หัวใจเต้นผิดจังหวะ อันตรายไหม

เมื่อพูดถึงโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะหลายคนอาจมองว่าเป็นเรื่องไกลตัว ทั้งที่ความจริงแล้วโรคนี้สามารถเกิดขึ้นได้ทุกช่วงวัย โดยต้นเหตุที่ทำให้เกิดโรคนั้นมีทั้งจากการป่วยด้วยโรคหัวใจและหลอดเลือดหัวใจ โรคประจำตัว เช่น ไทรอยด์เป็นพิษ อีกทั้งพฤติกรรมการใช้ชีวิต ปัจจัยแวดล้อม และพันธุกรรมล้วนมีส่วนทำให้เกิดโรคนี้ได้เช่นกัน ซึ่งความรุนแรงของโรคอาจส่งผลให้เสียชีวิตแบบกระทันหันได้ ดังนั้นการรู้เท่าทันโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะจึงเป็นเรื่องสำคัญที่ควรต้องใส่ใจ

นายแพทย์ยศวีร์ อรรฆยากร อายุรแพทย์โรคหัวใจและเฉพาะทางด้านไฟฟ้าหัวใจ โรงพยาบาลหัวใจกรุงเทพ กล่าวเพิ่มเติมว่า “ปัจจุบันคนไข้ที่เป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบมักจะเจอบ่อยที่สุดประมาณ 70% รวมทั้งกลุ่มที่มีโรคประจำตัวหรือรับประทานยาบางชนิด จากข้อมูลที่ผ่านมาพบว่า โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะในคนไทย 1,000 คน จะพบ 40 คน และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ส่วนใหญ่มักเป็นกลุ่มผู้สูงอายุ 65 ปีขึ้นไป แต่ไม่ได้หมายความว่า เด็ก วัยรุ่น คนทำงานจะเป็นไม่ได้ ทุกคนมีสิทธิที่จะเป็นโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะได้”


รู้จักโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ

โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะเป็นความผิดปกติของการกำเนิดกระแสไฟฟ้าหัวใจหรือการนำไฟฟ้าหัวใจ หรือทั้งสองอย่างรวมกัน โดยส่งผลให้ผู้ที่ป่วยด้วยโรคนี้มีอาการ

  • หัวใจเต้นช้าผิดปกติ คือน้อยกว่า 60 ครั้งต่อนาที
  • หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ คือเร็วกว่า 100 ครั้งต่อนาที
  • หัวใจเต้นไม่เป็นจังหวะสม่ำเสมอ เช่น เต้น ๆ หยุด ๆ หรือเต้นเร็วสลับเต้นช้า


ต้นเหตุก่อโรค

สาเหตุหลัก ๆ ของโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ ได้แก่

  • โรคหัวใจและหลอดเลือด ได้แก่ โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ โรคผนังกล้ามเนื้อหัวใจหนาตัวผิดปกติ โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด โรคความดันโลหิตสูง โรคลิ้นหัวใจผิดปกติ
  • โรคประจำตัว ได้แก่ ไทรอยด์เป็นพิษ โรคเบาหวาน โรคอ้วน โรคไตวายเรื้อรัง และโรคนอนกรนร่วมกับภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ เป็นต้น
  • ยาแก้หวัดบางชนิดที่มีส่วนผสมของซูโดอีเฟดรีน ซึ่งมีฤทธิ์กระตุ้นหัวใจ
  • เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนผสม ได้แก่ ชา กาแฟ น้ำอัดลม เครื่องดื่มชูกำลัง และแอลกอฮอล์
  • ยาเสพติดบางชนิดที่มีแอมเฟตามีนผสม
  • ยาลดน้ำหนัก ที่มีส่วนผสมของไซบูทรามีน
  • พันธุกรรม 

สังเกตอาการเบื้องต้น

หากมีอาการดังต่อไปนี้ควรรีบไปพบแพทย์ทันที

  • ใจสั่นผิดปกติ
  • วูบ
  • หน้ามืด
  • เป็นลม
  • จุกแน่นขึ้นคอ ลิ้นปี
  • เจ็บแน่นหน้าอก
  • อ่อนเพลีย ไม่มีแรง
  • นอนราบไม่ได้

การวินิจฉัยโรค

โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะสามารถวินิจฉัยได้หลายรูปแบบ ได้แก่

