การถอนอายัด เงินเดือน ใช้เวลากี่วัน

เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา (เจ้าหนี้) มีสิทธิร้องขอให้ เจ้าพนักงานบังคับคดีอายัดสิทธิเรียกร้องของลูกหนี้ตามคำพิพากษา (ลูกหนี้) เช่น อายัดเงินเดือน อายัดเงินในบัญชีธนาคาร หรืออายัดเงินค่าจ้างของลูกหนี้ เพื่อนำมาชำระหนี้ให้กับเจ้าหนี้ (ปวิพ.ม.296 ประกอบ ม.316)

แต่ถ้าบุคคลภายนอก ไม่ยอมส่งเงินมาตามคำสั่งอายัดของเจ้าพนักงานบังคับคดี เจ้าหนี้จะต้องแก้ไขปัญหาอย่างไร ?

วันนี้ผมจะมาอธิบายข้อกฎหมาย และวิธีแก้ไขปัญหาโดยละเอียดครับ

1.ทบทวนกระบวนการเรื่อง อายัดเงินเดือน หรือสิทธิเรียกร้องอื่นๆกันก่อน 

เมื่อศาลตัดสินให้ลูกหนี้ชำระเงินแล้วแต่ลูกหนี้ไม่ยอมชำระ เจ้าหนี้ย่อมมีสิทธิขอให้ศาล ออกหมายตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดี เพื่อดำเนินการยึดและอายัดทรัพย์สินของลูกหนี้ได้ (ปวิพ.ม.274)

เมื่อเจ้าหนี้สืบทราบว่าลูกหนี้มีสิทธิเรียกร้องอยู่กับบุคคลภายนอก  เช่น สืบทราบว่า ลูกหนี้มีเงินฝากในบัญชีธนาคาร  ทำงานกินเงินเดือนอยู่ที่บริษัทไหน หรือ มีสิทธิรับเงินตามสัญญาจ้างจากใคร 

เจ้าหนี้ก็มีหน้าที่จะต้องไปตั้งเรื่องกับเจ้าพนักงานบังคับคดี เพื่อขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการ อายัดเงินในบัญชี เงินเดือน เงินโบนัส หรือเงินค่าจ้าง จากบุคคลภายนอก

ทั้งนี้คำว่า “บุคคลภายนอก” หมายถึง บุคคลที่มีหน้าที่จะต้องจ่ายเงินหรือโอนทรัพย์สินให้กับลูกหนี้ ตามนิติกรรมหรือสิทธิหน้าที่ระหว่างกัน เช่น สิทธิตามสัญญาจ้างแรงงาน สิทธิตามสัญญาจ้างทำของ สิทธิสัญญาฝากทรัพย์ เป็นต้น 

ตัวอย่าง คำร้อง ขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดี อายัดเงินเดือน ของลูกหนี้ตามคำพิพากษา 1

ตัวอย่าง คำร้องขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดี มีคำสั่งอายัดเงินเดือนของลูกหนี้ตามคำพิพากษา 2

เจ้าพนักงานบังคับคดีรับคำร้องแล้ว ทำอย่างไรต่อ ?

เมื่อตรวจคำร้องจากเจ้าหนี้เสร็จแล้ว เจ้าพนักงานบังคับคดี ก็จะมีหนังสือคำสั่งแจ้งการอายัดสิทธิเรียกร้องไปยังบุคคลภายนอก และลูกหนี้

ในคำสั่งอายัด เจ้าพนักงานบังคับคดีจะมีคำสั่งห้ามบุคคลภายนอกชำระหนี้ตามสิทธิเรียกร้องที่ถูกอายัด ให้กับลูกหนี้ และมีคำสั่งให้บุคคลภายนอกชำระหนี้ดังกล่าว ให้กับเจ้าพนักงานบังคับคดีแทน เพื่อที่เจ้าพนักงานบังคับคดีจะได้นำไปชำระให้กับเจ้าหนี้ต่อไป (ปวิพ ม.316)

บุคคลภายนอกที่ได้รับคำสั่งอายัดจากจากเจ้าพนักงานบังคับคดี มีสิทธิโต้แย้งคัดค้านว่าคำสั่งอายัดดังกล่าวไม่ถูกต้อง ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับคำสั่งอายัด (ป.วิ.พ.325)

ตัวอย่างการโต้แย้ง เช่น ลูกหนี้ไม่มีเงินฝากในบัญชีธนาคาร หรือเงินฝากไม่ถึงจำนวนยอดที่อายัด จำเลยไม่ได้ทำงานอยู่ที่บริษัทนี้ หรือจำเลยออกจากงานไปแล้ว เป็นต้น (เทียบเคียง ฎ.3793/2535 , ฎ.652/2508 , ฎ.2202/2554  )

