อุจจาระ แข็ง ก้อน ใหญ่ ถ่ายไม่ออก

อุจจาระแข็งขี้ไม่ออก ทำยังไงดีค่ะ **ขอด่วนนิดนึงค่ะ ทรมานมาก

ดิฉันมีปัญหาอุจจาระแข็ง เบ่งขี้มาสามวันเต็มๆแล้วค่ะ มันทรมานมากเลย วันแรกดิฉันต้องเบ่งเพื่อให้ปากมันเปิด แล้วใช้เล็บค่อยๆจิ๊กออกมาทีละนิดๆ เเต่ว่าทำไปได้สักพักหมดแรง เลยกินยาระบายไปหวังว่ารุ่งขึ้นจะออกแต่ก็ไม่เลย พอวันที่สองดิฉันก็นั่งอยู่แต่ในห้องน้ำทั้งที่ออฟฟิศ และที่บ้าน แต่ไม่มีเเรงเบ่งเลยแต่ก็ยังพยายามเบ่ง มันก็มีแต่เลือดออกมาเป็นหยดๆไม่มีก็อึออกมานะค่ะ ดิฉันเลยนึกออกว่าเพื่อนเคยทำดีท๊อกที่รพ. หวังว่าจะช่วยได้ เเต่พอไปถึงพยาบาลบอกทำให้ไม่ได้จริงๆ เพราะดิฉันถ่ายเป็นเลือด แสดงว่าเกิดอาการอักเสบอยู่ เค้ากลัวเราจะติดเชื้อ คือ.. เราไม่มีที่พึ่งเเล้ว เลยกลับบ้านมากินยาถ่าย+ยาระบายต่อ เเต่ก็ไม่ได้ผลเหมือนเดิม วันนี้เลยลองวิธีที่ชาวบ้านๆเค้าทำกัน ที่บอกให้นวดใต้สะดือ กะเคาะเข่าไปเรื่อยๆมีความหวังเหมือนมันจะได้ผล เเต่ว่าก็หมดเเรงไปซะก่อน เพื่อนๆมีวิธีอะไรกันบ้างค่ะ หรือ มีรพ.ไหนที่เค้าช่วยเราใช้ยาสวนให้บ้างไหมค่ะ แบบสวนที่รพ.เลย พอดีกลัวไม่ได้สวนเอง อีกอย่างบ้านเราคนเยอะมาก ไม่สะดวกในการนอนสวนเองเลยค่ะ

ปัญหาท้องผูก ต้องแก้ให้ถูกวิธี

หากคุณเป็นคนหนึ่งที่ต้องทนทุกข์ทรมานกับระบบขับถ่าย จะเข้าห้องน้ำแต่ละครั้งแสนลำบากเรียกว่าต้องเบ่งกันจนหน้ามืด ทิ้งไว้หลายวันยิ่งอึดอัด ไม่สบายตัว ยิ่งคิดพาลให้ยิ่งเครียด

อย่าปล่อยให้ภาวะการขับถ่ายที่ผิดปกติดำเนินไปโดยไม่แก้ไข หรือแก้ไขอย่างผิดวิธี เพราะท้องผูกอาจนำไปสู่ปัญหาสุขภาพร้ายแรงกว่าที่คุณคิด

  • แบบไหนกันแน่ที่เรียกว่า ท้องผูก
  • ท้องผูกเกิดจากอะไร
  • ท้องผูกบ่อยๆ ส่งผลอย่างไรบ้าง
  • เมื่อผูกได้ก็แก้ได้
 

แบบไหนกันแน่ที่เรียกว่า ท้องผูก

หลายคนอาจเคยได้ยินมาว่าท้องผูกหมายถึงการถ่ายอุจจาระน้อยกว่า 3 ครั้งต่อสัปดาห์ แต่จริงๆ แล้วอาการท้องผูกไม่ได้ขึ้นอยู่กับจำนวนครั้งหรือความสม่ำเสมอในการขับถ่าย ตราบใดที่คุณสามารถถ่ายได้อย่างสบายๆ ไร้กังวล ไม่ต้องเบ่ง อุจจาระนิ่มจับตัวเป็นก้อนดี แม้ 2-3 วันจะถ่ายสักครั้งก็ไม่ถือว่าผิดปกติ

