ค่าคลอดบุตรโรงพยาบาลรัฐ 2565

ค่าฝากครรภ์ ค่าใช้จ่ายของแม่ ขึ้นชื่อว่าเป็นแม่คนแล้ว แน่นอนว่าต้องเสียสละกันทั้งกำลังกาย กำลังใจ รวมไปถึงกำลังทรัพย์ เพราะเมื่อมีอีกหนึ่งชีวิตที่เพิ่มขึ้นมา แน่นอนว่าเราจะต้องให้เขามีคุณภาพชีวิตที่ดีที่สุด โดยค่าใช้จ่ายของแม่นั้นเริ่มกันตั้งแต่วินาทีแรกที่รู้ว่ามีสิ่งมีชีวิตในท้องเลยทีเดียว ค่าใช้จ่ายของแม่! กว่าลูกจะคลอด คุณแม่ตั้งครรภ์มีค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง

ค่าฝากครรภ์ ค่าใช้จ่ายของแม่! กว่าลูกจะคลอด คุณแม่ตั้งครรภ์มีค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง

อ่านเพิ่มเติม : ยังเรียนไม่จบ ทำประกันสะสมทรัพย์ ได้หรือไม่

ค่าใช้จ่ายในการฝากครรภ์ กรณีไม่ใช้สิทธิจากประกันสังคม

เมื่อทราบว่าตั้งครรภ์ ทุกคนต้องไปหาคุณหมอและฝากครรภ์โดยเร็วที่สุด หากใครวางแผนเก็บเงินเพื่อมีลูกล่วงหน้าก็หายห่วงหน่อย แต่ใครที่ไม่ได้วางแผนไว้เลยอาจจะต้องรีบเก็บเงินกันตัวเป็นเกลียว สำหรับค่าฝากครรภ์นั้นมีเรตราคาแตกต่างกันไป อย่างที่ทราบกันดีว่าโรงพยาบาลรัฐนั้นถูกกว่า แต่ไม่สะดวกสบายเพราะต้องตื่นแต่เช้าไปรอคิว ส่วนเอกชนนั้นราคาก็สูงขึ้นตามความสะดวกสบายเช่นกัน รวมถึงคลินิคพิเศษด้วย นอกจากนี้บางคนอาจมีค่าใช้จ่ายที่มากกว่าปกติ เพราะมีปัจจัยเรื่องสุขภาพหรือภาวะแทรกซ้อนที่ต้องได้รับการตรวจมากเป็นพิเศษ

เมื่อคุณแม่ฝากครรภ์ คุณหมอจะนัดตรวจครรภ์โดยเฉลี่ยประมาณ 9-12 ครั้ง (บางคนอาจมากหรือน้อยกว่า ขึ้นอยู่กับสุขภาพของแม่และลูก) ซึ่งแต่ละครั้งมีค่าตรวจของแพทย์ ค่ายาบำรุง ค่าอัลตร้าซาวด์ ค่าวัคซีน ค่าตรวจเลือด เจาะน้ำคร่ำ ตรวจพิเศษอื่นๆ เป็นต้น เพื่อให้เห็นภาพ ลองมาดูตัวอย่างกันค่ะ

โรงพยาบาลรัฐ

  • ค่าฝากครรภ์ครั้งแรก (รวมค่าตรวจเลือด ตรวจปัสสาวะ ค่าแพทย์ ฯลฯ) ประมาณ 1,500 บาท
  • ค่าตรวจครรภ์ ครั้งละประมาณ 80-300 บาท
  • ค่ายาตลอดการตั้งครรภ์ ประมาณ 1,000 บาท
  • ค่าอัลตร้าซาวด์ ครั้งละประมาณ 500 บาท
  • ค่าวัคซีน ประมาณ 200 บาท
  • หมายเหตุ ราคาข้างต้นเป็นราคาโดยประมาณเท่านั้น และยังไม่รวมค่าใช้จ่ายพิเศษอื่นๆ กรณีที่คุณแม่มีภาวะเสี่ยงต่างๆ

