โรงแรม มิ ล เล่น เนียม ฮิ ล ตัน กรุงเทพ แผนที่

Eforea Spa มีห้องทรีทเมนท์ 12 ห้อง รวมถึงห้องสำหรับคู่รัก บริการต่างๆ ได้แก่ ทรีทเมนท์ดูแลผิวหน้า บอดี้แรป สครับขัดผิว และทรีทเมนท์ดูแลผิว สปาแห่งนี้มีซาวน่า และอ่างสปา สปามีบริการบำบัดที่หลากหลายอาทิเช่น อโรมาเธอราพี และวารีบำบัด สปาเปิดทุกวัน

       ได้มีโอกาสไปสัมนาและได้พักในห้องโรงแรมสุดหรูของโรงแรมมิลเลนเนียม ฮิลตันมาล่ะค่ะ แม้จะเป็นเพียงแค่ช่วงเวลาสั้นๆ แต่ความประทับใจที่มีจะคงอยู่ตลอดไปแน่นอนค่าาาา  ^O^

     โรงแรมมิลเลนเนียม ฮิลตันเป็นโรงแรมระดับห้าดาวดีไซน์สวยสุดหรูที่ตั้งตะหง่านอยู่.. อ่านต่อ

วัฒนธรรมเรื่องเพศในวัฒนธรรมจีน 4,000 ปี ep(1)
เรื่องเพศในวัฒนธรรมจีน 4,000 ปี ความเชื่อที่ว่าสตรีชาวจีนโดยเฉพาะยุคโบราณจะต้องหวงเนื้อหวงตัว รักษาความบริสุทธิ์ยิ่งชีพ ห้ามผู้ชายเห็นแม้แต่ข้อเท้า คืนแต่งงานต้องมีเลือดบริสุทธิ์ ทั้งยังถูกรังแก กดขี่ข่มเหง ไม่มีบทบาทด้านการเมืองการปกครองหรือแม้แต่การทำงานนอกบ้าน แต่พอมาอ่านพวกหนังสือเกร็ดประวัติศาสตร์ต่างๆแล้วกลับพบว่า เราคิดผิดไป ที่ถูกนั้นเพียงครึ่งเดียว เพราะค่านิยมแต่ละยุคสมัยไม่เหมือนกันก่อนจะไปถึงเรื่องฉากอุ่นเตียง เราต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับยุคสมัยของจีนเสียก่อน ซึ่งหากแบ่งง่ายๆ ก็แบ่งเป็น ยุคราชวงศ์ และ ยุคสังคมนิยม ซึ่งยุคโบราณก็แบ่งย่อยลงไปอีก รวมถึงยุคปัจจุบันก็แซ่บใช้ได้
===== ขอเรียกว่ายุคที่ 1=====
- 3 ราชา 5 จักรพรรดิ
- ซาง
- โจว
* ชุนชิว (ขงจื้อ)
* จ้านกว๋อ
- ฉิน (จิ๋นซีฮ่องเต้)
===== ขอเรียกว่ายุคที่ 2 =====
- ฮั่น
- สุย
- ถัง
- เหนือ-ใต้
===== ขอเรียกว่ายุคที่ 3 =====
- ซ่ง
- หยวน
- หมิง
- ชิง
ยุคแรกยุคเพศแม่เป็นใหญ่
โดยเฉพาะยุคแรกๆระบบอำนาจแม่เป็นใหญ่ มาถึงยุคระบบอำนาจพ่อเป็นใหญ่ และเริ่มเจาะลึกตั้งแต่ยุคซีโจว (ระหว่าง 1,100 ปีก่อนค.ศ. ถึง 771 ปี ก่อนค.ศ.) ซึ่งเป็นช่วงก่อนที่ฉินสื่อหวังหรือจิ๋นซีฮ่องเต้ พิชิตดินแดนจนก่อร่างเป็นแผ่นดินจีนอันกว้างใหญ่ ไปจนถึงยุคราชวงศ์ชิง ซึ่งเป็นราชวงศ์กษัตริย์สุดท้ายของจีน
เรื่องเพศในวัฒนธรรมจีน 4,000 ปี ไม่เพียงชำแหละถึงเรื่องการสมสู่เสพสังวาสของมนุษย์เท่านั้น หากได้กล่าวถึงเรื่องของมนุษย์ 2 เพศคือ ชาย หญิงในความหมายที่สมบูรณ์อย่างมีสีสันตั้งแต่สถานภาพ บทบาทหน้าที่ การแต่งกาย ที่ถูกกำหนดโดยลัทธิความเชื่อ เช่น ขงจื้อ ศาสนา ขนบประเพณี ค่านิยม ระเบียบข้อบังคับอันวิจิตรพิสดาร ตลอดจนเงื่อนไขและแรงกดดันในสังคมแต่ละยุคสมัย นอกจากได้อ่านเรื่องเพศแล้ว ยังสะท้อนให้เห็นกระแสธารของประวัติศาสตร์ ที่แวดล้อมและส่งอิทธิพลต่อเรื่องเพศอย่างลึกซึ้ง แรกเริ่มเดิมที ในก่อนหน้ายุคที่ 1 และยุคที่ 1 ผู้คนยังคงนับถือผีสาง เทพเซียน ต่อมาเริ่มมีลัทธิเต๋า ซึ่งพูดถึงการใช้ชีวิตที่สอดคล้องกับธรรมชาติ เรื่องเพศของลัทธิเต๋านั้นคือความเชื่อเรื่อง หยินหยาง ความสมดุลของหญิงชาย ทำให้เรื่องเพศสัมพันธ์เป็นเรื่องปกติ ธรรมดาธรรมดา ดังนั้นพอถึงวัยเจริญพันธุ์ ก็แลกเปลี่ยนหยินหยางกันไป สตรีคนไหนแต่งงานแล้วสามีตายก็แต่งงานใหม่เป็นเรื่องปกติ หรือสตรีที่โสดก็สามารถเลือกบุรุษที่ชอบพอไปได้เรื่อยๆ ถึงขนาดที่ว่า ไม่ท้องไม่แต่งก็มี คือให้สิทธิ์กับสตรีเต็มที่ อยากทำอะไรทำเลยจ้า
แต่พอมาถึงลัทธิขงจื้อถือกำเนิดในยุคชุนชิว คำสอนของขงจื้อกลับเป็นอีกอย่าง
ในยุคชุนชิวนั้นมีสงครามและความวุ่นวาย ดังนั้น ขงจื้อท่านก็เลยมีแนวคิดด้านการเมืองการปกครองที่เน้นให้ผู้ปกครองมีคุณธรรม มีหลักการปกครองเพื่อประชาชน แต่ หนึ่งในความคิดของขงจื้อกลับเป็นการกดขี่สตรี คือขงจื้อเห็นว่า "สตรีคือต้นเหตุแห่งความวุ่นวายและสงคราม ดังนั้น สตรีจึงควรอยู่อย่างสงบเสงี่ยม อย่ามายุ่งกับการปกครอง" (อันนี้เราเขียนตามความเข้าใจนะครับ) รวมทั้งคิดว่า สตรีควรอยู่แต่ในบ้าน อยู่กับเหย้าเฝ้ากับเรือน ดูแลลูกดูแลสามีก็พอ
แนวคิดด้านการเมืองของขงจื้อเป็นที่นิยมและแพร่หลาย แต่แนวคิดเรื่องสตรี "ดับสนิท"

เป้าหมายการมีเพศสัมพันธ์ของจีนในยุคโบราณ ที่มีเชื่อมโยงกับคติความเชื่อ คือการมีบุตรสืบต่อเผ่าพันธุ์ การรักษาสุขภาพโดยการส่งเสริมพลังชีวิต(ชี่)เพื่อการมีอายุยืนยาว เป็นต้น
ฮ่องเต้และนักปกครองยุคที่ 2 (ฮั่น-เหนือใต้) ให้ความสำคัญต่อหลักการปกครองของขงจื้อ แต่ไม่เห็นด้วยกับแนวคิดเรื่องสตรี เรื่องเพศในสังคมยังถือเป็นเรื่องลัลล้าแสนชิลล์กันต่อไป สถานะของสตรีก็เป็นเหมือนคนทั่วไป ถึงขนาดมีคำพูดว่า "ยุคฮั่น-ถัง เป็นยุคเสื่อมทราม" ผู้คนพูดถึงเรื่องเพศกันอย่างเปิดเผย มีหอนางโลมเปิดอย่างถูกกฎหมาย
ในยุคของจีนโบราณ และชาวจีน มีมุมมองเกี่ยวกับเรื่องเพศชนิดคนยุคปัจจุบัน ต้องอ้าปากค้างกันเลยทีเดียว ถ้ามองย้อนกลับไปในลัทธิเต๋า มีความเชื่อว่า จิตวิญญาณนั้นมาจากการมีเพศสัมพันธ์ เปรียบผู้หญิง คือ "หยิน" และเปรียบ ผู้ชาย คือ "หยาง" หากหยินและหยางมารวมก็จะกลายเป็นจิตวิญญาณที่มีพลังเป็นหนึ่งเดียว อย่างเช่นที่ชายจีนในยุคโบราณมักจะเที่ยวแหล่งโสเภณี เพื่อเพิ่มพลังหยิน และหยางให้กับตนเอง ที่ยิ่งไปกว่านั้น ในสมัยจีนโบราณนั้น เรื่องคาวโลกีย์นั้นเป็นเรื่องที่ไม่มีกฎจำกัด ไม่มีข้อบังคับอย่างเข้มงวด ทำให้ชาวจีนสามารถที่จะเล่นกิจกรรมในร่มกันได้แบบไม่ต้องเกรงกลัวผู้ใด มีหลักฐานทางโบราณคดีที่ยืนยันว่า ชาวจีนโบราณนั้นมีความช่ำชองในเรื่องรักๆ ใคร่ๆ ทั้งสามัญชนธรรมดา รวมไปถึงราชวงศ์ที่บางคนอาจจะมีรสนิยมทางเพศที่แปลกประหลาดอีกด้วย และนี่คือตัวอย่างเรื่องบนเตียงที่ไม่ลับ ฉบับจีนโบราณ จะตื่นตาตื่นใจขนาดไหน มาดูกันเลย
“กาพย์มหารมเยศ” ตำราเรื่องเพศสมัยถัง
จากศิลปะในห้องหอ ถึงการไม่หลั่งกับภรรยาน้อย “กาพย์มหารมเยศ” หรือ “ต้าเล่อฟู่” เป็นหนังสือเรื่องเพศสมัยราชวงศ์ถังของจีน ค้นพบโดยชาวฝรั่งเศสชื่อ P. Pelloit ต้นฉบับถูกเก็บที่ฝรั่งเศส ได้กว่าถึงเนื้อหาทางเพศได้เข้มข้นมาลองอ่านดูนะครับ
บทที่1และบทที่2
กล่าวถึงหลักการผสมผสานระหว่างหยิน-หยาง หรือ ฟ้า-ดิน โดยอธิบายว่าการมีเพศสัมพันธ์ระหว่างชายหญิงถือเป็นความสุขอย่างมหาศาล ดังที่บันทึกไว้ว่า “(ความรู้สึกทางเพศ) เริ่มมีกันตั้งแต่ในวัยทารก สิ้นสุดเมื่อคนเราจบชีวิตลง แม้จะเป็นเรื่องที่คุยกันแล้วฟังหยาบโลน แต่โดยเหตุผลแล้ว มันหมายถึงการเข้าสู่สภาวะที่แสนงดงาม ยังความสุขให้แก่ทุกคน ไม่มีสิ่งใดสุขได้ยิ่งกว่านี้แล้ว จึงตั้งชื่อหนังสือนี้ว่า ‘ต้าเล่อฟู’ (หรือกาพย์มหารมเยศ) ส่วนเรื่องถ้อยคำสำนวนตลาดแลสัญลักษณ์ที่นิยมใช้กัน ก็ได้เก็บรวมไว้ไม่ปิดบังแต่อย่างใด เพียงเพื่อให้ (ผู้อ่าน) อ่านแล้วยิ้มหัว”
บทที่3
กล่าวถึงความเปลี่ยนแปลงทางร่างกายของชายหญิงตั้งแต่เกิดจนถึงวัยหนุ่มสาวว่า “หนังถอกร่นรั้นพลันหัวโผล่ (หมายเหตุ-ชาย) โนนเนื้อหนั่นนูนเนินหนอกหน่าว (หมายเหตุ-หญิง) กาลเวลาเปลี่ยนผัน… ขนงอกดกเป็นดำปื้น (หมายเหตุ-ชาย) จากวันเป็นเดือน… ธาราสีแดงล้นไหลเอื่อย (หมายเหตุ-หญิง)”
บทที่4
กล่าวถึงคืนแรกของการแต่งงานระหว่างชายหญิงว่า “และแล้วก็เป็นคืนของคนหนุ่มสาว ใต้แสงเทียนสีแดง… เมื่อหมู่ดาวจูเชี่ยขึ้นแล้ว รวบกางเกงแดง ยกขานางขึ้น คลึงเคล้าก้นนาง หญิงกุมองคชาตชายไว้ ขณะใจนางเต้น โครมครามชายอมลิ้นหญิงจนเคลิบเคลิ้ม จึงโลมเลียให้ทั่วทั้งตัว จนบังเกิด อารมณ์รักร่วมกัน ช่องแย้มร่องเล็กน้อยโดยไม่รู้ตัว จึงให้ออกแรงรุกดัน องคชาตเข้าโดยพลัน จักเจ็บแปลบดุจมีดแทง เห็นช่องคลอดเปื้อนด้วยอสุจิและเลือดเป็นจุดจุด ใช้ลิ่วไต้เช็ดแล้วเอาเก็บไว้ในตะกร้า นั่นแล จึงเป็นสามีภรรยากัน ด้วยสมคล้อยกับหลักแห่งยินหยาง นับแต่นี้ช่องคลอดหญิงจะไม่ปิดอีกตลอดไป” บทที่หก บางส่วนกล่าวถึงการมีเพศสัมพันธ์ระหว่างชายผู้เป็นสามีกับบรรดาภรรยาน้อยทั้งหลายไว้ว่า “ห้ามหลั่งให้เก็บกักน้ำอสุจิไว้ พร้อมกับสูดลมหายใจเข้าและกลืนน้ำลายด้วย ถือเป็นความสมบูรณ์ในการเรียนรู้เรื่องเต๋า ด้วยจุดประสงค์ให้มีอายุยืนยาว…”
แม้จะกล่าวถึงการไม่หลั่งในขณะมีเพศสัมพันธ์กับภรรยาน้อย แต่กลับไม่กล่าวถึงเรื่องนี้ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับภรรยาหลวงเลย สะท้อนให้เห็นว่าการมีเพศสัมพันธ์กับภรรยาน้อยทั้งหลายนั้น ทำไปเพื่อเสริมสร้างสมรรถภาพทางเพศให้แก่ผู้ชาย เพื่อว่าเมื่อสามีจะมีเพศสัมพันธ์กับภรรยาหลวงแล้ว จะสามารถทำให้ตั้งครรภ์บุตรที่แข็งแรงได้นั่นเอง

บทที่8
กล่าวถึงกามารมณ์ของฮ่องเต้โดยเฉพาะ ที่น่าสนใจคือ ธรรมเนียมราชประเพณีในเรื่องถวายตัวต่อฮ่องเต้ โดยกล่าวไว้ว่า “และแล้วก็ถึงเวลาเสพสมยามราตรี มีหญิงเก้านางเข้าเฝ้า แลเมื่อวันเพ็ญเดือนเต็มดวง จะประทับอยู่ที่ตำหนักหลวงและตำหนักหลังสองคืน นี่ถือเป็นธรรมเนียมราชประเพณี ซึ่งเขียนอยู่ในบันทึกสีแดง ‘ถงก่วน’ ของหนี่สื่อ บัดนี้ในตำหนักตะวันตก มีหญิงสาวสามพันคน คัดที่หน้าตาดีส่งมาถวาย พวกแก่งแย่งที่โปรดปรานต่างอิจฉากัน นี่แลคือมอบกายหญิงนับหมื่นให้แก่คนคนเดียว”

บทที่13
กล่าวถึงการล่วงมีเพศสัมพันธ์ในวัด โดยกล้าวไว้ว่า “แม้ปากจะไม่พูด แต่ใจมักยินยอมไปกว่าครึ่ง บ้างเป็นขุนนางที่นิยมในกามคุณ พวกผู้ดีคนมีชื่อเสียง คนเหล่านี้อ้างว่าละทิ้งทางโลกเพื่อหาความสงบทางใจยอมปลงผมโกนหนวดเครา หน้าตาพวกนี้เป็นต่างชาติแต่พูดจีน รูปร่างสูงใหญ่ แต่ใจกลับไม่คิดอ่านศึกษาพระธรรมคำสั่งสอน มือถือสายลูกประคำ แต่ก็มักลืมสวดมนตร์นับลูกประคำ”
ยุคฮั่นและถังมีอวัยวะเพศชายเทียมขายกันกลางถนน รัฐเองก็ส่งเสริมให้คนโสดแต่งงาน จัดงานเลือกคู่ให้ ใครถึงวัยแต่งแล้วไม่แต่งมีความผิด ต้องจ่ายภาษีหรือโดนลงโทษ เรื่องหญิงรักหญิง ชายรักชาย ก็เป็นเรื่องปกติ รวมทั้งการมีอนุสามีหรืออนุภรรยา ในยุคที่ 2 นี้เอง มีการแต่งตำราแพทย์ หนึ่งในนั้นคือหมวดศิลปะในห้องนอน มีถึง 8 เล่ม ในต้นฉบับนับได้ 186 ม้วน ได้แก่
(1) คู่มือเพศรสของบัณฑิต หยงเฉิน 26 ม้วน
(2) คู่มือเพศรสของบัณฑิต วู่เฉิง 36 ม้วน
(3) คู่มือเพศรสของฮ่องเต้หยาวและชุน 23 ม้วน
(4) คู่มือเพศรสของฮ่องเต้ทงและฮ่องเต้ผานเชียน 20 ม้วน
(5) คู่มือเพศรสขอเทียนหลาวและอื่นๆ 25 ม้วน
(6) คู่มือเพศรสของเทียนอี้ 24 ม้วน
(7) ตำรารักษาสมรรถภาพของฮ่องเต้หวังตี้และสามฮ่องเต้ 20 ม้วน
( วิธีการมีบุตรของ 3 สำนัก 17 ม้วน)
คัมภีร์เพศรสชื่อดังที่สุดคือ ซูโหน่ยจิง หรือ คัมภีร์ซูโหน่ย ในยุคฮั่น เป็นการสนทนาระหว่างฮ่องเต้กับหญิงลึกลับที่แนะนำเรื่องข้อควรการปฏิบัติบนเตียงของทั้งชายหญิง
คัมภีร์เหล่านี้มีการคัดลอกแพร่หลายและนิยม "มอบให้เจ้าสาวในวันแต่งงาน" เพื่อนำไปใช้และวางไว้หัวนอนจะได้หยิบใช้ง่ายๆ (และยังมีคัมภีร์อื่นๆอีกมากมาย)
แม้ว่าในช่วงดังกล่าวจะมีคนแต่งหนังสือว่าด้วยคุณสมบัติของสตรี แต่กลับไม่เป็นที่นิยมเพราะแม้แต่ราชสำนักก็ไม่เอาด้วย ผู้คนจึงยังคงลัลล้า เสพกามากันสบายใจ หญิงมีหลายสามี ชายมีหลายเมีย ชายแต่งหญิง หญิงแต่งชาย หญิงรักหญิง ชายรักชาย เป็นเรื่องยอมรับได้ วัฒนธรรมนี้ยาวนานไปถึงยุคศตวรรษที่ 14 การเปิดซ่องโสเภณีถือเป็นเรื่องถูกกฎหมายในราชวงศ์ซ่ง หากผู้ใดต้องการที่จะเปิดซ่องต้องมีการเสียภาษีให้กับทางวังหลวง ถึงกับมีเจ้าหญิงพระองค์หนึ่ง นามว่า Shan Yin ที่ใช้แท่นบรรทมมาที่เป็นสถานที่รับแขกของเจ้าหญิงได้มากถึง 30 คน
กามาสูตรในยุคสมัยต่างๆซึ่งมีการแจกแจงฉบับ-บท-ตอนของตำราเหล่านี้อย่างละเอียด ไม่ว่าตำราศิลปะในห้องหอยุคซีฮั่นที่เขียนบนกระดาษและผ้าแพรผืนยาวม้วนเก็บไว้, ตำราเพศศึกษาหรือคัมภีร์สังวาสจากลัทธิเต๋าที่ถูกจัดอยู่ในหมวดตำราการแพทย์ระหว่างช่วงยุคราชวงศ์ถัง, กามสูตรพุทธนิกายลามะแห่งยุคราชวงศ์หยวน(มองโกล) เป็นต้น
#ยาวมากต่อตอนที่2ครับ
เครดิต พี่กรยุทธ ตะพาบน้ำครับ
และ Cr.1
//www.tcijthai.com/news/2020/5/article/10298
Cr.2
//www.silpa-mag.com/history/article_63562
cr.3
//mgronline.com/china/detail/9510000028073
cr.4
...
cr.5
//www.hongqipaoshop.com/.../%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9...
cr.6
//thai.ac/news/show/406448
________________________
#เพจภาพและเรื่องราวต่างๆที่น่าสนใจ

 