แต่เมื่อใดก็ตามที่คุณรู้สึกว่าการขับถ่ายเป็นเรื่องยาก หลายครั้งต้องนั่งนานถึงครึ่งชั่วโมงเพื่อเบ่งถ่าย บางครั้งต้องใช้น้ำฉีด ใช้นิ้วล้วงช่วย ถ่ายไม่สุด เหมือนมีอะไรมาอุดกั้นอยู่ ถ่ายออกมาน้อย อุจจาระแข็งมีลักษณะเป็นเม็ด ผิวขรุขระหรือแห้งแตก รู้สึกอึดอัดแน่นท้อง ทั้งหมดนี้บ่งบอกว่าคุณมีอาการท้องผูกอย่างแน่นอน

ท้องผูกเกิดจากอะไร

ภาวะท้องผูกเกิดได้จากหลายสาเหตุ โดยสาเหตุหลักๆ ได้แก่

  • การปฏิบัติตัวที่ไม่ถูกต้อง เช่น รับประทานอาหารที่มีกากใยน้อย ดื่มน้ำน้อย ไม่ออกกำลังกายหรือไม่ค่อยเคลื่อนไหวร่างกาย กลั้นอุจจาระบ่อยๆ ซึ่งผู้ที่มีอาการท้องผูกมากถึง 50% มีสาเหตุมาจากพฤติกรรมหล่านี้
  • การเบ่งถ่ายอุจจาระผิดวิธี แพทย์พบว่า 30% ของอาการท้องผูกเกิดจากการทํางานไม่ประสานกันของกล้ามเนื้อที่ควบคุมการเบ่งอุจจาระ นั่นคือมีการออกแรงเบ่งพร้อมกับขมิบหูรูดทวารหนักไปด้วย เมื่อแรงเบ่งมีไม่มากพอที่จะเอาชนะแรงต้านบริเวณหูรูด อุจจาระก็ไม่สามารถจะเคลื่อนออกมาได้
  • การทำงานของลำไส้ใหญ่ผิดปกติ หรือภาวะลำไส้เฉื่อย เป็นการที่ลำไส้ใหญ่เคลื่อนไหวน้อยลงทําให้อุจจาระเคลื่อนลงมาช้ากว่าปกติ ซึ่งจะทราบได้จากการตรวจดูการเคลื่อนผ่านของอุจจาระภายในลำไส้ใหญ่ (colonic transit time) โดยให้ผู้ป่วยกลืนเม็ดยาที่มีแถบทึบแสง (sitzmark radiopaque markers) หลังจากนั้น 3 และ 5 วันจึงเอ็กซ์เรย์ดูจำนวน markers ที่เหลืออยู่ในลำไส้ใหญ่ ถ้ายังกระจายอยู่ทั่วไปแสดงว่าลำไส้ทำงานผิดปกติ อย่างไรก็ตาม สาเหตุนี้พบได้น้อยมาก คือ 5-6% เท่านั้น
  • การใช้ยาบางชนิดที่ทำให้ท้องผูก เช่น  ยารักษาอาการซึมเศร้า ยารักษาโรคพวกพาร์กินสัน โรคอัลไซเมอร์ ยาลดความดันโลหิต ยาลดกรดที่มีส่วนผสมของแคลเซียม หรืออะลูมิเนียม ยาแก้ปวดที่มีส่วนผสมของมอร์ฟีน เป็นต้น
 

ท้องผูกบ่อยๆ ส่งผลอย่างไรบ้าง

ท้องผูกส่งผลกระทบทั้งต่อร่างกายและจิตใจ หลายคนรู้สึกเครียด เบื่ออาหาร ไม่สดชื่นกระปรี้กระเปร่า ปวดหัว ปวดหลัง และแสบร้อนบริเวณหน้าอก ไม่เพียงเท่านั้นการออกแรงเบ่งถ่ายอุจจาระเป็นประจำยังก่อให้เกิดผลร้ายตามมามากมาย เช่น

