ค่าคลอดบุตร ประกันสังคม มาตรา 39 ปี 2565 pantip

1. ถาม ผู้ประกันตนเปลี่ยนสถานพยาบาลได้อย่างไร ตอบ - เปลี่ยนได้ปีละ 1 ครั้ง ระหว่างเดือนมกราคม-มีนาคมของทุกปี - เปลี่ยนระหว่างปีได้ กรณีย้ายที่ทำงาน ย้ายที่พักอาศัยข้ามจังหวัด

2. ถาม ผู้ประกันตนขอตรวจสอบรายชื่อสถานพยาบาลที่ต้องการใช้สิทธิ และวันที่เริ่มใช้สิทธิได้อย่างไร ตอบ สอบถามได้ที่ศูนย์บริการข้อมูล 1506 /สำนักงานประกันสังคม กทม. พื้นที่/จังหวัด/สาขา

3. ถาม เดิมผู้ประกันตนใช้สิทธิประกันสังคม ต่อมาได้เป็นข้าราชการ และต้องการใช้สิทธิข้าราชการ ต้องดำเนินการอย่างไร ตอบ ให้ขอแบบ 7128 ที่หน่วยงานราชการที่ทำงานอยู่ แล้วกรอกรายละเอียด ส่งเอกสารไปที่หน่วยงานต้นสังกัด นับตั้งแต่วันที่มีสิทธิของทางราชการ

4.ถาม ฝ่ายหญิงใช้สิทธิบัตรทองในการคลอดบุตรสามารถเบิกค่าคลอดบุตรโดยใช้สิทธิฝ่ายชายที่เป็นผู้ประกันตนได้หรือไม่ ตอบ ได้ เมื่อผู้ประกันตนฝ่ายชาย มีการส่งเงินสมทบครบตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการเกิดสิทธิกรณีคลอดบุตร

5.ถาม เงินสงเคราะห์บุตร จ่ายย้อนหลังได้หรือไม่ ตอบ จ่ายย้อนหลังได้ไม่เกิน 2 ปี ตามหลักเกณฑ์เงื่อนไข

6.ถาม ออกจากงานแล้ว ไม่ได้รับเงินสงเคราะห์บุตร จะต้องทำอย่างไร ตอบ เมื่อออกจากงาน เงินสงเคราะห์บุตรจะหยุดจ่าย แต่เมื่อกลับเข้าเป็นผู้ประกันตนต่อในภายหลังทั้ง ม.33 และม.39 เงินสงเคราะห์บุตรจะจ่ายให้ตามหลักเกณฑ์เงื่อนไข

7. ถาม ยื่นขอรับเงินชราภาพแล้ว จะได้เงินเมื่อไหร่ ตอบ - เงินบำเหน็จชราภาพหลังจากการได้รับอนุมัติแล้วเงินจะโอนเข้าบัญชีประมาณ 7-10 วันทำการ (ไม่นับรวมวันหยุดราชการ) - เงินบำนาญชราภาพหลังได้รับอนุมัติเงินจะโอนเข้าบัญชีภายในวันที่ 25 ของเดือนถัดไป

8.ถาม กรณีรับเงินบำนาญชราภาพอยู่ ต่อมาได้รับการอนุมัติเป็นผู้ประกันตนมาตรา 39 จะมีสิทธิได้รับบำนาญต่อหรือไม่ ตอบ ไม่มีสิทธิ เพราะเมื่อเป็นผู้ประกันตนมาตรา 39 แล้ว จะหยุดจ่ายเงินบำนาญให้จนกว่าจะสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตน มาตรา 39 ถึงจะได้รับเงินชราภาพตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไข

9.ถาม ผู้ประกันตนต่างชาติ/ต่างด้าว ขอรับเงินก่อนอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์็ ได้หรือไม่ เนื่องจากไม่ต้องการอยู่ประเทศไทย ตอบ ไม่ได้ เพราะปัจจุบันยังไม่มีประเทศใดทำข้อตกลงกรณีชราภาพ ดังนั้นการรับสิทธิชราภาพ ต้องเป็นไปตามหลัก เกณฑ์เงื่อนไขเช่นเดียวกับผู้ประกันตนชาวไทย

