ปัญหาอุปสรรคสำคัญในการเข้าถึงแหล่งทุน

เปิดทางหาแหล่งทุน ลดเหลื่อมล้ำทางการเงิน

เขียนวันที่

วันอาทิตย์ ที่ 21 สิงหาคม 2554 เวลา 10:09 น.



ความไม่เท่าเทียมกันทางการเงิน ยังเป็นอุปสรรคสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจระดับฐานราก ทำให้กระทรวงการคลังต้องเร่งเข้าไปจัดระเบียบและหากลไกในการแก้ปัญหา ยิ่งเมื่อรัฐบาลใหม่มีนโยบายสนับสนุนบัตรเครดิตชาวนา ยิ่งเป็นการตอกย้ำว่าสัญญาณความเหลื่อมล้ำในช่วงที่ผ่านมาน่าจะลดลง

ความเหลื่อมล้ำทางสังคมไทยนั้น ไม่ได้สะท้อนจากรายได้ของประชาชนเท่านั้น แต่  “การเข้าถึงแหล่งเงิน” ยังเป็นอีกตัวชี้วัดหนึ่งที่บอกว่าคนจนยังขาดโอกาสที่เท่าเทียม เมื่อข้อเท็จจริงขณะนี้ก็คือ ผู้มีฐานะดีหรือภาคธุรกิจ ยังคงได้เปรียบ ในการหาต้นทุนทางการเงินที่ง่ายและมีค่าใช้จ่ายถูกกว่าคนที่ไร้หลักประกัน

นโยบายของรัฐบาลใหม่ ภายใต้การนำของน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ยังคงสานต่อแนวทางเดิมของพรรคไทยรักไทยในการใช้ธนาคารของรัฐอัดฉีดเงินให้ แก่ประชาชนฐานราก พร้อมทั้งเพิ่มเติมนโยบายใหม่ “บัตรเครดิตชาวนา”  ซึ่งถูกจับตาว่าจะเป็นระเบิดเวลาทางการเงินการคลังลูกใหม่หรือไม่

นายพรชัย ฐีระเวช ผู้อำนวยการสำนักนโยบายพัฒนาระบบการเงินภาคประชาชน(สพช.) หน่วย งานที่ตั้งขึ้นเมื่อเดือนพ.ค.ภายใต้การกำกับของสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง(สศค .) ได้ใช้เวลาหลายเดือนที่ผ่านมาค้นหาคำตอบในการลดความเหลื่อมล้ำทางการเงินของ คนไทย รวมถึงคิดค้นสูตรในการแก้ปัญหาอย่างเป็นรูปธรรม

“แม้จำนวนคนจนลดลงในช่วงหลายปีที่ผ่านมา แต่เมื่อดูเชิงคุณภาพ จะเห็นว่าความแตกต่างด้านรายได้ แทบไม่ต่างกันหรือเปลี่ยนแปลงไป คนจนยังจนอยู่เท่าเดิม คนรวยยังรวยมาก แบบห่างกันเป็นเลขสองหลัก” ผู้อำนวยการสพช.กล่าว

โดยสถิติจำนวนคนยากจนในประเทศไทยขณะนี้อยู่ที่ 5.3 ล้านคน ลดลงจากในช่วงหลายปีก่อนที่เคยมีถึง 20 ล้านคน เนื่องจากการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศมีความก้าวหน้าตามลำดับ ยิ่งเมื่อดูจากเส้นความยากจน ซึ่งอยู่ที่ 1,560 บาทต่อเดือน ก็จะเห็นว่าตัวเลขคนรายได้ต่ำกว่าเส้นนี้ลดลงมาก แต่ตรงนี้ก็ต้องพิจารณาควบคู่ไปกับตัวเลขอื่นๆด้วย ซึ่งเมื่อพิจารณาเป็นตัวชี้วัดความแตกต่างทางรายได้ระหว่างคนที่จนที่ สุด20%และคนที่รวยที่สุด 20% แล้วจะพบว่ามีความแตกต่างกันมากถึง 12.81 เท่า    หมายความว่าตัวเลขความแตกต่างทางรายได้ยังสูงอยู่ที่มากกว่า 10 เท่าเหมือนเดิม ยังเป็นตัวเลขสองหลัก