  • ทำให้เกิดโรคริดสีดวงทวาร หรือแผลปริรอบๆ ทวารหนักจากอุจจาระที่แห้งแข็งครูดหลอดเลือดจนฉีกขาด
  • ทำให้ความดันในช่องทรวงอกเพิ่มขึ้น ผู้ป่วยโรคหัวใจอาจเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด และทำให้หัวใจเต้นผิดจังหวะได้
  • ทำให้ความดันในลูกตาสูงขึ้นซึ่งเป็นอันตรายต่อผู้ที่เข้ารับการผ่าตัดตาและหู
  • ทำให้แรงดันในช่องท้องสูงขึ้นจนเป็นสาเหตุของไส้เลื่อนได้
  • ทำให้กล้ามเนื้อในอุ้งเชิงกรานอ่อนแอ กลั้นปัสสาวะไม่อยู่
  • ท้องผูกเรื้อรังจนทำให้มีอาการของลำไส้อุดตัน ได้แก่ ปวดท้องมาก อึดอัดแน่นท้อง คลื่นไส้อาเจียน ไม่ผายลม และไม่ถ่ายอุจจาระ


เมื่อผูกได้ก็แก้ได้

อาการท้องผูกนั้นแก้ไขให้ทุเลาลงได้ด้วยวิธีการดังต่อไปนี้

ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

50% ของผู้ที่มีอาการท้องผูกสามารถกลับมาขับถ่ายได้เป็นปกติ เพียงแค่ปรับเปลี่ยนรูปแบบการใช้ชีวิตซึ่งได้แก่

  • รับประทานอาหารที่มีกากใยหรือไฟเบอร์มากขึ้น เพื่อเพิ่มปริมาณอุจจาระและกระตุ้นการเคลื่อนตัวภายในลำไส้ใหญ่ให้เร็วขึ้น
  • รับประทานอาหารเช้าทุกวัน เพราะอาหารเช้าช่วยให้กระเพาะอาหารขยายตัวแล้วไปกระตุ้นให้ลำไส้ใหญ่ทำงานเกิดเป็นความรู้สึกอยากถ่าย โดยควรเผื่อเวลาสำหรับการเข้าห้องน้ำหลังอาหารเช้าและการเดินหลังอาหารประมาณครึ่งชั่วโมงไว้ด้วย เพราะความรู้สึกอยากถ่ายนั้นเกิดขึ้นเพียงประมาณ 2 นาทีเท่านั้น หากไม่มีการถ่าย ความรู้สึกอยากถ่ายจะหายไปและอุจจาระก็จะแข็งขึ้นทำให้เกิดปัญหาท้องผูกตามมา
  • ดื่มน้ำให้มากพอเพื่อให้อุจจาระอ่อนนุ่มถ่ายง่าย
  • ออกกำลังกายและเคลื่อนไหวร่างกายอยู่เสมอ เพื่อให้ลำไส้เคลื่อนไหวได้ดีขึ้น

สำหรับผู้ที่ยังมีปัญหาในช่วงแรกๆ แพทย์อาจให้ใช้ยาระบายช่วย เมื่อปรับพฤติกรรมได้แล้วจึงหยุดยา

การฝึกขับถ่ายให้เป็นธรรมชาติ (biofeedback training)

หลายคนเบ่งถ่ายผิดวิธีมาทั้งชีวิตโดยไม่รู้ตัวจนทำให้เกิดภาวะท้องผูก ซึ่งแพทย์หรือพยาบาลจะเป็นผู้ให้คำแนะนำในการฝึกถ่ายอุจจาระอย่างถูกวิธี โดยมีหลักการคือ ฝึกหายใจโดยใช้กล้ามเนื้อหน้าท้องเป็นหลักแทนการหายใจด้วยปอด และฝึกเบ่งโดยใช้กล้ามเนื้อหน้าท้อง

          ในรายที่สงสัยว่าอาจเกิดปัญหาจากกล้ามเนื้อหูรูดทวารหนัก แพทย์อาจแนะนำให้ทำ biofeedback training ร่วมกับการตรวจวัดการทำงานของลำไส้ใหญ่และหูรูดทวารหนักชนิดความละเอียดสูง (high-resolution anorectal manometry) ซึ่งเป็นเครื่องมือตรวจหาความผิดปกติของกล้ามเนื้อในอุ้งเชิงกรานและกล้ามเนื้อหูรูดบริเวณทวารหนัก เพื่อดูว่ากล้ามเนื้อทั้ง 2 ส่วนนี้มีการคลายตัวหรือบีบตัวประสานกับการเบ่งหรือไม่