10.ถาม ขึ้นทะเบียนว่างงานและรายงานตัวแล้ว เงินจะเข้าบัญชีเมื่อไหร่ ตอบ เงินโอนเข้าบัญชีธนาคาร 5-7 วันทำการ นับจากวันที่ได้รับการอนุมัติและรายงานตัว

11.ถาม ผู้ประกันตนออกจากงาน ต้องการยกเลิกสิทธิคุ้มครอง 6 เดือน ได้หรือไม่ ตอบ ไม่สามารถยกเลิกสิทธิความคุ้มครองก่อนระยะเวลา 6 เดือนได้

12.ถาม ให้บุคคลอื่นชำระเงินสมทบ ผู้ประกันตนมาตรา 39 แทน ได้หรือไม่ ตอบ ชำระเงินสมทบแทนได้ โดยนำบัตรประชาชนของผู้ประกันตนหรือแจ้งเลขบัตรประชาชน พร้อมชื่อ-สกุลของผู้ประกันคนได้ที่หน่วยบริการรับชำระเงิน

13.ถาม สมัครเป็นผู้ประกันตนมาตรา 39 ผ่านระบบออนไลน์ได้หรือไม่ ตอบ ไม่ได้ แนะนำให้ไปสมัครได้ที่ สำนักงานประกันสังคมทุกแห่งในพื้นที่ที่สะดวก (ยกเว้นสำนักงานใหญ่ บริเวณ กระทรวงสาธารณสุข)

14. ถาม สมัครเป็นผู้ประกันตนมาตรา 40 ช่องทางใดได้บ้าง ตอบ สมัครได้ที่ สำนักงานประกันสังคมทุกแห่งทั่วประเทศ (ยกเว้นสำนักงานใหญ่)/ทางเว็บไซต์์ www.sso.go.th/เคาน…/หน่วยบริการเคลื่อนที่/สายด่วนประกันสังคม 1506/ผ่านเคาน์เตอร์ ธกส.

15.ถาม ถ้าวันชำระเงินสมทบวันที่ 15 ตรงกับวันหยุดราชการจะทำอย่างไร ตอบ ให้ชำระเงินสมทบได้ในวันทำการถัดไป

16.ถาม เมื่อนายจ้างบันทึกข้อมูลการแจ้งเข้า-ออกของลูกจ้าง ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์แล้ว จะตรวจสอบข้อมูลได้ในกี่วัน ตอบ ประมาณ 3 วันทำการ (ไม่นับรวมวันหยุดเสาร์ อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ โดยนับวันที่นายจ้างบันทึกข้อมูลผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์)

17.ถาม ผู้ประกันตนมีปัญหาในการเข้าใช้งานทางเว็บไซต์ของสำนักงานประกันสังคม เช่น ลืมรหัสผ่าน ต้องการเปลี่ยนหมายเลขโทรศัพท์ ต้องดำเนินการอย่างไร ตอบ ติดต่อที่ศูนย์บริการข้อมูล 1506 เพื่อแก้ไขปัญหาในการเข้าใช้งานเว็บไซต์ต่อไป

เมื่อเบบี้มา คุณแม่หลายท่านคงตื่นเต้น ดีใจไม่ใช่น้อย และเตรียมพร้อมดูแลสุขภาพกันถ้วนหน้า แต่อีกสิ่งหนึ่งที่ลืมไปไม่ได้เลย นั่นคือ การเช็กสิทธิประกันสังคม สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ที่เป็นผู้ประกันตน  ซึ่งสามารถขอรับผลประโยชน์ได้ตั้งแต่ตั้งครรภ์ ไปจนถึงสิทธิในการเลี้ยงดูบุตรเลยทีเดียว

สำหรับบทความนี้ จะพาตามไปใช้สิทธิ์ให้คุ้มค่า โดยเช็กว่าสิทธิประโยชน์ของประกันสังคมฉบับล่าสุด สำหรับคุณแม่ ตั้งแต่ขณะตั้งครรภ์ คลอดบุตร ไปจนถึงการดูแลบุตร จะได้รับสิทธิประโยชน์จากประกันสังคมอะไรบ้าง และเบิกได้เท่าไหร่