เปรียบเทียบง่ายๆคือ ถ้าผลผลิตของประเทศไทยคิดเป็นเงิน 100 บาท จะตกเป็นของคนรวย 55 บาท ส่วนของคนจน 20% ที่จนที่สุด ได้รับรายได้นี้ไปเพียง 4.30 บาท ซึ่งสะท้อนให้เห็นปัญหาความเหลื่อมล้ำในการกระจายรายได้ของประเทศไทยใน ปัจจุบันที่ยังรุนแรงมาก

ผู้อำนวยการสพช. ให้ข้อมูลว่า รายได้ของประชาชนไทยเฉลี่ยทั้งประเทศในปี 2552 อยู่ที่ 20,903 บาทต่อครัวเรือนต่อเดือน แต่ต้องนำมาเทียบกับรายจ่าย 5 ด้าน คือการบริโภค ที่อยู่อาศัย สวัสดิการ การศึกษา และการทำมาหากินจะพบว่าหักลบกลบกันแล้วแทบจะไม่เหลือรายได้เพียงพอกับค่าใช้ จ่าย

อีกทั้งตามข้อมูลการสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติ พบว่าในปี 2552 จำนวนครัวเรือนในประเทศไทยที่มีหนี้สิน มีจำนวน 11,921,887 ครัวเรือน เพิ่มขึ้นจากปี 2550 ที่มีจำนวน 11,506,100 ครัวเรือน โดยครัวเรือนที่มีหนี้สินจำนวนมากที่สุด จะอยู่ในภาคอีสาน ภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคใต้ รวมถึงกรุงเทพ และ 3 จังหวัดปริมณฑล คือนนทบุรี ปทุมธานี และสมุทรปราการ โดยคิดเป็นสัดส่วนเฉลี่ย 38.5% , 20.5%,  18.1%, 12.1% และ 10.9% ของครัวเรือนที่มีหนี้สินทั้งหมดตามลำดับ

ครัวเรือนที่เป็นหนี้ในระบบ คิดเป็นจำนวนเงิน 127,715 บาท เพิ่มขึ้นจากปี 2550 โดยเป็นการกู้ยืมเงินเพื่อใช้ซื้อ/เช่าซื้อบ้านและซื้อที่ดิน, การใช้จ่ายอุปโภคบริโภคอื่นๆในครัวเรือน คิดเป็นสัดส่วนเฉลี่ย 34.4% แบะ 30.2% ของหนี้ในระบบทั้งหมดตามลำดับ

ขณะที่ครัวเรือนที่เป็นหนี้นอกระบบในปี 2552 คิดเป็นจำนวนเงิน 6,984 บาท เพิ่มขึ้นจากจำนวน 6,855 บาทในปี 2550 โดยการกู้ยืมเงินนอกระบบจะมีรูปแบบการใช้จ่ายที่แตกต่างจากการกู้ยืมเงินใน ระบบ คือเป็นการกู้ยืมเงินเพื่อใช้จ่ายอุปโภคบริโภคอื่นๆในครัวเรือนมากที่สุด คิดเป็น 35.3% ของหนี้นอกระบบทั้งหมด  รองลงมาเป็นการกู้ยืมเงินเพื่อใช้ในการทำธุรกิจและใช้ซื้อ/เช่าซื้อบ้านและ ที่ดิน  

ผู้อำนวยการสพช. ยอมรับว่า คนจนกลุ่มหนึ่งเป็น “คนจนโดยโครงสร้าง” คือมีรายจ่ายที่แน่นอน  ไม่สามารถลดรายจ่ายลงได้ ดังนั้นก็ต้องดูว่ารายได้จะเพิ่มขึ้นอย่างไร คนกลุ่มนี้ส่วนใหญ่เป็นเกษตรกร ชาวนา  โดยหากคำนวณคนจนที่สุดของประเทศ 20% เท่ากับว่า จะมีประมาณ 12 ล้านคนอยู่ในกลุ่มนี้

