เงินที่ได้จากประกันชีวิตต้องเสียภาษีไหม

Contents

เงินได้ที่ได้รับยกเว้นภาษี

โดย ผศ.ดร.ยุทธนา ศรีสวัสดิ์ อาจารย์ประจำวิชากฎหมายภาษีอากร

เงินได้ที่ได้รับยกเว้นภาษี คือ เงินได้ที่กฎหมายระบุไว้ชัดเจนว่าไม่อยู่ในข่ายต้องเสีย ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ซึ่งมีอยู่นับร้อยรายการโดยกระจายอยู่ตามกฎหมายฉบับต่างๆ เช่น ประมวลรัษฎากร กฎกระทรวง1 และพระราชกฤษฎีกา เป็นต้น ทำให้ไม่ต้องเสียภาษีเหมือน เงินได้ ทั่วไป

ตัวอย่าง เงินได้ที่ได้รับยกเว้นภาษี

  • กำไรจากการขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์2
  • เงินประโยชน์ทดแทนที่ผู้ประกันตนได้รับจากกองทุนประกันสังคม จากกรณีเจ็บป่วยหรือประสบอันตราย, คลอดบุตร, ทุพพลภาพ, เสียชีวิต, สงเคราะห์บุตร, ชราภาพ หรือว่างงาน เป็นต้น3
  • เบี้ยประชุมกรรมาธิการหรือกรรมการ หรือค่าสอน ค่าสอบที่ทางราชการหรือสถานศึกษาของทางราชการจ่ายให้4
  • เงินรางวัลที่ถูกล็อตเตอร์รี่สลากกินแบ่งรัฐบาล หรือสลากออมสิน5
  • บำเหน็จดำรงชีพ ของข้าราชการบำนาญ6
  • เงินได้จากการจำหน่าย หรือส่วนลดจากการจำหน่ายสลากกินแบ่งของรัฐบาล 7
  • รางวัลที่ทางราชการจ่ายให้ในการประกวดหรือแข่งขันที่ผู้รับไม่ได้มีอาชีพในการประกวดหรือแข่งขัน8
  • รางวัลสินบนนำจับที่ทางราชการจ่ายให้9
  • รางวัลเพื่อการศึกษาหรือค้นคว้าในวิทยาการ เช่น ทุนการศึกษาของหน่วยงานเอกชน 10
  • ค่าสินไหมทดแทนเพื่อละเมิด เงินชดใช้ค่าเสียหาย11
  • เงินที่บริษัทประกันจ่ายให้จากการประกันภัยหรือประกันชีวิต12
  • เงินได้ที่ได้รับตามหน้าที่ธรรมจรรยา หรือรับตามประเพณี เช่น เงินอั่งเปา สินสอด ของรับขวัญ เงินค่าขนมลูก เงินค่าเลี้ยงดูพ่อแม่ เฉพาะส่วนที่ไม่เกิน ฿10 ล้าน (แต่จะขยายเป็น ฿20 ล้าน ถ้าได้รับจากบุพการี ผู้สืบสันดาน หรือคู่สมรส)13
  • ดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารแบบออมทรัพย์ทุกบัญชีรวมกันตลอดทั้งปีที่ไม่เกิน ฿20,00014 ทั้งนี้ เจ้าของบัญชีเงินฝากออมทรัพย์นี้ต้องไม่คัดค้านการส่งข้อมูลดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์ของธนาคารให้กรมสรรพากร15
  • ดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารหรือสหกรณ์แบบประจำอย่างน้อย 24 เดือน ที่ยอดเงินฝากไม่เกินเดือนละ ฿25,000 และรวมทั้งหมดแล้วไม่เกิน ฿600,00016
  • ดอกเบี้ยเงินฝากประจำธนาคารในไทยสำหรับผู้สูงอายุตั้งแต่อายุ 55 ปี ที่ฝากประจำตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป โดยดอกเบี้ยเงินฝากประจำทุกประเภทรวมกันแล้วตลอดปีไม่เกิน ฿30,000 (หากเกิน ฿30,000 ต้องนำดอกเบี้ยนั้นมาคำนวณภาษีทั้งจำนวนตั้งแต่บาทแรกเลย)17
  • ค่าเบี้ยเลี้ยง ค่ายานพาหนะที่ลูกจ้างได้รับตามความจำเป็นเป็นครั้งคราว18
  • รายได้จาก การขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นมรดกหรือมีคนให้มา ที่อยู่นอกตัวเมือง ให้ยกเว้นรายได้ ฿200,000 แรก19
  • รายได้ที่คนอายุ 65 ปีขึ้นไป หรือคนพิการได้รับ ให้ยกเว้นรายได้ ฿190,000 แรก20
  • รายได้ (รวมถึงเงินส่วนแบ่งกำไร/เงินปันผล) จากกิจการโรงเรียนเอกชนที่ไม่ใช่โรงเรียนกวดวิชา21
  • เงินที่ได้รับจากการให้โดยเสน่หา (ให้เปล่าฝ่ายเดียวโดยไม่มีสิ่งใดตอบแทน) เฉพาะส่วนที่ไม่เกิน ฿10 ล้าน (แต่จะขยายเป็น ฿20 ล้าน ถ้าได้รับจากบุพการี ผู้สืบสันดาน หรือคู่สมรส)22
  • เงินปันผลหรือเงินเฉลี่ยคืนที่สมาชิกสหกรณ์ได้รับจากสหกรณ์23