#วัฒนธรรมเรื่องเพศในวัฒนธรรมจีน 4,000 ปี ep(2)
จนกระทั่งเข้าสู่ยุคที่ 3 ช่วงรอยต่อถังซ่ง
รู้แล้วจะอึ้ง! หญิงจีนสมัยราชวงศ์ถังเปิดกว้างเรื่องเพศสุดๆ
รู้หรือไม่สตรีในสมัยราชวงศ์ถังของจีน(ค.ศ.618-ค.ศ.907) มีความเปิดกว้างในเรื่องเพศสูงมาก ผู้หญิงถังชอบใส่ชุดเบาบาง เผยเนินอก ยิ่งถ้าเป็นนางรำในงานเลี้ยงรับรองยิ่งแล้วใหญ่บางทีเกือบจะเรียกว่าระบำเปลือยเลยก็ว่าได้ ซึ่งความคิดเปิดกว้างนี้เป็นกันทั้งในวังและสามัญชน จนมีคำพูดในนิยายจีนโบราณที่กล่าวว่า "ถังสกปรกฮั่นโสมม" ชี้ถึงพฤติกรรมทางเพศที่ค่อนข้างไร้ระเบียบแบบแผนของคนในสมัยนั้น แม้แต่บูเช็กเทียนหรืออู่เจ๋อเทียนจักรพรรดินีผู้ยิ่งใหญ่พระองค์หนึ่งของจีนก็ขึ้นชื่อว่าไม่ธรรมดาในเรื่องตัณหาราคะเพราะทรงเลี้ยงสนมชายไว้ในวังไม่น้อย
ในสมัยถัง หนังสือภาพวาดการเสพสังวาสเริ่มเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลาย จนมาถึงช่วงครึ่งหลังของราชวงศ์หมิง "ชุนกงถู" (春宫图) หรือภาพวาดอีโรติกประเภทหนึ่งจึงเริ่มฮิตขึ้นมา หนังสือเหล่านี้มีส่วนช่วยด้านเพศศึกษาในสมัยนั้นเป็นอย่างมาก ในขณะเดียวกันคนโบราณก็มีความเชื่อว่าหนังสือพวกนี้จะช่วยขับไล่สิ่งชั่วร้าย โดยใน"หงโหลวเมิ่ง"(ความฝันในหอแดง)หนึ่งในสุดยอดวรรณกรรมของจีนกล่าวว่าเมื่อลูกสาวออกเรือนพ่อแม่จะแอบซ่อนหนังสือภาพชุนกงถูไว้ใต้กล่องของใช้ของลูกเพื่อช่วยไล่สิ่งชั่วร้าย (เอ๊ะ...หรือจะใส่ไว้เพื่อให้ลูกสาวแอบมาเจอนะ?)
นอกจากนี้ ในสมัยถังไม่ว่าจะเป็นเมืองลั่วหยาง ฉางอัน(ซีอาน) จินหลิง(นานกิง) ฯลฯ ตามถนนล้วนคราคร่ำไปด้วยโรงเตี๊ยมโรงเหล้าของชนเผ่าหูหรือชาวซงหนูชนเผ่าเลี้ยงสัตว์เร่ร่อนทางตอนเหนือที่เคยเป็นศัตรูกับจีน
เมื่อวัฒนธรรมของชนเผ่าเหล่านี้ที่ค่อนข้างเปิดกว้างทางเพศได้เข้ามาผสมผสานก็ได้ทำให้ค่านิยมของหญิงสาวจีนในสมัยถังเริ่มเปลี่ยนไป บวกกับในตอนนั้นก็ยังมีนักพรตไม่น้อยที่เชื่อเรื่องการหลุดพ้นด้วยการเสพกามของลัทธิตันตระหรือพุทธแบบทิเบต
ลูกสาวคนรองของเสนาบดีหลี่หลินฝู่นามว่าหลี่เถิงคง หนึ่งในเพื่อนสนิทหญิงของหลี่ไป๋ (กวีจีนชื่อดัง) ก็เป็นอีกคนที่แสดงให้เห็นถึงความลุ่มหลงในกามของหญิงจีนสมัยนั้น หลี่เถิงคงมักใช้ประโยชน์จากการที่พ่อของเธอเป็นคนใหญ่คนโต เวลามีแขกหนุ่มหน้าตาดีมาเยี่ยมที่บ้านเธอจะแอบมองหนุ่มๆ เหล่านั้นผ่านรูเล็กๆ ที่แอบเจาะไว้ตรงกำแพง ถ้าเกิดปิ๊งคนไหนเข้าก็จะวางแผนให้เขาได้นอนค้างอ้างแรมที่บ้าน (ร้ายกาจสุดๆ)
ส่วนองค์หญิงยู่ว์เจินน้องสาวของฮ่องเต้ถังเสวียนจงถึงแม้จะเป็นนักพรตเต๋า แต่ชอบที่จะคบค้าสมาคมกับจิตกร กวี นักดนตรี แถมยังตั้งเป็นคลับเฉพาะกลุ่มของตนขึ้นมาอีกด้วย ตำหนักของพระองค์ที่เมืองฉางอันและลั่วหยางล้วนมีบุรุษจำนวนมากที่คอยเข้าๆออกๆอยู่เป็นประจำ "หวังเหว่ย" ชายหนุ่มรูปงามที่องค์หญิงเคยแนะนำและดันให้เป็นจอหงวนนั้นยังไม่เคยผ่านการสอบเลยด้วยซ้ำ (บ้างก็ว่าสอบเป็นพิธีแต่จริงๆคนในล็อคตำแหน่งไว้ให้แล้ว)
ยังไม่จบเพียงเท่านี้ สมัยถังยังมีการแสดงรำดาบประเภทหนึ่งโดยนักแสดงสาวชาวหูจะใส่ชุดวับแวม ทำท่าเย้ายวนอ่อนช้อยอวดเรือนร่าง นางรำเพลงดาบที่มีชื่อเสียงยกตัวอย่างเช่นกงซุนต้าเหนียง (公孙大娘) อดีตสนมของถังเสวียนจงและแรงบันดาลใจในการแต่งกลอนของกวีถังชื่อดังอย่างตู้ฝู่ที่สุดท้ายถูกหยางกุ้ยเฟยบีบให้จรลีออกไปจากวัง
หากว่ากันด้วยเรื่องเพศแล้วลักษณะทางสังคมในตอนนั้นมีจุดที่น่าสนใจดังนี้
1.ความนิยมคณิกา
สมัยถังในวังจะมี"เจี้ยวฟาง"ซึ่งเป็นเสมือนระบบหอคณิกาที่คอยให้ความบันเทิงต่างๆทั้งการแสดงและดนตรี ว่ากันว่าสมัยจักรพรรดิถังไท่จงมีอยู่ 3,000 นาง และเพิ่มเป็น 8,000 คนในสมัยถังเสวียนจง ซึ่งในหมู่นางคณิกาก็มีการแบ่งระดับชั้นสูงต่ำด้วย
คณิกาฮอตฮิตมากขนาดที่ว่าไม่ว่าจะเป็นการต้อนรับแขกของขุนนาง พิธีการต่างๆ วงเหล้าของขุนนาง หรือแม้แต่ตอนออกไปท่องเที่ยวชมธรรมชาติ ก็จะต้องมีนางคณิกาคอยติดสอยห้อยตามให้ความบันเทิงอยู่เสมอ ทำให้กิจการหอนางโลมเจริญรุ่งเรืองมาก ผุดเอาๆ เหมือนดอกเห็ด เอาเป็นว่าที่บ้านของกวีชราบางท่านถึงกับเลี้ยงดูคณิกาไว้นับร้อยคน!
2.การเปิดกว้างทางเพศ
หญิงสมัยนั้นไม่ได้รักนวลสงวนตัวหรือเคร่งเรื่องการรักษาพรหมจารีย์มากนัก การเสียตัว หรือการได้เสียกันก่อนแต่งงานไม่ใช่เรื่องแปลกอะไร รวมไปถึงการหนีไปกับคนรักก็มีให้เห็นไม่น้อย คนจีนโบราณมีเรื่องเล่าของความรักอันแสนเศร้าระหว่างหนุ่มเลี้ยงวัวกับสาวทอผ้าที่ปีหนึ่งจะเจอกันได้แค่หนึ่งครั้งเท่านั้น ซึ่งในสมัยถังก็มีหญิงสาวที่แต่งเรื่องนี้ให้ใหม่ในเชิงสนุกสนานแต่ก็บ่งบอกคาแรกเตอร์ผู้หญิงสมัยนั้นได้ดี โดยเล่าในทำนองว่าสาวทอผ้ารอชายผู้เป็นที่รักไม่ไหว เธอจึงแอบไปลั้นลากับหนุ่มอื่นยามราตรีเพราะยังไงเขาก็ไม่รู้อยู่ดี!
และที่เลเวลอัพไปกว่านั้นคือมีคนในสมัยนั้นที่ไม่ได้รู้สึกว่าการเล่นชู้เป็นเรื่องที่น่าอับอาย แถมกลับกลายเป็นที่นิยมอยู่ช่วงหนึ่งด้วยซ้ำ! ในบทกวีสมัยถังมีเรื่องเล่าทำนองนี้อยู่ไม่น้อย เช่นเมียเถ้าแก่แซ่เมิ่งคนหนึ่งกำลังนั่งฮัมเพลงอยู่ในบ้าน เด็กหนุ่มคนหนึ่งผ่านมาได้ยินเข้าจึงเดินเข้ามาและเอ่ยถ้อยคำชักชวนสุดวาบหวิวให้นางร่วมรักด้วย จากนั้นนางก็จัดให้เขาเลยทันที (เอ้า!แบบนี้ก็ได้หรอ?)
อีกจุดที่น่าสนใจคือผู้หญิงถังเป็นอะไรที่ไม่สนในกฎเกณฑ์หรือขนบสอนหญิงใดๆมากที่สุดแล้ว พวกเธอไม่เคร่งใน"หลักสามเชื่อฟังสี่จรรยา" (三从四德) ที่มีมาแต่โบราณ เรียกได้ว่ามีอิสระทางการแสดงออกเรื่องเพศมากหากเทียบกับราชวงศ์อื่นๆ หญิงที่แต่งงานแล้วและมีสามีใหม่เป็นเรื่องที่เบๆมากในสังคมถัง ข้อมูลจากบันทึกเล่มหนึ่งทำให้เราได้รู้ว่ามีองค์หญิงสมัยถังที่แต่งงานใหม่อีกครั้งถึง 23 องค์ โดยในนี้มี 4 องค์ที่แต่งงานถึง 3 ครั้ง แน่นอนว่าลูกสาวขุนนางยันลูกสาวชาวบ้านก็เช่นกัน
เป็นไปได้ว่าที่ชาวถังค่อนข้างเปิดกว้างในเรื่องเพศนั้น
เป็นเพราะ"ถังเกาจู่"หรือ"หลี่ยวน" ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์ถังที่มีพื้นเพมาจากพื้นที่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศอาจมีสายเลือดของชนกลุ่มน้อยอยู่ (ประเด็นนี้ยังคงเป็นที่ถกเถียงกันอยู่) ทำให้ไม่เคร่งเรื่องนี้เหมือนตระกูลชนชั้นสูงที่อยู่ในตอนกลาง
ลองนึกภาพตามดู บางทีนิยามของบรรดาแม่นางทั้งหลายในสมัยยุคราชวงศ์ฮั่นและถังโบราณที่คุณเคยเข้าใจอาจจะไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป
การอัพเลเวลตำรากามสูตรจากสมัยต้าถังถึงยุคต้าหมิง
"ตำรากามสูตร" สมัยราชวงศ์หมิง ให้ผู้ชายกลั้นจุดสุดยอด เพื่อชีวิตที่ยืนยาว" ตำรากามสูตร ตำราหรือหนังสือว่าด้วยเรื่องเพศหลากหลายเรื่องราว ซึ่งส่วนใหญ่แล้วมักเป็นการสอน แนะนำ หรือบอกวิธี เรื่องเพศ ไม่ว่าจะเป็น ความรู้พื้นฐานเรื่องอวัยวะทางเพศ ลีลาท่วงท่าการเสพกาม การทำให้ตั้งครรภ์ หรือแม้แต่วิธีการเสพกามที่จะทำให้อายุยืนยาว
ตำรากามสูตรของจีนในสมัยราชวงศ์หมิง ซึ่งมีด้วยกันทั้งหมด 3 เล่ม คือ ซู่หนี่เมี่ยวลุ่น จี้จี่เจินจิง และ ซิวเจินเอี่ยนอี้ โดยตำรากามสูตรเหล่านี้ไม่ใช่ แบบเรียน อย่างหนังสือสุขศึกษาในสมัยปัจจุบัน แต่เป็นตำราที่มีลีลาการเขียนเป็นเอกลักษณ์ บ้างคล้ายวรรณกรรม บ้างคล้ายตำราพิชัยสงคราม และนอกจากนั้นยังมีอิทธิพลทางวัฒนธรรมและลัทธิความเชื่อของจีนอยู่ในตำรากามสูตรอีกด้วย
ซู่หนี่เมี่ยวลุ่น
ซู่หนี่เมี่ยวลุ่น มีเนื้อหาดัดแปลงจากหนังสือโบราณอย่าง ซู่หนี่จิง ต้งเสียนจื่อ โดยนำมาร้อยเรียงเขียนขึ้นใหม่ สันนิษฐานว่า ซู่หนี่เมี่ยวลุ่น อาจได้รับการถ่ายทอดมาจาก เหมาซานเต้าซื่อ นักบวชลัทธิเต๋า โดยเนื้อหาเป็นการถามตอบระหว่างพระเจ้าหวงตี้กับซู่หนี่เกี่ยวกับเรื่องต่าง ๆ
ความน่าสนใจของ ซู่หนี่เมี่ยวลุ่น อยู่ในบทที่หก ต้าเสี่ยวฉานต่วนเพียน ที่มีบทสนทนาของพระเจ้าหวงตี้กับซู่หนี่ ดังนี้
พระเจ้าหวงตี้ : ของล้ำค่าในตัวผู้ชาย มีใหญ่เล็ก สั้นยาว แข็งอ่อน ไม่เหมือนกัน เพราะเหตุใด
ซู่หนี่ : ที่พูดกันรูปร่างไม่เหมือนกันก็เฉกเช่นหน้าตาคน ส่วนความแตกต่างในขนาดใหญ่เล็ก สั้นยาว แข็งและอ่อน ล้วนแต่อยู่ที่สวรรค์ประทานให้ ดังนั้น จึงมีคนตัวเตี้ยแต่มีของล้ำค่าใหญ่โต คนกำยำแต่มีของล้ำค่าสั้น คนผอมแห้งแต่มีของล้ำค่าอ้วนพี ควนอ้วนแต่มีของล้ำค่าอ่อนปวกเปียกและหดเหี่ยว บางคน (ใช้ของล้ำค่านั้นได้) เชี่ยวชาญเก่งกาจ บางคน (ใช้ของล้ำค่านั้นได้) ด้วยแรงปรารถนา บางคน (ใช้ของล้ำค่านั้นได้) ด้วยตื่นตัวง่าย ทว่าไม่มีผลเสียต่อเคล็ดลับการเสพสมแต่อย่างใด
พระเจ้าหวงตี้ : ผู้ชายแตกต่างกันที่ใหญ่เล็ก สั้นยาว และแข็งอ่อน แล้วจะต่างกันหรือไม่เมื่อเสพสมให้ความสุขกับผู้หญิง
ซู่หนี่ : ที่ว่ารูปร่างแตกต่างกันใหญ่เล็กสั้นยาวต่างรูปกันนั้น เป็นรูปธรรมภายนอก การเสพสมให้ความสุขกับผู้หญิงเป็นเรื่องของความรู้สึกภายใน (ใจ) ต้องผูกพันกันด้วยรักและให้เกียรติ ปลอบประโลมกันด้วยน้ำใสใจจริง จะพูดถึงขนาดใหญ่เล็กสั้นยาวไปไย
พระเจ้าหวงตี้ : แล้วแข็งอ่อนนั้นต่างกันด้วยหรือไม่
ซู่หนี่ : ของล้ำค่านั้นใหญ่แต่ปวกเปียก ย่อมมิอาจเทียบของล้ำค่าสั้นแต่แข็งได้ หากแต่แข็งแต่มุทะลุ ย่อมมิอาจเทียบที่อ่อนแต่อ่อนโยนได้ หากเดินทางสายกลางได้ เรียกได้ว่าดีที่สุด
สรุปว่า ขนาดรูปร่างของ ของล้ำค่า นั้นหาใช่เรื่องสำคัญไม่ แต่เป็นลีลาท่วงท่าแห่งการเสพกามที่ส่งผ่านด้วยความรักต่างหากเล่า สำคัญกว่าเห็น ๆ นอกจากนี้ ซู่หนี่เมี่ยวลุ่น มีเนื้อหากล่าวถึง โยนี ของผู้หญิง ว่าตำแหน่งของโยนีสัมพันธ์กับการเสพกาม คือ (เรื่องนี้มีในหนังสือฉบับพิมพ์แต่ไม่มีในฉบับคัดลอกด้วยลายมือ)
พระเจ้าหวงตี้ : ทวารหยกในมีต่างกันทั้งอยู่ข้างหน้า อยู่ตรงกลาง และอยู่ข้างหลัง เพราะเหตุใด
ซู่หนี่ : ความงามของทวารสตรีมิได้อยู่ที่ว่าอยู่ตรงไหน หากอยู่ที่การใช้งาน ตำแหน่งแห่งที่ทั้งสามต่างมีข้อแตกต่างกัน สำคัญที่ต้องใช้งานได้โดยราบรื่น หญิงผู้มีโยนีอยู่ตรงกลางเหมาะจะเสพสมได้ทั้งสี่ฤดู และรับได้ทุกท่วงท่าไม่เป็นไร หากไม่เบนไปข้างใดข้างหนึ่งถือว่าล้ำค่านัก หญิงมีโยนีอยู่ข้างหน้า เหมาะจะเสพสมในฤดูหนาว ให้นอนหงายบนเตียงห่มผ้าผวย ผู้ชายคร่อมอยู่ข้างบนนางได้ หญิงผู้มีโยนีอยู่ข้างหลัง เหมาะจะเสพสมในฤดูร้อน ใต้ร่มเงากอไผ่และชายคาหิน เหมือนจุดไฟจากภูอีกลูหหนึ่ง นี่คือการใช้โยนีของหญิง
นอกจากนี้ในบทที่สองของ ซู่หนี่เมี่ยวลุ่น ยังอธิบายถึงท่วงท่าในการเสพกาม เช่น ท่าปลาตอด เป็นการเสพกามของผู้ชายหนึ่งคนกับผู้หญิงสองคน โดยให้ผู้หญิงคนหนึ่งนอนหงาย อีกคนนอนคว่ำ แล้วนอนให้โยนีประกบแนบชิดกันแล้ว ถูไถกันเองจนดุจปลาเผยออ้าปาก ดุจกำลังแหวกว่ายตอดจอกแหน
แล้วจึงรอให้เลือดลมสูบฉีด จากนั้นให้ผู้ชายนำนิ้วมือสอดระหว่างบริเวณโยนีของหญิงทั้งสองเพื่ิอหยั่งดูก่อน จากนั้นจึงนำองคชาตเข้าไปตรงนั้น สอดใส่ขึ้น ๆ ลง ๆ อย่างสุขสม ท่วงท่านี้ตำราบอกว่าจะช่วยเสริมกระดูกเอ็นให้แข็งแรง เพิ่มกำลังวังชา กระตุ้นการทำงานของอวัยวะในช่องท้อง และบำรุงอาการอ่อนเปลี้ยเพลียแรง
นอกจากนี้ ในบทที่ห้ามีการกล่าวถึงการเสพกามอย่างไรถึงให้มีลูก และที่ไม่มีลูกเพราะเป็นคนอย่างไร โดยซู่หนี่ได้อธิบายว่า ผู้ชาย 3 ประเภทที่ไม่มีลูกได้แก่ ผู้ที่มีน้ำเชื้อเย็นใสไหลเอง, ผู้ที่มักมากในกามจนร่างกายอ่อนแอและ ผู้ที่หวาดกลัวในการเสพกาม ส่วนผู้หญิง 3 ประเภทที่ไม่มีลูกได้แก่ ผู้ที่มักมากเห็นสิ่งนั้นเป็นเกิดอารมณ์ใคร่ ผู้ที่มีมดลูกอ่อนแอ ปากมดลูกไม่เปิด และผู้ที่ไม่ปรองดองกับสามี โมโหร้าย ขี้อิจฉาริษยา
บทสรุปของ ซู่หนี่เมี่ยวลุ่น มีว่า พระเจ้าหวงตี้ถือศีลภาวนา กินเจ ชำระร่างกายให้สะอาดบริสุทธิ์ ฝึกพลังชี่ตามลัทธิเต๋าฝ่ายเน่ยตานอยู่ 81 วัน มีอายุถึง 120 ปี ได้ตั้งกระทะปรุงยาข้างทะเลสาบจนสำเร็จ แล้วเทพมังกรลงมาจากสวรรค์รับพระเจ้าหวงตี้กับซู่หนี่ขึ้นไปบนสวรรค์ในเวลากลาวันแสก ๆ ทว่า หนังสือบางเล่มอธิบายว่า พระเจ้าหวงตี้ได้ขึ้นสวรรค์เพราะเสพกามกับผู้หญิง 1,200 คน ซึ่งเป็นพฤติกรรมทางเพศตามตำรากามสูตรของลัทธิเต๋าฝ่ายเน่ยตาน อันเป็นวิธีช่วยให้มีชีวิตยืนยาว
จี้จี่เจินจิง
ฉุนหยางเอี่ยนเจิ้งฝูอิ้วตี้จวินจี้จี่เจินจิง หรือ จี้จี่เจินจิง ได้อิทธิพลมาจากลัทธิเต๋าฝ่ายเน่ยตานเช่นกัน มีความเชื่อว่า การเสพกามมีขึ้นเพื่อให้ฝ่ายชายรับพลัง ยินชี่ หรือ เจินเจิง ที่ฝ่ายหญิงปล่อยออกมาจากการเสพกาม พลังนี้เป็นพลังแห่งชีวิตที่ฝ่ายชายต้องเก็บรับเอาไว้ เชื่อว่าจะช่วยให้มีอายุยืนยาว โดยลักษณะการเขียนของหนังสือเล่มนี้มีลีลาการเขียนคล้ายตำราพิชัยสงคราม มองการเสพกามเป็นเหมือนสมรภูมิรบ
ตัวอย่างเช่น เมื่อเริ่มเข้าสู่สมรภูมิ (หมายถึงห้องหอ) เผชิญหน้ากับศัตรู (หมายถึงผู้หญิง) ให้ชายใช้มือช้อนจับโยนีหญิงไว้ ลิ้นดูดลิ้นผู้หญิง มือจับถัน จมูกสูดเอาลมบริสุทธิ์จากจมูกนาง เพื่อกระตุ้นเร้าใจนาง ข้าควรใช้กำลังบังคับ และ
เราช้าอีกฝ่ายเร่ง สถานการณ์จะเกิดการพันตูครั้งใหญ่อีกครั้ง กำลังศึกจักเข้าประชิดต่อกัน รุกเข้าแล้วถอยออก ทั้งกินเสบียงและยึดเมล็ดธัญ
ซึ่งจากข้อความข้างต้นอธิบายได้ว่า สถานการณ์พันตูที่กำลังเกิดขึ้นเป็นช่วงเสพกามที่มีอารมณ์รุนแรงขึ้นสู่จุดสุดยอด กินเสบียงหมายถึงดูดลิ้น ยึดเมล็ดธัญหมายถึงจับเคล้นหน้าอกของผู้หญิง
โดยสรุปแล้ว วิธีการรับพลัง ยินชี่ หรือ เจินเจิง เพื่ออายุยืนยาวนั้น ตำราแนะนำวิธีไว้ว่า เมื่อผู้หญิงใกล้ถึงจุดสุดยอด ให้ผู้ชายผ่อนแรงลง แล้วหันความสนใจไปที่ลิ้นและหน้าอกของผู้หญิงแทน ผสมผสานกับการเสพกามที่ดำเนินต่อไปด้วยท่วงท่าทางต่าง ๆ กระทั่งเมื่อผู้หญิงถึงจุดสุดยอดแล้ว ให้ผู้ชายสูดรับเอาลมบริสุทธิ์จากจมูกผู้หญิงเข้าไป แล้วผู้ชายต้องกลั้นไม่ให้ตนเองถึงจุดสุดยอด เพื่อให้น้ำอสุจิไหลย้อนกลับเข้าไปในร่างกาย ซึ่งในตำราเชื่อว่า อสุจิจะไหลสู่จุดที่เรียกว่า หนีหวาน จุดฝั่งเข็มตรงกลางระหว่างหัวคิ้ว
วิธีการอั้นไม่ให้ฝ่ายชายถึงจุดสุดยอดหรือหลั่งน้ำอสุจินั้น ตำราอธิบายว่า หลับตาปิดปาก ดึงมือกลับ พับงอขาเข้ามา ใช้นิ้วบีบจับบริเวณกู่เต้า (บริเวณตั้งแต่ลำไส้ตรงไปถึงทวารหนักหรือใต้หัวหน่าว) เพ่งสมาธิไว้ เรียกว่า เต่าเก็บหัว ดูดรับเอาเจินสุ่ย (น้ำอสุจิ) ให้ไหลย้อนกลับจากก้นกบขึ้นไปตามเส้นหลอม่าย มุ่งตงเข้าสู่จุดหนีหวาน เรียกว่า มังกรขดกาย
เรื่องนี้น่าคิดว่า การกลั้นอสุจิ (เพื่อให้มีอายุยืนยาว) นั้น เป็นกุศโลบายในการสืบพันธุ์หรือไม่ เพราะจาก ซู่หนี่เมี่ยวลุ่น ที่ว่าผู้ชายน้ำอสุจิ ใส ทำให้ไม่มีลูก คนจีนในสมัยนั้นจึงอาจมีความเชื่อว่า การเสพกามโดยไม่หลั่งอสุจิจะทำให้น้ำอสุจิ ข้น แล้วเก็บไว้สำหรับการเสพกามในครั้งที่ต้องการมีลูก แต่นี่ก็เป็นเพียงความเห็นของผู้เขียนเท่านั้น ทว่า แนวคิดของจีนในสมัยนั้นตรงข้ามกับงานงานวิจัยในปัจจุบัน ซึ่งพบว่าการหลั่งน้ำอสุจิบ่อยครั้งเป็นประโยชน์ต่อผู้ชายเอง
ซิวเจินเอี่ยนอี้
จื่อจินกวงเหย้าต้าเซียนซิวเจินเอี่ยนอี้ หรือ ซิวเจินเอี่ยนอี้ มีเนื้อหาที่ไม่แตกต่างกับ จี้จี่เจินจิง มากนัก มีเนื้อหากล่าวถึงการป้องกันไม่ให้หลั่งน้ำอสุจิด้วยวิธีการต่าง ๆ การแนะนำท่วงท่าลีลา การเร้าอารมณ์ในการเสพกาม รวมถึงวิธีการทำให้ผู้หญิงตั้งครรภ์
การป้องกันการหลั่งน้ำอสุจิ ซิวเจินเอี่ยนอี้ แนะนำว่า หากรู้สึกอยากจะหลั่ง ต้องรีบดึงลำหยกถอยออดโดยเร็ว ใช้วิธีปิดกั้นจากข้างหลัง มันจะสงบลงเอง โดยหยกนี้ก็คือแหวนหยกรัดโคนองคชาตเป็นอุปกรณ์ในการเสพกามในอดีต ทำจากงาช้างสลักลวดลาย เมื่อใส่ไปแล้วจะเคลื่อนไปมา เป็นการกระตุ้น เม็ดละมุดของผู้หญิง นอกจากนี้ ตำราเล่มนี้ยังบอกวิธีการนวดด้วยขั้นตอนที่ซับซ้อนเพื่อขยายองคชาต หรืออาจใช้ผ้าแพรรัดโคนองคชาต ซึ่งเป็นหนึ่งในวิธีการทำให้องคชาตใหญ่ขึ้นแข็งแรงขึ้น
อีกหัวข้อหนึ่งของ ซิวเจินเอี่ยนอี้ มีการกล่าวถึงวิธีการกระตุ้นอารมณ์ของผู้หญิง เปรียบเทียบว่า หากชอบดื่มสุราก็ให้จัดหาสุราชั้นดีมาให้ หากเป็นคนอ่อนไหวก็ให้พูดปลอบด้วยคำหวาน หากโลภมากในสมบัติเงินทองก็ให้เงินและผ้าชั้นดี ดังนั้น ถ้าหญิงคนนั้นมักมากในกาม ก็พึงให้ความสุขด้วยอวัยะวะชาย จิตใจของหญิง ที่สุดแล้วก็ไม่เป็นตัวของตัวเอง ได้เห็นแล้วเป็นต้องเกิดอารมณ์ ไม่มีที่ไม่เกิด
ตำรากามสูตรของจีน โดยเฉพาะที่มีอิทธิพลของลัทธิเต๋าถูกทางการเข้มงวดมากขึ้นในช่วงครึ่งหลังของราชวงศ์หมิง ตำราโบราณหลายตำราหายสาบสูญ แต่ในกลุ่มนักบวชลัทธิเต๋ากับปัญญาชนชาวหนานจิงในกลุ่มที่ชื่นชอบเรื่องเหล่านี้ยังคงเป็นที่นิยมกันอยู่และมีความเข้าใจในตำราตำรากามสูตรของลัทธิเต๋าอย่างดี
ประเพณีการรัดข้อเท้า
เกิดค่านิยมการรัดเท้าของชาวฮั่นในสมัยถัง ลัทธิขงจื้อกลับมาได้รับการยอมรับนับถือผ่านทางสำนักหยู (เผยแพร่คำสอนของขงจื้อ) และนับจากนั้น สตรีก็ถูกลดบทบาทลงเรื่อยๆ เป็นเพียงแค่วัตถุหนึ่งในบ้าน มีข้อจำกัดและข้อปฏิบัติมากมาย ห้ามออกนอกบ้าน ถ้าจะออกต้องมีผ้าคลุมหน้า ห้ามนั่นนู่นนี่ นอนก็ห้ามนอนเสมอผู้ชาย ไม่มี-ง ชีวิตขึ้นอยู่กับสามีและลูก
พวกคำกล่าวที่ว่า "สตรีเก่งเกินไปไม่ดี" สะท้อนชัดเจนถึงยุคที่ 3 ที่สตรีควรเก็บตัวในบ้าน อย่าได้เก่งออกหน้าออกตา หรือค่านิยมว่าต้องเก็บความบริสุทธิ์เอาไว้ก็เพิ่งจะมีในยุคนี้เช่นกัน และความคิดนี้ยังส่งผลมาถึงยุคสาธารณรัฐ ดังที่เห็นว่าอากงอาม่าทั้งหลายมีแนวคิดแบบนี้ทั้งนั้น
ดังนั้น สรุปได้ว่า พฤติกรรมรักนวลสงวนตัวนั้น เพิ่งเกิดขึ้นตอนต้นราชวงศ์ซิงถึงยุคสาธารณรัฐประชาชนจีนของเหมาเจ๋อตุง นั่นเอง
ประวัติศาสตร์4,000ปีในด้านเซ็กส์เป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่ตกทอดมาให้เราศึกษามีอะไรมั้ง?
โดยสรุปวัฒนธรรมเรื่องเพศของจีนจะกล่าวถึงเรื่องราวดังต่อไปนี้
1.ราคะจริต
- หนังสือวิจิตรกามาในอารยธรรมจีน
- หนังสือเต๋าแห่งรักและกามอารมณ์
- ราคจริต
ปรเะเภทนวนิยายอีโรติก นิยายลามก ที่สะท้อนสภาพสังคมที่แวดล้อมเรื่องเพศของชนชั้นและยุคสมัย และชุนกงฮว่า หรือภาพนู้ดจีน โดยรวมเรื่องราวในหอคณิกาอันโด่งดัง ตำนานชีวิตรักของเหล่านางโลมหลากรสในยุคสมัยต่างๆ หนังสืออ่านเล่นและนวนิยายยอดนิยมทางเพศ
ประวัติสาสตร์ที่รวมเรื่องเพศยุคการเรืองอำนาจ และความล่มสลายของยุคสมัยราชวงศ์ในจีนก็หนีไม่พ้นเรื่องเพศ อาทิ ราชวงศ์หมิงอันเกรียงไกร ยืนยงกว่า 200 ปี ได้ล่มสลายไป ก็ด้วยเรื่องชิงรักหักสวาท โดยอู๋ซานกุ้ยแม่ทัพผู้โด่งดังหันไปร่วมมือกับแมนจู ล้มบัลลังก์หลี่จื้อเฉิง เพื่อชิงนางเฉินหยวนหยวนหญิงคนรักที่หลี่จื้อเฉิงได้แย่งไปกลับคืนมา จากนั้น บัลลังก์ของชาวฮั่นก็ตกอยู่มือของแมนจูแห่งราชวงศ์ชิง เป็นต้น

