นโยบายประหยัดพลังงานของประเทศไทยเริ่มขึ้นปีใด *

13 Pages Posted: 1 Oct 2019

Date Written: June 1, 2019

Abstract

Thai Abstract: การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการกาหนดนโยบายพลังงานของประเทศไทย ศึกษาถึงบทบาทของตัวแสดงในกระบวนการกาหนดนโยบายพลังงานของประเทศไทย และเพื่อศึกษาปัญหาอุปสรรคในกระบวนการกาหนดนโยบายพลังงานของประเทศไทย แนวทางในการแก้ไขปัญหาและข้อเสนอแนะ ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพเก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์เจาะลึกจากผู้ให้ข้อมูลสาคัญ 6 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มนักการเมือง กลุ่มข้าราชการ กลุ่มรัฐวิสาหกิจ กลุ่มเอกชน กลุ่มภาคประชาชน กลุ่มนักวิชาการด้านพลังงานโดยประยุกต์ใช้แนวคิดการเข้าสู่วาระนโยบายของคิงดอน เพื่อนาไปสู่การกาหนดนโยบายพลังงานของประเทศไทย ผลการวิจัยพบว่า กระแสปัญหากระแสการเมือง และกระแสนโยบาย ทาให้ปัญหาเข้าสู่วาระนโยบาย โดยกระแสปัญหา ซึ่งเป็นปัญหามาจากปัญหาวิกฤตพลังงานโลก กระแสการเมือง เป็นเกมการต่อรองของกลุ่มผลประโยชน์การต่อรองระหว่างกลุ่มของตัวแสดงที่สาคัญ กระแสนโยบาย เป็นข้อเรียกร้องของกลุ่มผลประโยชน์ ความเข้มข้น ความรุนแรงของปัญหา และการแข่งขันของกลุ่มผลประโยชน์ ในการกาหนดนโยบาย รวมถึงกระแสการยอมรับของสาธารณะ ผลการวิจัยสรุปได้ว่า ตัวแสดงในการกาหนดนโยบายพลังงานหรือผู้ผลักดันนโยบาย คือ นายกรัฐมนตรี กลุ่มนักการเมือง และกลุ่มข้าราชการ ตามตัวแบบชนชัน้ นา เป็นผู้นาทางอา นาจ เป็นผู้ตัดสินใจในกระบวนการทางนโยบาย ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย ภาครัฐควรให้ความสาคัญกับการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกภาคส่วนในการกาหนดนโยบายพลังงานของประเทศไทย

English Abstract: The objectives of this research are to study the process of energy policy formulation of Thailand, to study the role of players in the process of energy policy formulation of Thailand, and to study the problems and obstacles in the process of energy policy formulation of Thailand, guidelines for solving problems and suggestions. The qualitative research method is used. The data is collected using the in-depth interview with 6 key informants including the group of politicians, the group of civil servants, the group of state enterprise, the group of private sector, the group of public sector, and the group of energy academicians. The concept is applied to enter the Kingdon's policy agenda leading to the energy policy formulation of Thailand. The research results reveal that the problem flow, political flow, and policy flow cause the problem to enter the policy agenda. The problem flow is the problem from the global energy crisis. The political flow is a bargaining game of interest groups to negotiate among the groups of important players. The policy flow is the demand of interest groups, concentration, severity of problems, and competition of interest groups in policy formulation including public acceptance. The research results can be concluded that the players in energy policy formulation or the policy promoters are the Prime Minister, the group of politicians, and the group of government officials. The elite class is the power leader who can make the decision in the policy process and policy suggestions. The government should focus on the participation of all stakeholders in the energy policy formulation of Thailand.

Note: Downloadable document is in Thai.

Keywords: Policy Formulation, Energy Policy, Thailand

Suggested Citation: Suggested Citation

Harnklap, Jiraporn and Laohavichien, Uthai, การกำหนดนโยบายพลังงานของประเทศไทย (Energy Policy Formulation of Thailand) (June 1, 2019). Journal of Interdisciplinary Research: Graduate Studies, Vol. 8, No. 2 (2019), Available at SSRN: //ssrn.com/abstract=3461381

