จดทะเบียนสมรส ใช้ 2 นามสกุล

หลังจากที่บ่าวสาวส่งแขกแล้ว ทุกคนก็คิดถึงคืนเข้าหออันแสนหวานใช่มั้ยคะ แต่ความเป็นจริงแล้ว ลืมประเด็นการเข้าหอไปได้เลยค่ะ เพราะส่วนมากแล้วบ่าวสาวยังมี สิ่งที่ต้องทำหลังจากแต่งงาน เป็นเรื่องสำคัญไม่ควรมองข้าม และเรื่องที่เป็นการเอาใจใส่ดูแลกันตั้งแต่คืนแต่งงาน จะมีเรื่องไหนบ้าง มาดูกันเลยค่ะ

สิ่งที่ต้องทำในคืนแต่งงาน

1. หาข้าวกินกัน

แค่ข้อแรกก็เอ๊ะกันแล้ว ในงานแต่งก็มีอาหารเลี้ยงไม่ใช่หรอ แล้วหลังจากจบงานแล้ว ทำไมยังต้องหาข้าวกินด้วย ถึงแม้ว่าในงานจะมีอาหารเลี้ยงก็จริง แต่บ่าวสาวก็ยุ่งเกินกว่าที่จะมีเวลามานั่งกินข้าว อาจจะได้กินบ้างคำสองคำ ไม่ได้ให้ความรู้สึกถึงคำว่าอิ่ม พอส่งแขกเสร็จ ความหิวที่สะสมมาทั้งวันก็จู่โจมทันที ก็ต้องหาข้าวกินกันก่อน อาจจะโทรสั่งเดลิเวอร์รี่ หรือบอกกับทางสถานที่ที่จัดดูแลเรื่องอาหารให้เก็บไว้ให้บ่าวสาว จะได้ไม่ต้องไปเสียเวลาหาข้าวค่ะ

2. แกะกิ๊ฟติดผมเจ้าสาว

การแกะกิ๊ฟติดผมเจ้าสาว กลายเป็นกิจกรรมที่คู่สามี-ภรรยา ข้าวใหม่ปลามัน แทบทุกคู่ต้องทำร่วมกัน ไม่ว่าเจ้าสาวจะผมสั้นผมยาว บนหัวของเธอจะมีกิ๊ฟติดผมสีดำติดอยู่ อยู่ที่ว่ามากหรือน้อยนั่นเอง สำหรับสาวๆ ที่ไม่ได้ทำผมทรงเว่อร์วังมากก็อาจจะใช้เวลาแกะกันแป๊บเดียว แต่เจ้าสาวที่ผมยาวและทำผมทรงไม่ธรรมดารับรองว่าช่วยกันแกะทั้งคืน แถมคุณสามียังต้องคอยช่วยสางผมให้ภรรยาอีกด้วยค่ะ แต่ก็นับเป็นโมเมนต์กุ๊กกิ๊กแสนหวานนะคะ

3. นับซองและแกะของขวัญ

สำหรับคืนแรกเกือบทั้งร้อย มานั่งนับเงินในซองกันก่อน อย่างว่าเรื่องเงินเป็นเรื่องสำคัญ อยากจะรู้ว่าเงินที่แขกทุกคนให้มา จะคืนทุน หรือขาดทุน หรือได้กำไร นับไปก็ลุ้นกันไป จดไว้ ใครให้ซอง ให้เท่าไหร่ เมื่อถึงเวลางานมงคลครั้งหน้าจะได้ใส่ซองคืนได้ถูกต้อง สำหรับของขวัญถ้าคืนนี้เหนื่อยมากแล้ว วันรุ่งขึ้นค่อยมาจัดการแกะ เก็บเข้าที่ให้เรียบร้อยก็ได้

4. เคลียร์อุปกรณ์ตกแต่งและค่าใช้จ่าย

เป็นเรื่องที่น่าปวดหัวสำหรับเจ้าภาพจัดงาน เพราะหลังจากงานแต่งงานจบแล้ว บ่าวสาวยังไม่สามารถกลับไปพักได้ทันที ยังต้องประสานกับออแกไนซ์ในการจัดเก็บอุปกรณ์ตกแต่งต่างๆ ในสถานที่จัดงาน โดยทางสถานที่จะตกลงกับบ่าวสาวอยู่แล้วว่าต้องเคลียร์ของให้เสร็จภายในกี่โมงค่ะ ส่วนเรื่องค่าใช้จ่ายต่างๆ ก็ต้องรีบเคลียร์ให้จบโดยเร็ว ทางที่ดีบ่าวสาวควรจะจดไว้อย่างละเอียดว่ารายการไหนชำระครบหมดแล้ว รายการไหนที่ค้างชำระ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นค่าสถานที่กับค่าออแกไนซ์ที่สามารถเคลียร์ในวันงานได้เลย

