กินยาคุมฉุกเฉิน เมน มาแค่ 2 วัน

title

“ยาคุมฉุกเฉิน” กินบ่อยไม่ใช่เรื่องดี นี่คือความจริงที่ผู้หญิงควรรู้ไว้
แม้ว่าวิธีการคุมกำเนิด จะมีมากมาย แต่การ “กินยาคุม” ก็เป็นวิธีที่หลายคนเลือกใช้ เพราะหาซื้อได้ง่ายและราคาไม่แพง แต่นอกจากยาคุมแบบแผงแล้ว

ยังมี “ยาคุมฉุกเฉิน” ที่ให้ประสิทธิภาพในการป้องกันการตั้งครรภ์สูง แต่สิ่งที่หลายคนไม่เคยรู้ ก็คือ… การกินยาคุมฉุกเฉินบ่อยๆและต่อเนื่องเป็นเวลานานนั้นอาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงเชิงลบได้โดยที่คุณไม่รู้ตัว !!!


กินยาคุมฉุกเฉินอย่างไร? ไม่ให้เกิดอันตรายต่อร่างกาย

ถ้าจะพูดว่ากินยาคุมฉุกเฉินแล้วอันตราย ก็อาจจะยังไม่ถูกร้อยเปอร์เซ็นต์ เพราะถ้ากินแบบถูกต้องตามหลักของกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข คือ กินเม็ดแรก ภายใน 72 ชั่วโมงหลังมีเพศสัมพันธ์ และกินเม็ดที่สองเมื่อครบ 12 ชั่วโมง หลังจากกินยาเม็ดแรก รวมทั้งกินเฉพาะในกรณีฉุกเฉิน เช่น มีเพศสัมพันธ์โดยไม่ได้ตั้งใจ ไม่ใช่กินเพื่อคุมกำเนิดระยะยาว เพียงเท่านี้ยาคุมฉุกเฉินก็จะไม่ใช่สิ่งอันตรายอย่างที่คุณเข้าใจกัน

มีเลือดออกหลังกินยาคุมฉุกเฉิน…อันตรายหรือเปล่า?
แน่นอนว่าการที่ฮอร์โมนถูกกระตุ้นแบบฉับพลันย่อมส่งผลข้างเคียง โดยหลังการกินยาคุมฉุกเฉินมักจะพบว่า มีอาการปวดศีรษะ ปวดท้อง มีเลือดออกกะปริบกะปรอย ประจำเดือนมาเร็วหรือช้ากว่าปกติ ซึ่งนับว่าเป็นอาการปกติ ไม่อันตราย แต่หากอาการเหล่านี้เกิดขึ้นต่อเนื่องหลายวันหรือเกินสัปดาห์ ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยจะดีกว่า

กินยาคุมฉุกเฉินหลังมีเพศสัมพันธ์ ทำให้ “ไม่ท้อง” ได้จริงหรือ?
หลายคนมักเข้าใจแบบเหมารวมว่า “ยาคุมฉุกเฉิน” จะทำให้ไม่ท้องเหมือนกับยาคุมแบบปกติ แต่จริงๆ แล้ว ยาคุมฉุกเฉินมีหน้าที่รบกวนกระบวนการตกไข่และการเคลื่อนไหวของอสุจิ รวมถึงการเปลี่ยนแปลงเยื่อบุโพรงมดลูก เพื่อให้การฝังตัวของไข่ทำได้ยาก หรือจะพูดง่ายๆ ก็คือ ยาคุมฉุกเฉินมีส่วนช่วย “ลดโอกาส” ในการตั้งครรภ์ลงจากเดิมเท่านั้น!!!

อีกหนึ่งความเชื่อที่ผิด!! กินยาคุมฉุกเฉิน ไม่ได้ช่วยให้แท้ง
นอกจากจะเข้าใจกันว่าการกินยาคุมฉุกเฉินจะทำให้ไม่ท้องแล้ว หลายๆ คนยังเข้าใจว่า “สามารถทำให้เกิดการแท้ง” ได้อีกด้วย ซึ่งอย่างที่บอกไปว่ายาคุมฉุกเฉินเป็นตัวช่วยลดประสิทธิภาพในการทำงานของไข่และอสุจิ ดังนั้น หากไข่ที่ผสมอสุจิได้ทำการฝังตัวที่เยื่อบุโพรงมดลูกแล้ว หรือเกิดการตั้งครรภ์แล้ว การกินยาคุมฉุกเฉินก็เท่ากับสูญเปล่า


