สํานวนจากวรรณคดี

เราเป็นคนหนึ่งที่ชื่นชอบวรรณคดีไทย รู้สึกหลงใหลตั้งแต่ตอน ม.ปลาย เรื่องที่ชอบที่สุดน่าจะเป็นบทประพันธ์เรื่อง "อิเหนา" พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ ๒

..หลายครั้งที่ได้ยินคำว่า "ว่าแต่เขาอิเหนาเป็นเอง" เรายังไม่ค่อยเข้าใจความหมาย ต่อมาจึงได้ค้นพบคำตอบว่าสำนวนนี้มีที่มาจากวรรณคดีเรื่องอิเหนาซึ่งมีเนื้อหาสำคัญว่า อิเหนาซึ่งเป็นคู่หมั้นของนางบุษบา ไม่ยอมแต่งงานกับนางบุษบาเพราะหลงนางจินตะหรา  บิดาของนางบุษบาจึงยกนางให้จรกา แต่วิหยาสะกำซึ่งหลงรูปนางบุษบาได้ยกกองทัพมาเพื่อแย่งชิงบุษบา เกิดเป็นศึกที่เมืองดาหา.. อิเหนาจำต้องจากจินตะหราเพื่อมาช่วยศึกเมืองดาหา จึงตำหนิจรกากับวิหยาสะกำว่าหลงนางบุษบาได้อย่างไรกัน แต่เมื่อตนเองมาพบบุษบาก็กลับหลงรักจนต้องทำอุบายเผาเมืองดาหาเพื่อชิงตัวนางบุษบา การกระทำของอิเหนาทำให้เกิดเป็นสำนวนว่า "ว่าแต่เขาอิเหนาเป็นเอง"

ที่มา :  บทวิทยุรายการ "รู้ รัก ภาษาไทย"

ใครพอจะทราบที่มาของสำนวนอื่นๆ รบกวนแบ่งปันเกร็ดความรู้ให้ฟังบ้างนะคะ..

กระต่ายตื่นตูม

     

สำนวนนี้มีความหมายว่า "ตื่นตกใจโดยไม่มีเหตุผล" หรือ "ตื่นตกใจโดยใช่เหตุ" อุปมาเหมือนกระต่ายที่ตื่นตกใจเพราะเสียงลูกมะตูมหล่นลงบนพื้นดิน
      เรื่องกระต่ายตื่นตูมนี้มีกล่าวอ้างถึงในหนังสือต่างๆ เช่น ในโคลงโลกนิติ บทที่ ๓๗๕ ก็เอ่ยถึงว่า

                                        ๏ สัตว์อื่นตื่นเต้นแต่            ควรไกล

                                     กระต่ายตื่นตูม                    สุดหล้า

                                     ช้างม้าตื่นฟืนไฟ                     ฟันฟาด  หยุดเฮย

                                     คนตื่นข่าวศึกส้า                     สุดห้ามมันหาย

      หนังสือรวมนิยายอิงธรรมะเช่นเรื่อง เสียวสวาทอันเป็นชุมนุมนิทานของภาคเหนือและภาคอีสาน ก็มีกล่าวถึงกระต่ายตื่นตูมอยู่ด้วย เรื่องกระต่ายตื่นตูมเป็นนิทานสอนใจเรื่องหนึ่งซึ่งใช้สอนในชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ สมัยก่อนแต่ไม่ได้บอกที่มา และผสมปะปนอยู่ในนิทานโบราณ ซึ่งเชื่อกันว่าอยู่ในชุดนิทานอีสป แต่เมื่อตรวจสอบในนิทานอีสป ๒๘๕ เรื่องแล้ว ก็หาได้มีอยู่ไม่      อย่างไรก็ดีมีชาดกเรื่องหนึ่งชื่อ ทัททภชาดกหรือ ทัทธภายชาดก ในอรรถกถาชาดก   จตุกกนิบาตได้กล่าวถึงเรื่องนี้โดยตรง และอธิบายว่า เสียงดังที่เกิดจากผลไม้หล่น ทำให้กระต่ายตื่นตกใจเผ่นหนีนั้น หาใช่ผลตาลตกลงมาอย่างที่อ้างถึงในหนังสืออื่นๆ ทุกเล่มไม่ ความจริงต้นมะตูม (เวฬุว) ขึ้นอยู่ข้างใต้ต้นตาลอีกทีหนึ่ง และผลมะตูมสุกนั้นเองที่หล่นลงมาใกล้ๆกระต่าย หาใช่ผลตาลสุกหล่นลงมาไม่ ชื่อชาดกที่ว่า ทัททภะ นั้นก็คือ เสียงอะไรหล่นดังตูมนั่นเองและคำว่า "ตูม" นั้นจะหมายถึงเสียงของลูกมะตูมก็ได้

