สำนวนที่มาจากวัฒนธรรมทางภาษา วรรณคดี

รายงาน

เรื่อง สำนวนไทย

กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย

 

จัดทำโดย

นางสาววิลาสินี   ตุ่นแก้ว

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/7      เลขที่ 8

ผู้สอน

คุณครู สุจิน

โรงเรียนเสาไห้ “วิมลวิทยานุกูล”

ปีการศึกษา 2556  ภาคเรียนที่ 2

คำนำ

          รายงานเล่มนี้เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มสาระการเรียนรู้วิชาภาษาไทย  จัดทำขึ้นเพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับสำนวนไทยต่างๆ ความหมายของสำนวนไทย ที่เราสามารถนำมาใช้ในชีวิตประจำวัน และเพื่อเป็นแนวทางในการศึกษาของรุ่นต่อไป หากมีข้อผิดพลาดประการใด จึงขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย

                                                                                        นางสาววิลาสินี    ตุ่นแก้ว

                                                                                                       ผู้จัดทำ

สารบัญ

                                                                                                                                                             หน้า

ที่มาและความสำคัญของสำนวนไทย                                                                                                                            3

ความหมายของสำนวนไทย                                                                                                                                                 4

ประเภทของสำนวนภาษิต                                                                                                                                                    4

คุณค่าของสำนวนไทย                                                                                                                                                           4-5

ประโยชน์ของสำนวนไทย                                                                                                                                                    5

ที่มาและความสำคัญของสำนวนไทย

สำนวนไทยนั้นมีมาตั้งแต่ก่อนสมัยพ่อขุนรามคำแหง ถ้อยคําหรือข้อความที่กล่าวสืบต่อกันมาช้านานแล้ว มีความหมายไม่ตรงตามตัวหรือมีความหมายอื่นแฝงอยู่ สันนิษฐานว่า สำนวนนั้นมีอยู่ในภาษาพูดก่อนที่จะมีภาษาเขียนเกิดขึ้นในสมัยสุโขทัย โดยเมื่อพิจารณาจากข้อความในศิลาจารึก พ่อขุนรามคำแหงแล้ว ก็พบว่ามีสำนวนไทยปรากฏเป็นหลักฐานอยู่ เช่น ไพร่ฟ้าหน้าใส หมายถึง ประชาชนอยู่เย็นเป็นสุข 

              หนังสือสุภาษิตพระร่วงก็มีเนื้อหาเป็นสำนวนไทยที่ยังใช้อยู่ในปัจจุบันมากมาย เช่น เมื่อน้อยให้เรียนวิชา ให้หาสินเมื่อใหญ่ 
               
หนังสือกฎมณเฑียรบาลของเก่า ก็มีสำนวนไทยปรากฏอยู่ นอกจากนี้ในวรรณคดีไทยต่างๆ ตั้งแต่สมัยอยุธยาเป็นต้นมาก็มีสำนวนไทยปรากฏอยู่มากมาย เช่น ขุนช้างขุนแผน ลิลิตยวนพ่าย ลิลิตพระลอ และราชาธิราช  เป็นต้น 

ความหมายของสำนวนไทย

            สำนวนไทย คือถ้อยคำหรือข้อความที่กล่าวสืบต่อกันมาช้านานแล้ว มีความหมายไม่ตรงตามตัวหรือมีความหมายอื่นแฝงอยู่   หรืออาจกล่าวอีกนัยหนึ่งได้ว่า สำนวน คือถ้อยคำ กลุ่มคำ หรือความที่เรียบเรียงขึ้นในเชิงอุปมาอุปมัยโดยมีนัยแฝงเร้นซ่อนอยู่อย่างลึกซึ้ง แยบคาย เพื่อให้ผู้รับได้ไปตีความ ทำความเข้าใจด้วยตนเองอีกชั้นหนึ่ง ซึ่งอาจแตกต่างไปความหมายเดิมหรืออาจคล้ายคลึงกับความหมายเดิมก็ได้ สันนิษฐานว่าสำนวนนั้นมีอยู่ในภาษาพูดก่อนที่จะมีภาษาเขียนเกิดขึ้นในสมัยสุโขทัย

                สำนวนเป็นเรื่องสำคัญเรื่องหนึ่งของภาษาไทย เพราะเป็นคำพูดที่กลั่นกรองขึ้น เพื่อความสละสลวยของภาษาเป็นถ้อยคำที่คมคายกว่าคำพูดธรรมดา เป็นคำพูดที่รวมใจความยาวๆให้สั้นลงได้ ก็จะทำให้ผู้ฟังสามารถเข้าใจง่าย ๆ

