โครงงาน อิน ดิ เค เตอร์ จาก ผล ไม่

SCIENCE

รายวิชาวิทยาศาสตร์

บทคัดย่อ

หัวข้อโครงงาน       :       กระดาษอินดิเคเตอร์จากพืชธรรมชาติ

ชื่อผู้จัดทำ               :       เด็กชายจตุรวิทย์  จันทะบุตร

                                       นางสาวรัตน์ติยา  หมายมั่น

                                       เด็กหญิงชนนิกานต์  แสนสุข

อาจารย์                 :       นายณรัฐกรณ์  พรมน้อย

                                      นายสมใจ  หมายมั่น

ปีการศึกษา            :       2554

คำสำคัญ                :       กระดาษอินดิเคเตอร์ พืชธรรมชาติ

                          กระดาษอินดิเคเตอร์จากพืชธรรมชาติเป็นการทดองเพื่อหาพืชในท้องถิ่นที่มีในธรรมชาติมาผลิตเป็นกระดาษอินดิเคเตอร์ที่มีจำหน่ายทั่วไป ดำเนินการโดยใช้พืช 6 ชนิด ได้แก่ ชงโค นิลุบล (ผักอีฮีน) ต้อยติ่ง ดาวกระจาย และแพงพวยชมพู และทำการศึกษาตัวทำละลายที่เหมาะสมและพอเหมาะในการทำกระดาษอินดิเคเตอร์ ผลการทดลองพบว่า ชงโค และนิลุบล เป็นพืชธรรมชาติที่ใช้ทำอินดิเคเตอร์ได้ดี เมื่อใช้น้ำเป็นตัวทำละลาย โดยอัตราส่วนที่เหมาะสมของตัวถูกละลาย ต่อตัวทำละลายคือ 1:4 ในการย้อมสีกระดาษอินดิเคเตอร์ พบว่า กระดาษอินดิเคเตอร์จากชงโค จะให้สีน้ำตาลอ่อนและกระดาษอินดิเคเตอร์จากนิลุบล จะให้สีน้ำเงินอ่อน และเมื่อนำไปวัดค่า pH พบว่า กระดาษอินดิเคเตอร์จากดอกชงโค เปลี่ยนจากสีน้ำตาลอ่อนเป็นสีชมพูอ่อนในช่วง pH 1-3 และเปลี่ยนจากสีน้ำตาลอ่อนเป็นสีเหลืองเขียวในช่วง pH 8-14 กระดาษอินดิเคเตอร์จากดอกนิลุบล เปลี่ยนจากสีม่วงอ่อนเป็นสีชมพูอ่อนในช่วง pH 1-3 และเปลี่ยนจากสีม่วงอ่อนเป็นสีเขียวอ่อนในช่วง pH 8-14

                            ในการจัดทำดำเนินงานโครงงานวิทยาศาสตร์เรื่อง “กระดาษอินดิเคเตอร์จากพืชธรรมชาติ ” เป็นการศึกษาเกี่ยวกับการใช้พืชที่มีอยู่ในท้องถิ่นมาประยุกต์ใช้เป็นอินดิเคเตอร์ โดยแบ่งการศึกษาออกเป็น 4 ขั้นตอน ดังนี้

                            1)  ศึกษาพืชในท้องถิ่นที่มีความสามารถนำไปทำอินดิเคเตอร์

                            2)  ศึกษาตัวทำละลายและอัตราส่วนในการสกัดสีของพืชธรรมชาติ

                            3)  ศึกษาการย้อมกระดาษอินดิเคเตอร์จากพืชธรรมชาติ

                            4)  ศึกษาช่วงการวัดค่า pH ของกระดาษอินดิเคเตอร์จากพืชธรรมชาติ

                            ซึ่งได้มีวิธีในการดำเนินงานจัดทำตามขั้นตอนต่างๆ ดังต่อไปนี้

                            1.1 ศึกษาพืชในท้องถิ่นที่มีความสามารถนำไปทำอินดิเคเตอร์

                                       1.1.1 นำกระดาษกรองมาตัดให้ได้ขนาดพอเหมาะ 

                                       1.1.2 นำดอกต้อยติ่งมาถูที่ปลายกระดาษกรองทั้งสองด้าน

                                     1.1.3 นำแท่งแก้วคนสารไปแตะสารละลายกรดไฮโดรคลอริก (HCl ความเข้มข้น 0.1M) แล้วนำไปแตะปลายข้างหนึ่งของกระดาษที่ถูกับดอกต้อยติ่ง

                                      1.1.4 นำแท่งแก้วคนสารไปแตะสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ (NaOH ความเข้มข้น 0.1M) แล้วนำไปแตะปลายข้างหนึ่งของกระดาษที่ถูกับดอกต้อยติ่ง สังเกตและบันทึกผลการทดลอง

                                     1.1.5  ทำซ้ำตามขั้นตอนที่ 3.5.1.1 ถึงข้อ 3.5.1.2  แต่เปลี่ยนจากดอกต้อยติ่งเป็นดอกกระถินทุ่ง  ดอกดาวกระจาย  ดอกแพงพวยสีชมพู  ดอกนิลุบล (ผักอีฮีน) และดอกชงโค ตามลำดับ

