พื้นฐานของการคิดเชิงออกแบบ

การคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking Process) เป็นการประยุกต์วิธีการออกแบบผลิตภัณฑ์ บริการ ตลอดจนนวัตกรรมใหม่ๆ มาสู่การทำงานในส่วนต่างๆ ตลอดจนการบริหารจัดการองค์กรให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น นอกจากการคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking Process) จะเป็นประโยชน์สำหรับการสร้างสรรค์สิ่งใหม่แล้ว ก็ยังเป็นประโยชน์ต่อการทำงานที่จะช่วยให้บุคลากรมีระบบความคิดที่ดีและพร้อมในการหาวิธีการแก้ปัญหาใหม่ๆ ที่พัฒนาอยู่เสมอด้วย ซึ่งนั่นอาจเป็นวิธีการตอบโจทย์ที่ดีที่สุดสำหรับองค์กรไม่ว่าจะเจอปัญหาอะไร หรือสร้างแนวทางใดให้ไปสู่ความสำเร็จ

Create awesome websites!

Made with Mobirise web builder

หลายธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ สามารถคิดค้นนวัตกรรมและผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ออกมาจนเป็นที่สนใจของคนทั้งโลก และไม่ว่าจะทำอะไร  ก็สามารถสร้างผลกำไรมหาศาลให้ธุรกิจได้เสมอ Netflix, Airbnb หรือ Facebook พวกเขาไม่ใช่แค่ “คิด” วิธีการในการมุ่งไปข้างหน้าอย่างเดียวเท่านั้น แต่ยัง “สร้าง” เส้นทางในการก้าวไปข้างหน้าอีกด้วย และต่อให้คิดและสร้างแล้ว ก็อาจไม่ประสบความสำเร็จหากพวกเขาไม่ได้ “ออกแบบ” เส้นทางดังกล่าวนั้นอย่างถูกต้อง 

ซึ่งการออกแบบในที่นี้ไม่ใช่แค่การออกแบบในเชิงรูปธรรม หรือออกแบบผลิตภัณฑ์เท่านั้น แต่หมายรวมไปถึงการออกแบบในเชิงโครงสร้าง ออกแบบวิธีคิด และวิธีการทำงาน ด้วยเหตุนี้องค์กรใหญ่จึงมีศักยภาพในการพัฒนาและเติบโตอย่างก้าวกระโดด ต่อให้เจอปัญหาก็สามารถใช้กระบวนการคิดและออกแบบวิธีแก้ปัญหาได้อย่างสร้างสรรค์ 

ซึ่งเครื่องมือดังกล่าวนั้นก็คือ กระบวนการคิดเชิงออกแบบ หรือ “Design Thinking” นั่นเอง

Design Thinking คืออะไร ? เกี่ยวข้องกับการทำธุรกิจอย่างไร ?

Design Thinking ไม่ใช่แค่การออกแบบผลิตภัณฑ์ หรือเป็นเรื่องของดีไซเนอร์แต่เพียงผู้เดียวเท่านั้น แต่ถือเป็น Core แก่นหลักสำคัญสำหรับการทำธุรกิจเลยทีเดียว เพราะมันเป็นกระบวนการคิดที่มุ่งเน้นมนุษย์เป็นศูนย์กลางเพื่อให้ได้มาซึ่งนวัตกรรมใหม่ อีกทั้งเป็นเครื่องมือช่วยแก้ไขปัญหาที่มีประสิทธิภาพ

ต้องเข้าใจว่าธุรกิจเกิดจากการพยายามแก้ปัญหาให้ผู้บริโภค เพราะฉะนั้น การคิดวิเคราะห์เพื่อหา Solutions หรือการแก้ปัญหาได้อย่างเป็นระบบจึงถือเป็นกระบวนการสำคัญที่ทำให้ธุรกิจของคุณสามารถเข้าใจความต้องการของลูกค้าได้รอบด้าน รวมถึงเข้าใจเทรนด์การบริโภคที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วได้มากขึ้นอีกด้วย

ซึ่งหัวใจสำคัญที่ถือเป็นพื้นฐานในการมีกระบวนการคิดเชิงออกแบบก็คือ

  • เต็มไปด้วยความสงสัยใคร่รู้ : เพราะความสงสัยใครรู่เป็นบ่อเกิดของพลังงานในการทำสิ่งต่างๆและผลักดันให้คุณอยากออกไปเจอะเจอกับสิ่งที่น่าสนใจ
  • กล้าทดลองทำสิ่งใหม่ ๆ : มีความกระตือรือร้นที่จะทำสิ่งใหม่ๆ กล้าคิด กล้าเปลี่ยน และกล้าที่จะลงมือทำ แม้ว่ามันอาจจะขัดกับความเชื่อที่ยึดถือมานานก็ตาม
  • มี Growth Mindset : ถือเป็นปัจจัยที่สำคัญมากๆ เพราะเมื่อคุณมี Growth Mindset คุณจะไม่ติดกับดักของความคิดเดิมๆ อีกต่อไป คุณจะมีมุมมองใหม่ๆเสมอ และคุณจะรู้และเข้าใจมากขึ้นว่าปัญหาที่เจอนั้นไม่ใช่ปัญหาที่แท้จริง แต่เป็นโจทย์ใหม่ที่ท้าทายให้คุณได้ลองออกแบบมัน