ไม่ว่ารายได้ของคุณจะเป็นเงินได้ที่ต้องเสียภาษี หรือ เงินได้ที่ได้รับการยกเว้นภาษี คุณก็ไม่สามารถหลีกเลี่ยงการยื่นภาษีและคำนวณภาษีได้ และหากคุณไม่อยากใช้เวลากับการคำนวณภาษีมากเกินไป iTAX application สามารถช่วยลดทอนเวลาที่มีค่าของคุณลงได้ นอกจากคำนวณภาษีแล้ว คุณยังสามารถค้นหาแผนลดหย่อนภาษีที่คุ้มที่สุดได้จาก iTAX shop อีกด้วย

อ้างอิง

  1. ^

    กฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509)

  2. ^

    มาตรา 42(17) ประมวลรัษฎากร, ข้อ 2(23) กฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509)

  3. ^

    มาตรา 42(25) ประมวลรัษฎากร

  4. ^

    มาตรา 42(7) ประมวลรัษฎากร

  5. ^

    มาตรา 42(11) ประมวลรัษฎากร

  6. ^

    มาตรา 42(17) ประมวลรัษฎากร, ข้อ 2(64) กฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509)

  7. ^

    มาตรา 42(17) ประมวลรัษฎากร, ข้อ 2(2) กฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509)

  8. ^

    มาตรา 42(11) ประมวลรัษฎากร

  9. ^

    มาตรา 42(11) ประมวลรัษฎากร

  10. ^

    มาตรา 42(11) ประมวลรัษฎากร

  11. ^

    มาตรา 42(13) ประมวลรัษฎากร

  12. ^

    มาตรา 42(13) ประมวลรัษฎากร

  13. ^

    มาตรา 42(27),(28) ประมวลรัษฎากร

  14. ^

    มาตรา 42(17) ประมวลรัษฎากร, ข้อ 2(38) กฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509)

  15. ^

    ประกาศอธิบดี ฉบับที่ 347 (พ.ศ. 2562)

  16. ^

    พระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 301) พ.ศ. 2539)

  17. ^

    มาตรา 42(17) ประมวลรัษฎากร, ข้อ 2(69) กฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509), ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร (ฉบับที่ 137)

  18. ^

    มาตรา 42(1) ประมวลรัษฎากร

  19. ^

    มาตรา 42(17) ประมวลรัษฎากร, ข้อ 2(17) กฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509)

  20. ^

    มาตรา 42(17) ประมวลรัษฎากร, ข้อ 2(72),(81) กฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509)

  21. ^

    มาตรา 3 พระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 284) พ.ศ. 2538

  22. ^

    มาตรา 42(27),(28) ประมวลรัษฎากร

  23. ^

    มาตรา 3 พระราชกฤษฎีกา (ฉบับท่ี 40) พ.ศ. 2514

ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 194)
เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการ เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้
สำหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นเบี้ยประกันภัยสำหรับการประกันชีวิตแบบบำนาญ
ของผู้มีเงินได้ตามวรรคสามของข้อ 2(61) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509)
ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร
---------------------------------------------

                           

