ระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบลอยตัว ข้อดี

อัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่ หรือ Fixed Exchange Rate คือ อัตราแลกเปลี่ยนที่ “คงที่” จากการที่อัตราแลกเปลี่ยนจะถูกกำหนดตายตัวโดยรัฐบาลหรือธนาคารกลางของประเทศนั้น ๆ ส่งผลให้อัตราแลกเปลี่ยนของสกุลเงินที่ใช้อัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่ (Fixed Exchange Rate) จะไม่เปลี่ยนแปลงไปตาม Demand และ Supply ของเงิน

ตัวอย่างเช่น สมมติว่าประเทศไทยกำหนดไว้ว่า 25 บาท เท่ากับ 1 ดอลลาร์สหรัฐ 25 บาทก็จะเท่ากับ 1 ดอลลาร์สหรัฐไปจนกว่าธนาคารกลางจะประกาศเปลี่ยนแปลงอัตราแลกเปลี่ยน

ดังนั้น ในสกุลเงินของประเทศที่ใช้อัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่ หรือ Fixed Exchange Rate จะไม่มีการแข็งค่า (Appreciation) หรืออ่อนค่า (Depreciation) เหมือนกับประเทศที่ใช้อัตราแลกเปลี่ยนแบบลอยตัวนั่นเอง

ข้อดีและข้อเสียของอัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่

ข้อดีของ Fixed Exchange Rate หรือ อัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่ คือ การที่ไม่มีความเสี่ยงจากความผันผวนของค่าเงิน หนึ่งในผู้ที่ได้ประโยชน์ก็คือผู้ส่งออกที่ไม่ต้องเสี่ยงกับค่าเงินที่อาจทำให้ขาดทุนหรือทำให้สินค้าขายได้ยาก

ในทางกลับกันข้อเสียของอัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่ (Fixed Exchange Rate) คือ การที่ในระยะยาวมูลค่าของเงินจะวิ่งหามูลค่าที่มันควรจะเป็น ในที่นี้คือสภาพของประเทศที่เป็นสิ่งค้ำประกันมูลค่าเงินในแต่ละสกุล

เมื่อไหร่ก็ตามที่ต่างชาติมองว่าอัตราแลกเปลี่ยนถูกกำหนดเอาไว้ในอัตราที่ไม่สมเหตุสมผล เงินสกุลที่ใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่ก็จะไม่เป็นที่ต้องการอีกต่อไป และเกิดการเทขายเงินสกุลดังกล่าวในที่สุด

และเมื่อเกิดการเทขายอย่างหนักจนถึงระดับที่ธนาคารกลางของประเทศนั้นควบคุมไม่ได้ก็จะทำให้ค่าเงินหลุดจากราคาที่ตรึงเอาไว้และอ่อนค่าอย่างรวดเร็วในที่สุดในลักษณะเดียวกับวิกฤตค่าเงินของหลาย ๆ ประเทศที่เคยเกิดขึ้นในอดีต

จากข้อดีที่ไม่มีความผันผวนของค่าเงิน ทำให้ธนาคารกลางของประเทศนั้น ๆ ต้องรับภาระในการดูแลค่าเงินด้วยการตรึงค่าเงินให้อยู่ในระดับอัตราแลกเปลี่ยนที่ต้องการ เมื่อไหร่ก็ตามที่ธนาคารกลางไม่สามารถตรึงอัตราแลกเปลี่ยนไว้ได้จุดจบก็จะไม่ต่างจากวิกฤตต้มยำกุ้งของประเทศไทยเมื่อปี 2540

ด้วยข้อจำกัดเหล่านี้ทำให้ในปัจจุบันประเทศส่วนใหญ่เลือกที่จะใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบลอยตัว (Floating Exchange Rate) และระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบลอยตัวที่มีการควบคุมแทน

ประเทศที่ใช้อัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่

ประเทศไทยในอดีต เคยใช้อัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่ ซึ่งสุดท้ายแล้วก็ต้องยอมปล่อยให้ค่าเงินบาทลอยตัวช่วงวิกฤติต้มยำกุ้งเมื่อปี 2540

ประเทศจีนในปัจจุบัน ก็ยังคงใช้อัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่อยู่ โดยประเทศจีนกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนของค่าเงินหยวนแบบคงที่ และกำหนด (เพิ่มขึ้นหรือลดลงเมื่อเทียบกับสกุลอื่น) โดยธนาคารกลางของจีน

อัตราแลกเปลี่ยนแบบลอยตัว หรือ Floating Exchange Rate คือ อัตราแลกเปลี่ยนที่จะปล่อยให้มูลค่าของอัตราแลกเปลี่ยน “เปลี่ยน” ไปตาม Demand และ Supply ของเงินสกุลนั้น โดยอัตราแลกเปลี่ยนแบบลอยตัวหรือ Floating Exchange Rate เป็นหนึ่งใน 2 รูปแบบกว้าง ๆ ของอัตราแลกเปลี่ยน