สิทธิประกันสังคม ขณะตั้งครรภ์

ประกันสังคมได้ให้สิทธิประโยชน์สำหรับคุณแม่ตั้งแต่มีเบบี้อยู่ในท้อง ซึ่งคุณแม่สามารถเบิกค่าฝากครรภ์ วงเงินรวมทั้งหมด 1,500 บาท (ตั้งแต่ 1 มกราคม 2564) ตามเงื่อนไขกำหนด ดังนี้

• สามารถเบิกค่าฝากครรภ์ ได้ทั้งสามี และภรรยา ที่เป็นผู้ประกันตน โดยเลือกใช้สิทธิประกันสังคมของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเท่านั้น

• เข้ารับการฝากครรภ์ในสถานพยาบาล หรือคลินิกตามมาตรฐานงานอนามัยแม่และเด็กกระทรวงสาธารณสุข

วงเงิน 1,500 บาท เบิกได้ตามอายุครรภ์ ดังนี้

  • ฝากครรภ์ครั้งที่ 1 อายุครรภ์ไม่เกิน 12 สัปดาห์ เบิกได้สูงสุด 500 บาท
  • ฝากครรภ์ครั้งที่ 2 อายุครรภ์ 13 - น้อยกว่า 20 สัปดาห์ เบิกได้สูงสุด 300 บาท
  • ฝากครรภ์ครั้งที่ 3 อายุครรภ์ 20 - น้อยกว่า 26 สัปดาห์ เบิกได้สูงสุด 300 บาท
  • ฝากครรภ์ครั้งที่ 4 อายุครรภ์ 26 - น้อยกว่า 32 สัปดาห์ เบิกได้สูงสุด 200 บาท
  • ฝากครรภ์ครั้งที่ 5 อายุครรภ์ 32 - 40 สัปดาห์ เบิกได้สูงสุด 200 บาท

เอกสารประกอบการเบิกเงินทดแทน กรณีฝากครรภ์ มีอะไรบ้าง ?

1. แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทน สปส. 2-01 ผู้ประกันตนกรอกข้อความครบถ้วน พร้อมลงลายมือชื่อผู้ยื่นคำขอ

2.บัตรประจำตัวประชาชน ( ฉบับจริง )

3. สำเนาสูติบัตรบุตร 1 ชุด (กรณีคลอดบุตรแฝดให้แนบสำเนาสูติบัตรของคู่แฝดด้วย)

4. สำหรับผู้ประกันตนชายให้แนบสำเนาทะเบียนสมรส กรณีไม่ได้จดทะเบียนสมรสให้แนบหนังสือรับรองของผู้ประกันตนกรณีไม่มีทะเบียนสมรส

5.กรณีเปลี่ยนชื่อ ชื่อสกุลให้แนบสำเนาเอกสารใบเปลี่ยนชื่อ ชื่อสกุลด้วย จำนวน 1 ชุด

6. สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากประเภทออมทรัพย์ของธนาคารหน้าแรกที่มีชื่อ–เลขที่บัญชี (กรณีขอรับเงินทางธนาคาร) มี 9 ธนาคาร ดังนี้

ธนาคารกรุงไทย จำกัด(มหาชน) // ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) // ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)//ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) // ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) // ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) ธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน) // ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย // ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย จำกัด (มหาชน)

สิทธิประกันสังคม เมื่อคลอดบุตร  

ค่าคลอดบุตรประกันสังคม เหมาจ่าย จำนวนวงเงิน 15,000 บาท/ครั้ง

นอกจากคุณแม่จะได้รับสิทธิประโยชน์ด้านการเบิกค่าฝากครรภ์แล้ว เมื่อถึงกำหนดคลอดบุตร ยังได้ค่าบริการทางการแพทย์แบบเหมาจ่าย ซึ่งใช้สิทธิประกันสังคมได้ทั้งฝ่ายสามี และภรรยา ที่เป็นผู้ประกันตน โดยเลือกใช้สิทธิประกันสังคม ค่าคลอดบุตรได้เพียงฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเท่านั้น

เงื่อนไขการใช้สิทธิประกันสังคมคลอดบุตร ดังนี้

• จะต้องเป็นผู้ประกันตน จ่ายเงินสมทบมาไม่น้อยกว่า 5 เดือน หรือภายใน 15 เดือน ก่อนครบกำหนดเดือนคลอดบุตร จึงจะสามารถเบิกค่าคลอดประกันสังคมได้