2.การห่อเท้า
ซึ่งมีความเชื่อมโยงกับเรื่องเพศด้วย กล่าวคือผู้หญิงจีนถือว่าเท้าเป็นเสน่ห์และสัญลักษณ์ทางเพศ และยังมีค่านิยมในการเสริมเสน่ห์ความงามด้วยการห่อเท้า เช่นเดียวกับการเสริมหน้าอกในผู้หญิงในปัจจุบัน เชื่อกันว่าผู้ชายที่ได้เห็นเท้าดอกบัวที่เปลือยเปล่าจะเกิดอารมณ์ทางเพศ

3.รักร่วมเพศ
ที่ปรากฏตั้งแต่ราชวงศ์ตงโจว และแพร่ระบาดในราชวงศ์ฮั่น , กามวิตถาร, ขันที ที่ฉายภาพจำเพาะในขนบประเพณีจีน ที่ดำเนินควบคู่กับความฟอนแฟะในราชสำนักและเรื่องเพศอันพิลึกพิลั่น อทิเช่น ตำนาน“ลูกพีชที่เหลือ"และตำนาน "ตัดแขนเสื้อ”

4.ค่านิยมด้านความงาม
อาทิเช่น ยุคราชวงศ์ถังที่นิยมผู้หญิงรูปร่างอวบท้วม ใบหน้ากลมอวบอิ่ม อกใหญ่ ขณะที่ราชวงศ์ชิงถือว่าหญิงหน้าเรียว ที่แบบบางอ้อนแอ้น เป็นผู้หญิงที่สวยที่สุด และในยุคสมัยถังนี่เองผู้หญิงมีสิทธิเสรีภาพ สามารถเดินทางตัวคนเดียวได้ มีสิทธิหย่าขาดกับสามีได้ด้วยตัวเอง สมัยถังเป็นยุคแห่งเครื่องสำอาจและแฟชั่นเสื้อผ้าหน้าผม ดนตรีศิลปะและการบำรุงดูแลความงามของเรือนร่างและใบหน้าอย่างสร้างสรรโดยใช้สมุนไพรและอาหารบำรุง
ยุคคอมมิวนิสต์ ขอข้ามไปก่อนเพราะยังไม่มีข้อมูล?
ยุคปัจจุบัน
แล้วในยุคปัจจุบัน วัฒนธรรมเรื่องเพศในจีนไปในทิศทางใด
ปัจจุบัน จีนกำลังอยู่ในช่วงปฏิวัติทางเพศ ซึ่งเป็นหนึ่งในผลพลอยได้จากความรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจ และผลจากการที่รัฐบาลลดการแทรกแซงชีวิตส่วนตัวของประชาชน อย่างไรก็ดี เบื้องหลังประตูที่ปิดตาย กลับมีการเปลี่ยนแปลงกว่าภาพที่เห็นมาก
การให้การศึกษาทางเพศที่ล้าหลังตามไม่ทันพฤติกรรมวันรุ่นยุคใหม่ ทำให้ผลลัพธ์ที่ได้ไม่เป็นที่พึงปรารถนา ซึ่งสื่อรัฐบาลรายงานเมื่อปีที่แล้วว่า ในช่วงวันหยุดของสถานศึกษาเป็นเวลา 1 สัปดาห์ มีผู้ใช้บริการคลินิกทำแท้งหลายแห่งในเซี่ยงไฮ้ที่เป็นนักเรียนมัธยมปลายสูงถึง 80% ทั้งนี้ ในช่วงต้นทศวรรษ 1980 หากคู่สมรสจูงมือถือแขนกันในที่สาธารณะก็จะถูกคนมอง ขณะที่รัฐบาลก็จะเข้าไปบงการชีวิตรักของประชาชนว่าใครควรจะแต่งงานเมื่อไหร่ แต่ปัจจุบันสิ่งเหล่านี้ได้เปลี่ยนแปลงไป

ยามค่ำคืน จะมีคู่รักมาพลอดรักกันตามม้านั่งในสถานที่สาธารณะอย่างเปิดเผย คนรุ่นใหม่จัดปาร์ตี้นัดบอด แม้กระทั่งไวเบรเตอร์(vibrator)ก็มีให้เห็นตามตู้ขายของสินค้าอัตโนมัติและร้านจำหน่าย”ผลิตภัณฑ์สุขภาพสำหรับผู้ใหญ่”ซึ่งมีอยู่ทั่วไป

หลี่อิ๋นเหอ ผู้เชี่ยวชายเรื่องเพศของบัณฑิตยสถานด้านสังคมศาสตร์แห่งชาติจีนกล่าวว่า ผลการศึกษาชี้ว่า ชาวจีน 60-70% มีเพศสัมพันธ์ก่อนสมรส เพิ่มขึ้น 15% จากปี 1989 ซึ่งในช่วงนั้น วัยสมรสของคนเมืองโดยเฉลี่ยเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยปีที่แล้ว วัยสมรสของชายในเซี่ยงไฮ้จะอยู่ที่เฉลี่ย 31ปี ขณะเดียวกัน ทัศนคติเรื่องเพศก็เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในหมู่คนที่เกิดในช่วงทศวรรษ 1980
ผู้จัดการวัย 20 ปีของบาร์”เปปเปอร์”ในปักกิ่ง ซึ่งไม่ประสงค์เผยนามกล่าวอย่างไม่ลังเลว่า ผู้หญิงปัจจุบันมองเรื่องเพศเป็นเรื่องธรรมดา อย่างเพื่อนของเธอที่จะคุยเรื่องเพศอย่างเปิดเผย หรือมีเพศสัมพันธ์กับผู้ชายที่เจอกันในบาร์

ไฉจวินเจี๋ย ครูฝึกกอล์ฟวัย 23 ปีเห็นว่า ไม่มีเหตุผลอะไรที่จะต้องคบหาดูใจกันเป็นเวลานานถึงจะมีเพศสัมพันธ์กันได้

“หากคนสองคนต้องการซึ่งกันและกัน เวลาไม่ใช่ประเด็นสำคัญ”ไฉกล่าวโดยเลี่ยงคำว่า”เซ็กซ์”

ฉูเหยียนหยาง หญิงสาววัย 21 ปีกล่าวว่า เธอเคยมีเพศสัมพันธ์กับคนแปลกหน้า เพียงเพื่อต้องการลองว่ามันดีอย่างที่ล่ำลือกันหรือเปล่า

“พวกเขาจะเขียนเบอร์โทรลงบนกระดาษแผ่นเล็ก และหากคุณยอมดื่มเบียร์กับหนุ่มคนนั้น เขาจะให้กระดาษแผ่นนั้นกับคุณ วิธีนี้ จะทำให้คุณสามารถติดต่อเขาได้หากคุณต้องการพบเขาในวันถัดไป ขณะที่บางคู่จะพากันไปมีเพศสัมพันธ์ที่โรงแรม หลังจากที่เจอกันในคืนนั้น”

การรักษาความสัมพันธ์เป็นเรื่องที่ยุ่งยากมาก ฉูกล่าว

“สมมุติว่าคุณออกไปทานอาหารกับฉันในฐานะที่เราเป็นแฟนกัน ซึ่งปกติฉันจะตักอาหารให้คุณเสมอ แล้วจู่ๆวันหนึ่งฉันไม่ได้ตักให้คุณ คุณอาจจะโกรธฉัน ต่อว่าฉัน จนอาจเลยเถิดกลายเป็นเรื่องทะเลาะเบาะแว้งไป ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าปวดหัวมาก ดังนั้น การมีเพศสัมพันธ์เพียงชั่วข้ามคืน จึงเป็นเรื่องง่ายกว่ามาก”ฉูแสดงความเห็น

ขณะที่รสนิยมเรื่องเพศของวัยรุ่นจีนกำลังเดินไปในทิศทางที่น่าห่วง ครอบครัวและสถานศึกษาหลายแห่งกลับยังรู้สึกอายเมื่อต้องพูดถึงเรื่องทางเพศ
เติ้งจวิน นักจิตวิทยาวัย 52 ปี ผู้ให้บริการสายด่วนวัยรุ่นกล่าวว่า เธอได้รับโทรศัพท์ราว 15-20 สายต่อวัน ส่วนใหญ่เป็นการขอคำปรึกษาเรื่องเซ็กซ์ และส่วนใหญ่เป็นเด็กมัธยมปลายหรือเด็กมหาวิทยาลัย บางครั้งก็มีเด็กอายุเพียง 10 ขวบโทรเข้ามาขอคำปรึกษาเรื่องนี้

“ขณะที่สังคมเปิดกว้าง ทัศนคติของเราก็กำลังเปลี่ยนแปลง ขณะเดียวกัน ก็มีผู้ใหญ่หลายคนที่ไม่เห็นด้วยการมีเพศสัมพันธ์ก่อนสมรส เพราะว่า มันอาจนำปัญหาที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้มากมายมาสู่คุณ และถ้าหากปัญหาเหล่านี้เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ มันจะกลายเป็นปัญหาสังคมไปในที่สุด”เติ้งกล่าว

การทำแท้งยังเป็นทางเลือดยอดนิยมในหมู่วัยรุ่นที่ตั้งครรภ์โดยมิได้ตั้งใจ เพราะต่างเห็นว่า มันเป็นทางเลือกที่ดีกว่าการต้องทนอับอายเป็นมารดาวัยรุ่นที่ท้องก่อนแต่ง หรือท้องไม่มีพ่อในประเทศจีน ซึ่งค่าบริการทำแท้งของโรงพยาบาลแม่และเด็ก โรงพยาบาลรัฐในปักกิ่ง คิดค่าบริการทำแท้ง 140 เหรียญสหรัฐต่อคน หากไม่วางยาสลบจะลดอีก 55 เหรียญฯ

“แม้นักเรียนจีนในปัจจุบันจะได้รับความรู้เรื่องโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เช่น เอดส์ แต่การถกเรื่องเพศในชั้นเรียนยังคลุมเครือ และแทบจะไม่พูดถึงการใช้ถุงยางอนามัย ขณะเดียวกัน ครูผู้สอนก็ไม่อธิบายเรื่องความสัมพันธ์ทางเพศอย่างตรงไปตรงมา ซึ่งหากคุณไม่พูดเรื่องเพศอย่างตรงไปตรงมา จะถือว่าเป็นการสร้างความเข้าใจที่ชัดเจนในเรื่องเพศแก่เด็กได้อย่างไร”หลี่ ผู้เชี่ยวชาญด้านเพศกล่าว

อย่างไรก็ดี แม้จะมีหลายคนยอมรับว่า ทัศนคติทางเพศของชาวจีนในปัจจุบันเปลี่ยนไป แต่ยังมีส่วนหนึ่งที่เห็นว่า ในความเปลี่ยนแปลงนั้น ยังคงมีบรรทัดฐานที่ดีงามอยู่ อย่างสาวนางหนึ่งเล่าว่า เธอไม่ชอบให้แฟนแสดงความรักด้วยการจูบลูบไล้ในที่สาธารณะ แม้เขาจะต้องการทำเช่นนั้น ซึ่งเธอก็มักจะอ้างกับเขาว่า “ฉันเพิ่งทานข้าวมา ยังไม่ได้แปรงฟันเลย”.
Cr.1
//www.tcijthai.com/news/2020/5/article/10298
Cr.2
//www.silpa-mag.com/history/article_63562
cr.3
//mgronline.com/china/detail/9510000028073
cr.4
...
cr.5
//www.hongqipaoshop.com/.../%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9...
cr.6
//thai.ac/news/show/406448
___________________
#เพจภาพและเรื่องราวต่างๆที่น่าสนใจ

 

