ลงทะเบียนว่างงานกี่วันถึงจะได้เงิน

การว่างงาน หรือตกงานนั้นเป็นเรื่องไม่คาดฝันที่ไม่ว่าใครก็ไม่อยากเจอ แต่ถ้าหากคุณเป็นผู้ประกันตนในมาตรา 33 ที่มีการจ่ายเบี้ยประกันสังคมในทุกๆ เดือน หากเกิดเหตุที่ทำให้คุณต้องว่างงานขึ้นมาล่ะก็ คุณสามารถลงทะเบียนว่างงานเพื่อขอรับสิทธิช่วยเหลือจากสำนักงานประกันสังคมได้

บทความนี้เงินติดล้อจะพาคุณมารู้จักกับขั้นตอนการลงทะเบียนว่างงาน และเงินชดเชยต่างๆ ที่คุณจะได้รับจากสำนักงานประกันสังคม มาดูกันเลยว่ามีอะไรบ้าง!

ขั้นตอนลงทะเบียนว่างงาน ต้องทำอย่างไรบ้าง

สำหรับการลงทะเบียนว่างงานนั้น ไม่จำเป็นต้องไปเดินเรื่องที่สำนักงานประกันสังคมด้วยตัวเองอีกแล้ว เพราะสามารถดำเนินการผ่านช่องทางออนไลน์ได้ เรามาดูกันเลยว่ามีขั้นตอนอย่างไรบ้าง

  1. อันดับแรก ให้ผู้ที่ต้องการลงทะเบียนว่างงานทำการเข้าเว็บไซต์ของ กรมจัดหางาน จากนั้นทำการลงทะเบียนให้เรียบร้อยโดยใช้ข้อมูลจากบัตรประชาชน

  2. เมื่อลงทะเบียนเรียบร้อยแล้วให้ทำการยื่น แบบคำขอรับผลประโยชน์ ในกรณีว่างงาน หรือ สปส. 2-01/7 โดยจะต้องทำการแนบเอกสารประกอบอื่นๆ ส่งไปด้วย

  3. เมื่อจัดเตรียมแบบคำขอ และเอกสารอื่นๆ พร้อมแล้ว ให้ทำการส่งเอกสารต่างๆ ไปยังสำนักงานประกันสังคมได้ทุกสาขาทั่วประเทศ

หมายเหตุ: ในกรณีที่ไม่สามารถทำการลงทะเบียนว่างงานผ่านระบบออนไลน์ได้ ผู้ประกันตนก็สามารถเดินทางไปยังสำนักงานประกันสังคมพร้อมเอกสาร เพื่อดำเนินการด้วยตัวเองได้เช่นกัน

หรือทำการติดต่อสอบถามไปยังสำนักงานประกันสังคมโดยตรง ผ่านเบอร์โทรศัพท์: 1506

เอกสารที่ต้องใช้ยื่นมีอะไรบ้าง?

  1. แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทน ในกรณีว่างงาน หรือ สปส. 2-01/7
  2. บัตรประจำตัวประชาชน พร้อมสำเนา
  3. รูปถ่ายขนาด 1 นิ้ว จำนวน 1 รูป (รูปถ่ายต้องมีอายุไม่เกิน 6 เดือน)
  4. หนังสือรองรับการออกจากงาน สำเนาการแจ้งการลาออก หรือ สปส. 6-09 (กรณีที่ไม่มีสำเนา สปส. 6-09 ก็ยังคงสามารถขึ้นทะเบียนว่างงานได้)
  5. หนังสือ หรือเอกสารแจ้งให้ออกจากนายจ้าง (หากมี)
  6. สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากประเภทออมทรัพย์ของธนาคาร โดยชื่อที่ระบุในหน้าสมุดบัญชีต้องเป็นชื่อของผู้ประกันตนที่ทำการลงทะเบียนว่างงาน