โรงพยาบาลเอกชน

  • ส่วนมากจะเป็นแพ็คเกจเหมาจ่าย โดยครอบคลุมการตรวจทั้งหมด และแบ่งชำระเป็นงวด ซึ่งขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของแต่ละโรงพยาบาล บางแห่งรวมการฝากครรภ์ไว้กับแพ็คเกจคลอดด้วยก็มี ส่วนค่าใช้จ่ายนั้นเริ่มต้นที่ 10,000-30,000 บาท
  • หมายเหตุ ราคาข้างต้นเป็นราคาโดยประมาณเท่านั้น และยังไม่รวมค่าใช้จ่ายพิเศษอื่นๆ กรณีที่คุณแม่มีภาวะเสี่ยงต่างๆ

การคลอด กรณีไม่ใช้สิทธิจากประกันสังคม

สำหรับค่าคลอด ราคาแตกต่างกันไปตามลักษณะโรงพยาบาล ซึ่งแน่นอนว่าโรงพยาบาลรัฐราคาย่อมถูกกว่าเอกชน รวมไปถึงรูปแบบการคลอดด้วย หากคลอดธรรมชาติจะราคาก็จะถูกกว่าการผ่าตัดคลอด เพราะการผ่าคลอดมีขั้นตอนที่ยุ่งยากกว่า อีกทั้งคุณแม่ต้องนอนพักรักษาตัวที่โรงพยาบาลนานกว่า ค่าใช้จ่ายจึงเพิ่มเป็นเงาตามตัว

สำหรับโรงพยาบาลรัฐค่าคลอดประมาณ 5,000-10,000 บาท กรณีคลอดธรรมชาติ หากผ่าคลอดราคาจะอยู่ที่ประมาณ 15,000 -25,000 บาท ราคานี้รวมค่าห้องแล้ว โดยราคาห้องมีตั้งแต่ 500-3,000 บาท สำหรับจำนวนวันที่นอนโรงพยาบาล หากคลอดธรรมชาติจะนอนโรงพยาบาลประมาณ 2-3 วัน หากผ่าคลอดประมาณ 4-5 วัน

ส่วนโรงพยาบาลเอกชน กรณีคลอดธรรมชาติ ราคาประมาณ 30,000-50,000 บาท กรณีผ่าตัดคลอด ราคาประมาณ 60,000-100,000 บาท (ส่วนมากจะรวมค่าห้องแล้วในแพ็คเกจ) หากคลอดธรรมชาติจะนอนโรงพยาบาลประมาณ 2-3 วัน หากผ่าคลอดประมาณ 4-5 วันเช่นกัน

นี่เป็นเพียงค่าใช้จ่ายของแม่ หลักๆ เท่านั้น ยังไม่รวมค่าใชจ่ายจิปาถะอื่นๆ เช่น ค่าอาหารเสริม ค่าของใช้ของลูกที่ต้องเตรียมไว้ก่อนคลอด และอื่นๆ อีก การที่เราเตรียมพร้อมและวางแผนกก่อนการมีบุตรเป็นเรื่องสำคัญมากๆ เพราะหลังจากนี้จะต้องใช้เงินอีกมากจนกว่าพวกเขาจะเติบโต

ค่าคลอดบุตรกรณีใช้สิทธิจากประกันสังคม

เริ่มจากการฝากครรภ์ ตามประกาศคณะกรรมการการแพทย์ตามพระราชบัญญัติประกันสังคม เรื่องหลักเกณฑ์และอัตราสำหรับประโยชน์ทดแทนกรณีการฝากครรภ์ตามเกณฑ์คุณภาพ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2564 เป็นต้นไป ประกันสังคมจะจ่ายค่าฝากครรภ์ให้คุณแม่โดยปรับเพิ่มค่าฝากครรภ์ 5 ครั้ง รวมเป็นเงิน 1,500 บาท (จากเดิม 3 ครั้ง 1,000 บาท) ตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้