สำนวนไทยมีจำนวนมากมายและมีที่มาที่หลากหลายประการดังนี้ 
1. มีที่มาจากธรรมชาติ  เป็นสำนวนที่เทียบเคียงมาจากสิ่งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ

2. ที่มาจากวัฒนธรรมการดำรงชีวิต  เช่น  ปัจจัยสี่  อาหาร  เครื่องนุ่งห่ม  ที่อยู่อาศัย  พาหนะ  เป็นต้น

3.  ที่มาจากวัฒนธรรมทางสังคม  เช่น  การกระทำ  การทำมาหากิน  การศึกษาประเพณี  การละเล่น   การเมืองการปกครอง  เป็นต้น
                4.
ที่มาจากวัฒนธรรมทางจิตใจ  เช่น   ทางศาสนาและความเชื่อ  เป็นต้น

5.ที่มาจากวัฒนธรรมทางศิลปะ  เช่น  การแสดง  ดนตรี  เป็นต้น

6.ที่มาจากวัฒนธรรมทางภาษา  วรรณคดี  ตำนาน  นิทาน  ประวัติศาสตร์  เป็นต้น

ความหมายของสำนวนไทย

            สำนวนไทย คือถ้อยคำหรือข้อความที่กล่าวสืบต่อกันมาช้านานแล้ว มีความหมายไม่ตรงตามตัวหรือมีความหมายอื่นแฝงอยู่   หรืออาจกล่าวอีกนัยหนึ่งได้ว่า สำนวน คือถ้อยคำ กลุ่มคำ หรือความที่เรียบเรียงขึ้นในเชิงอุปมาอุปมัยโดยมีนัยแฝงเร้นซ่อนอยู่อย่างลึกซึ้ง แยบคาย เพื่อให้ผู้รับได้ไปตีความ ทำความเข้าใจด้วยตนเองอีกชั้นหนึ่ง ซึ่งอาจแตกต่างไปความหมายเดิมหรืออาจคล้ายคลึงกับความหมายเดิมก็ได้ สันนิษฐานว่าสำนวนนั้นมีอยู่ในภาษาพูดก่อนที่จะมีภาษาเขียนเกิดขึ้นในสมัยสุโขทัย โดยเมื่อพิจารณาจากข้อความในศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงแล้ว ก็พบว่ามีสำนวนไทยปรากฏเป็นหลักฐานอยู่ เช่น ไพร่ฟ้าหน้าใส หมายถึง ประชาชนอยู่เย็นเป็นสุข

คุณค่าของสำนวนไทย

                -  เป็นเครื่องอบรมสั่งสอนและชี้แนะให้เป็นคนดีในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นด้าน

ความรัก  การสมาคม  การครองเรือน  การศึกษา  เช่น  อย่าใฝ่สูงให้เกินศักดิ์  น้ำขุ่นไว้ใน  น้ำใสไว้นอก  เป็นต้น
            - เป็นเครื่องสะท้อนให้เห็นแนวคิด  ความเชื่อของคนในสังคมไทยหลายประการ เช่น  ความเชื่อในเรื่องกรรม  ความเชื่อเกี่ยวกับความไม่ประมาท  เช่น  กงเกวียนกำเกวียน  ช้างสาร  งูเห่า  ข้าเก่า  เมียรัก   เป็นต้น
             -  เป็นเครื่องชี้สะท้อนให้เห็นสภาพชีวิตความเป็นอยู่ของคนในสังคมด้านต่างๆ  เช่น การทำมาหากิน  การครองชีพ  เศรษฐกิจ  เช่น  ซื้อควายหน้านา  ซื้อผ้าหน้าหนาว  เป็นต้น
            - เป็นเครื่องชี้ให้เห็นความสัมพันธ์ของคนไทยกับธรรมชาติ  จึงได้นำเอาลักษณะทาง
ธรรมชาติมาตั้งเป็นสำนวน  เช่น  ฝนตกไม่ทั่วฟ้า  น้ำซึมบ่อทราย  เป็นต้น
            -  การศึกษาสำนวนภาษิต  เป็นการสืบต่อวัฒนธรรมของชาติเอาไว้  ไม่ให้สูญหายและเกิดความภาคภูมิใจที่บรรพชนได้สร้างสรรค์ถ้อยคำที่มีคุณค่าไว้ให้แก่เรา

