ประจําเดือนไม่มา2เดือน

  • ไทย
    • English
    • 中文 (中国)
  • ติดต่อเรา
    • @beyondivf
    • Facebook Messenger
    • โทร +66991090022
    • ขอเส้นทาง

Skip to content

  • หน้าแรก
  • บริการของเรา
    • รักษาปัญหามีบุตรยาก
    • ปรึกษามีบุตรยาก ฟรี!!
    • เด็กหลอดแก้ว IVF
    • ทำอิ๊กซี่ ICSI (โอกาสสำเร็จสูง)
    • IUI การฉีดเชื้ออสุจิเข้าสู่โพรงมดลูก
    • ฝากไข่
    • ตรวจอสุจิ
    • ตรวจและฝากครรภ์
    • ตรวจและป้องกันมะเร็งปากมดลูก
  • ทีมแพทย์
    • นายแพทย์พูนศักดิ์ สุชนวณิช (หมอต้น)
    • แพทย์หญิงกิตติยา ดีวงกิจ (หมอตาล)
  • เคสสำเร็จ
  • โปรโมชั่น
    • อิ๊กซี่ ICSI ราคา
    • ฝากไข่ ราคา
    • IUI ราคา
    • ตรวจอสุจิ ราคา
  • ข่าวสารและกิจกรรม
    • ข่าวสาร
    • กิจกรรม
    • รวม VDO Youtube ให้ความรู้
  • เกี่ยวกับเรา

ประจำเดือนขาด มาไม่ปกติ สาเหตุเกิดจากอะไร บอกอะไรได้บ้าง?

ประจำเดือนขาด มาไม่ปกติ สาเหตุเกิดจากอะไร บอกอะไรได้บ้าง?

ประจำเดือนขาด

ภาวะขาดประจำเดือน (Amenorrhea) คือ ภาวะใดภาวะหนึ่งที่ทำให้ไม่มีเลือดประจำเดือนออกมาตามปกติ หากประจำเดือนขาดหายไป 3 เดือน จะเรียกว่า ภาวะขาดประจำเดือน แต่ถ้าประจำเดือนขาดไป 1-2 เดือนจะเรียกว่า ภาวะประจำเดือนมาช้ากว่าปกติ ซึ่งมักพบบ่อยในผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์ โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่มคือ ภาวะขาดประจำเดือนตั้งแต่แรกสาว และภาวะขาดประจำเดือนที่เคยมีประจำเดือนและขาดหายไป

ลักษณะของรอบเดือนปกติ

โดยทั่วไปแล้ว ลักษณะของประจำเดือนปกติ มีดังนี้

  • ประจำเดือนมักมีสีแดง ไม่มีลิ่มเลือดหรือชิ้นเนื้อปน บางครั้งประจำเดือนอาจออกมาพร้อมกับตกขาวหรือมูกไข่ตกจึงดูเป็นก้อนได้แต่ไม่มีอันตรายใดๆ
  • ประจำเดือนมักมาไม่เกิน 7 วันต่อรอบ และมาเพียง 1 รอบต่อเดือน แต่ในบางครั้ง หากมีประจำเดือนในช่วงต้นเดือน อาจจะมีประจำเดือนอีกครั้งในช่วงวันท้ายๆของเดือนได้
  • โดยเฉลี่ยแล้ว แต่ละรอบประจำเดือนจะห่างกัน 28 วัน แต่สามารถเป็นได้ตั้งแต่ 21 ถึง 35 วัน โดยในแต่ละคนควรมีประจำเดือนที่สม่ำเสมอในทุกๆ เดือน อย่างไรก็ตามในช่วงปีแรกๆ ที่เริ่มมีประจำเดือนหรือในวัยใกล้หมดประจำเดือนอาจจะมาไม่สม่ำเสมอได้
  • ปริมาณประจำเดือนที่ปกตินั้นไม่ควรเกิน 80 ซีซี โดยค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 35 ซีซีต่อรอบ เทียบได้กับผ้าอนามัยประมาณ 3-4 ผืนต่อวัน