  1. หากอายุครรภ์ไม่เกิน 12 สัปดาห์ จ่ายในอัตราเท่าที่จ่ายจริงไม่เกิน 500 บาท
  2. หากอายุครรภ์มากกว่า 12 สัปดาห์ แต่ไม่เกิน 20 สัปดาห์ จ่ายในอัตราเท่าที่จ่ายจริงไม่เกิน 300 บาท
  3. หากอายุครรภ์มากกว่า 20 สัปดาห์ แต่ไม่เกิน 28 สัปดาห์ จ่ายในอัตราเท่าที่จ่ายจริงไม่เกิน 300 บาท
  4. หากอายุครรภ์มากกว่า 28 สัปดาห์ แต่ไม่เกิน 32 สัปดาห์ จ่ายในอัตราเท่าที่จ่ายจริงไม่เกิน 200 บาท
  5. หากอายุครรภ์มากกว่า 32 สัปดาห์ ถึง 40 สัปดาห์ขึ้นไป จ่ายในอัตราเท่าที่จ่ายจริงไม่เกิน 200 บาท

เอกสารสำหรับเบิกค่าฝากครรภ์ มีดังนี้

  1. แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทน กองทุนประกันสังคม สปส. 2-01(สามารถดาวน์โหลดได้ที่เว็บไซต์ของประกันสังคม)
  2. ใบเสร็จจากสถานพยาบาลที่เข้ารับการฝากครรภ์
  3. ใบรับรองแพทย์ หรือสามารถใช้สมุดบันทึกสุขภาพประจำตัวแม่และเด็ก ที่มีชื่อแม่ผู้ตั้งครรภ์และรายละเอียดการบันทึกตามแต่ละช่วงอายุครรภ์แทนได้
  4. กรณีที่คุณพ่อเป็นคนมาเบิกให้นำสำเนาทะเบียนสมรส หรือ หนังสือรับรองผู้ประกันตนกรณีไม่มีทะเบียนสมรสมาด้วย (สามารถดาวน์โหลดได้ที่เว็บไซต์ของประกันสังคม) และหากแม่มาเบิกหลังคุณพ่อ ควรใส่เลขประจำตัวประชาชนของคุณพ่อเพื่อป้องกันการรับสิทธิ์ซ้ำ

ค่าคลอดบุตรประกันสังคมให้สิทธิ์อะไรบ้าง

สำหรับรับสิทธิประโยชน์และหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการรับสิทธิประโยชน์ - ค่าคลอดบุตรประกันสังคม จะมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

  1. การเบิกสิทธิประกันสังคม กรณีคลอดบุตร คุณแม่ที่มีสิทธิ์ในการเบิก จะต้องจ่ายเงินสมทบประกันสังคมมาแล้ว ไม่น้อยกว่า 5 เดือน และภายใน 15 เดือน ก่อนการคลอดบุตร โดยประกันสังคมจะจ่ายค่าบริการทางการแพทย์เหมาจ่ายในกรณีคลอดบุตร ในอัตรา 15,000 บาท
  2. คุณแม่มีสิทธิรับเงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อการคลอดบุตร โดยจะเหมาจ่ายในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้าง เฉลี่ย เป็นระยะเวลา 90 วัน ในกรณีใช้สิทธิบุตรคนที่ 3 จะไม่ได้รับสิทธิเงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อการคลอดบุตรนี้
  3. กรณีที่คุณแม่ และคุณพ่อ เป็นผู้ประกันตนประกันสังคมทั้งคู่ ให้ใช้สิทธิการเบิกคลอดบุตร ของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง โดยไม่จำกัดจำนวนบุตร และจำนวนครั้ง

