ลักษณะที่ดีของระบบบริหารคุณภาพมา 5 ข้อ

ประโยชน์ของระบบบริหารจัดการ  ISO 9001:  2000

ประโยชน์ภายในองค์การ
                   1.  มีระบบการจัดการเอกสาร ดีขึ้นสามารถลดขั้นตอนการทำงานที่ซ้ำซ้อน

                   2.  บุคลากรมีความใส่ใจต่อการทำงานมากขึ้นเพราะการทำงานจะต้องมีร่องรอยหลักฐาน    

                    3. ระบบมีการทวนสอบความผิดพลาดทำให้พนักงานมีขวัญและกำลังใจในการทำงาน
                   4.  การทำงานมีระบบและมีคุณภาพ  ลดค่าใช้จ่ายเพิ่มผลผลิต และเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน
  ประโยชน์ภายนอกองค์การ
                    1. ลูกค้าหรือผู้ที่มีส่วนได้ส่วนได้ส่วนเสีย1ที่มาปฏิสัมพันธ์กับองค์การ มีความพึงพอใจในการให้

                         การบริการ
                    2. เป็นกลวิธี (Tactic)   ในการเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันทางตลาดที่ทั่วโลกให้การยอมรับ

บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที

  • ตอนที่ 1 : การจัดการองค์การ
  • ตอนที่ 2 : ความสำคัญของ ISO
  • ตอนที่ 3 : เราจะประยุกต์ข้อกำหนด ISO ทั้งหมดกับสถาบันการศึกษาได้อย่างไร? กรณีศึกษา ระดับอาชีวศึกษา
  • ตอนที่ 4 : ข้อกำหนดที่ 6 การบริหารทรัพยากร
  • ตอนที่ 5 : การวัด การวิเคราะห์ และการปรับปรุง
  • ตอนที่ 6 : การวัด การวิเคราะห์ และการปรับปรุง (ต่อ)
  • ตอนที่ 7 : หลักการที่ 1 การมุ่งเน้นที่ตัวลูกค้า (Customers Focus)
  • ตอนที่ 8 : หลักการที่ 2 ความเป็นผู้นำ
  • ตอนที่ 9 : หลักการที่ 3 การมีส่วนร่วมของบุคลากร
  • ตอนที่ 10 : หลักการที่ 4 - 5- 6
  • ตอนที่ 11 : หลักการที่ 7 การตัดสินใจบนพื้นฐานของความเป็นจริง
  • ตอนที่ 12 : หลักการที่ 8 ความสัมพันธ์อันดีกับผู้ส่งมอบ (Supplier / Vendor)
  • ตอนที่ 13 : กลยุทธ์ การตลาดในแข่งขันสำหรับธุรกิจสถานศึกษาเอกชน
  • ตอนที่ 14 : กลยุทธ์ การตลาดในแข่งขันสำหรับธุรกิจสถานศึกษาเอกชน ต่อ
  • ตอนที่ 15 : ไพ่ใบสุดท้าย
  • ตอนที่ 16 : ประโยชน์ของระบบบริหารจัดการ ISO 9001: 2000
  • ตอนที่ 17 : การตรวจประเมินภายใน Internal Quality Audit: IQA
  • ตอนที่ 18 : สิ่งที่ตรวจพบจาก IQA CAR OBS OFI
  • ตอนที่ 19 : ขั้นตอนหลังจากการทำ IQA จะต้องทำอะไรต่อไป
  • ตอนที่ 20 : การประชุมทบทวนโดยฝ่ายบริหาร Management Preview
  • ตอนที่ 21 : การจัดทำ CHECK LIST
  • ตอนที่ 22 : ตัวอย่าง CHECK LIST
  • ตอนที่ 23 : ท่านผู้บริหารสถาบันการศึกษาจะเริ่มนำระบบ บริหารจัดการISO 9001 :2000 มาใช้ ได้อย่างไร
  • ตอนที่ 24 : การทบทวนสถานะของสถาบันการศึกษา
  • ตอนที่ 25 : การทบทวนสถานะของสถาบันการศึกษา( ต่อ)