                                     1.1.6นำพืชที่มีคุณสมบัติที่เหมาะสมเพื่อมาทำเป็นอินดิเคเตอร์ได้ จากข้อ 3.5.1.5 ไปใช้ในการศึกษาตัวทำละลายและอัตราส่วนในการสกัดสีต่อไป

                           1.2 ศึกษาตัวทำละลายและอัตราส่วนในการสกัดสีของพืชธรรมชาติ

                                      1.2.1 นำดอกชงโคและดอกนิลุบล (ผักอีฮีน)ไปบดในถ้วยกระเบื้อง

                                      1.2.2นำดอกชงโคและดอกนิลุบล (ผักอีฮีน) ที่บดเสร็จแล้วใส่ในจานเพาะเชื้อ แล้วไปชั่งให้ได้ ปริมาณ 10 กรัม จำนวน 3 ชุดการทดลอง

                                   1.2.3 ปรับปริมาตรน้ำกลั่น เอกเซน (C6H14) และเอทิลแอลกอฮอล์ (C2H5OH) โดยใช้ปิเปต ให้ได้ชนิดละปริมาตร 10 มิลลิลิตร แล้วใส่ลงไปในบีกเกอร์

                                     1.2.4 เทดอกชงโคที่บดและชั่งเสร็จแล้วจากจานเพาะเชื้อที่ 1 จานเพาะเชื้อที่ 2 และจานเพาะเชื้อที่ 3 ลงในขวดรูปชมพู่ใบที่ 1 ขวดรูปชมพู่ใบที่ 2 และขวดรูปชมพู่ใบที่ 3

                                  1.2.5 เทน้ำกลั่น เอกเซน (C6H14) และเอทิลแอลกอฮอล์ (C2H5OH) ที่เตรียมไว้จากข้อที่ 3.5.2.3 ลงในขวดรูปชมพู่ใบที่ 1 ขวดรูปชมพู่ใบที่ 2 และขวดรูปชมพู่ใบที่ 3 ตามลำดับ

                                     1.2.6 ใช้แท่งแก้วคนสารคนให้เข้ากัน สังเกตและบันทึกผล

                                   1.2.7 ทำการทดลองซ้ำจากข้อที่ 3.5.2.3 ถึงข้อที่ 3.5.2.6  แต่ปรับปริมาตรเป็น 20 มิลลิลิตร 30 มิลลิลิตร 40 มิลลิลิตร และ 50 มิลลิลิตร ตามลำดับ

                                    1.2.8 นำขวดรูปชมพู่ที่มีการผสมในอัตราส่วนที่เหมาะสม ( ในการทดลองใช้อัตราส่วนของตัวถูกละลายต่อตัวทำละลาย 1:4 ) นำไปให้ความร้อนโดยเตาไฟฟ้า (Hot Plate) เป็นระยะเวลา 3 – 5 นาที หลังจากนั้นยกลงจากเตาไฟฟ้าแล้วตั้งทิ้งไว้ 20 นาทีเพื่อให้สารสกัดเย็น

                                 1.2.9 นำสารสกัดจากข้อ 3.5.2.8  ไปกรอง โดยใช้กระดาษกรองพับแล้ววางไว้บนกรวยแก้ว แล้วเทสารสกัดที่ได้บนกระดาษกรอง ตั้งทิ้งไว้ระยะเวลาประมาณ 14 ชั่วโมง

                                   1.2.10 สังเกตและบันทึกผล

                                1.2.11 ทำการทดลองซ้ำตั้งแต่ข้อที่ 3.5.2.1 ถึงข้อ 3.5.2.10 แต่เปลี่ยนชนิดพืชจากดอกชงโคเป็นดอกนิลุบล (ผักอีฮีน) แทน                         

                      1.3  การย้อมกระดาษอินดิเคเตอร์จากพืชธรรมชาติ

                                  1.3.1 นำกระดาษกรองที่เตรียมไว้แช่ลงไปในสารสกัดสีของดอกชงโคและดอกนิลุบล (ผักอีฮีน) ปริมาตร 20 มิลลิลิตร เทลงในจานเพาะเชื้อ แล้วจากนั้นนำกระดาษกรองที่เตรียมไว้แช่ลงในจานเพาะเชื้อ

                                  1.3.2  เมื่อแช่กระดาษกรองครบ 10 นาที แล้วนำกระดาษกรองที่แช่เสร็จ

มาวางบนถาดอะลูมิเนียม

                                  1.3.3  นำผลิตภัณฑ์จากข้อ 3.5.3.2 ไปอบในตู้อบโดยมีอุณหภูมิ 80๐C  เป็นระยะเวลา 10 นาที

                                  1.3.4  สังเกตและบันทึกผล

                      1.4  ศึกษาช่วงการวัด pH ของกระดาษอินดิเคเตอร์จากพืชธรรมชาติโดยเปรียบเทียบกับกระดาษยูนิเวอร์ซัลอินดิเคเตอร์