วิธีการก็คือทำอย่างไรให้คนกลุ่มนี้เข้าถึงแหล่งเงิน, ต้องเพิ่มรายได้ และจะบรรเทารายจ่ายให้เขาอย่างไร ซึ่งด้านสวัสดิการฟรีของภาครัฐ เช่น การศึกษาฟรี รักษาพยาบาลก็มีระบบประกันสุขภาพ ประกันสังคมอยู่แล้ว ตรงนี้ช่วยได้ส่วนหนึ่ง

ไม่เพียงเท่านั้น  การแก้ปัญหาจะใช้นโยบายกึ่งการคลัง ให้แบงก์เฉพาะกิจของรัฐทำหน้าที่เปลี่ยนนโยบายการคลัง มาใช้วงเงินของแบงก์รัฐ   เพราะจากผลสำรวจของธนาคารแห่งประเทศไทย และสำนักงานสถิติแห่งชาติ พบว่า 31% ของประชากร สามารถใช้บริการแบงก์พาณิชย์และแบงก์เฉพาะกิจได้ เท่ากับว่ายังมีโอกาสให้คนไทยเข้าถึงบริการทางการเงินได้อีก 69% ซึ่ง ในจำนวนนี้พบว่ามีจำนวน 10% ที่ยังไม่เคยใช้บริการแบงก์ใดเลย แต่เมื่อย้อนถามถึงความพร้อมของบริการทางการเงินฐานราก เราพบว่ามีการสำรวจจากหน่วยงานในต่างประเทศคือ Economist intelligence Unit พบประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 50 จากทั้งหมด 54 อันดับ แต่เชื่อว่าเรายังมีโอกาสที่จะไต่อันดับขึ้นไปได้อีกมาก โดยเฉพาะเมื่อธนาคารแห่งประเทศไทยออกแผนพัฒนาระบบสถาบันการเงินฉบับที่ 2 ที่เน้นการพัฒนาไมโครไฟแนนซ์ ซึ่งมุ่งให้สินเชื่อแก่ฐานราก

โดยแนวางของธปท.เปิดให้เอกชนทำไมโครไฟแนนซ์ได้ หมายถึง การบริการทางการเงินให้แก่คนกลุ่มหนึ่งที่ขาดโอกาสเพราะไม่มีหลักประกันทาง การเงิน  จากรายได้ไม่ถึงเกณฑ์ที่กำหนด ขณะที่สินเชื่อบุคคลหรือเพอร์ซัลนัลโลนในปัจจุบัน คิดดอกเบี้ยสูงถึง 28% เนื่องจากเป็นสินเชื่อเพื่อการบริโภค 

“ธปท.ก็เพิ่มสินเชื่อให้อีกอย่างหนึ่งคือเงินกู้เพื่อทำมาหากิน ประกอบธุรกิจ วงเงินไม่เกิน 2 แสนบาท เปิดทางให้แบงก์เอกชนปล่อยเงินกู้แบบนี้ได้  แต่มีหมายเหตุตอนท้ายว่าต้องรับผิดชอบตัวเอง ซึ่งเป็นเหตุผลหนึ่งที่ตอนนี้แบงก์เอกชนยังไม่กล้าดำเนินการไมโครไฟแนนซ์” นายพรชัยระบุ

ขณะที่กระทรวงการคลังโดยรัฐบาลชุดที่ผ่านมา ก็ช่วยเหลือประชาชนโดยให้แบงก์รัฐบาลเข้าไปรับรีไฟแนนซ์สินเชื่อบุคคล คิดดอกเบี้ยเพียง 10% ซึ่งต่อมาก็มีธนาคารพาณิชย์คือธนาคารทีเอ็มบี ออกแคมเปญลักษณะเดียวกันตามมา ถือเป็นการขยายตัวของเอกชนที่รัฐบาลเป็นตัวนำ แสดงว่ายังมีช่องว่างที่รัฐบาลสามารถแก้ไขระบบการเงินได้