ประจำเดือนขาดแบ่งเป็น 2 ประเภท

ภาวะประจำเดือนขาดนั้นสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท ได้แก่

ประจำเดือนขาดแบบปฐมภูมิ

ภาวะขาดประจำเดือนปฐมภูมิ (Primary Amenorrhea) คือ ภาวะที่ไม่เคยมีประจำเดือนเมื่ออายุถึง 15 ปี วัยรุ่นผู้หญิงมักเริ่มมีรอบเดือนในช่วงอายุระหว่าง 9-18 ปี โดยทั่วไปแล้วมักเริ่มมีรอบเดือนเมื่ออายุ 12 ปี

ประจำเดือนขาดแบบทุติยภูมิ

ภาวะขาดประจำเดือนทุติยภูมิ (Secondary Amenorrhea) คือภาวะที่ประจำเดือนขาดไปอย่างน้อย 3 เดือน ภาวะขาดประจำเดือนทุติยภูมิถือเป็นภาวะขาดประจำเดือนที่พบได้บ่อย

ประจำเดือนขาด เกิดจากสาเหตุใด

ซึ่งสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะประจำเดือนขาดนั้นมีหลากหลาย ได้แก่

1. การตั้งครรภ์

หากประจำเดือนขาดหายไป การตั้งครรภ์มักเป็นสาเหตุที่พบบ่อย และเป็นสาเหตุที่คนส่วนใหญ่จะสงสัยเป็นสาเหตุแรกๆ ซึ่งหากอยู่ในวัยเจริญพันธุ์ และมีพฤติกรรมการมีเพศสัมพันธ์อยู่แล้วในช่วงก่อนประจำเดือนขาด อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้ประจำเดือนขาด ซึ่งถือว่าไม่ใช่ความผิดปกติ สามารถตรวจเบื้องต้นได้เอง โดยใช้ที่ตรวจครรภ์ตรวจจากปัสสาวะ หรือไปพบแพทย์เพื่อทำการตรวจครรภ์เพื่อให้ได้ผลยืนยันชัดเจน

2. ความเครียดสะสม

ความเครียด ความวิตกกังวล อาจทำให้ประจำเดือนมาผิดปกติ ประจำเดือนอาจขาดหายไปได้ทีหลายๆ เดือน เนื่องจากความเครียดมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของการหลั่งฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับการเจริญพันธุ์และการมีประจำเดือนนั่นเอง

3. น้ำหนักตัวที่สูงหรือต่ำกว่ามาตรฐาน

น้ำหนักตัวที่เพิ่มหรือลดมากเกินไป อาจทำให้เกิดอาการประจำเดือนไม่มาหรือมาไม่ปกติได้ โดยเฉพาะเมื่ออดอาหาร หรือลดน้ำหนักเร็วเกินไป อาจทำให้ไม่มีสารอาหารไปกระตุ้นการผลิตฮอร์โมนที่ทำให้ไข่ตก ส่วนคนที่มีน้ำหนักตัวมากเกินไปหรืออ้วนมาก จะทำให้ร่างกายผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจนมาก ซึ่งส่งผลต่อรอบเดือน และทำให้ประจำเดือนไม่มา

4. การใช้ยาคุมกำเนิด

ผู้ที่รับประทานยาคุมกำเนิดอาจมีประจำเดือนมาน้อย มามาก มาไม่สม่ำเสมอ หรือไม่มาเลย โดยยาคุมกำเนิดชนิดที่มีฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนอย่างเดียว ยาคุมแบบฉีด หรือห่วงอนามัยชนิดที่มีฮอร์โมนอาจส่งผลให้ประจำเดือนไม่มาได้ อย่างไรก็ตาม หากหยุดใช้ยาคุมแล้ว จะกลับมามีประจำเดือนตามปกติ 

