบไม่เหลื่อมหรือสบห่างฟันตัดล่างในแนวดิ่ง การสบเปิดจะแบ่งเป็นการโอเวอร์ไบท์สมบูรณ์ หมายถึง ฟันตัดบนและฟันตัดล่างสบกันสนิท และโอเวอร์ไบท์ไม่สมบูรณ์ หมายถึง ฟันหน้าบนและฟันหน้าล่างสบกันไม่สนิท

3. ฟันกัดคร่อม (Crossbite)

การสบปกติของฟันหลังในแนวขวาง หมายถึง ส่วนโค้งแนวฟันหลังบนกว้างกว่าส่วนโค้งแนวฟันหลังล่าง  แนวของปุ่มด้านแก้มของฟันหลังล่างสบอยู่แนวร่องกลางฟันของฟันหลังบน หรือปุ่มด้านแก้มของฟันหลังสบด้านแก้มต่อฟันหลังล่าง

การสบไขว้ในฟันหลัง หรือ ฟันหลังสบไขว้ อาจสบข้างเดียวหรือสบสองข้าง และแต่ละข้างอาจมีจำนวนฟันที่สบไขว้แตกต่างกัน

4. ฟันสบลึก (Over-jet or a Deep Bite)

โอเวอร์เจท หมายถึง ระยะห่างระหว่างจุดกึ่งกลางของขอบด้านตัดของฟันตัดซี่กลางบนกับจุดกึ่งกลางล่างในแนวระดับ ค่าโอเวอร์เจทของฟันน้ำนมคือ 0-4 มิลลิเมตร ค่าโอเวอร์เจทที่ผิดปกติได้แก่ การมีค่าโอเวอร์เจทเพิ่ม หรือโอเวอร์เจทลด

5. ฟันล่างคร่อมฟันบน (Underbite)

ฟันล่างครอมฟันบนเกิดจากขากรไกรที่ผิดปกติ อาจจะแก้ไขโดยการใช้เครื่องมือที่มีผลโดยตรงต่อการเจริญเติบโตของขากรรไกรตั้งแต่เด็ก คือ ควบคุมการเจริญเติบโตของกระดูกขากรรไกรล่าง หรือ กระตุ้นการเจริญเติบโตของขากรรไกรบน

6. ฟันห่าง (Spacing)

สภาวะที่มีช่องว่างระหว่างซี่ฟัน กรณีที่มีช่องว่างระหว่างฟันตัดบนแท้ซี่กลางเรียกว่า มิดไลน์ ไดแอสติมา ซึ่งอาจพบได้ในเด็กที่มีฟันตัดซี่กลางในระยะ อักลิ ดัคลิง คือ มีช่องว่างระหว่างฟันตัดบนแท้ซี่กลางร่วมกับฟันตัดบนซี่ข้างยื่นออกเล็กและเอียงไปทางด้านไกลกลาง เนื่องจากตำแหน่งของตัวฟันเขี้ยวบนอยู่ชิดกับรากฟันตัดซี่ข้างมาก และอาจพบช่องว่างระหว่างฟันชนิดที่พบได้ทั่วไปหรือพบได้เฉพาะที่

7. ฟันซ้อนเก (Crowding)

ฟันซ้อนเกเกิดจากการที่เนื้อที่ของสันเหงือกไม่เพียงพอกับเนื้อที่ของฟันที่ขึ้นอยู่ในช่องปาก หรือเกิดจากฟันขึ้นผิดตำแหน่ง ฟันซ้อนเกนั้นเกิดขึ้นได้ทั้งด้านด้านหลังและด้านหน้า ฟันซ้อนเกมีทั้งชนิดธรรมดาและชนิดซับซ้อน  สาเหตุของการซ้อนเกชนิดซับซ้อนต่างจากชนิดธรรมดาคือ มีความผิดปกติของกระดูกโครงสร้างร่วมด้วย

8. ฟันกัดเบี้ยว (Front Teeth Alignment )

