จำเป็นต้อง ถอดปลั๊ก ทีวี ไหม

  • 17 มิ.ย. 2019 เวลา 05:00 • การศึกษา

เสียบปลั๊กทิ้งไว้ตลอดกินไฟแค่ไหน?

เป็นอีกหนึ่งเรื่องที่หลายคนอาจจะละเลยไปสำหรับการเสียบปลั๊กอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ ยิ่งปัจจุบันอุปกรณ์ไฟฟ้าที่เราใช้มีจำนวนมากขึ้น จากบรรดา Gadget รอบตัวที่เราใช้งานอยู่ ยิ่งใช้งานมาก ยิ่งกินพลังงานมาก เราก็ยิ่งต้องการชาร์จไฟบ่อยครั้งขึ้น หรือบางคนก็ใช้วิธีเสียบไว้ตลอดเลย จะได้พร้อมใช้งานตลอดเวลา ทำให้ไปๆ มาๆ เราก็ลืมเรื่องการใช้พลังงานไฟฟ้าจากการเสียบปลั๊กอุปกรณ์ไฟฟ้าไปเลย

และขึ้นชื่อว่าอุปกรณ์ไฟฟ้าแล้ว ทุกชนิดกินไฟแน่นอน ดังนั้น กรณีที่เราเสียบปลั๊กไฟทิ้งไว้ แม้ไม่ได้ใช้งานอุปกรณ์ไฟฟ้าชิ้นนั้น ก็กินไฟ เพียงแต่การกินไฟนั้น ไม่ได้มากเท่า เมื่อเทียบกับมีการเริ่มต้นใช้งาน ยกเว้นเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ต้องเสียบไว้ตลอด เพราะทำงานตลอด เช่น ตู้เย็น ก็จะกินไฟต่อเนื่อง แม้ว่าเราไม่ได้เปิดตู้เย็นเพื่อหยิบของก็ตาม จึงไม่แปลกที่ตู้เย็นจะเป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าที่กินไฟอันดับต้นๆ เพราะต้องเสียบใช้งานเพื่อทำความเย็นตลอดเวลา และเมื่อเปิดตู้เย็นทุกครั้ง ตัวเครื่องก็จะทำงานมากขึ้น ใช้พลังงานมากขึ้น ก็กินไฟมากขึ้น

ยกตัวอย่าง

● เสียบทีวีทิ้งไว้ ทีวีจะกินไฟประมาณ = 10 วัตต์ ต่อ 1 ชั่วโมง

● สมมุติว่าใน 1 เสียบปลั๊กทีวีทิ้งไว้ 20 ชั่วโมงโดยไม่ได้ใช้งาน

● 10 วัตต์ x 20 ชม. = 200 วัตต์ ต่อวัน หนึ่งเดือน 30 วัน ก็เท่ากับ 6000 วัตต์

● 1,000 วัตต์ เท่ากับ 1 หน่วยไฟฟ้า ดังนั้น 6,000 วัตต์ เท่ากับ 6 หน่วยไฟฟ้า

● ค่าไฟฟ้ามีอัตราหน่วยละประมาณ 7 บาท (อ้างอิงราคาจากหอพัก อพาร์ทเมนต์)

● เท่ากับในหนึ่งเดือนต้องเสียค่าไฟฟ้าของทีวีที่ไม่ได้ใช้งาน ที่ 6 หน่วย x 7 บาท = 42 บาท ต่อ เดือน

หากจะสรุปให้ฟังง่ายๆ เลยก็คือ การเสียบปลั๊กไฟให้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าทุกชนิดไว้ตลอด ถือว่ากินไฟ แต่ระดับการกินไฟมากหรือน้อยนั้นจะแตกต่างกันไปตามชนิดของเครื่องใช้ไฟฟ้า และระยะเวลาในการเปิดใช้งาน โดยเครื่องใช้ไฟฟ้าที่กินไฟเป็นอันดับต้นๆ ได้แก่ เครื่องปรับอากาศ, เครื่องทำน้ำอุ่น, ตู้เย็น, โทรทัศน์, พัดลม, หลอดไฟ, คอมพิวเตอร์และโน๊ตบุ๊ค, หม้อหุงข้าว, หม้อต้มน้ำร้อน และเตารีด