5. ผลข้างเคียงจากตัวยาบางชนิด

การรับประทานยาบางตัว เช่น ยารักษาโรคซึมเศร้า ยาต้านอาการทางจิต ยารักษาโรคไทรอยด์ ยากันชัก หรือการรักษาโดยใช้เคมีบำบัด ยารักษาความดันโลหิตสูง ก็อาจส่งผลให้ประจำเดือนไม่มาหรือมาไม่ปกติได้

6. การเข้าสู่วัยทอง

วัยทองหรือวัยหมดประจำเดือนถือเป็นความเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติที่เกิดขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น มักเกิดขึ้นกับผู้ที่มีอายุระหว่าง 45-55 ปี ประจำเดือนจะเริ่มขาดเมื่อเข้าสู่วัยทอง เนื่องจากระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนเริ่มลดลง ทำให้ไข่ตกไม่สม่ำเสมอ เมื่อเลยวัยทองแล้ว รอบเดือนจะหยุดมา

ประจำเดือนขาดอาจเป็นสัญญาณของโรค

อย่างไรก็ตาม ภาวะประจำเดือนขาดอาจสามารถเป็นสัญญาณเตือนของโรคต่างๆ ได้เช่นกัน โดยโรคที่พบได้บ่อย มีดังนี้

โรคถุงน้ำในรังไข่หลายใบ (PCOS)

โรคถุงน้ำในรังไข่หลายใบ (Polycystic Ovary Syndrome) หรือที่รู้จักกันในชื่อ PCOS คือ ความผิดปกติของต่อมไร้ท่อหรือ ฮอร์โมนในร่างกายมีระดับเอสโตรเจน โปรเจสเตอโรน แอนโดรเจน และอินซูลินที่ไม่สมดุล เป็นสาเหตุของภาวะมีบุตรยากที่พบได้บ่อยที่สุดในผู้หญิงวัยเจริญ 

โดยจะพบช็อกโกแลตซีสต์หรือถุงน้ำหลายใบในรังไข่ เมื่อซีสต์หรือถุงน้ำเข้าไปเบียดรังไข่ส่งผลให้การทำงานของรังไข่ผิดปกติ จะส่งผลให้ประจำเดือนมาน้อย หรือมาไม่ปกติ

ภาวะรังไข่เสื่อมก่อนกำหนด (Premature Ovarian Failure)

ภาวะรังไข่เสื่อมก่อนกำหนด (Premature Ovarian Failure) คือภาวะที่หมดประจำเดือนก่อนอายุครบ 40 ปี สาเหตุของภาวะนี้เกิดจากการผ่าตัดศัลยกรรม การทำเคมีบำบัด และการฉายรังสีบริเวณท้องหรืออุ้งเชิงกราน

อาการเตือนประจำเดือนขาด มาไม่ปกติ

โดยทั่วไปแล้ว หากมีอาการประจำเดือนขาดหรือประจำเดือนไม่มาเป็นเวลา 1 เดือน อาจยังไม่น่าเป็นกังวลมากนัก สาเหตุอาจเกิดได้จากความเครียดสะสม พฤติกรรมการทานอาหารที่แตกต่างไปจากเดิม เช่น การทานอาหารน้อยลง สารอาหารที่ได้รับไม่เพียงพอ ไปจนถึงการออกกำลังกายอย่างหักโหมมากเกินไป

อย่างไรก็ตาม หากประจำเดือนยังคงไม่มาอย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 3 เดือน หรือ 3 รอบขึ้นไป โดยไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด แนะนำให้รีบเข้าพบแพทย์เพื่อปรึกษา วินิจฉัย และเข้ารับการรักษาต่อไป

 อาการประจำเดือนขาดที่ควรเข้าพบแพทย์

หากมีอาการดังต่อไปนี้ ควรไปพบคุณหมอเพื่อรับคำปรึกษาและการวินิจฉัยทันที 

  • เป็นไข้ ครั่นเนื้อครั่นตัว
  • คลื่นไส้ อาเจียน
  • ประจำเดือนมามากกว่าปกติ
  • ประจำเดือนมานานเกินกว่า 7 วัน
  • มีเลือดออกจากช่องคลอดเมื่อถึงวัยหมดประจำเดือน หรือไม่มีประจำเดือนมาแล้วเป็นเวลาหนึ่งปี

