วิปัสสนา ต่าง จาก กรรมฐาน อย่างไร

July 27, 2009

การนั่งวิปัสสนาและการนั่งกรรมฐาน เหมือนกันหรือไม่ หรือต่างกันอย่างไร ถ้าปฏิบัติจะมีผลอย่างไร เด็กควรจะปฏิบัติหรือไม่

Posted in สมถะและวิปัสสนา tagged วิปัสสนา at 4:18 am by whybuddha

          

การนั่งวิปัสสนาเป็นส่วนหนึ่งของกรรมฐาน หรือการนั่งกรรมฐาน กรรมฐานนั้นท่านแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

              1. สมถกรรมฐาน กรรมฐานเป็นอุบายที่จะทำให้ใจสงบ ด้วยการนำจิตที่ซัดส่าย ฟุ้งซ่านมาจดจ่ออยู่ในอารมณ์อันใดอันหนึ่ง เช่นการกำหนดลมหายใจเข้าออก โดยเริ่มจากการหัดนับลม เพื่อให้จดใจไว้ที่ลมเข้าออก ไม่วิ่งพล่านไปในเรื่องอื่น ทำไปจนจิตใจสงบพอสมควร นับลมไม่พลาดหรือเผลอแล้วก็เลื่อนไปเป็นการกำหนดรู้ ลมหายใจเข้า-ออกยาว สั้น ให้รู้ทัน ต่อจากนั้นก็ตั้งสติกำหนดเฉพาะที่ปลายจมูกเวลาลมกระทบตอนเข้า หรือที่ปลายริมฝีปาก เวลาลมเข้า-ออก จนจิตสงบเป็นสมาธิคือแน่วแน่ ไม่ซัดส่ายอีกต่อไป การปฏิบัติโดยวิธีนี้ จะทำให้คนบรรลุฌาน 4 ประการ โดยจิตเริ่มสงบไปเป็นชั้น ๆ

              2. วิปัสสนากรรมฐานกรรมฐานเป็นอุบายที่จะให้เกิดปัญญา คือทราบสิ่งต่างๆตามความเป็นจริงไม่ใช้รู้อะไรอย่างฉาบฉวย เช่นการยกขันธ์ 5 คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ ขึ้นมาพิจารณาจนเกิดญาณ หรือปัญญา เห็นสภาวะอันแท้จริงของสิ่งเหล่านั้น ว่าไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็นอนัตตา คือคนไม่อาจจะบังคับบัญชาให้เป็นไปตามที่เราต้องการได้ เช่นต้องการจะให้เป็นสุขอยู่ตลอดเวลาก็ไม่ได้ ต้องการไม่ให้แก่ เจ็บ ตาย ก็ไม่ได้เป็นต้น จนเกิดความเบื่อหน่าย คลายความรัก ความติด ความหลงในรูปเป็นต้นทั้งที่เป็นของตนและบุคคลอื่น

               วิปัสสนา มีการปฏิบัติได้ 2 วิธี คือ ยกขันธ์5 ขึ้นมาพิจารณาเอาเลย โดยไม่ต้องผ่านการทำจิตให้สงบมาก่อน กับการยกจิตขึ้นสู่วิปัสสนา พิจารณาขันธ์ 5 เป็นต้นเช่นกัน หลังจากเจริญสมถกรรมฐานจนได้บรรลุฌาน หรือ อัปปนาสมาธิ อันเป็นเวลาที่จิตสงบแน่วแน่แล้ว จะใช้วิธีใดก็ได้ แต่ผลดีสู้ท่านที่ปฏิบัติมาจากสมถกรรมฐานก่อนไม่ได้

               ที่เหมือนกันเพราะเป็นกรรมฐานเช่นเดียวกัน ที่ต่างกันโดยความหมายกว้างแคบกว่ากัน คือวิปัสสนาเป็นส่วนหนึ่งของกรรมฐาน แต่กรรมฐานไม่จำเป็นจะต้องเป็นวิปัสสนาเสมอไป อาจจะเป็นสมถกรรมฐานก็ได้ดังกล่าวแล้ว