กินจนพุงแตก , กินจนท้องแตกตาย

        กินจนพุงแตก เป็นสำนวนทำนองเยาะหยัน แดกดัน หมั่นไส้ ผู้ที่ละโมบโลภมาก ไม่รู้จักประมาณในการกินอาหาร หรือมิฉะนั้นก็กล่าวเป็นทำนองเสียดสีผู้ที่คดโกงทรัพย์สิน คือโกงได้เท่าไรก็ไม่รู้จักเพียงพอ ยังกระทำการทุจริตเรื่อยไปไม่ละอายบาปกรรม จึงมักจะกล่าวกันว่า กินเข้าไปเถอะอีกหน่อยท้องจะแตกตาย โดยนัยดังนี้ก็หมายถึง "คนที่กินตะกละตะกลามอย่างตายอดตายอยาก" อีกด้วย 
        สำนวนนี้มีที่มาจากมหาเวสสันดรชาดก กัณฑ์มหาราช กล่าวถึงตอนที่ ชูชกขอพระชาลีและกัณหาจากพระเวศสันดรมาได้แล้วก็พาสองกุมารเดินทางกลับบ้านของตน แต่ชูชกหลงทางกลับเดินไปสู่เมืองเชตุดร ซึ่งพระเจ้าสญชัยพระบิดาของพระเวสสันดรปกครองอยู่ ท้าวสญชัยจึงไถ่สองกุมารจากชูชกด้วยพระราชทรัพย์อันมากมาย แล้วประทานเลี้ยงชูชกด้วยอาหารอันอร่อยเลิศ ชูชกตะกละตะกลามกินเข้าไปจนเกินขนาดทำให้ถึงแก่ความตาย การตายของชูชกเป็นที่กล่าวกันตามประสาชาวบ้านว่า ท้องแตกตาย ซึ่งน่าจะมาจาก อาหารไม่ย่อย มากกว่า

จองถนน

          สำนวนนี้มีความหมายว่า "เตรียมแผนการรุกล้ำที่ของคนอื่น,ทำวางโต" คำว่า จอง หมายถึง "ผูก, สร้าง" เพราะฉะนั้น จองถนน ก็คือ "สร้างถนน" ตามเนื้อเรื่อง รามายณะและรามเกียรติิ์ฉบับพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ ๑ กล่าวถึง พระรามยกไพร่พลลิงติดตามร่องรอยนางสีดาไปจนถึงฝั่งมหาสมุทรตรงข้ามเกาะลังกา จะข้ามไปไม่ได้จึงเกณฑ์พลวานรให้เอาหินมาสร้างสะพานข้ามไปลังกา (ของไทยเราเรียกว่า สร้างถนน) จึงเกิดศัพท์ว่า จองถนนซึ่งมีปรากฏในวรรณคดีไทยหลายแห่ง เช่น ในกำสรวลโคลงดั้น โคลงบทที่ ๑๐๒ กล่าวว่า
                                          
                                           ๏ รามาธิราชใช้              พานร
                                     โถกนสมุทรอายาน                ย่านกว้าง
                                     จองถนนเปล่งศิลปศร          ผลาญราพณ์
                                     ใครอาจมาขวางข้า               ก่ายกอง

              ถนนหรือสะพานพระราม (รามเสตุ) เข้าใจว่า สร้างจากเมืองราเมศวรัม (ในพระอภัยมณีเรียกเมืองละเมด) ข้ามไปลังกา ในเรื่องพระอภัยมณี มีกล่าวถึง ถนนพระราม หรือ ถนน เฉยๆ ก็มี เช่น

                        ให้หยุดทัพยัยยั้งอยู่หลังถนน                   คอยรับพลแตกกลับถอยทัพหน้า

ฯลฯ

                         แล้วเดินบกยกมาลงท่าข้าม                    ถนนพระรามเรือแพแซ่สลอน

ชักแม่น้ำทั้งห้า

             เป็นสำนวนที่มีความหมายถึง "พูดให้เพลิดเพลิน" หรือ "พูดให้พอใจ" ในภาษาพูดมีใช้บ่อยๆ เช่น อย่ามาชักแม่น้ำทั้งห้าหน่อยเลย และในร่ายยาว มหาเวสสันดรชาดก กัณฑ์กุมาร ก็มีว่า

              เฒ่าก็พูดหว่านล้อมด้วยคำยอ ชักเอาแม่น้ำทั้งห้าเข้ามาล่อ

              อุปมาถวายเสียก่อน แล้วจึ่งหวนย้อนขอต่อเมื่อภายหลัง

              แสดงว่าความรู้เรื่องแม่น้ำทั้งห้านี้มาจากวรรณคดี มีปรากฏทั้งในวรรณคดีบาลีและสันสกฤต ในวรรณคดีบาลีกล่าวว่า แม่น้ำทั้งห้าได้แก่ แม่น้ำคงคา ยมุนา อจิรวดี สรภู และมหิ ดังคำที่ชูชกได้พรรณนาให้พระเวสสันดรฟังว่า