เอกสารประกอบการยื่นคำขอประโยชน์ทดแทนการคลอดบุตร

  1. เอกสารแบบคำขอรับประโยชน์ทดแทน สปส. 2-01 (สามารถดาวน์โหลดได้ที่เว็บไซต์ของประกันสังคม) กรอกข้อมูลให้ครบถ้วน พร้อมลงลายมือชื่อผู้ยื่นคำขอ
  2. สำเนาสูติบัตรบุตร 1 ชุด (กรณีคลอดบุตรแฝดให้แนบสำเนาสูติบัตรของคู่แฝดมาด้วย)
  3. แนบทะเบียนสมรสในกรณีที่คุณพ่อ เป็นคนขอเบิกสิทธิ กรณีคลอดบุตร หากไม่ไดจดทะเบียนสมรส ให้แนบหนังสือรับรองของผู้ประกันตนมาแทน
  4. สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคาร ประเภทออมทรัพย์ หน้าแรก ซึ่งมีชื่อรับรองของผู้ยื่นคำขอ รายชื่อธนาคารที่สามารถยื่นได้ ได้แก่ ธนาคารกรุงไทย ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ธนาคารทหารไทยธนชาติ ธนาคารกสิกรไทย ธนาคารไทยพาณิชย์ ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย และธนาคารซีไอเอ็มบีไทย

โดยให้ท่านไปยื่นเอกสารทั้งหมดได้ที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานคร หรือสำนักงานประกันสังคมสังหวัด และสาขา ที่สะดวก ยกเว้นสำนักงานใหญ่บริเวณกระทรวงสาธารณสุข

สำหรับการพิจารณาสั่งจ่าย จะสั่งจ่ายเป็นเงินสด หรือโอนเข้าบัญชีธนาคารของผู้ขอรับประโยชน์ทดแทน ในกรณีที่ผู้มีสิทธิมาขอรับด้วยตัวเอง หรือมอบอำนาจให้บุคคลอื่นมารับแทน จะจ่ายโดยการใช้เช็ค นอกจากนี้ผู้ขอรับประโยชน์ทดแทน สามารถยื่นอุทรณ์ได้ภายใน 30 วัน นับตั้งแต่วันที่แจ้งคำสั่ง ในกรณีที่ไม่เห็นด้วยกับการสั่งจ่ายประโยชน์ทดทดแทน

ลาคลอดประกันสังคมให้สิทธิอะไรบ้าง

กฎหมายคุ้มครองแรงงาน ปี 2540 ได้ระบุว่า พนักงานหญิงสามารถลาคลอดได้สูงสุด 90 วัน แต่กฎหมายล่าสุดได้เพิ่มสิทธิ์ในการลาคลอดอีกเป็น 8 วัน รวมเป็น 98 วัน โดยจะนับวันลาคลอด และนับวันที่ลาเพื่อไปตรวจครรภ์ก่อนคลอดรวมอยู่ในสิทธิ์การลาคลอด 98 วันนี้ด้วยในส่วนของค่าจ้างนั้นผู้ลาคลอดจะได้รับค่าจ้าง โดยนายจ้างจ่าย 45 วัน ประกันสังคมจ่าย 45 วัน ส่วนอีก 8 วันที่เหลือไม่ได้มีการระบุว่าใครจะต้องเป็นคนจ่าย ดังนั้น นายจ้างและประกันสังคมมีสิทธิ์ที่จะไม่จ่ายค่าจ้างในอีก 8 วันที่เพิ่มมาโดยไม่มีความผิด อย่างไรก็ตาม จำนวนวันในการลาคลอด การลาคลอดล่วงหน้า การรับเงินชดเชยจากองค์กร หรือหลักเกณฑ์การจ่ายเงินสวัสดิการอื่น ๆ อาจขึ้นอยู่กับนโยบายของแต่ละบริษัท คุณแม่จำเป็นจะต้องสอบถามเพื่อให้ได้ข้อมูลส่วนนี้เพิ่มเติมกับฝ่ายทรัพยากรบุคคลในองค์กร

ข้อกำหนดสิทธิการลาคลอดจากประกันสังคม

  1. หากจ่ายค่าประกันสังคมมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือนก่อนคลอดบุตร
  2. รับสิทธิการลาคลอดใช้ได้เฉพาะฝ่ายหญิงเท่านั้น ฝ่ายชายไม่สามารถเบิกใช้ได้
  3. จ่ายให้ไม่เกินฐานเงินเดือน 15,000 บาท หากเงินเดือนมากกว่ากำหนด จะคิดแค่ 15,000 บาท
  4. สิทธิได้รับค่าคลอดบุตรโดยไม่จำกัดจำนวนครั้ง
  5. ระยะเวลาจ่ายเงินให้ทั้งหมด 90 วัน หรือ 3 เดือน นับรวมวันหยุดราชการ
  6. หากกลับมาทำงานก่อนถึง 90 วัน คุณแม่ยังคงได้รับเงินสงเคราะห์ตามปกติ