การตรวจวินิจฉัยอาการประจำเดือนขาด

เมื่อเข้าพบแพทย์ แพทย์จะมีวิธีการวินิจฉัยอาการประจำเดือนขาดเบื้องต้น ดังนี้

  • แพทย์จะซักประวัติเบื้องต้น โดยเฉพาะประวัติทางสูตินรีเวช ได้แก่ ประวัติการตั้งครรภ์ ประวัติการคุมกำเนิด ประวัติการตรวจภายในและตัดกรองมะเร็งปากมดลูก รวมถึงประวัติประจำเดือนย้อนหลัง
  • ตรวจเลือด แพทย์ตรวจเลือดเพื่อดูระดับฮอร์โมนในร่างกาย โดยจะดูฮอร์โมนโพรแลกติน (Prolactin) ลูทิไนซิงฮอร์โมน (Luteinizing Hormone) และฟอลลิเคิลสติมิวเลติงฮอร์โมน (Follicle Stimulating Hormone: FSH) หรือฮอร์โมนเอฟเอสเอช ซึ่งล้วนแต่เป็นฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับรอบเดือนผู้หญิง แพทย์จะวินิฉัยหาสาเหตุของอาการประจำเดือนไม่มาจากระดับฮอร์โมนเหล่านี้
  • การอัลตราซาวด์ แพทย์จะตรวจอัลตร้าซาวด์รังไข่และมดลูก เพื่อหาความผิดปกติที่เกิดขึ้นภายในอวัยวะดังกล่าว โดยใช้คลื่นเสียงความถี่สูงประมวลภาพสแกนอวัยวะภายในร่างกายออกมา

แนวทางการรักษาเมื่อประจำเดือนขาด

สำหรับแนวทางการรักษาภาวะประจำเดือนขาด มีดังนี้

การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

  • ออกกำลังกายเป็นประจำ แต่ควรเลือกการออกกำลังกายที่ไม่หนักจนเกินไป เพราะการออกกำลังกายหนักหรือต้องใช้แรงมากเกินไปก็ส่งผลต่อความผิดปกติของประจำเดือนได้ แนะนำเป็นการออกกำลังกายแบบคาร์ดิโอครั้งละ 20-30 นาที สัปดาห์ละ 3-5 ครั้ง 
  • กินอาหารให้ครบ 5 หมู่ โดยเลือกกินไขมันประเภทไขมันดี เช่น ปลาแซลมอน ทูน่า หรือวอลนัท และเลือกกินโปรตีนที่มีไขมันต่ำ เช่น เนื้อปลา เนื้อไก่ไม่ติดมัน ควบคู่กับการกินอาหารที่มีไฟเบอร์สูง เช่น ผัก ผลไม้ หรือโฮลเกรน
  • ลดความเครียด เพราะเมื่อเกิดความเครียด ร่างกายจะหลั่งสารที่ส่งผลทำให้ประจำเดือนแปรปรวน
  • ให้ความสำคัญกับการนอน ไม่ใช่แค่นับจำนวนชั่วโมงการนอนให้เพียงพอ แต่ควรปรับเวลาการนอนใหม่ เป็นเข้านอนประมาณ 4 ทุ่ม ตื่น 6 โมงเช้า จะทำให้ไม่มีอาการง่วงหรือเพลียระหว่างวัน
  • ควบคุมน้ำหนักในอยู่ในเกณฑ์ น้ำหนักตัวที่น้อยไปก็จะส่งผลต่อการสร้างฮอร์โมนที่มีความจำเป็นในกระบวนการตกไข่ ส่วนน้ำหนักตัวที่มากเกินไปก็ทำให้ประจำเดือนขาดหรือมาไม่สม่ำเสมอได้ 