ทั้งนี้เมื่อบุคคลภายนอกรับทราบคำสั่งอายัดของเจ้าพนักงานบังคับคดีแล้ว ยังชำระหนี้ให้ลูกหนี้ไปโดยฝ่าฝืนคำสั่ง จะไม่สามารถอ้างเพื่อปฏิเสธความรับผิด ได้ว่าตนเองได้ชำระหนี้ให้กับลูกหนี้ไปแล้ว และบุคคลภายนอกก็ยังมีหน้าที่จะต้องชำระเงิน ตามคำสั่งอายัดของเจ้าพนักงานบังคับคดี (ปวิพ ม.320 (1) )

ตัวอย่างเช่น

บริษัทนายจ้าง ได้รับคำสั่งอายัดเงินเดือน และเงินโบนัส ของลูกหนี้ จากกรมบังคับคดี แต่ก็ยังฝืนจ่ายเงินเดือนให้ลูกหนี้ไป เช่นนี้ บริษัทนายจ้างไม่สามารถอ้างได้ว่า ได้จ่ายเงินเดือนและเงินโบนัสให้ลูกหนี้ไปหมดแล้ว  (เทียบ ฎ.959/2537 ,ฎ.3729/2552  )

 
ตัวอย่างคำสั่งแจ้ง อายัดเงินเดือน ของลูกหนี้ ที่เจ้าพนักงานบังคับคดีมีคำสั่งไปยังบริษัทนายจ้าง

2.บุคคลภายนอกไม่ยอมส่งเงินมาตามคำสั่งอายัด จะต้องทำอย่างไร 

ถ้าบุคคลภายนอกยังไม่ส่งเงินมาตามคำสั่งของเจ้าพนักงานบังคับคดี เจ้าพนักงานบังคับคดีก็จะแจ้งให้เจ้าหนี้ดำเนินการตามกฎหมายต่อไป 

หลังจากนั้นหากเจ้าหนี้มีความประสงค์จะดำเนินการบังคับคดีต่อไป เป็นหน้าที่ของเจ้าหนี้จะต้องยื่นคำร้องต่อศาล เพื่อขอให้ศาลมีคำสั่งให้บุคคลภายนอกปฏิบัติการชำระหนี้ตามคำสั่งของเจ้าพนักงานบังคับคดี หรือชำระค่าสินไหมทดแทนเพื่อการไม่ชำระหนี้  (ปวิพ ม.321)

ซึ่งทั้งสองแบบนั้น ใช้ในกรณีแตกต่างกัน ดังต่อไปนี้  

1.ให้บุคคลภายนอกปฏิบัติการชำระหนี้ตามคำสั่งของเจ้าพนักงานบังคับคดี 

กรณีเช่นนี้ พบเจอบ่อยที่สุด และมักใช้กับการอายัดเงิน เช่น ลูกหนี้ได้รับคำสั่งอายัดแล้ว ไม่ยอมชำระเงินให้กับเจ้าพนักงานบังคับคดี หรือยังฝืนไปชำระเงินให้กับลูกหนี้ 

2.ชำระค่าสินไหมทดแทนเพื่อการไม่ชำระหนี้ 

ใช้ในกรณี ใช้กับการอายัดทรัพย์เฉพาะสิ่ง เช่น เจ้าพนักงานบังคับคดีสั่งอายัดรูปภาพมูลค่าหลายสิบล้านไว้ และแจ้งให้บุคคลภายนอกทราบแล้ว แต่บุคคลภายนอกกลับนำรูปภาพดังกล่าวไปมอบให้ลูกหนี้โดยฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานบังคับคดี 

ต่อมารูปภาพดังกล่าวสูญหายหรือเสียหาย ย่อมทำให้เจ้าหนี้เสียหายกรณีเช่นนี้ กฎหมายให้อำนาจเจ้าหนี้ที่จะร้องขอให้ศาลสั่งให้บุคคลภายนอกชำระค่าสินไหมทดแทนเพื่อการไม่ชำระหนี้ดังกล่าวได้ โดยไม่ต้องฟ้องเป็นคดีใหม่ 

แต่กรณีเช่นนี้ ไม่ค่อยมีในทางปฏิบัติครับ เพราะส่วนมากจะเป็นการอายัดเงินเสียมากกว่า