รับสิทธิเงินอุดหนุนบุตร

สำหรับเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิดที่จะเป็นการจ่ายเงินช่วยเหลือเยียวยาให้กับผู้ปกครองที่มีบุตร ตั้งแต่แรกเกิดจนถึงอายุ 6 ปี 600 บาท/เดือน 

คุณสมบัติผู้ปกครองที่รับเงินและสิ่งที่ต้องที่มีตรวจสอบสิทธิ์

โดยจะต้องมีคุณสมบัติครบถ้วน ได้แก่

  • เด็กต้องมีสัญชาติไทย พ่อแม่ต้องเด็กมีสัญชาติไทย
  • เด็กต้องเกิดตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2558 เป็นต้นไป จนมีอายุครบ 6 ปี
  • เด็กต้องอาศัยอยู่กับผู้ปกครองที่อยู่ในครัวเรือนที่มีรายได้น้อยเท่านั้น และไม่อยู่ในสถานสงเคราะห์ของหน่วยงานของรัฐหรือเอกชน

คุณสมบัติผู้ปกครองที่รับเงิน(กรณีรับเด็กแรกเกิดไว้ในความอุปการะ) คือ มีสัญชาติไทย เป็นบุคคลที่รับเด็กแรกเกิดไว้ในความอุปการะและเด็กแรกเกิดต้องอาศัยรวมอยู่ด้วย ที่สำคัญคือ อยู่ในครัวเรือนที่มีรายได้น้อย คือ สมาชิกครัวเรือนมีรายได้เฉลี่ยต้องไม่เกิน 100,000 บาทต่อคนต่อปีเท่านั้น นอกจ่กนี้ผู้ที่มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีสงเคราะห์บุตร ตามกฎกระทรวงฯ ฉบับเดิม (ปี 61) จะยังคงได้รับสิทธิตามอัตราที่กำหนดใหม่ในกฎกระทรวงฉบับนี้ นับตั้งแต่วันที่กฎกระทรวงมีผลใช้บังคับ ธนาคารจะโอนเงินเข้าบัญชี ผู้มีสิทธิวันที่ 9 ธันวาคม 2564 เบิกจ่ายให้กับผู้มีสิทธิ ดังนี้

  1. ผู้มีสิทธิรับเงินอุดหนุน (รายเดิม)
  2. ผู้มีสิทธิรายใหม่ที่ผ่านการพิจารณา โดยมีข้อมูลสมบูรณ์ในระบบฐานข้อมูลของโครงการเงินอุดหนุนฯ ภายใน 25 สิงหาคม 2564

จ่ายตรงงวด จำนวน 600 บาทต่อเดือน จ่ายย้อนหลังให้ตามสิทธิของแต่ละบุคคล

1. บัตรประชาชนของแม่เด็กที่ยื่นขอรับสิทธิ์เงินอุดหนุน

2 เลขบัตรประจำตัวประชาชนเด็กที่ยื่นขอรับสิทธิ์เงินอุดหนุนฯ

เข้าไปที่เว็บไซต์ csgcheck.dcy.go.th  จากนั้นกรอกหมายเลขบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ลงทะเบียน และของเด็กแรกเกิด

จากนั้นระบุเลขรหัสยืนยันรูปภาพ(ในตัวอย่างคือคำว่า potses ) แล้วกดปุ่ม "ค้นหาข้อมูล"

สำหรับผู้ลงทะเบียนรายใหม่ ที่มายื่นขอรับสิทธิ ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2563 เป็นต้นไป สิทธิที่ได้รับจะเริ่มได้รับเงินในเดือนที่ยื่นขอรับสิทธิ ไม่ย้อนหลังให้ไปจนถึงเดือนที่เด็กเกิด