ประวัติศาสตร์จีนถูกแบ่งออกเป็น 3 ยุค คือ ยุคโบราณ ยุคจักรวรรดิ และยุคใหม่
เริ่มต้นที่ยุคโบราณ
ราชวงศ์เซี่ย 2,100 - 1,700 ปีก่อนคริสตศักราช
ราชวงศ์เซี่ยถือเป็นราชวงศ์แรกในประวัติศาสตร์จีนที่เริ่มระบบการปกครองแบบพ่อสืบทอดให้ลูก ในระยะเวลา 400 กว่าปีมีกษัตริย์ครองบัลลังก์ 17 พระองค์ มีการสืบทอดอำนาจถึง 14 ชั่วคน
ราชวงศ์ซาง 1,700 - 1,100 ปีก่อนคริสตศักราช
ราชวงศ์ซางมีอำนาจอยู่ประมาณ 550 ปี มีกษัตริย์ปกครองทั้งสิ้น 31 พระองค์
ราชวงศ์โจว 1046 - 256 ปีก่อนคริสตศักราช
นักประวัติศาสตร์จีนแบ่งราชวงศ์โจวออกเป็น ราชวงศ์โจวตะวันตก และ ราชวงศ์โจวตะวันออก ซึ่งมีระยะครองแผ่นดินต่อเนื่องกัน 790 ปี(ยาวนานที่สุดในจีน) แต่มีการย้ายเมืองหลวงหลังจากแพ้ชนะกัน จึงแบ่งราชวงศ์นี้ด้วยทิศทางของเมืองหลวงเป็นหลัก
ราชวงศ์โจวตะวันตก 1,100 - 771 ปีก่อนคริสตศักราช
ราชวงศ์โจวมีประวัติความเป็นมาอันยาวนาน เดิมอาศัยอยู่ในแถบเสียกาน ต่อมาอพยพไปตั้งรกรากยังโจวหยวน ซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของอำเภอฉีซานมณฑลส่านซีของจีนจากนั้นแพร่ขยายอิทธิพลไปทางทิศตะวันออก
☀ราชวงศ์โจวตะวันออก 770 - 476 ปีก่อนคริสตศักราช
หลังจากอาณาจักรโจวตะวันตกของพระโจวโยวหวังล่มสลายลง โดยความร่วมมือของเจ้านครรัฐบางคนกับเผ่าเฉวี่ยนหรงแล้ว พวกเขาสถาปนารัชทายาท อี้จิ้ว ขึ้นเป็นกษัตริย์องค์ใหม่ทรงพระนามว่า พระเจ้าโจวผิงหวัง แล้วย้ายไปตั้งเมืองหลวงใหม่ที่ เมืองลั่วอี้
นักประวัติศาสตร์เรียกช่วงการครองอำนาจของราชวงศ์นี้ว่า ยุคชุนชิว (ซึ่งมีสงครามแย่งชิงความเป็นใหญ่ของเจ้านครรัฐต่างๆเป็นระยะเพื่อความเป็น เจ้าผู้นำนครรัฐ ยุคนี้เริ่มต้นในปี 770 ก่อนคริสตศักราช รัชสมัยพระเจ้าโจวผิงหวัง ถึงปี 476 ก่อนคริสตศักราช
ต่อมาเป็นยุคจักวรรดิ
ราชวงศ์ฉิน 221– 206ปีก่อนคริสตศักราช
ราชวงศ์ฉินมีอายุเพียงแค่ 12 ปี เมืองหลวงตั้งอยู่ที่เซียงหยาง บริเวณเมืองซีอานปัจจุบัน ก่อนหน้านี้จีนได้แตกแยกออกเป็น 7 รัฐ เปิดศึกกับกษัตริย์ของรัฐ ทั้ง 6 รัฐในลุ่มน้ำเหลือง คือ หาน จ้าว เว้ย ฉู่ เยียน และฉี ฉินได้ทำสงครามรวบรวมแผ่นดินให้เป็นหนึ่งเดียว และสถาปนาตนเป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์ฉินโดยใช้พระนามว่า ฉินสื่อหวงตี้ หรือ จิ๋นซีฮ่องเต้ ในช่วงนี้แผ่นดินจีนมีความเป็นปึกแผ่นมั่นคงมาก แต่เมื่อจิ๋นซีฮ่องเต้ทรงเสด็จสวรรคต ราชวงศ์ฉินก็สั่นคลอนอย่างหนัก และล่มสลายลงในช่วง 206ปีก่อนคริสต์ศักราช
ในสมัยราชวงศ์ฉินมีการก่อสร้างกำแพงเมืองจีน เพื่อป้องกันการรุกรานของพวกป่าเถื่อนทางเหนือของจีน คือพวกมองโกล ซงหนู และคีตัน
ราชวงศ์ฮั่นตะวันตก 206 ปีก่อนคริสตศักราช – ปีค.ศ. 220
หลังจากที่ผ่านสงครามกลางเมืองช่วงสั้น ๆ เมื่อเล่าปังเอาชนะเซี่ยงอี่สำเร็จ จึงสถาปนาตนเองเป็นจักรพรรดิองค์แรกของราชวงศ์ฮั่นอันยิ่งใหญ่และยาวนาน มีพระนามว่า สมเด็จพระจักรพรรดิฮั่นเกาจู โดยตั้งเมืองหลวงที่ ฉางอาน แล้วเรียกชื่อประเทศว่า อาณาจักรฮั่น
ราชวงศ์ซิน ปีค.ศ. 9 - 23
ราชวงศ์ซิน มีเป็นราชวงศ์สั้นๆ ผู้ก่อตั้ง คือ อองมัง ทรงได้อำนาจมาจากการปฏิวัติโค่นล้มจักรพรรดิฮั่น เมื่อเสด็จสวรรคต แต่ราชวงศ์ฮั่นก็ฟื้นฟูกลับขึ้นมาอีกครั้ง
ราชวงศ์ฮั่นตะวันออก ปีค.ศ. 23 - 220
ราชวงศ์นี้เป็นราชวงศ์ที่ถูกกู้ขึ้นมา หลังถูกอองมังยึดอำนาจ เป็นราชวงศ์ฮั่นดังเดิม แต่ย้ายเมืองหลวงไปลั่วหยางช่วงเสื่อมของฮั่นตะวันออก เกิดกบฎโจรโพกผ้าเหลือง ขึ้นใน ค.ศ. 184 ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของยุคขุนศึก หลังจากนั้นได้มีอาณาจักรสามแห่งตั้งประชันกัน โดยเรียกว่า ยุคสามก๊ก เป็นที่มาของวรรณกรรมเรื่องสามก๊กเนื่องจากความเจริญของชนชาติจีนในยุคราชวงศ์ฮั่น คนจีนจึงเรียกตัวเองว่าเป็น “ชาวฮั่น” สืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน
ยุคสามก๊ก ปีค.ศ. 220 - 280
เป็นยุคที่แผ่นดินจีนแตกออกเป็น 3 ก๊ก โดยมีก๊กของ เล่าปี่ ก๊กของ โจโฉ และก๊กของ ซุนกวน ซึ่งต่างรบแย่งชิงความเป็นใหญ่ในแผ่นดินมังกรทอง เริ่มจากการที่พระเจ้าเหี้ยนเต้ ถูกบุตรชายโจโฉขับออกจากบัลลังก์ แผ่นดินจีนแตกออกเป็น 3 แคว้น
ค.ศ. 263 ก๊กเล่าปี่ล่มสลาย
ค.ศ. 265 ก๊กโจโฉถูกขุนศึกภายในชื่อ สุมาเอี๋ยน ยึดอำนาจ และสุมาเอี๋ยนก่อตั้งราชวงศ์จิ้น และเริ่มครองราชย์ในนามราชวงศ์จิ้น
ค.ศ. 280 ก๊กซุนกวนล่มสลาย สุมาเอี๋ยนครองแผ่นดินจีนได้สมบูรณ์
ราชวงศ์จิ้นตะวันตก ปีค.ศ. 265 - 317
สุมาเอี๋ยน สถาปนาตนเองเป็นจิ้นอู่ตี้ ก่อตั้งราชวงค์จิ้นตะวันตกใน ปีค.ศ. 265 แทนที่ราชวงศ์วุ่ยของเฉาเชาหรือโจโฉ เมื่อถึงปีค.ศ. 280 จิ้นตะวันตกปราบง่อก๊กลงได้ รวมแผ่นดินเป็นปึกแผ่น ยุติยุคสามก๊กลง ราชวงศ์จิ้นได้เปิดรับเผ่านอกด่านทางเหนือเข้ามาเป็นจำนวนมาก หัวหน้าของชนเผ่าซงหนู หลิวหยวน ก็ประกาศตั้งตัวเป็นอิสระ โดยใช้ชื่อว่า ฮั่นกว๋อ ภายหลังหลิวหยวนสิ้น
บุตรชายชื่อหลิวชง ยกกำลังเข้าบุกลั่วหยางนครหลวงของจิ้นตะวันตก จับจิ้นหวยตี้เป็นตัวประกันและสำเร็จโทษในเวลาต่อมา
การล่มสลายของราชวงศ์จิ้นตะวันตก ทำให้แผ่นดินจีนตกอยู่ในภาวะแตกเป็นเสี่ยงๆ ราชสำนักจิ้นย้ายฐานที่มั่นทางการปกครองและเมืองหลวงลงไปทางใต้
และสถาปนา ราชวงศ์จิ้นตะวันออก ค.ศ. 317 - 420
ขณะที่สถานการณ์ทางตอนเหนือวุ่นวายหนัก แผ่นดินที่แตกออกเป็นแว่นแคว้นของชนเผ่าต่างๆ 16 แคว้น โดยเรียกยุคนี้ว่า ยุค5ชนเผ่า16แคว้น เป็นยุคสั้นๆ ที่เกิดการหลอมรวมทางวัฒนธรรมของชาวจีนเชื้อสายต่างๆ
ราชวงศ์เหนือใต้ ปีค.ศ. 420 - 581
หลังจากการล่มสลายของราชวงศ์จิ้นตะวันตก ภาคเหนือของจีนก็ตกอยู่ในภาวะจลาจลและสงครามชนเผ่าของยุค 16 แคว้น จวบจน ค.ศ. 386 หัวหน้าเผ่าทั่วป๋าเซียนเปยได้สถาปนาแคว้นเป่ยวุ่ย และตั้งนครหลวงที่เมืองผิงเฉิง ยุติความวุ่นวายจากสงครามแย่งชิงอำนาจที่เกิดขึ้นทางภาคเหนือใน ค.ศ. 439
เมื่อถึงปีค.ศ. 581หยางเจียนปลดโจวจิ้งตี้ จากบัลลังก์ สถาปนาราชวงศ์สุย จากนั้นกรีธาทัพลงใต้ ยุติสภาพการแบ่งแยกเหนือใต้อันยาวนานของแผ่นดินจีนได้เป็นผลสำเร็จ
ราชวงศ์สุย ปีค.ศ. 581 - 618
สุยเหวินตี้ฮ่องเต้ ได้รวบรวมประเทศให้เป็นปึกแผ่นได้อีกครั้ง แต่โอรสคือสุยหยางตี้ไม่มีความาสามารถ บรรดาผู้ปกครองหัวเมืองต่างตั้งตนเป็นใหญ่และแย่งอำนาจกัน ราชวงศ์สุยอยู่ได้เพียงสองรัชกาลเท่านั้น
ราชวงศ์ถัง ปีค.ศ. 618 - 907
ถังเกาจูฮ่องเต้ ขุนนางใหญ่ในสมัยราชวงศ์สุย ได้ตั้งราชธานี ที่เมืองฉางอัน ผู้นำของแค้วนถังได้สถาปนาตัวเองเป็นอิสระจากสุยหยางตี้ และได้ชัยชนะเด็ดขาดจากแคว้นอื่นๆในที่สุด ภายหลังโอรสองค์รองหลี่ซื่อหมินยึดอำนาจจากรัชทายาท หลี่เจี้ยนเฉิง และโอรสองค์ที่สามหลี่หยวนจี๋ ในเหตุการณ์ที่ประตูเสียนอู่ สุดท้ายหลี่เอียนสละราชสมบัติ หลี่ซื่อหมินขึ้นเป็น ถังไท่จงฮ่องเต้ และเริ่มยุคถัง ซึ่งรุ่งเรืองเทียบได้กับยุคฮั่น เป็นยุดที่มีความรุ่งเรื่องทั้งทางด้าน แสนยานุภาพทางทหาร การค้า ศิลปะ
ราชวงศ์ถังมีอาณาเขตกว้างใหญ่กว่าราชวงศ์ฮั่นมาก นอกจากจักรพรรดิถังไท่จงแล้วในสมัยถังนี้ยังมีจักรพรรดิถังเสวียนจง ซึ่งในสมัยของพระองค์กวีรุ่งเรื่องมาก แต่พระองค์ลุ่มหลงสนมเอกหยางกุ้ยเฟย ไม่สนใจในราชกิจบ้านเมือง และในระหว่างได้เกิดฮ่องเต้หญิงคนแรกของประเทศจีนซึ่งก็คือ พระนางบูเช็กเทียน
อานลู่ซานแม่ทัพชายแดนจึงก่อการปฏิวัติและยึดเมืองหลวงฉางอาน เป็นผลสำเร็จ ทำให้ราชวงศ์ถังเริ่มเสื่อมตั้งแต่บัดนั้น
ยุคห้าราชวงศ์สิบอาณาจักร ปีค.ศ. 907 - 960
ตอนปลายราชวงศ์ถังมีการก่อกบฎประชาชนตามชายแดน ขันทีครองอำนาจบริหารบ้านเมืองอย่างเหิมเกริม มีการแย่งชิงอำนาจกัน
แม่ทัพจูเวิน ได้สังหารขันทีทรงอำนาจในราชสำนัก แล้วสถาปนาตนเป็นจักรพรรดิ ทำให้ราชวงศ์ถังสิ้นสุด บรรดาหัวเมืองต่างๆมีการแบ่งอำนาจกันเป็น 5ราชวงศ์ 10 อาณาจักร คือ ราชวงศ์เหลียง ถัง จิ้น ฮั่น และโจว โดยปกครองแถบลุ่มน้ำฮวงโหติดต่อกันมาตามลำดับ ส่วนเขตลุ่มแม่น้ำแยงซีเกียงกับดินแดนทางใต้ลงไปเกิดเป็นรัฐอิสระอีก 10 รัฐ รวมเรียกว่า 10อาณาจักร การแบ่งแยกอำนาจปกครองยุคนี้ขาดเสถียรภาพ ชีวิตของประชาชนเต็มไปด้วยความลำบากยากแค้น ต่อมาเจ้าควงอิ้น ผู้บัญชาการทหารองครักษ์ชิงอำนาจจากราชวงศ์โจวตั้งตนสถาปนาราชวงศ์ซ่ง เป็นพระเจ้าซ่งไท่จู่ แล้วปราบปรามรวมอาณาจักรเรื่อยมา จนกระทั่งพระเจ้าซ่งไท่จง ผู้สืบทอดราชบัลลังก์ปิดฉากสภาพการแบ่งแยกดินแดนทั้งหมดลงสำเร็จโดยใช้เวลา เกือบ 20 ปี
ราชวงศ์ซ่ง ปีค.ศ. 960 - 1279
ปีค.ศ. 960เจ้าควงอิ้นหรือพระเจ้าซ่งไท่จู่ สถาปนาราชวงศ์ซ่ง รวบรวมแผ่นดินจีนเป็นอันหนึ่งอันเดียวสำเร็จ แล้วใช้นโยบายแบบลำต้นแข็ง กิ่งก้านอ่อนในการบริหารประเทศ ปฏิรูปการปกครอง การทหาร การคลัง อันมีประโยชน์ในการสร้างเสถียรภาพแก่อำนาจส่วนกลาง แต่ส่วนท้องถิ่นกลับอ่อนแอ เมื่อต้องทำสงครามย่อมไม่มีกำลังต่อต้านศัตรูได้
ราชวงศ์หยวน ปีค.ศ. 1279 - 1368
ยุคนี้ประเทศจีนถูกปกครองโดยชาวมองโกล นำโดย
กุบไลข่าน ซึ่งโค่นราชวงศ์ซ่ง
ตั้งราชวงศ์หยวน หรือราชวงศ์มองโกลขึ้น ยุคสมัยนี้ได้มีชาวต่างประเทศเดินทางมาค้าขายเช่น มาร์โคโปโล
มีการส่งกองทัพรุกราน ชวา เวียดนาม ญี่ปุ่น แต่ไม่ประสบความสำเร็จ
หลังจากกุบไลข่านสิ้นพระชนม์ ชนชั้นมองโกลได้กดขี่ชาวจีนอย่างรุนแรง จนเกิดกบฎ และสะสมกองกำลังกลุ่มต่อต้านขึ้น ช่วงปลายราชวงศ์หยวน จูหยวนจางได้ปราบปรามกลุ่มต่างๆ และขับไล่ราชวงศ์หยวนออกไปจากแผ่นดินจีนได้สำเร็จ
ราชวงศ์หมิง ปีค.ศ. 1368 - 1644
ราชวงศ์หมิงเป็นราชวงศ์ของจีนสถาปนาโดยจูหยวนจาง หรือจักรพรรดิหมิงไท่จู่ ได้สถาปนาราชวงศ์หมิงขึ้น เมื่อปีค.ศ.1368 และครองอำนาจได้ 31 ปี จักรพรรดิหมิงไท่จู่ได้เสริมสร้างระบอบรวมศูนย์อำนาจรัฐเผด็จการแบบศักดินาให้เข้มแข็งขึ้นอย่างสุดความสามารถ ได้ประหารขุนนางผู้มีคุณูปการ ฆ่าผู้คนที่มีความเห็นที่ไม่เหมือนพระองค์ เพื่อเพิ่มอำนาจของจักรพรรดิให้มากขึ้น และได้ปราบปรามอิทธิพลที่ต่อต้านพระองค์ หลังจากจักรพรรดิหมิงไท่จู่สวรรคตแล้ว จักรพรรดิเจี้ยนเหวินซึ่งเป็นพระราชนัดดาได้ขึ้นครองราชย์ ต่อมาไม่นาน จูตี้ ผู้เป็นปิตุลาของจักรพรรดิเจี้ยนเหวิน ได้ลุกขึ้นต่อสู้และโค่นอำนาจ รัฐของจักรพรรดิเจี้ยนเหวินลง จูตี้ได้ขึ้นครองราชย์เป็นจจักรพรรดิหย่งเล่อ ในปีค.ศ. 1421 จักรพรรดิหย่งเล่อได้ย้ายเมืองหลวงจากเมืองหนานจิงไปยังกรุงปักกิ่ง
ราชวงศ์ชิง ค.ศ. 1644 - 1912
เป็นราชวงศ์สุดท้ายก่อนสถาปนาเป็นระบบสาธารณรัฐ เป็นราชวงศ์ของเผ่าแมนจู เป็นชนต่างชาติที่เข้ามาปกครองประเทศจีน เป็นสมัยที่มีการตรวจตราข้อบังคับของสังคม เช่น ให้ชายจีนไว้ผมหางเปียและใส่เสื้อแบบแมนจู ในราชสำนักมีขุนนางตำแหน่งสำคัญกำเนิดขึ้นด้วย คือ “ขันที”
และสุดท้ายคือ ยุคใหม่
หลังจากจักรพรรดิปูยี ฮ่องเต้ราชวงศ์ชิงองค์สุดท้ายสละราชสมบัติและเข้าไปอยู่ภายใต้การคุ้มครองของญี่ปุ่น
ซึ่งได้ยึดครองดินแดนบางส่วนของจีน พระองค์กลายเป็นหุ่นเชิดของญี่ปุ่น และถูกสถาปนาขึ้นเป็นฮ่องเต้ของดินแดนแมนจูกัว ซึ่งญี่ปุ่นยึดครองไว้
ต่อมาญี่ปุ่นต้องพ่ายแพ้ต่อพรรคคอมมิวนิสต์ของ
เหมาเจ๋อตุง ทำให้ฮ่องเต้พระองค์นี้รอดตายและมีพระชนม์ชีพจนแก่ชราและสวรรคตด้วยโรคภัย ของชายชราทั่วไป ถือเป็นการสิ้นสุดจีนโบราณและก้าวเข้าสู่ยุคจีนใหม่ซึ่งเป็นการต่อสู้ชิง อำนาจระหว่างพรรคคอมมิวนิสต์ของ เหมาเจ๋อตุง กับพรรครัฐบาลของเจียงไคเช็ค
ยุคสาธารณรัฐจีน ปีค.ศ. 1912 -1949
ดร. ซุนยัดเซ็น เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบบสมบูรณยาสิทธิราชย์ซึ่งปกครองด้วยสิทธิขาดของจักรพรรดิ มาเป็นระบอบประชาธิปไตยอันมีจักรพรรดิเป็นประมุขตามอารยนิยมหลังจากซุนยัดเซ็นเสียชีวิต เป็นช่วงเวลาชิงอำนาจระหว่างฝ่ายประชาธิปไตย คือ เจียงไคเช็ค กับฝ่ายคอมมิวนิสต์
นำโดย เหมาเจ๋อตุง
ยุคสาธารณรัฐประชาชนจีน ปีค.ศ. 1949 - ปัจจุบัน
หลังสงครามภายในจีนและชัยชนะเป็นของพรรคคอมมิวนิสต์จีนเหมาเจ๋อตุง พรรคก๊กมินตั๋งของเจียงไคเช็กอพยพไปที่เกาะไต้หวัน
ที่มา : ภาษาและวัฒนะธรรมจีน
//www.blockdit.com/articles/5d243bca429e054d66cbdfd2
__________________________
#เพจภาพและเรื่องราวต่างๆที่น่าสนใจ

 