  1. ระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่ (Fixed Exchange Rate)
  2. ระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบลอยตัว (Floating Exchange Rate) ที่กำลังพูดถึงในบทความนี้

สมมติว่าเมื่อวาน เงินไทย 32 บาท แลกได้ 1 ดอลลาร์สหรัฐ กลไกที่เกิดขึ้นกับอัตราแลกเปลี่ยนแบบลอยตัว (Floating Exchange Rate) อาจเปลี่ยนไปในลักษณะดังนี้

เมื่อเงินบาทมีความต้องการซื้อ (Demand) มากกว่า ความต้องการขาย (Supply) หรืออธิบายง่าย ๆ คือ คนต้องการแลกเงินสกุลอะไรก็ตามเป็นเงินบาท มากกว่าความต้องการแลกเงินบาทไปเป็นเงินสกุลอื่น ก็จะทำให้มูลค่าของเงินบาทสูงขึ้น หรือก็คือ เงินบาทจะแข็งค่าขึ้น

ทำให้ในวันนี้อาจจะใช้เงินบาทแค่ 31.50 บาท ก็สามารถแลก 1 ดอลลาร์สหรัฐ

ในทางตรงกันข้าม เมื่อเงินบาทมีความต้องการขาย (Supply) มากกว่า ความต้องการซื้อ (Demand) หรือ คนต้องการแลกเงินบาทไปเป็นเงินสกุลอื่น มากกว่าความต้องการแลกเงินสกุลอื่นมาเป็นเงินบาท ก็จะทำให้มูลค่าของเงินบาทลดลง หรือ เงินบาทจะอ่อนค่าลง

ทำให้วันนี้อาจจะต้องใช้เงินบาท 33 บาท เพื่อที่จะแลก 1 ดอลลาร์สหรัฐ

จะเห็นว่าอัตราแลกเปลี่ยนแบบลอยตัว (Floating Exchange Rate) ก็คืออัตราแลกเปลี่ยนในรูปแบบที่ให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า เงินอ่อนค่า (Currency Depreciation) และเงินแข็งค่า (Currency Appreciation)

ข้อดีของอัตราแลกเปลี่ยนแบบลอยตัว

มูลค่าเงินเป็นไปตามที่ควรจะเป็น ไม่สามารถแทรกแซงอัตราแลกเปลี่ยน (อาจทำได้ยาก หรือทำได้ไม่นาน)

ธนาคารกลางของประเทศนั้น มีภาระในการดูแลอัตราแลกเปลี่ยน้อยกว่ากรณีอัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่

มูลค่าของเงินสกุลจะสะท้อนสภาพเศรษฐกิจของประเทศดังกล่าวออกมา

ข้อเสียของอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัว

อัตราแลกเปลี่ยนมีความผันผวน ไม่ได้นิ่งเหมือนอัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่ ทำให้เกิดความเสี่ยงกับผู้ที่ต้องจ่ายหรือรับชำระเงินระหว่างประเทศ เช่น ผู้นำเข้า ผู้ส่งออก ฯลฯ

สามารถเก็งกำไรได้ และความผันผวนก็จะตามมา ทำให้เกิดปัญหาข้อ 1. ตามมาอีกที

ระบบอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัวแบบเสรี (Independent หรือ Free Float)

สำหรับระบบอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัวแบบเสรี อัตราแลกเปลี่ยนจะถูกกำหนดโดยกลไกตลาดเป็นหลัก ดุลยภาพของอัตราแลกเปลี่ยนในระบบนี้จะขึ้นอยู่กับอุปสงค์และอุปทานของเงินตราต่างประเทศ เช่นจุด A ที่ 35 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ดังภาพที่ 1 โดยเมื่ออุปสงค์และ/หรืออุปทานของเงินตราต่างประเทศเปลี่ยนแปลง จะทำให้เส้นอุปสงค์และ/หรือเส้นอุปทานเงินตราต่างประเทศเปลี่ยนแปลงไปด้วย โดยจากภาพที่ 1 เกิดอุปสงค์ต่อเงินตราต่างประเทศเพิ่มขึ้นจนเส้นอุปสงค์เลื่อนไปทางขวาจนระดับดุลยภาพของอัตราแลกเปลี่ยนจะเปลี่ยนแปลงไปสู่ดุลยภาพใหม่ที่ 40 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ณ จุด B ดังนั้นจึงเห็นว่าในประเทศที่มีระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบลอยตัว ค่าเงินอาจมีการเปลี่ยนแปลงขึ้นลงได้ ทั้งนี้จะเป็นไปตามปัจจัยต่างๆ ทางเศรษฐกิจที่เป็นตัวกำหนดความต้องการและปริมาณของเงินตราต่างประเทศในตลาดเงินตราต่างประเทศนั่นเอง