ลงทะเบียนว่างงาน ได้รับสิทธิอะไรบ้าง

มาดูกันว่ากรณีที่ลงทะเบียนว่างงานกับสำนักงานประกันสังคมเรียบร้อยแล้วนั้น คุณจะได้รับสิทธิชดเชยอะไรบ้าง และมีเงื่อนไขในการได้รับอย่างไร

  • กรณีถูกเลิกจ้าง

    เงื่อนไขการรับเงินชดเชย: ต้องส่งเงินประกันสังคมครบ 6 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือนก่อนถูกเลิกจ้าง โดยต้องขึ้นทะเบียนผู้ว่างงานและรายงานตัวผ่านเว็บไซต์ empui.doe.go.th

    สิทธิที่ได้รับ: ได้รับเงินทดแทนระหว่างว่างงานร้อยละ 50 ของค่าจ้างเฉลี่ย เป็นระยะเวลาไม่เกิน 180 วันต่อปี

  • กรณีลาออกเอง หรือหมดสัญญาจ้างงาน

    เงื่อนไขการรับเงินชดเชย: ต้องส่งเงินประกันสังคมครบ 3 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือนก่อนลาออก โดยต้องขึ้นทะเบียนผู้ว่างงานและรายงานตัวผ่านเว็บไซต์ empui.doe.go.th

    สิทธิที่ได้รับ: ได้รับเงินทดแทนระหว่างว่างงานร้อยละ 30 ของค่าจ้างเฉลี่ย เป็นระยะเวลาไม่เกิน 90 วันต่อปี

นอกจากนี้ คุณยังสามารถใช้สิทธิสวัสดิการจากประกันสังคมต่อได้อีก 6 เดือน โดยไม่ต้องจ่ายเงินประกันสังคมภายในระยะเวลานั้น เช่น ค่าทำฟัน ค่ารักษาพยาบาล ค่าคลอดบุตร ฯลฯ

ว่างงานได้ แต่อย่าเพิ่งยอมแพ้!

เมื่ออ่านมาถึงจุดนี้ คาดว่าทุกคนก็คงจะได้ทราบกันแล้วว่ามีขั้นตอนการลงทะเบียนว่างงานกับประกันสังเพื่อรับเงินชดเชยอย่างไรบ้าง

เงินติดล้ออยากจะขอให้กำลังใจทุกคนที่กำลังว่างงานอย่าเพิ่งท้อแท้นะครับ ในช่วงที่ยังไม่มีอะไรทำทางเงินติดล้อขอแนะนำให้คุณลองอ่านบทความ “หนทางพลิกวิกฤตให้เป็นโอกาสของคนตกงาน” เพื่อเตรียมตัวรับสิ่งใหม่ที่จะเข้ามา อาจจะมีงานที่ดีและเหมาะสมกับคุณรออยู่ก็ได้

ต้องการเงินสดฉุกเฉิน เงินติดล้อช่วยคุณได้!

หากคุณตกงานกะทันหัน แต่จำเป็นต้องใช้เงินสดฉุกเฉิน สินเชื่อเงินติดล้อช่วยคุณได้

เรามีสินเชื่อทะเบียนรถมากมายหลายประเภท ไม่ว่าจะเป็นมอเตอร์ไซค์ รถเก๋ง หรือแม้แต่รถกระบะก็สามารถยื่นเรื่องขอสินเชื่อกับเราได้ สมัครสินเชื่อกับเงินติดล้ออนุมัติไว ไม่ต้องใช้คนค้ำ และไม่ต้องโอนเล่ม พร้อมให้ราคาประเมินสูงแต่อัตราดอกเบี้ยเป็นธรรมต่อลูกค้าทุกคน รับรองว่ามีเงินสดฉุกเฉินไว้ใช้ทันใจคุณอย่างแน่นอน

สนใจติดต่อทำเรื่องสินเชื่อทะเบียนรถกับเงินติดล้อ สามารถทำได้โดย

  • ติดต่อโดยตรงได้ที่เงินติดล้อทุกสาขาใกล้บ้านท่าน
  • Facebook Inbox เงินติดล้อ: facebook.com/messages/t/ngerntidlor
  • โทรเข้า Call Center เงินติดล้อ: 088-088-0880
  • หรือกรอกข้อมูลด้านล่างเพื่อรอการติดต่อกลับจากเจ้าหน้าที่

เงินติดล้อพร้อมให้บริการพี่น้องประชาชนทุกคนอย่างเต็มที่ครับ!