          ในกรณีที่ไม่มีความรู้สึกอยากถ่ายแม้จะมีอุจจาระมาที่ทวารหนักแล้วก็ตาม การตรวจนี้ยังช่วยให้ทราบถึงความไวของทวารหนักต่อการรับความรู้สึกจากการกระตุ้น โดยจะมีการใส่ลมเข้าไปในลูกโป่งที่อยู่ปลายของสายตรวจ เพื่อกระตุ้นความรู้สึกภายในทวารหนักและดูการตอบสนองของผู้เข้ารับการตรวจ

การใช้ยาระบาย

การใช้ยาระบายควรใช้ตามแพทย์สั่งและใช้เท่าที่จำเป็น เพราะยาระบายมีมากมายหลายชนิด แต่ละชนิดก็ออกฤทธิ์แตกต่างกันและอาจส่งผลข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์ได้

ทั้งนี้ ยาระบายแบ่งออกเป็นกลุ่มต่างๆ ได้ดังนี้

  • ยาระบายที่ออกฤทธิ์โดยการเพิ่มปริมาณอุจจาระ (bulk-forming laxatives) ตัวยามีคุณสมบัติเช่นเดียวกับไฟเบอร์คือดูดซึมและอุ้มน้ำได้ดี เช่น Mucillin อุจจาระจึงเป็นก้อนและนิ่มขึ้น แต่อาจทำให้เกิดอาการท้องอืดและถ่ายยากได้หากดื่มน้ำไม่เพียงพอ  
  • ยาที่ออกฤทธิ์โดยการดูดซึมน้ำกลับเข้ามาในลำไส้ (osmotic laxatives) ทำให้อุจจาระนิ่มและถ่ายง่ายขึ้น เช่น แลคตูโลส (lactulose), Milk of Magnesia (MOM) ยากลุ่มนี้แพทย์มักแนะนำให้ใช้เป็นหลัก เนื่องจากไม่ค่อยพบปัญหาการดื้อยาแต่อาจทำให้ท้องอืดได้เช่นกัน
  • ยาที่ออกฤทธิ์ทำให้อุจจาระนิ่ม (stool softener laxatives) เป็นยาที่มีส่วนประกอบของน้ำมัน เช่น arachis oil ที่ทำให้อุจจาระนิ่มลื่นและเคลื่อนตัวผ่านลำไส้ได้โดยง่าย
  • ยาที่กระตุ้นการบีบตัวของลำไส้ (stimulant laxatives) ยากลุ่มนี้ออกฤทธิ์โดยการกระตุ้นเส้นประสาทที่ควบคุมกล้ามเนื้อในระบบทางเดินอาหารเพื่อให้ลำไส้เคลื่อนไหวเร็วขึ้น เช่น มะขามแขก, bisacodyl ซึ่งเห็นผลเร็ว แต่หากใช้อย่างต่อเนื่องจะก่อให้เกิดอาการดื้อยาหรือท้องผูกเรื้อรัง ทำให้ต้องเพิ่มปริมาณการใช้ยาขึ้นเรื่อยๆ และท้ายที่สุดอาจทำให้โครงสร้างและการทำงานของลำไส้เปลี่ยนแปลงไป เช่น มีจุดดำเกิดขึ้นในลำไส้  
  • ยาระบายชนิดสวน เป็นการใช้ยากระตุ้นการบีบตัวของลำไส้ร่วมกับการทำให้อุจจาระนิ่ม โดยตัวยาที่ใช้มีทั้งน้ำเกลือเข้มข้มที่อาจทำลายเยื่อบุผิวลำไส้ และยาที่มีส่วนผสมของโซเดียม ฟอสเฟต (sodium phosphate) ซึ่งเป็นสารประกอบประเภทเกลือที่อาจเป็นอันตรายกับผู้ป่วยโรคไตได้ การใช้ยาสวนจึงต้องใช้อย่างระมัดระวังและควรอยู่ภายใต้คำแนะนำของแพทย์
  • ยาใหม่ที่ช่วยแก้ไขปัญหาท้องผูกที่ยากลุ่มแรกใช้ไม่ได้ผล ได้แก่ ยากระตุ้นการทำงานของลำไส้ใหญ่ (prokinetic drugs) และยาที่กระตุ้นการขับน้ำเข้าไปในลำไส้ใหญ่ ซึ่งแพทย์ผู้รักษาอาจพิจารณาให้ยาในกลุ่มนี้เพิ่มเติมเป็นรายๆ ไป
 

