มีชื่อในทะเบียนบ้านได้กี่หลัง

“เจ้าบ้าน” กับ “เจ้าของบ้าน” ใครมีสิทธิดีกว่า

หัวข้อ :: “เจ้าบ้าน” กับ “เจ้าของบ้าน” ใครมีสิทธิดีกว่า

“เจ้าบ้าน” กับ “เจ้าของบ้าน” ใครมีสิทธิดีกว่า

เมื่อเปิดทะเบียนบ้าน ท.ร. ๑๔ ดูจะมีคำว่า “เจ้าบ้าน” ปรากฏอยู่ซึ่ง คำว่า“เจ้าบ้าน” นั้น บางคนอาจเข้าใจว่า“เจ้าบ้าน” เป็นเจ้าของในตัวบ้านเลขที่นั้น
ความหมายของ “เจ้าบ้าน” ตามพระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร พ.ศ. ๒๕๓๔ คือ “ผู้ซึ่งเป็นหัวหน้าครอบครองบ้านในฐานะเป็นเจ้าของ ผู้เช่า หรือในฐานะอื่นใดก็ตาม” โดยมีหน้าที่แจ้งต่างๆ เกี่ยวกับกฎหมายทะเบียนราษฎร เช่น แจ้งเกิด ตาย ย้ายเข้า - ย้ายออก ปลูกบ้านใหม่ หรือรื้อบ้าน ฯลฯ ซึ่งการเป็นเจ้าบ้านมิได้หมายความว่าจะต้องเป็นกรรมสิทธิ์ในที่ดินหรือตัวบ้านนั้น ผู้ที่ครอบครองบ้านอาจเป็นผู้เช่า ผู้อาศัย ผู้ดูแลบ้าน ดังนั้น ทะเบียนบ้าน ท.ร. ๑๔ จึงมิใช่เอกสารที่จะอ้างถึงกรรมสิทธิ์หรือสิทธิใด ๆ ในที่ดิน รวมทั้งตัวบ้านนั้น
ส่วน “เจ้าของบ้าน”ซึ่งเป็น “เจ้าของกรรมสิทธิ์” ในตัวบ้าน และที่ดิน หรืออาจเฉพาะตัวบ้าน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ คือ ผู้ทรงกรรมสิทธิ์ หรือผู้มีอำนาจที่จะใช้สอย จำหน่าย จ่ายโอน ได้ดอกผล กับทั้งติดตามและเอาคืน ซึ่งทรัพย์สินของตนรวมถึงขัดขวางมิให้ผู้อื่นสอดเข้าเกี่ยวข้องกับทรัพย์สินนั้นโดยมิชอบด้วยกฎหมาย พิจารณาจาก ผู้มีชื่อตามเอกสารสิทธิ์ต่างๆ เช่น โฉนดที่ดิน สัญญาซื้อขาย ฯลฯ การขออนุญาตก่อสร้างอาคาร สัญญาจ้างสร้างบ้าน และอื่นๆ
เมื่อพิจารณาให้ดีจะเห็นว่า ความหมายของ “เจ้าบ้าน” และ “เจ้าของบ้าน” ทั้งสองอย่างนั้นมีความเหมือนกันในเรื่องของความเป็นเจ้าของ หรือเป็นผู้มีอำนาจ ในการอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้ผู้อื่นเข้ามามีชื่อในทะเบียนบ้านหรือเข้ามาอาศัยอยู่ในบ้านหลังที่ตนเป็นเจ้าของบ้านหลังนั้น ๆ
ฉะนั้น ความแตกต่างของ “เจ้าบ้าน” และ “เจ้าของบ้าน” ก็คือ อำนาจการครอบครองตามที่กฎหมายกำหนดไว้คนละฉบับ “เจ้าบ้าน” จะเป็นผู้ครอบครองบ้านในฐานะเป็นเจ้าของ ผู้เช่า หรือมิใช่เจ้าของเจ้าของบ้านก็ได้ มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายทะเบียนราษฎรเท่านั้น และมิได้ทำให้เกิดสิทธิในการครอบครอง “บ้าน” ตามกฎหมายอื่น ส่วน “เจ้าของบ้าน” เป็นเจ้าของทรัพย์สินหรือเจ้าของบ้าน ซึ่งกฎหมายการทะเบียนราษฎรไม่ได้บังคับว่าจะต้องเป็นเจ้าบ้าน และการที่ให้บุคคลอื่นทำหน้าที่เป็นเจ้าบ้านก็มิได้ทำให้สิทธิการครอบครองบ้านเสียไป ในกรณีที่เจ้าของบ้านไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่เป็นเจ้าบ้าน สามารถให้ผู้อื่นปฏิบัติหน้าที่เป็นเจ้าบ้านแทนตนเองได้ นั่นเอง
ปัจจุบันได้มี พระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร พ.ศ.๒๕๓๔ และแก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๒ มาตรา ๓๔วรรคสี่ ได้บัญญัติว่า "การกําหนดเลขประจําบ้านตามวรรคหนึ่งและการจัดทําทะเบียนบ้านตามมาตรา ๓๖ มีวัตถุประสงค์เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยและคุ้มครองสิทธิพื้นฐานของประชาชนผู้ใดจะอ้างการกําหนดเลขประจําบ้านหรือการจัดทําทะเบียนบ้านเพื่อแสดงว่าตนมีสิทธิในที่ดินหรือเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินมิได้"