หากลองสังเกตธุรกิจใหญ่ๆ ต่างก็เกิดมาจากจุดเริ่มต้นเดียวกันนั่นคือ การตั้งคำถามกับปัญหาที่เจอ แล้วต่อยอดความคิดนั้นด้วยการออกแบบ และทดลองทำ อย่าง Facebook เกิดจากการอยากแก้ปัญหาการเข้าสังคมไม่ค่อยเก่งของมาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก Airbnb ก็เกิดจากการตั้งคำถามว่าจะแก้ปัญหาการไม่มีเงินจ่ายค่าเช่าห้องพักราคาแพงได้อย่างไร หรือ Netflix ก็เกิดจากการตั้งคำถามว่าเราจะสามารถเช่าหนังดูแบบบุฟเฟต์ได้ไหม

 และด้วยการตั้งคำถามอย่างถูกต้อง คิด ออกแบบและต่อยอดไอเดีย เราจึงมีสังคมออนไลน์ขนาดใหญ่ที่ชื่อว่า “Facebook” มีบ้านที่เราสามารถไปพักอาศัยได้ชั่วคราวทั่วโลกอย่าง “Airbnb” และมีสตรีมมิ่งหนังขนาดใหญ่ที่สามารถดูได้ไม่อั้นในคราวเดียวอย่าง “Netflix” ทั้งหมดนี้มีจุดร่วมคล้ายกันคือ ตั้งคำถาม ต่อยอดและออกแบบวิธีแก้ปัญหานั่นเอง

ทำไม Design Thinking จึงเป็นที่พูดถึงมากขึ้นในปัจจุบัน

แนวคิด Design Thinking มีมานับ 50 ปีแล้ว แต่ผู้ที่ทำให้ Design Thinking : กระบวนการคิดเชิงออกแบบ แพร่หลายมาสู่แวดวงธุรกิจคือ David M. Kelley ศาสตราจารย์และนักธุรกิจชาวอเมริกันผู้ก่อตั้งสถาบัน Hasso Plattner Institute of Design (d.school) ของ Stanford University ในปี 2004 เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้และบ่มเพาะความคิดสร้างสรรค์ที่กระตุ้นให้สร้างนวัตกรรมใหม่ๆ

องค์กรระดับโลกอย่าง Google, Apple, Starbucks, Airbnb และ Nike ต่างใช้แนวคิดนี้เป็นเครื่องมือในการทำธุรกิจ ทำให้ Design Thinking เป็นที่รู้จักและได้รับความนิยมมากขึ้น

ขั้นตอนในกระบวนการคิดเชิงออกแบบ

เพื่อให้ง่ายต่อการลำดับความสำคัญและเพื่อผลลัพธ์จากกระบวนการคิดเชิงออกแบบที่ได้ผลที่สุด ในกระบวนการคิดเชิงออกแบบนั้น ประกอบไปด้วย 5 ขั้นตอนที่สำคัญคือ

1.    Empathize – เข้าใจปัญหา

การเข้าใจปัญหาอาจเริ่มด้วยการตั้งคำถาม สร้างสมมติฐาน ตลอดจนวิเคราะห์ปัญหาและพิจารณาปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ในขั้นตอนนี้เป็นเหมือนขั้นตอนของการสร้าง “โจทย์ปัญหา” ขึ้นมา ซึ่งคุณจะต้องตั้งคำถามว่า “ทำไม” ซ้ำๆหลายครั้ง เช่น ทำไมธุรกิจของคุณจึงเกิดขึ้น ทำไมลูกค้าจะต้องเลือกสินค้าหรือบริการของคุณ ธุรกิจคุณแตกต่างจากคู่แข่งอย่างไร ? เมื่อตั้งคำถามอย่างถูกต้อง ก็จะได้โจทย์ที่ชัดเจน ซึ่งจะนำไปสู่แนวทางในการแก้ปัญหาได้อย่างถูกต้องในขั้นตอนต่อไป

2.    Define – กำหนดปัญหาให้ชัดเจน

เมื่อเข้าใจโจทย์ของธุรกิจแล้ว ในขั้นตอนนี้ก็คือการระบุปัจจัยต่างๆให้ชัดเจนมากยิ่งขึ้นเพื่อหาวิธีในการแก้ปัญหา ในขั้นตอนแรกจะทำให้คุณเข้าใจปัญหา ขั้นตอนต่อมาก็คือหนทางในการแก้ปัญหานั้น ซึ่งการจะแก้ปัญหาได้อย่างถูกต้อง คุณต้องกำหนดหรืออธิบายให้ละเอียดชัดเจน เช่น ใครเป็นกลุ่มลูกค้าของคุณ สินค้าและบริการของคุณตอบโจทย์ลูกค้าอย่างไร ลูกค้าจะใช้บริการและหาซื้อได้ที่ไหน เมื่อไหร่ และอย่างไร ? เป็นต้น