รู้หรือไม่? กินยาคุมฉุกเฉินบ่อย ๆ กินติดต่อกันมานาน ยิ่งเพิ่มโอกาสตั้งครรภ์!!
ยาคุมฉุกเฉินไม่ได้มีไว้เพื่อการคุมกำเนิดระยะยาว และเมื่อกินบ่อยครั้งหรือกินติดต่อกันนานๆ ยังส่งผลให้ยาคุมฉุกเฉินมีประสิทธิภาพลดลง หรือทำให้มีโอกาสตั้งครรภ์ได้สูงขึ้น รวมถึงปริมาณฮอร์โมนเพศหญิงในยาคุมฉุกเฉินที่สูงกว่ายาคุมกำเนิดแบบปกติถึง 2 เท่า ยังอาจก่อให้เกิดอันตรายต่างๆ ได้ เช่น เพิ่มโอกาสเสี่ยงมะเร็งปากมดลูกหรือมะเร็งเต้านม เป็นต้น


เพราะ “ยาคุมฉุกเฉิน”
ถูกผลิตขึ้นเพื่อช่วยลดโอกาสในการตั้งครรภ์ กรณีที่มีเพศสัมพันธ์โดยไม่ได้ตั้งใจ, การถูกข่มขืน หรือเกิดการฉีกขาดของถุงยางอนามัย ดังนั้น หากคู่สามีภรรยาคู่ไหนต้องการคุมกำเนิดแบบระยะยาว ควรปรึกษาแพทย์เพื่อเลือกวิธีคุมกำเนิดที่เหมาะสมและปลอดภัยจะดีกว่า


ปรึกษาปัญหาสุขภาพ

คลินิกศัลยกรรม อาคาร 2 ชั้น 2
โรงพยาบาลเปาโล โชคชัย 4

โทร. 02-514-4141 ต่อ 1102-1105
Line : Paolochokchai4


ยาคุมฉุกเฉิน จะมีผลทำให้ประจำเดือนมาน้อยและเป็นเวลาสั้นลงมั้ยคะ

คือทานยาคุมฉุกเฉินไป และหลังจากนั้นอาทิตย์นึงก็มีเลือดกระปรอยอยู่ 5-7 วัน พอถึงรอบ ประจำเดือนก็มาค่ะ แต่มีปริมาณน้อยมากและเป็นอยู่แค่ 3 วันก็หมดไป อันนี้เป็นผลของยาคุมฉุกเฉินมั้ยคะ

Main forum : การตั้งครรภ์และการคลอด

Post 06 Dec 2562 by Visitor-149938

Reply

เป็นไปได้ครับ การทานยาคุมฉุกเฉิน จะทำให้ประจำเดือนมาผิดปกติได้

ผู้ตอบ: นพ.ชัยสึก จิวะธนะพร (08.12.62 )

กินยาคุมฉุกเฉินแล้วประจำเดือนไม่มา หรือประจำเดือนมาช้ากว่าปกติ อาจเป็นสัญญาณเตือนว่ากำลังตั้งครรภ์ ตั้งครรภ์นอกมดลูก หรืออาจเกิดจากผลข้างเคียงของการใช้ยา ดังนั้น หากกินยาคุมฉุกเฉินแล้วประจำเดือนมาช้ากว่าปกติ หรือมีเลือดออกทางช่องคลอดกระปริบกระปรอยนานกว่า 1 สัปดาห์ และมีอาการปวดท้องอย่างรุนแรงร่วมด้วย ควรเข้ารับการตรวจวินิจฉัยอย่างละเอียดโดยเร็ว

ประเภทของยาคุมกำเนิดฉุกเฉิน

ยาคุมกำเนิดฉุกเฉินมี 2 ประเภท ได้แก่

  • ลีโวนอร์เจสเตรล (Levonorgestrel) เป็นยาคุมกำเนิดฉุกเฉินที่นิยมใช้ในประเทศไทย ประกอบด้วยฮอร์โมนโปรเจอเตอโรน (Progesterone) สังเคราะห์ ยา 1 กล่อง มี 1 แผง แต่ละแผงจะมีเม็ดยาอยู่ 2 เม็ด เม็ดละ 750 ไมโครกรัม ควรรับประทานภายใน 72 ชั่วโมง นับจากวันที่มีเพศสัมพันธ์ และควรรับประทานเม็ดแรกไม่เกิน 12 ชั่วโมง หรืออาจรับประทาน 2 เม็ดพร้อมกัน หากมีอาการอาเจียนภายใน 2 ชั่วโมงหลังรับประทานยา ควรรับประทานยาใหม่อีกครั้ง แต่ไม่ควรรับประทานเกิน 4 เม็ด หรือ 2 กล่อง ภายในระยะเวลา 1 เดือน
  • ยูริพริสทอล อะซิเตท (Ulipristal Acetate) เป็นยาคุมกำเนิดฉุกเฉินชนิดใหม่ ซึ่งอาจมีประสิทธิภาพในการคุมกำเนิดสูงกว่าลีโวนอร์เจสเตรล (Levonorgestrel) โดยควรรับประทานภายใน 120 ชั่วโมงนับจากวันที่มีเพศสัมพันธ์

