วัตถุประสงค์ของนโยบายการคลัง

นโยบายการคลัง (Fiscal Policy) 

นโยบายการคลัง คือ นโยบายเกี่ยวกับการใช้จ่ายและการหารายได้ของรัฐบาล นโยบายการคลังเป็นเครื่องมือสำคัญเครื่องมือหนึ่งในการทำงานของรัฐบาลเพื่อให้บรรลุเป้าหมายทางเศรษฐกิจที่ได้กำหนดไว้

วัตถุประสงค์ของนโยบายการคลัง

  1. ส่งเสริมการจัดสรรทรัพยากรระหว่างภาคเอกชนและภาครัฐบาลให้มีประสิทธิภาพ สามารถตอบสนองความต้องการของประชาชนได้ดี จัดสรรทรัพยากรในสัดส่วนที่ทำให้สังคมได้รับสวัสดิการและมีประสิทธิภาพสูงสุด รัฐสามารถจัดหาสินค้าและบริการสาธารณะ (Public goods and service) ในปริมาณและคุณภาพตรงกับความต้องการของประชาชน

  2. ส่งเสริมการกระจายรายได้ที่เป็นธรรม แต่ละกลุ่มจะได้รับประโยชน์และภาระที่เป็นธรรม นโยบายการคลังจะนำไปสู่การปรับปรุงการกระจายรายได้เบื้องต้นของประชาชนให้ทัดเทียมกัน

  3. เสริมสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ รัฐบาลสามารถใช้นโยบายการคลังเพิ่มการใช้จ่ายและขยายการลงทุนในภาครัฐโดยเฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนาด้านสาธารณูปโภคเพื่ออำนวยความสะดวกแก่การลงทุนและการผลิตของภาคเอกชน

  4. รักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ นโยบายการคลังสามารถใช้ในการสร้างเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ เสถียรภาพในตลาดเงิน และความสมดุลในบัญชีดุลการชำระเงินระหว่างประเทศ

เป้าหมายทางด้านเศรษฐกิจมหภาคของรัฐบาล เช่น

  • การเพิ่มระดับการจ้างงาน
  • รักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจภายในและภายนอกประเทศ

นโยบายคลังมี 2 ประเภทคือ 

  1. นโยบายการคลังแบบขยายตัว (expansionary fiscal policy) คือการที่รัฐบาลมีการใช้จ่ายมากกว่ารายได้ของรัฐบาลหรือการตั้งงบประมาณแบบขาดดุลซึ่งรัฐบาลมีความต้องการอัดฉีดเงินเข้าไปในระบบเศรษฐกิจ การใช้นโยบายการคลังแบบขยายตัวจะใช้เมื่อเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยหรือเกิดภาวะเงินฝืดและรัฐบาลต้องการกระตุ้นเศรษฐกิจให้เจริญเติบโต
  2. นโยบายการคลังแบบหดตัว (Contractionary Fiscal Policy)  คือการที่รัฐบาลมีการใช้จ่ายน้อยกว่ารายได้ของรัฐบาลคือการตั้งงบประมาณแบบเกินดุลรัฐบาลต้องการดึงเงินออกจากระบบเศรษฐกิจ รัฐบาลจะใช้นโยบายนี้เมื่อเกิดปัญหาเงินเฟ้อในระบบเศรษฐกิจและรัฐบาลต้องการชะลอการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ

นโยบายการคลังประกอบด้วย 

  1. การเก็บภาษีอากร
  2. การใช้จ่ายของรัฐบาล
  3. การก่อหนี้สาธารณะ
  4. การบริหารเงินคงคลัง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ในวิชาเศรษฐศาสตร์และรัฐศาสตร์ นโยบายการคลัง (อังกฤษ: fiscal policy) เป็นการใช้การเก็บรายได้ภาครัฐ (ภาษี) และรายจ่ายภาครัฐเพื่อส่งอิทธิพลต่อเศรษฐกิจของประเทศ การใช้รายได้และรายจ่ายภาครัฐเพื่อให้มีผลต่อตัวแปรเศรษฐกิจมหภาคนั้นพัฒนาขึ้นในช่วงหลังภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ เมื่อแนวทางจัดการเศรษฐกิจแบบปล่อยให้ทำไปแต่เดิมเสื่อมความนิยม นโยบายการคลังตั้งอยู่บนทฤษฎีของจอห์น เมย์นาร์ด เคนส์ นักเศรษฐศาสตร์ชาวบริติช ซึ่งมีทฤษฎีว่าการเปลี่ยนแปลงระดับการจัดเก็บภาษีและรายจ่ายของรัฐบาลมีอิทธิพลต่ออุปสงค์มวลรวมและระดับกิจกรรมทางเศรษฐกิจ นโยบายการเงินและการคลังเป็นยุทธศาสตร์สำคัญที่รัฐบาลและธนาคารกลางใช้เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ทางเศรษฐกิจ การใช้นโยบายทั้งสองร่วมกันทำให้องค์การดังกล่าวตั้งเป้าเงินเฟ้อและเพิ่มการจ้างงาน นอกจากนี้ ยังออกแบบมาเพื่อให้ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศเติบโตอย่างต่อเนื่องและอัตราว่างงานอยู่ใกล้กับอัตราธรรมชาติร้อยละ 4–5[1] จึงเป็นการส่อความว่านโยบายการคลังใช้เพื่อรกษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจในห้วงวัฏจักรธุรกิจ[2]

การเปลี่ยนแปลงระดับและองค์ประกอบของการเก็บภาษีอากรและรายจ่ายภาครัฐมีผลต่อตัวแปรเศรษฐกิจมหภาค ดังนี้

  • อุปสงค์มวลรวมและระดับกิจกรรมทางเศรษฐกิจ
  • การออมและการลงทุน
  • การกระจายรายได้
  • การจัดสรรทรัพยากร

อ้างอิง[แก้]

  1. Kramer, Leslie. "What Is Fiscal Policy?". Investopedia. Dotdash. สืบค้นเมื่อ April 26, 2019.
  2. O'Sullivan, Arthur; Sheffrin, Steven M. (2003). Economics: Principles in Action. Upper Saddle River, New Jersey: Pearson Prentice Hall. p. 387. ISBN 978-0-13-063085-8.

นโยบายการคลัง

   นโยบายการคลัง (Fiscal Policy)

         นโยบายการคลัง (Fiscal Policy) คือ นโยบายเกี่ยวกับการใช้จ่ายและรายได้ของรัฐ เป็นเครื่องมือสำคัญในการกำหนดแนวทาง เป้าหมาย และการดำเนินงานเพื่อให้บรรลุเป้าหมายทางเศรษฐกิจ นโยบายการคลังประกอบด้วย นโยบายภาษีอากร นโยบายด้านรายจ่าย นโยบายการก่อหนี้และบริหารหนี้สาธารณะ และนโยบายในการบริหารเงินคงคลัง

       วัตถุประสงค์ของนโยบายการคลัง

ประการที่ 1 ส่งเสริมการจัดสรรทรัพยากรระหว่างภาคเอกชนและภาครัฐบาลให้มีประสิทธิภาพ สามารถตอบสนองความต้องการของประชาชนได้ดี จัดสรรทรัพยากรในสัดส่วนที่ทำให้สังคมได้รับสวัสดิการและมีประสิทธิภาพสูงสุด รัฐสามารถจัดหาสินค้าและบริการสาธารณะ (Public goods and service) ในปริมาณและคุณภาพตรงกับความต้องการของประชาชน

ประการที่ 2 ส่งเสริมการกระจายรายได้ที่เป็นธรรม แต่ละกลุ่มจะได้รับประโยชน์และภาระที่เป็นธรรม นโยบายการคลังจะนำไปสู่การปรับปรุงการกระจายรายได้เบื้องต้นของประชาชนให้ทัดเทียมกัน

ประการที่ 3 เสริมสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ รัฐบาลสามารถใช้นโยบายการคลังเพิ่มการใช้จ่ายและขยายการลงทุนในภาครัฐโดยเฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนาด้านสาธารณูปโภคเพื่ออำนวยความสะดวกแก่การลงทุนและการผลิตของภาคเอกชน

ประการที่ 4 รักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ นโยบายการคลังสามารถใช้ในการสร้างเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ เสถียรภาพในตลาดเงิน และความสมดุลในบัญชีดุลการชำระเงินระหว่างประเทศ

นโยบายทางเศรษฐกิจ

นโยบายทางเศรษฐกิจ หมายถึง กิจกรรมทางเศรษฐกิจของบุคคลหรือคณะบุคคล โดยมีจุดมุ่งหมายทางเศรษฐกิจที่ได้ตั้งไว้

นโยบายทางเศรษฐกิจของรัฐ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังต่อไปนี้