อาศัยอำนาจตามความในวรรคสามของข้อ 2(61) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวงฉบับที่ 279 (พ.ศ. 2554) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากรกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการ เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นเบี้ยประกันภัยสำหรับการประกันชีวิตแบบบำนาญของผู้มีเงินได้ ดังต่อไปนี้

                           ข้อ 1 เงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นเบี้ยประกันภัยสำหรับการประกันชีวิตแบบบำนาญ ที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
                                   (1) เป็นการจ่ายเบี้ยประกันภัยสำหรับกรมธรรม์ประกันชีวิตแบบบำนาญที่มีกำหนดเวลาตั้งแต่สิบปีขึ้นไป
                                   (2) เป็นการประกันชีวิตที่ได้เอาประกันไว้กับผู้รับประกันภัยที่ประกอบกิจการประกันชีวิตในราชอาณาจักร
                                   (3) มีการกำหนดการจ่ายผลประโยชน์เงินบำนาญเป็นรายงวดอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งจำนวนผลประโยชน์เงินบำนาญดังกล่าวจะจ่ายเท่ากันทุกงวดหรือจ่ายในสัดส่วนที่เพิ่มขึ้นตามระยะเวลาการเอาประกันก็ได้ โดยการจ่ายผลประโยชน์เงินบำนาญจะจ่ายตามการทรงชีพที่อาจมีการรับรองจำนวนงวดในการจ่ายที่แน่นอน
                                   (4) มีการกำหนดช่วงอายุของการจ่ายผลประโยชน์เงินบำนาญเมื่อผู้มีเงินได้มีอายุตั้งแต่ 55 ปีขึ้นไป ถึงอายุ 85 ปี หรือกว่านั้น และผู้มีเงินได้ต้องจ่ายเบี้ยประกันภัยครบถ้วนแล้วก่อนได้รับผลประโยชน์เงินบำนาญ

                           ข้อ 2 การยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นเบี้ยประกันภัย สำหรับการประกันชีวิตแบบบำนาญของผู้มีเงินได้ กรณีผู้มีเงินได้ได้จ่ายเบี้ยประกันภัย สำหรับการประกันชีวิตแบบบำนาญเพียงอย่างเดียว หรือได้จ่ายเบี้ยประกันภัยสำหรับการประกันชีวิตแบบบำนาญและแบบอื่นด้วย แล้วแต่กรณี ให้ยกเว้นเงินได้ที่จ่ายไปเป็นเบี้ยประกันภัยสำหรับการประกันชีวิตแบบบำนาญ หรือการประกันชีวิตแบบบำนาญและแบบอื่น แล้วแต่กรณี ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 90,000 บาท ตามข้อ 2(61) วรรคหนึ่ง แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร และให้ยกเว้นเงินได้เพิ่มขึ้นอีกตามหลักเกณฑ์และวิธีการดังต่อไปนี้
                                   (1) ให้ยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินได้เท่าที่จ่ายเป็นเบี้ยประกันภัย สำหรับการประกันชีวิตแบบบำนาญของผู้มีเงินได้เพิ่มขึ้นอีกในอัตราร้อยละ 15 ของเงินได้พึงประเมิน แต่ไม่เกิน 200,000 บาท ทั้งนี้ สำหรับเบี้ยประกันที่จ่ายตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2553 เป็นต้นไป
                                   กรณีที่ผู้มีเงินได้ได้จ่ายเงินสะสมเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือจ่ายเงินสะสมเข้ากองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ หรือจ่ายเงินสะสมเข้ากองทุนสงเคราะห์ตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน แล้วแต่กรณี หรือจ่ายเงินค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เงินที่ได้จ่ายดังกล่าว เมื่อรวมคำนวณกับเงินได้ที่ได้รับยกเว้นตามวรรคหนึ่ง ต้องไม่เกิน 500,000 บาท ในปีภาษีเดียวกัน
                                   (2) กรณีสามีหรือภริยามีเงินได้ฝ่ายเดียว ได้จ่ายเบี้ยประกันภัยในปีภาษี สำหรับการประกันชีวิตแบบบำนาญ ให้ยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินได้เท่าที่จ่ายเป็นเบี้ยประกันภัย สำหรับการประกันชีวิตแบบบำนาญของสามีหรือภริยาซึ่งเป็นฝ่ายผู้มีเงินได้เพิ่มขึ้นอีกในอัตราร้อยละ 15 ของเงินได้พึงประเมิน แต่ไม่เกิน 200,000 บาท