ISO ย่อมาจากคำว่า “International Organization for Standardization” (องค์กรระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐาน) เป็นองค์กรสากลทำหน้าที่เกี่ยวกับการกำหนดหรือปรับมาตรฐานนานาชาติเกือบทุกชนิด (ยกเว้นด้านไฟฟ้า ที่เป็นหน้าที่ของ IEC) เพื่อให้ประเทศต่าง ๆ ในโลกสามารถใช้มาตรฐานเดียวกันได้ เนื่องจากแต่ละประเทศมีมาตรฐานคุณภาพของตนเอง  ดังนั้นหน่วยงาน ISO จึงจัดตั้งคณะกรรมการด้านเทคนิคเกี่ยวกับการประกันคุณภาพสากลขึ้น คือ “Technical Committee ISO/176 on Quality Assurance” เพื่อทำหน้าที่กำหนดมาตรฐานประกันคุณภาพสากลขึ้น ซึ่งก็คือ ISO 9000 นั่นเอง

ISO 9000 คือ มาตรฐานสากลสำหรับระบบบริหารงานคุณภาพอันเกี่ยวกับการจัดการทางด้านคุณภาพและการประกันคุณภาพ เป็นระบบบริหารประกันคุณภาพขั้นพื้นฐานที่มีความมุ่งหมายที่จะให้ระบบคุณภาพเท่าเทียมกันระหว่างองค์กรและประเทศต่าง ๆ โดยอนุกรมของมาตรฐาน ISO 9000 ประกอบด้วย

โดย ISO 9001:2008 เป็นหัวใจสำคัญของระบบ เพราะจะต้องนำไปปฏิบัติและนำไปพิจารณาเพื่อตรวจประเมิน

1. ลักษณะสำคัญของมาตรฐานคุณภาพ ISO 9000 

1.เป็นมาตรฐานเกี่ยวกับระบบการบริหารคุณภาพ เพื่อทำให้ลูกค้าพึงพอใจ ด้วยการยึดหลักการคุณภาพที่มุ่งเน้นให้มีการจัดทำขั้นตอนการดำเนินงานและหลักเกณฑ์ต่าง ๆ ที่จะทำให้สินค้าหรือบริการเป็นไปตามความต้องการของลูกค้าตั้งแต่แรกได้รับทุกครั้งและตลอดไป

2.เป็นมาตรฐานระบบบริหารคุณภาพที่สามารถนำไปใช้ได้กับกิจกรรมทุกประเภททั้งด้านอุตสาหกรรม พาณิชยกรรม ธุรกิจด้านการบริการ ทั้งขนาดเล็กถึงขนาดใหญ่

3.เป็นมาตรฐานระบบบริหารคุณภาพที่นานาชาติยอมรับและใช้เป็นมาตรฐานของประเทศ

4.เป็นมาตรฐานระบบบริหารคุณภาพที่เกี่ยวกับทุกแผนกงานและทุกคนในองค์กรมีส่วนร่วม

5.เป็นการบริหารคุณภาพจากขั้นตอนในกระบวนการผลิตนั้น ๆ

6.เป็นการบริหารที่ให้ความสำคัญในเรื่องของเอกสารการปฏิบัติงาน โดยนำเอาสิ่งที่มีการปฏิบัติอยู่แล้วมาทำเป็นเอกสาร แล้วจัดเป็นหมวดหมู่อย่างมีระบบ เพื่อนำไปใช้งานได้สะดวกและเกิดประสิทธิผล

7.เป็นระบบงานมาตรฐานที่เปิดโอกาสให้มีการแก้ไขปรับปรุงขั้นตอนในการปฏิบัติงาน วิธีการปฏิบัติงาน และมาตรฐานการทำงานได้ตลอดเวลา

8.เป็นระบบมาตรฐานสากลที่กำหนดให้มีการตรวจประเมินโดยบุคคลที่ 3 (Third Party)เพื่อให้การรับรอง เมื่อผ่านการรับรองแล้วจะได้รับการตรวจซ้ำแบบสุ่มไม่ต่ำกว่าปีละ 2 ครั้ง ถ้าครบ 3 ปี แล้วจะต้องตรวจประเมินใหม่ทั้งหมดเหมือนการขอการรับรองครั้งแรก

