งานวิทยาศาสตร์เมืองทอง 2564

“ศิลปะ วิทยาศาสตร์และนวัตกรรมเพื่อสังคมที่ยั่งยืน (Art – Science – Innovation for Sustainable Society)”

ในรูปแบบ On-Site Event ที่ชวนคุณก้าวสู่ประสบการณ์ความรู้ และจินตนาการที่หลากหลาย โดยภายในงานได้เนรมิตโลกวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี มาให้กับเยาวชน และประชาชนไทยได้รับชมกันอย่างจุใจ ซึ่งเป็นงานที่จะเนรมิตแรงบันดาลใจของเด็ก ๆ ด้วยวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีอย่างอลังการ ภายใต้แนวคิด “ศิลปะ วิทยาศาสตร์และนวัตกรรมเพื่อสังคมที่ยั่งยืน”
(Art – Science – Innovation for Sustainable Society) พร้อมรับชมการถ่ายทอดนิทรรศการ และกิจกรรมตลอดวัน ในรูปแบบ Online Event บนช่องทางออนไลน์ อาทิ Facebook, Youtube และ Web Platform ในชื่อ nstfair และพบกับการ LIVE สด แนะนำนิทรรศการภายในงาน

พบกับ 5 นิทรรศการไฮไลต์ จากกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดยองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) พร้อมด้วยภาคี เครือข่ายหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ทั้งใน และต่างประเทศที่เกี่ยวข้อง งานมหกรรมวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่งชาติ ประจำปี 2565 หรือ NSTFair Thailand 2022 ในปีนี้จัดขึ้นภายใต้แนวคิด “ศิลปะ วิทยาศาสตร์ และนวัตกรรมเพื่อสังคมยั่งยืน”
(Art – Science – Innovation and sustainable society) เพื่อร่วมเทิดพระเกียรติพระราชบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหามงกุฎ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระสยามเทวมหามกุฏวิทยมหาราช รวมถึงพระบิดาแห่งเทคโนโลยีไทย
และพระบิดาแห่งนวัตกรรมไทย พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร

ภายในงานมีการรวบรวมผลงานวิจัย พัฒนาความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี นวัตกรรมที่ทันสมัย จัดแสดงไว้อย่างยิ่งใหญ่ตระการตา ควบคู่กับการจัดงานทางออนไลน์ เปิดโอกาสให้คุณผู้ชมมีส่วนร่วม (Interactive Exhibition) โดยเน้นหัวข้อที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม พร้อมทั้งส่งเสริม สนับสนุน และสร้างเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ หวังกระตุ้นความเข้าใจแก่เด็ก และเยาวชนไปจนถึงประชาชนทั่วไป ให้เกิดความสนใจ ต่อยอดพัฒนางานวิจัย สร้างสรรค์นวัตกรรมสิ่งใหม่ๆ นำไปใช้ในการขับเคลื่อนวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีให้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของโลก ยกคุณภาพชีวิต เพิ่มมูลค่าเศรษฐกิจภายในประเทศ ตลอดจนการคิดค้นพัฒนาเทคโนโลยีที่เป็นประโยชน์ สู่การพัฒนาแห่งสหัสวรรษไปสู่เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนในประเทศไทย

สำหรับทั้ง 5 นิทรรศการหลักที่จัดแสดง นำเสนอประเด็นด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี นวัตกรรม งานวิจัยที่กำลังอยู่ในความสนใจของสังคม ที่มีความสำคัญและมีผลกระทบต่อความเป็นอยู่ ไปจนถึงการพัฒนาประเทศในอนาคต ประกอบด้วย นิทรรศการเทิดพระเกียรติ ( The Royal Pavilion), นิทรรศการแก้วเปลี่ยนโลก (Through the Looking Glass), นิทรรศการนวัตกรรมวันรุ่ง (Tomorrow Land), นิทรรศการลอดช่อง ส่องถ้ำ (Cave and Karst) และนิทรรศการวิทย์ คิด เพื่อ คุณ (Basic Science for All ) และยังมีกิจกรรมให้ร่วมสนุกอีกมากมาย ซึ่งในปีนี้มีรายละเอียดที่น่าสนใจอย่างยิ่ง ส่วนจะเป็นอะไรนั้น ไปติดตามเนื้อหาข้างในกันได้เลย //thailandnstfair.com/index.php/home/