การรักษาด้วยการใช้ยา

กินยาฮอร์โมนเสริม หากเกิดจากสาเหตุเช่น ผอมเกินไป อ้วนเกินไป ซึ่งเป็นสาเหตุที่ไม่ใช่ความผิดปกติหรือเกี่ยวกับโรคภัยไข้เจ็บ เบื้องต้นเพื่อให้ประจำเดือนมาปกติ คุณหมออาจจ่ายยาฮอร์โมน ซึ่งเป็นตัวยาเดียวกับยาเลื่อนประจำเดือนที่เราคุ้นเคย 

ซึ่งเมื่อกินยาแล้ว จะทำให้ประจำเดือนมาได้ โดยอาจให้กินยาเป็นประจำในช่วงเดียวกันของทุกๆ เดือน ประมาณ 6 เดือน เพื่อให้ประจำเดือนมาปกติ ให้เยื่อบุโพรงมดลูกหลุดลอกออกมา และหลังจากนั้นให้ลองดูว่าประจำเดือนมาได้เองโดยไม่จำเป็นต้องกินยาหรือไม่

การผ่าตัดตามสาเหตุของประจำเดือนขาด

ในบางกรณีผู้ป่วยอาจจำเป็นต้องเข้ารักษาด้วยวิธีการผ่าตัด เช่น มีปัญหาต่อมหมวกไตแต่กำเนิด ภาวะรังไข่ไม่เจริญเต็มที่ ต่อมไทรอยด์สร้างฮอร์โมนลดลง มีเนื้องอกในมดลูก เป็นต้น

ภาวะประจำเดือนขาดกับปัญหาผู้มีบุตรยาก

การที่ประจำเดือนขาดหรือมาไม่ปกติ ถือว่ามีความผิดปกติเกี่ยวกับการตกไข่ หรือที่เรียกว่า ภาวะไข่ไม่ตก เมื่อไม่มีการตกไข่เกิดขึ้น รังไข่จะไม่สามารถสร้างฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนได้ ทำให้เยื่อบุโพรงมดลูกหนาตัวขึ้นเรื่อยๆ การหลุดลอกของเยื่อบุโพรงมดลูกจึงไม่เกิดเป็นรอบๆ เหมือนจากการมีประจำเดือนปกติ 

และเมื่อประจำเดือนขาดหรือมาไม่ปกติก็เท่ากับว่าภาวะการตกไข่ก็ไม่ปกติ เพราะฉะนั่นเมื่อไม่มีการตกไข่เกิดขึ้นก็ทำให้ไม่สามารถมีลูกได้และเข้าข่ายเป็นผู้มีบุตรยากในที่สุด

การป้องกันภาวะประจำเดือนขาด

ภาวะขาดประจำเดือน เนื่องจากสาเหตุธรรมชาติ อย่างการตั้งครรภ์หรือการลดลงของฮอร์โมนเมื่อเข้าสู่วัยทอง ไม่สามารถป้องกันได้ หากไม่ได้ตั้งครรภ์แต่ประจำเดือนไม่มาหรือมาไม่ปกติก็สามารถดูแลร่างกายเพื่อป้องกันการขาดของประจำเดือนได้ เช่น

  • หลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่ทำให้เครียด โดยอาจหาเวลาว่างไปเที่ยว ดูหนัง ฟังเพลง
  • พักผ่อนให้เพียงพออย่างน้อย 7-9 ชั่วโมงต่อวัน
  • เลือกรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่และเหมาะสม
  • รักษาน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานไม่อ้วนไม่ผอมจนเกินไป
  • หลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพ เช่น งดสูบบุหรี่ งดดื่มแอลกอฮอล์ งดเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เป็นต้น
  • ออกกำลังกายสม่ำเสมอ แต่ไม่ควรออกกำลังกายแบบหักโหมมากจนเกินไป

คำถามที่พบบ่อย

ประจำเดือนขาดแต่ไม่ท้อง เกิดจากอะไร?

ปัจจัยในการใช้ชีวิต เช่น ความเครียด การขาดสารอาหาร ดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนมากเกินไป ส่งผลให้ประจำเดือนมาไม่ปกติ หรือประจำเดือนขาดได้ นอกจากนี้การออกกำลังกายหักโหมมากเกินไป การทำงานกะดึก ก็สามารถส่งผลต่อการมีประจำเดือนได้เช่นกัน

ประจำเดือนสามารถขาดได้นานสุดกี่วัน?