   1. นโยบายการเงิน หมายถึง นโยบายที่เกี่ยวข้องกับการใช้มาตรการต่าง ๆ ในการกำหนดและ ควบคุมปริมาณเงินและสินเชื่อ ให้มีความเหมาะสมกับความต้องการและความจำเป็นของระบบเศรษฐกิจ ได้แก่ การรักษาเสถียรภาพของราคา การส่งเสริมให้มีการจ้างงานเพิ่มขึ้นการกระจายรายได้ที่เป็นธรรม การรักษาความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและการชำระเงินระหว่างประเทศ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

                 1) นโยบายการเงินแบบผ่อนคลาย เป็นการแก้ไขปัญหาเงินฝืดของรัฐบาล โดยใช้

เครื่องมือทางการเงินต่าง ๆ เพื่อเพิ่มปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจให้เหมาะสมกับภาวะทางเศรษฐกิจในขณะนั้น ซึ่งเป็น การเพิ่มอำนาจการซื้อให้ประชาชน เป็นการกระตุ้นให้เศรษฐกิจฟื้นตัว ทำให้ระดับราคาสินค้าสูงขึ้น จูงใจให้ ลงทุนเพิ่มขึ้น การจ้างงานก็จะเพิ่มขึ้น ผลผลิตเพิ่มจนรายได้ประชาชาติสูงขึ้น เป็นการแก้ไขปัญหาเงินฝืด

                2) นโยบายการเงินแบบเข้มงวดหรือแบบรัดตัว เป็นการแก้ไขปัญหาเงินเฟ้อของรัฐบาลโดยใช้เครื่องมือการเงินต่าง ๆ เพื่อลดปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจให้เหมาะสมกับภาวะเศรษฐกิจในขณะนั้น คือ ลดอำนาจการซื้อของประชาชนลง เป็นการแก้ปัญหาภาวะเงินเฟ้อ

   2. นโยบายการคลัง หมายถึง นโยบายการหารายได้และการวางแผนการใช้จ่ายของรัฐบาล นโยบายการคลัง เป็นเครื่องมือในการดำรงไว้ซึ่งเสถียรภาพของรายได้ในประเทศ เพราะผลจากการดำเนิน นโยบายการคลังของรัฐบาลจะส่งผลกระทบต่อสภาวะทางเศรษฐกิจของประเทศตามเป้าหมายหรือจุดประสงค์ของรัฐบาลที่วางไว้ มี 3 ประเภท ดังนี้

              1) นโยบายการคลังกับการเปลี่ยนแปลงรายได้ประชาชาติ การเก็บภาษีอากรและการใช้จ่าย ของรัฐบาลมีผลกระทบกับรายได้และค่าใช้จ่ายของประเทศ เพราะถ้ารัฐบาลเก็บภาษีในอัตราที่สูงทำให้ประชาชน มีรายได้ที่จะนำไปใช้จ่ายได้จริงมีจำนวนลดลง ทำให้การบริโภคของประชาชนลดลง ถ้ารัฐบาลเก็บภาษี ในอัตราที่ต่ำจะทำให้ประชาชนมีรายได้เหลืออยู่ในมือจำนวนมาก ประชาชนจะบริโภคเพิ่มมากขึ้น มีผลทำให้ รายได้ประชาชาติเพิ่มขึ้นด้วย

             2) นโยบายการคลังกับการแก้ปัญหาภาวะเงินเฟ้อ รัฐบาลใช้นโยบายการคลังแบบหดตัวเพื่อแก้ปัญหาภาวะเงินเฟ้อ โดยการเพิ่มอัตราภาษีและลดรายจ่ายของรัฐบาล เพื่อลดปริมาณเงินหมุนเวียน ในระบบเศรษฐกิจ ลดความต้องการบริโภคของประชาชนลงและลดรายจ่าย ของรัฐบาลทำให้ประชาชนมี รายได้ลดลง นโยบายนี้รัฐบาลต้องใช้งบประมาณแบบเกินดุล คือต้องทำให้รายรับสูงกว่ารายจ่าย