อุปกรณ์ไฟฟ้าบางชนิดกินไฟด้วยตัวมันเองและใช้งานบ่อย เช่น เครื่องปรับอากาศ เครื่องทำน้ำอุ่น ค่าใช้จ่ายในการใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าชนิดนี้จึงสูง ส่วนอุปกรณ์บางชนิดกินไฟมาก เพียงแต่ถ้าใช้งานไม่บ่อย ค่าใช้จ่ายอุปกรณ์ไฟฟ้าชนิดนี้ก็จะไม่สูง อย่างเตารีด แนะนำว่าถ้าจะรีดผ้า ควรรีดครั้งหนึ่งจำนวนเยอะๆ เช่น เลือกรีดสัปดาห์ละครั้งก็จะช่วยประหยัดไฟได้มาก ส่วนอุปกรณ์ไฟฟ้าบางชนิด อาจจะไม่กินไฟมาก แต่เนื่องจากต้องเสียบไว้ต่อเนื่อง ค่าใช้จ่ายอุปกรณ์ไฟฟ้าชนิดนี้จึงสูง เช่น ตู้เย็น เป็นต้น

แต่นอกจากเรื่องการสิ้นเปลืองพลังงานแล้ว การเสียบปลั๊กไฟไว้ตลอดโดยไม่จำเป็น ยังอาจส่งผลให้เกิดอันตรายด้วย เพราะอาจจะเกิดการช็อตจนทำให้เกิดประกายไฟเป็นเหตุให้เกิดเพลิงไหม้ได้ ซึ่งเป็นเรื่องที่ต้องการระวังเช่นกัน หรือแม้แต่การใช้ปลั๊กพ่วง เพื่อความสะดวกในการใช้อุปกรณ์ไฟฟ้า ก็ต้องระวังเช่นกัน เพราะหากเลือกใช้ปลั๊กชาร์จไฟไม่ได้คุณภาพ อาจเกิดความร้อนทำให้ไฟลัดวงจรและเกิดไฟไหม้ได้

ดังนั้น ถ้าไม่ได้ใช้งาน และไม่จำเป็นต้องเสียบปลั๊กไฟทิ้งไว้ แนะนำให้ถอดปลั๊กทุกครั้งเมื่อไม่มีการใช้งาน โดยเฉพาะโทรทัศน์, คอมพิวเตอร์/ โน๊ตบุ๊ค ดูจะเป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าอันดับต้นๆ ที่เรามักละเลย เสียบปลั๊กทิ้งไว้ แม้จะไม่ได้ใช้งาน เพราะต้องการความสะดวกเมื่อต้องใช้งาน แต่การถอดปลั๊กบ่อยๆ ก็อาจทำให้เต้าเสียบหลวมและทำให้เกิดไฟช็อตได้เช่นกัน

ทั้งนี้ ผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงานหลายท่านแนะนำว่า เพื่อความปลอดภัยควรใช้ปลั๊กพ่วงที่มีปุ่มเปิด-ปิดไฟ เมื่อใช้งานก็เปิดปุ่มบนแผงปลั๊กพ่วง เมื่อไม่ใช้งานก็ปิด ก็พอจะช่วยได้เช่นกัน เพียงแต่ควรเลือกปลั๊กพ่วงที่มีคุณภาพเท่านั้นเอง