อีกประโยชน์หนึ่งของประกันสังคมคือเราสามารถขอเงินชดเชย ถ้าเราว่างงานจากการลาออกหรือถูกเลิกจ้างได้ โดยถ้าคุณจ่ายสมทบประกันสังคมมาไม่ต่ำกว่า 6 เดือนก็จะสามารถขอเงินชดเชยได้ โดยจะต้องลงทะเบียนว่างงานกับประกันสังคม ภายใน 30 วันหลังจากว่างงาน ถ้าเลยถือว่าเสียสิทธิ์ ดังนั้นเรามาดูกันว่าวิธีลงทะเบียนว่างงาน กับประกันสังคมออนไลน์เพื่อขอคืนเงินประกันสังคมกรณีออกจากงาน ทำอย่างไรบ้าง อย่างละเอียดเลย

ว่างงาน ได้เงินเท่าไหร่

  • ว่างงานจากถูกเลิกจ้าง
    • ได้ 70% ของค่าจ้าง ไม่เกิน 200 วัน ต่อปี เช่น เงินเดือน 10,000 คิดเป็น 7,000/เดือน
    • ลงทะเบียนกับ กรมการจัดหางาน
  • ว่างงานจากลาออก หรือสิ้นสุดสัญญาจ้าง
    • ได้ 45% ของค่าจ้าง ไม่เกิน 90 วัน ต่อปี
    • เช่น เงินเดือนเฉลี่ย 10,000 บาท ก็จะได้รับเดือนละ 4,500 บาท x 3
    • ลงทะเบียนกับ กรมการจัดหางาน
  • เหตุสุดวิสัยโควิด ได้ 50% ของค่าจ้าง ไม่เกิน 90 วัน ลงทะเบียนโดยกรอก สปส 2-01/7 ส่งให้นายจ้างนำส่งออนไลน์
  • ทุกกรณี คุ้มครองต่อเนื่อง ลาออกจากงานประกันสังคม คุ้มครองต่ออีก 6 เดือน (เจ็บป่วย คลอดบุตร ทุพพลภาพ เสียชีวิต)

กรณีลาออก/เลิกจ้าง

1. ลงทะเบียนออนไลน์

ในการขอคืนเงินประกันสังคมกรณีออกจากงาน (เงินชดเชย) สามารถลงทะเบียนว่างงานออนไลน์ก่อน แล้วค่อยยื่นเอกสารว่างงานประกันสังคม อย่าลืมว่าต้องทำภายใน 30 วัน! โดยทำได้ดังนี้