5. ตามรูปและวิดีโอจากช่างภาพ

หลังจากผ่านพ้นคืนวันแต่งงานไปแล้ว เจ้าบ่าว-เจ้าสาวที่ขยับสถานะเป็นสามี-ภรรยาแล้ว หลายคู่มักจะลืมวันที่ช่างภาพนัดส่งไฟล์รูปวิดีโอ ให้รีบโทรถามความคืบหน้านะคะ และเมื่อได้รับไฟล์รูป อัลบั้มรูป วิดีโอแล้ว ก็ควรที่จะเช็คทันที เพราะถ้าเกิดมีอะไรผิดพลาด เช่นกรณีที่ไฟล์รูป ไฟล์วิดีโอเสีย เปิดไม่ได้ จะได้ให้ช่างภาพแก้ไขได้ทันที

6. ตกลงกันให้ดี ว่าจะจดทะเบียนสมรสกันหรือไม่

สำหรับสามี-ภรรยา ที่ยังไม่ได้จดทะเบียนสมรสในวันงานแต่งงาน หลังจากวันนั้น แล้วทั้งคู่ควรที่จะคุยกัน ตกลงกันให้ดี ว่าจะจดทะเบียนสมรสกันมั้ย เพราะถ้าจดทะเบียนสมรส แล้วทางภรรยาจะเปลี่ยนไปใช้นามสกุลสามี จะต้องแก้ไขเอกสารทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นบัตรประชาน พาสปอร์ต สำเนาทะเบียนบ้าน เป็นต้น

สิ่งที่ต้องทำสำหรับสามี-ภรรยาที่จดทะเบียนสมรส

ในปัจจุบัน ถ้าสามี-ภรรยาจดทะเบียนสมรส ภรรยาไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนนามสกุลไปใช้ของสามี สามารถใช้นามสกุลตัวเองได้ และไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนคำนำหน้าจากนางสาวเป็นนาง ทางภรรยามีสิทธิ์เลือกที่จะเปลี่ยนหรือไม่เปลี่ยนได้ ซึ่งถ้าภรรยาจะเปลี่ยนนามสกุล สามารถทำได้ดังนี้ค่ะ

1. แจ้งเปลี่ยนนามสกุล

หลังจากที่จดทะเบียนสมรสแล้ว ภายใน 60-90 วัน คุณภรรยาจะต้องไปทำเรื่องเปลี่ยนนามสกุลที่สำนักงานเขต เขตที่ออกทะเบียนบ้านให้นะคะ ถ้าเป็นเขตอื่น จะไม่สามารถเปลี่ยนนามสกุลได้ โดยต้องเตรียมเอกสารไปด้วย ดังนี้

  • เล่มทะเบียนตัวจริง ที่มีชื่อภรรยาอยู่ในนั้น พร้อมสำเนาทะเบียนบ้าน 1 ชุด
  • บัตรประจำตัวประชาชนตัวจริง ที่ยังไม่หมดอายุ พร้อมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน 1 ชุด
  • ใบจดทะเบียนสมรสตัวจริงและสำเนา 1 ชุด (แบบฟอร์ม คร.2)
  • ใบสำคัญการสมรสตัวจริงและสำเนา 1 ชุด (แบบฟอร์ม คร.3)
  • เอกสารที่ทางสำนักงานเขตให้ไว้หลังจากทำการจดทะเบียนสมรสแล้ว เช่น หนังสือรับรองการจดทะเบียนสมรส

เมื่อยื่นเอกสารกับทางเจ้าหน้าที่แล้ว รอให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบเอกสารและแก้ไขนามสกุลในเล่มทะเบียน เมื่อแก้ไขเสร็จเรียบร้อยแล้ว ทางเจ้าหน้าที่จะให้เอกสารสำคัญ “หนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียนเปลี่ยนชื่อสกุล หรือแบบฟอร์ม ช.5) ซึ่งเอกสารนี้ควรจะเก็บไว้อย่างดีห้ามหายและถ่ายสำเนาไว้หลายๆ ชุด เพราะจะต้องใช้เอกสารชุดนี้ในการทำเรื่องอื่นๆ อีกเพียบ

2. เปลี่ยนนามสกุลบัตรประชาชน

สำหรับการเปลี่ยนบัตรประชาชน คุณภรรยาสามารถทำได้ที่สำนักงานเขตไหนก็ได้ที่ใกล้บ้าน หรือจะไปทำวันเดียวกับที่เปลี่ยนทะเบียนได้เลยค่ะ หรือถ้าไม่อยากไปรอคิวนานๆ สามารถไปทำบัตรประชาชนใหม่ได้ที่จุดบริการด่วนมหานคร (BME Express)

  • สถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสสยาม
  • สถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสหมอชิต
  • สถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสพร้อมพงษ์
  • สถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสอุดุมสุข
  • สถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสวงเวียนใหญ่ 

ทุกสถานีรถไฟฟ้าจะเปิดให้บริการ ดังนี้

  • วันจันทร์ – วันศุกร์ เวลา 10.00 -19.00 น.
  • วันเสาร์-วันอาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ เวลา 10.00-18.00 น.