                                   กรณีสามีหรือภริยาซึ่งเป็นฝ่ายผู้มีเงินได้ได้จ่ายเงินสะสมเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือจ่ายเงินสะสมเข้ากองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ หรือจ่ายเงินสะสมเข้ากองทุนสงเคราะห์ตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน แล้วแต่กรณี หรือจ่ายเงินค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เงินที่ได้จ่ายดังกล่าว เมื่อรวมคำนวณกับเงินได้ที่ได้รับยกเว้นตามวรรคหนึ่ง ต้องไม่เกิน 500,000 บาท ในปีภาษีเดียวกัน

                                   ในกรณีสามีหรือภริยาของผู้มีเงินได้ ได้จ่ายเบี้ยประกันภัย สำหรับการประกันชีวิตแบบบำนาญเพียงอย่างเดียว หรือได้จ่ายเบี้ยประกันภัยสำหรับการประกันชีวิตแบบบำนาญและแบบอื่นด้วย แล้วแต่กรณี และความเป็นสามีภริยาได้มีอยู่ตลอดปีภาษี ให้สามีหรือภริยาซึ่งเป็นฝ่ายผู้มีเงินได้ มีสิทธิหักลดหย่อนสำหรับเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ หรือเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญและแบบอื่น แล้วแต่กรณี ของสามีหรือภริยาฝ่ายที่ไม่มีเงินได้ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 10,000 บาท ตามมาตรา 47(1)(ง) แห่งประมวลรัษฎากร
                                   (3) กรณีสามีภริยาต่างฝ่ายต่างมีเงินได้
                                        (ก) ถ้าความเป็นสามีภริยามิได้มีอยู่ตลอดปีภาษีที่ได้รับยกเว้นภาษี ให้ต่างฝ่ายต่างได้รับยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินได้เท่าที่จ่ายเป็นเบี้ยประกันภัย สำหรับการประกันชีวิตแบบบำนาญของสามีหรือภริยาซึ่งเป็นผู้มีเงินได้เพิ่มขึ้นอีกในอัตราร้อยละ 15 ของเงินได้พึงประเมิน แต่ไม่เกิน 200,000 บาท
                                        กรณีสามีหรือภริยาซึ่งเป็นผู้มีเงินได้ได้จ่ายเงินสะสมเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือจ่ายเงินสะสมเข้ากองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ หรือจ่ายเงินสะสมเข้ากองทุนสงเคราะห์ตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน แล้วแต่กรณี หรือจ่ายเงินค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เงินที่ได้จ่ายดังกล่าว เมื่อรวมคำนวณกับเงินได้ที่ได้รับยกเว้นตามวรรคหนึ่ง ต้องไม่เกิน 500,000 บาท ในปีภาษีเดียวกัน
                                        (ข) ถ้าความเป็นสามีภริยาได้มีอยู่ตลอดปีภาษีที่ได้รับยกเว้นภาษี และภริยาไม่ใช้สิทธิแยกยื่นรายการและเสียภาษีต่างหากจากสามีตามมาตรา 57 เบญจ แห่งประมวลรัษฎากร ให้ต่างฝ่ายต่างได้รับยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นเบี้ยประกันภัยในปีภาษี สำหรับการประกันชีวิตแบบบำนาญ เพิ่มขึ้นอีกในอัตราร้อยละ 15 ของเงินได้พึงประเมิน แต่ไม่เกิน 200,000 บาท
                                         กรณีสามีหรือภริยาซึ่งเป็นผู้มีเงินได้ได้จ่ายเงินสะสมเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือจ่ายเงินสะสมเข้ากองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ หรือจ่ายเงินสะสมเข้ากองทุนสงเคราะห์ตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน แล้วแต่กรณี หรือจ่ายเงินค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เงินที่ได้จ่ายดังกล่าว เมื่อรวมคำนวณกับเงินได้ที่ได้รับยกเว้นตามวรรคหนึ่ง ต้องไม่เกิน 500,000 บาท ในปีภาษีเดียวกัน
                                        (ค) ถ้าความเป็นสามีภริยาได้มีอยู่ตลอดปีภาษีที่ได้รับยกเว้นภาษี และภริยาใช้สิทธิแยกยื่นรายการและเสียภาษีต่างหากจากสามี ตามมาตรา 57 เบญจ แห่งประมวลรัษฎากร ให้ต่างฝ่ายต่างได้รับยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นเบี้ยประกันภัยในปีภาษี สำหรับการประกันชีวิตแบบบำนาญ เพิ่มขึ้นอีกในอัตราร้อยละ 15 ของเงินได้พึงประเมิน แต่ไม่เกิน 200,000 บาท
                                         กรณีสามีหรือภริยาซึ่งเป็นผู้มีเงินได้ได้จ่ายเงินสะสมเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือจ่ายเงินสะสมเข้ากองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ หรือจ่ายเงินสะสมเข้ากองทุนสงเคราะห์ตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน แล้วแต่กรณี หรือจ่ายเงินค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เงินที่ได้จ่ายดังกล่าว เมื่อรวมคำนวณกับเงินได้ที่ได้รับยกเว้นตามวรรคหนึ่ง ต้องไม่เกิน 500,000 บาท ในปีภาษีเดียวกัน
                                   ทั้งนี้ การใช้สิทธิยกเว้นภาษีตาม (ก) (ข) และ (ค) ต้องไม่เกินเงินได้พึงประเมินของแต่ละคนหลังจากหักค่าใช้จ่าย ตามมาตรา 42 ทวิ ถึงมาตรา 46 แห่งประมวลรัษฎากรแล้ว

