ดอกเบี้ย เช่าซื้อ รถยนต์ บวกกลับ ทางภาษี

ลิสซิ่งรถหักรายจ่ายอย่างไร

เรียน      ทีมที่ปรึกษา

เนื่องด้วยทางบริษัทได้มีซื้อรถ เบนซ์ ราคา 2,499,000 บาท (ราคารวมภาษี) เงินดาวน์ 719,759 บาท ผ่อน 60 งวด งวดละ 36,000 บาท อัตราดอกเบี้ย 4.28%ต่อปี ซึ่งเป็นการซื้อแบบลิสซิ่ง ซึ่งไม่มีความรู้ในการลงบัญชี ,การคำนวณดอกเบี้ย , ค่าเสื่อมราคาทางบัญชีและทางภาษี  อยากทราบว่าวิธีการลงบัญชีแบบลิสซิ่ง,ดอกเบี้ย,การคำนวณค่าเสื่อมทางบัญชีและทางภาษีทำอย่างไรค่ะ

ขอบคุณค่ะ

จริงใจ

เรียน       คุณจริงใจ

ประเด็นตามคำถาม ขอตอบเป็นประเด็น ดังนี้  

การบันทึกยานพาหนะ ที่ได้มาโดยการทำสัญญาลิสซิ่ง

แม้ว่าการซื้อโดยลิสซิ่งจะเปรียบเสมือนการเช่า โดยผู้ซื้อ จะได้สิทธิในการซื้อทรัพย์สินเมื่อสิ้นสุดสัญญาเช่า แต่โดยหลักการบัญชีพิจารณาว่าสาระสำคัญคือกิจการต้องการซื้อทรัพย์สินนั้น โดยพิจารณาจากมูลค่าซื้อทรัพย์สินเมื่อสิ้นสุดสัญญาจะต่ำมาก ทำให้จะบันทึกเป็นทรัพย์สินของกิจการ และตัดค่าเสื่อมราคาและค่าสึกหรอตามปกติ โดยสามารถแยกการบันทึกบัญชีเป็น 2 ขั้นตอนดังนี้

 ตอนจ่ายเงินดาวน์

เดบิต      เงินมัดจำ                              719,759.00

เครดิต    เงินสด/ธนาคาร                                   719,759.00

ตอนบันทึกยานพาหนะ

เดบิต      ยานพาหนะ                        2,499,000.00

                ดอกเบี้ยรอตัดบัญชี               380,759.00

เครดิต    เงินมัดจำ                                               719,759.00

                                เจ้าหนี้เช่าซื้อ                                 2,160,000.00

สำหรับดอกเบี้ย โดยปกติจะดูได้จากสัญญาลิสซิ่ง หรือสอบถามจากบริษัทลิสซิ่งได้วิธีการคำนวณดอกเบี้ย สามารถคำนวณได้โดยนำราคายานพาหนะ–เงินดาวน์ *4.28%*5 ปี)วิธีการคิดค่าเสื่อมทางบัญชีและทางภาษี จะมีความแตกต่างกันดังนี้

ทางบัญชี สามารถคำนวณค่าเสื่อมราคาและค่าสึกหรอหักเป็นรายจ่ายได้ตามปกติ โดยนำราคายานพาหนะที่ซื้อ คูณ ด้วยอัตราค่าเสื่อมราคาและสึกหรอ หากกำหนดอายุการใช้งาน 5 ปี คำนวณค่าเสื่อมฯ ด้วยวิธีเส้นตรงจะได้ค่าเสื่อมฯ ปีละ 20%  

แต่หากวันที่ได้ยานพาหนะนะมาไม่ใช่วันที่ 1 ม.ค. ให้นับวันที่ได้มาจนถึงวันสิ้นปีแล้วหารด้วย 365 แต่ตามตัวอย่างจะคำนวณแบบเต็มปี (2,499,000.00*20% ค่าเสื่อมทางบัญชีเท่ากับ 499,800.00 บาท)

ทางภาษี จะพิจารณาว่ารายการดังกล่าวเป็นการเช่าทรัพย์สิน โดยทรัพย์สินยังไม่ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของกิจการ จนกว่าจะซื้อทรัพย์สินที่เช่าเมื่อสิ้นสุดสัญญา