ตัวอย่างคำร้อง ตาม ปวิพ ม.321 กรณีบริษัทนายจ้างไม่ยอมส่งเงินตามคำสั่งอายัด 1

ตัวอย่างคำร้อง ตาม ปวิพ ม.321 กรณีบริษัทนายจ้างไม่ยอมส่งเงินตามคำสั่งอายัด 2

ตัวอย่างคำร้อง ตาม ปวิพ ม.321 กรณีบริษัทนายจ้างไม่ยอมส่งเงินตามคำสั่งอายัด 3

ยื่นคำร้องเสร็จแล้วจะเป็นอย่างไรต่อ

เมื่อศาลได้รับคำร้องขอให้ศาลบังคับบุคคลภายนอกชำระหนี้ตามสิทธิเรียกร้อง ตาม ปวิพ ม.321 แล้ว ศาลจะทำการไต่สวนตัวโจทก์ พร้อมกับออกหมายเรียก ลูกหนี้ เจ้าพนักงานบังคับคดี และบุคคลภายนอก มาศาล เพื่อทำการค้นหาความจริงว่าเป็นอย่างไร

โดยศาลมักจะมีคำสั่งว่า หากจำเลย เจ้าพนักงานบังคับคดี หรือบุคคลภายนอกจะโต้แย้งคัดค้านคำร้องของเจ้าหนี้ ก็ให้คัดค้านมาภายในวันนัด 

ในวันนัด ต้องทำอย่างไร

ในวันนัดเจ้าหนี้จะต้องเตรียมพยานหลักฐานต่างๆไปให้พร้อมไต่สวน เพื่อแสดงว่าลูกหนี้มีสิทธิเรียกร้องอยู่กับบุคคลภายนอกจริง โดยพยานหลักฐานที่ใช้ในการไต่สวน เช่น สลิปเงิน สัญญาจ้าง หลักฐานการส่งประกันสังคม คำขอเปิดบัญชีและรายการเดินบัญชี เป็นต้น

เมื่อศาลไต่สวนแล้วได้ความว่า บุคคลภายนอกทราบคำสั่งอายัดของเจ้าพนักงานบังคับคดีแล้ว แต่ไม่ยอมปฏิบัติตามคำสั่ง

ศาลจะมีคำสั่ง ให้บุคคลภายนอกชำระหนี้ตามที่เจ้าพนักงานบังคับคดีมีคำสั่ง หรือให้บุคคลภายนอกชำระค่าสินไหมทดแทนตามจำนวนที่เห็นสมควร แล้วแต่กรณีและเมื่อศาลมีคำสั่งดังกล่าวแล้ว ศาลจะออกคำบังคับให้บุคคลภายนอกชำระหนี้ภายในกำหนด(เทียบ ฎ.773/2549

ถ้าศาลสั่งแล้วยังไม่ปฏิบัติตามจะเป็นยังไง 

ถ้าบุคคลภายนอกยังไม่ปฏิบัติตาม ขั้นตอนต่อไป เจ้าหนี้จะต้องยื่นคำขอให้ศาลบังคับคดีกับบุคคลภายนอกเสมือนหนึ่งว่าเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษา 

และศาลจะออกหมายตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดี เพื่อให้เจ้าหนี้มีสิทธิยึดและอายัดทรัพย์สินของบุคคลภายนอก มาชำระหนี้ตามคำพิพากษา เสมือนกับบุคคลภายนอกเป็นลูกหนี้เองครับ 

ทั้งนี้คำสั่งของศาลตามมาตรา 321 นี้ไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้ให้ถึงที่สุด หรือห้ามอุทธรณ์ฎีกาแต่อย่างใด ดังนั้นหากคำสั่งดังกล่าวกระทบสิทธิผู้ใด ผู้นั้นย่อมมีสิทธิอุทธรณ์ฎีกาได้ เช่นถ้าศาลยกคำร้อง เจ้าหนี้ก็อุทธรณ์ได้ หรือถ้าศาลสั่งให้บุคคลภายนอกชำระหนี้ บุคคลภายนอกก็อุทธรณ์ ฎีกาได้ (เทียบเคียง ฎ.6976/2556)

สรุป 

ถ้าท่านเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา อายัดเงินเดือน จากบริษัทนายจ้างของลูกหนี้ตามคำพิพากษาไปแล้ว บริษัทนายจ้างไม่ยอมส่งเงินมาให้ ท่านก็แก้ปัญหาได้ง่ายๆ ด้วยการยื่นคำร้องต่อศาล ตาม ปวิพ. ม.321 