กินยาคุมฉุกเฉินแล้วประจำเดือนไม่มา เกิดจากอะไร

ยาคุมฉุกเฉิน คือ ยาคุมกำเนิดที่เหมาะสำหรับผู้ที่เผชิญเหตุการณ์ไม่คาดคิด เช่น ถุงยางอนามัยแตกขณะมีเพศสัมพันธ์ ถุงยางอนามัยหลุดจากการสวมใส่ไม่ถูกวิธี รวมไปถึงผู้ที่ถูกล่วงละเมิดทางเพศโดยไม่มีการป้องกัน หรือลืมรับประทานยาเม็ดคุมกำเนิดตั้งแต่ 3 เม็ดขึ้นไป ยาคุมฉุกเฉินมีกลไกการออกฤทธิ์ที่ช่วยชะลอการตกไข่ ช่วยไม่ให้อสุจิเดินทางมาผสมกับไข่ได้ แต่ขณะเดียวกันก็อาจส่งผลให้ประจำเดือนไม่มาหรือมากว่าช้ากว่าปกติ จนผู้ใช้สงสัยว่าตั้งครรภ์หรือไม่

สาเหตุที่กินยาคุมฉุกเฉินแล้วประจำเดือนไม่มาอาจเกิดจากฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน (Progesterone) ในยาคุมเข้าไปเปลี่ยนแปลงฮอร์โมนในร่างกายเพื่อช่วยชะลอการตกไข่ ซึ่งอาจกระตุ้นเกิดการเปลี่ยนแปลงของรอบเดือน ส่งผลให้ประจำเดือนเดือนถัดไปคลาดเคลื่อน นอกจากนี้ ประจำเดือนจะมาช้าหรือเร็วยังขึ้นอยู่กับภาวะสุขภาพของแต่ละบุคคลด้วย หากเป็นผู้ที่มีประจำเดือนมาไม่ปกติอยู่แล้ว หรือเครียดจัดในช่วงนั้น อาจทำให้ประจำเดือนรอบถัดไปมาช้าหรือคลาดเคลื่อนหลายวัน สำหรับผู้ที่มีประจำเดือนปกติ รอบเดือนถัดไปประจำเดือนอาจมาเร็วหรือล่าช้ากว่าที่คาดการณ์ไว้ประมาณ 1 สัปดาห์ หากสงสัยว่าตั้งครรภ์หรือไม่ อาจตรวจการตั้งครรภ์ด้วยตัวเอง หรือเข้ารับการตรวจสุขภาพอย่างละเอียดโดยคุณหมอ

ผลข้างเคียงของยาคุมฉุกเฉิน

ผลข้างเคียงของยาคุมฉุกเฉิน มีดังนี้

  • ปวดศีรษะ วิงเวียนศีรษะ
  • เหนื่อยล้า
  • คลื่นไส้ อาเจียน
  • รู้สึกไม่สบาย
  • ปวดท้องน้อย
  • เจ็บเต้านม
  • มีเลือดออกระหว่างรอบเดือน หรือประจำเดือนมามาก

อาการหลังจากใช้ยาคุมฉุกเฉิน ที่ควรเข้าพบคุณหมอ

หากเกิดอาการต่อไปนี้หลังรับประทานยาคุมฉุกเฉินลีโวนอร์เจสเตรล (Levonorgestrel) หรือยาคุมฉุกเฉินยูริพริสทอล อะซิเตท (Ulipristal Acetate) 2-3 ชั่วโมง ควรเข้ารับการตรวจสุขภาพจากคุณหมอทันที เพราะอาจเสี่ยงเกิดภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูกได้

  • รู้สึกไม่สบาย เจ็บป่วย
  • ปวดท้องน้อยกะทันหัน
  • ประจำเดือนรอบถัดไปมาช้าเกิน 7 วัน

วิธีคุมกำเนิดอื่น ๆ

นอกจากการรับประทานยาคุมฉุกเฉินเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ ยังมีวิธีคุมกำเนิดในรูปแบบอื่น ๆ ที่สามารถทำได้ ดังนี้