กรณีนี้เมื่อคำนวณกำไรสุทธิทางภาษี จะต้องปรับปรุง โดยบวกกลับค่าเสื่อมราคาและค่าสึกหรอ ซึ่งจะทำมีผลทำให้กำไรเพิ่มขึ้น

นอกจากบวกกลับค่าเสื่อมราคาฯ แล้ว จะต้องนำดอกเบี้ยเช่าซื้อในแต่ละปีที่หักเป็นรายจ่าย มาบวกกลับในการคำนวณภาษีได้

จากนั้นให้นำค่างวดที่จ่ายไปในแต่ละเดือนมาหักเป็นรายจ่ายแทน เมื่อกิจการจ่ายค่างวดไปเดือนละ 36,000 บาท เท่ากับว่าสามารถนำค่างวดหรือค่าเช่าจำนวน 432,000 บาท มาหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณภาษีได้

สรุปขั้นตอนการหักรายจ่าย และการบวกกลับเพื่อคำนวณภาษีได้ดังนี้ 

หวังว่าคำตอบจะเป็นประโยชน์

ด้วยรัก

ข้าวหอม

กรณี เช่าซื้อ และ ลิสซิ่ง กับการประหยัดภาษี คงเป็นประเด็นที่นักบัญชีและสรรพากร เองก็คงกุมขมับทุกครั้งที่พูดถึง และในมุมของผู้ประกอบการนั้น การที่จะเช่าซื้อ หรือลิสซิ่ง แล้วต้องการจะปรับหยัดภาษีแบบไหนจะมากกว่ากัน วันนี้เราลองมาดูตัวอย่างกันครับ

–   สมมุตว่าซื้อรถยนต์ มูลค่า   4,799,000 บาท

–   จ่ายเงินดาวน์   2,251,264.48 บาท

–   ผ่อน 60 งวด งวดที่ 1 – 59 ผ่อนงวดละ 36,000 บาท

–  งวดที่ 60 ผ่อน 1,235,750 บาท

–   ราคาซากหลังสิ้นสุดสัญญาเช่า 3,471,324 บาท

 เรามาทำความเข้าใจกับสัญญาการซื้อรถยนต์นั่งไม่เกิน 10 ที่นั่ง  การบันทึกเป็นค่าใช้จ่ายทางบัญชีและภาษีของรถยนต์นั่งไม่เกิน 10 ที่นั่ง ได้มาโดยสัญญา แต่ละประเภทกันก่อนดีกว่า  พอจะสรุปได้ดังนี้

ลำดับ

สัญญาที่เกี่ยวข้องกับการซื้อทรัพย์สิน

คชจ.ทางบัญชี

คชจ.ทางภาษี

1

สัญญาเช่าซื้อ หรือ เงินสด

ค่าเสื่อมราคาทั้งจำนวน

ค่าเสื่อมราคาส่วนที่ไม่เกินล้าน(ที่เกินล้านบวกกลับ)

2

สัญญาลิสซิ่ง (ทางการเงิน)

ค่าเสื่อมราคาทั้งจำนวน

ค่าเช่าไม่เกิน36,000.-/เดือน (บวกกลับค่าเสื่อม)

3

สัญญาลิสซิ่ง(ดำเนินงาน)

ค่าเช่าตามจริง

ค่าเช่าไม่เกิน 36,000.-/เดือน (บวกกลับค่าเช่าส่วนเกิน)

จากข้อมูล การซื้อรถยนต์ BMW  โดยสัญญาลิสซิ่ง(ทางการเงิน)  จะสามารถคำนวณค่าใช้จ่ายทางบัญชี และ ค่าใช้จ่ายทางภาษี ดังนี้

ค่าเสื่อมราคาทางบัญชี  1 ปี  ( 4,799,000 * 20% *1 )                                              =      959,800.00   บาท

ค่าเสื่อมราคาทางภาษี  1 ปี    ( 4,799,000 + 832,324 ) * 20% * 1                           =   1,126,264.80   บาท

เทียบค่างวดที่ผ่อนชำระ  1  ปี    ( 36,000 * 12 )                                                       =      432,000.00   บาท