3.    Ideate – ระดมความคิด

เป็นขั้นตอนของการระดมความคิด หาไอเดียในการแก้โจทย์ปัญหา ขั้นตอนนี้ถือเป็นขั้นตอนที่ได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์มากที่สุด โดยขั้นตอนนี้คุณไม่จำเป็นต้องกังวลถึงกรอบหรือข้อจำกัดใดๆ ให้ลองเสนอไอเดียอย่างเต็มที่ ไม่มีผิด ไม่มีถูก เป็นการมองหาความแปลกใหม่ที่ตอบโจทย์กลุ่มลูกค้าของคุณมากที่สุด เพราะหลังจากที่คุณระดมความคิดในทีมแล้ว ไอเดียที่เวิร์คที่สุดหรือมีความเป็นไปได้ และน่าจะทำได้จริงที่สุดจะเป็นสิ่งที่ตามมาเอง

4.    Prototype – สร้างแบบจำลองก่อนใช้จริง

ขั้นตอนนี้คือการสร้าง Prototype หรือแบบจำลองก่อนใช้จริง เป็นการนำไอเดียจากขั้นตอนก่อนหน้ามาต่อยอดเพิ่มเติมและทำให้สมบูรณ์แบบมากที่สุด โดยในระยะแรก ไม่จำเป็นต้องคาดหวังในผลลัพธ์มากนัก แต่ให้คิดว่าเป็นการทดลองเพื่อหา Feedback ความสำคัญของขั้นตอนนี้คือการได้เรียนรู้หากพบข้อผิดพลาดเกิดขึ้น เพื่อนำมาปรับปรุงแก้ไขก่อนใช้จริงในอนาคต เพราะ Prototype ที่ดีนั้นต้องทำให้คุณรู้ว่าอะไรที่ลูกค้าชอบและไม่ชอบ และคุณจะ สามารถแก้ไขมันได้อย่างไร

5.    Test – ทดสอบ

ขั้นตอนนี้อาจดูเหมือนเป็นขั้นตอนสั้นๆ และคงใช้เวลารวดเร็ว แต่จริงๆแล้วก่อนจะมีขั้นตอนในการทดสอบได้นั้น ต้องผ่านกระบวนการปรับปรุง แก้ไข เปลี่ยนแปลง ซ้ำๆหลายรอบเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด ยิ่งคุณพบข้อผิดพลาดมากเท่าไหร่ก็ยิ่งเป็นข้อดี เพราะจะทำให้ยังมีเวลาที่จะได้ปรับปรุงแก้ไขให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น และหากในขั้นตอนนี้ คุณพบว่า ไอเดียตรงนี้ไม่สามารถไปต่อได้อีกแล้ว อาจไม่ได้หมายถึงจะต้องพับโครงการไปเสียทีเดียว คุณอาจแก้ไขได้โดยการกลับไปดูที่ขั้นตอนที่สาม – Ideate ใหม่อีกรอบ ระดมความคิดและหาวิธีใหม่ๆกันอีกครั้ง

Design Thinking จึงถือเป็นอีกหนึ่งเครื่องมือสำคัญที่ช่วยทำให้ทีมของคุณร่วมมือกันได้ดีขึ้น ได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์ มีทัศนคติอย่างนักออกแบบ ช่วย Drive องค์กรไปข้างหน้า และที่สำคัญช่วยสร้างผลกำไรและความสำเร็จให้ธุรกิจเติบโตได้อย่างรวดเร็วอีกด้วย

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ศัพท์ทางทหาร military words แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 พจนานุกรมศัพท์ทหาร ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง ไทยแปลอังกฤษ ประโยค lmyour แปลภาษา การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ประปาไม่ไหล วันนี้ ฝยก. ย่อมาจาก หยน ห่อหมกฮวก แปลว่า เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษาจีน ่้แปลภาษา onet ม3 การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 1 ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง ตตตตลก บบบย ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ เขียน อาหรับ แปลไทย เนื้อเพลง ห่อหมกฮวก แปลไทย asus zenfone 2e กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น การประปานครหลวง ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบภาษาอังกฤษ ม.ปลาย พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ชขภใ ชื่อเต็ม ร.9 คําอ่าน ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน นยน. ย่อมาจาก ทหาร บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ฝสธ. ย่อมาจาก มัดหัวใจเจ้าชายเย็นชา 2 ซับไทย มัดหัวใจเจ้าชายเย็นชา 2 เต็มเรื่อง ยศทหารบก เรียงลําดับ ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 รัชกาลที่ 10 ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คอร์ด