  1. เข้าไปที่เว็บกรมการจัดหางาน //empui.doe.go.th/auth/index โดยสามารถทำขึ้นทำเบียนได้ทั้งจากคอมพิวเตอร์และมือถือ
  2. ระบบจะสอบถามว่าใช้จากที่บ้านหรือใช้จากสำนักงานประกันสังคม ถ้าทำจากที่บ้านก็กดเลือก “ดำเนินการต่อ” ได้เลย ระบบจะแจ้งว่าบันทึกข้อมูลเรียบร้อย 
  3. จากนั้นทำการลงทะเบียนเป็นสมาชิก แต่ถ้าเคยลงทะเบียนแล้วก็ข้ามขั้นตอนลงทะเบียนไปข้อ 8 ได้เลย หากยังกดเลือก ลงทะเบียนเข้าใช้งาน
  4. ระบบจะแสดงข้อตกลงในการใช้บริการ หลังจากอ่านข้อมูลแล้วก็กด ยอมรับและเข้าใช้งาน แล้วกดขั้นตอนถัดไป
  5. ระบบจะให้กรอกชื่อ นามสกุล,  วันเดือนปีเกิด และเลขบัตรประชาชน รวมถึงเลขหลังบัตรประชาชน
  6. หลังจากนั้นระบบจะให้กรอกข้อมูลส่วนตัวเพิ่มเติมดังนี้
    • อัพโหลดรูปภาพหน้าตรงที่สวมชุดสุภาพ
    • กรอกรหัสผ่านเพื่อใช้ในการเข้าใช้งานครั้งต่อไป
    • กรอกอีเมล์ ที่อยู่และเบอร์โทรศัพท์
  7. กดลงทะเบียน จะเป็นอันเสร็จสิ้นขั้นตอนแรก ในการสมัครสมาชิก ระบบจะแจ้งว่า “คุณต้องดำเนินการขึ้นทะเบียนผู้ประกันตนกรณีว่างงาน เพื่อออกหนังสือรับรอง” ให้กดที่ปุ่ม “ดำเนินการขึ้นทะเบียนผู้ประกันตนกรณีว่างงาน”
  8. ระบบจะพาเข้าสู่หน้า ขึ้นทะเบียนผู้ประกันตนกรณีว่างงาน โดยเนื่องจากว่าเราว่างงานอยู่ ระบบจะให้กรอก
    1. อาชีพที่เราต้องการทำงาน
    2. จังหวัดที่เราต้องการทำงาน
    3. วุฒิการศึกษา
  9. เมื่อกรอกข้อมูลเรียบร้อยให้เลื่อนไปด้านล่าง จะมีปุ่ม “ขึ้นทะเบียนผู้ประกันตนกรณีว่างงาน”
  10.  ระบบจะออกเอกสารเป็น “หนังสือรับรองการขึ้นทะเบียนผู้ประกันตนกรณีว่างงาน” ให้ ซึ่งเป็นหนังสือรับรองว่าเราว่างงานจริง ถือว่าเป็นการเสร็จสิ้นขั้นตอนการลงทะเบียนเป็นผู้ว่างงาน ในเอกสารนั้นจะมีตารางใบนัดรายงานตัว ตรงนี้สำคัญมากเพราะเราต้องรายงานตัว (ทำออนไลน์ได้) เพื่อรับเงินชดเชย รายละเอียดจะอยู่ที่ขั้นตอนที่ 3 ข้างล่างครับ
  11. ปริ้นเอกสารในข้อ 10 ออกมา เพื่อนำไปยื่นที่สำนักงานประกันสังคมประจำแต่ละจังหวัด

เมื่อแจ้งกรมจัดหางานทางออนไลน์แล้วก็จะเข้าสู่ขั้นตอนการไปที่สำนักงานประกันสังคมในขั้นตอนที่ 2

2. ยื่นเอกสาร เพื่อขอเงินชดเชย

หลังจากได้รับเอกสารในขั้นตอนแรกที่ลงทะเบียนว่างงาน กับเว็บกรมจัดหางานออนไลน์ไปแล้ว ขั้นตอนที่ 2 คือการเดินทางไปยังสำนักงานประกันสังคมใกล้บ้านท่าน เพื่อยื่นขอเงินชดเชย โดยใช้เอกสารดังนี้พร้อมกับเอกสารในหัวข้อก่อน

  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน พร้อมเซ็นรับรองสำเนา
  • แบบฟอร์ม สปส 2-01/7 คลิกที่ดาวโหลด ให้ปริ้นออกมาแล้วกรอกให้ครบถ้วน
    • กรอกชื่อ นามสกุล อายุ เลขบัตรประชาชน ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ และข้อมูลอื่นๆ ให้ครบถ้วน
    • กรอกสาเหตุของการออกจากงาน
    • กรอกชื่อสถานประกอบการณ์ (ที่ทำงาน)
    • กรอกวันเดือนปีที่ออกจากงาน
    • ลงชื่อผู้ยื่นคำขอ
  • สำเนาสมุดบัญชีที่เป็นของผู้ว่างงานที่ลงทะเบียน พร้อมเซ็นรับรองสำเนา โดยถ่ายเอกสารในหน้าที่มีเลขบัญชี  ซึ่งสามารถใช้บัญชีของธนาคารต่อไปนี้ได้ครับ: กรุงไทย, กรุงศรีอยุธยา, กรุงเทพ, ไทยพาณิชย์, กสิกรไทย, ทหารไทยธนชาต, ซีไอเอ็มบีไทย, อิสลามแห่งประเทศไทย
  • หากมีหนังสือหรือคำสั่งของนายจ้างให้ออกจากงาน ให้นำติดไปด้วยครับ

