ปริญญานิพรธ์กับวิทยานิพนธ์เหมือนกันไหม

วิทยานิพนธ์ (เข้มข้น) คือ

งานวิทยานิพนธ์หรืองานวิจัยระดับอุดมศึกษา อันเป็นผลงานจากการค้นคว้าวิจัย เป็นงานเขียนวิชาการที่นักศึกษาทุกคนโดยเฉพาะในระดับปริญญาโทและเอกต้องจัดทำขึ้นเพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการจบการศึกษา รับปริญญา เพื่อเป็นเกียรติคุณและ เป็นไปเบิกทางในสายอาชีพต่างๆ ที่ตนเองสนใจในอนาคต

สารนิพนธ์ คือ

การค้นคว้าอิสระ (Independent Study) หมายถึง การศึกษาวิจัยอิสระ โดยอาศัยการกลั่นกรองความรู้และสาระในเนื้อหาต่างๆ ที่มีผู้ศึกษาวิจัยไว้แล้ว การค้นคว้าอิสระที่ได้มาจากการอ่าน การรวบรวมวิเคราะห์ของผู้เขียนแล้วนำมาสรุปผลให้เป็นเรื่องเดียวกัน

สารนิพนธ์ต่างจากวิทยานิพนธ์ ในเรื่องของแนวคิด (concept) หรือตัวแปร (variable) ตัวเดียว ใช้สถิติหรือการวิเคราะห์อย่างง่าย และจำกัดบริบทที่ศึกษา ระยะเวลาที่ชัดเจน แต่จะไม่เข้มข้นเรื่องคุณภาพของความถูกต้อง (validity) และความเชื่อมั่น (reliability มากกว่า) เท่ากับทางด้านวิทยานิพนธ์ ดังนั้นการตัดสินใจเลือกว่า จะทำสารนิพนธ์หรือวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาโท

มีปัจจัยสำคัญในการเลือกสารนิพนธ์ ข้อดีคือ ไม่ยุ่งยาก เป็นการเรียนการสอนของหลักสูตร แต่ข้อเสียคือนักศึกษาไม่มีประสบการณ์เต็มที่ในการเขียนงานวิจัย อาจจะไม่สามารถใช้ในการศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้นไป หรืออาจจะมีปัญหาไม่ได้รับการยอมรับ เมื่อเราทำหน้าที่ทางวิชาการ เช่น อาจารย์ ครู ในทางตรงกันข้ามกับการเลือกทำวิทยานิพนธ์มีข้อดีคือทำให้นักศึกษามีความรู้ เป็นที่ยอมรับทางวิชาการ และมีโอกาสเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาเอกที่ตั้งมาตรฐานการสอบคัดเลือก แต่จะใช้ระยะเวลาสำหรับการศึกษาเกินกว่าหลักสูตรกำหนดเป็นปกติ

การทำงานวิจัยนักศึกษาต้องตั้งโจทย์หรือคำถามการวิจัย (research question) ให้ถูกต้องเหมาะสม ควรเป็นคำถามที่เฉพาะเจาะจง เพราะคือการหาคำตอบจากคำถามการวิจัยให้ครบถ้วน ถ้าตั้งคำถามไม่ชัดเจนหรือมากเกินไป คำตอบก็ไม่ชัดเจนหรือไม่ถูกต้องเช่นกัน ส่วนเครื่องมือเก็บข้อมูลการวิจัย แบ่งง่ายๆ เป็นเครื่องมือเก็บข้อมูลเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถามซึ่งก็คือมาตรประมาณค่า (rating scale) และเครื่องมือเก็บเครื่องมือเชิงคุณภาพ ส่วนใหญ่เป็นแบบสัมภาษณ์ (interview form)

หลักการเขียนโครงการสารนิพนธ์ (สารนิพนธ์ ต่างจาก วิทยานิพนธ์ อย่างไร)