ช่องว่างตรงกลางระหว่างฟันคู่หน้าระหว่างฟันล่างและฟันบนที่สวยงามควรจะมีตำแหน่งตรงกันและตรงกับปลายจมูก เมื่อตำแหน่งช่องว่างระหว่างฟันคู่หน้าบนและล่างไม่ตรงกันอาจเป็นไปได้ว่าตำแหน่งฟันซี่บนมีการเลื่อนจากตำแหน่งที่ควรเป็นหรือขากรรไกรล่างเบี้ยว นอกจากทำให้ฟันไม่สวยแล้วยังส่งผลต่อการสบฟันที่ไม่ถูกต้องอีกด้วย

หลังจากที่ได้ให้ดูตัวอย่างฟันในแบบต่างๆ แล้ว หวังว่าคนไข้จะสามารถพิจารณาได้นะครับว่าฟันตัวคนไข้เองมีฟันแบบไหนและจะต้องจัดฟันหรือไม่ อย่างไรรีบปรึกษาหมอจัดฟันนะครับ เพราะอายุของคนไข้มีผลต่อความสำเร็จในการจัดฟัน

จัดฟันใช้เวลานานแค่ไหน นั้นโดยปรกติแล้วการจัดฟันโดยทั่วไปจะใช้เวลาประมาณ 2 ปีครึ่ง – 3 ปี จากที่เคยนำประวัติคนไข้เก่าๆ ที่เคยทำรักษาด้วยตัวเองเสร็จสิ้นแล้วประมาณ 1,000 คน พบว่า 80% ระยะเวลาในการรักษาก็เท่ากับ 2 ปีครึ่ง – 3 ปี ถ้าตอบแค่นี้อาจจะยังไม่ทำให้หลายๆคนหายคาใจว่า แล้วอะไรบ้างที่เป็นเหตุให้การจัดฟันช้าหรือเร็ว เรามาดูในรายละเอียดกันครับว่า องค์ประกอบที่มีผลต่อระยะเวลาในการจัดฟันนั้นมีอะไรบ้าง

สาเหตุที่จะทำให้การรักษาเสร็จช้าเร็วประกอบด้วย


1.) ตัวคนไข้เอง

2.) ทันตแพทย์ผู้ให้การรักษา

3.) ตัวช่วยอื่นๆที่ช่วยให้ฟันเคลื่อนได้เร็วขึ้น

1.สาเหตุจากตัวคนไข้เองแบ่งออกเป็น


1.1) อายุของคนไข้

โดยปกติแล้วฟันจะเคลื่อนที่ได้เฉลี่ยประมาณ 1 m.m./เดือน ในเด็กจะมีการซ่อมสร้างกระดูกและการตอบสนองต่อการเคลื่อนฟันจะดีกว่า นอกจากนี้ยังเกิดผลข้างเคียงน้อยกว่าในผู้ใหญ่

1.2) ความร่วมมือของคนไข้

– มาทำการรักษาตามนัดหมาย

หมอไม่สามารถทำการรักษาได้เลยหากคนไข้ไม่มาหา การจัดฟันนั้นเป็นการรักษาที่ต้องใช้เวลาในการรักษายาวนาน กว่าการรักษาฟันชนิดอื่นๆ การไม่มาตามนัดหมายจะทำให้การรักษายืดเยื้อและยาวนานขึ้น ผลการรักษาที่ออกมาไม่ดี เท่าที่ควรจะเป็น เบื้องต้นที่ได้กล่าวว่าการรักษาโดยทั่วไปใช้เวลาประมาณ 2 ปีครึ่ง – 3 ปี นั้น ถ้าจะว่ารายละเอียดขึ้นคือ ใน 2 ปีครึ่ง -3 ปี นั้นควรมาพบทันตแพทย์เพื่อปรับเครื่องมือเดือนละ 1 ครั้ง เท่ากับ 30 – 36 ครั้ง