                           “ข้อ 3 การได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตามประกาศนี้
                               (1) กรณีกรมธรรม์ประกันชีวิตแบบบำนาญที่ได้เริ่มทำตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป ผู้มีเงินได้ต้องแจ้งความประสงค์ที่จะใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ต่อผู้รับประกันภัยที่ได้เอาประกันไว้
                               (2)�กรณีกรมธรรม์ประกันชีวิตแบบบำนาญที่ได้ทำก่อนวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2563 หากผู้มีเงินได้เลือกไม่แจ้งความประสงค์การใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ต่อผู้รับประกันภัยที่ได้เอาประกันไว้ ผู้มีเงินได้ต้องมีหลักฐานจากผู้รับประกันภัยซึ่งได้รับรองว่า เป็นการจ่ายเบี้ยประกันภัยสำหรับการประกันชีวิตแบบบำนาญที่ได้รับยกเว้นภาษีตามประกาศฉบับนี้”
     (แก้ไขโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 362)ฯ ให้ใช้บังคับสำหรับเงินได้พึงประเมินประจำปี พ.ศ. 2562 ที่จะต้องยื่นรายการใน พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป)

                               “ข้อ 3/1 ผู้รับประกันภัยที่ได้รับแจ้งความประสงค์ตามข้อ 3 ต้องส่งข้อมูลของผู้เอาประกันต่อกองเทคโนโลยีสารสนเทศ กรมสรรพากร โดยจัดทำขึ้นเป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ตามรูปแบบและนำส่ง ตามวิธีการที่กำหนดบนเว็บไซต์ของกรมสรรพากร //www.rd.go.th
                               การแจ้งและการส่งข้อมูลตามวรรคหนึ่ง ให้แจ้งภายในวันที่ 7 มกราคมของปีถัดไป เว้นแต่อธิบดีจะกำหนดเป็นอย่างอื่น”
     (แก้ไขโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 362)ฯ ให้ใช้บังคับสำหรับเงินได้พึงประเมินประจำปี พ.ศ. 2562 ที่จะต้องยื่นรายการใน พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป)

                          

 ข้อ 4 กรณีผู้มีเงินได้ ได้ใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ตามข้อ 2 แล้ว และต่อมาได้ปฏิบัติไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ของข้อ 1 ผู้มีเงินได้หมดสิทธิได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตามข้อ 2 และต้องเสียภาษีเงินได้สำหรับปีภาษีที่ได้นำเงินค่าเบี้ยประกันชีวิตไปหักออกจากเงินได้เพื่อยกเว้นภาษีเงินได้มาแล้วนับตั้งแต่วันที่ได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ของปีภาษีนั้นๆ จนถึงวันที่ได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเพิ่มเติมเพื่อเสียภาษีเงินได้เพิ่มเติมของปีภาษีดังกล่าวพร้อมเงินเพิ่ม ตามมาตรา 27 แห่งประมวลรัษฎากร