                                  1.4.1  นำสารละลายที่มีค่า pH ตั้งแต่ 1 ถึงสารละลายที่มีค่า pH เท่ากับ 14 ปริมาตร 10 มิลลิลิตร  เทลงในหลอดทดลองหลอดที่ 1 ถึงหลอดที่ 14

                               1.4.2  นำแท่งแก้วคนสารจุ่มลงในสารละลายที่มีค่า pH 1 แล้วนำมาแตะที่กระดาษอินดิเคเตอร์จากดอกชงโคและกระดาษยูนิเวอร์ซัลอินดิเคเตอร์

                                  1.4.3  ทำซ้ำตามข้อ 3.5.4.2 โดยเปลี่ยนเป็นสารละลายที่มีค่า pH 2 – 14 

                                1.4.4 เปลี่ยนกระดาษอินดิเคเตอร์จากดอกชงโค เป็นกระดาษอินดิเคเตอร์จากดอกนิลุบล (ผักอีฮีน) แทน ทำซ้ำตามข้อ 3.5.4.2 และ 3.5.4.3

ผลการทดลอง

                           ในการจัดทำดำเนินงานโครงงานวิทยาศาสตร์เรื่อง “กระดาษอินดิเคเตอร์จากพืชธรรมชาติ ”  ได้ทำการศึกษา  4 ขั้นตอน ซึ่งได้ผลการศึกษาดังต่อไปนี้

                            1)  ศึกษาพืชในท้องถิ่นที่มีความสามารถนำไปทำอินดิเคเตอร์

                            2)  ศึกษาตัวทำละลายและอัตราส่วนในการสกัดสีของพืชธรรมชาติ

                            3)  ศึกษาการย้อมกระดาษอินดิเคเตอร์จากพืชธรรมชาติ

                            4)  ศึกษาช่วงการวัดค่า pH ของกระดาษอินดิเคเตอร์จากพืชธรรมชาติ

4.1  ศึกษาพืชในท้องถิ่นที่มีความสามารถนำไปทำอินดิเคเตอร์

                จากการทดลองใช้พืชทั้งหมด 6 ชนิด มาตรวจสอบความสามารถในการเป็นอินดิเคเตอร์อย่างง่าย โดยใช้การทดสอบกับกรดไฮโดรคลอริก (HCl ความเข้มข้น 0.1M) และไซเดียมไฮดรอก -ไซด์ (NaOH ความเข้มข้น 0.1M) มีผลการทดลองดังแสดงในตารางที่ 4-1 

ตารางที่ 4-1  แสดงการศึกษาพืชในท้องถิ่นที่มีความสามารถนำไปทำอินดิเคเตอร์

ลำดับที่

ชื่อของพืชในท้องถิ่น

ทดสอบกับกรด

ทดสอบกับเบส

หมายเหตุ

1

ต้อยติ่ง

P

P

ในท้องถิ่นมีน้อย

2

กระถินทุ่ง

O

O

3

ดาวกระจาย

O

P

4

แพงพวยสีชมพู

P

P

ในท้องถิ่นมีน้อย

5

นิลุบล (ผักอีฮีน)

P

P

มีมากในช่วงเวลานี้

6

ชงโค

P

P

มีมากและหาได้ง่าย

การ

*หมายเหตุ     เครื่องหมาย P หมายถึงทำปฏิกิริยา 

 *หมายเหตุ     เครื่องหมาย O หมายถึงไม่ทำปฏิกิริยา

                            กรดที่ใช้ในการทดสอบ คือ กรดไฮโดรคลอริก (HCl เข้มข้น 0.1M)

                            เบสที่ใช้ในการทดสอบ คือ โซเดียมไฮดรอกไซด์ (NaOH เข้มข้น 0.1M)

จัดทำโดย เด็กหญิง ชนนิกานต์  แสนสุข  เลขที่ 14  ชั้น ม.3/4


กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ศัพท์ทางทหาร military words แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 พจนานุกรมศัพท์ทหาร ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง ไทยแปลอังกฤษ ประโยค lmyour แปลภาษา การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ประปาไม่ไหล วันนี้ ฝยก. ย่อมาจาก หยน ห่อหมกฮวก แปลว่า เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษาจีน ่้แปลภาษา onet ม3 การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 1 ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง ตตตตลก บบบย ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ เขียน อาหรับ แปลไทย เนื้อเพลง ห่อหมกฮวก แปลไทย asus zenfone 2e กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น การประปานครหลวง ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบภาษาอังกฤษ ม.ปลาย พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ชขภใ ชื่อเต็ม ร.9 คําอ่าน ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน นยน. ย่อมาจาก ทหาร บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ฝสธ. ย่อมาจาก มัดหัวใจเจ้าชายเย็นชา 2 ซับไทย มัดหัวใจเจ้าชายเย็นชา 2 เต็มเรื่อง ยศทหารบก เรียงลําดับ ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 รัชกาลที่ 10 ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คอร์ด