             3) นโยบายการคลังกับการแก้ปัญหาภาวะเงินฝืด รัฐบาลใช้นโยบายการคลังแบบขยายตัว เพื่อแก้ปัญหาภาวะเงินฝืด โดยการเพิ่มรายจ่ายของรัฐบาลและลดอัตราภาษี เพื่อเพิ่มปริมาณเงินหมุนเวียนใน ระบบเศรษฐกิจ เพิ่มความต้องการบริโภคของประชาชน เพิ่มการลงทุนเพิ่มการจ้างงานและผลผลิต ทำให้ประชาชนมีรายได้เพิ่มขึ้น นโยบายนี้รัฐบาลต้องใช้งบประมาณ แบบขาดดุล คือต้องทำให้รายจ่าย สูงกว่ารายรับ

รายรับของรัฐบาล หมายถึง เงินที่รัฐบาลได้รับในรอบปี ได้แก่ รายได้รัฐบาลและเงินกู้

ของรัฐบาล

   รายได้ของรัฐบาล หมายถึง เงินภาษีอากร กำไรจากรัฐวิสาหกิจ ค่าธรรมเนียมและรายได้เบ็ดเตล็ดอื่น ๆ ในรอบปี

รายได้ของรัฐบาลที่สำคัญ คือ รายได้จากภาษีอากรแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ1. รายได้จากภาษีอากร 2. รายได้ที่มิใช่ภาษีอากร รายได้จากภาษีอากร หมายถึง รายได้ที่รัฐบาลบังคับเก็บจากประชาชนผู้มีรายได้เพื่อ

ใช้จ่ายในกิจกรรมของรัฐบาลเพื่อก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมส่วนรวม และไม่มีผลตอบแทนโดยตรงจากผู้เสียภาษีอากร

    รายได้ที่มิใช่ภาษีอากร หมายถึง รายได้ที่รัฐบาลไปบังคับเก็บจากประชาชน เช่น รายได้เก็บ จากภาคหลวงป่าไม้ ภาคหลวงแร่ รายได้จากการรถไฟ การไฟฟ้า อุตสาหกรรมของรัฐ รายได้จากค่าธรรมเนียม จดทะเบียน การออกใบอนุญาตต่าง ๆ รายได้จากเงินช่วยเหลือจากต่างประเทศและรายได้ค่าปรับดอกเบี้ย เงินกู้ รายได้จากสลากกินแบ่งรัฐบาล ฯลฯ

     ภาษีอากร

   วัตถุประสงค์ของการจัดเก็บภาษีอากร

   1. เพื่อเป็นรายได้ของรัฐบาล ส่วนใหญ่มาจากภาษีอากร

   2. เพื่อจัดสรรและกระจายรายได้ โดยยึดหลักการเก็บภาษีจากผู้ที่มีรายได้มากในอัตราที่สูงและ ยกเว้นรายได้ในกรณีไม่ถึงเกณฑ์เสียภาษี

   3. เพื่อเป็นการควบคุมการบริโภค การผลิต ตลอดจนการนำเข้าและส่งออก

   4. เพื่อนำไปชำระหนี้ของรัฐบาลและพัฒนาประเทศ

   5. เพื่อรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ โดยการปรับอัตราภาษีให้เหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจ ใช้แก้ปัญหาภาวะเงินเฟ้อและภาวะเงินฝืด

     หลักการจัดเก็บภาษีที่ดี

    1. หลักความยุติธรรม หมายถึง บุคคลทุกคนต้องมีหน้าที่เสียภาษีจากรายได้ของตนเอง

    2. หลักความแน่นอน หมายถึง การกำหนดวิธีการปฏิบัติให้แน่นอน เพื่อให้ทุกคนถือปฏิบัติให้ เหมือนกัน เช่น อัตราการคำนวณภาษี วิธีการชำระภาษี ระยะเวลาในการชำระ ภาษี การจ่ายคืนภาษี ฯลฯ

    3. หลักความสะดวก หมายถึง การกำหนดให้ผู้เสียภาษีได้รับความสะดวกในการเสียภาษี

   4. หลักความประหยัด หมายถึง การคำนึงถึงค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บภาษีเมื่อเปรียบเทียบกับรายได้

   5. หลักความยืดหยุ่น หมายถึง การควบคุมภาวะเศรษฐกิจไม่ให้ตกต่ำหรือรุ่งเรืองจนเกินไป

     ประเภทของภาษีอากร

   1. การแบ่งตามลักษณะของฐานภาษี แบ่งออกเป็น 3 ชนิด ดังนี้

          1) การเก็บภาษีจากทรัพย์สิน ได้แก่ ภาษีที่ดิน ภาษีมรดก ภาษีทรัพย์สิน

          2) การเก็บภาษีจากการขายหรือใช้สิ่งของ ได้แก่ ภาษีการค้า ภาษีศุลกากร ภาษีสรรพสามิต ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT)