                           ข้อ 5 การได้รับยกเว้นภาษีตามประกาศนี้ ให้ผู้มีเงินได้นำเงินได้ที่ได้รับยกเว้นภาษีไปคำนวณหักจากเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร เมื่อได้หักค่าใช้จ่ายตามมาตรา 42 ทวิ ถึงมาตรา 46 แห่งประมวลรัษฎากรแล้ว

                           ข้อ 6 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2553 เป็นต้นไป

ประกาศ ณ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

สาธิต รังคสิริ
(นายสาธิต รังคสิริ)
อธิบดีกรมสรรพากร

อาชีพไหนที่ไม่ต้องเสียภาษี

ทั้งนี้ วิชาชีพอิสระมีความคล้ายอาชีพฟรีแลนซ์ ที่มีความเป็นอิสระไม่ขึ้นกับบริษัท แต่จะต้องเป็นอาชีพที่ได้รับใบประกอบวิชาชีพเฉพาะทาง และถูกกำหนดไว้ในกฎหมายซึ่งได้แก่ แพทย์และพยาบาลประกอบโรคศิลปะ เช่น กลุ่มเวชกรรม เภสัชกรรม ทันตกรรม เภสัชกรรม การพยาบาล การผดุงครรภ์ กายภาพบำบัด เทคนิคการแพทย์

เงินที่ได้จากพ่อแม่ต้องเสียภาษีไหม

หลายคนก็คงคุ้นเคยกับการได้รับเงินและการให้เงินกับพ่อแม่ ญาติพี่น้อง หรือแม้แต่เพื่อนสุดที่รักอยู่แล้ว แต่ทราบหรือไม่ว่า "การให้โดยเสน่หา" เหล่านี้ ต้องเสียภาษีด้วย ซึ่งจัดเป็น “ภาษีการรับให้”

บุคคลธรรมดา ขาย ลอตเตอรี่ เสียภาษี ไหม

28 กันยายน 2565 เวลา 9:18 น. “สรรพากร” แจงอยู่ระหว่างพิจารณา-หาข้อสรุปหลังแพลตฟอร์มเอกชนโชว์มอบเงินสดจูงใจให้ลูกค้ามาซื้อสลาก พร้อมอ้างว่าไม่หักค่าใช้จ่าย ระบุอาจเข้าข่ายเป็นเงินได้ ต้องนำมาคำนวณเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

บุคคลใดบ้างที่ได้รับการยกเว้น ไม่ต้องเสียภาษีเงินได้

ตัวอย่าง เงินได้ที่ได้รับยกเว้นภาษี เงินประโยชน์ทดแทนที่ผู้ประกันตนได้รับจากกองทุนประกันสังคม จากกรณีเจ็บป่วยหรือประสบอันตราย, คลอดบุตร, ทุพพลภาพ, เสียชีวิต, สงเคราะห์บุตร, ชราภาพ หรือว่างงาน เป็นต้น เบี้ยประชุมกรรมาธิการหรือกรรมการ หรือค่าสอน ค่าสอบที่ทางราชการหรือสถานศึกษาของทางราชการจ่ายให้

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ศัพท์ทางทหาร military words แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 พจนานุกรมศัพท์ทหาร ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง ไทยแปลอังกฤษ ประโยค lmyour แปลภาษา การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ประปาไม่ไหล วันนี้ ฝยก. ย่อมาจาก หยน ห่อหมกฮวก แปลว่า เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษาจีน ่้แปลภาษา onet ม3 การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 1 ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง ตตตตลก บบบย ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ เขียน อาหรับ แปลไทย เนื้อเพลง ห่อหมกฮวก แปลไทย asus zenfone 2e กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น การประปานครหลวง ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบภาษาอังกฤษ ม.ปลาย พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ชขภใ ชื่อเต็ม ร.9 คําอ่าน ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน นยน. ย่อมาจาก ทหาร บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ฝสธ. ย่อมาจาก มัดหัวใจเจ้าชายเย็นชา 2 ซับไทย มัดหัวใจเจ้าชายเย็นชา 2 เต็มเรื่อง ยศทหารบก เรียงลําดับ ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 รัชกาลที่ 10 ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คอร์ด