การผ่าตัด

การผ่าตัดเอาลำไส้ใหญ่ออกเป็นทางเลือกสุดท้ายในการแก้ปัญหาท้องผูกเมื่อรักษาด้วยวิธีอื่นๆ ทั้งหมดแล้วไม่ได้ผล ไม่ว่าจะเป็นการใช้ยาระบายหรือการฝึกเบ่งแต่ลำไส้ใหญ่ยังคงเคลื่อนไหวช้าอย่างรุนแรง

การรักษาโรคท้องผูกอย่างถูกวิธีต้องอาศัยการวางแผนระยะยาว โดยเริ่มต้นจากการพูดคุยกับทีมแพทย์และพยาบาลผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางเพื่อหาสาเหตุที่แท้จริงและหาแนวทางร่วมกันในการแก้ปัญหาอย่างตรงจุด รวมทั้งป้องกันไม่ให้กลับมาเป็นซ้ำอีก

นอกจากนี้ หากคุณอายุมากกว่า 45 ปี หรือมีอาการอื่นๆ นอกเหนือจากท้องผูก เช่น ถ่ายเป็นมูกเลือด น้ำหนักลด ท้องผูกช่วงสั้นๆ จากที่เคยถ่ายได้ทุกวัน อุจจาระก้อนเล็กลงเรื่อยๆ คลำเจอก้อนในช่องท้อง หรือมีภาวะซีด แพทย์อาจแนะนำให้ตรวจเพิ่มเติมโดยการส่องกล้องลำไส้ใหญ่ (colonoscopy) เพื่อให้แน่ใจว่าอาการท้องผูกนั้นไม่ได้มีสาเหตุมาจากโรคอื่นๆ เช่น ลำไส้อักเสบ ติ่งเนื้องอก หรือโรคมะเร็ง

รายละเอียดเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ:

  • ศูนย์ทางเดินอาหาร-ตับ
    8.00-20.00  (BKK Time)
    Hot line tel. +66 63 190 3152

    20.00-8.00 (BKK Time)
    เบอร์ Contact center +662 066 8888 และ 1378


  • ศูนย์ศัลยกรรมลำไส้ใหญ่และทวารหนัก
    โทร  ​02-011-2351 - 2 (8:00 - 18:00น.)
    โทร  ​1378  (20:00 - 8:00น.)
    E-mail: [email protected]

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ศัพท์ทางทหาร military words แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 พจนานุกรมศัพท์ทหาร ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง ไทยแปลอังกฤษ ประโยค lmyour แปลภาษา การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ประปาไม่ไหล วันนี้ ฝยก. ย่อมาจาก หยน ห่อหมกฮวก แปลว่า เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษาจีน ่้แปลภาษา onet ม3 การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 1 ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง ตตตตลก บบบย ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ เขียน อาหรับ แปลไทย เนื้อเพลง ห่อหมกฮวก แปลไทย asus zenfone 2e กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น การประปานครหลวง ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบภาษาอังกฤษ ม.ปลาย พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ชขภใ ชื่อเต็ม ร.9 คําอ่าน ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน นยน. ย่อมาจาก ทหาร บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ฝสธ. ย่อมาจาก มัดหัวใจเจ้าชายเย็นชา 2 ซับไทย มัดหัวใจเจ้าชายเย็นชา 2 เต็มเรื่อง ยศทหารบก เรียงลําดับ ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 รัชกาลที่ 10 ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คอร์ด