ความเป็นมาจากการขยายตัวของสังคม และการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจไทย ส่งผลให้ความต้องการใช้ไฟฟ้าของประเทศเพิ่มสูงขึ้น ทำให้ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) จำเป็นต้องขยายแหล่งผลิตเพื่อรองรับความต้องการใช้ไฟฟ้าที่สูงขึ้น ซึ่งนอกจากจะต้องจัดหาแหล่งผลิต และใช้เงินลงทุนในการก่อสร้างโรงไฟฟ้าแล้ว การนำเชื้อเพลิงเพื่อการผลิตกระแสไฟฟ้า ยังต้องใช้เงินลงทุนสูง และมีความผันผวนอย่างต่อเนื่อง ส่งผลต่อเสถียรภาพทางเศรษฐกิจของประเทศอีกด้วย
งานการจัดการด้วนการใช้ไฟฟ้า (Demand Side Management หรือ DSM) เป็นภารกิจที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติให้ กฟผ. ดำเนินการรณรงค์ส่งเสริมให้ประชาชนใช้ไฟฟ้าอย่างประหยัดและมีประสิทธิภาพ ตั้งแต่วันที่ 3 ธันวาคม 2534 และได้เปิดตัวอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 20 กันยายน 2536 ภายใต้ชื่อ โครงการประชาร่วมใจ ประหยัดไฟฟ้า” (Together Conservation) และได้ดำเนินการโครงการ ฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5” มาโดยตลอด
ปัจจุบัน กฟผ. ยังคงดำเนินการต่อเนื่องกับ โครงการ ฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5” โดยการประสานแนวทางปฏิบัติให้สอดคล้องกับนโยบายของกระทรวงพลังงาน โดยร่วมเป็นคณะทำงานด้านมาตรฐานประสิทธิภาพพลังงานดูแลงานฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5 ซึ่งมีมาตรฐานตรากระทรวงพลังงานกำกับอยู่ในรูปลักษณ์โฉมใหม่ ฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5
วัตถุประสงค์โครงการฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5 มุ่งรณรงค์ส่งเสริมให้เกิดการใช้พลังงานไฟฟ้าอย่างรู้คุณค่า และมีประสิทธิภาพ ด้วยวัตถุประสงค์ในการดำเนินโครงการ ดังนี้

  • เพื่อรณรงค์ให้ผู้ผลิต/ผู้นำเข้า ผลิตและนำเข้าอุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีประสิทธิภาพสูงและมีราคาที่เหมาะสม
  • จูงใจและเสริมสร้างทัศนคติการประหยัดไฟฟ้าแก่ประชาชน โดยให้ความรู้และสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการใช้พลังงานไฟฟ้าที่ถูกวิธีและมีประสิทธิภาพ
  • เสนอทางเลือกของผู้บริโภคในการตัดสินใจเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่มีประสิทธิภาพสูง
  • สนับสนุนและแสวงหาเทคโนโลยีการประหยัดไฟฟ้า รวมทั้งการบริหารการใช้ไฟฟ้าเพื่อนำพลังงานไฟฟ้ามาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้บริโภคและประเทศชาติโดยรวม

การดำเนินงาน

เพื่อให้การดำเนินโครงการ ฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5 ” บรรลุผลในการลดการใช้พลังงานโดยรวมของชาติ และลดผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อม จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องได้รับความร่วมมือร่วมใจอย่างจริงจังจากทุกๆ ฝ่าย ดังนั้น กฟผ. จึงใช้แนวทางในการดำเนินโครงการจึงมุ่งที่จะใช้วิธีจูงใจ โดยการสร้างการรับรู้ และความเข้าใจที่ถูกต้องในการใช้พลังงานไฟฟ้าอย่างรู้คุณค่า แก่ประชาชนคนไทยทั้งประเทศ โดยแบ่งกลุ่มเป้าหมายออกตามประเภทของผู้ใช้ไฟฟ้า คือ กลุ่มภาคที่อยู่อาศัย กลุ่มภาคธุรกิจ และกลุ่มภาอุตสาหกรรม ด้วยการใช้กลยุทธ์ที่เรียกว่า “3 อ.” คือ อุปกรณ์ประหยัดไฟฟ้า อาคารประหยัดไฟฟ้า และอุปนิสัยประหยัดไฟฟ้า

  กลยุทธ์ 3 อ.