และหากศาลมีคำสั่งแล้ว บริษัทนายจ้างยังดื้อแพ่งไม่ยอมจ่ายเงิน ท่านก็สามารถขอให้ศาลออกหมายตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดี ยึดอายัดทรัพย์สินของบริษัทนายจ้างได้ เสมือนบริษัทนายจ้างเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาเองครับ

ซึ่งวิธีการเดียวกันนี้ ก็นำไปใช้กับการอายัดสิทธิเรียกร้องอื่นๆ เช่น การอายัดเงินฝากในบัญชีธนาคาร หรืออายัดเงินค่าจ้าง ด้วยครับ 

หนังสือค้นคว้าและอ้างอิงประกอบการเขียนบทความ

คำอธิบาย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ภาคบังคับคดี การบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่ง ธัชวุทธิ์ พุทธิสมบัติ

การบังคับดคีแพ่ง เอื้อน ขุนแก้ว

กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ว่าด้วย การบังคับคดี จรัญ ภักดีธนากุล

แสดงความเห็นเกี่ยวกับบทความนี้

comments

การถอนอายัดบัญชีใช้เวลากี่วัน

การอายัดบัญชี ทำได้ชั่วคราวได้ไม่เกิน 24 ชั่วโมงเพื่อป้องกันการกลั่นแกล้ง ผู้เสียหายมีหน้าที่ไปแจ้งความเพื่อดำเนินคดีกับขบวนการคอลเซ็นเตอร์ภายใน 24 ชั่วโมงเช่นกัน เพื่อให้การอายัดบัญชีดำเนินต่อไปได้ แต่หากไม่มีการแจ้งความดำเนินคดี บัญชีที่อายัดไว้ชั่วคราวจะถูกปลดการอายัด ไม่ให้เกิดความเสียหายกับเจ้าของบัญชี

อายัดเงินเดือนได้กี่ปี

ข้อ 14 ถาม ลูกหนี้จะต้องถูกอายัดเงินเดือนเป็นระยะเวลานาน เท่าใดจึงจะถอนการอายัดเงินเดือน และเมื่อครบ 10 ปีแล้วลูกหนี้จะหลุดพ้นจากการถูกอายัดเงิน เดือนหรือไม่ ตอบ การอายัดเงินเดือนเป็นการอายัดอย่างต่อเนื่อง (กรณีที่ลูกหนี้ยังคง ทำางานอยู่ที่เดิม) มีผลจนกว่าหนี้ตามคำาพิพากษาจะได้รับชำาระครบถ้วน แม้ระยะเวลาจะเกิน 10 ปี ...

บังคับคดีหักเงินเดือนยังไง

2. ขอลดหย่อนเงินที่ถูกหักได้หรือไม่? ตอบ : ได้ครับ มีวิธีครับ ลูกหนี้สามารถไปขอทำเรื่องขอลดหย่อนการอายัดเงินเดือน โดยไปเขียนคำร้องที่กรมบังคับคดี ให้ลดลงมา ได้ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนจากการดำรงชีวิตในแต่ละเดือน

อายัดเงินเดือนตอนไหน

2. หลักเกณฑ์ในงานอายัดเงินเดือนเป็นอย่างไรบ้าง? ต้องทำความเข้าใจก่อนว่า “เงินเดือน” คือ รายได้ประจำที่พนักงาน หรือลูกจ้างได้รับเท่า ๆ กันในทุก ๆ เดือน แต่หลักเกณฑ์ในการอายัดเงินเดือนนั้น จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อผู้ถูกจ้างมีรายได้เกินกว่า 20,000 บาท เท่านั้น

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ศัพท์ทางทหาร military words แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 พจนานุกรมศัพท์ทหาร ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง ไทยแปลอังกฤษ ประโยค lmyour แปลภาษา การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ประปาไม่ไหล วันนี้ ฝยก. ย่อมาจาก หยน ห่อหมกฮวก แปลว่า เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษาจีน ่้แปลภาษา onet ม3 การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 1 ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง ตตตตลก บบบย ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ เขียน อาหรับ แปลไทย เนื้อเพลง ห่อหมกฮวก แปลไทย asus zenfone 2e กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น การประปานครหลวง ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบภาษาอังกฤษ ม.ปลาย พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ชขภใ ชื่อเต็ม ร.9 คําอ่าน ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน นยน. ย่อมาจาก ทหาร บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ฝสธ. ย่อมาจาก มัดหัวใจเจ้าชายเย็นชา 2 ซับไทย มัดหัวใจเจ้าชายเย็นชา 2 เต็มเรื่อง ยศทหารบก เรียงลําดับ ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 รัชกาลที่ 10 ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คอร์ด