ถ้าต้องถอดปลั๊กอุปกรณ์รับสัญญาณหลายวัน จะมีผลต่ออุปกรณ์รับสัญญาณหรือไม่

ในกรณีที่ถอดปลั๊กไฟฟ้าของอุปกรณ์รับสัญญาณออก เมื่อเสียบปลั๊กอุปกรณ์ใหม่ เครื่องรับสัญญาณจะทำการตรวจสอบข้อมูลต่างๆ โดยอัตโนมัติ ก่อนที่จะเริ่มต้นทำงานใหม่ ซึ่งอาจมีผลทำให้ไม่สามารถรับชมสัญญาณภาพได้ในทันที โดยจะใช้ระยะเวลาประมาณ 1 - 2 นาที ถึงจะรับชมสัญญาณได้ตามปกติ

แต่ถ้าในขณะที่เครื่องกำลังการตรวจสอบข้อมูลต่างๆ แล้วพบว่ามีความผิดปกติเกิดขึ้น กับส่วนใดๆ ของเครื่องรับสัญญาณ ซึ่งอาจทำให้อุปกรณ์รับสัญญาณไม่สามารถทำงานได้ เครื่องรับสัญญาณจะปรากฎข้อความแจ้งปัญหาที่เกิดขึ้น หรือหากยังไม่สามารถรับชมภาพได้ ให้ส่งสัญญาณซ้ำ E16 โดยสามารถขอส่งได้จากเครื่องตอบรับอัตโนมัติ โทร. 0-2900-9119

เนื้อหานี้มีประโยชน์หรือไม่ กดที่ดาวเพื่อให้คะแนนความพอใจค่ะ

          ปฏิเสธไม่ได้ว่าคนส่วนใหญ่ในสมัยนี้ต้องพึ่งไฟฟ้ากันแทบจะทุกอย่าง เนื่องจากเป็นส่วนช่วยอำนวยความสะดวกในการใช้ชีวิตประจำวัน ตั้งแต่กิน นอน เล่น เลยก็ว่าได้ จึงทำให้รัฐบาลต้องช่วยกันรณรงค์การประหยัดพลังงานไฟฟ้ากันมากขึ้น และยังมีความเชื่อหลายๆ อย่างเกี่ยวกับการประหยัดไฟฟ้าที่ไม่เป็นความจริง แต่คนเราก็เชื่อกันมายาวนานอีกด้วย

          ไขข้อสงสัย เกี่ยวกับ 5 ความเชื่อเดิมๆ กับการประหยัดค่าไฟ ซึ่งหลายคนเชื่อต่อๆ กันมาว่าจะช่วยประหยัดไฟได้จริง แต่ความจริงแล้วมันเป็นยังไงกันแน่ ต้องตามมาดูกันค่ะ

 


1. ตู้เย็นเล็กประหยัดไฟกว่าตู้เย็นใหญ่

คำตอบคือ ไม่จริง

          เพราะไม่ว่าจะตู้เย็นเล็กหรือใหญ่ ก็กินไฟเท่าๆ กัน ทั้งนี้หากต้องการให้ตู้เย็นประหยัดไฟล่ะก็ ควรตั้งตู้เย็นให้ห่างจากผนังประมาณ 15 ซม. เพื่อช่วยให้ระบบระบายความร้อนทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

          และอย่าตั้งตู้เย็นไว้ใกล้แหล่งความร้อน เช่น ใกล้เตาไฟฟ้าหรือหม้อหุงข้าวนะคะ เพราะจะทำให้ระบบการระบายความร้อนทำงานหนักขึ้น


2. ปิดทีวีที่เครื่องแทนรีโมทช่วยประหยัดไฟ

คำตอบคือ ไม่จริง

          “อย่าปิดทีวีด้วยรีโมท ปิดที่สวิตซ์เอาจะได้ไม่เปลืองไฟ” คำนี้อาจจะเคยได้ยินผ่านหูทุกคนมาบ้างนะคะ แต่จะบอกว่า ไม่ได้ช่วยประหยัดไฟจริงๆสักวิธีเพราะถึงแม้จะกดปิดสวิตซ์ที่เครื่องแล้ว แต่ถ้ายังเสียบปลั๊กคาไว้ ไฟฟ้าก็ยังสามารถไปเลี้ยงวงจรส่วนหนึ่งได้อยู่ดี ซึ่งวิธีประหยัดไฟที่ถูกต้องคือการถอดปลั๊กทีวีออก ต่างหากค่ะ