อ. อุปกรณ์ประหยัดไฟฟ้า


อ. อุปกรณ์ประหยัดไฟฟ้า : ภาคที่อยู่อาศัย

กลุ่มประชาชนในภาคที่อยู่อาศัย เป็นกลุ่มที่มีการใช้พลังงานไฟฟ้าประมาณร้อยละ 25 ของปริมาณการใช้พลังงานไฟฟ้าทั้งประเทศ การดำเนินการในภาคที่อยู่อาศัยนี้จึงมุ่งเป้าหมายไปที่การส่งเสริมให้ทุกครัวเรือนเปลี่ยนมาใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีประสิทธิภาพสูงโดย กฟผ. ได้รับความร่วมมือจากบริษัทผู้ผลิต/ผู้นำเข้า และผู้ประกอบการผลิตและนำเข้าอุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีประสิทธิภาพสูงประหยัดไฟ ซึ่งนอกจากจะเป็นการผลักดันให้มีการพัฒนาอุปกรณ์ไฟฟ้าชนิดอื่น ๆ ให้เป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าประสิทธิภาพสูงตามไปด้วยแล้ว ยังทำให้อุปกรณ์ไฟฟ้าที่ไม่มีประสิทธิภาพ เช่น หลอดอ้วน หมดไปจากตลาดเมืองไทยอีกด้วย

การดำเนินการในภาคที่อยู่อาศัย ได้แก่

  • ปี 2538 โครงการฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5 ตู้เย็น
  • ปี 2539 โครงการฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5 เครื่องปรับอากาศ
  • ปี 2541 โครงการฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5 บัลลาสต์เบอร์ 5 นิรภัย
  • ปี 2542 โครงการฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5 ข้าวกล้องเบอร์ 5
  • ปี 2544 โครงการฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5 พัดลมไฟฟ้า
  • ปี 2545 โครงการฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5 หลอดคอมแพ็คฟลูออเรสเซนต์
  • ปี 2547 โครงการฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5 หม้อหุงข้าวไฟฟ้า
  • ปี 2548 โครงการฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5 โคมไฟฟ้าแสงสว่างประสิทธิภาพสูง
  • ปี 2552 โครงการฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5 พัดลมไฟฟ้า ชนิดส่ายรอบตัว
  • ปี 2552 โครงการฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5 หลอดฟลูอเรสเซนต์ T5
  • ปี 2552 โครงการฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5 บัลลาสต์อิเล็กทรอนิกส์ T5
  • ปี 2553 โครงการฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5 Standby Power 1 Watt (เครื่องรับโทรทัศน์/จอคอมพิวเตอร์)
  • ปี 2553 โครงการฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5 โคมไฟฟ้าสำหรับหลอดผอมเบอร์ 5
  • ปี 2554 โครงการฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5 กระติกน้ำร้อนไฟฟ้า
  • ปี 2555 โครงการฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5 พัดลมไฟฟ้าชนิดระบายอากาศ
  • ปี 2555 โครงการฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5 เครื่องทำน้ำอุ่นไฟฟ้า
  • ปี 2556 โครงการฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5 เตารีดไฟฟ้า
  • ปี 2556 โครงการฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5 เครื่องซักผ้าชนิดฝาบนถังเดี่ยว
  • ปี 2556 โครงการฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5 หลอด LED
  • ปี 2556 โครงการฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5 ชุดเปลี่ยนหลอดเบอร์ 5
  • ปี 2557 โครงการฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5 เตาไมโครเวฟ
  • ปี 2557 โครงการฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5 เตาไฟฟ้าแบบเหนี่ยวนำ
  • ปี 2557 โครงการฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5 กาต้มน้ำไฟฟ้า
  • ปี 2557 โครงการฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5 เครื่องรับโทรทัศน์
  • ปี 2558 โครงการฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5 ตู้แช่เย็นแสดงสินค้า
  • ปี 2558 โครงการฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5 กระทะไฟฟ้า
  • ปี 2559 โครงการฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5 เครื่องสูบน้ำไฟฟ้าชนิดอัตโนมัติ
  • ปี 2560 โครงการฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5 ตู้น้ำร้อนน้ำเย็นบริโภคและตู้น้ำเย็นบริโภค
  • ปี 2561 โครงการฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5 ผลิตภัณฑ์เสื้อผ้าเบอร์ 5
  • ปี 2562 โครงการฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5 ผลิตภัณฑ์จักรยานยนต์ไฟฟ้า