•เบิกค่าคลอดบุตรได้ โดยไม่จำกัดจำนวนบุตร/ครั้ง

1.แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทน สปส. 2-01 ผู้ประกันตนกรอกข้อความครบถ้วน พร้อมลงลายมือชื่อผู้ยื่นคำขอ

2.สำเนาสูติบัตรบุตร 1 ชุด (กรณีคลอดบุตรแฝดให้แนบสำเนาสูติบัตรของคู่แฝดด้วย)

3.สำหรับผู้ประกันตนชายให้แนบสำเนาทะเบียนสมรส กรณีไม่ได้จดทะเบียนสมรสให้แนบหนังสือรับรองของผู้ประกันตนกรณีไม่มีทะเบียนสมรส

4.สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารประเภทออมทรัพย์หน้าแรก ซึ่งมีชื่อและเลขที่บัญชีของผู้ยื่นคำขอมีธนาคาร ดังนี้

ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) // ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) // ธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน) // ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)             // ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)  // ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)  // ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน)  // ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย // ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย จำกัด (มหาชน)

นอกจากนี้หากผู้ขอรับประโยชน์ทดแทนไม่เห็นด้วยกับการสั่งจ่ายประโยชน์ทดแทนตามที่กำหนดไว้ สามารถยื่นอุทธรณ์ได้ภายใน 30 วัน นับตั้งแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่ง

หมายเหตุ : มีผลบังคับใช้ตามสิทธิประกันสังคมคลอดบุตร 2564 นับตั้งแต่ 1 มกราคม 2564

สิทธิประกันสังคม หลังคลอดบุตร และสิทธิในการดูแลบุตร

ในกรณีหลังจากคลอดบุตรแล้ว คุณแม่จะได้รับสิทธิประโยชน์อีก 2 ต่อ นั่นคือ เงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อการคลอดบุตร เบิกได้ 50 % ของค่าจ้าง สูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท โดยเฉลี่ยเป็นเวลา 90 วัน หรือ 3 เดือน และจะได้รับเงินสงเคราะห์บุตรเหมาจ่ายเดือนละ 800 บาท/บุตรหนึ่งคน

•เงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อการคลอดบุตร จะสามารถใช้สิทธิ์ได้เฉพาะฝ่ายหญิงเท่านั้น

•สามารถใช้สิทธิประกันสังคมรับเงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อการคลอดบุตร ได้ไม่เกิน 2 ครั้ง ดังนั้น บุตรคนที่ 3 จะไม่ได้รับเงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อการคลอดบุตร

•จ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือน ก่อนวันรับบริการทางการแพทย์เพื่อการคลอดบุตร (คุ้มครองต่ออีก 6 เดือน เมื่อความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง)

•กรณีกลับมาทำงานก่อนถึงครบกำหนด 90 วัน คุณแม่จะยังได้รับเงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อการคลอดบุตรตามปกติ

หมายเหตุ : เอกสารประกอบการยื่นคำขอประโยชน์ทดแทน เช่นเดียวกับกรณีคลอดบุตร

นอกจากสิทธิประโยชน์จากทางประกันสังคมที่คุณแม่จะได้รับ ยังมีค่าชดเชย ตามพรบ.คุ้มครองแรงงาน ที่นายจ้างต้องจ่ายเงินให้กับลูกจ้างกรณีลาคลอดบุตร 45 วัน หรือสวัสดิการอื่นๆ ในการล่าคลอดจากองค์กร หรือบริษัทที่คุณแม่ทำงาน ทั้งนี้นโยบายต่างๆ ขึ้นอยู่ภายใต้หลักเกณฑ์ขององค์กร แนะนำให้คุณแม่ติดต่อ สอบถามจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในองค์กรจะเป็นการดีที่สุด และเพื่อรักษาผลประโยชน์ในการลาคลอด

เงื่อนไขการมีสิทธิ์รับเงินสงเคราะห์บุตร ดังนี้

• ต้องเป็นผู้ประกันตน ตามมาตรา 33 หรือ มาตรา 39

• จ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือน ภายในระยะเวลา 36 เดือน ก่อนเดือนที่มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทน

• สงเคราะห์บุตรจำนวนเงิน 800 บาท/บุตรหนึ่งคน ตั้งแต่แรกเกิด จนถึง 6 ปีบริบูรณ์ จำนวนไม่เกิน 3 คน โดยจะต้องเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย

• กรณีบุตรเสียชีวิต หรือบุตรบุญธรรม หรือบุตรซึ่งยกให้เป็นบุตรบุญธรรมของบุคคลอื่น จะไม่ได้รับสิทธิเงินสงเคราะห์บุตร

เอกสารประกอบการเบิกเงินทดแทน กรณีคลอดบุตร มีอะไรบ้าง? 