ประโยชน์ของสำนวนไทย

            สำนวนไทยทุกสำนวน จะมีความหมายอยู่ทุกสำนวนทั้งที่บอกความหมายโดยตรง และสำนวนที่มีความหมายแอบแฝงอยู่ สำนวนมีประโยชน์ดังนี้ 
            1. นำหลักคำสอนมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน นำหลักคำสอนมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน 
            2. ทำให้ทราบความหมายของแต่ละสำนวน ทำให้ทราบความหมายของแต่ละสำนวน 
            3. ทำให้เยาว์ชนประพฤติปฏิบัติตนดีขึ้น ทำให้เยาว์ชนประพฤติปฏิบัติตนดีขึ้น 
            4. ช่วยกัดเกลานิสัยของเยาว์ชนให้อยู่ในกรอบและมีระเบียบมากขึ้นช่วยกัดเกลานิสัยของเยาว์ชนให้อยู่ในกรอบและมีระเบียบมากขึ้น

บรรณนานุกรม

//www.ipesp.ac.th/learning/thai/chapter5-2.html

แหล่งอ้างอิง: 

//www.ipesp.ac.th/learning/thai/chapter5-2.html

สำนวนไทยข้อใดมีที่มามาจากวรรณคดี

กกขนาก, ศรปักอกเหมือนกกขนาก -- กระต่ายตื่นตูม -- กล่องดวงใจ -- กลิ้งฑูต -- กากี -- กาตาแววเห็นธนู -- กิ้งก่าได้ทอง -- กินจนพุงแตก, กินจนท้องแตกตาย -- กุมภกรรณทดน้ำ -- ขอมดำดิน -- ขึ้นต้นงิ้ว -- ขึ้นสวรรค์ทั้งเป็น --เข็นครกขึ้นภูเขา -- เขียวเหมือนพระอินทร์ -- จองถนน -- ใจเป็นแม่พระคงคา -- ชักแม่น้ำทั้งห้า -- ช้างงารี -- ...

สำนวนใดที่เกิดจากการละเล่น

1. เข้าตาจน สำนวนนี้มาจากการละเล่นทีมีตัวหมากเดินตามตาราง เช่น หมากรุก หมากตัวใดต้องตกอยู่ในตาซึ่งไม่มีทางจะเดินต่อไปอีก ก็เรียกกันว่า จน คือแพ้ ใครที่ต้องตกอยู่ในที่อับจนไม่มีทางเบี่ยงบ่ายเอาตัวรอดได้ ก็เรียกว่า เข้าตาจน ตัวอย่าง

สํานวนไทยเกิดจากอะไรได้บ้าง

สำนวนไทย หมายถึง ถ้อยคำ กลุ่มคำ หรือประโยคที่ไม่ได้แปลความหมายตรงๆ แต่มีความหมายเชิงเปรียบเทียบแฝงอยู่ ซึ่งเป็นข้อความที่กล่าวสืบต่อกันมาช้านาน ส่วนใหญ่เป็นสำนวนที่เกิดจากวัฒนธรรมและพฤติกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวันของคนไทย นอกจากนี้ยังมี สุภาษิต และ คำพังเพย ที่มีลักษณะอุปมาอุปมัยเช่นเดียวกัน แต่จะเน้นความหมายเชิงสั่งสอน ...

สำนวน “ชุบมือเปิบ” สะท้อนวัฒนธรรมใดของไทย

ชุบมือเปิบ หมายถึง คนที่ฉวยโอกาส เอางานที่ผู้อื่นทำเสร็จด้วยความยากลำบากมาเป็น ประโยชน์ต่อตนเองโดยไม่ได้ทำอะไรมาก่อนเลย มาจากการรับประทานข้าวที่คนไทยสมัยก่อนจะเอามือชุบน้ำ ให้เปียกก่อนแล้วจึงเปิบด้วยมือ สำนวนนี้มาจากการทำอาหารไทยที่ทุกคนต้องมีหน้าที่แบ่งกันทำ ใครที่ไม่ช่วย แต่พอถึงเวลากินก็เข้ามากินเลยจึงนำอาการดัง ...

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ศัพท์ทางทหาร military words แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 พจนานุกรมศัพท์ทหาร ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง ไทยแปลอังกฤษ ประโยค lmyour แปลภาษา การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ประปาไม่ไหล วันนี้ ฝยก. ย่อมาจาก หยน ห่อหมกฮวก แปลว่า เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษาจีน ่้แปลภาษา onet ม3 การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 1 ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง ตตตตลก บบบย ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ เขียน อาหรับ แปลไทย เนื้อเพลง ห่อหมกฮวก แปลไทย asus zenfone 2e กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น การประปานครหลวง ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบภาษาอังกฤษ ม.ปลาย พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ชขภใ ชื่อเต็ม ร.9 คําอ่าน ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน นยน. ย่อมาจาก ทหาร บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ฝสธ. ย่อมาจาก มัดหัวใจเจ้าชายเย็นชา 2 ซับไทย มัดหัวใจเจ้าชายเย็นชา 2 เต็มเรื่อง ยศทหารบก เรียงลําดับ ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 รัชกาลที่ 10 ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คอร์ด