อ. อาคารประหยัดไฟฟ้า

อ. อาคาร/โรงงานประหยัดไฟฟ้า : ภาคธุรกิจ/ภาคอุตสาหกรรม

สัดส่วนการใช้พลังงานในภาคธุรกิจและอุตสาหกรรม คิดเป็นร้อยละ 75 ของการใช้พลัังงานทั้งประเทศ ยิ่งมีการขยายตัวทางเศรษฐกิจมากขึ้นเท่าใด การใช้พลังงานจะสูงตามไปด้วย และเพื่อให้มีการใช้ไฟฟ้าอย่างมีประสิทธิภาพในภาคธุรกิจและภาคอุตสาหกรรม เห็นความสำคัญและพร้อมใจกันใช้อุปกรณ์ประหยัดไฟฟ้าที่มีประสิทธิภาพสูง เช่นเดียวกับกลุ่มภาคที่อยู่อาศัยพร้อมไปกับการใช้มาตรการต่าง ๆ ที่จะทำให้เกิด “อ” ที่สอง คือ อาคาร/โรงงานประหยัดไฟฟ้า ซึ่งได้แก่ การบริหารการใช้ไฟฟ้า การปรับปรุงระบบป้องกันความร้อนเข้าสู่อาคาร การใช้ระบบปรับอากาศประสิทธิภาพสูง และการปรับปรุงระบบแสงสว่างการจัดการอบรมให้ความรู้ด้านการใช้พลังงานอย่างถูกต้อง ลดต้นทุนการผลิตสินค้าให้สามารถแข่งขันได้ในตลาดโลก

อ. อุปนิสัยประหยัดไฟฟ้า

อ. อุปนิสัยประหยัดไฟฟ้า : สร้างการเีรียนรู้สู่เยาวชน และประชาชนทั่วไป

ถึงแม้ว่าจะได้มีการส่งเสริมให้มีการใช้อุปกรณ์ประหยัดไฟฟ้าในภาคที่อยู่อาศัย และอาคารประหยัดไฟฟ้าในภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมประสบความสำเร็จแล้วก็ตาม ทัศนคติหรือ การรับรู้เรื่องการประหยัดพลังงาน มีความจำเป็นต้องตอกย้ำ และสร้างองค์ความรู้อย่างต่อเนื่อง

กฟผ. ได้ดำเนินโครงการปลูกฝังอุปนิสัยการใช้พลังงานไฟฟ้าอย่างประหยัดและมีประสิทธิภาพแก่เยาวชนและประชาชน โดยประสานงานกับกระทรวงศึกษาธิการสำนักการศึกษากรุงเทพมหานครจัดตั้ง ห้องเรียนสีเขียว” (GREEN LEARNING ROOM) เพื่อเสริมสร้างทัศนคติและค่านิยมในการใช้ไฟฟ้าอย่างมีประสิทธิภาพแก่เยาวชนของชาติตั้งแต่ระดับอนุบาลจนถึงระดับมัธยม โดยผ่านระบบการศึกษาของประเทศเพื่อปลูกฝังอุปนิสัยการใช้ไฟฟ้าอย่างมีประสิทธิภาพให้ยั่งยืน ปัจจุบันมีห้องเรียนสีเขียวอยู่ในทุกจังหวัดทั่วประเทศ

นอกจากนี้ยังได้ดำเนินการรณรงค์โฆษณาประชาสัมพันธ์ และจัดกิจกรรมสนับสนุนผ่านสื่อบุคคลและสื่อสาธารณะ เพื่อสร้างความมีส่วนร่วมแก่ประชาชน โดยการสร้างเครื่อข่ายของสมาชิกให้เจาะถึงกลุ่มเป้าหมายที่ใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าอย่างใกล้ชิด สร้างความเชื่อมั่นและทัศนคติที่ดีต่อผลิตภัณฑ์เบอร์ 5 เพื่อนำไปสู่สมาชิกครอบครัวเบอร์ 5 ต่อไป

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ศัพท์ทางทหาร military words แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 พจนานุกรมศัพท์ทหาร ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง ไทยแปลอังกฤษ ประโยค lmyour แปลภาษา การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ประปาไม่ไหล วันนี้ ฝยก. ย่อมาจาก หยน ห่อหมกฮวก แปลว่า เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษาจีน ่้แปลภาษา onet ม3 การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 1 ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง ตตตตลก บบบย ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ เขียน อาหรับ แปลไทย เนื้อเพลง ห่อหมกฮวก แปลไทย asus zenfone 2e กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น การประปานครหลวง ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบภาษาอังกฤษ ม.ปลาย พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ชขภใ ชื่อเต็ม ร.9 คําอ่าน ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน นยน. ย่อมาจาก ทหาร บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ฝสธ. ย่อมาจาก มัดหัวใจเจ้าชายเย็นชา 2 ซับไทย มัดหัวใจเจ้าชายเย็นชา 2 เต็มเรื่อง ยศทหารบก เรียงลําดับ ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 รัชกาลที่ 10 ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คอร์ด