1.แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนกองทุนประกันสังคม (สปส. 2-01)

2.กรณีผู้ประกันตนเคยยื่นใช้สิทธิแล้วและประสงค์จะใช้สิทธิสำหรับบุตรคนเดิม ให้ใช้หนังสือขอใช้สิทธิบุตรคนเดิมกรณีกลับเข้าเป็นผู้ประกันตน จำนวน 1 ฉบับ

3.กรณีผู้ประกันตนหญิงใช้สิทธิ ใช้สำเนาสูติบัตรบุตร (กรณีคลอดบุตรแฝดให้แนบสำเนาสูติบัตรของคู่แฝดด้วย) จำนวน 1 ชุด

4.กรณีผู้ประกันตนชายใช้สิทธิ ใช้สำเนาทะเบียนสมรส หรือสำเนาทะเบียนหย่าพร้อมบันทึกแนบท้ายของผู้ประกันตนหรือสำเนาทะเบียนรับรองบุตร หรือสำเนาคำพิพากษา หรือคำสั่งของศาลให้เป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย จำนวน 1 ชุด และสำเนาสูติบัตรบุตร (กรณีคลอดบุตรแฝดให้แนบสำเนาสูติบัตรของคู่แฝดด้วยจำนวน 1 ชุด)

5.กรณีเปลี่ยนชื่อ ชื่อสกุลให้แนบสำเนาเอกสารใบเปลี่ยนชื่อ ชื่อสกุลด้วย จำนวน 1 ชุด

6.กรณีผู้ประกันตนต่างชาติขอรับประโยชน์ทดแทนให้ใช้สำเนาบัตรประกันสังคม และสำเนาหนังสือเดือนทาง (passport) หรือสำเนาหนังสือเดินทางชั่วคราว หรือเอกสารรับรองบุคคลที่ทางราชการออกให้ จำนวน 1ชุด

7.สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารประเภทออมทรัพย์หน้าแรกที่มีชื่อ และเลขที่บัญชีของผู้ยื่นคำขอ จำนวน 1 ฉบับ ผ่านทางบัญชีธนาคารของผู้ประกันตน ดังนี้

ธนาคารกรุงไทย จำกัด(มหาชน) // ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด(มหาชน) // ธนาคารกรุงเทพ จำกัด(มหาชน) // ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) // ธนาคารกสิกรไทย จำกัด(มหาชน) // ธนาคารทหารไทย จำกัด(มหาชน) // ธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน) // ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย // ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย จำกัด(มหาชน) 8.เอกสารประกอบการยื่นคำขอฯ ที่เป็นสำเนาให้รับรองความถูกต้องของสำเนาทุกฉบับ และแสดงเอกสารที่เป็นต้นฉบับเมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ขอตรวจสอบ กรณีเอกสารหลักฐานสำคัญต่อการพิจารณาเป็นภาษาต่างประเทศให้จัดทำคำแปลเป็นภาษาไทยและรับรองความถูกต้องให้ครบถ้วน

หากคุณแม่ หรือคุณพ่อ ต้องการข้อมูลเรื่องสิทธิประโยชน์สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ หรือสอบถามเรื่องสิทธิประกันสังคมด้านอื่นๆ เพิ่มเติม สามารถติดต่อสอบถามได้ที่สำนักงานประกันสังคม หรือ  www.sso.go.th  หรือโทรสายด่วน 1506 ได้เลยค่ะ

หรือหากมีคำถามใดๆเพิ่มเติม สามารถสอบถามได้ที่ช่อง comment ด้านล่าง ได้เลยนะคะ ทาง admin จะรีบหาข้อมูลมาตอบกลับให้ค่ะ หรือคุณพ่อ คุณแม่ สามารถติดต่อไปที่สายด่วนประกันสังคมได้โดยตรงเช่นกันค่ะ