ภาพที่ 1 ดุลยภาพในตลาดอัตราแลกเปลี่ยนเมื่อมีอุปสงค์ของเงินดอลลาร์เพิ่มขึ้น

ตัวอย่างของประเทศที่ใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัวแบบเสรี ได้แก่ แซมเบียแอลเบเนีย ออสเตรเลีย ออสเตรีย เบลเยี่ยม บราซิล แคนาดา ชิลี ไซปรัส สาธารณรัฐเช็ก ฟินแลนด์ ฝรั่งเศส เยอรมนี กรีซ ฮังการี ไอซ์แลนด์ ไอร์แลนด์ อิสราเอล อิตาลี เกาหลีใต้ ลักแซมเบิก มอลตา เม็กซิโก เนเธอร์แลนด์ นิวซีแลนด์ นอร์เวย์ ฟิลิปปินส์ โปแลนด์ โปรตุเกส สโลเวเนีย แอฟริกาใต้ สเปน สวีเดน ตุรกี สหราชอาณาจักร คองโก ญี่ปุ่น โซมาเลีย สวิสเซอร์แลนด์ สหรัฐอเมริกา

ข้อเสียที่สำคัญของระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบลอยตัวคืออะไร

ภายใตระบบอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัว มีขอเสียที่สําคัญคืออัตราแลกเปลี่ยนจะผันผวนขึ้น ลงไปตามอุปสงคและอุปทาน รวมทั้งการเก็งกําไร ซึ่งกอใหเกิดความไมแนนอนในเรื่องอัตรา แลกเปลี่ยน ซึ่งเปนอุปสรรคสําคัญในการดําเนินธุรกิจระหวางประเทศ เพราะจะทําใหเกิดกําไรหรือ ขาดทุนไดจากการผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนนโยบายในการรักษา ...

ระบบอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราแบบลอยตัวเสรีมีลักษณะสำคัญอย่างไร

3.2 ระบบลอยตัวเสรี(Independent หรือ Free Float) เป็นระบบที่ค่าเงินลอยตัวตาม กลไกตลาดมากที่สุด ธนาคารกลางอาจเข้าแทรกแซงในตลาดบ้าง เพื่อชี้นาทิศทาง แต่ มิใช่เพื่อสวนทางกับการเคลื่อนไหวของอัตราแลกเปลี่ยนในตลาด

ระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบลอยตัว คืออะไร

อัตราแลกเปลี่ยนลอยตัว เป็นระบบที่ตรงข้ามกับอัตราแลกเปลี่ยนคงที่ อัตราแลกเปลี่ยนลอยตัวแบบกึ่งจัดการ เป็นการปล่อยให้อัตราค่าเงินเป็นไปตามกลไกของตลาด ขึ้นอยู่กับอุปสงค์-อุปทาน ของสกุลเงินนั้น ๆ โดยธนาคารกลางเป็นผู้คอยควบคุมให้เป็นไปโดยปกติ หากเกิดเหตุการณ์ผิดปกติต่อค่าเงิน เช่น มีการเก็งกำไร ธนาคารกลางก็จะเข้าแทรกแซง

ระบบอัตราแลกเงินตราแบบลอยตัวถูกใช้ขึ้นในปีใด

ดังนั้น ตั้งแต่วันที่ 2 กรกฎาคม 2540 เป็นต้นไป ประเทศไทยจะใช้ระบบอัตรา แลกเปลี่ยนแบบลอยตัว (managed float) ซึ่งค่าเงินบาทเมื่อเทียบกับเงินตราสกุลต่าง ๆ จะถูกกำหนด

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ศัพท์ทางทหาร military words แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 พจนานุกรมศัพท์ทหาร ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง ไทยแปลอังกฤษ ประโยค lmyour แปลภาษา การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ประปาไม่ไหล วันนี้ ฝยก. ย่อมาจาก หยน ห่อหมกฮวก แปลว่า เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษาจีน ่้แปลภาษา onet ม3 การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 1 ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง ตตตตลก บบบย ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ เขียน อาหรับ แปลไทย เนื้อเพลง ห่อหมกฮวก แปลไทย asus zenfone 2e กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น การประปานครหลวง ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบภาษาอังกฤษ ม.ปลาย พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ชขภใ ชื่อเต็ม ร.9 คําอ่าน ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน นยน. ย่อมาจาก ทหาร บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ฝสธ. ย่อมาจาก มัดหัวใจเจ้าชายเย็นชา 2 ซับไทย มัดหัวใจเจ้าชายเย็นชา 2 เต็มเรื่อง ยศทหารบก เรียงลําดับ ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 รัชกาลที่ 10 ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คอร์ด