– ถ้าไม่มาตามนัดหมายจะเกิดอะไรขึ้นได้บ้าง

  • ฟันไม่ขยับ
  • ฟันขยับไปในตำแหน่งที่ไม่ได้ต้องการ ทำให้ต้องเสียเวลาในการดึงกลับหรือบางครั้งหมอก็ไม่สามารถแก้ไขให้ กลับมาอยู่ในตำแหน่งที่ดีเท่ากับการมาตามนัดหมายได้

 

– เครื่องมือหลุดบ่อย

Bracket หรือเครื่องมือที่ติดอยู่ที่ฟัน มีหน้าที่รับแรงจากลวดและยางไปสู่ตัวฟัน ถ้าเครื่องมือหลุดฟันจะไม่เคลื่อนที่ ไปในทิศทางของแรงที่หมอจัดฟันเป็นคนดึงหรือเคลื่อนที่ไปในทางอื่น เครื่องมือจัดฟันหลุด 1 ครั้ง จะทำให้ต้องเพิ่มการ รักษาขึ้น 2 เดือน หรือ 2 ครั้ง เพราะหลังจากที่ติดเครื่องมือแล้วต้องรอเวลาให้กาวแข็งตัวเต็มที่ ซึ่งหมอจัดฟันอาจจะยังไม่ สามารถให้แรงที่ฟัน หรือให้แรงฟันน้อยกว่าปกติในทันทีที่ติดเครื่องมือ

– เครื่องมือหลุดบ่อยเกิดจากอะไร

Bracket หรือเครื่องมือที่ติดอยู่ที่ตัวฟันนั้น หลังจัดฟันเสร็จเราจะต้องรื้อออก ดังนั้นแรงที่ยึดฟันจะต้องเพียงพอที่จะทนต่อแรงดึงของยางได้ และไม่แน่นเกินจนทำให้รื้อไม่ออก หรือรื้อเครื่องมือแล้วเนื้อฟันดีๆของเราต้องเสียหายไปด้วย ดังนั้นเราจะต้องระมัดระวังแรงที่มากเกินไปที่จะทำให้เครื่องมือของเราหลุด โดยหลีกเลี่ยง อาหารแข็ง เหนียว กรอบ เช่น กระดูกหมู ของทอดกรอบๆ ผักหรือผลไม้แข็งๆ ถ้าอยากทานควรจะหั่นเป็นชิ้นเล็กๆก่อน และไม่ใช้ฟันฉีกอาหาร

คนไข้บางคนฟันเตี้ยหรือกัดฟันลึกทำให้หลังจากติดเครื่องมือแล้วฟันกัดชนเครื่องมือ หมอจัดฟันอาจจะแก้ไขโดยใส่ เครื่องมือยกขากรรไกร ซึ่งจะทำให้คนไข้เคี้ยวอาหารไม่ถนัด หรือไม่ละเอียดในช่วงแรก โดยปกติจะใช้เวลาในการปรับตัว ประมาณ 2 สัปดาห์ ก็จะรู้สึกคุ้นเคยกับเครื่องมือยกขากรรไกร (รูปเครื่องมือยกขากรรไกร)

– หนังยางดึงฟันใช้ทำอะไร 

หนังยางดึงฟันหรือ elastic จะช่วยให้ฟันเลื่อนเข้าที่ได้รวดเร็ว ทันตแพทย์จะแนะนำวิธีใส่หนังยาง ทิศทางและตำแหน่งของหนังยางและระยะเวลาการใส่ ว่าใส่ตลอดเวลาหรือใส่เฉพาะบางเวลา ที่สำคัญก็คือ ควรเปลี่ยนหนังยางทุก 12-24 ชั่วโมง เพราะยางจะล้า หมดแรงดึงและควรใส่หนังยางคืนทันทีหลังรับประทานอาหารและหลังทำความสะอาดฟัน ถ้าใส่เป็นเวลานานอาจรู้สึกเจ็บๆหรือฟันโยกเล็กน้อย แต่ไม่ต้องกังวล เพราะถือเป็นอาการปกติ