ส่วนแรกจะเป็นการเขียนการคัดเลือกชื่อเรื่อง ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ซึ่งชื่อเรื่องต้องใช้คำกะทัดรัด ชัดเจน ไม่คลุมเครือ และชื่อเรื่องควรสะท้อนหรือชี้ถึงประเด็นปัญหาของการวิจัย

การเขียนความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา เป็นส่วนของการชี้ให้เห็นที่มาของประเด็นปัญหาหรือข้อคำถามที่จะทำการศึกษาหาคำตอบ ชี้ให้เห็นว่ามีผู้เสนอแนวคิดหรือทฤษฎีสำหรับตอบคำถามนั้นอย่างไร

– การเขียนวัตถุประสงค์การวิจัย คือ ส่วนของการวางเป้าหมายที่จะทำการวิจัยไว้ล่วงหน้า กำหนดเกณฑ์มาตรฐาน การเขียนใช้ภาษาชัดเจน เข้าใจง่าย ไม่วกวน ชัดเจน ใช้ประโยคบอกเล่า ไม่ใช่ประโยคคำถามและปฏิเสธ

– การเขียนขอบเขตการวิจัย คือ ส่วนของการเขียนระบุว่าพื้นที่ อาณาเขตของงานวิจัยเรื่องนั้นๆ จะศึกษาภายในขอบเขตกว้างแคบแค่ไหนเพียงไร เกณฑ์มาตรฐานการเขียนระบุขอบเขตประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่จะใช้ในการศึกษาให้ชัดเจน ระบุขอบเขตตัวแปรในการวิจัย ตัวแปรอิสระและตัวแปรตามที่จำเป็นจะต้องใช้ในการทำงานวิจัย

– กรอบแนวคิดในการวิจัย คือ ส่วนของการกำหนดเกณฑ์มาตรฐานการเขียนตัวแปรแต่ละตัวที่เลือกศึกษา ต้องมีพื้นฐานเชิงทฤษฎีว่า มีความสัมพันธ์หรือเกี่ยวข้องกับสิ่งที่ต้องการศึกษา ตรงประเด็นในด้านเนื้อหาสาระ รูปแบบสอดคล้องกับวัตถุประสงค์การวิจัย โดยการเขียนปัญหาที่ต้องการทราบหรือต้องการตอบ คือการเขียนระบุลงไปให้ชัดเจนว่างานวิจัยเรื่องนั้นต้องการตอบปัญหาอะไรเรื่องนั้น

– สมมติฐานการวิจัย คือ ส่วนของการกำหนดเกณฑ์มาตรฐานการเขียนเป็นคำตอบปัญหาการวิจัยล่วงหน้าที่ผู้วิจัยคาดคะเนว่าจะเป็นอย่างนั้นและสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ เป็นคำตอบล่วงหน้าที่สอดคล้องกับความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต้นกับตัวแปรตาม เป็นสมมติฐานที่ตั้งขึ้นจากหลักฐานข้อมูลเบื้องต้นและจากแนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้องซึ่งจะปรากฎในบทถัดไป

– นิยามศัพท์เฉพาะ คือ ส่วนที่ใช้ในการบอกกล่าว เกณฑ์มาตรฐานการเขียนศัพท์ที่จะนิยามต้องใช้ในความหมายเฉพาะเจาะจงหรือความหมายพิเศษเท่านั้น ศัพท์ที่จะนิยามควรเป็นคำหลัก (Keyword) ของงานวิจัยเท่านั้น และต้องนิยามให้ครอบคลุม กำหนดเฉพาะความหมาย ขอบเขตของพื้นที่ที่ผู้วิจัยใช้ในการดำเนินงานวิจัย

– การทบทวนเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง คือ ส่วนที่จะทบทวนข้อมูลทุกหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับสารนิพนธ์ จะนำมาทบทวนต้องมีเนื้อหาหรือมีประเด็นการศึกษาเกี่ยวข้องกับเรื่องที่จะดำเนินการศึกษา เอกสารและงานวิจัยที่จะนำมาทบทวนควรมีมาตรฐานทางวิชาการ การทบทวนเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องนำมาบรรยายให้เห็นข้อมูลพัฒนาการขององค์ความรู้ด้านนั้น ๆ

