อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ หมายถึง

        ปัจจุบันอัตราแลกเปลี่ยนระหว่างเงินตราสกุลต่างๆ ใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบลอยตัว โดยขึ้นอยู่กับอุปสงค์และอุปทานในตลาดซื้อขายแลกเปลี่ยนเงินตราฯ ซึ่งระบบอัตราแลกเปลี่ยนระหว่างประเทศมี 4 ระบบใหญ่ๆ คือ

  1. ระบบอัตราแลกเปลี่ยนคงที่ หมายถึง ระบบมาตรฐานทองคํา (Gold Standard) และระบบมตรปริวรรตทองคํา (Gold Exchange Standard) เป็นตัวกําหนดค่าของเงินตราสกุลต่างๆ โดยเทียบเคียงกับทองคําจํานวนหนึ่งที่แน่นอน
  2. ระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบยึดหยุ่น เป็นระบบอัตราแลกเปลี่ยนที่ไม่มีประเทศใดใช้แล้วในปัจจุบัน
  3. ระบบอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัวแบบมีการจัดการ เป็นระบบอัตราแลกเปลี่ยนที่ปล่อยให้อุปสงค์ และอุปทานของเงินสกุลนั้นๆ ทํางานได้ในระดับหนึ่ง โดยธนาคารกลางสามารถเข้าไปแทรกแซง เพื่อจํากัดขนาดและความผันผวนของการเปลี่ยนแปลงอัตราแลกเปลี่ยนได้ ระบบนี้จึงเป็นที่นิยมและถูกนํามาใช้อย่างแพร่หลายทั่วโลก 

มาตรฐานการบัญชีสำหรับอัตราแลกเปลี่ยน

          กิจการที่มีส่วนได้เสียสาธารณะ (PAEs) ถูกกําหนดให้ปฏบัติตามมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 21 ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ประกอบด้วยย่อหน้าที่ 1 ถึง 62 ทุกย่อหน้ามีความสำคัญเท่ากัน และมาตรฐานการบัญชี ฉบับนี้ต้องอ่านโดยคำนึงถึงข้อกำหนดของ กรอบแนวคิดสำหรับการรายงานทางการเงิน ในกรณีท่ไีม่ได้ให้ แนวปฏิบัติในการเลือกและการใช้นโยบายการบัญชีให้กิจการถือปฏิบัติตามข้อกำหนดของมาตรฐาน การบัญชีฉบับท่ี่ 8 เรื่อง นโยบายการบัญชีการเปลี่ยนแปลงประมาณการทางบัญชีและข้อผิดพลาด

          กิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะ (NPAEs) ถูกกําหนดให้ปฏิบัติตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ฉบับที่ 20/2554 บทที่ 21    ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ (ย่อหน้าที่ 382-390)

คำศัพท์ที่ใช้ในมาตรฐานการบัญชีฉบับนี้มีความหมายเฉพาะดังต่อไปนี้

อัตราปิด หมายถึง อัตราแลกเปลี่ยนทันที ณ วันสิ้นรอบระยะเวลารายงาน

ผลต่างของอัตราแลกเปลี่ยน หมายถึง  ผลต่างที่เกิดขึ้ นจากการแปลงค่าจำนวนหน่วยของเงินสกุลหนึ่งไปเป็นอีกสกุลหนึ่งด้วยอัตราแลกเปลี่ยนที่แตกต่างไป

อัตราแลกเปลี่ยน หมายถึง อัตราที่ใช้แลกเปลี่ยนระหว่างเงินตราสองสกุล

มูลค่ายุติธรรม หมายถึง ราคาที่จะได้รับจากการขายสินทรัพย์หรือจะ
จ่ายเพื่อโอนหนี้ สินในรายการที่เกิดขึ้นในสภาพปกติระหว่างผู้ร่วมตลาด ณ วันที่วัดมูลค่า (ดูมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 13 เรื่อง กำรวัดมูลค่ายุติธรรม) 

เงินตราต่างประเทศ หมายถึง เงินตราสกุลอื่น นอกเหนือจากสกุลเงินที่ใช้ในการดำเนินงานของกิจการ