3. รายงานตัวออนไลน์ เดือนละครั้ง ห้ามลืม

  • การรายงานตัวสามารถทำผ่านเว็บไซต์ได้ ที่ เว็บกรมจัดหางาน ออนไลน์ //empui.doe.go.th/auth/index  โดยใช้ชื่อผู้ใช้งาน และรหัสผ่านที่สมัครไว้ในขั้นตอนที่ 1 โดยเมื่อเข้าสู่ระบบไปแล้ว กดคลิกเลือก  “รายงานตัว”
  • สามารถรายงานตัวก่อนและหลังวันนัดได้ 7 วัน แนะนำให้ตั้งเตือนหรือจดไว้ในปฎิทินเลย

กรณีถูกสั่งปิดโควิด/กักตัว

  1. ลงทะเบียนโดยกรอก สปส 2-01/7 ส่งให้นายจ้างนำส่งออนไลน์
  2. นายจ้างรวมแบบ สปส 2-01/7 และเอกสารอื่นๆถ้ามีของลูกจ้าง
  3. นายจ้างนำส่งใน e-Service ของ sso.go.th
    • ใบ สปส 2-01/7 ของพนักงาน
    • หนังสือรับรองการหยุดงานกรณีราชการสั่งปิด ให้กักตัว
  4. นายจ้างส่งเอกสารตัวจริง ส่งไปรษณีย์ลงทะเบียน ให้สำนักงานประกันสังคมในพื้นที่ ภายใน 3 วันทำการจากที่บันทึกเข้า e-Service
  5. ประกันสังคม โอนเงินเข้าบัญชีใน 5 วันทำการหลังได้รับข้อมูล ส่วนเงินงวดต่อๆไปโอนทุกสิ้นเดือนจนครบ

รายงานตัวว่างงาน กี่วันได้เงินชดเชย ได้กี่ครั้ง กี่บาท

ถ้าเป็นการลาออกจากงาน ลงทะเบียนเป็นผู้ว่างงานไม่เกิน 30 วันที่ตกงาน คุณจะมีสิทธิ์ได้รับเงินชดเชย 3 งวด โดยเงินชดเชยจะถูกโอนเข้าบัญชี ประมาณ 5-7 วัน หากยังไม่ได้รับสามารถติดต่อสำนักงานประกันสังคมได้ที่สายด่วน 1506 ได้เลย โดยผู้ที่ไม่ได้รับเงินอาจมีเช่น กรอกข้อมูลผิดพลาด นายจ้างยังไม่แจ้งออก คุณสมบัติไม่เข้าเกณฑ์ เป็นต้น

ลงทะเบียนว่างงานประกันสังคมภายในกี่วัน

ในการลงทะเบียนว่างงานกับประกันสังคมนั้นต้องทำภายใน 30 วันหลังจากว่างงาน ถ้าหากเลย 30 วันไปแล้ว ถือว่าเสียสิทธิ์

คุณสมบัติ

โดยประกันสังคมระบุว่าจะต้อง จ่ายเงินสมทบไม่น้อยกว่า 6 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือนก่อนการว่างงาน

นอกจากนี้ยังกำหนดคุณสมบัติผู้ลงทะเบียนว่างงานไว้อีกว่าจะต้องเป็นผู้มีความสามารถในการทํางาน และไม่ได้ถูกเลิกจ้างจากการทุจริตหรือทำผิดกฎหมายหรือให้นายจ้างเสียหาย นอกจากนี้ถ้าถึงอายุ 55 แล้วจะขอเงินชดเชยว่างงานไม่ได้เนื่องจากจะเข้าเกณฑ์ได้รับเงินประกันสังคมชราภาพ