– วิธีดำเนินการวิจัย คือ ส่วนของการกำหนดการชี้แจงรายละเอียดว่า เวลาลงมือทำวิจัยในแต่ละหัวข้อ เราจะมีข้อมูล วิธีการ และขั้นตอนการเก็บหลักฐานข้อมูลสำหรับปัญหาการวิจัยอย่างไร จะใช้เครื่องมืออะไรเก็บข้อมูล เช่น แบบสอบถาม การสัมภาษณ์เชิงลึก การสังเกต การสนทนากลุ่ม หรือสถิติแบบใดบ้าง

– ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ คือ ส่วนของการเขียนคาดการณ์ล่วงหน้าว่า เมื่อการทำงานวิจัยเรื่องนั้นๆ สำเร็จแล้วจะมีประโยชน์อะไรเกิดขึ้นบ้าง กับหน่วยงานใด องค์กร ชุมชนใดบ้าง

บทที่ 4. ผลการวิจัย (Results) เป็นการรายงานผลการวิเคราะห์ข้อมูลทั้งหมดโดยละเอียดอาจนำเสนอด้วยการบรรยายหรือนำเสนอในรูปตาราง กราฟ ภาพ เพื่อให้การตีความหมายข้อมูลชัดเจนยิ่งขึ้น

บทที่ 5. อภิปรายและสรุปผล (Discussion and Conclusion) หรือสรุปและอภิปรายผล (Conclusion and Discussion)  การอภิปรายผลในส่วนนี้ผู้วิจัยจะต้องนำประเด็นสำคัญของผลการศึกษามาอภิปรายว่าผลที่ค้นพบ สนับสนุนหรือ  ขัดแย้งกับทฤษฎีหรือตรงกับการศึกษาของผู้อื่นหรือไม่อย่างไร  หรือที่ได้กล่าวไว้ในวรรณกรรมประการใด โดยอ้างอิงทฤษฎี แนวคิดและผลการวิจัยของผู้อื่น หรือข้อมูลประกอบเพื่อยืนยันผลที่ได้รับจากการวิจัยของผู้วิจัย มีการค้นพบใหม่เกิดขึ้นหรือไม่ เมื่ออภิปรายผลจบแล้ว ให้ผู้วิจัยสรุปผลการวิจัยเฉพาะประเด็นสำคัญในดุษฎีนิพนธ์ทั้งหมด

บรรณานุกรม คือ ส่วนของรายการเอกสารต่าง ๆ ที่นำมาใช้อ้างอิงหรือประกอบศึกษาค้นคว้าในงานวิจัยแต่ละเรื่อง จะกำหนดเป็นมาตรฐานต่างๆ ขึ้นอยู่กับแต่ละสถาบันกำหนดไว้ เช่น APA

ประวัติผู้วิจัย เป็นส่วนข้อมูลที่แสดงให้ทราบถึงภูมิหลังด้านการศึกษา มีประสบการณ์ มีผลงานทางวิชาการ และมีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ที่สอดคล้องกับเรื่องที่จะทำการศึกษาหรือไม่อย่างไร ซึ่งไม่แปลกสำหรับสถานะนักศึกษานิสิตที่จะมีเพียงข้อมูลเบื้องต้น

การเขียนสารบัญชั่วคราว เป็นการวางโครงสร้างเนื้อหาของงานวิจัยให้เห็นว่าในแต่ละบทมีประเด็นที่จะศึกษาอย่างไรบ้าง

เชิงอรรถ (Footnote) คือ การทำรายการเอกสารอ้างอิงหรือคำอธิบายเพิ่มเติมที่อยู่ด้านล่างของข้อความในหน้ากระดาษแต่ละหน้า