รูปแบบต่อมาคือชุมชนรวมตัวกัน ช่วยเหลือกันเอง รวมกันเป็น “ระบบการเงินชุมชน” เพราะชาวบ้านรู้ว่าตัวเองเข้าไม่ถึงแหล่งเงินแน่นอน โดยปัจจุบันมีระบบการเงินชุมชนอยู่ 35,000 กลุ่ม กระจายตามภูมิภาคต่างๆมีปริมาณเงินฝากและสินเชื่อกว่า 70,000 ล้านบาท แต่การเงินชุมชนยังไม่มีกฎหมายรองรับ อาศัยความเชื่อถือในตัวผู้นำชุมชน จนบางครั้งมีปัญหา เรื่องการหาประโยชน์ส่วนตัว บางชุมชนก็อยากมีกฎหมายมารองรับ เพราะเกรงว่าถ้าวันหนึ่งผู้นำชุมชนไม่อยู่แล้ว กองทุนจะไม่ยั่งยืน  ส่วนอีกกลุ่มหนึ่งก็ไม่อยากให้มีกฎหมายมากำกับ

นายพรชัย ระบุว่า ตอนนี้กระทรวงการคลังกำลังพิจารณาว่าจะดูแลการเงินชุมชนอย่างไร เนื่องจากกระทรวงการคลังพบว่า บางกลุ่มผู้นำชุมชนหอบเงินหนี ถูกฟ้องร้องเป็นคดีอยู่ เราเข้าไปดูเพื่อป้องปรามปัญหาเงินนอกระบบที่อาจเกิดขึ้น

สำหรับแนวทางการแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำทางการเงินนั้น สำนักนโยบายพัฒนาระบบการเงินภาคประชาชน วางไว้ 3 แนวทางคือ 1. เพิ่มผลิตภัณฑ์ทางการเงิน และช่องทางในการเข้าถึงแหล่งเงิน  เหมือนในต่างประเทศที่มีผลิตภัณฑ์ใหม่ๆเข้ามาใช้ ให้คนเข้าถึงตัวแหล่งเงินในการประกอบอาชีพได้แบบไม่ยากเท่าไหร่  ขณะที่ประเทศไทย ล่าสุดบางแบงก์ เช่น ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์(ธ.ก.ส.) ใช้วิธีให้เพื่อนค้ำประกันเพื่อนได้ เพื่อลดความเสี่ยงจากหลักเกณฑ์ ส่วนธนาคารทีเอ็มบีก็เปิดให้รีไฟแนนซ์สินเชื่อบุคคล ดอกเบี้ยแค่ 10%

2.  แก้ปัญหาเงินนอกระบบ  ทาง สพช.จะออกกฎกติกาให้บุคคลที่ให้กู้ เช่นพวก อาบัง อาเฮีย มาขึ้นทะเบียนเป็นผู้ให้กู้ในระบบ คือพวกนี้เดิมเราเรียกว่า เงินกู้แบบ Loan Shark (ปลาฉลาม) ก็เปลี่ยนมาเป็น  Dolphin  (ปลาโลมา) อาจเปิดให้คิดดอกเบี้ยสูงได้ แต่อย่าแพงจนผิดกฎหมาย และสิ่งที่คนกลัวเรื่องการทวงหนี้ เมื่อก่อนอยู่ดีๆมีวินมอเตอร์ไซค์ใส่หมวกกันน็อคเข้ามาทวง อย่างนี้เราก็จะออกกฎหมายกำกับการทวงหนี้ คนที่มีหน้าที่ทวงหนี้ต้องมาขึ้นทะเบียนกับกระทรวงการคลังด้วยเหมือนกัน