โดยปกติประจำเดือนจะมาทุกๆ 21-35 วัน แต่บางครั้งอาจมาเร็วหรือมาช้ากว่ารอบเดือนปกติประมาณ 3-7 วัน ซึ่งประจำเดือนเลื่อนอาจขึ้นอยู่กับหลายปัจจัยที่ส่งผลให้ประจำเดือนมาเร็วหรือมาช้ากว่าปกติ

ข้อสรุป

ภาวะประจำเดือนขาด หรือประจำเดือนมาไม่ปกติ คือ ภาวะใดภาวะหนึ่งที่ทำให้ไม่มีเลือดประจำเดือนออกมาตามปกติ หากประจำเดือนขาดหายไป 3 เดือน จะเรียกว่า ภาวะขาดประจำเดือน แต่ถ้าประจำเดือนขาดไป 1-2 เดือนจะเรียกว่า ภาวะประจำเดือนมาช้ากว่าปกติ 

ซึ่งสาเหตุมักเกิดจาก การตั้งครรภ์ ความเครียดสะสม น้ำหนักตัวที่มากหรือน้อยเกินไป การใช้ยาคุมกำเนิด ผลข้างเคียงจากยาบางชนิด การเข้าสู้วัยทอง โดยการที่ประจำเดือนขาดอาจเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงโรคถุงน้ำในรังไข่หลายใบ หรือ Polycystic Ovary Syndrome (PCOS) ภาวะรังไข่เสื่อมก่อนกำหนด (Premature Ovarian Failure) และเป็นสาเหตุหลักๆ ที่ทำให้เข้าสู่ภาวะผู้มีบุตรยาก 

หากท่านไหนมีอาการผิดปกติ เช่น เป็นไข้ อาเจียน ประจำเดือนขาด ประจำเดือนมานานกว่า 7 วัน ควรรีบพบแพทย์เพื่อตรวจสาเหตุและหาแนวทางในการรักษา ทั้งนี้หากมีข้อสงสัยสามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ Line : @beyondivf

adminnerd2022-08-20T13:59:04+07:00

นัดวันปรึกษาแพทย์

© MKC IVF CO., LTD. 2020 All rights reserved.

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณเองได้โดยการคลิกตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยการเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด

จัดการความเป็นส่วนตัว

  • ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหาให้เหมาะสมกับความสนใจของคุณ หากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาให้ตรงกับความสนใจของคุณได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า

เพื่อเก็บความยินยอมของ User

ใช้สำหรับเก็บจำนวนผู้เข้าชมไปยัง Google Analytic

คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

ใช้สำหรับเก็บข้อมูลไปยัง Facebook Pixel และ Google Ads

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ศัพท์ทางทหาร military words แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 พจนานุกรมศัพท์ทหาร ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง ไทยแปลอังกฤษ ประโยค lmyour แปลภาษา การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ประปาไม่ไหล วันนี้ ฝยก. ย่อมาจาก หยน ห่อหมกฮวก แปลว่า เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษาจีน ่้แปลภาษา onet ม3 การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 1 ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง ตตตตลก บบบย ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ เขียน อาหรับ แปลไทย เนื้อเพลง ห่อหมกฮวก แปลไทย asus zenfone 2e กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น การประปานครหลวง ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบภาษาอังกฤษ ม.ปลาย พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ชขภใ ชื่อเต็ม ร.9 คําอ่าน ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน นยน. ย่อมาจาก ทหาร บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ฝสธ. ย่อมาจาก มัดหัวใจเจ้าชายเย็นชา 2 ซับไทย มัดหัวใจเจ้าชายเย็นชา 2 เต็มเรื่อง ยศทหารบก เรียงลําดับ ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 รัชกาลที่ 10 ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คอร์ด