ดังนั้น ผู้ใดจะอ้างการกําหนดเลขประจําบ้านหรือการจัดทําทะเบียนบ้าน เพื่อแสดงว่าตนมีสิทธิในที่ดินหรือเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินมิได้ ซึ่ง "เจ้าบ้าน" ก็ได้ระบุไว้ในทะเบียนบ้านเพื่อแสดงว่าตนมีสิทธิในที่ดินหรือเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดิน
เมื่อเจ้าของบ้านซึ่งมีกรรมสิทธิ์ได้ให้ผู้เช่าหรือผู้อาศัย มาพักอาศัยในบ้านและย้ายทะเบียนบ้านมา ณ บ้านเลขที่นั้น โดยให้เป็น "เจ้าบ้าน" ท่านที่เป็น“เจ้าของบ้าน” อย่าตกใจว่า “เจ้าบ้าน” จะมีสิทธิเหนือท่าน ในกรรมสิทธิ์ของบ้าน เว้นแต่ “เจ้าบ้าน” จะแสดงออกมาว่าเจตนาจะยึดถือครอบครองบ้านเพื่อตน แล้วทำผิดสัญญาเช่า ให้รีบดำเนินการฟ้องร้องดำเนินคดี มิฉะนั้น “เจ้าบ้าน” อาจได้เป็น“เจ้าของบ้าน” ที่มีสิทธิดีกว่าก็ได้

บทความโดย นายสมคิด ใหมคำ
นิติกรชำนาญการ องค์การบริหารส่วนตำบลสร้างมิ่ง อำเภอเลิงนกทา จังหวัดยโสธร

วันที่ : 29 กรกฎาคม 2563   View : 21629

การเพิ่มชื่อและรายการบุคคลเข้าในทะเบียนบ้าน

Details

Details Parent Category: คู่มือการบริการ Category: ทะเบียนราษฎร

หลักเกณฑ์

การเพิ่มชื่อและรายการบุคคลเข้าในทะเบียนบ้านมีหลายกรณี ได้แก่                  

    1. กรณีตกสำรวจตรวจสอบทะเบียนราษฎรเมื่อปี พ.ศ. 2499 (จะต้องเป็นผู้เกิดก่อนวันที่ 1 มิถุนายน 2499)
    2. กรณีเพิ่มชื่อตามเอกสารทะเบียนราษฎรแบบเดิมที่ยังไม่มีเลขประจำตัวประชาชน ได้แก่ สูติบัตร ใบแจ้งการย้าย ที่อยู่ และทะเบียนบ้าน
    3. กรณีคนสัญชาติไทยที่เดินทางกลับจากต่างประเทศ หรือเกิดในต่างประเทศแล้วเดินทางกลับเข้ามา ในประเทศไทย ทั้งที่มีหลักฐานแสดงว่าเป็นคนไทยและไม่มีหลักฐาน
    4. กรณีอ้างว่าเป็นคนไทยแต่ไม่มีหลักฐานเอกสารมาแสดง
    5. กรณีเด็กอนาถาซึ่งอยู่ในความอุปการะของบุคคล หน่วยงานเอกชน หรือหน่วยงานของรัฐ
    6. กรณีบุคคลที่ลงรายการในทะเบียนบ้านว่า "ตาย" หรือ "จำหน่าย" มาขอเพิ่มชื่อ
    7. กรณีคนต่างด้าวที่มีใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว
    8. กรณีคนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้มีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทย
    9. กรณีที่ไม่มีสัญชาติไทยแต่ต่อมาได้รับสัญชาติไทย
    10. กรณีคนต่างด้าวที่เข้ามาในราชอาณาจักรไทย โดยได้รับการผ่อนผันเป็นกรณีพิเศษหรือไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง รวมทั้งผู้เกิดในราชอาณาจักรไทย ซึ่งไม่ได้สัญชาติไทย

