น้ำหนักอ่อน-แก่ของแสงเงาและสี

เป็นองค์ประกอบของศิลป์ที่อยู่คู่กันแสง เมื่อส่องกระทบ กับวัตถุ จะทำให้เกิดเงา แสงและเงา เป็นตัวกำหนดระดับของค่าน้ำหนัก ความเข้มของเงาจะขึ้นอยู่กับความเข้มของเแสง ในที่ที่มีแสงสว่างมาก เงาจะเข้มขึ้น และในที่ที่มีแสงสว่างน้อย เงาจะไม่ชัดเจน ในที่ที่ไม่มีแสงสว่างจะไม่มีเงา และเงาจะอยู่ในทางตรงข้ามกับแสงเสมอ ค่าน้ำหนักของแสงและเงานที่เกิดบนวัตถุ สามารถจำแนกเป็นลักษณะที่ ต่าง ๆ ได้ดังนี้

น้ำหนักอ่อน-แก่ของแสงเงาและสี

ลักษณะของแสงเงาแบ่งออกเป็น 6 ค่า http://1.bp.blogspot.com/-3AvFU0FxfAU/UaonjNr7WNI/AAAAAAAAAQM/SEiExiDYWP8/s1600/shadow.jpg

ลักษณะของแสงเงาแบ่งออกเป็น 6 ค่า
1. แสงสว่างที่สุด (HIGH LIGHT) เป็นบริเวณที่วัตถุกระทบแสงโดยตรง ทำให้ส่วนนั้นมีน้ำหนักอ่อนที่สุด ถ้าวัตถุเป็นสีขาวบริเวณนั้นจะปล่อยว่าง ไม่ต้องลงเงาก็ได้
2. แสงสว่าง (LIGHT) เป็นบริเวณที่ไม่ถูกแสงโดยตรง แต่มีบางส่วนที่ได้รับอิทธิพลจากแสง การลงน้ำหนักบริเวณนี้ต้องให้อ่อนจางแต่แก่กว่าบริเวณแสงสว่างที่สดุดเล็กน้อย
3. เงา (DARK) เป็นบริเวณที่ได้รับอิทธิพลของแสงน้อย ซึ่งเงาบริเวณนี้จะต้องแรเงาให้มีน้ำหนักเข้มกว่าบริเวณแสงสว่างพอประมาณ พอที่จะแยกแสงและเงาออกจากกันได้
4. เงามืด (DARKEST) เป็นบริเวณที่ไม่ได้รับอิทธิพลของแสงจึงต้องแรเงาด้วยน้ำหนักที่เข้มกว่าบริเวณอื่นๆ ทั้งหมดของวัตถุ
5. แสงสะท้อน (REFLECTED LIGHT) เป็นบริเวณของวัตถุที่ไม่ได้กระทบแสงโดยตรง หากอยู่ในตำแหน่งที่เป็นเงาแต่ถูกแสงสะท้อนจากวัตถุที่อยู่ใกล้ๆ กันมากระทบ น้ำหนักของบริเวณนี้จะอ่อนกว่าบริเวณที่เป็นเงา ค่าของแสงสะท้อนจะให้ความรู้สึกในภาพมีมิติ มีมวลสาร มีชีวิตชีวา ดูเหมือนมีอากาศอยู่รอบๆ
6. เงาตกทอด (CAST SHADOW) เป็นบริเวณที่เงาของวัตถุนั้นๆ ทอดไปตามพื้นที่รองรับวัตถุ โดยจะมีน้ำหนักแก่กว่าบริเวณแสงสะท้อน ขนาดและรูปร่างของเงาตกทอดจะขึ้นอยู่กับทิศทางของแสง รูปร่างของวัตถุและพื้น

ขออธิบายเรื่องแสงและเงากันหน่อยนะครับพร้อมกับการดูจากภาพตัวอย่างที่ด้านบนครับ ผม แสงและเงา (Light & Shade)  เป็นองค์ประกอบสำคัญของศิลป์ที่อยู่คู่กัน เลยก็ว่าได้ครับ แสง เมื่อส่องกระทบ กับวัตถุ จะทำให้เกิดเงานะครับ แสงและเงาจะเป็นตัวกำหนดระดับของค่าน้ำหนัก  ความเข้มของเงาจะขึ้นอยู่ กับความเข้มของแสงครับ ในที่ที่มีแสงสว่างมาก เงาก็จะเข้มขึ้นมาก  และในที่ที่มีแสงสว่างน้อย  เงาก็จะไม่ชัดเจน ในที่ที่ไม่มีแสงสว่าง ก็จะไม่มีเงา และเงาจะอยู่ในทางตรงข้ามกับแสงเสมอนะครับจำเอาไว้ ทั้งนี้ก็ให้ดูภาพตัวอย่างที่ด้านบนนะครับ เรื่องแสงและเงา ในบทหน้าต่อไปผมจะแนะนำวิธีที่ผมวาดภาพด้านบนว่าผมมีเทคนิคอะไรบ้าง ส่วนบทนี้เรามาดูรายละเอียด เรื่องแสงและเงากันก่อนครับผม