              เด็กควรปฏิบัติอย่างยิ่งโดยเฉพาะคือสมถกรรมฐานเป็นการหัดควบคุมใจของตน เวลาต้องการที่จะใช้สมาธิในการทำงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือการเรียนหนังสือเราจะพบว่าเวลาอ่านหนังสือนั้นถ้าขาดสมาธิ คือการฝึกใช้พลังจิตไปในสิ่งที่เราต้องการจะทำ เป็นการรวมพลังจิตไว้ในจุดเดียว การอ่าน การเขียน การฟัง และการทำงาน ของคนที่มีสมาธิ ย่อมมีประสิทธิภาพกว่าคนที่ไม่มีสมาธิ อย่างอาจจะไม่ถึงกับต้องทำอย่างจริง ๆจัง ๆเพียงแต่ก่อนจะอ่านจะเรียน ให้พยายามรวบรวมพลังจิตที่ฟุ้งซ่านอยู่ ให้จดจ่ออยู่ในเรื่องเหล่านั้นพียงเรื่องเดียวก็จะเกิดประโยชน์มากแล้ว ถ้าถึงกับทำจิตให้เป็นสมาธิได้จริง ๆเวลาต้องการจะใช้พลังจิตขึ้นมา จะสามารถรวบรวมจิตนำมาใช้ได้ในทันที มหาบุรุษของโลก เช่นนโปเลียนมหาราช,มหาตมคานธี ล้วนแล้วแต่คนที่มีสมาธิสูงทั้งนั้น ท่านสามารถบังคับให้หลับและตื่นได้ตามความประสงค์ จิตที่เป็นสมาธิจึงช่วยได้มาก และช่วยคนไปจนถึงทำให้หลุดพ้นจากอำนาจกิเลส เป็นพระอรหันต์ไปเลย ดังนั้น

 จิตฺตสฺส ทมโถ สาธุ การฝึกจิตให้สำเร็จประโยชน์ได้

จิตฺตํ ทนฺตํ สุขาวหํ จิตที่ฝึกดีแล้วนำความสุขมาให้

             จิตฺเตน นียติ โลโก ชาวโลกอันจิตย่อมนำไป เมื่อคนฝึกจิตตามวิธีดังกล่าว ทำให้ได้ผู้นำที่ดี ตามอำนาจของจิตที่ฝึกดีในระดับนั้น ๆจะเป็นใครก็ตาม ย่อมสมควรจะฝึกจิตของตน เพื่อสามารถบังคับจิตในเวลาควรบังคับ ข่ม ห้าม ปลอบ น้อมจิตไปในเวลาสมควรแก่การทำเช่นนั้น

 พุทโธวาท

             ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อายุคนเรานี้สั้นนัก ชาติหน้ายังจะต้องไปเกิด กุศลควรสร้างไว้ พรหมจรรย์ควรประพฤติ ไม่มีเลยที่เกิดแล้วไม่ตาย ภิกษุทั้งหลายคนใดมีอายุยืน คนนั้นจะอยู่ได้ก็แค่ร้อยปี หรือจะเกินไปบ้างก็เล็กน้อย

เธอทั้งหลายจงยังประโยชน์ตนและประโยชน์คนอื่นให้ถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาทเถิด

Permalink

บทความนี้มีเนื้อหาที่สั้นมาก ต้องการเพิ่มเติมเนื้อหาหรือพิจารณารวมเข้ากับบทความอื่นแทน

ศาสนาพุทธ
ส่วนหนึ่งของ

ประวัติ

  • เส้นเวลา
  • พระโคตมพุทธเจ้า
  • พุทธศาสนาก่อนแบ่งนิกาย
  • การสังคายนา
  • การเผยแผ่ศาสนาพุทธผ่านเส้นทางสายไหม
  • การเสื่อมถอยในอนุทวีปอินเดีย
  • ชาวพุทธยุคหลัง
  • พุทธศาสนาสมัยใหม่

  • ธรรม
  • แนวคิด

  • อริยสัจ 4
  • มรรคมีองค์แปด
    • ธรรมจักร
  • ขันธ์ 5
  • อนิจจัง
  • ทุกข์
  • อนัตตา
  • ปฏิจจสมุปบาท
  • มัชฌิมาปฏิปทา
  • สุญตา
  • ศีลธรรม
  • กรรม
  • การเกิดใหม่
  • สังสารวัฏ
  • จักรวาลวิทยา