'เหอเซิน'
อัครมหาเสนาบดี
ผู้ฉ้อราษฎร์บังหลวง จนมั่งคั่งกว่าราชสำนัก
เหตุการ์เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลเฉียนหลง เมื่อเด็กหนุ่มสังกัดกองธงแดงนามว่า "ช่านเป่า" เข้าวังเป็นทหารมหาดเล็กธรรมดาๆคนหนึ่ง
แต่ด้วยความที่เขา มีความเชี่ยวชาญในภาษาแมนจู ฮั่น มองโกล และทิเบต ภายหลังจึงได้แสดงความสามารถที่มีต่อหน้าเฉียนหลง จึงทำให้เป็นที่โปรดปรานพิเศษ และได้รับการเลื่อนขั้นอย่างต่อเนื่อง จากมหาดเล็ก องครักษ์ และตำแหน่งรองผู้บัญชาการกองธงน้ำเงิน ไปตามลำดับ
ในช่วงเวลาที่รับราชการ 20 กว่าปีนั้น เขาได้รับการเลื่อนขั้นถึง 47 ครั้ง เคยดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการเก็บค่าธรรมเนียมประตูเมืองฉงเหวิน ดูแลท้องพระคลังส่วนพระองค์ และคลังหลวง
ในระยะแรกนั้น ซ่านเป่าเป็นขุนนางที่ซื่อสัตย์สุจริต และมีความสามารถมาก อีกทั้งยังช่วยหาทางเติมเต็มเงินในคลังหลวงให้มีมากพอกับค่าใช้จ่ายการดำเนินโครงการสำคัญ ๆ ในบ้านเมืองอย่างเช่น การทหาร การจัดซ่อมสร้างเขื่อน การสร้างสุสาน การคลี่คลายคดีที่หนุนหนัน การตรวจสอบบัญชีที่ซันตง และการคิดค้นหม้อไฟขนาดเล็ก ที่ทำให้งานเลี้ยงที่มีแขกกว่า 530 โต๊ะของเฉียนหลงนั้นสามารถมีอาหารที่อุ่นได้อยู่ตลอดเวลา
ด้วยความที่เฉียนหลงโปรดปรานมาก จึงทำให้เขาได้เป็นขุนนางใหญ่ แถมยังยกลูกสาวให้กับลูกชายเขาอีก ที่นี้เหอเซินก็เลยได้เป็นเครือญาติกับจักรพรรดิ ด้วย 2 อย่างนี้ จึงทำให้เขาจึงมีอำนาจมากขึ้นอย่างรวดเร็ว
ภายหลังเขาเริ่มใช้ตำแหน่งหน้าที่ หาเงินหาทองให้กับตัวเอง จึงได้เริ่มเปิดโรงรับจำนำ เปิดร้านรับแลกตั๋วเงิน เหมืองแร่ และกิจการซื้อขายอื่นๆอีกมากมาย
นอกจากนี้เขายังใช้ใช้อำนาจบาตรใหญ่ แบ่งพรรคแบ่งพวก รวมทั้งฉ้อราษฎร์บังหลวงไว้อย่างมโหฬาร
โดยมีหนังสือบันทึกเรื่องเขาไว้ว่า
"...รัชสมัยเฉียนหลงแห่งต้าชิง เหอเซินใหญ่ยิ่งคับแผ่นดิน มีอำนาจเหลือล้นราชสำนัก เหล่าขุนนางพร้อมพรักชิงประจบ ทั้งขูดรีดฉ้อโกงอย่างเปิดเผย ละเลยขุนนางพรรคพวกอื่น จนระบบปกครองต้องพังครืน เหล่าขุนนางดาษดื่นด้วยคนพาล...."
ตุลาคม ปี ค.ศ. 1796
เฉียนหลงประกาศสละสมบัติ
สาเหตุเนื่องจากไม่ต้องการครองราชย์นานกว่าพระอัยกาคังซี" หลังจากสละราชสมบัติแล้วเฉียนหลงก็ได้รับตำแหน่งใหม่ว่าพระราชบิดาหลวง ร่วมฟังข้อราชการกับจักรพรรดิใหม่เจียซิ่ง อยู่ 3 ปี ก็สิ้นพระชนม์
หลังจากเฉียนหลงจากไปได้แค่ 1 วัน เจียชิ่งก็มีคำสั่งให้ประกาศความผิดของอัครมหาเสนาเหอเซิน จำนวน 20 กระทง แล้วปลดออกจากตำแหน่ง ริบทรัพย์ทั้งหมดเข้าคลังหลวง ส่วนตัวคนนำไปกุมขัง
รายการทรัพย์สินของเหอเซินที่ยึดได้
1. ชามทองคำ 4,288 ใบ
2. โถเงิน 600 ชิ้น
3. จานทอง 119 ใบ
4.ทองคำ 5,800,000 ตำลึง
5. เงินแท่ง 50,000 แท่ง
6. ตั๋วเงิน 800 ล้านตำลึง
7. อัญมณี เพชร พลอย ผ้าแพรไหม ของมีค่าอื่น ๆอีกมากมาย ที่ไม่สามารถนับจำนวนทั้งหมดได้
สมบัติที่ถูกยึดจากจวนเหอเซิน ถูกขนเข้าคลังหลวงอย่างมากมาย จนมีการกล่าวขานว่า "..เหอเซินล้มกลิ้ง เจียชิ่งอิ่มท้อง.."
เหอเซินถูกกุมขังอยู่ 10 วัน เจียชิ่งจึงได้มอบผ้าขาวให้ เพื่อใช้อัตวินิบาตกรรมแทนการประหารด้วยการแล่เนื้อ ส่วนบุตรชายคนโตเนื่องจากได้อภิเษกกับองค์หญิงเหอเซี่ยวทำให้เว้นจากการติดคุก ส่วนลูกหลานที่เหลือของเหอเซินก็ถูกเนรเทศไปยังหมู่บ้านที่อยู่ทางใต้ของเมืองฮาร์บินลงมาราว 60 กิโลเมตร ในมณฑลฮาร์บิน
ก่อนที่เหอเซินจะผูกคอตายนั้น เขาได้ประพันธ์บทกวีสุดท้ายแสดงถึงความรันทดและความแค้นที่มี ไว้ว่า
"....ห้าสิบปี คืนวันดังความฝัน บัดนี้รา มือพลันลาโลก วันหน้า เมื่อวารีท่วมมังกร ตามหมอกควัน ขจรมาเกิดกาย...."
ซึ่งมีผู้แปลความหมายนี้ไว้ว่า
"...ถึงวันใด ที่มีผู้กลับมาควบคุมฮ่องเต้ไว้ คนผู้นั้น ก็คือเหอเซินที่กลับมาเกิดใหม่ ซึ่งมีคนตีความไว้ว่าเป็นซูสีไทเฮา ที่เกิดในปีค.ศ.1835 (ปีที่แม่น้ำฮวงโหเกิดอุทกภัยใหญ่)...."
ความมั่งคั่งร่ำรวยของเหอเซินนั้น ได้รับการจัดอันดับจากหนังสือพิมพ์ยักษ์ใหญ่อย่าง " วอลล์ สตรีท เจอร์นัล " ให้เป็นหนึ่งใน 50 บุคคล ที่ร่ำรวยที่สุดในโลกในรอบสหัสวรรษ เมื่อเดือนเม.ย. 2007 ซึ่งก่อนหน้านั้น เหอเซินก็เคยได้รับการจัดอันดับบุคคลที่รวยที่สุดในศตวรรษที่ 18
ปี ค.ศ. 1776
ตรงกับปีที่ 41 ของเฉียนหลง
เหอเซินเป็นประธานกรรมการ
ชำระประวัติศาสตร์จีน
การชำระประวัติศาสตร์ครั้งนั้น ถือเป็น
โศกนาฏกรรมทางประวัติศาสตร์และวรรณกรรมจีน อย่างมากมาย
เขาและพรรคพวกได้ร่วมมือกันบิดเบือนประวัติศาสตร์และวรรณกรรมอย่างมโหราฐ จากคนดี ๆ เขาก็ได้เปลี่ยนเป็นคนชั่ว จากคนชั่วก็กลายมาเป็นคนดี อาทิเช่น"เรื่องสามก๊ก" เป็นเรื่องที่ถูกบิดเบือนมากที่สุด ซึ่งอยู่ดี ๆ ผู้ร้ายบางคน ได้ปรับเปลี่ยนเป็นคนดี เป็นวีรบุรุษ บ้างคนก็เปลี่ยนสถานะเทพเจ้าไปเลยก็มี
หนังสือประวัติศาสตร์จีนหลายเล่ม ถูกขึ้นบัญชีดำเป็นหนังสือต้องห้าม แต่นักประวัติศาสตร์รุ่นใหม่ ๆ ก็ได้สืบเสาะจนพบว่า หนังสือประวัติศาสตร์ก่อนยุคเหอเซินนั้น ได้ถูกทำลายไปไม่น้อยกว่า 2,340 รายการ และถูกดัดแปลงให้เพี้ยนไปจากเดิมมากกว่าหมื่นรายการ
นอกจากนี้เหอเซินยังเคยได้รับการแต่งตั้งให้เป็นประธานกรรมการปรับปรุงโบราณสถาน และโบราณวัตถุในปี ค.ศ. 1791 โดยมีทีมงาน 8 คน จนเกิดเป็นผลงานชิ้นโบว์แดง อย่างเช่น "มหาสารานุกรม 4 ชุด" เก็บไว้ในหอสมุด 4 แห่ง ซึ่งปัจจุบันยังคงหลงเหลืออยู่ จักรพรรดิเฉียนหลงเองก็โปรดปราน ถึงขนาดให้คณะทำงานนี้อยู่กินหลับนอนในวังได้เลย
ซึ่งปกติแล้ว ยามวิกาลผู้ชายจะอยู่ในวังหลวงไม่ได้ ซึ่งแค่นั้นยังไม่พอ ทีมงานของเขาบางคนเป็นโรคความต้องการสูง จึงต้องหาสาวสนมในวังมาช่วยคลายเครียด ห้องสมุดในครั้งนั้นก็เลยกลายเป็นหอรักไปในตัวด้วยอีกด้วย
ที่มา : เจ้าคุณปราบสุราพินาศ

___________________________
#เพจภาพและเรื่องราวต่างๆที่น่าสนใจ

 

เรื่องห้ามยิงปืนใหญ่เพราะกลัวนางสนมหูแตก เป็นเรื่องจริงหรือไม่
.
มีเรื่องที่กล่าวกันมานานแล้วว่าการป้องกันกรุงศรีอยุทธยาในช่วงสงครามเสียกรุงครั้งที่สองอยู่ในขั้นเสื่อมทราม เพราะพระเจ้าแผ่นดินคือพระเจ้าเอกทัศน์ทรงหลงสตรี จึงโปรดให้ห้ามยิงปืนใหญ่หรือบางแห่งก็ว่าให้ลดดินปืนลงเพราะกลัวนางสนมหูแตกหรือตกใจทำให้ไม่สามารถยิงปืนข้ามคูพระนครถึงค่ายพม่าได้
บ้างก็เล่าไปว่าการจะยิงปืนใหญ่ต้องขออนุญาตศาลาลูกขุนก่อนเพราะต้องรอในนางสนมอุดหูเสียก่อนถึงยิงได้ เป็นเหตุให้ครั้งหนึ่งพระยาตาก (สิน) ยิงปืนใหญ่โดยไม่ขออนุญาตศาลาลูกขุนก่อนถูกภาคทัณฑ์
บางคนก็เล่าไปว่านางสนมดังกล่าวคือเจ้าจอมเพ็ง เจ้าจอมแมน พระสนมเอกของพระเจ้าเอกทัศน์ ซึ่งมีประวัติไม่ดีนักเนื่องจากพงศาวดารระบุว่าเป็นน้องสาวของพระยาราชมนตรีบริรักษ์ (ปิ่น) จางวางมหาดเล็ก กับจมื่นศรีสรรักษ์ (ฉิม) หัวหมื่นมหาดเล็ก ซึ่งเป็นขุนนางคนโปรด แต่กำเริบเสิบสานเข้าออกฝ่ายในตามอำเภอใจและลักลอบเป็นชู้กับข้างในจนโดนลงอาญาเมื่อพระเจ้าอุทุมพรลาผนวชกลับมารับราชสมบัติ
.
เรื่องเล่านี้ถูกเล่าและนำเสนอซ้ำมาโดยตลอด และยิ่งมีรายละเอียดมากขึ้นเรื่อยๆ จนไม่รู้ว่าที่มาจากไหน
แต่ทั้งนี้ถ้าได้ศึกษาจากหลักฐานต่างๆ แล้วจะพบว่าการห้ามยิงปืนใหญ่อาจจะไม่ได้เป็นอย่างที่รับรู้กัน
.
เรื่องเกี่ยวกับการห้ามยิงปืนใหญ่นั้น พบหลักฐานลายลักษณ์อักษรในเอกสารชื่อ “จดหมายหลวงอุดมสมบัติ” ซึ่งเขียนในสมัยรัชกาลที่ ๓
.
หลวงอุดมสมบัติ (จัน) เป็นข้าราชการกรมพระคลังสินค้า ในราว พ.ศ.๒๓๘๐ เกิดกบฏแขกหัวเมืองปากใต้แถบไทรบุรี จึงได้รับมอบหมายจากพระยาศรีพิพัฒน์ (ทัต บุนนาค ในสมัยรัชกาลที่ ๔ ได้เลื่อนเป็นสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิชัยญาติ) เจ้ากรมพระคลังสินค้า ให้คอยฟังราชการเกี่ยวกับเมืองปากใต้ที่ได้ปรึกษากันอยู่ในกรุงเทพ แล้วเขียนส่งไปรายงานพระยาศรีพิพัฒน์ซึ่งเป็นแม่ทัพลงไปปากใต้ โดยในจดหมายนี้ได้จดกระแสพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวไว้อย่างละเอียดหลายตอน
.
เรื่องการลดดินปืนลงเพราะกลัวนางสนมตกใจปรากฏอยู่ในจดหมายหลวงอุดมสมบัติฉบับที่ ๑ ลงวันที่ เดือน ๔ ขึ้น ๑๑ ค่ำ จุลศักราช ๑๒๐๐ (๒๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๓๘๑) พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ ทรงทราบเรื่องการศึกที่เมืองปากใต้ที่จัดการกันอย่างไม่เป็นระบบเหมือนไม่มีความรู้ปล่อยให้กบฏกำเริบ จึงตรัสเปรียบเทียบกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นสมัยเสียกรุงศรีอยุทธยาครั้งที่สองให้เจ้านายและข้าราชการฟัง
.
"แล้วทรงตรัสกับกรมหลวงรักษรณเรศว่า ฟังดูการบ้านเมืองข้างปากใต้ทุกวันนี้ ดีแต่คิดหาเงินหาทอง จะเอาผลประโยชน์ใส่ตัวไว้ให้มั่งมีไปเสียหมดเท่านั้นกันเอง การที่จะคิดทำทัพศึกรักษาบ้านเมือง ไว้ชื่อหน้านั้นไม่มีเลย ทำอย่างนี้นานไปการวิชาทัพศึกก็จะเสื่อมสูญไปเสียสิ้น จะหาคนรู้การทัพการศึกก็จะไม่มี จะหมดคนลงทุกชั้น ครั้นหมดคนรู้การทัพการศึกลงแล้วมีคราวทัพศึกมาก็จะคว้าไขว่เปล่าๆ ทั้งนั้น แต่จะหาคนยิงปืนเปนสักคนหนึ่งก็จะไม่มี ลงจนชั้นนี้แล้วที่ไหนจะเปนบ้านเปนเมืองไปได้ มันก็ร่ำเอายับเยินไปเปนบ่าวมันเสียสิ้น
แล้วทรงตรัสเล่าการซึ่งสิ้นคนทำทัพศึกในพงษาวดารลำดับกระษัตรมาจนถึงกระษัตรแผ่นดินกรุงฯ ซึ่งเสียกับพม่า เปนใจความว่าครั้งพม่ายกมาตั้งค่ายอยู่ในวัดแม่นางปลื้มนั้น จะหาคนรู้ยิงปืนเป็นสู้รบกับพม่าก็ไม่มี ศูนย์ทะแกล้วทหารเสียหมด รับสั่งให้เอาปืนปะขาวกวาดวัดขึ้นไปยิงสู้รบกับที่หัวรอ ต่างคนต่างก็ตื่นตกใจเอาสำลีอุดหูกลัวเสียงปืน จะดังเอาหูแตก ว่ากล่าวกันให้ใส่ดินแต่น้อย ครั้นใส่แต่น้อยกำหนดจะยิงข้างน้ำข้างในก็พากันร้องวุ่นวาย เอาสำลีจุกหูไว้ กลัวหูจะแตก ก็รับสั่งให้ผ่อนดินให้น้อยลง จะยิงแล้วไม่ยิงเสีย แต่เวียนผ่อนลง ๆ ดินก็น้อยลงไปทุกที ครั้นเห็นว่าน้อยพอยิงได้แล้วก็ล่ามชนวนออกไปให้ไกลทีเดียว แต่ไกลอย่างนั้นคนยิงยังต้องเอาสำลีจุกหูไว้ กลัวหูจะแตก ครั้นยิงเข้าไปเสียงปืนก็ดังพรูดออกไป ลูกปืนก็ตกลงน้ำ หาถึงค่ายพม่าไม่
จึงตรัสถามท้าวพระกรุณา (พระยาศรีพิพัฒน์-ผู้เขียน) ว่า เปนกระไรรู้ฤๅไม่ วัดแม่นางปลื้มกับหัวรอนั้นใกล้ไกลกันเท่าไหร่นักหนา
ท้าวพระกรุณากราบทูลว่า ทราบอยู่แล้ว ค่ายที่วัดแม่นางปลื้มกับศีศะรอก็ตรงกันข้าม
รับสั่งต่อไปว่า สิ้นคนรู้วิชาทัพ ก็จะเป็นไปอย่างนี้นั่นเอง"
.
สรุปจากเนื้อความเรื่องการยิงปืนใหญ่ในกระแสพระราชดำรัสของรัชกาลที่ ๓ ก็มีเพียงว่าคนในตอนนั้นไม่มีความรู้ในเรื่องการใช้ปืนที่เหมาะสม และมีการลดดินปืนลงเพื่อไม่ให้ฝ่ายในตกใจ จนสุดท้ายก็ยิงไม่ถึงค่ายพม่า
.
เรื่องนี้ไม่ปรากฏบันทึกไว้ในพงศาวดาร (อาจจะเคยมีฉบับที่มีความดังกล่าวในสมัยรัชกาลที่ ๓ แต่ปัจจุบันหาไม่พบ) สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นเรื่องที่เล่าขานกันมาตั้งแต่ช่วงเสียกรุง ซึ่งพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ ก็น่าจะทรงฟังจากผู้ใหญ่แต่ก่อนเล่าขานมาอีกต่อหนึ่ง เพราะพระองค์ทรงมีพระชนม์ไม่ทันสมัยกรุงศรีอยุทธยา ซึ่งก็มีความเป็นไปได้สูงที่อาจจะมีการเสริมแต่งจากการเล่าสู่กันปากต่อปากเมื่อเวลาผ่านไป
.
อีกเรื่องหนึ่งปรากฏอยู่ในจดหมายเหตุความทรงจำกรมหลวงนรินทรเทวี (พระขนิษฐาของรัชกาลที่ ๑) กล่าวว่ามีการประจุปืนแต่มีคำสั่งไม่ให้ยิงสู้ นอกจากนี้มีครั้งหนึ่งพระยาตาก (สิน) ยิงปืนโดยไม่ขออนุญาตศาลาลูกขุนก่อนจึงถูกคาดโทษ
“...พลในเมืองขึ้นหน้าที่ประจำช่องเสมาเมืองถึง ๗๐๐,๐๐๐ ประจุปืนทุกหน้าที่มิให้ยิงสู้ข้าศึก แผ่นดินต้นอยู่หน้าวัดแก้ว ได้ยิงสู้พะม่าครั้งหนึ่ง ต้องคาดโทษไม่ให้ยิง ให้แจ้งสาลาก่อน”
.
ในจดหมายเหตุไม่ได้ระบุว่าเพราะเหตุใดถึงห้ามยิง ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชวิจารณ์ว่าน่าจะเป็นเพราะอาวุธขัดสนไม่อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานและไม่มีความรู้เพียงพอ นอกจากนี้ก็คงเป็นเพราะข้างในที่ตื่นกลัวเสียงปืน
“เรื่องยิงปืนไม่เป็นในปลายกรุงเก่านี้ ดูเล่าต้องกันมากนัก เครื่องสาตราวุธเห็นจะขัดสนมาก อย่างไขว้เขวกัน มีปืนไม่มีลูก มีลูกไม่มีปืน อาวุธที่แจกจ่ายออกมาก็ชำรุดทรุดโทรม ปืนจะเอาไปยิงก็เกิดอันตรายเนือง ๆ แตกบ้าง ตกรางบ้าง ยิงไปออกบ้าง ยิงไม่ได้บ้าง เข็ดขยาดเห็นการยิงปืนยากเสียเต็มที คราวนี้ก็เลยกลัวไม่ใคร่จะมีใครกล้ายิงเองอยู่แล้ว ซ้ำเจ้านายและผู้ดีก็พากันสวิงสวายกลัวอะไรต่ออะไร ตั้งแต่ฟ้าร้องเป็นต้นไป เป็นปรกติของผู้ดีชั้นนั้น”
.
บางคนก็นำเรื่องนี้ไปโยงกับเรื่องในจดหมายหลวงอุดมสมบัติว่าเหตุที่ต้องขออนุญาตก่อนเพราะต้องรอนางสนมอุดหู ซึ่งก็ไม่มีหลักฐานชัดเจน และในทางปฏิบัตินั้นดูเป็นไปได้ยาก เพราะว่าพม่าล้อมกรุงศรีอยุทธยาอยู่เป็นแรมปี มีการระดมยิงปืนใหญ่ไปมาแทบทุกวัน แม้แต่ผู้หญิงฝ่ายในที่ตื่นกลัวเสียงปืน พอนานวันเข้าก็ควรจะมีความชินขึ้นบ้าง
.
แต่เมื่อนำหลักฐานฝั่งไทยมาเทียบกับหลักฐานฝั่งพม่าแล้วพบว่ามีความแตกต่างกันมาก โดยพระราชพงศาวดารพม่าระบุว่ากองทัพพม่าได้รับความยากลำบากในการบุกเข้าตีพระนครมาก ส่วนหนึ่งก็เป็นเพราะมีการระดมยิงปืนใหญ่จากกำแพงเมืองมาตลอดจนกระทั่งใกล้ฤดูฝนกองทัพพม่าก็ยังเข้าถึงเชิงกำแพงกรุงไม่ได้
“หลายครั้งก็ตีเข้าไปไม่ได้เพราะคูกรุงศรีอยุทธยาน้ำลึกแลกว้าง ต้องข้ามน้ำไปเปนที่ลำบาก กำแพงเมืองก็สูงแน่นหนา แล้วผู้ที่รักาน่าที่เชีงเทีนก็เอาปืนใหญ่น้อยยิงลงมาดุจฝนแสนห่า เพราะฉนั้นพลทหารเข้าไม่เถีงเชีงกำแพงเมืองได้เลย”
.
แม่ทัพนายกองพม่าหลายคนเสนอให้ถอนทัพกลับเพื่อหนีน้ำ แต่มหานรทาแม่ทัพใหญ่ปฏิเสธ และยังตั้งมั่นอยู่ได้จนกระทั่งน้ำลดด้วยการย้ายไปตั้งค่ายบนที่ดอน ต่อเรือรบจำนวนมาก รวมถึงให้ลำเลียงเสบียงอาหารลงมาอย่างต่อเนื่องเพื่อทำศึกระยะยาว จนกระทั่งเสียกรุงรวมเวลาทั้งสิ้น ๑๔ เดือน
ซึ่งเมื่อเทียบกับสงครามที่ข้าศึกประชิดถึงกำแพงเมืองแล้ว ครั้งนี้กลับเป็นครั้งที่สามารถยืนหยัดอยู่ได้นานที่สุด แสดงให้เห็นว่าการอาศัยปราการธรรมชาติในการป้องกันพระนครของอยุทธยานั้นไม่ได้ด้อยไปกว่าครั้งก่อนๆ เลย
.
และในพงศาวดารพม่าระบุว่าพม่าใช้ยุทธวิธีขุดอุโมงค์ไปเผารากกำแพงพระนครเพื่อให้กำแพงพังทลาย ด้วยเหตุผลหนึ่งอยุทธยามีปืนใหญ่ที่ยิงมาจากกำแพงพระนครและหอรบ ตามที่เนมโยสีหปเต๊ะแม่ทัพใหญ่ให้เหตุผลไว้ว่า
“ซึ่งเราจะให้พลทหารเข้าตีกรุงศรีอยุทธยาโดยกำลังเล่าพลทหาร เราก็จะได้รับความเจ็บปวดล้มตายมากนัก เพราะกรุงศรีอยุทธยานี้เปนกรุงใหญ่โตมั่นคง แลคูเมืองกว้างน้ำก็ลึกกับได้ก่อสร้าง ๕๐ ป้อม ค่ายคูประตูหอรบขึ้นไว้ใหม่ แล้วได้เอาปืนใหญ่น้อยสาตราอาวุธขึ้นรักษาไว้โดยหลายซับหลายซ้อนแน่นหนามั่นคงนักจะกระทำการมิถนัด เพราะฉนั้นเราเห็นว่า ให้พลทหารทั้งปวงขนฟืนเข้าไว้ในอุโมงค์ที่เราสั่งให้ขุดไว้ ๒ ทางริมกำแพงกรุงศรีอยุทธยานั้นให้เต็ม แล้วเอาไฟเผารากกำแพงเมืองๆ ก็จะซุดแตกร้าว ฝ่ายเราก็จัดให้พลช้างพลม้าพลทหารทั้งปวงตีเข้าไปให้พร้อมเพรียง”
.
ภาพที่พงศาวดารพม่าให้คือพม่าบาดเจ็บล้มตายด้วยปืนของอยุทธยามาก ดูขัดแย้งกับหลักฐานฝั่งไทยว่ามีการห้ามยิงปืนหรือยิงไม่ถึงอยู่บ่อยครั้ง
.
ในความเป็นจริงเรื่องที่ว่ามีการให้ลดดินปืนหรือเวลายิงต้องขออนุญาตศาลาลูกขุนก่อนนั้นพิจารณาแล้วมีความเป็นไปได้ แต่ไม่น่าจะเกี่ยวกับเพราะนางสนมตกใจอย่างที่กล่าวกัน โดยจะขอวิเคราะห์ดังต่อไปนี้ครับ
.
อย่างที่กล่าวไปว่ามีหลักฐานที่บ่งชี้ว่ากรุงศรีอยุทธยาสามารถอาศัยปราการธรรมชาติป้องกันพระนครได้อย่างเข้มแข็งมาจนพ้นช่วงเวลาน้ำหลาก ซึ่งก็เป็นข้อพิสูจน์ว่าการป้องกันตนเองของอยุทธยานั้นไม่ได้ด้อยไปกว่าสงครามครั้งก่อนเลย
ซึ่งก็มีหลักฐานร่วมสมัยของบาทหลวงฝรั่งเศสรายงานถึงในระยะต้นของการปิดล้อมว่า “เมื่อปี ค.ศ.๑๗๖๖ (พ.ศ. ๒๓๐๙) พม่า ได้สร้างป้อมล้อมกรุงไว้ ๓ แห่ง แต่ถึงดังนั้นเสบียงอาหารในกรุงก็ยังบริบูรณ์ จะมีคนตายด้วยอดอาหารก็เพียงคนขอทานเท่านั้น” แสดงว่าในช่วงแรกนั้นในกรุงยังมีเสบียงบริบูรณ์อยู่
.
แต่ด้วยเหตุที่กองทัพพม่าไม่ได้ถอยหนีน้ำไปเหมือนศึกที่ผ่านๆ มาทำให้อยุทธยาตกอยู่ในสภาพถูกปิดล้อมอย่างต่อเนื่อง ไม่สามารถลำเลียงเสบียงหรือยุทธปัจจัยต่างๆ เข้ามาเสริมได้ พบว่าในพระนครเกิดภาวะขาดแคลนเสบียงอาหารอย่างหนัก มีผู้คนอดอาหารจนตายจำนวนมาก และมีคนในพระนครที่ลอบหนีออกจากเมืองไปที่ค่ายพม่าจำนวนมากเพื่อขออาหารกิน โดยในพงศาวดารพม่าระบุว่าในช่วงท้ายของสงครามมีพลเมืองอยุทธยาหนีมาเข้ากับพม่าทุกวัน
.
ของที่ต้องใช้เป็นประจำอย่างดินปืน ในสภาวะที่ถูกปิดล้อมอยู่เช่นนั้นยิ่งใช้ยิงข้าศึกก็มีจำนวนน้อยลงเรื่อยๆ โดยในระยะแรกของช่วงปิดล้อมน่าจะมีในปริมาณที่เพียงพอเหมือนเสบียง แต่เมื่อเวลาผ่านไปก็อัตคัดลง จึงน่าจะเป็นด้วยเหตุนี้ที่มีการให้จำกัดจำนวนดินปืนลง หรือมีการให้ขออนุญาตศาลาลูกขุนก่อน เพราะมีดินปืนจำกัดจึงไม่ควรใช้พร่ำเพรื่อ โดยเหตุการณ์ให้ลดดินปืนหรือให้ขออนุญาตควรจะปรากฏในช่วงหลังน้ำลดเป็นต้นมา
.
อีกประการหนึ่ง พบหลักฐานว่ามีการใช้ปืนและดินปืนอย่างไม่ค่อยมีประสิทธิภาพมากนัก ดังที่พงศาวดารไทยที่ระบุถึงการยิงปืนในช่วงน้ำหลากว่า “วันนั้นพม่าตั้งค่ายณะวัดภูเขาทอง พระสุริยภาซึ่งเปนนายปอ้มซัดกบให้ประจุปืนมฤษยูราชสองซัดลูกยีงไปนัดหนึ่งปืนก็ราวราล”
.
อีกตอนกล่าวถึงการยิงปืนในช่วงก่อนเสียกรุงไม่นานว่า “ฝ่ายข้างในกรุงให้ชักปืนปราบหงษาออกไปตั้งรีมท่าทรายกระสุนแรกประจุดินน้อยต่ำไปถูกตะลิ่ง ครั้นประจุะดีนมากขึ้นโดงข้ามวัดศรีโพไป”
.
ทั้งสองครั้งนี้เป็นการสะท้อนให้เห็นว่าแม่ทัพนายกองในขณะนั้นไม่มีความรู้เพียงพอในการคำนวณดินปืนอย่างเหมาะสม ซึ่งก็สอดคล้องกับที่รัชกาลที่ ๓ และรัชกาลที่ ๕ ทรงวินิจฉัยไว้ว่า “จะหาคนรู้ยิงปืนเป็นสู้รบกับพม่าก็ไม่มี” และ “ยิงปืนไม่เป็น” ซึ่งการใช้ดินปืนอย่างไม่เหมาะสมทำให้เสียดินปืนไปโดยเปล่าประโยชน์ และควรจะเป็นสาเหตุหนึ่งที่มีการให้ขออนุญาตศาลาลูกขุนก่อนยิงปืน เพื่อไม่ให้ใช้ดินปืนที่มีจำกัดอย่างพร่ำเพรื่อ
.
การที่กรุงศรีอยุทธยา “จะหาคนรู้ยิงปืนเป็นสู้รบกับพม่าก็ไม่มี” จนทำให้เกิดการใช้ดินปืนพร่ำเพรื่อก็มีความเป็นไปได้มาก เพราะอยุทธยาว่างศึกมาเป็นเวลานาน มีสงครามใหญ่ครั้งสุดท้ายก็ในสมัยพระเจ้าท้ายสระที่ยกทัพเข้าไปในกัมพูชาเมื่อ พ.ศ.๒๒๕๔ ก่อนเสียกรุงประมาณ ๕๖ ปีนอกจากนั้นมีการรบเพียงประปรายเท่านั้น จึงอาจไม่ได้มีการเตรียมพร้อมในการทำศึกสงครามมากเท่าที่ควร นอกจากนี้ในช่วงปลายกรุงศรีอยุทธยาเกิดการรบกันระหว่างขั้วอำนาจต่างๆ มาก มีความเป็นไปได้สูงที่ผู้รู้วิชาการศึกจะล้มตายไป
.
สรุปแล้ว การขออนุญาตศาลาลูกขุนก่อนยิงปืนใหญ่ รวมไปถึงการให้ลดดินปืนลง ไม่น่าจะเกี่ยวข้องกับเรื่องกลัวสนมตกใจ แต่เป็นเพราะกรุงศรีอยุทธยาถูกปิดล้อมต่อเนื่องยาวนานมาจนหลังฤดูน้ำหลาก ยุทธปัจจัยที่ใช้ป้องกันพระนครน้อยลงเรื่อยและไม่อาจหามาเพิ่มเติมได้ บวกกับการขาดความชำนาญในการใช้ดินปืนที่เหมาะสม จึงต้องป้องกันไม่ให้ใช้กระสุนดินปืนที่มีจำกัดอย่างพร่ำเพรื่อมากกว่าครับ
-----------------------------------------------------
เอกสารอ้างอิง
- พระราชพงศาวดารกรุงสยาม ฉบับบริติชมิวเซียม จากฐานข้อมูลดิจิตอลของ British Libary ([bl.uk/manuscripts](//l.facebook.com/l.php...))
- พระราชพงศาวดารกรุงธนบุรี ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) จดหมายเหตุรายวันทัพ, อภินิหารบรรพบุรุษ และเอกสารอื่น
- พระราชพงศาวดาร ฉบับสมเด็จพระพนรัตน์ วัดพระเชตุพน ตรวจสอบชำระจากเอกสารตัวเขียน
- มหาราชวงษ์พงษาวดารพม่า
- จดหมายหลวงอุดมสมบัติ (ฉบับปรับปรุง). หลวงอุดมสมบัติ (จัน)
- พระราชวิจารณ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เรื่องจดหมายเหตุความทรงจำของกรมหลวงนรินทรเทวี
ภาพประกอบ : ปืนใหญ่สมัยอยุทธยา ที่ฟอร์ตเซนต์จอร์จ ประเทศอินเดีย โดยอังกฤษได้ยึดมาจากพม่าสมัยตกเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษ สันนิษฐานว่าเป็นหนึ่งในปืนใหญ่ที่พม่าขนไปจากกรุงศรีอยุทธยาหลังจากเสียกรุง
ที่มาภาพ ปืนใหญ่โบราณสมัยอยุธยา](//www.thaifighterclub.org/.../%E0%B8%9B%E0%B8%B7%E0...)
Cr:[//www.reurnthai.com/index.php?...//www.reurnthai.com/index.php?topic=5490.285)
Cr.
เพจ วิพากษ์ประวัติศาสตร์เรื่องห้ามยิงปืนใหญ่เพราะกลัวนางสนมหูแตก
____________________________
#เพจภาพและเรื่องราวต่างๆที่น่าสนใจ