จำไว้ว่า….การใส่หนังยางไม่สม่ำเสมอจะทำให้ฟันเลื่อนไปแล้วเลื่อนกลับ และถ้าตะขอที่เกี่ยวหนังยางบิดหรือหักให้ติดต่อทันตแพทย์ทันที

– การดูแลสุขภาพช่องปากทั่วไป

คนไข้จัดฟันจะมีเครื่องมือจัดฟันอยู่ในปาก ทำให้การแปรงฟันและการทำความสะอาดต้องละเอียดและพิถีพิถันมากกว่าคนทั่วไป ควรแปรงฟัน ใช้แปรงซอกฟันและไหมขัดฟัน ทุกครั้งหลังทานอาหาร การดูแลสุขภาพช่องปากไม่ดีจะทำให้ฟันผุ เหงือกอักเสบ เหงือกกร่น ฟันด่าง หลายๆครั้งต้องมีการถอดเครื่องมือออกเพื่อทำการรักษา ทำให้ใช้เวลาในการจัดฟันนานขึ้น

1.3) ความซับซ้อนในการรักษาของแต่ละบุคคล

การจัดฟันที่มีความยุ่งยากและซับซ้อน ร่างกายไม่ค่อยตอบสนองต่อการรักษาจะใช้เวลาในการรักษานานกว่าปกติ ซึ่งเคสเหล่านี้แม้คนไข้จะให้ความร่วมมือ มาปรับเครื่องมือสม่ำเสมอก็อาจจะยังใช้เวลาในการรักษามากกว่า 4-5 ปี ยิ่งถ้าไม่ค่อยให้ความร่วมมือในการรักษาอีก การรักษาก็จะไม่สำเร็จ หรือการหยุดการรักษาอาจจะเป็นทางออกทีดีที่สุด

ตัวอย่าง เคสจัดฟันที่ยุ่งยากซับซ้อน ได้แก่ 


จัดฟันร่วมกับการผ่าตัด เคสที่แนะนำว่าควรจัดฟันร่วมกับการผ่าตัด แต่ขอให้จัดฟันโดยไม่ผ่าตัดเท่าที่พอจะทำได้ ดึงฟันคุดฝังในกระดูก ดึงฟันหลังมาปิดช่องด้านหน้า

2.) ทันตแพทย์ผู้ให้การรักษา


หมอแต่ละคนมีความรู้ความสามารถและประสบการณ์ไม่เท่ากัน การวางแผนการรักษาการเลือกเครื่องมือแต่ละชิ้นตลอดจนเทคนิกในการรักษาส่วนบุคคล ล้วนแต่มีผลต่อความสำเร็จและระยะเวลาในการจัดฟัน ปัจจุบันเราสามารถตรวจสอบรายชื่อทันตแพทย์เฉพาะทางจัดฟันได้ ที่นี่

นอกจากนี้การพูดคุยกับเพื่อนหรือคนรู้จักที่มีประสบการณ์ทางการจัดฟัน ตลอดจนการดูผลงานที่ผ่านมาของหมอแต่ละคน จะทำให้เรามีความมั่นใจยิ่งขึ้นในการเลือกสถานที่ในการจัดฟัน

3.) ตัวช่วยอื่นๆที่ช่วยให้ฟันเคลื่อนได้เร็วขึ้น


ปัจจุบันได้มีการพยายามศึกษาวิจัย วิธีการต่างๆ ที่ช่วยให้ฟันเคลื่อนที่ได้เร็วขึ้น ไม่ว่าจะเป็น เครื่องฉายแสง (Laser LED) เครื่องกระตุ้นการเคลื่อนฟันโดยการสั่น และการกรอกระดูกเพื่อช่วยการเคลื่อนฟัน ในส่วนของเครื่องฉายแสง และกระตุ้นการเคลื่อนฟันโดยการสั่นนั้น คนไข้จะต้องใส่เครื่องมือประมาณ 20 นาที ถึง 2 ชม. ต่อวัน อัตราการเคลื่อนฟันเร็วขึ้นประมาณ 0-30% ซึ่งก็แล้วแต่การตอบสนองของร่างกายของแต่ละคน นอกจากนี้ในปัจจุบันราคาของเครื่องมือยังอาจจะสูงกว่าราคาจัดฟันแบบโลหะปกติ 