เอกสารที่ต้องเตรียมไป

  • หนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียนเปลี่ยนชื่อสกุล แบบฟอร์ม ช.5 ฉบับจริงพร้อมสำเนา 1 ชุด
  • สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
  • บัตรประชาชนตัวจริงและสำเนา 1 ชุด
  • ใบทะเบียนสมรสฉบับจริงและสำเนา 1 ชุด
  • ค่าธรรมเนียม 20 บาท

3. เปลี่ยนพาสปอร์ต

ทางกรมศุลกากรจะไม่แก้ไขชื่อหรือนามสกุลกับพาสปอร์ตเล่มเดิม แต่จะเป็นการทำเล่มใหม่เลย ซึ่งค่าบริการทำเล่มใหม่ 1,000 บาท ใช้เวลาประมาณ 2-3 วันทำการเสร็จ หากไปรับเล่มด้วยตัวเอง แต่ถ้าต้องการให้จัดส่งมาที่บ้าน จะมีค่าส่งไปรษณีย์ 40 บาท ใช้เวลาทำการ 5-7 วันทำการ

เอกสารหลักฐานในการทำพาสปอร์ตเล่มใหม่

  • พาสปอร์ตเล่มเดิม
  • บัตรประจำตัวประชาชนตัวจริงและสำเนา 1 ชุด
  • หนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียนเปลี่ยนชื่อสกุล แบบฟอร์ม ช.5 ฉบับจริงและสำเนา 1 ชุด
  • ค่าธรรมเนียม 1,000 บาท
  • ค่าธรรมเนียมการรับรองหนังสือเดินทาง 100 บาท (ใช้เพื่อยืนยันและรับรองว่าเจ้าของพาสปอร์ตเล่มเก่ากับเล่มใหม่ คือคนคนเดียวกันจริงๆ ส่วนมากจากจะใช้ในกรณีที่พาสปอร์ตหมดอายุไปแล้ว)

4. เปลี่ยนนามสกุลวีซ่า

การจดทะเบียนสมรส เปลี่ยนนามสกุล ส่วนใหญ่ไม่ต้องทำวีซ่าใหม่ เพราะวีซ่าในแต่ละประเทศส่วนใหญ่ จะมีอายุอยู่ไม่นาน 1-3 เดือน ก็หมดอายุแล้ว ซึ่งถ้ามันหมดอายุ แล้วต้องเดินทางใหม่ในเดือนหน้าก็สามารถนำพาสปอร์ตเล่มใหม่ เล่มที่เปลี่ยนนามสกุลแล้ว ไปขอวีซ่าใหม่ ในชื่อ-สกุล ใหม่ได้เลย ยกเว้นบางประเทศ อย่างประเทศออสเตรเลียหรือสหรัฐอเมริกา ที่มีอายุนานๆ แต่วีซ่าของสองประเทศนี้ เราไม่ต้องไปทำวีซ่าใหม่นะคะ แค่ต้องมีหลักฐานการเปลี่ยนชื่อ พร้อมคำแปลภาษาอังกฤษที่ได้รับการรับรองเอกสารติดตัวไปด้วยขณะผ่านด่านตรวจคนเข้าเมืองเข้าประเทศเขา

5. เปลี่ยนนามสกุลใบขับขี่

ในส่วนของการเปลี่ยนนามสกุลในใบขับขี่ คุณสามารถไปทำได้ที่สำนักงานขนส่งได้ทุกที่ เพียงแค่เตรียมเอกสารไป

  • ใบขับขี่ ใบเดิม
  • บัตรประจำตัวประชาชนตัวจริงและสำเนา 1 ชุด
  • หนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียนเปลี่ยนชื่อสกุล แบบฟอร์ม ช.5 ฉบับจริงและสำเนา 1 ชุด
  • ค่าธรรมเนียมคำขอ 5 บาท
  • ค่าธรรมเนียมการแก้ไขรายการในใบขับขี่ รายการละ 50 บาท
  • ค่าธรรมเนียมใบอนุญาตขับรถแบบใหม่ระบบคอมพิวเตอร์ (แถบแม่เหล็ก) 100 บาท

6. เปลี่ยนนามสกุลทะเบียนรถ

หากคุณภรรยาเป็นเจ้าของรถอยู่ก่อนแต่งงาน สามารถไปเปลี่ยนชื่อ-นามสกุล ได้ที่สำนักงานที่รถนั้นจดทะเบียนอยู่ จังหวัดไหนก็ไปจังหวัดนั้น โดยเตรียมเอกสารและค่าธรรมเนียมไปให้พร้อม