ในช่วงภาวะวิกฤตไวรัสโควิด-19แบบนี้  MoneyGuru ขอให้ทุกท่านรักษาสุขภาพและเป็นกำลังใจให้เราผ่านช่วงนี้ไปด้วยกัน ส่วนใครที่มองหาตัวช่วยเงินกู้สำหรับใช้ในการจับจ่ายใช้สอยที่ง่าย สะดวก และทำได้ที่บ้าน เรายังมีตัวช่วยสำหรับการ เปรียบเทียบสินเชื่อส่วนบุคคล หรือจะเป็นบัตรเครดิตอื่นๆ ให้เลือกใช้ เข้ามาเปรียบเทียบบัตรเครดิตได้ทุกวันที่ MoneyGuru นอกจากนี้ยังสามารถติดต่อได้ทางช่องทาง LINE @MoneyGuruThailand รับรองว่าคุณจะได้คำแนะนำราคาเบี้ยประกันที่ดีที่สุดจากเรา

พิเศษสำหรับเดือนนี้ ท่านไหนที่ยังไม่มีบัตรกดเงินสด สามารถเข้ามาดูบัตรกดเงินสดที่เหมาะกับคุณได้ที่นี่ เพราะ MoneyGuru ได้รวบรวมผลิตภัณฑ์ทางการเงินไว้ให้พร้อมสรรพ นอกจากนี้ยังมีสินเชื่อส่วนบุคคล บัตรเครดิต และประกันรถยนต์ดีๆ มาเปรียบเทียบเพื่อให้ได้คำตอบที่ดีที่สุดสำหรับทุกคน

เนื่องจากในทุกวันนี้ การใช้รถใช้ถนนมีโอกาสที่จะเกิดอุบัติเหตุได้ตลอดเวลา ดังนั้นนอกจากผู้ใช้รถทุกคนต้องไม่ประมาทและควรระมัดระวังในการขับขี่แล้ว การทำประกันรถยนต์นั้นก็เป็นอีกหนึ่งช่องทางที่จะช่วยให้ท่านเพิ่มความอุ่นใจในการใช้รถใช้ถนนมากขึ้น ดังนั้นสามารถเข้ามาเปรียบเทียบประกันรถยนต์ได้ทาง www.moneyguru.co.th ต้องการที่จะช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนและลดภาระค่าใช้จ่ายจากการจ่ายเบี้ยประกันด้วยการ ลดราคาเบี้ย 5% พร้อมรับบัตรเติมน้ำมัน 500 บาท  รับมือพิษเศรษฐกิจในเวลานี้ รวมถึงสามารถเข้ามาเปรียบเทียบสินเชื่อส่วนบุคคลกับทาง MoneyGuru ได้เลย

บทความแนะนำ

  • เคล็ดลับ จัดการค่าใช้จ่าย แบบง่ายๆ
  • ค่าใช้จ่ายแอพดูหนัง ดูซีรีส์ดัง แอพไหนราคาต่อเดือนเท่าไหร่ มาดูกัน
  • ค่าใช้จ่ายที่มาพร้อมกับการซื้อรถยนต์
  • ค่าใช้จ่ายวัยอนุบาล มีอะไรบ้าง 

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ศัพท์ทางทหาร military words แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 พจนานุกรมศัพท์ทหาร ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง ไทยแปลอังกฤษ ประโยค lmyour แปลภาษา การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ประปาไม่ไหล วันนี้ ฝยก. ย่อมาจาก หยน ห่อหมกฮวก แปลว่า เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษาจีน ่้แปลภาษา onet ม3 การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 1 ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง ตตตตลก บบบย ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ เขียน อาหรับ แปลไทย เนื้อเพลง ห่อหมกฮวก แปลไทย asus zenfone 2e กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น การประปานครหลวง ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบภาษาอังกฤษ ม.ปลาย พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ชขภใ ชื่อเต็ม ร.9 คําอ่าน ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน นยน. ย่อมาจาก ทหาร บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ฝสธ. ย่อมาจาก มัดหัวใจเจ้าชายเย็นชา 2 ซับไทย มัดหัวใจเจ้าชายเย็นชา 2 เต็มเรื่อง ยศทหารบก เรียงลําดับ ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 รัชกาลที่ 10 ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คอร์ด