การกรอกระดูกเพื่อช่วยการเคลื่อนฟัน (Corticotomy) การกรอกระดูกเพื่อช่วยการเคลื่อนฟันนั้นทำขึ้นเพื่อลดความหนาแน่นของกระดูกรอบรากฟัน ช่วงที่มีการอักเสบ การหายของแผล และสร้างกระดูกใหม่ ฟันจะมีการเคลื่อนที่อย่าง รวดเร็วในเวลาประมาณ 3 เดือนหลังจากการกรอกระดูก จากนั้นความเร็วของการเคลื่อนฟันจะกลับมาสู่ระดับปกติ ในช่วงระยะเวลา 3 เดือน หลังจากกรอกระดูกนั้น ส่วนใหญ่คุณหมอจะนัดคนไข้บ่อยกว่าปกติจากเดือนละ 1 ครั้ง เป็นทุกๆ 2 สัปดาห์ เพื่อปรับแรง ข้อดีในการกรอกระดูกเพื่อช่วยการเคลื่อนฟันคือ เห็นผลชัดเจนเมื่อเทียบกับ 2 วิธีแรก ส่วนข้อเสีย คือ คนไข้อาจจะเจ็บแผลบ้างในช่วงแรก ในบางรายที่กระดูกบางอาจจะต้องมีการเติมกระดูกร่วมด้วย ระยะเวลาที่ฟัน เคลื่อนที่เร็วจำกัดอยู่ที่ประมาณ 3 เดือน หากต้องการให้ฟันเคลื่อนที่เร็วอีกก็จะต้องทำซ้ำ การกรอกระดูกเพื่อช่วยเคลื่อน ฟันนั้นส่วนใหญ่จะแนะนำให้ทำในคนไข้ที่การจัดฟันที่มีความยุ่งยากซับซ้อน เช่น ดึงฟันคุดในกระดูก ดึงฟันหลังมาปิดช่องฟันหน้า เป็นต้น

การจัดฟันจะใช้เวลานานแค่ไหนนั้นขึ้นอยู่กับเราว่าเข้ามารับการรักษาที่อายุเท่าไหร่ ให้ความร่วมมือในการรักษาดีมั้ย เลือกรักษากับหมอจัดฟันที่มีความรู้และประสบการณ์หรือไม่ ถ้าเรามีความเข้าใจเลือกเวลาและการรักษาที่เหมาะสม ผลการจัดฟันจะออกมาดี มีรอยยิ้มที่เป็นธรรมชาติ การสบฟันเป็นปกติและใช้เวลาในการรักษาไม่นาน

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ศัพท์ทางทหาร military words แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 พจนานุกรมศัพท์ทหาร ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง ไทยแปลอังกฤษ ประโยค lmyour แปลภาษา การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ประปาไม่ไหล วันนี้ ฝยก. ย่อมาจาก หยน ห่อหมกฮวก แปลว่า เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษาจีน ่้แปลภาษา onet ม3 การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 1 ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง ตตตตลก บบบย ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ เขียน อาหรับ แปลไทย เนื้อเพลง ห่อหมกฮวก แปลไทย asus zenfone 2e กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น การประปานครหลวง ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบภาษาอังกฤษ ม.ปลาย พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ชขภใ ชื่อเต็ม ร.9 คําอ่าน ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน นยน. ย่อมาจาก ทหาร บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ฝสธ. ย่อมาจาก มัดหัวใจเจ้าชายเย็นชา 2 ซับไทย มัดหัวใจเจ้าชายเย็นชา 2 เต็มเรื่อง ยศทหารบก เรียงลําดับ ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 รัชกาลที่ 10 ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คอร์ด