เมื่อวันที่ 10 พ.ย.  พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานเปิดงาน“มหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ประจำปี 2564  ที่ อิมแพค เมืองทองธานี มี ศ.(พิเศษ) ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รมว.การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม(อว.) ศ.นพ.ดร.สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ปลัด อว. เอกอัครราชทูตจากประเทศเดนมาร์ก ฝรั่งเศส เยอรมนี ญี่ปุ่นและรัสเซีย ผู้แทนท่านทูตจากสหราชอาณาจักร หัวหน้าส่วนราชการ ผู้ว่าราชการจังหวัดนนทบุรี ผู้แทนหน่วยงานภาครัฐและเอกชนเข้าร่วมทั้งนี้

พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า การมาเปิดงานมหกรรมวิทยาศาสตร์ฯ ถือเป็นวันแห่งความสุขของตน ขอบคุณกระทรวง อว. ที่นำนโยบายของตนเองและรัฐบาลไปสู่การปฏิบัติในการยกระดับและพลิกโฉมประเทศ ทุกวันนี้โลกเปลี่ยนแปลงเราต้องปรับตัว เป็นโลกแห่งเทคโนโลยีและดิจิทัล ซึ่งสิ่งสำคัญที่สุดที่ทำให้ประเทศเจริญก้าวหน้ามั่นคงได้คืองานด้านวิทยาศาสตร์ เป็นงานที่สำคัญที่สุดสำหรับทุกคน พวกเราคนไทยคงจำได้ว่าประวัติศาสตร์ชาติไทยมีความเป็นมายาวนาน เราโชคดีที่คนไทยมีพระมหากษัตริย์ที่ทรงให้ความสนพระทัยและทรงนำความรู้และกระบวนการทางวิทยาศาสตร์มาใช้ในการวางรากฐานประเทศ พัฒนาวิทยาศาสตร์ให้ทัดเทียมกับนานาอารยประเทศ ดั่งที่พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหามงกุฎ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหากษัตริย์ไทยรัชกาลที่ 4 “พระราชบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย” และพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร “พระบิดาแห่งเทคโนโลยีของไทย” และ “พระบิดาแห่งนวัตกรรมไทย” ทรงเป็นแบบอย่างในการนำองค์ความรู้และกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ มาใช้แก้ไขปัญหาความทุกข์ยาก ความเดือดร้อนของประชาชน

นายกรัฐมนตรี กล่าวต่อว่า ตนขอเชิญชวนให้ทุกคนมาเยี่ยมชมงานในครั้งนี้ซึ่งจะเป็นโอกาสที่เยาวชนได้เรียนรู้พระราชกรณียกิจและพระอัจฉริยภาพของพระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์ ที่ก่อให้เกิดคุณอเนกอนันต์แก่ประเทศเพื่อนำมายึดถือเป็นแบบอย่างในความมุ่งมั่นการศึกษา การพัฒนาองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี เพื่อประโยชน์แก่สังคมโดยรวมในปัจจุบัน เราต้องเรียนรู้โลกแห่งอนาคตซึ่งเป็นโลกแห่งองค์ความรู้ที่หลากหลาย สามารถเรียนรู้ร่วมกันอย่างไร้พรมแดน ไม่ได้จำกัดอยู่ในโรงเรียน ทักษะด้านเทคโนโลยี นวัตกรรมต้องเป็นความรู้พื้นฐานของคนไทย โดยต้องมีการเรียนรู้พัฒนาอย่างต่อเนื่อง กระจายไปทุกพื้นที่ของจังหวัด เพื่อสร้างแรงกระตุ้นให้ทั้งครู นักเรียน ประชาชน ผู้นำชุมชนต่างๆ ให้ความสนใจในเรื่องนี้ เพราะนี่คืออนาคตของประเทศไทย อนาคตของคนไทยทุกคน ซึ่งเยาวชนของเราไม่ด้อยกว่าชาติใดในโลก และยังสร้างชื่อเสียงให้ประเทศไทยระดับนานาชาติ 