  • ใบคู่มือจดทะเบียนรถ
  • หนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียนเปลี่ยนชื่อ-สกุล แบบฟอร์ม ช.5 ฉบับจริงและสำเนา 1 ชุด
  • บัตรประจำตัวประชาชนตัวจริงและสำเนา 1 ชุด
  • ทะเบียนบ้านตัวจริงและสำเนา 1 ชุด
  • ค่าธรรมเนียมคำขอ 5 บาท
  • ค่าธรรมเนียมการแก้ไขรายการในใบทะเบียน รายการละ 50 บาท สำหรับรถจักรยานยนต์ 10 บาท

7. เปลี่ยนนามสกุลบัญชีธนาคารและบัตรเครดิต

ถ้าคุณภรรยาจะเปลี่ยนนามสกุลในบัญชีธนาคารและบัตรเครดิต จะต้องยื่นเอกสารที่ธนาคารสาขาที่เราเปิดบัญชีไว้ เพื่อทำการเปลี่ยนแปลงข้อมูลหลักในนระบบทั้งหมด

  • บัตรประชาชนตัวจริง
  • สมุดบัญชีเล่มเดิม
  • หนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียนเปลี่ยนชื่อสกุล แบบฟอร์ม ช.5 ฉบับจริง
  • สำเนาทะเบียน
  • สำเนาทะเบียนสมรส แบบฟอร์ม คร.2
  • ค่าธรรมเนียมทำบัตรใหม่ ประมาณ 214 บาท (200 บาท + ภาษี 7%)

8. เปลี่ยนนามสกุลประกันสังคม

สามารถแจ้งเปลี่ยนนามสกุลได้ด้วยตัวเอง โดยให้ยื่นแบบฟอร์ม สปส.6-10 ที่เขตพื้นที่ที่รับผิดชอบ โดยเจ้าหน้าที่จะพิมพ์บัตรใหม่ให้โดยไม่เสียค่าธรรมเนียม หรือค่าใช้จ่ายแต่อย่างไร  หรือถ้าไม่สะดวกที่จะไปยื่นเอง สามารถส่งเอกสารทั้งหมดผ่านทางไปรษณีย์ได้

เอกสารที่ต้องเตรียมไป

  • แบบฟอร์ม สปส.6-10
  • สำเนาบัตรประชาชน
  • สำเนาทะเบียน
  • สำเนาหนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียนเปลี่ยนชื่อสกุล แบบฟอร์ม ช.5

สิ่งเหล่านี้เป็น สิ่งที่ต้องทำหลังจากแต่งงาน และเกือบร้อยทั้งร้อยต้องเผชิญหลังเสร็จสิ้นพิธีแต่งงาน บ่าวสาวก็อย่าลืมจดลิสต์กันให้เรียบร้อยนะคะ หลังงานแต่งงานจบลงจะได้ไม่ตกหล่น หลงลืมค่ะ

คลิกอ่านบทความอื่นๆ ได้ที่  VenueE blog และอย่าลืมติดตาม เพจเฟสบุ๊ค VenueE หรือ ไอจี VenueE  กันนะคะ

  • คู่มือ จดทะเบียนสมรส เรื่องสำคัญที่คู่รักควรรู้!
  • วิธีจองคิว จดทะเบียนสมรสออนไลน์ ทางเลือก Style New Normal
  • 9 เรื่องที่คุณควรรู้ ก่อนแต่งงาน
  • 10 ร้านแหวนแต่งงาน มีดีไซน์ ราคางบไม่เกิน 50,000 บาท
  • 10 อาการคนท้อง ระยะแรก สัญญาณว่ากำลัง ตั้งครรภ์

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ศัพท์ทางทหาร military words แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 พจนานุกรมศัพท์ทหาร ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง ไทยแปลอังกฤษ ประโยค lmyour แปลภาษา การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ประปาไม่ไหล วันนี้ ฝยก. ย่อมาจาก หยน ห่อหมกฮวก แปลว่า เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษาจีน ่้แปลภาษา onet ม3 การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 1 ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง ตตตตลก บบบย ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ เขียน อาหรับ แปลไทย เนื้อเพลง ห่อหมกฮวก แปลไทย asus zenfone 2e กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น การประปานครหลวง ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบภาษาอังกฤษ ม.ปลาย พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ชขภใ ชื่อเต็ม ร.9 คําอ่าน ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน นยน. ย่อมาจาก ทหาร บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ฝสธ. ย่อมาจาก มัดหัวใจเจ้าชายเย็นชา 2 ซับไทย มัดหัวใจเจ้าชายเย็นชา 2 เต็มเรื่อง ยศทหารบก เรียงลําดับ ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 รัชกาลที่ 10 ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คอร์ด