รวมถึงตอนนี้เรากำลังจ้างนักวิชาการทำการสำรวจความต้องการเข้าถึงแหล่ง การเงินและการเข้าถึงของผู้ให้บริการ ใน 7 จังหวัด ที่มีการลงทะเบียนแก้ไขหนี้นอกระบบมากที่สุด เพื่อสร้างฐานข้อมูลขึ้นมาว่าสมมติฐานที่กระทรวงการคลังคิดนั้นถูกต้องหรือ ไม่ เพื่อปลดล็อคปัญหาการเข้าไม่ถึงแหล่งเงิน

3.  การพัฒนาเรื่องการคลังชุมชน ที่ปัจจุบันมีการระดมเงินฝากแล้วให้คนในหมู่บ้านกู้ไปเพื่อประกอบอาชีพ อีกส่วนไปจัดสรรเป็นสวัสดิการของชุมชน ซึ่งที่ผ่านมาเราพบว่า ชาวบ้านมีปัญหาเรื่องค่าสวัสดิการที่เป็นรายจ่าย  เช่น การเดินทางไปรักษาพยาบาลในอำเภอ จังหวัด ต้องเหมารถปิ๊กอัพซึ่งเสียค่าใช้จ่ายมาก แม้การรักษาพยาบาลจะฟรีก็ตาม ดังนั้น ระบบสวัสดิการชุมชนจะเป็นตัวเติมเต็มในช่วงที่สวัสดิการของรัฐยังเข้าไปไม่ ถึง ส่วนเรื่องหมอหนี้ หรือ บัญชีครัวเรือน ต้องเดินหน้าต่อ ซึ่งธ.ก.ส.ได้ทำแผนไว้แล้ว และเชื่อว่าจะเดินหน้าได้ต่อไป

ในเรื่องบัตรเครดิตชาวนานั้น นายพรชัย กล่าวว่า ปัจจุบัน ต้องยอมรับว่าคนกลุ่มนี้เข้าไม่ถึงแหล่งเงิน  ไปหาแบงก์เอกชนก็ไม่ได้  เป็นลูกค้าธ.ก.ส.เป็นหลัก เพราะเกษตรกรมีหลายกลุ่ม บางกลุ่มรายได้มาก เช่น ผู้ปลูกยางพารา ส่วนใหญ่น่าจะมีบัตรเครดิตแล้ว ดังนั้น การเจาะกลุ่มปัญหาก็เล็กลง  ซึ่งทางธ.ก.ส.น่าจะรู้ข้อมูลรายได้ของคนกลุ่มนี้ดี ว่ามีรายจ่ายเท่าไหร่ บัตรเครดิตจะช่วยให้เข้าถึงการเงินได้ดีขึ้น
เพียงแต่ยังมีข้อสังเกตว่า นโยบายนี้จะเป็นบัตรเครดิตหรือบัตรสินเชื่อ เพราะมีความต่างกันเรื่องของระยะเวลาในการคิดดอกเบี้ย  โดยบัตรเครดิตจะช่วยให้ชาวนารูดซื้อวัตถุดิบทางการเกษตรได้ก่อน โดยไม่คิดดอกเบี้ย ส่วนบัตรสินเชื่อก็จะเป็นอีกรูปแบบหนึ่ง ต่างกันที่คิดดอกเบี้ยเร็วหรือช้า  แต่จะผูกกับปริมาณและราคาผลผลิตในอนาคต ซึ่งมีราคาที่รัฐบาลประกันเอาไว้ ถ้าเกษตรกรผลิตมาก วงเงินก็จะมาก ช่วยให้ไม่ต้องพึ่งพาเงินนอกระบบ  โดยมีการบันทึกผ่านเครื่องรูดบัตรของร้านค้า ว่าชาวนามารูดซื้อเพื่อเอาของมาใช้จริงหรือไม่ ธกส.จะรู้ว่าต้นทุนการผลิตเท่าไหร่ สามารถเรียนรู้พฤติกรรมเกษตรกรจากข้อมูลบัตร จากเดิมเมื่อก่อนธกส.จะทำหน้าที่แค่จดบันทึก   เท่ากับว่ากลุ่มเกษตรกรจะเข้าถึงเงินทุนหมุนเวียน หรือ Working Capital ที่เพียงพอในการซื้อปัจจัยการผลิตที่เหมาะสมแก่ลักษณะการผลิตในภาคเกษตรกรรม ที่มีฤดูกาลสั้น ไม่เหมาะกับการขอสินเชื่อในระบบปกติ