          และทางออกที่ดีที่สุดสำหรับปัญหานี้คือการใช้ปลั๊กพ่วงที่มีสวิตซ์เปิด – ปิด นั่นเองค่ะ เพียงแค่กดสวิตซ์ครั้งเดียวก็สามารถเปิด – ปิดการทำงานของเครื่องได้แล้ว แถมยังช่วยยืดอายุการใช้งานจากการถอดๆ เสียบๆ ปลั๊กได้อีกด้วยล่ะค่ะ

 

3. เปิดแอร์ 25 องศาฯ ประหยัดไฟ

คำตอบคือ ไม่จริง

          แต่ก็ไม่เสียทั้งหมดนะคะ เพราะโดยปกติแล้วการเปิดแอร์ให้รู้สึกเย็นสบายนั้น แค่ 26-28 องศาก็เย็นได้แล้ว แต่คนไทยส่วนใหญ่มักตั้งที่ 18-24 องศาเพื่อให้เย็นฉ่ำเนี่ยสิ จึงต้องรณรงค์ให้ประหยัดไฟที่ 25 องศา ซึ่งเป็นค่ากลาง แน่นอนว่าประหยัดไฟได้ในส่วนหนึ่ง

          แต่วิธีประหยัดไฟจริงๆ คือ การล้างแอร์เป็นประจำ ต่างหากค่ะ เพราะการปล่อยให้แอร์เต็มไปด้วยฝุ่นนั้นจะทำให้เครื่องยนต์แอร์ต้องทำงานหนักขึ้นเพื่อเร่งสร้างความเย็น จนกลายเป็นสาเหตุของการดึงค่าไฟให้พุ่งสูงขึ้นนั่นเอง

 

4. เปิดพัดลมคู่กับแอร์ช่วยประหยัดไฟ

คำตอบคือ จริง

          โดยให้เปิดพัดลมและแอร์คู่กันตั้งแต่แรก และตั้งอุณภูมิแอร์ไว้ที่ 27 องศา พัดลมจะช่วยให้ความเย็นจากแอร์ครอบคลุมไปทุกพื้นที่ได้เร็วมากยิ่งขึ้น และยังเป็นการช่วยให้ระบบระบายความร้อนในแอร์ทำงานน้อยลงอีกด้วยค่ะ

          ทั้งนี้อย่าลืมหมั่นทำความสะอาดพัดลมด้วยนะคะ เพราะยิ่งพัดลมสะอาดเท่าไหร่ พลังความเย็นก็จะมีมากขึ้นเท่านั้นค่ะ


5. อย่าปิด – เปิด แอร์บ่อย เพราะมันเปลืองไฟ

คำตอบ ไม่จริง

          การเปิดแอร์ค้างไว้เป็นเวลานานต่างหากที่ทำให้ค่าไฟพุ่งสูงขึ้น จริงอยู่ว่าช่วงที่กดเปิดแอร์นั้น จะใช้พลังงานที่ค่อนข้างสูงในการขับเคลื่อน แต่ก็เป็นเพียงระยะสั้นๆ เท่านั้นค่ะ เพราะต่อให้คุณเปิด-ปิดแอร์ติดต่อกันสัก 5 รอบภายใน 1 นาที ค่าไฟของคุณก็จะยังคงน้อยกว่าการเปิดแอร์ค้างไว้เป็นชั่วโมงอยู่ดี นี่เป็นเพียงการยกตัวอย่างให้เห็นภาพเท่านั้นนะคะ