คัมภีร์

  • พุทธพจน์
  • ตำราพุทธศาสนาช่วงต้น
  • พระไตรปิฎก
  • พระสูตรมหายาน
  • ภาษาบาลี
  • ภาษาทิเบต
  • ภาษาจีน

การปฏิบัติ

  • ไตรสรณคมน์
  • เส้นทางสู่การปลดปล่อยในศาสนาพุทธ
  • เบญจศีล
  • บารมี
  • การทำสมาธิ
  • เหตุผลทางปรัชญา
  • การบูชา
  • การทำบุญ
  • อนุสสติ 10
  • การมีสติ
  • ปัญญา
  • พรหมวิหาร 4
  • โพธิปักขิยธรรม 37
  • อรัญวาสี
  • คฤหัสถ์
  • บทสวดมนต์
  • การแสวงบุญ
  • ลัทธิมังสวิรัติ

นิพพาน

  • การตรัสรู้
  • อริยบุคคล
  • พระอรหันต์
  • พระปัจเจกพุทธเจ้า
  • พระโพธิสัตว์
  • พระพุทธเจ้า

ธรรมเนียม

  • เถรวาท
  • พระบาลี
  • มหายาน
  • หีนยาน
  • แบบจีน
  • วัชรยาน
  • แบบทิเบต
  • นวยาน
  • แบบเนวาร

ศาสนาพุทธในแต่ละประเทศ

  • ภูฏาน
  • กัมพูชา
  • จีน
  • อินเดีย
  • ญี่ปุ่น
  • เกาหลี
  • ลาว
  • มองโกเลีย
  • พม่า
  • รัสเซีย
  • ศรีลังกา
  • ไต้หวัน
  • ไทย
  • ทิเบต
  • เวียดนาม

  • โครงเรื่อง
  • สถานีย่อยศาสนา

วิปัสสนา หมายถึง เห็นการเกิดการดับหรือความเห็นแจ้งในสังขารทั้งหลายว่าไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และไม่ใช่ตัวตน[1]

สมถะและวิปัสสนาถือเป็นธรรมที่ควรเจริญ (ตามทสุตตรสูตร)[2] และเป็นธรรมฝ่ายวิชชา (ตามพาลวรรค)[3]

วิปัสสนาภูมิ[แก้]

วิปัสสนาภูมิ คือ ธรรมทั้งหลายอันแยกประเภทเป็น ขันธ์ อายตนะ ธาตุ อินทรีย์ สัจจะ และปฏิจจสมุปบาท

วิปัสสนาภูมิ หมายถึง ธรรมอันเป็นอารมณ์ของวิปัสสนา

วิปัสสนาญาณ[แก้]

ดูบทความหลักที่: ญาณ

วิปัสสนากรรมฐาน[แก้]

วิปัสสนากรรมฐาน หมายถึง การปฏิบัติกรรมฐานตามแนวทางในมหาสติปัฏฐานสูตร คือ การเจริญสติอันเป็นไปใน กาย เวทนา จิต และธรรม

อ้างอิง[แก้]

  1. พระพรหมคุณาภรณ์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต), วิปัสสนา, พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม
  2. ทสุตตรสูตร, พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค
  3. พาลวรรค, พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ศัพท์ทางทหาร military words แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 พจนานุกรมศัพท์ทหาร ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง ไทยแปลอังกฤษ ประโยค lmyour แปลภาษา การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ประปาไม่ไหล วันนี้ ฝยก. ย่อมาจาก หยน ห่อหมกฮวก แปลว่า เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษาจีน ่้แปลภาษา onet ม3 การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 1 ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง ตตตตลก บบบย ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ เขียน อาหรับ แปลไทย เนื้อเพลง ห่อหมกฮวก แปลไทย asus zenfone 2e กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น การประปานครหลวง ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบภาษาอังกฤษ ม.ปลาย พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ชขภใ ชื่อเต็ม ร.9 คําอ่าน ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน นยน. ย่อมาจาก ทหาร บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ฝสธ. ย่อมาจาก มัดหัวใจเจ้าชายเย็นชา 2 ซับไทย มัดหัวใจเจ้าชายเย็นชา 2 เต็มเรื่อง ยศทหารบก เรียงลําดับ ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 รัชกาลที่ 10 ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คอร์ด