ประเภทสัญญา

ค่าเสื่อมราคาทางบัญชี

ค่าเสื่อมราคาทางภาษี

ค่าเสื่อมราคาบวกกลับทางภาษี

สัญญาเช่าซื้อ

959,800

200,000

759,800

สัญญาเช่าลิสซิ่ง(ทางการเงิน)

1,126,264.80

432,000

694,268.80

จากข้อมูลสรุปข้างต้นการซื้อรถยนต์ตามสัญญาลิสซิ่ง ทางบัญชีจะบันทึกเป็นทรัพย์สิน และคำนวณหักค่าเสื่อมราคา แต่ทางภาษีถือว่ารถยนต์ดังกล่าวเป็นการเช่า เนื่องจากกรรมสิทธิ์ตามสัญญายังไม่เป็นของบริษัท จึงต้องบวกกลับค่าเสื่อมทางบัญชีในการคำนวณภาษี และนำค่าเช่าหรือค่างวดที่จ่ายชำระมาหักเป็นรายจ่าย แต่ไม่เกินเพดานที่กำหนด

จากข้อมูลสรุปได้ว่า การซื้อรถยนต์นั่งไม่เกิน 10 ที่นั่ง ด้วยสัญญาลิสซิ่ง  จะสามารถประหยัดภาษีมากกว่า  สัญญาเช่าซื้อ

โดยสามารถนำค่างวดที่ชำระไม่เกินเพดานที่กำหนด คูณ ด้วยระยะเวลาเช่า ซึ่งสามารถหักรายจ่ายได้เท่ากับ

 432,000 X 5         =             2,160,000

เมื่อเปรียบเทียบกับสัญญาเช่าซื้อ จะสามารถหักค่าเสื่อมราคาฯ รถยนต์ได้เพียง 1.0 ล้านบาท นอกจากนี้เมื่อครบสัญญาลิสซิ่ง  หากกิจการซื้อซากรถยนต์ มูลค่า 3,471,324  บาท สามารถนำมาบันทึกทรัพย์สิน และคำนวณหักค่าเสื่อมราคาฯ ทางภาษีสำหรับมูลค่าส่วนที่ไม่เกิน 1,000,000 บาทได้อีกด้วยจ้า

ที่ปรึกษาหวังเป็นอย่างยิ่งว่า  คำตอบข้างต้นจะเป็นประโยชน์ต่อท่าน เพื่อทำความเข้าใจ สำหรับการตัดสินใจซื้อรถยนต์ในอนาคตต่อไป

อย่างไรก็ตามทั้งหมดนี้เราคิดตามกรณี รถยนต์นั่งไม่เกิน 10 ที่นั่ง ซึ่งถ้าเป็นกรณีรถทั่วไป เช่น รถกระบะ หรือรถตู้11ที่นั่ง ก็จะถือว่า

> การเช่าซื้อสามารถตัดค่าเสื่อมราคาได้ทั้งมูลค่ารถยนต์ (ไม่มีเกณฑ์ห้ามเกิน 1 ล้านมาคิด) และ

> ถ้าเป็นกรณีลิสซิ่งก็สามารถนำค่าเช่ามาเป็นรายจ่ายทางภาษีได้เลยทั้งก้อน (ไม่จำกัดแค่ 36,000 บาท ต่อเดือน)

 
ที่มา : Link

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ศัพท์ทางทหาร military words แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 พจนานุกรมศัพท์ทหาร ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง ไทยแปลอังกฤษ ประโยค lmyour แปลภาษา การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ประปาไม่ไหล วันนี้ ฝยก. ย่อมาจาก หยน ห่อหมกฮวก แปลว่า เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษาจีน ่้แปลภาษา onet ม3 การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 1 ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง ตตตตลก บบบย ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ เขียน อาหรับ แปลไทย เนื้อเพลง ห่อหมกฮวก แปลไทย asus zenfone 2e กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น การประปานครหลวง ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบภาษาอังกฤษ ม.ปลาย พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ชขภใ ชื่อเต็ม ร.9 คําอ่าน ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน นยน. ย่อมาจาก ทหาร บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ฝสธ. ย่อมาจาก มัดหัวใจเจ้าชายเย็นชา 2 ซับไทย มัดหัวใจเจ้าชายเย็นชา 2 เต็มเรื่อง ยศทหารบก เรียงลําดับ ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 รัชกาลที่ 10 ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คอร์ด