✅✅✅✅✅

หากต้องการตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรม และโครโมโซมครบ 23 คู่ รู้เพศ และโรคอื่นๆได้มากถึง 84 โรคกับ Brand NIFTY หรือ การตรวจ nifty และ NGD NIPS

ประกันสังคมมาตรา 39 ได้ค่าคลอดบุตรกี่บาท

เงินค่าคลอดบุตรประกันสังคม คืออะไร เป็นวงเงินสำหรับเบิกค่าคลอดของผู้ประกันตน มาตรา 33 และมาตรา 39 เพื่อใช้ในการคลอดบุตรทั้งแบบผ่าคลอดหรือคลอดเอง โดยทางประกันสังคมให้ผู้ประกันตนสามารถเบิกเงินค่าคลอดบุตรได้จำนวน 15,000 บาท ต่อการคลอด 1 ครั้ง (ไม่จำกัดจำนวนครั้ง หากกรณีลูกแฝดจะถูกนับเป็น 1 ครั้ง)

เบิกค่าคลอดบุตรใช้เอกสารอะไรบ้าง 2565

สำเนาสูติบัตร (กรณีคลอดบุตรแฝดให้แนบสำเนาสูติบัตรของคู่แฝด) 1 ชุด ในกรณีที่คุณพ่อขอใช้สิทธิ ใช้สำเนาทะเบียนสมรส หรือสำเนาทะเบียนหย่า พร้อมบันทึกแนบท้ายของผู้ประกันตน หรือสำเนาทะเบียนรับรองบุตร หรือสำเนาคำพิพากษาคำสั่งของศาลให้เป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย แนบมาพร้อมกับสำเนาสูติบัตรของบุตร 1 ชุด

คลอดบุตรประกันสังคมจ่ายอะไรบ้าง

คนท้อง มีสิทธิเบิกประกันสังคม อะไรได้บ้าง ?.
เบิกค่าฝากครรภ์: วงเงินรวม 1,500 บาท.
เบิกค่าคลอดบุตร: เหมาจ่ายวงเงิน 15,000 บาท ต่อครั้ง.
เบิกเงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อการคลอดบุตร: เบิกได้ 50% ของค่าจ้างเฉลี่ย (สูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท/เดือน).
เบิกค่าชดเชย กรณีแท้งบุตร: ต้องอายุครรภ์ไม่น้อยกว่า 28 สัปดาห์.

เบิกเงินค่าคลอดบุตรประกันสังคมกี่วันได้

เงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อ การคลอดบุตร ร้อยละ 50 ของค่าจ้าง เฉลี่ยเป็นระยะเวลา 90 วัน เบิกได้ไม่เกิน 2 ครั้ง (ใช้ได้กับการคลอดบุตรครั้งที่1 และ2 เท่านั้น) เบิกค่าคลอดบุตร สาหรับภรรยา เหมาจ่าย 15,000 บาท (ไม่จากัดจานวนครั้ง) หากพ่อแม่เป็นผู้ประกันตนทั้งคู่สามารถ เบิกใช้สิทธิได้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง เท่านั้น

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ศัพท์ทางทหาร military words แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 พจนานุกรมศัพท์ทหาร ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง ไทยแปลอังกฤษ ประโยค lmyour แปลภาษา การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ประปาไม่ไหล วันนี้ ฝยก. ย่อมาจาก หยน ห่อหมกฮวก แปลว่า เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษาจีน ่้แปลภาษา onet ม3 การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 1 ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง ตตตตลก บบบย ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ เขียน อาหรับ แปลไทย เนื้อเพลง ห่อหมกฮวก แปลไทย asus zenfone 2e กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น การประปานครหลวง ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบภาษาอังกฤษ ม.ปลาย พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ชขภใ ชื่อเต็ม ร.9 คําอ่าน ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน นยน. ย่อมาจาก ทหาร บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ฝสธ. ย่อมาจาก มัดหัวใจเจ้าชายเย็นชา 2 ซับไทย มัดหัวใจเจ้าชายเย็นชา 2 เต็มเรื่อง ยศทหารบก เรียงลําดับ ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 รัชกาลที่ 10 ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คอร์ด