อ้างอิง พรบ. ประกันสังคม, กรมการจัดหางาน, 3,4, ผู้ใช้งานพันทิป

รายงานตัวผ่านเน็ตกี่วันได้เงิน

ประกันสังคมเงินจะโอนเข้าบัญชีภายใน 5-7 วันทำการ ไม่รวมเสาร์อาทิตย์ หรือวันหยุดราชการ นับจากวันที่ได้รับการอนุมัติและรายงานตัว ซึ่งหมายความว่ากว่าจะได้เงินชดเชยว่างงาน นอกจากต้องรายงานตัวว่างงานตามใบนัดหลังจากขึ้นทะเบียน 1 เดือนแล้ว เราจะต้องรอนายจ้างแจ้งยื่นเรื่องลาออก และเจ้าหน้าที่ได้บันทึกข้อมูลลาออก เจ้าหน้าที่ถึง ...

กี่วันถึงจะได้เงินว่างงาน

ได้รับเงินทดแทนระหว่างการว่างงานปีละไม่เกิน 90 วัน ในอัตราร้อยละ 30 ของค่าจ้างเฉลี่ย โดยคำนวณจากฐานเงินสมทบขั้นต่ำเดือนละ 1,650 บาท และฐานเงินสมทบสูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท ตัวอย่างเช่น ผู้ประกันตนมีเงินเดือนเฉลี่ย 10,000 บาท จะได้รับเดือนละ 3,000 บาท

ลงทะเบียนคนว่างงานได้เงินกี่เดือน

กรณีว่างงานจากการลาออกหรือสิ้นสุดสัญญาได้รับเงินทดแทน 30% ของค่าจ้าง เป็นระยะเวลาไม่เกิน 90 วัน/ปีปฏิทิน กรณีถูกเลิกจ้างได้รับเงินทดแทน 50% ของค่าจ้าง เป็นระยะเวลาไม่เกิน 180 วัน/ปีปฏิทิน โดยคำนวณจากฐานค่าจ้างขั้นต่ำเดือนละ 1,650 บาทและสูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท

ต้องรายงานตัวว่างงานกี่ครั้งถึงจะได้เงิน

ในกรณียื่นคำขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานเพราะเหตุถูกเลิกจ้าง หรือเหตุถูกเลิกจ้างและลาออกหรือสิ้นสุดสัญญาจ้างเกินกว่า 1 ครั้ง ภายใน 1 ปีปฏิทิน ให้มีสิทธิได้รับเงินทดแทนทุกครั้ง รวมกันไม่เกิน 180 วัน แต่ในกรณียื่นขอรับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงานเพราะเหตุลาออกหรือสิ้นสุดสัญญาจ้าง เกินกว่า 1 ครั้ง ภายใน 1 ปีปฏิทิน ให้มี ...

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ศัพท์ทางทหาร military words แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 พจนานุกรมศัพท์ทหาร ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง ไทยแปลอังกฤษ ประโยค lmyour แปลภาษา การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ประปาไม่ไหล วันนี้ ฝยก. ย่อมาจาก หยน ห่อหมกฮวก แปลว่า เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษาจีน ่้แปลภาษา onet ม3 การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 1 ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง ตตตตลก บบบย ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ เขียน อาหรับ แปลไทย เนื้อเพลง ห่อหมกฮวก แปลไทย asus zenfone 2e กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น การประปานครหลวง ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบภาษาอังกฤษ ม.ปลาย พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ชขภใ ชื่อเต็ม ร.9 คําอ่าน ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน นยน. ย่อมาจาก ทหาร บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ฝสธ. ย่อมาจาก มัดหัวใจเจ้าชายเย็นชา 2 ซับไทย มัดหัวใจเจ้าชายเย็นชา 2 เต็มเรื่อง ยศทหารบก เรียงลําดับ ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 รัชกาลที่ 10 ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คอร์ด