ผู้มีหน้าที่แจ้ง
    ได้แก่ เจ้าบ้าน หรือผู้ขอเพิ่มชื่อ บิดา หรือมารดา กรณีผู้ขอเพิ่มชื่อเป็นผู้เยาว์ หรือผู้อุปการะ เลี้ยงดู กรณีเด็กอนาถา

สถานที่ยื่นคำร้อง
    ได้แก่ สำนักทะเบียนอำเภอ หรือสำนักทะเบียนท้องถิ่นที่ผู้ขอเพิ่มชื่อมีภูมิลำเนาอยู่ใน ปัจจุบันเว้นแต่
    1. กรณีเพิ่มชื่อตามสูติบัตรแบบเดิม ให้ยื่นคำร้องที่สำนักทะเบียนที่ออกสูติบัตรฉบับนั้น
    2. กรณีเพิ่มชื่อตามแบบใบแจ้งการย้ายที่อยู่ให้ยื่นคำร้องที่สำนักทะเบียนที่ประสงค์จะขอเพิ่มชื่อ
    3. กรณีเพิ่มชื่อตามทะเบียนบ้านแบบเดิม ให้ยื่นคำร้องที่สำนักทะเบียนที่เคยมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน ครั้งสุดท้าย
    4. กรณีเพิ่มชื่อของผู้ที่ลงรายการจำหน่ายหรือตายไว้แล้ว ให้ยื่นคำร้องที่สำนักทะเบียนที่ผู้นั้นเคยมีชื่อ ในทะเบียนบ้าน ก่อนถูกจำหน่ายรายการ

เอกสารที่ใช้ในการติดต่อ
เอกสารที่ใช้ในการติดต่อ แบ่งเป็น 2 กรณี

กรณีมีหลักฐานมาแสดง
    1. บัตรประจำตัวเจ้าบ้านหรือผู้แจ้ง
    2. สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
    3. รูปถ่ายผู้ขอเพิ่มชื่อ 1 รูป (กรณีผู้ขอเพิ่มชื่ออายุเกิน 7 ปี)
    4. ทะเบียนบ้านหรือสำเนาทะเบียนบ้านฉบับปีพ.ศ. 2499 , พ.ศ. 2515 หรือ พ.ศ. 2526
    5. ใบสูติบัตร (แบบเดิมซึ่งไม่มีเลขประจำตัวประชาชน)
    6. ใบแจ้งการย้ายที่อยู่ (แบบเดิมจึงไม่มีเลขประจำตัวประชาชน)

กรณีไม่มีหลักฐานมาแสดง
    1. บัตรประจำตัวเจ้าบ้านหรือผู้แจ้ง
    2. สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
    3. รูปถ่ายของผู้ขอเพิ่มชื่อ 1 รูป (กรณีผู้ขอเพิ่มชื่ออายุเกิน 7 ปี)
    4. บัตรประจำตัวบิดา มารดา (ถ้ามี)
    5. บัตรประจำตัวพยานบุคคลที่ให้การรับรอง
    6. เอกสารประกอบ เช่น หลักฐานการศึกษา (ถ้ามี) ส.ด.9 (ถ้ามี)

ขั้นตอนในการติดต่อ
    * 1. การยื่นเอกสารและหลักฐาน
    - กรณีมีหลักฐานมาแสดงให้ยื่นต่อนายทะเบียนท้องที่ที่ผู้ร้องขอเพิ่มชื่อปรากฎรายการในเอกสารนั้น ๆ
    - กรณีไม่มีหลักฐานมาแสดงให้ยื่นต่อนายทะเบียนท้องที่ที่ผู้ร้องอาศัยอยู่ในปัจจุบัน
    * 2. นายทะเบียนตรวจสอบหลักฐาน
    * 3. ตรวจสอบรายการในฐานข้อมูลการทะเบียนราษฎร
    * 4. สอบสวนพยานบุคคลที่ให้การรับรอง
    * 5. บันทึกข้อมูลเกี่ยวกับตัวบุคคลที่ขอเพิ่มชื่อ ผู้แจ้ง และพยานบุคคลที่ให้การรับรองและให้บุคคลดังกล่าวลงลายมือชื่อ หรือพิมพ์ลายนิ้วมือ  ตามแบบ ท.ร.25
    * 6. รวบรวมหลักฐานเสนอผู้มีอำนาจอนุมัติในการเพิ่มชื่อในทะเบียนบ้าน
    * 7. คืนหลักฐานให้ผู้แจ้ง