ด้าน ศ.(พิเศษ) ดร. เอนก กล่าวว่า งานมหกรรมวิทยาศาสตร์ฯ ในปีนี้ จัดขึ้นบนแนวคิด “ศิลปะ วิทยาศาสตร์ และเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Art – Science – Innovation and Creative Economy)” และสื่อสารเนื้อหาทางวิชาการตามนโยบายที่สำคัญ ได้แก่ ความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ผสานกับศิลปะในมุมของการขับเคลื่อน พัฒนา “เศรษฐกิจสร้างสรรค์” (Creative Economy) ของประเทศ และนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจแบบองค์รวม “BCG Model : Bio – Circular – Green Economy” รวมทั้งร่วมเฉลิมฉลองวาระสำคัญทางวิทยาศาสตร์และสังคมของโลกในปี 2021 ได้แก่ ปีสากลแห่งเศรษฐกิจสร้างสรรค์เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (International Year of Creative Economy for Sustainable Development) โดยมีเป้าหมายสำคัญคือให้งานนี้เปลี่ยนระบบความคิดของคนไทยให้หันมาสนใจ ชื่นชอบวิทยาศาสตร์ เปลี่ยนมุมมองว่าวิทยาศาสตร์เป็นเรื่องสนุก น่าตื่นเต้น น่าเรียนรู้และจับต้องได้ ด้วยการจัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ที่หลากหลาย เช่น นิทรรศการความก้าวหน้าและกิจกรรมความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม กิจกรรมสำหรับเยาวชน การประกวดแข่งขัน U2T Hackathon 2021 เป็นต้น รมว.อว.กล่าวต่อว่า ที่สำคัญ มหกรรมวิทยาศาสตร์ปีนี้ ได้นำแนวนโยบาย BCG Model มาจัดเป็นครั้งแรกของการจัดกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (1st BCG Science Fair in SEA) เพื่อจุดประกายความคิด สู่การขับเคลื่อนเศรษฐกิจ BCG โดยปลูกฝังให้เยาวชนและคนไทยรับทราบ เริ่มลงมือปฏิบัติและสนับสนุนการพัฒนานวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจหมุนเวียน   

“ตลอด 15 ปีของการจัดงานมหกรรมวิทยาศาสตร์ฯ ได้มีส่วนในการสร้างสังคมวิทยาศาสตร์ สร้างสังคมอุดมปัญญาให้แก่เยาวชนและประชาชนทั่วประเทศที่มาเที่ยวชมงานมากกว่า 15 ล้านคน นับเป็นการสร้างวัฒนธรรมใหม่ที่ชื่นชอบการแสวงหาความรู้ โดยปีนี้ได้สร้างสรรค์วิธีการ รูปแบบการรับชมงานแบบไฮบริดอีเว้นท์ ที่ผสมผสานระหว่างการเข้าชมงานในฮอลล์ หรือเลือกรับชมจากที่บ้านก็ได้ โดยมุ่งหวังว่าเด็ก เยาวชนไทย ตลอดจนสังคมไทยจะยกระดับความรู้ ได้รับแรงบันดาลใจ สร้างวัฒนธรรมวิทยาศาสตร์ให้เกิดขึ้นในสังคมไทย เพื่อนำพาประเทศไปสู่ความเป็นชาติแห่งวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมในอนาคตต่อไป” ศ.(พิเศษ)ดร.เอนกฯ กล่าว

สำหรับงานมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ประจำปี 2564 จัดตั้งแต่วันที่ 10 – 19 พ.ย.นี้ ที่อาคาร 9 – 12 อิมแพค เมืองทองธานี มี 80 หน่วยงานทั้งในและต่างประเทศร่วมกิจกรรม ผู้สนใจมาชมได้ที่งานหรือทางออนไลน์ที่ www.thailandnstfair.com หรือ www.facebook.com/nstfairTH

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ศัพท์ทางทหาร military words แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 พจนานุกรมศัพท์ทหาร ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง ไทยแปลอังกฤษ ประโยค lmyour แปลภาษา การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ประปาไม่ไหล วันนี้ ฝยก. ย่อมาจาก หยน ห่อหมกฮวก แปลว่า เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษาจีน ่้แปลภาษา onet ม3 การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 1 ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง ตตตตลก บบบย ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ เขียน อาหรับ แปลไทย เนื้อเพลง ห่อหมกฮวก แปลไทย asus zenfone 2e กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น การประปานครหลวง ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบภาษาอังกฤษ ม.ปลาย พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ชขภใ ชื่อเต็ม ร.9 คําอ่าน ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน นยน. ย่อมาจาก ทหาร บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ฝสธ. ย่อมาจาก มัดหัวใจเจ้าชายเย็นชา 2 ซับไทย มัดหัวใจเจ้าชายเย็นชา 2 เต็มเรื่อง ยศทหารบก เรียงลําดับ ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 รัชกาลที่ 10 ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คอร์ด