  1. การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ECG (Electrocardiogram) เหมาะกับผู้ป่วยที่มีอาการตลอดเวลา
  2. เครื่องบันทึกสัญญาณไฟฟ้า 24 – 48 ชั่วโมง (Holter Monitoring 24 – 48 hr.) เหมาะกับผู้ป่วยที่หัวใจเต้นผิดจังหวะในช่วงสั้น ๆ แต่เป็นบ่อยเกือบทุกวัน
  3. เครื่องบันทึกสัญญาณไฟฟ้าแบบพกพา (Event Recorder) เหมาะกับผู้ป่วยที่หัวใจเต้นผิดจังหวะไม่บ่อย อาจจะเดือนละ 1 – 2 ครั้ง โดยเครื่องจะบันทึกเป็นช่วงเวลาสั้น ๆ และกดปุ่มส่งบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจมาที่โรงพยาบาลได้
  4. เครื่องบันทึกสัญญาณไฟฟ้าชนิดฝังเครื่องใต้ผิวหนังบริเวณหน้าอก (Implantable Loop Recorder) เหมาะกับผู้ป่วยที่หัวใจเต้นผิดจังหวะไม่บ่อย จะใช้วิธีฝังบริเวณหน้าอกด้านซ้าย
  5. การตรวจเช็กสัญญาณไฟฟ้าที่ผิดปกติในหัวใจโดยใช้สายสวนหัวใจ (EP Study) จะใช้ในกรณีที่ไม่สามารถเจอภาวะหัวใจเต้นผิดปกติได้จากการตรวจต่าง ๆ ที่กล่าวมาข้างต้น


แนวทางการรักษา

วิธีการรักษาขึ้นอยู่กับผู้ป่วยเป็นสำคัญว่าป่วยเป็นโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะในแบบใด ได้แก่

  1. การให้ยาต้านหัวใจเต้นผิดจังหวะ
  2. การช็อกไฟฟ้าหัวใจเพื่อให้หัวใจกลับมาเต้นปกติ
  3. การจี้ไฟฟ้าหัวใจด้วยสายสวนหัวใจชนิดพิเศษ สวนเข้าไปบริเวณเส้นเลือดดำที่ขาหนีบ
  4. เครื่องกระตุ้นหัวใจ (Pacemaker) ใส่ในกรณีที่ผู้ป่วยหัวใจเต้นช้ามากผิดปกติ มี 2 แบบคือ ชนิดกระตุ้นห้องเดียวและสองห้อง การเลือกฝังเครื่องขึ้นอยู่กับผู้ป่วยเป็นสำคัญ โดยแบตเตอรี่ใช้งานได้ 10 ปีขึ้นไปและเข้าเครื่อง MRI ได้
  5. เครื่องกระตุกหัวใจอัตโนมัติหรือเครื่องช็อกไฟฟ้าหัวใจอัตโนมัติ (AICD) ในกรณีที่ผู้ป่วยหัวใจห้องล่างเต้นเร็วผิดปกติ หากหัวใจไม่กลับมาเต้นตามปกติในเวลาที่รวดเร็วอาจเสียชีวิตได้ แบตเตอรี่จะมีอายุใช้งาน 7 – 8 ปีขึ้นไป ข้อดีของเครื่องนี้คือ ถ้าอยู่บ้านแล้วหัวใจเต้นผิดจังหวะและมีอันตรายถึงชีวิต เครื่องจะกระตุกหัวใจอัตโนมัติให้ผู้ป่วยฟื้น


  ห่างไกลหัวใจเต้นผิดจังหวะ

  • ออกกำลังกายสม่ำเสมอ 45 นาที/วัน 3 – 5 วัน/สัปดาห์
  • ทานอาหารครบ 5 หมู่
  • อย่าทานอาหารหวาน มัน เค็มมาก และควรหลีกเลี่ยงอาหารและเครื่องดื่มที่มีฤทธิ์กระตุ้นหัวใจ
  • นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ 6 – 8 ชั่วโมง/วัน และไม่เครียดจนเกินไป
  • ตรวจสุขภาพทุกปี
  • หากมีโรคประจำตัวควรติดตามอาการกับแพทย์อย่างสม่ำเสมอ
 