  • ห่วงอนามัยคุมกำเนิด (IUD) คือ ห่วงอนามัยขนาดเล็กที่มีลักษณะเป็นตัว T ที่คุณหมอจะใส่ไว้บริเวณปากมดลูก เพื่อทำให้สเปิร์มเข้าไปผสมกับไข่ได้ยากขึ้น อุปกรณ์นี้สามารถอยู่ในร่างกายได้นานถึง 10 ปี โดยไม่จำเป็นต้องถอดออกจนกว่าจะครบกำหนด
  • ยาคุมกำเนิดแบบฉีด เป็นการฉีดฮอร์โมนโปรเจสตินเข้าสู่กระแสเลือดเพื่อชะลอการตกไข่ในแต่ละรอบเดือน และทำให้เมือกที่ปากมดลูกหนาขึ้น เพื่อไม่ให้สเปิร์มเดินทางผ่านปากมดลูกเข้าไปผสมกับไข่ได้ แต่อาจออกฤทธิ์ได้นาน 8-10 สัปดาห์เท่านั้น จึงจำเป็นต้องเข้ารับการฉีดบ่อยครั้ง
  • การฝังยาคุมกำเนิด เป็นทางเลือกการคุมกำเนิดในระยะยาวประมาณ 1-3 ปี โดยคุณหมอจะฝังแท่งพลาสติกขนาดเล็กใต้ท้องแขน แท่งพลาสติกจะปล่อยฮอร์โมนโปรเจนตินในปริมาณต่ำออกมาเรื่อย ๆ เพื่อทำให้มูกของมดลูกหนา และชะลอการตกไข่
  • วงแหวนคุมกำเนิด เป็นอุปกรณ์คุมกำเนิดทรงวงแหวน ทำจากพลาสติกทรงวงแหวน ยืดหยุ่นได้ดี บรรจุฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจนเตอโรนที่ช่วยยับยั้งการตกไข่ และทำให้เยื่อบุมดลูกบางลง เพื่อทำให้ตัวอ่อนที่เกิดจากการปฏิสนธิฝังตัวได้ยากขึ้น แต่อาจจำเป็นต้องถอดออกทุกครั้งในช่วงมีประจำเดือนก่อนใส่กลับเข้าไปใหม่ หลังจากประจำเดือนหมด 1 สัปดาห์
  • แผ่นแปะคุมกำเนิด เป็นวิธีที่ค่อนข้างสะดวกมาก เพียงแค่แปะแผ่นคุมกำเนิดลงบนผิวหนังบริเวณที่มีขนน้อยและแห้งก็ช่วยคุมกำเนิดได้ แผ่นแปะคุมกำเนิดประกอบด้วยฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจนเตอโรนที่ส่งผ่านผิวหนังเข้าสู่กระแสเลือดเพื่อยับยั้งการตกไข่ในแต่ละเดือน
  • ถุงยางอนามัย ปัจจุบันถุงยางอนามัยมีทั้งของผู้ชายและผู้หญิง ช่วยป้องกันไม่ให้สเปิร์มเข้าไปผสมกับไข่ได้ อีกทั้งยังช่วยป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เช่น ซิฟิลิส (Syphilis) การติดเชื้อเอชไอวี (HIV)
  • ยาฆ่าอสุจิ เป็นยาที่ควรใช้ก่อนมีเพศสัมพันธ์ประมาณ 1 ชั่วโมง โดยวางไว้ในช่องคลอดและปล่อยทิ้งไว้ 6-8 ชั่วโมงหลังจากมีเพศสัมพันธ์ เพื่อฆ่าเชื้ออสุจิ
  • ฝาครอบปากมดลูก คือ อุปกรณ์คุมกำเนิดลักษณะคล้ายถ้วย ทำจากซิลิโคน โดยต้องสอดเข้าไปในช่องคลอดเพื่อครอบปากมดลูกไว้ก่อนมีเพศสัมพันธ์เพื่อป้องกันอสุจิเข้าไปปฏิสนธิกับไข่ และควรปล่อยทิ้งไว้ 6 ชั่วโมง เพื่อให้สารฆ่าเชื้ออสุจิที่เคลือบฝาครอบไว้ออกฤทธิ์

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ศัพท์ทางทหาร military words แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 พจนานุกรมศัพท์ทหาร ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง ไทยแปลอังกฤษ ประโยค lmyour แปลภาษา การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ประปาไม่ไหล วันนี้ ฝยก. ย่อมาจาก หยน ห่อหมกฮวก แปลว่า เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษาจีน ่้แปลภาษา onet ม3 การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 1 ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง ตตตตลก บบบย ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ เขียน อาหรับ แปลไทย เนื้อเพลง ห่อหมกฮวก แปลไทย asus zenfone 2e กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น การประปานครหลวง ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบภาษาอังกฤษ ม.ปลาย พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ชขภใ ชื่อเต็ม ร.9 คําอ่าน ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน นยน. ย่อมาจาก ทหาร บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ฝสธ. ย่อมาจาก มัดหัวใจเจ้าชายเย็นชา 2 ซับไทย มัดหัวใจเจ้าชายเย็นชา 2 เต็มเรื่อง ยศทหารบก เรียงลําดับ ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 รัชกาลที่ 10 ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คอร์ด