 

#ประวัติศาสตร์พม่า
• ประวัติศาสตร์ของพม่านั้นมีความยาวนานและซับซ้อน มีประชาชนหลายเผ่าพันธุ์เคยอาศัยอยู่ในดินแดนแห่งนี้ เผ่าพันธุ์เก่าแก่ที่สุดที่ปรากฏได้แก่มอญ ต่อมาราวพุทธศตวรรษที่ 13 ชาวพม่าได้อพยพลงมาจากบริเวณพรมแดนระหว่างจีนและทิเบต เข้าสู่ที่ราบลุ่มแม่น้ำอิระวดี และได้กลายเป็นชนเผ่าส่วนใหญ่ที่ปกครองประเทศในเวลาต่อมา ความซับซ้อนของประวัติศาสตร์พม่ามิได้เกิดขึ้นจากกลุ่มชนที่อาศัยอยู่ในดินแดนพม่าเท่านั้น แต่เกิดจากความสัมพันธ์กับเพื่อนบ้านอันได้แก่ จีน อินเดีย บังกลาเทศ ลาว และไทยอีกด้วย
มอญ
• มนุษย์ได้เข้ามาอาศัยอยู่ในดินแดนของประเทศพม่าราว 11,000 ปีมาแล้ว แต่ชนเผ่าแรกที่สามารถสร้างอารยธรรมขึ้นเป็นเอกลักษณ์ของตนได้ก็คือชาวมอญ ชาวมอญได้อพยพเข้ามาอาศัยอยู่ในดินแดนแห่งนี้เมื่อราว 2,400 ปีก่อนพุทธกาล และได้สถาปนาอาณาจักรสุวรรณภูมิ อันเป็นอาณาจักรแห่งแรกขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ 2 ณ บริเวณใกล้เมืองท่าตอน (Thaton) ชาวมอญได้รับอิทธิพลของศาสนาพุทธผ่านทางอินเดียในราวพุทธศตวรรษที่ 2 ซึ่งเชื่อว่ามาจากการเผยแพร่พระพุทธศาสนาในรัชสมัยของพระเจ้าอโศกมหาราช บันทึกของชาวมอญส่วนใหญ่ถูกทำลายในระหว่างสงคราม วัฒนธรรมของชาวมอญเกิดขึ้นจากการผสมเอาวัฒนธรรมจากอินเดีย จึงเป็นเอกลักษณ์ของตนเองจนกลายเป็นวัฒนธรรมลักษณะลูกผสม ในราวพุทธศตวรรษที่ 14 ชาวมอญได้เข้าครอบครองและมีอิทธิพลในดินแดนตอนใต้ของพม่าและได้เกิดอาณาจักใหม่ขึ้นเรียกว่า อาณาจักรสุธรรมวดี ที่เมืองพะโค (หงสาวดี)
ปยุ : พยู : เพียว
• ชาวปยุหรือพยูหรือเพียว คือกลุ่มที่เข้ามาอาศัยอยู่ในดินแดนประเทศพม่าตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ 4 และได้สถาปนานครรัฐขึ้นหลายแห่ง เช่นที่ พินนาคา (Binnaka) มองกะโม้ (Mongamo) ศรีเกษตร (Sri Ksetra) เปียทะโนมโย (Peikthanomyo) และหะลินยี (Halingyi) ในช่วงเวลาดังกล่าว ดินแดนพม่าเป็นส่วนหนึ่งของเส้นทางการค้าระหว่างจีนและอินเดีย จากเอกสารของจีนพบว่า มีเมืองอยู่ภายใต้อำนาจปกครองของชาวพยู 18 เมือง และชาวพยุเป็นชนเผ่าที่รักสงบ ไม่ปรากฏว่ามีสงครามเกิดขึ้นระหว่างชนเผ่าพยู ข้อขัดแย้งมักยุติด้วยการคัดเลือกตัวแทนให้เข้าประลองความสามารถกัน ชาวพยูสวมใส่เครื่องแต่งกายที่ทำจากฝ้าย อาชญากรมักถูกลงโทษด้วยการโบยหรือจำขัง เว้นแต่ได้กระทำความผิดอันร้ายแรงจึงต้องโทษประหารชีวิต ชาวพยูนับถือพระพุทธศาสนานิกายเถรวาท เด็ก ๆ ได้รับการศึกษาที่วัดตั้งแต่อายุ 7 ขวบจนถึง 20 ปี
• นครรัฐของชาวปยุไม่เคยรวมตัวเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน แต่นครรัฐขนาดใหญ่มักมีอิทธิพลเหนือนครรัฐขนาดเล็ก ซึ่งแสดงออกโดยการส่งเครื่องบรรณาการให้ นครรัฐที่มีอิทธิพลมากที่สุดได้แก่ศรีเกษตร ซึ่งมีหลักฐานเชื่อได้ว่า เป็นเมืองโบราณที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศพม่า ไม่ปรากฏหลักฐานว่าอาณาจักรศรีเกษตรถูกสถาปนาขึ้นเมื่อใด แต่มีการกล่าวถึงในพงศาวดารว่ามีการเปลี่ยนราชวงศ์เกิดขึ้นในปีพุทธศักราช 637 ซึ่งแสดงให้เห็นว่าอาณาจักรศรีเกษตรต้องได้รับการสถาปนาขึ้นก่อนหน้านั้น มีความชัดเจนว่า อาณาจักรศรีเกษตรถูกละทิ้งไปในปีพุทธศักราช 1199 เพื่ออพยพย้ายขึ้นไปสถาปนาเมืองหลวงใหม่ทางตอนเหนือ แต่ยังไม่ทราบอย่างแน่ชัดว่าเมืองดังกล่าวคือเมืองใด นักประวัติศาสตร์บางท่านเชื่อว่าเมืองดังกล่าวคือเมืองหะลินคยี อย่างไรก็ตามเมืองดังกล่าวถูกรุกรานจากอาณาจักรน่านเจ้าในราวพุทธศตวรรษที่ 15 จากนั้นก็ไม่ปรากฏหลักฐานกล่าวถึงชาวพยูอีก
เมืองโบราณยะไข่ อาระกัน พม่า
เจดีย์เยเลพญา วัดเจดีย์กลางน้ำ เมืองสิเรียม
พุกาม เมืองทะเลเจดีย์
อาณาจักรพุกาม
• ชาวพม่าเป็นชนเผ่าจากทางตอนเหนือที่ค่อยๆ อพยพแทรกซึมเข้ามาสั่งสมอิทธิพลในดินแดนประเทศพม่าทีละน้อย กระทั่งปีพุทธศักราช 1392 จึงมีหลักฐานถึงอาณาจักรอันทรงอำนาจซึ่งมีศูนย์กลางอยู่ที่เมือง "พุกาม" (Bagan) โดยได้เข้ามาแทนที่ภาวะสุญญากาศทางอำนาจภายหลังจากการเสื่อมสลายไปของอาณาจักรชาวพยู อาณาจักรของชาวพุกามแต่แรกนั้นมิได้เติบโตขึ้นอย่างเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน กระทั่งในรัชสมัยของพระเจ้าอโนรธา (พ.ศ. 1587–1620) พระองค์จึงสามารถรวบรวมแผ่นดินพม่าให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันสำเร็จ และเมื่อพระองค์ทรงตีเมืองท่าตอนของชาวมอญได้ในปีพุทธศักราช 1600 อาณาจักรพุกามก็กลายเป็นอาณาจักรที่เข้มแข็งที่สุดในดินแดนพม่า อาณาจักรพุกามมีความเข้มแข็งเพิ่มมากขึ้นในรัชสมัยของพระเจ้ากยันสิทธา (พ.ศ. 1624–1655) และพระเจ้าอลองสิทธู (พ.ศ. 1655–1710) ทำให้ในช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ 17 ดินแดนในคาบสมุทรสุวรรณภูมิเกือบทั้งหมดถูกครอบครองโดยอาณาจักรเพียงสองแห่ง คือเขมร(เมืองพระนคร) และพุกาม
• อำนาจของอาณาจักรพุกามค่อยๆ เสื่อมลง ด้วยเหตุผลหลักสองประการ ส่วนหนึ่งจากการถูกเข้าครอบงำโดยของคณะสงฆ์ผู้มีอำนาจ และอีกส่วนหนึ่งจากการรุกรานของจักรวรรดิมองโกลที่เข้ามาทางตอนเหนือ พระเจ้านราธิหบดี (ครองราชย์ พ.ศ. 1779–1830) ได้ทรงนำทัพสู่ยูนนานเพื่อยับยั้งการขยายอำนาจของมองโกล แต่เมื่อพระองค์แพ้สงคราม ในปีพุทธศักราช 1820 ทัพของอาณาจักรพุกามก็ระส่ำระสายเกือบทั้งหมด พระเจ้านราธิหบดีถูกพระราชโอรสปลงพระชนม์ในปีพุทธศักราช 1830 กลายเป็นตัวเร่งที่ทำให้อาณาจักรมองโกลตัดสินใจรุกรานอาณาจักรพุกามในปีเดียวกันนั้น ภายหลังสงครามครั้งนี้ อาณาจักรมองโกลก็สามารถเข้าครอบครองดินแดนของอาณาจักรพุกามได้ทั้งหมด ราชวงศ์พุกามสิ้นสุดลงเมื่อมองโกลได้แต่งตั้งรัฐบาลหุ่นขึ้นบริหารดินแดนพม่าในปีพุทธศักราช 1832
อังวะและหงสาวดี
• หลังจากการล่มสลายของอาณาจักรพุกาม พม่าได้แตกแยกออกจากกันอีกครั้ง ราชวงศ์อังวะซึ่งได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมจากอาณาจักรพุกามได้ถูกสถาปนาขึ้นที่เมืองอังวะในปีพุทธศักราช 1907 ศิลปะและวรรณกรรมของพุกามได้ถูกฟื้นฟูจนยุคนี้กลายเป็นยุคทองแห่งวรรณกรรมของพม่า แต่เนื่องด้วยอาณาเขตที่ยากต่อป้องกันการรุกรานจากศัตรู เมืองอังวะจึงถูกชาวไทใหญ่เข้าครอบครองได้ในปีพุทธศักราช 2070
• สำหรับดินแดนทางใต้ ชาวมอญได้สถาปนาอาณาจักรของพวกตนขึ้นใหม่อีกครั้งที่หงสาวดี โดยกษัตริย์ธรรมเจดีย์ (ครองราชย์ พ.ศ. 1970 – 2035) เป็นจุดเริ่มต้นยุคทองของมอญ ซึ่งเป็นศูนย์กลางของพุทธศาสนานิกายเถรวาทและศูนย์กลางทางการค้าขนาดใหญ่ในเวลาต่อมา
อาณาจักรตองอู
• หลังจากอาณาจักรพุกามถูกรุกรานจากไทใหญ่ ชาวอังวะได้อพยพลงมาสถาปนาอาณาจักรแห่งใหม่ โดยมีศูนย์กลางที่เมืองตองอูภายใต้การนำของพระเจ้ามิงคยินโย ในปีพุทธศักราช 2074 พระเจ้าตะเบงชะเวตี้ (ครองราชย์ พ.ศ. 2074–2093) ซึ่งสามารถรวบรวมพม่าเกือบทั้งหมดให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันได้อีกครั้ง
• ในช่วงระยะเวลานี้ ได้มีการเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่เกิดขึ้นในภูมิภาค ชาวไทใหญ่มีกำลังเข้มแข็งเป็นอย่างมากทางตอนเหนือ การเมืองภายในอาณาจักรอยุธยาเกิดความไม่มั่นคง ในขณะที่โปรตุเกสได้เริ่มมีอิทธิพลในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และสามารถเข้าครอบครองมะละกาได้ เกี่ยวกับการเข้ามาของบรรดาพ่อค้าชาวยุโรป พม่ากลายเป็นศูนย์กลางทางการค้าที่สำคัญอีกครั้งหนึ่ง การที่พระเจ้าตะเบงชะเวตี้ได้ย้ายเมืองหลวงมาอยู่ที่เมืองหงสาวดี เหตุผลส่วนหนึ่งก็เนื่องด้วยทำเลทางการค้า พระเจ้าบุเรงนอง (ครองราชย์ พ.ศ. 2094–2124) ซึ่งเป็นพระเทวัน (พี่เขย)ของพระเจ้าตะเบงชะเวตี้ ได้ขึ้นครองราชย์สืบต่อจากพระเจ้าตะเบงชะเวตี้ และสามารถเข้าครอบครองอาณาจักรต่าง ๆ รายรอบได้ อาทิ มณีปุระ (พ.ศ. 2103) อยุธยา (พ.ศ. 2112) ราชการสงครามของพระองค์ทำให้พม่ามีอาณาเขตกว้างใหญ่ไพศาลที่สุด อย่างไรก็ตาม ทั้งมณีปุระและอยุธยา ต่างก็สามารถประกาศตนเป็นอิสระได้ภายในเวลาต่อมาไม่นาน
• เมื่อต้องเผชิญกับการก่อกบฏจากเมืองขึ้นหลายแห่ง ประกอบกับการรุกรานของโปรตุเกส กษัตริย์แห่งราชวงศ์ตองอูจำเป็นต้องถอนตัวจากการครอบครองดินแดนทางตอนใต้ โดยย้ายเมืองหลวงไปอยู่ที่เมืองอังวะ พระเจ้าอะนอกะเพตลุน (Anaukpetlun) พระนัดดาของพระเจ้าบุเรงนอง สามารถรวบรวมแผ่นดินพม่าให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันอีกครั้งในพุทธศักราช 2156 พระองค์ตัดสินใจที่จะใช้กำลังเข้าต่อต้านการรุกรานของโปรตุเกส พระเจ้าธารุน (Thalun) ผู้สืบทอดราชบัลลังก์ ได้ฟื้นฟูหลักธรรมศาสตร์ของอาณาจักรพุกามเก่า แต่พระองค์ทรงใช้เวลากับเรื่องศาสนามากเกินไป จนละเลยที่จะใส่ใจต่ออาณาเขตทางตอนใต้ ท้ายที่สุด หงสาวดี ที่ได้รับการสนับสนุนจากฝรั่งเศสซึ่งตั้งมั่นอยู่ในอินเดีย ก็ได้ทำการประกาศเอกราชจากอังวะ จากนั้นอาณาจักรของชาวพม่าก็ค่อย ๆ อ่อนแอลงและล่มสลายไปในปีพุทธศักราช 2295 จากการรุกรานของชาวมอญ
ราชวงศ์อลองพญา
• ราชวงศ์อลองพญาได้รับการสถาปนาขึ้นและสร้างความเข้มแข็งจนถึงขีดสุดได้ภายในเวลาอันรวดเร็ว อลองพญาซึ่งเป็นผู้นำที่ได้รับความนิยมจากชาวพม่า ได้ขับไล่ชาวมอญที่เข้ามาครอบครองดินแดนของชาวพม่าได้ในปี พ.ศ. 2296 จากนั้นก็สามารถเข้ายึดครองอาณาจักรมอญได้อีกครั้งในปี พ.ศ. 2302 ทั้งยังสามารถกลับเข้ายึดครองกรุงมณีปุระได้ในช่วงเวลาเดียวกัน พระองค์สถาปนาให้เมืองย่างกุ้งเป็นเมืองหลวงในปี พ.ศ. 2303 หลังจากเข้ายึดครองตะนาวศรี (Tenasserim) พระองค์ได้ยาตราทัพเข้ารุกรานอยุธยา แต่ต้องประสบความล้มเหลวเมื่อพระองค์ทรงสวรรคตในระหว่างสงคราม พระเจ้าสินบูหชิน (Hsinbyushin, ครองราชย์ พ.ศ. 2306 – 2319)พระราชโอรส ได้นำทัพเข้ารุกรานอาณาจักรอยุธยาอีกครั้งในปี พ.ศ. 2309 และประสบความสำเร็จในปีถัดมา ในรัชสมัยนี้ แม้จีนจะพยายามขยายอำนาจเข้าสู่ดินแดนพม่า แต่พระองค์ก็สามารถยับยั้งการรุกรานของจีนได้ทั้งสี่ครั้ง (ในช่วงปี พ.ศ. 2309–2312) ทำการขยายพรมแดนของจีนทางด้านนี้ถูกยุติลง ในรัชสมัยของพระเจ้าโบดอพญา (Bodawpaya, ครองราชย์ พ.ศ. 2324–2362) พระโอรสอีกพระองค์ของพระเจ้าอลองพญา พม่าต้องสูญเสียอำนาจที่มีเหนืออยุธยาไป แต่ก็สามารถผนวกดินแดนยะไข่ (Arakan) และตะนาวศรี (Tenasserim) เข้ามาไว้ได้ในปี พ.ศ. 2327 และ 2336 ตามลำดับ ในช่วงเดือนมกราคมของปี พ.ศ. 2366 ซึ่งอยู่ในรัชสมัยของพระเจ้าบาคยีดอว์ (Bagyidaw) ครองราชย์ พ.ศ. 2362–2380) ขุนนางชื่อมหาพันธุละ (Maha Bandula) เข้ารุกรานแคว้นอัสสัมได้สำเร็จ ทำให้พม่าต้องเผชิญหน้าโดยตรงกับอังกฤษที่ครอบครองอินเดียอยู่ในขณะนั้น
สงครามกับอังกฤษและการล่มสลายของราชอาณาจักรพม่า