               พระคุณเจ้าเอย อันว่าแม่น้ำทั้งห้าห้วงกระแสสายชลธาราไหล

               มาจากห้วงคงคาเป็นห้าแถว นองไปด้วยน้ำแนวเต็มติร

               ติรานามชื่อว่า คงคา ยมุนา อจิรวดี สรภูนที มหิมหาสาคเรศ

               จึ่งแตกเป็นนิเทศกุนนทีน้อยๆ ประมาณห้าร้อยโดยสังขยา ปูโร

               ไหลหลั่งถั่งมา ล้นลบกระทบกระทั่งฟากฝั่งฟุ้งเป็นฝอยฝน บ้าง

               ก็เป็นวังเวิงวุ้งชะวากเวิ้ง บ้างก็เป็นกระพักกระเพิงกระพังพุ

               บ้างก็เป็นดะดุดะดั้นกระเด็นดาษดั่งดวงแก้ว...

              ในวรรณคดีสันสกฤตกล่าวว่า แม่น้ำคงคามีสาขา ๔สาย คือ สีตาจักษุ อลกนันทา และภัทราเมื่อรวมกับคงคาจึงเป็น ๕ สายด้วยกัน

อ้างอิง : ศักดิ์ศรี  แย้มนัดดา.สำนวนไทยที่มาจากวรรณคดีไทย.กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,                            ๒๕๕๓

สํานวนใดมีที่มาจากวรรณคดี

กกขนาก, ศรปักอกเหมือนกกขนาก -- กระต่ายตื่นตูม -- กล่องดวงใจ -- กลิ้งฑูต -- กากี -- กาตาแววเห็นธนู -- กิ้งก่าได้ทอง -- กินจนพุงแตก, กินจนท้องแตกตาย -- กุมภกรรณทดน้ำ -- ขอมดำดิน -- ขึ้นต้นงิ้ว -- ขึ้นสวรรค์ทั้งเป็น --เข็นครกขึ้นภูเขา -- เขียวเหมือนพระอินทร์ -- จองถนน -- ใจเป็นแม่พระคงคา -- ชักแม่น้ำทั้งห้า -- ช้างงารี -- ...

สำนวนใดมีที่มาจากวรรณคดี เรื่อง อิเหนา

สำนวน “ว่าแต่เขาอิเหนาเป็นเอง” นั้น พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 อธิบายสำนวนนี้ว่า “ว่าแต่เขาอิเหนาเป็นเอง (สำ) ก. ตำหนิผู้อื่นเรื่องใดแล้วตนก็กลับทำเรื่องนั้นเสียเอง” ที่มาของสำนวนนี้ มาจากวรรณคดีเรื่องอิเหนา

จะพบสุภาษิตในวรรณคดีเรื่องใดบ้าง

Terms in this set (10).
ลูกทรพี รามเกียรติ์.
วิลิศมาหรา อิเหนา.
ชักแม่น้ำทั้งห้า มหาเวชสันดรชาดก.
กลัวดอกพิกุลทองร่วง พิกุลทอง.
ว่าแต่เขาอิเหนาเป็นเอง อิเหนา.
สิบแปดมงกุฏ รามเกียรติ์.
กิ้งก่าได้ทอง มโหสถ.
ฤาษีแปลงสาร นางสิบสอง.

ข้อใดคือสำนวนไทยที่อยู่ในวรรณคดีเรื่องรามเกียรติ์

1.ลูกทรพี คนทรพี หมายถึง คนเนรคุณ อกตัญญู 2. ที่มา ควายตัวหนึ่งในเรื่องรามเกียรติ์ชื่อควายทรพีภายหลังได้ฆ่าทรพาพ่อของตนตาย จึงมักนำคำว่าทรพีมาใช้กับผู้เนรคุณบุพการี

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ศัพท์ทางทหาร military words แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 พจนานุกรมศัพท์ทหาร ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง ไทยแปลอังกฤษ ประโยค lmyour แปลภาษา การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ประปาไม่ไหล วันนี้ ฝยก. ย่อมาจาก หยน ห่อหมกฮวก แปลว่า เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษาจีน ่้แปลภาษา onet ม3 การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 1 ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง ตตตตลก บบบย ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ เขียน อาหรับ แปลไทย เนื้อเพลง ห่อหมกฮวก แปลไทย asus zenfone 2e กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น การประปานครหลวง ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบภาษาอังกฤษ ม.ปลาย พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ชขภใ ชื่อเต็ม ร.9 คําอ่าน ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน นยน. ย่อมาจาก ทหาร บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ฝสธ. ย่อมาจาก มัดหัวใจเจ้าชายเย็นชา 2 ซับไทย มัดหัวใจเจ้าชายเย็นชา 2 เต็มเรื่อง ยศทหารบก เรียงลําดับ ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 รัชกาลที่ 10 ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คอร์ด