สรุป สารนิพนธ์ ต่างจาก วิทยานิพนธ์ อย่างไรนั้น หลักการของสารนิพนธ์สารนิพนธ์ในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกันต้องมีคุณภาพและมาตรฐานทางวิชาการเช่นเดียวกัน การจัดกระบวนการเรียนรู้ของรายวิชา สารนิพนธ์ ในหลักสูตรต่างๆ อาจมีความแตกต่างกันได้ แต่ต้องมุ่งให้บรรลุวัตถุประสงค์ ที่กำหนดไว้ในหลักสูตรนั้นๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด

หากสงสัยหัวข้อวิทยานิพนธ์ทำยังไง คลิ๊ก!!! หรือ FB: iamthesis

 16,351 total views,  2 views today

จำนวนคนดู: 23,662

วิทยานิพนธ์ ต่างจาก ปริญญานิพนธ์ยังไง

ดังนั้น สารนิพนธ์กับวิทยานิพนธ์ แตกต่างกันอย่างเป็นได้ชัดคือ หลักการของการทำงานสารนิพนธ์สารนิพนธ์จะมีเฉพาะในบางสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อในหลักสูตรต่างๆ และจะต้องทำการศึกษาที่มีคุณภาพและมาตรฐานทางวิชาการเช่นเดียวการทำงานวิทยานิพนธ์ ซึ่งอาจจะมีกระบวนการในการศึกษาวิจัยที่ไม่ซับซ้อนหรือเข้มข้นเท่ากับการทำงานวิทยานิพนธ์

วิทยานิพนธ์ ป.โท เรียกอะไร

- .เอก --> วิทยาพินธ์ อื่นๆ เรียกได้หลายหลาย แล้วแต่หลักสูตร/มหาวิทยาลัย - อังกฤษ .ตรี เรียก Project, Dissertation, etc. .โท เรียก Dissertation .เอก เรียก Thesis.

วิทยานิพนธ์ คือปริญญาอะไร

วิทยานิพนธ์ และปริญญานิพนธ์ หมายถึง ผลงานทางวิชาการที่นําเสนออย่างเป็นระบบ บนพื้นฐานจากการค้นคว้าและวิจัย เป็นข้อกําหนดอย่างหนึ่งในการศึกษาระดับปริญญาโทและปริญญาเอก รูปแบบของวิทยานิพนธ์เป็นไปตามข้อกําหนดของแต่ละมหาวิทยาลัย ตรงกับภาษาอังกฤษว่า thesis.

ปริญญานิพนธ์ มีอะไรบ้าง

ส่วนประกอบของปริญญานิพนธ์ ปริญญานิพนธ์ ที่เป็นรูปเล่มสมบูรณ์ มีส่วนประกอบที่สาคัญ 3 ส่วน คือ 1. ส่วนนา 1.1 ปกนอก 1.2 ใบรองปก 1.3 ปกใน 1.4 หน้าอนุมัติ 1.5 บทคัดย่อ 1.6 กิตติกรรมประกาศ 1.7 สารบัญ 1.8 สารบัญตาราง 1.9 สารบัญภาพ 1.10 สัญลักษณ์ค าย่อและตัวย่อ (ถ้ามี)

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ศัพท์ทางทหาร military words แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 พจนานุกรมศัพท์ทหาร ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง ไทยแปลอังกฤษ ประโยค lmyour แปลภาษา การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ประปาไม่ไหล วันนี้ ฝยก. ย่อมาจาก หยน ห่อหมกฮวก แปลว่า เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษาจีน ่้แปลภาษา onet ม3 การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 1 ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง ตตตตลก บบบย ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ เขียน อาหรับ แปลไทย เนื้อเพลง ห่อหมกฮวก แปลไทย asus zenfone 2e กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น การประปานครหลวง ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบภาษาอังกฤษ ม.ปลาย พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ชขภใ ชื่อเต็ม ร.9 คําอ่าน ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน นยน. ย่อมาจาก ทหาร บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ฝสธ. ย่อมาจาก มัดหัวใจเจ้าชายเย็นชา 2 ซับไทย มัดหัวใจเจ้าชายเย็นชา 2 เต็มเรื่อง ยศทหารบก เรียงลําดับ ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 รัชกาลที่ 10 ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คอร์ด