• สงครามระหว่างพม่าและอังกฤษครั้งที่หนึ่ง (พ.ศ. 2367–2369) ยุติลงโดยอังกฤษเป็นฝ่ายได้รับชัยชนะ ฝ่ายพม่าจำต้องทำสนธิสัญญายันดาโบ (Yandaboo) กับอังกฤษ ทำให้พม่าต้องสูญเสียดินแดนอัสสัม มณีปุระ ยะข่าย และตะนาวศรีไป ซึ่งอังกฤษเริ่มก็ต้นตักตวงทรัพยากรต่างๆ ของพม่านับแต่นั้น เพื่อเป็นหลักประกันสำหรับวัตถุดิบที่จะป้อนสู่สิงคโปร์ สร้างความแค้นเคืองให้กับทางพม่าเป็นอย่างมาก กษัตริย์องค์ต่อมาจึงทรงยกเลิกสนธิสัญญายันดาโบ และทำการโจมตีผลประโยชน์ของฝ่ายอังกฤษ ทั้งต่อบุคคลและเรือ เป็นต้นเหตุให้เกิดสงครามระหว่างพม่าและอังกฤษครั้งที่สอง ซึ่งก็จบลงโดยชัยชนะเป็นของอังกฤษอีกครั้ง หลังสิ้นสุดสงครามครั้งนี้ อังกฤษได้ผนวกหงสาวดีและพื้นที่ใกล้เคียงเข้าไว้กับตน โดยได้เรียกดินแดนดังกล่าวเสียใหม่ว่าพม่าตอนใต้ สงครามครั้งนี้ก่อให้เกิดการปฏิวัติครั้งใหญ่ในพม่า เริ่มต้นด้วยการเข้ายึดอำนาจโดยพระเจ้ามินดง (Mindon Min) ครองราชย์ พ.ศ. 2396–2421) จากพระเจ้าปะกัน (Pagin Min, ครองราชย์ พ.ศ. 2389–2396) ซึ่งเป็นพระเชษฐาต่างพระชนนี พระเจ้ามินดงพยายามพัฒนาประเทศพม่าเพื่อต่อต้านการรุกรานของอังกฤษ พระองค์ได้สถาปนากรุงมัณฑะเลย์ ซึ่งยากต่อการรุกรานจากภายนอก ขึ้นเป็นเมืองหลวงแห่งใหม่ แต่ก็ยังไม่เพียงพอที่จะหยุดยั้งการรุกรานจากอังกฤษได้
• รัชสมัยต่อมา พระเจ้าธีบอ (Thibow, ครองราชย์ พ.ศ. 2421–2428) ซึ่งเป็นพระโอรสของพระเจ้ามินดง ทรงมีบารมีไม่พอที่จะควบคุมพระราชอาณาจักรได้ จึงทำให้เกิดความวุ่นวายขึ้นไปทั่วในบริเวณชายแดน ในที่สุดพระองค์ได้ตัดสินพระทัยยกเลิกสนธิสัญญากับอังกฤษที่พระเจ้ามินดงได้ทรงกระทำไว้ และได้ประกาศสงครามกับอังกฤษเป็นครั้งที่สามในปีพุทธศักราช 2428 ผลของสงครามครั้งนี้ทำให้อังกฤษสามารถเข้าครอบครองดินแดนประเทศพม่าส่วนที่เหลือเอาไว้ได้
ยะไข่ อาระกัน พม่า
ยะไข่ อาระกัน พม่า
ยะไข่ อาระกัน พม่า
ยะไข่ อาระกัน พม่า
มัณฑะเลย์ พระราชวังสุดท้าย
มัณฑะเลย์ พระราชวังสุดท้าย
มัณฑะเลย์ พระราชวังสุดท้าย
มัณฑะเลย์ พระมหามุนี
ประวัติศาสตร์และเหตุการสำคัญในประเทศพม่า
มะรัคอู ยะไข่
เจดีย์ชเวดากอง
พระมหามุนี
ทะเลสาปอินเล
• ลำดับเหตุการณ์สำคัญในเมียนมาร์
• พ.ศ. 1043 : มีการจารึกเกิดขึ้นครั้งแรกในพม่าของพุทธศาสนาลัทธิอารี ในตำบลมะยิงยาน
• พ.ศ. 1297 : อาณาจักรน่านเจ้ามีอำนาจปกครองพม่าตอนเหนือ
• พุทธศตวรรษที่ 13 : ราชวงศ์วิกรมากำเนิดขึ้นที่เมืองแปร
• พ.ศ. 1343-1345 : ชนเผ่าพยูส่งทูตมายังราชสำนักกรุงจีน
• พุทธศตวรรษที่ 14 : เมืองแปรล่มสลาย
• กลางพุทธศตวรรษี่ 14 : พ่อค้าชาวอาหรับเดินเรือมาถึงพม่าเป็นชาติแรก
• พ.ศ. 1392 : อาณาจักรพุกามก่อตั้งขึ้นริมแม่น้ำอิระวดี
• พ.ศ. 1587 : ยุคทองของพุกาม พระเจ้าอโนรธาพิชิตดินแดนต่างๆเข้าไว้เป็นปึกแผ่น รวมทั้งอาณาจักรสุธรรมวดี(สะเทิม) ของชาวมอญ และทรงนำพุทธศาสนาลัทธิหินยานเข้ามาสู่พม่าตอนเหนือ ลัทธิอารีจึงสูญสิ้นไป
• พ.ศ. 1601 : มีการจารึกเป็นภาษาพม่าเกิดขึ้นครั้งแรก
• พ.ศ. 1602 : พระเจ้าอโนรธาเริ่มสร้างพระเจดีย์ชเวดากอง ลดอำนาจของยะไข่เหนือ เสด็จเยือนเมืองยูนนาน ขุดคลองชื่อกะโยคเซ
• พ.ศ. 1627 : กองทัพชาวเมืองบุกโจมตีเมืองพุกาม
• พ.ศ. 1633 : พระเจ้าจันสิทธะสร้างวัดอานันดา ส่งสมณทูตพม่าไปพุทธคยา
• พ.ศ. 1646 : ทูตพม่าไปเยือนเมืองยูนนาน
• พ.ศ. 1649 : ทูตพม่าไปเยือนราชสำนักพระเจ้ากรุงจีน
• พ.ศ. 1655 : จารึกมยาเจดีย์
• พ.ศ. 1658 : ชินอรหันต์มรณภาพ ทูตพม่าไปยูนนาน
• พ.ศ. 1661 : เลตะยะมินนันฟื้นฟูอาณาจักรยะไข่เหนือ ซ่อมแซมพุทธคยา
• พ.ศ. 1687 : พระเจ้าอลองสิทธูสร้างวิหารธาตุพยินยูหรือวิหารสัพพัญญู
• พ.ศ. 1753 : สร้างเขื่อนกะโยคเซ
• พ.ศ. 1816 : พระเจ้านราธิหะปติสั่งฆ่าคณะทูตจากพระเจ้ากุบไลข่าน
• พ.ศ. 1820 : สงครามงาซางงาม
• พ.ศ. 1823 : สถาปนาอาณาจักรตองอู
• พ.ศ. 1824 : พระเจ้าวเรรุ(พระเจ้าฟ้ารั่ว) ฟื้นฟูอาณาจักรมอญขึ้นใหม่ ตั้งราชธานีที่เมืองเมาะตะมะ
• พ.ศ. 1830 : กองทัพชาวมองโกลของพระเจ้ากุบไลข่านตีกรุงพุกามแตกในสมัยพระเจ้านราธิหะปติ เป็นอันสิ้นสุดอาณาจักร พุกามซึ่งเจริญรุ่งเรืองมาถึง 438 ปี
• พ.ศ. 1912 : มอญย้ายเมืองหลวงมี่เมืองหงสาวดี โดยมีเมืองท่าคือ “ดากอง” หรือ “ตะเกิง”
• พ.ศ. 2029-2395 : อาณาจักรราชวงศ์ตองอูเจริญรุ่งเรือง
• พ.ศ. 2086 : พระเจ้าตะเบงชเวตี้ยกทัพมาตีไทย ในสมัยพระเจ้าจักรพรรดิ สมเด็จพระศรีสุริโยทัยออกรบถูกพระเจ้าแปรฟันขาดคอช้างสิ้นพระชนม์
• พ.ศ. 2094 : “บายิ่นเนาน์” หรือพระเจ้าบุเรงนอง (ผู้ชนะสิบทิศ) ยึดครองหงสาวดีของมอญ ล้มราชวงศ์มอญแล้วครองราชย์เป็นกษัตริย์แห่งหงสาวดี รวบรวมชาวพม่าเป็นปึกแผ่นเป็นสมัยที่2
• พ.ศ. 2112 : พระเจ้าบุเรงนองตีกรุงศรีอยุธยาแตกครั้งที่1
• พ.ศ. 2127 : สมเด็จพระนเรศวรแห่งกรุงศรีอยุธยา ประกาศอิสรภาพไม่ขึ้นกับพม่า
• พ.ศ. 2143 : กองทัพยะไข่จากแคว้นอาระกัน ตีกรุงหงสาวดีแตกในสมัยของพระเจ้าบุเรงนอง
• พ.ศ. 2295 : พระเจ้าอลองพญา ต้นราชวงศ์คองบอง รบชนะมอญรวบรวมพม่าเป็นปึกแผ่นสมัยที่3และตั้งราชธานีที่ชเวโบ
• พ.ศ. 2298 : พระเจ้าอลองพญามีชัยชนะเหนือมอญเบ็ดเสร็จ เปลี่ยนชื่อเมือง “ตะเกิง” หรือ “ดากอง” เมืองท่าของมอญ เป็น “ย่างกุ้ง” หรือ “ยางกอน” ซึ่งแปลว่า “สิ้นสุดสงคราม” หรือ “สิ้นสุดศัตรู”
• พ.ศ. 2303 : พระเจ้าฉินบูชิน (มังระ) ขึ้นครองราชย์หลังจากพระเจ้าอลองพญาสวรรคต ย้ายราชธานีไปอยู่ที่อังวะ
• พ.ศ. 2310 : พระเจ้ามังระตีกรุงศรีอยุธยาแตกเป็นครั้งที่2
• พ.ศ. 2367 : อังกฤษยึดครองอินเดียได้แล้วก็รุกคืบสู่ลุ่มน้ำอิระวดี เกิดสงครามระหว่างอังกฤษ-พม่า ครั้งที่1 จากนั้นอังกฤษก็ยึดดินแดนของพม่าได้มากขึ้นเรื่อยๆ ในสงครามอังกฤษ-พม่า ครั้งี่2และครั้งที่3
• พ.ศ. 2396-2428 : ราชวงศ์คองบองหรืออลองพญา พระเจ้ามินดงขึ้นครองราชย์แล้วย้ายราชธานีจากอมรปุระมายังมัณฑะเลย์
• พ.ศ. 2428 : พม่าเสียเมืองให้แก่อังกฤษในสมัยพระเจ้าสีป่อแห่งกรุงมัณฑะเลย์ แล้วได้ย้ายเมืองหลวงมายังกรุงย่างกุ้ง
• พ.ศ. 2444 : นักศึกษามหาวิทยาลัยย่างกุ้ง ก่อตั้ง “ยุวพุทธสมาคม” เป็นจุดกำเนิดของขบวนการกู้ชาติพม่า (Yong Men Buddhist Association-YMBA)
• พ.ศ. 2460 : เกิดกรณี “ห้ามสวมเกือก” (No Footwear) ยุวพุทธ-สมาคมประท้วงชาวอังกฤษที่สวมรองเท้าเข้าวัด เพราะชาวพม่าถือว่าเป็นการกระทำที่ลบหลู่ดูหมิ่นพระศาสนามาก และพระสงฆ์ชื่อ “อูวิสาร” ได้ทำการอดอาหารประท้วงอังกฤษจนมรณภาพ
• พ.ศ. 2473 : เกิดกบฏ “ซายาซาน” หรือ “กบฏผู้มีบุญ” เป็นการลุกฮือของชาวไร่ชาวนาทั่วประเทศ โดยบารมีอาจารย์ซายาซาน อดีตหมอยาแผนโบราณผู้ตั้งตนเป็นกษัตริย์ สุดท้ายอังกฤษปราบได้ ซายาซานถูกแขวนคอและได้ประกาศก่อนตายอย่างอาจหาญว่า “เกิดชาติหน้าฉันใดขอให้ข้าพิชิตอังกฤษได้ตลอดไป”
• พ.ศ. 2478 : สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพเสด็จเยือนพม่าทรงนิพนธ์หนังสือที่มีคุณค่ามากคือ “เที่ยวเมืองพม่า”
• พ.ศ. 2484 : 30 สหาย หรือตรีทศมิตร (30 Comrades) ภายใต้การนำของอองซานร่วมกับกองทัพญี่ปุ่น ปลดปล่อยพม่าจากอังกฤษ
• พ.ศ. 2485 : ญี่ปุ่นปกครองพม่าและรัฐฉาน อองซานได้เป็นนายพล ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีกลาโหม อายุเพียง28ปีเท่านั้น
• พ.ศ. 2486 : ญี่ปุ่นให้เอกราชแก่พม่า
• พ.ศ. 2488 : สหรัฐอเมริกาทิ้งระเบิดนิวเคลียร์ญี่ปุ่นที่ฮิโรชิมา และนางาซากิยุติสงครามโลกครั้งที่2อังกฤษกลับมายึดครองพม่าอีกครั้ง อองซานตั้งสันนิบาตเสรีชนต่อต้านฟาสซิสต์ ตัดความสัมพันธ์กับญี่ปุ่น
• พ.ศ. 2490 : อังกฤษลงนามคืนเอกราชให้พม่าในสนธิสัญญา “แอตลี่อองซาน” โดยมีอองซานเป็นนายกรัฐมนตรีคนแรกของ “สหภาพพม่า” ในเดือนมกราคม ต่อมาเดือนกุมภาพันธ์อองซานลงนามข้อตกลงที่เวียงปินหล่ง ยอมให้ชนชาติส่วนน้อยกลุ่มต่างๆ ในพม่า แยกตัวเป็นอิศระได้ภายหลังรวมกับพม่าครบ 10 ปี
• กรกฎาคม 2490 : อองซานถูกบุกยิงที่อาคารรัฐสภา เสียชีวิตพร้อมกับรัฐมนตรีและทหารรักษาการณ์รวม8คน จากฝีมือของอูซอ (อดีต30สหาย) และพรรคพวกที่ไม่พอใจที่อองซานขึ้นตำแหน่งสูงสุดอย่างรวดเร็ว ต่อมาอองซานได้รับการยกย่องเป็น “บิดาแห่งเอกราชของพม่า”
• 4 มกราคม 2491 : พม่าได้รับเอกราชจากอังกฤษอย่างเป็นทางการ หลังถูกปกครองอยู่ถึง63ปี โดยมีอูนุ ( อดีต30สหาย )เป็นนายกรัฐมนตรี
• พ.ศ. 2500 : อูนุประกาศปฏิเสธที่จะใช้ชนกลุ่มน้อยแยกตัวเป็นอิสระตามข้อตกลงที่เวียงปินหล่ง เกิดกบฏชนกลุ่มน้อยเผ่าต่างๆตามแนวชายแดน
• พ.ศ. 2505 : นายพลเนวินก่อรัฐประหาร ประกาศปกครองพม่าแบบเผด็จการสังคมนิยม ปิดประเทศเป็น “ฤาษีแห่งเอเชีย” ไม่ติดต่อกับโลกภายนอก
• พ.ศ. 2531 : นางอองซานซูจี บุตรสาวนายพลอองซาน ทำงานในองค์การสหประชาชาติที่นิวยอร์คและภูฏานเดินทางกลับพม่าเพื่อรักษาแม่ที่กำลังป่วยหนัก
• 8 สิงหาคม 2531 : เกิดกรณี “8.8.88” (วันที่ 8 เดือน8 ค.ศ.1988) เมื่อทหารพม่าปราบปรามฆ่าประชาชนที่เรียกร้องประชาธิปไตยจนเกิดกลียุค มีผู้บาดเจ็บ ตาย และถูกจับกุมเป็นจำนวนมาก
• กันยายน 2531 : ทหารพม่าของนายพลเนวินประกาศจัดตั้ง “สภาฟื้นฟูกฎระเบียบของชาติหรือสลอร์ค” (State Law and Order Restoration Council-SLORC) โดยสัญญาว่าจะจัดให้มีการเลือกตั้งตามระบบประชาธิปไตย ขณะที่นางอองซานซูจีจัดตั้งพรรคสันนิบาตประชาธิปไตย
• พ.ศ. 2533 : มีการเลือกตั้งเป็นครั้งแรกในรอบ 30ปี พรรคของนางอองซานซูจีได้รับชัยชนะท่วมท้น แต่สภาสลอร์คไม่ยอมรับและไม่ยอมคืนอำนาจให้ประชาชน ซ้ำยังสั่งกักบริเวณนางอองซานซูจีในบ้านของนางเอง
• กันยายน 2534 : นางอองซานซูจีได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ แต่ไม่ได้รับอนุญาตให้เดินทางไปรับรางวัล
• พ.ศ. 2535 : สลอร์คประกาศเปลี่ยนนโยบายเศรษฐกิจจากพุทธสังคมนิยมมาเป็นกึ่งเสรีตามแนวทุนนิยม เปิดประเทศต้อนรับนักลงทุน นักท่องเที่ยว และเปลี่ยนชื่อประเทศจาก “พม่า” (Burma) เป็น “เมียนมาร์” (Myanmar)
• พ.ศ. 2538 : สลอร์คให้อิสรภาพแก่นางอองซานซูจี หลังจากกักบริเวณมาเป็นเวลาถึง 6 ปี
• พ.ศ. 2539 : สลอร์คประกาศให้เป็นปีท่องเที่ยวพม่าถึงปี 2540 และเข้าเป็นสมาชิกสมาคมอาเซียนพร้อมประเทศลาว
• พ.ศ. 2540 : สลอร์คเปลี่ยนชื่อเป็น “สภาแห่งสันติภาพและการพัฒนาประเทศ” (State of Peace And Development Council = SPDC) มีพลเอกตานฉ่วยเป็นประธานสภาฯ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด และนายกรัฐมนตรีพลโทขิ่น ยุ้นต์ เป็นเลขาธิการสภาฯพลโทหม่อง เอย์ คุมกำลังทหารในส่วนภูมิภาคทั้งหมด
ที่มา : ชมรมคนรักวิชาประวัติศาสตร์ Historism
//m.facebook.com/story.php...
___________________________
#เพจภาพและเรื่องราวต่างๆที่น่าสนใจ

 