 

ค่าน้ำหนักของแสงและเงาที่เกิดบนวัตถุ สามารถจำแนกเป็นลักษณะต่าง ๆ ได้ดังนี้

  1. บริเวณแสงสว่างจัด (Hi-light) เป็นบริเวณที่อยู่ใกล้แหล่งกำเนิดแสงมากที่สุด จะมีความสว่างมากที่สุด ในวัตถุที่มีผิวมันวาวจะสะท้อนแหล่งกำเนิดแสงออกมาให้เห็นได้ชัด
  2. บริเวณแสงสว่าง (Light) เป็นบริเวณที่ได้รับแสงสว่าง รองลงมาจากบริเวณแสงสว่าง จัด เนื่องจากอยู่ห่างจากแหล่งกำเนิดแสงออกมา และเริ่มมีค่าน้ำหนักอ่อน ๆ
  3. บริเวณเงา (Shade) เป็นบริเวณที่ไม่ได้รับแสงสว่าง หรือเป็นบริเวณที่ถูกบดบังจาก แสงสว่าง ซึ่งจะมีค่าน้ำหนักเข้มมากขึ้นกว่าบริเวณแสงสว่าง
  4. บริเวณเงาเข้มจัด (Hi-Shade) เป็นบริเวณที่อยู่ห่างจากแหล่งกำเนิดแสงมากที่สุด หรือ เป็นบริเวณที่ถูกบดบังมาก ๆ หลาย ๆ ชั้น จะมีค่าน้ำหนักที่เข้มมากไปจนถึงเข้มที่สุด
  5. บริเวณเงาตกทอด เป็นบริเวณของพื้นหลังที่เงาของวัตถุทาบลงไป เป็นบริเวณเงาที่อยู่ ภายนอกวัตถุ และจะมีความเข้มของค่าน้ำหนักขึ้นอยู่กับ ความเข้มของเงา น้ำหนักของพื้น หลัง ทิศทางและระยะของเงา

 

ความสำคัญของค่าน้ำหนัก

  1. ให้ความแตกต่างระหว่างรูปและพื้น หรือรูปทรงกับที่ว่าง
  2. ให้ความรู้สึกเคลื่อนไหว
  3. ให้ความรู้สึกเป็น2 มิติ แก่รูปร่าง และความเป็น 3 มิติแก่รูปทรง
  4. ทำให้เกิดระยะความตื้น – ลึก และระยะใกล้ – ไกลของภาพ
  5. ทำให้เกิดความกลมกลืนประสานกันของภาพ

วิธีที่จะฝึกเขียนภาพเหมือนด้วยตัวเองนั้นจำเป็นอย่างยิ่งเลยนะครับสำหรับบทความนี้ ขอให้อ่านและทบทวนลองทำการเขียนบ่อยๆนะครับเพื่อความเคยชิน แบบฝึกหัดก็แบบง่ายๆเลยครับ ให้เราทำการทำตารางสีเหลี่ยมขึ้นมาซัก 9 ช่องโดยกำหนดขนาดความกว้างและความยาวเอาเองนะครับ หรือเอาแบบนี้ก็ได้ แต่ละช่องให้ยาวสัก 2 นิ้ว กว้างสัก 1นิ้วแล้วก็ทำการแรเงาโดยช่องที่หนึ่งให้สีเข้มที่สุดแล้วก็ ค่อยๆให้สีจางลงมาเรื่อยๆโดยทั้ง 9 ช่องต้องสีไม่ซ้ำกันนะครับดูตัวอย่างจากภาพประกอบ ด้านขวามือ คือให้ฝึกแรงเงาตามลำดับสีจากน้ำหนักมากไล่ลงมาน้ำหนักน้อยเรื่อย ๆจนได้ครบทั้ง 9 หรืออาจมากกว่านั้นก็ได้ครับฝึกแบบฝึกหัดนี้บ่อย ๆ นะครับ เพื่อตัวคนฝึกเอง นะละครับ มันจะทำให้เราสามารถ แรเงา และควบคุมน้ำหนักมือได้ดีเยี่ยมเลยลองๆฝึกดูครับ

       5) สีคู่ตรงข้าม ( Complementary  Colors) หมายถึง สีที่อยู่ตรงกันข้ามกันในวงสีธรรมชาติ  เป็นคู่สีกัน คือ สีคู่ที่ตัดกัน หรือเรียกว่า สีตรงกันข้ามหรือสีตัดกัน (Contrast) ถ้านำมาใช้คู่กันจะทำให้เกิดความรู้สึกตัดกันอย่างรุนแรง  คู่สีนี้ถ้านำมาผสมกันจะได้เป็นสีกลาง แต่ถ้านำสีหนึ่งเจือลงไปในสีคู่ของมันเล็กน้อย จะทำให้สีนั้นหม่นๆลง ถ้าเจือมากจะหม่นมาก จิตรกรบางกลุ่มใช้สีคู่ตรงข้ามนี้แทนสีดำในการทำให้อีกสีหนึ่งหม่นลง