สกุลเงินที่ใช้ในการดำเนินงาน หมายถึง สกุลเงินที่ใช้ในสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจหลัก ซึ่งกิจการดำเนินงานอยู่

เงินลงทุนสุทธิในหน่วยงานต่างประเทศ หมายถึง ส่วนได้เสียในสินทรัพย์สุทธิของหน่วยงาน
ต่างประเทศของกิจการที่เสนองบการเงิน 

สกุลเงินที่ใช้นำเสนองบการเงิน หมายถึง สกุลเงินที่ใช้ในการเสนองบการเงิน

อัตราแลกเปลี่ยนทันที หมายถึง อัตราแลกเปลี่ยนสำหรับการส่งมอบทันที

ข้อกำหนดของมาตรฐานการบัญชีอัตราแลกเปลี่ยนระหว่างเงินตราสกุลต่างๆ

          ขอบเขตของมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 21 (ปรับปรุง 2552) ให้ใช้กับการบัญชีสําหรับรายการที่เป็นเงินตราต่างประเทศและการแปลงค่างบการเงินของกิจการในต่างประเทศระบุไว้ว่า

(ก) ณ วันเกิดรายการค้า ให้แปลงค่าด้วย “อัตราแลกเปลี่ยนทันที” หรือ อัตราตลาด
(ข) ณ วันที่มีการรับ/จ่ายชําระหนี้ในระหว่างปี ให้แปลงค่าด้วย “อัตราแลกเปลี่ยนทันที”
(ค) ณ วันสิ้นรอบระยะเวลารายงาน
– รายการที่เป็นตัวเงินให้แปลงค่าด้วยอัตราปิด
– รายการที่ไม่เป็นตัวเงิน ซึ่งบันทึกด้วยราคาทุนเดิม ให้แปลงค่าโดยใช้อัตราแลกเปลี่ยน ณ วันเกิดรายการ
– รายการที่ไม่เป็นตัวเงิน ซึ่งบันทึกด้วยมูลค่ายุติธรรม ให้แปลงค่าโดยใช้อัตราแลกเปลี่ยน ณ วันที่กําหนดมูลค่ายุติธรรมนั้น

กําไรขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน (Gains and Losses on Exchange Rate)

          ผลต่างระหว่างอัตราแลกเปลี่ยน ณ 2 จุดเวลา คือ ณ วันที่เกิดรายการค่า กับ วันที่มีการรับ/จ่ายชําระหนี้ หรือ ณ วันสิ้นรอบ
ระยะเวลารายงานกําไรขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนจะถูกบันทึกเป็นรายได้หรือรายจ่าย ไว้ในกําไรหรือขาดทุนในงวดบัญชีนั้น

ภาษีเงินได้นิติบุคคลจากกําไรขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน

          การคํานวณรายได้ รายจ่าย ลูกหนี้ เจ้าหนี้ และกําไรขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนฯ อันเนื่องมาจากรายการค้า ซึ่งมีข้อตกลงเป็นเงินตราต่างประเทศ อาทิ ธุรกิจนําเข้า ส่งออก กิจการขนส่งระหว่างประเทศ ธุรกิจค้าเงินตราต่างประเทศ สาขาหรือบริษัทในเครือของต่างประเทศ บริษัทข้ามชาติ เป็นต้น โดยประมวลรัษฎากรได้บัญญัติหลักเกณฑ์การแปลง “ค่าเงิน” ไว้ในมาตรา 65 ทวิ(5) และ (8) ดังต่อไปนี้

  • กําไรขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนตามมาตรา 65 ทวิ (5) บัญญัติไว้ว่า เงินตรา ทรัพย์สิน หรือหนี้สิน ซึ่งมีค่าหรือราคาเป็น
    เงินตราต่างประเทศที่เหลืออยู่ในวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี ให้คํานวณค่าหรือราคาเป็นเงินไทย ดังนี้

    (I) กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล นอกจาก (II)
     –  ให้คํานวณค่าหรือราคาของเงินตราหรือทรัพย์สิน เป็นเงินตราไทยตามอัตราถัวเฉลี่ยที่ธนาคารพาณิชย์รับซื้อ
     –  ให้คํานวณค่าหรือราคาของหนี้สินเป็นเงินตราไทยตามอัตราถัวเฉลี่ยที่ธนาคารพาณิชย์ขาย
    (II) กรณีธนาคารพาณิชย์ หรือสถาบันการเงิน ให้คํานวณค่าหรือราคาของเงินตรา ทรัพย์สินหรือหนี้สิน เป็นเงินตราไทยตามอัตราถัวเฉลี่ยระหว่างอัตราซื้อและอัตราขาย

  • กําไรขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนตามมาตรา 65 ทวิ (8) กล่าวไว้ว่า ถ้าราคาทุนของสินค้าเป็นเงินตราต่างประเทศให้คํานวณเป็นเงินตราไทย ตามอัตราแลกเปลี่ยนในท้องตลาดของวันที่ได้รับสินค้านั้น เว้นแต่เงินตราต่างประเทศนั้นจะแลกได้ในอัตราทางราชการ ก็ให้คํานวณเป็นอัตราของทางราชการ

ภาษีเงินได้นิติบุคคลจากกําไรขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน

ตัวอย่างการบันทึกบัญชีกรณีการฝากเงินตราต่างประเทศ ตามแนวปฏิบัติกรมสรรพากร

          ผู้ส่งออกได้ขายสินค้าไปต่างประเทศ มูลค่า $400,000 เมื่อครบกําหนดชําระหนี้ได้รับชําระหนี้เป็นเงินตราต่างประเทศ และนํา
ฝากธนาคารพาณิชย์ในรูปของเงินเหรียญสหรัฐ ต่อมาได้ซื้อวัตถุดิบจากต่างประเทศ มูลค่า $40,000 และนําเงินต่างประเทศที่
ฝากไว้จ่ายชําระหนี้ค้าซื้อวัตถุดิบ

วิธีการบันทึกบัญชี
  1. เมื่อขายสินค้าไปต่างประเทศ อัตราแลกเปลี่ยน ณ วันที่ส่งออก $1 = 32 บาท
    Dr. ลูกหนี้ ($400,000 x 32)               12,800,000
             Cr. รายได้                                                          12,800,000
  2. ณ. วันที่ลูกค้าชำระหนี้ค้าสินค้าจากต่างประเทศ ผู้ส่งออกต้องคํานวณค่าเป็นเงินตราไทย ตามมาตรา 65 ทวิ (5)
    กล่าวคือ ต้องบันทึกบัญชีการชําระหนี้เป็นเงินตราไทยตามราคาตลาดในวันที่ได้รับชําระหนี้ค่าสินค้า อัตราแลกเปลี่ยนที่
    ธนาคารรับซื้อเงินตราต่างประเทศ ณ วันที่ได้รับชําระหนี้ คือ $1 = 35 บาท 
    Dr. ธนาคาร ($400,000 x 35)                        14,000,000
             Cr. ลูกหนี้                                                              12,800,000
                       กําไรจากอัตราแลกเปลี่ยน                                    1,200,000
    เมื่อสิ้นรอบระยะเวลาบัญชีเงินตราต่างประเทศที่ฝากไว้กับธนาคารพาณิชย์ หากคงเหลืออยู่ในบัญชีจนถึงวันสิ้นรอบ
    ระยะเวลาบัญชี ต้องมีการปรับปรุงอัตราแลกเปลี่ยนให้เป็นไปตามเงื่อนไขมาตรา 65 ทวิ (5) ถ้าวันสิ้นรอบระยะเวลา
    บัญชีตรงกับ วันที่ 31 ธันวาคม กรมสรรพากรจะประกาศอัตราแลกเปลี่ยนให้ทราบประมาณเดือนมกราคมของปีถัดไป
    หากวันสิ้นรอบระยะเวลาบัญชีเป็นวันอื่น ต้องใช้อัตราแลกเปลี่ยนจากธนาคารแห่งประเทศไทย
  3. ซื้อวัตถุดิบมาจากต่างประเทศ และนําเงินตราต่างประเทศที่ฝากไว้กับธนาคารพาณิชย์ชําระหนี้ค่าซื้อวัตถุดิบ หากอัตรา
    แลกเปลี่ยน ณ วันที่ซื้อวัตถุดิบ คือ $1 = 35 บาท และอัตราแลกเปลี่ยน ณ วันที่ชําระ คือ $1 = 36 บาท
    ในการโอนเงินตราต่างประเทศที่ฝากไว้กับธนาคารพาณิชย์เพื่อจ่ายชําระหนี้ค่าซื้อวัตถุดิบ การบันทึกบัญชีมีอัตรา
    แลกเปลี่ยนต่างกัน คือ
    (1) วันที่นําเข้าวัตถุดิบ อัตราแลกเปลี่ยน คือ $1 = 32 บาท
    (2) วันที่นําเงินตราต่างประเทศฝากไว้กับธนาคารพาณิชย์ อัตราแลกเปลี่ยน คือ $1 = 35 บาท
    (3) วันที่ชําระหนี้อัตราแลกเปลี่ยนที่ธนาคารพาณิชย์ขาย คือ $1 = 36 บาท