1 คนมีชื่อในทะเบียนบ้านได้กี่หลัง

1.บุคคล คนหนึ่งจะเป็นเจ้าของบ้านและที่ดิน คอนโดมิเนียม กี่แห่งกี่หลังก็ได้ หากมีกำลัง ซื้อเพียงพอ การเป็นเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวก็จะระบุชื่อไว้ในโฉนดที่ดินหรือ เอกสารสิทธิ์รูปแบบอื่น ๆ 2.บุคคลใด บุคคลหนึ่งในเวลาเดียวกันจะมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน ได้เพียง 1 บ้านเลขที่

มีชื่อในทะเบียนบ้านได้กี่คน

ข้อกำหนดอีกอย่างหนึ่งที่ควรรู้ คือ ตาม พ.ร.บ.สาธารณสุข พ.ศ. 2535 กำหนดให้พื้นที่ 3 ตารางเมตรนั้น มีผู้อยู่อาศัยได้ 1 คน ดังนั้นเจ้าบ้านในทะเบียนบ้านจึงมีได้แค่ 1 คนเท่านั้น ซึ่งเมื่อเจ้าบ้านได้ย้ายเข้าไปอยู่ในทะเบียนบ้านนั้น ๆ เป็นเวลา 1 ปีและทำการขายบ้าน ก็จะได้รับการยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะ 3.3 % ของราคาขายหรือราคา ...

มีชื่อในทะเบียนบ้าน มีสิทธิอะไรบ้าง

บางคนอาจเข้าใจผิดเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ อำนาจหน้าที่ของเจ้าบ้าน อันถูกปรากฎชื่อในทะเบียนบ้าน ว่าสามารถมีอำนาจเต็มที่ในการบริหารจัดการสมาชิกในบ้านเท่านั้น.
แจ้งคนเกิดในบ้าน.
แจ้งคนตายในบ้าน.
แจ้งคนย้ายเข้า-ย้ายออก.
สร้างบ้านใหม่หรือรื้อถอน.
ขอเลขที่บ้าน.

เจ้าบ้านในทะเบียนบ้านทำอะไรได้บ้าง

เจ้าบ้าน มีหน้าที่ตาม พ.ร.บ. การทะเบียนราษฎร พ.ศ. 2534 อาทิ แจ้งเกิด-ตาย ย้ายที่อยู่ ขอเลขที่บ้าน หรือเรื่องอื่นๆ เกี่ยวกับบ้าน ซึ่งสามารถสรุปหน้าที่ของเจ้าบ้านได้ดังต่อไปนี้ แจ้งคนเกิดในบ้าน แจ้งคนตายในบ้าน แจ้งคนย้ายเข้า-ย้ายออก

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ศัพท์ทางทหาร military words แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 พจนานุกรมศัพท์ทหาร ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง ไทยแปลอังกฤษ ประโยค lmyour แปลภาษา การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ประปาไม่ไหล วันนี้ ฝยก. ย่อมาจาก หยน ห่อหมกฮวก แปลว่า เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษาจีน ่้แปลภาษา onet ม3 การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 1 ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง ตตตตลก บบบย ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ เขียน อาหรับ แปลไทย เนื้อเพลง ห่อหมกฮวก แปลไทย asus zenfone 2e กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น การประปานครหลวง ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบภาษาอังกฤษ ม.ปลาย พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ชขภใ ชื่อเต็ม ร.9 คําอ่าน ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน นยน. ย่อมาจาก ทหาร บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ฝสธ. ย่อมาจาก มัดหัวใจเจ้าชายเย็นชา 2 ซับไทย มัดหัวใจเจ้าชายเย็นชา 2 เต็มเรื่อง ยศทหารบก เรียงลําดับ ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 รัชกาลที่ 10 ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คอร์ด