          3) การเก็บภาษีเงินได้จากผู้มีรายได้ ได้แก่ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาภาษีเงินได้นิติบุคคล

   2. การแบ่งตามหลักการผลักภาระภาษี แบ่งออกเป็น 2 ชนิด ดังนี้

         1) ภาษีทางตรง เป็นภาษีที่ผู้เสียภาษีไม่สามารถผลักภาระภาษีให้ผู้อื่นได้ เช่น ภาษีเงินได้ บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีทรัพย์สิน ภาษีมรดก ฯลฯ

         2) ภาษีทางอ้อม เป็นภาษีที่ผู้เสียภาษีอากรสามารถผลักภาระให้ผู้อื่นได้เช่น ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีศุลกากร ภาษีสรรพสามิต ฯลฯ

วัตถุประสงค์ของนโยบายการคลังมีอะไรบ้าง

วัตถุประสงค์หรือเป้าหมายของการคลังและนโยบายการคลังเป็นสิ่งเดียวกับเป้าหมายในการพัฒนาประเทศ ดังนี้ 1. เพื่อสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ (economic growth) 2. เพื่อรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจของประเทศ (economic stability) 3. เพื่อสร้างความเป็นธรรมทางเศรษฐกิจ (economic equity) หรือเพื่อให้เกิดการกระจายรายได้ และทรัพย์สิน ...

ข้อใดเป็นเป้าหมายสําคัญที่สุดของนโยบายการเงิน

กลยุทธ์การบริหารนโยบายการเงินที่ธนาคารกลางสามารถเลือกใช้เพื่อ ควบคุมหรือลดความร้อนแรงของระดับราคา ซึ่งถือเป็นเป้าหมายหลักที่ส าคัญมากที่สุดเป้าหมายหนึ่งของการดาเนิน นโยบายการเงิน ประกอบด้วย 4 แนวทางหลัก ได้แก่ ระบบผูกโยงค่าเงินในประเทศ ไว้กับเงินตราต่างประเทศ

นโยบายการคลังเรียกว่าอะไร

คือนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการหารายได้ และรายจ่ายของรัฐบาล รายได้ส่วนใหญ่ของรัฐบาลมาจากการเก็บภาษี (Tax) ประเภทต่าง ๆ เช่น ภาษีสรรพาสามิต ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคล เป็นต้น นโยบายการคลังเป็นเครื่องมือของรัฐบาลในการปรับสมดุลทางเศรษฐกิจอย่างหนึ่ง หรือที่เรียกว่าการรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ

นโยบายการคลัง มีแบบไหนบ้าง

ลักษณะของนโยบายการคลังแบ่งออกได้เป็นสองลักษณะคือ หนึ่งนโยบายการคลังแบบ อัตโนมัติ(Autonomic Change) และนโยบายการคลังแบบตั้งใจ (Discretionary Change) การก าหนด ลักษณะนโยบายการคลังของแต่ละประเทศต้องค านึงถึงบทบาทหน้าที่ของรัฐบาลที่แบ่งได้ เป็นสามประการ คือ หนึ่งช่วยให้การจัดสรรทรัพยากรมีความเป็นธรรม สองรักษาเสถียรภาพทาง ...

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ศัพท์ทางทหาร military words แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 พจนานุกรมศัพท์ทหาร ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง ไทยแปลอังกฤษ ประโยค lmyour แปลภาษา การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ประปาไม่ไหล วันนี้ ฝยก. ย่อมาจาก หยน ห่อหมกฮวก แปลว่า เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษาจีน ่้แปลภาษา onet ม3 การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 1 ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง ตตตตลก บบบย ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ เขียน อาหรับ แปลไทย เนื้อเพลง ห่อหมกฮวก แปลไทย asus zenfone 2e กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น การประปานครหลวง ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบภาษาอังกฤษ ม.ปลาย พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ชขภใ ชื่อเต็ม ร.9 คําอ่าน ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน นยน. ย่อมาจาก ทหาร บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ฝสธ. ย่อมาจาก มัดหัวใจเจ้าชายเย็นชา 2 ซับไทย มัดหัวใจเจ้าชายเย็นชา 2 เต็มเรื่อง ยศทหารบก เรียงลําดับ ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 รัชกาลที่ 10 ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คอร์ด