ศาสตราศักดิ์สิทธิ์ผีโหงพราย ดาบฟ้าฟื้น
“ดาบฟ้าฟื้น” ของขุนแผน ได้ชื่อจากบรรพชนลาว “อาวุธวิเศษผีฟ้าพญาแถน”
นิทานพื้นบ้าน ขุนช้างขุนแผน เป็นเรื่องเล่าที่สันนิษฐานว่า เป็นเรื่องที่เล่ากันต่อปากมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนกลาง อาจจะมีเรื่องจริงผสมมาด้วย เป็นเรื่องของชาวบ้านในสมัยอยุธยา โดยการเล่านั้นเป็นลักษณะการขับเสภา ซึ่งในสมัยรัตนโกสินทร์นั้น มีการวมรวมและชำระเรื่องราวใหม่ในสมัยรัชกาลที่ 2 และได้ตีพิมพ์เป็นหนังสือในสมัยรัชกาลที่ 5 ซึ่งเป็นนิทานพื้นบ้านที่ได้รับความนิยมมาตลอดในปัจจุบัน
ขุนช้างขุนแผน ถือเป็นเรื่องราวคลาสสิค ที่เข้าใจง่าย เล่าเรื่องการใช้ชีวิต ชู้สาวระหว่าง 1 หญิง 2 ชาย ที่เป็นเพื่อนกัน กลายเป็นคนรัก การทรยศหักหลัง ความเข้าใจผิด ล้วนแต่เป็นอารมณ์พื้นฐานของมนุษย์ ความซับซ้อนของจิตใจ การตัดสินใจ บุคคลิคของตัวละคร ล้วนแต่มีเสน่ห์ให้ตีความได้หลากหลาย อีกหนึ่งอย่างในขุนช้างขุนแผนที่ทำให้หลายคนสนใจ ก็คืออภินิหาร วิชาอาคมต่าง ๆ โดย ขุนแผนนั้นมีสิ่งดีประจำตัว 3 อย่าง คือ ม้าสีหมอก, กุมารทอง และ ดาบฟ้าฟื้น
อย่างแรก ม้าสีหมอก เป็นม้าดีพาหนะประจำตัวของขุนแผน เป็นม้าที่ขุนแผนเห็นแล้วต้องตา ในลักษณะดีของสีหมอก เมื่อได้มาแล้วก็เสกหญ้าให้กิน สีหมอกช่วยขุนแผนทำภารกิจสำคัญหลายอย่างในการเดินทาง แม้ขุนแผนติกคุกอยู่หลายสิบปีเมื่อออกมาแล้ว สีหมอกมีอายุมากแล้ว ก็ยังเสกหญ้าให้กินเพื่อฟื้นฟูกำลัง จะได้ใช้งานสีหมอกได้อีก
กุมารทอง เป็นพรายกระซิบประจำตัว กุมารทองเป็นลูกของขุนแผนกับนางบัวคลี่ ขุนแผนทำพิธีผ่าท้องและนำเด็กไปทำเป็นกุมารทองด้วยตัวเอง คอยสืบข่าว ติดตามไปยังที่ต่าง ๆ โดยที่คนอื่นมองไม่เห็น และบางครั้งกุมารทองก็สามารถแปลงกายเป็นคน ปรากฏให้ผู้อื่นเห็นอีกด้วย บทบาทของกุมารทอง เป็นทั้งผู้รับใช้ตามคำสั่ง แต่ในบางครั้งก็ยังเป็นผู้ปกป้องขุนแผนจากอันตราย รวมไปถึงห้ามขุนแผนเมื่อขาดสติจะกระทำการร้ายแรง
และดาบฟ้าฟื้น
ของดีประจำตัวขุนแผน ก็เป็นของที่ขุนแผนเสาะหามาเพื่อบ่งบอกความเป็นชายชาตรี ในสมัยโบราณ พาหนะที่ดี บริวารที่ดี และอาวุธที่ดี เพื่อทำภารกิจในชีวิตให้บรรลุได้ตามความปราถนาของตัวเองซึ่งดาบประจำตัวนั้นถือว่าเป็นที่นิยมในบรรดาของสะสมที่สำคัญของชายไทยในสมัยก่อน เพราะกว่าที่จะสร้างดาบได้แต่ละเล่ม ต้องผ่านพิธีกรรมหลายขั้นตอน รวมทั้งต้องค้นหาเหล็ก ให้ถูกต้องตามตำรา เช่นเดียวกับ ดาบฟ้าฟื้น เราขอชวนคุณมาทำความรู้จักกับ ดาบฟ้าฟื้น กันก่อน! รูปทรงของ"ดาบฟ้าฟื้น"ของขุนแผนและตำหรับการสร้างดาบทรง "หน้าลูกไก่" แบบในเสภา"ขุนช้าง ขุนแผน"ตอนที่ ๑๖ เป็นดาบสั้นหน้าลูกไก่จะมีลักษณะ หน้า หรือปลายดาบชี้ลง ดูคล้ายกับหน้าลูกไก่ดาบชนิดนี้จะมีลักษณะหัวดาบปลายโค้งขึ้นลงเล็กน้อย มีลักษณะสั้นเหมาะเอาไว้ในการฟันแบบตวัดเฉือน ซึ่งจะถูกใช้ในกรณีการฟันตัดตามข้อต่อสำคัญของศัตรู ดาบชนิดนี้นับเป็นดาบแบบโบราณที่สุดในหมู่ดาบไทย ซึ่งสามารถสืบย้อนกลับไปได้ถึงยุคกรุงศรีอยุธยา“ฟ้าฟื้น” ในชื่อดาบฟ้าฟื้นของขุนแผน มีร่องรอยให้น่าเชื่อว่ามาจากชื่อปู่ฟ้าฟื้นในตำนานผีบรรพชนของกษัตริย์ หรือเจ้านายเมืองน่าน ซึ่งมีลำดับรายชื่ออยู่ในจารึกพบที่เมืองสุโขทัย
ดังนั้นดาบฟ้าฟื้น จึงคล้ายเครื่องรางของขลังวิเศษที่ผีฟ้าพญาแถนสร้างคืนกลับขึ้นใหม่ในสถานการณ์ศักดิ์สิทธิ์ ฟ้าฟื้น หมายถึง เทวดาสร้างคืนกลับขึ้นใหม่ (ฟ้า หมายถึง เทวดา, แถน, ฟื้น แปลว่า คืนกลับ, พลิกกลับขึ้นมา, สร้างใหม่)
ปู่เมืองน่าน หลานเมืองสุโขทัย จารึกที่มีชื่อปู่ฟ้าฟื้น เป็นจารึกหลักที่ 45 เรียกกันด้วยภาษาปากว่าจารึกปู่สบถหลาน หรือปู่หลานสบถกัน พบที่วิหารสูง วัดมหาธาตุ กลางเมืองสุโขทัย สมัยนั้นเมืองน่านกับหลวงพระบาง เป็นเมืองเครือญาติใกล้ชิดสนิทสนมมาแต่ยุคแรกๆ ราวหลัง พ.ศ.1700ตำนานลาวเล่าว่าเจ้าฟ้างุ่มหนีความขัดแย้งทางการเมืองในหลวงพระบาง ไปตายอยู่เมืองน่านเมืองน่านอยู่ฝั่งขวาแม่น้ำโขงในไทย ส่วนเมืองหลวงพระบางอยู่ฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงในลาว (แล้วเชื่อมโยงเป็นเครือญาติไปถึงเมืองแถนในเวียดนาม)
การทำอาวุธมนตราชิ้นนี้เรียกได้ว่ามีความยากมากเนื่องจากข้อแม้ในการสร้างค่อนข้างที่จะทำได้ยากและอันตราย เพราะต้องใช้ คําภีร์มหาศาสตราคมดาบฟ้าฟื้น แห่งขุนบรมพญาน่านเจ้า ซึ่งภายในคัมภีร์นั้นได้ระบุถึงการนำโลหะ 108 ชนิดมารวมกันภายในตัวดาบเล่มเดียว อันได้แก่ เหล็กจากยอดพระเจดีย์มหาธาตุ เหล็กขนันผีพรายตายทั้งกลม ตะปูตอกฝาโลงจาก 7 ป่าช้า เหล็กที่เกิดการชำรุดจากอาวุธที่พังในการศึก เหล็กแทงคอวัว เหล็กเบญจพรรณกัลเม็ด เหล็กหล่อบ่อพระแสง เหล็กที่ใช้สำหรับตรึงโลงศพปั้มลมสลักเพชร หอกสําฤทธิ์ พระแสงหัก เหล็กสลักประตู เหล็กไหล เหล็กกำแพง เหล็กน้ำพี้ ธาตุเงิน ธาตุทอง ธาตุทองแดง ผงถ่าน ผงตะไบเหล็ก เป็นต้น จากนั้นต้องตั้งพื้นที่ในการทำพิธีล้อมรอบด้วยราชวัฏฉัตรธง 4 มุม คาดด้วยผ้าขาวพร้อมลงยันต์อักขระหน้าหลัง และ เครื่องเส้นสังเวย สำหรับเทพยาดา และ ครูอาจารย์ทั้งหลาย เป็น มัจฉะมังษาหาร 6 อย่าง ขนมแห้ง และ ผลไม้ 9 อย่าง เทียนเงินเทียนทอง 1 คู่ ส่วนวันในการทำพิธีต้องเป็นวันเสาร์ขึ้น 15 ค่ำ ถึงจะเป็นฤกษ์ดี พิชัยฤกษ์ราชฤทธิ์ พระอาทิตย์เที่ยงฤกษ์ราชสีห์ จากนั้นจึงเริ่มหลอมดาบด้วยเหล็กต่างๆที่นำมา และเริ่มด้วยการสวดคาถาบารมีพระพุทธเจ้า เป็นจำนวน 108 ครั้งในระหว่างหลอมดาบ พระคาถาพุทธนิมิตร์ ลงถม เป็นจำนวน 9 รอบ นิมิตตังลงถมอีก เป็นจำนวน 9 รอบ คาถาพรหมสี่หน้าลงถมอีก เป็นจำนวน 9 รอบ คาถามงกุฎพระพุทธเจ้าเป็นจำนวน 9 รอบ อรหันต์ 8 ทิศ เป็นจำนวน 9 รอบ คาถา นะผุด ผัดผิด ปฏิเสวามิ เป็นจำนวน 9 รอบ ในด้ามดาบจะมีการบรรจุยามุก 108 อย่าง ลงด้วยพระคาถามหาโสฬสมงคล เป็นจำนวน 9 รอบ คาถาหัวใจพระธรรมเจ็ดคําภีร์ เป็นจำนวน 9 รอบ คาถาพรหมสี่หน้า เป็นจำนวน 9 รอบ คาถาพุทธนิมิต เป็นจำนวน 9 รอบ คาถาพระเจ้า 16 พระองค์ เป็นจำนวน 9 รอบ คาถาอะระหันต์ 8 ทิศ เป็นจำนวน 9 รอบ คาถาบารมี 30 ทัศน์ เป็นจำนวน 9 รอบ คาถาหัวใจสนธิ เป็นจำนวน 9 รอบ คาถาพระกรณีย์ เป็นจำนวน 9 รอบ
เมื่อถึงเวลาพิชัยฤกษ์ตอนเที่ยงก็ให้ช่างตีเหล็กเป็นดาบ มีเนื้อสีเขียวคล้ายปีกแมลงทับ ด้ามทำด้วยไม้ชัยพฤกษ์มียันต์พุทธจักร แล้วเอาผมของผีพรายที่ดุร้ายประจุไว้ แล้วเอาชันกรอกทับ เมื่อเสร็จแล้วขุนแผนก็กวัดแกว่งดาบ ก็เกิดฟ้าร้องอื้ออึง ฝนตกและฟ้าผ่าลงมา ขุนแผนจึงสมใจหมายที่สร้างดาบตามตำหรับปู่"ฟ้าฟื้น"ขึ้นมาสำเร็จได้อาวุธวิเศษ"ดาบผีฟ้าพญาแถน"มาครอบครอง
การตีดาบฟ้าฟื้น
การทำดาบโบราณ เมื่อสมัยก่อนต้องพิถีพิถันมาก รวมทั้งการทำดาบฟ้าฟื้นด้วยเช่นกัน ต้องหาฤกษ์งามยามดี ซึ่งก็คือวันเสาร์ ขึ้นสิบห้าค่ำ ส่วนลักษณะความยาว และความกว้างของดาบ ก็ต้องถูกต้องด้วยเช่นกัน ไม่เช่นนั้นจะถือว่าเป็น “อวมงคล” ดาบฟ้าฟื้นมีความยาวเพียงแค่หนึ่งศอกบวกกับฝ่ามือของขุนแผน จากคำกล่าวนี้ "ยาวถึงศอกกำมาหน้าลูกไก่" ดาบฟ้าฟื้นเป็นดาบที่สั้น ไม่เหมาะในการสู้รบบนหลังม้า แต่ทว่าเป็นดาบสำหรับคู่บารมีของขุนแผน
คล้ายกับมีดหมอเล่มใหญ่เสียมากกว่า แต่ ประกอบอบอวลไปด้วยกลิ่นไอของ อวมงคล ต่างๆ ไม่เหมาะที่จะใช้ในการรบ และ ยังเป็นดาบที่เกิดจากการรวมกันของโลหะหลายชนิด มีความแข็ง คม แต่เปราะง่าย เหมาะที่จะเอาในการใช้ขับไล่ภูตผี หรือ เรียกผีพรายฝูงผีมารับใช้ เท่ากับว่า สรรพคุณของดาบฟ้าฟื้นนี้ ไว้ข่มศัตรูและปราบผี เรียกได้ว่ายอดศาสตราวุธชิ้นนี้ ทำให้ใครหลายๆคนอยากมีไว้ในครอบครอง
ที่ทางผู้สร้าง "ขุนแผน ฟ้าฟื้น"2019สร้างนำมาถวาย "ขุนแผน"ที่วัดแค สุพรรณบุรีไม่ตรงกับรูปทรงที่เรียกว่า"ดาบ"แต่ตรงกับรูปทรงที่เรียกว่า "พระขรรค์"คำให้การชาวกรุงเก่า ว่าขุนแผนมีดาบวิเศษเรียกดาบฟ้าฟื้น
เมื่อชราลง จึงนำดาบฟ้าฟื้นถวายพระพันวษาพระองค์ทรงรับไว้แล้วทรงประสิทธิ์ประสาทนามว่า
พระแสงปราบศัตรู (พระแสงคือของมีคม)
ดาบฟ้าฟื้น ในเสภาขุนช้าง ขุนแผน ทรงหน้าลูกไก่
ขุนแผน ไม่ได้ใช้ออกรบ และ ไม่ได้มอบให้ใคร

จากข้อความที่มาของ ดาบฟ้าฟื้น สองข้อมูลคือ
๑.คำให้การของคนกรุงเก่าเล่าว่า เมื่อขุนแผนชราลง
ได้ถวายดาบให้พระพันวษาให้นาม พระแสงปราบศัตรู

๒.ดาบฟ้าฟื้น ในเสภาขุนช้าง ขุนแผน ไม่ได้มอบให้ใคร
มีรูปทรงตามระบุไว้คือ "หน้าลูกไก่"คือดาบคมเดียว

สรุปว่าทั้งสองที่มาของดาบฟ้าฟื้น ทั้งเรื่องคำให้การ
ของคนกรุงเก่า
ไม่ได้เปลี่ยนรูปทรงแต่เปลี่ยนชื่อเป็นพระแสงปราบศัตรู
และเสภาขุนช้างขุนแผน คือยังเป็นดาบหน้าลูกไก่่ คงเดิม
#ความหมายของดาบ หมายถึงมีดยาวปลายแหลมชนิดหนึ่ง
#สันแอ่นปลายงอนเล็กน้อย มักใช้เป็นอาวุธสําหรับฟันแทง.

ความหมายของ พระขรรค์ คือ คืออาวุธมีคม
ลักษณะคล้ายดาบ มีคมสองด้าน ตรงกลางคอด สมมุติเป็นอาวุธของเทพเจ้า

เมื่อเปรียบเทียบ ระหว่าง ดาบกับพระขรรค์ จะพบความต่างคือ
ดาบนั้น สันแอ่น ปลายงอนเล็กน้อย
พระขรรค์ คล้ายดาบมีคมสองคมตรงกลางคอด

เพราะฉะนั้น "ดาบฟ้าฟื้น"ที่ทางผู้สร้างภาพยนตร์เรื่อง
"ขุนแผน ฟ้าฟื้น" 2019 นำมาถวายให้ขุนแผนที่"วัดแค"นั้น
จึงไม่ใช่รูปทรงแบบ"หน้าลูกไก่"แต่เป็นรูปทรง
ของพระขรรค์ไป(จะสองคมหรือคมเดียวก็ตาม)
สรุปคือ "ดาบฟ้าฟื้น"ของขุนแผน จะต้องเป็นทรงดาบ
คือสันแอ่นปลายงอนเล็กน้อย แบบพระแสงดาบคาบค่าย
ไม่ใช้ทรงตรงๆ แบบพระขรรค์ไชยศรี ตามภาพที่ปรากฏ
cr. 1
//www.silpa-mag.com/culture/article_40140
cr. 2
//www.eaae-astro.org/ศาส.../
เครดิตพี่ กรยุทธ ตะพาบน้ำ ครับ
__________________________
#เพจภาพและเรื่องราวต่างๆที่น่าสนใจ

 

ยกมาจาก ที่ไปตอบคอมเมนท์... เอามาตั้งเป็นโพสต์ใหม่ เพื่อ ให้ง่ายในการอ่าน..


ให้มอง... แบบภาพใหญ่..

ตอนนี้... คือการโละระบบเก่า: The great reset... ที่อ้างอิง/ผูก กับดอลลาร์... ซึ่ง นับเป็น 100 ปีมาแล้ว... ที่ทั่วโลกให้การยอมรับในความเป็น หนึ่งเดียว ของดอลลาร์ (Dollar hegemony)..

ทั้งๆที่... ดอลลาร์ คือ กระดาษเปล่า... แต่ ราคาเกิดจาก... การสั่งการ/บังคับ ของเจ้าของสกุลเงิน คือ อเมริกา และ Fed (ฝ่ายตะวันตก)... ว่า กระดาษนี้... มีราคา ตามตัวเลขที่พิมพ์ติดเอาไว้ (1, 10, 20, 100 ดอลลาร์)..

มาบัดนี้... ผู้คนจำนวนมาก โดยเฉพาะฝ่ายตะวันออก (BRICS, SCO: Shanghai Cooperation Organization)... ไม่ให้ความเชื่อถือดอลลาร์... เพราะ ได้พัฒนาประเทศให้มีความก้าวหน้า ทางเทคโนโลจี จนทัดเทียม และ บางอย่างล้ำหน้ากว่า ฝ่ายตะวันตก..

ฝ่ายตะวันออก... จึงต้องการ ตั้งระบบใหม่ เอาแบบดีกว่าเก่า (ในแง่ที่ถูกใช้เป็นเครื่องมือ Wealth transfer แบบหมดจด) คือ ใช้แบบ Digital currencies... โดย เริ่มแรก ต้องมี สิ่งที่น่าเชื่อถือ ค้ำยัน ความมีราคาของมัน... ซึ่งตอนนี้ สรุปที่ ทองคำ..

ฝ่ายตะวันออก จึงเพิ่มการสะสมทองคำ... เพื่อค้ำยัน สกุลเงินใหม่... ของฝ่ายตน... (ไม่ว่าราคาทองคำโลก จะเป็นเช่นไร ก็ตาม)..

ส่วน... สกุลเงินดอลลาร์ และ เงินเฟี้ยตอื่นๆ ที่ผูกเอาไว้กับดอลลาร์... ก็ต้องถูกเทียบค่า เข้าหา สกุลเงินใหม่ (ที่หนุนด้วยทองคำ)..

แต่... ตอนนี้ ดอลลาร์ ไม่ทำงานแล้ว (Dying dollar) เพราะ อยู่ในรูปของหนี้ (Dollar bonds, US Treasuries)... ที่มหาศาล เกินกำลัง GDP: Gross Domestic Product.. ที่จะใช้คืนหนี้เหล่านั้นได้... จึงต้อง เสื่อมค่าดอลลาร์ (Devalue dollar) เพื่อ โละหนี้... ด้วยการขึ้นดอกเบี้ยแรง บนกองหนี้นั้น..

การทำให้ ทองกระดาษ: Paper gold ราคาร่วงลง... ก็เป็นกระบวนการหนึ่ง ในการ Burn หนี้ ในรูป Paper gold ที่ออกสัญญาเปล่า... มากเกิน ทองคำจริงที่ผู้ออกสัญญา มีในครอบครอง..

การร่วงลง ของ ราคา Paper gold (ด้วยการเทขาย)... จึง เพื่อ ทำให้ เกิดการล้มละลาย/ล้างหนี้ ของผู้เป็นเจ้าของ สัญญาทั้งหลาย (สถาบันการเงินใหญ่)..

แต่... สัญญากระดาษทั้งหลาย... ล้วนอยู่ในกำมือ นักลงทุนในตลาด..

ดังนั้น... การล้มละลายของ สถาบันการเงินใหญ่ แท้จริงแล้ว พวกเขา เพียงล้มละลายแค่ตัวเลข... โดยเป็นฝ่าย ได้ครอบครอง ของจริง ผ่านการ ผ่องถ่ายสัญญา ในการ Trading แล้ว..

ผู้... ล้มละลาย ที่แท้จริง คือนักลงทุนในตลาด ที่ถือ Paper gold... (Public loss) ที่เอาไปแลกเป็น ของจริง (Physical gold) ไม่ได้..

ผู้คุมเกม, City of London, เพียง ถูก ลดความสำคัญ ในฐานะ เจ้ามือใหญ่รายเดียว ของโลก... มาเป็น... เจ้ามือร่วม... เพื่อ แบ่งปันผลประโยชน์กัน... กับ เจ้ามือฝ่ายตะวันออก... ที่ ร่วมมือกัน แบบ Multilateral power..

สุดท้าย... ระบบทั้งหมด ก็จะถูกควบคุมด้านเศรษฐกิจ และการเงิน โดย Elites จาก City of London ร่วมกับ Elites ฝ่ายตะวันออก... ด้วยระบบ ISO 20022 แทน SWIFT: Society for Worldwide Interbank Financial Telecommunications..

ป.ล.1. หนี้ดอลลาร์: Dollar bond ล้วนถูกนำไปค้ำยัน ทุกสินทรัพย์ ที่ซื้อขายกันในตลาด ด้วย Leverage ระดับสูง... การทำให้ US bond; Dollar พังทลาย... ก็คือ การโละระบบเก่า แล้ว ค่อยเลือกชุบชีวิต บางธุรกิจ ที่ได้ไปต่อ เฉกเช่น นกฟีนิกซ์..

ป.ล.2 การทำให้ราคาทองคำกระดาษ ดิ่งลง (ด้วยการเทขาย)... คือการเจตนาล้างหนี้ ที่เกิดจากการออกสัญญา Paper gold มากเกินทองคำที่มี อย่างมากมาย... และ สร้างภาพลวง ให้ดอลลาร์แข็งแกร่ง (ทั้งที่กำลังจะตาย) ผ่าน Dollar index ที่เพิ่มขึ้น (ดัชนี เปลี่ยนแปลงแบบตรงข้ามกัน กับ Gold futures index)... ทั้งหมด อยู่ในกระบวนการ Wealth transfer แบบ Private gain public loss..

ราคา Physical gold... ซึ่งถูกกำหนด ตาม Gold spot index ภายใต้การชี้นำของ Gold futures index จึงร่วงลง... ถือเป็น โอกาส ให้เข้าซื้อทองคำเก็บ..

เช่นนี้ แล..

 

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ศัพท์ทางทหาร military words แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 พจนานุกรมศัพท์ทหาร ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง ไทยแปลอังกฤษ ประโยค lmyour แปลภาษา การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ประปาไม่ไหล วันนี้ ฝยก. ย่อมาจาก หยน ห่อหมกฮวก แปลว่า เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษาจีน ่้แปลภาษา onet ม3 การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 1 ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง ตตตตลก บบบย ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ เขียน อาหรับ แปลไทย เนื้อเพลง ห่อหมกฮวก แปลไทย asus zenfone 2e กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น การประปานครหลวง ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบภาษาอังกฤษ ม.ปลาย พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ชขภใ ชื่อเต็ม ร.9 คําอ่าน ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน นยน. ย่อมาจาก ทหาร บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ฝสธ. ย่อมาจาก มัดหัวใจเจ้าชายเย็นชา 2 ซับไทย มัดหัวใจเจ้าชายเย็นชา 2 เต็มเรื่อง ยศทหารบก เรียงลําดับ ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 รัชกาลที่ 10 ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คอร์ด