นอกจากนั้น เกษตรกรยังสามารถลดการกู้เงินนอกระบบเพื่อนำมาซื้อปัจจัยการผลิต เนื่องจากรายได้ของเกษตรกรมีลักษณะตามฤดูกาลเฉพาะที่สินค้าทางการเกษตรได้ เท่านั้น ขณะที่ในส่วนของรายจ่ายโดยเฉพาะรายจ่ายด้านปัจจัยการผลิต เช่น ปุ๋ย ยาปราบศัตรูพืช เกิดขึ้นระหว่างฤดูเพาะปลูก ทำให้เกิดความไม่สมดุลกัน ระหว่างรายได้และรายจ่าย

“ดังนั้นการเข้าถึงเครดิตเกษตรกรจะช่วยทำให้เกษตรกรสามารถลดความเสี่ยงจากการเป็นลูกหนี้นอกระบบได้” นายพรชัยกล่าว

ผู้อำนวยการสพช. มองด้วยว่า บัตรเครดิตชาวนา ยังทำให้ต้นทุนการกู้ยืมของเกษตรกรลดต่ำลง เนื่องจากผู้ให้กู้คือธ.ก.ส.จะมีความเสี่ยงในการปล่อยสินเชื่อน้อยลง จากการจำกัดวัตถุประสงค์การกู้ จำนวนวงเงินกู้ และการผูกการชำระหนี้กับการรับจำนำผลผลิตการเกษตร ส่งผลให้ต้นทุนที่คิดกับเกษตรกรลดต่ำลงด้วย อีกทั้งยังช่วยสนับสนุนการพึ่งพาตนเองและการสร้างวินัยทางการเงินแก่เกษตรกร เนื่องจากโครงการให้เครดิตเฉพาะแก่ปัจจัยการผลิต ทำให้แน่ใจได้ว่าสินเชื่อถูกนำไปใช้เพื่อการผลิตอย่างแท้จริง

ปัจจุบัน รายจ่ายในการผลิตและเพาะปลูก เฉลี่ยทั้งประเทศ ปีเพาะปลูก 2551/52 อยู่ที่ 52,418 บาทต่อครัวเรือนต่อปี ประกอบด้วยค่าจ้างแรงงาน 23,129 บาทต่อครัวเรือนต่อปี หรือคิดเป็น 4.12% ขณะที่มาจากส่วนที่เป็นค่าวัสดุอุปกรณ์ทางการเกษตร ไม่ว่าจะเป็นค่าปุ๋ย ค่าพันธุ์พืช  ค่ายาปราบศัตรูพืช ฯลฯ จำนวน 29,289 บาทต่อครัวเรือนต่อปี หริอคิดเป็น 55.88%

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ศัพท์ทางทหาร military words แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 พจนานุกรมศัพท์ทหาร ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง ไทยแปลอังกฤษ ประโยค lmyour แปลภาษา การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ประปาไม่ไหล วันนี้ ฝยก. ย่อมาจาก หยน ห่อหมกฮวก แปลว่า เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษาจีน ่้แปลภาษา onet ม3 การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 1 ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง ตตตตลก บบบย ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ เขียน อาหรับ แปลไทย เนื้อเพลง ห่อหมกฮวก แปลไทย asus zenfone 2e กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น การประปานครหลวง ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบภาษาอังกฤษ ม.ปลาย พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ชขภใ ชื่อเต็ม ร.9 คําอ่าน ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน นยน. ย่อมาจาก ทหาร บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ฝสธ. ย่อมาจาก มัดหัวใจเจ้าชายเย็นชา 2 ซับไทย มัดหัวใจเจ้าชายเย็นชา 2 เต็มเรื่อง ยศทหารบก เรียงลําดับ ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 รัชกาลที่ 10 ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คอร์ด