          กรณีซื้อวัตถุดิบจากต่างประเทศเป็นแบบมีเครดิต บันทึกบัญชีดังนี้

          Dr. วัตถุดิบ ($40,000 x 32)        1,280,000
                  Cr. เจ้าหนี้                                          1,280,000

         ครบกำหนดวันชำระหนี้ ชําระจากบัญชีเงินฝากของธนาคารพาณิชย์ที่เปิดบัญชีไว้เป็นเงินเหรียญสหรัฐ ทําให้เกิด
กําไร/ขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน บันทึกบัญชีดังนี้

Dr. วัตถุดิบ ($40,000 x 32)        1,280,000
       ขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน (36-32) x $40,000       160,000
                Cr. ธนาคาร ($40,000 x 36)                                            1,440,000
                                กําไรจากอัตราแลกเปลี่ยน (36-35) x $40,000              40,000

         กรณีซื้อเงินสด บันทึกบัญชีดังนี้

Dr. วัตถุดิบ ($40,000 x 36)        1,440,000
           Cr. ธนาคาร ($40,000 x 35)          1,400,000
                  กําไรจากอัตราแลกเปลี่ยน (36-35) x $40,000           40,000

ภาษีภาระกรณี “ค่าเงิน” ผันผวน

“ค่าเงิน” ผันผวน กรมสรรพากรจึงออกคําสั่ง ทป.72/2540 อนุโลมให้บริษัทเหล่านั้นมีสิทธิ เลือกที่จะนํา ผลกําไร/ขาดทุนจากเงินบาทลอยตัว ที่เกิดขึ้น ณ วันสิ้นสุดรอบบัญชีใน หรือ หลัง 2 กรกฎาคม 2540 มาถือเป็นรายได้ รายจ่ายทั้งจํานวนในปี 2540 หรือจะเลือกเฉลี่ยวิธีใดวิธีหนึ่งใน 3 วิธีต่อไปนี้ก็ได้
(1) เฉลี่ยตามสัดส่วนของมูลหนี้ที่ถึงกําหนดชําระ
(2) เฉลี่ยแบบเส้นตรง ตามอายุ ของหนี้ที่คงค้างชําระ
(3) เลือกเฉลี่ยแบบเส้นตรง 2, 3, 4 หรือ 5 งวดก็ได้

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ศัพท์ทางทหาร military words แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 พจนานุกรมศัพท์ทหาร ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง ไทยแปลอังกฤษ ประโยค lmyour แปลภาษา การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ประปาไม่ไหล วันนี้ ฝยก. ย่อมาจาก หยน ห่อหมกฮวก แปลว่า เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษาจีน ่้แปลภาษา onet ม3 การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 1 ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง ตตตตลก บบบย ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ เขียน อาหรับ แปลไทย เนื้อเพลง ห่อหมกฮวก แปลไทย asus zenfone 2e กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น การประปานครหลวง ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบภาษาอังกฤษ ม.ปลาย พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ชขภใ ชื่อเต็ม ร.9 คําอ่าน ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน นยน. ย่อมาจาก ทหาร บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ฝสธ. ย่อมาจาก มัดหัวใจเจ้าชายเย็นชา 2 ซับไทย มัดหัวใจเจ้าชายเย็นชา 2 เต็มเรื่อง ยศทหารบก เรียงลําดับ ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 รัชกาลที่ 10 ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คอร์ด