นอกจากนี้นายแพทย์ยศวีร์ยังฝากถึงผู้ที่ป่วยและยังไม่ป่วยด้วยโรคนี้ “สำหรับผู้ป่วยที่หัวใจเต้นผิดจังหวะควรมาพบแพทย์ตามนัด 1 – 2 เดือน เพื่อติดตามผลการรักษาและอาการอย่างต่อเนื่อง โดยผู้ป่วยที่ติดเครื่องกระตุ้นหัวใจจะต้องมีการเช็กเครื่องและแผลทุกครั้ง เพื่อดูว่าแบตเตอรี่เหลือเท่าไร สัญญาณไฟฟ้าเป็นอย่างไร เพราะเป็นสิ่งแปลกปลอมที่เข้าไปอยู่ในร่างกาย และสำหรับคนที่มีอาการแปลก ๆ ตามที่กล่าวไปข้างต้น อย่านิ่งนอนใจ ควรรีบมาพบอายุรแพทย์โรคหัวใจ เพื่อจะได้คัดกรองกลุ่มอาการของโรคได้ถูกต้องและทำการรักษาอย่างเหมาะสม เพราะหัวใจเป็นอวัยวะสำคัญที่ทำงานต่อเนื่องตลอดเวลา อย่าละเลยที่จะดูแลหัวใจของคุณให้เต้นถูกจังหวะ”

โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ ตายได้ไหม

โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ (Cardiac Arrhythmia) คือ ภาวะที่หัวใจเต้นไม่เป็นจังหวะตามธรรมชาติ อาจเต้นเร็วหรือช้าเกินไป จนทำให้ประสิทธิภาพการสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกายลดลง และอาจส่งผลให้เกิดความเสี่ยงต่อภาวะหัวใจล้มเหลวหรือหลอดเลือดสมองอุดตัน ซึ่งเป็นอันตรายถึงชีวิต

คลื่นหัวใจผิดปกติรักษายังไง

แนวทางการรักษา.
การให้ยาต้านหัวใจเต้นผิดจังหวะ.
การช็อกไฟฟ้าหัวใจเพื่อให้หัวใจกลับมาเต้นปกติ.
การจี้ไฟฟ้าหัวใจด้วยสายสวนหัวใจชนิดพิเศษ สวนเข้าไปบริเวณเส้นเลือดดำที่ขาหนีบ.

หัวใจเต้นผิดจังหวะ เป็นยังไง

โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ หรือภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ คือความผิดปกติของกระแสไฟฟ้าในหัวใจ หรือไฟฟ้า ในหัวใจลัดวงจร โดยปกติ ที่หัวใจจะเต้นด้วยอัตรา 60 - 100 ครั้งต่อนาที ก็อาจเต้นช้า (น้อยกว่า 60 ครั้ง/นาที) หรือเร็วกว่าปกติ (มากกว่า 100 ครั้งวินาที) หรือเต้นอย่างไม่สม่ำเสมอ เดี๋ยวเต้นเดี๋ยวหยุด หรือ เต้นเร็วสลับกับเต้นช้า ...

กินอะไรแก้หัวใจเต้นผิดจังหวะ

ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะบางประเภทป้องกันได้ ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ทำให้หัวใจแข็งแรงขึ้น และลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ เพียงปฏิบัติตามแนวทางดังต่อไปนี้ รับประทานอาหารที่ช่วยบำรุงหัวใจ เช่น ปลาแซลมอน ปลาทูน่า ปลาแมคเคอเรล ที่อุดมไปด้วยโปรตีนและกรดไขมันโอเมก้า 3 รวมถึงผัก ผลไม้ ถั่ว และธัญพืช เป็นต้น

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ศัพท์ทางทหาร military words แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 พจนานุกรมศัพท์ทหาร ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง ไทยแปลอังกฤษ ประโยค lmyour แปลภาษา การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ประปาไม่ไหล วันนี้ ฝยก. ย่อมาจาก หยน ห่อหมกฮวก แปลว่า เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษาจีน ่้แปลภาษา onet ม3 การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 1 ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง ตตตตลก บบบย ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ เขียน อาหรับ แปลไทย เนื้อเพลง ห่อหมกฮวก แปลไทย asus zenfone 2e กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น การประปานครหลวง ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบภาษาอังกฤษ ม.ปลาย พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ชขภใ ชื่อเต็ม ร.9 คําอ่าน ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน นยน. ย่อมาจาก ทหาร บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ฝสธ. ย่อมาจาก มัดหัวใจเจ้าชายเย็นชา 2 ซับไทย มัดหัวใจเจ้าชายเย็นชา 2 เต็มเรื่อง ยศทหารบก เรียงลําดับ ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 รัชกาลที่ 10 ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คอร์ด