          เพราะการเปิด-ปิดแอร์ถี่เกินไปนั้นจะเป็นการทำให้เครื่องยนต์ทำงานหนักเกิน จนอายุการใช้งานของแอร์นั้นสั้นลงได้ค่ะ

ที่มา : naibann.com , ISSARA

ทีวีเสียบปลั๊กพ่วงได้ไหม

#ไม่เสียบปลั๊กพ่วงกับเครื่องใช้ไฟฟ้าอย่างถาวร หลายบ้านอาจทำอยู่รีบถอดออกด่วนๆ เลย ปลั๊กพ่วงถูกออกแบบมาให้เสียบชั่วคราวเท่านั้นไม่ได้ใช้เสียบอย่างถาวร ถ้าใช้ไฟน้อยอย่างทีวี หรือชาร์จมือถือไม่เป็นไร คอมพิวเตอร์ ตู้เย็น ไม่ได้เลยเด็ดขาดปลั๊กพ่วงเรากำลังไฟไม่ไหวขนาดนั้น แนะนำควรเดินสายไฟ ติดเต้ารับเพิ่มจุดที่จะใช้น่าจะ ...

ไม่ถอดปลั๊ก กินไฟไหม

🔌 เชื่อว่าหลายคนๆคงเคยเสียบ #ปลั๊กไฟ ไว้เพราะคิดว่ามันไม่ได้เปลืองไฟ เนื่องจากไม่ได้เปิดใช้งานอุปกรณ์ไฟฟ้านั้นๆ แต่จริงๆ แล้วความเชื่อเหล่านี้เป็นสิ่งที่ “ผิด” 🔌 เพราะในขณะที่เราเสียบปลั๊กไว้ ยังคงมีพลังงานไฟฟ้าไหลออกอยู่เรื่อยๆ ถึงแม้เราจะปิดเครื่องใช้ไฟฟ้าแล้วก็ตาม ทำให้สิ้นเปลืองพลังงานและค่าไฟฟ้านั่นเอง

ควรปิดทีวีแบบไหน

เวลาปิด LED TV เราควรต้องปิดทีวีที่รีโมทก่อน แล้วค่อยปิดสวิทช์ปลั๊กไฟ หรือ ปิดสวิทช์ปลั๊กไฟได้เลยครับ

ถอดปลั๊กตู้เย็น ได้ไหม

หากคุณจะไม่อยู่บ้านเป็นเวลาหนึ่งเดือนหรือนานกว่านั้น คุณควรถอดปลั๊กตู้เย็นออกเพื่อประหยัดพลังงาน นำของออกจากตู้ ระบายน้ำออกจากแท้งค์น้ำหากเป็นรุ่นที่มีแท้งค์น้ำ ทำความสะอาดด้านในเครื่องและเปิดประตูทิ้งไว้เพื่อป้องกันไม่ให้มีกลิ่นไม่พึงประสงค์

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ศัพท์ทางทหาร military words แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 พจนานุกรมศัพท์ทหาร ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง ไทยแปลอังกฤษ ประโยค lmyour แปลภาษา การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ประปาไม่ไหล วันนี้ ฝยก. ย่อมาจาก หยน ห่อหมกฮวก แปลว่า เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษาจีน ่้แปลภาษา onet ม3 การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 1 ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง ตตตตลก บบบย ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ เขียน อาหรับ แปลไทย เนื้อเพลง ห่อหมกฮวก แปลไทย asus zenfone 2e กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น การประปานครหลวง ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบภาษาอังกฤษ ม.ปลาย พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ชขภใ ชื่อเต็ม ร.9 คําอ่าน ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน นยน. ย่อมาจาก ทหาร บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ฝสธ. ย่อมาจาก มัดหัวใจเจ้าชายเย็นชา 2 ซับไทย มัดหัวใจเจ้าชายเย็นชา 2 เต็มเรื่อง ยศทหารบก เรียงลําดับ ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 รัชกาลที่ 10 ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คอร์ด