9.เป็นระบบมาตรฐานที่ลูกค้าชั้นนำยอมรับทั่วโลก และเป็นไปตามเงื่อนไขของ GATT โดยกำหนดให้ใช้มาตรฐานสากล

10.เป็นมาตรฐานที่ระบุข้อกำหนดที่จำเป็นต้องมีในระบบคุณภาพ

11.เป็นการรับรองในระบบคุณภาพของค์กรทั้งหมด ไม่ใช่การรับรองตัวผลิตภัณฑ์เหมือนมาตรฐานสินค้าอื่น

12. เป็นมาตรฐานระบบคุณภาพที่ประเทศไทยรับรองเป็นมาตรฐานคุณภาพ มอก.9000

Top

2.วัตถุประสงค์ที่ต้องจัดทำมาตรฐานระบบคุณภาพ ISO 9000

1.เพื่อทำให้ลูกค้ามีความมั่นใจในคุณภาพของสินค้า ผลิตภัณฑ์ และการบริการที่จะได้รับ

2. เพื่อให้มีระบบบริหารงานที่เป็นลายลักษณ์อักษรและเกิดประสิทธิผล

3.เพื่อสามารถควบคุมกระบวนการดำเนินธุรกิจได้ครบวงจรตั้งแต่ต้นจนจบ

4.เพื่อสร้างความมั่นใจให้แก่ผู้บริหารว่า สามารถบรรรลุตามความต้องการของลูกค้าได้

5.เพื่อให้มีการปรับปรุงและพัฒนาระบบการปฏิบัติงานให้เกิดประสิทธิผลยิ่งขึ้นซึ่งเป็นพื้นฐานในการสร้างระบบบริหารคุณภาพโดยส่วนรวมต่อไป

6.เพื่อช่วยลดความสูญเสียจากการดำเนินงานที่ไม่มีคุณภาพทำให้ประหยัดค่าใช้จ่าย

Top

3.หลักการของการบริหารงานคุณภาพตามมาตรฐานสากล ISO

หลักการบริหารงานคุณภาพ เป็นกฎเกณฑ์ที่ใช้เป็นแนวทางการบริหารงานขององค์กร โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะปรับปรุงสมรรถนะขององค์กรอย่างต่อเนื่องในระยะยาว โดยเน้นความต้องการของลูกค้าประกอบด้วย หลักการสำคัญ 8 ประการดังนี้

หลักการที่ 1ให้ความสำคัญแก่ลูกค้า องค์กรต้องพึ่งพิงลูกค้าเพื่อความอยู่รอด ดังนั้นจึงควรทำความเข้าใจความต้องการของลูกค้าทั้งในส่วนปัจจุบันและอนาคต และทำให้บรรลุความต้องการเหล่านั้น รวมถึงการพยายามที่จะทำให้ได้เกินความคาดหวังของลูกค้า

หลักการที่ 2ความเป็นผู้นำ ผู้นำเป็นผู้กำหนดความเป็นเอกภาพของวัตถุประสงค์และทิศทางขององค์กร ผู้นำต้องเป็นผู้สร้างและธำรงไว้ซึ่งปัจจัยเกื้อหนุนภายในที่สนับสนุนให้ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมและส่งเสริมการบรรลุวัตถุประสงค์ขององค์กรด้วย

หลักการที่ 3 การมีส่วนร่วมของบุคลากร พนักงานทุกระดับถือเป็นหัวใจสำคัญขององค์กรและการให้ความร่วมมืออย่างเต็มที่และเต็มความสามารถของพนักงานทุกคน ย่อมก่อให้เกิดประโยชน์แก่องค์กร

หลักการที่ 4 การบริหารเชิงกระบวนการ ผลลัพท์ที่ต้องการสามารถบรรลุได้อย่างมีประสิทธิภาพก็ต่อเมื่อทรัพยากรและกิจกรรมที่เกี่ยวข้องได้รับการบริหารจัดการอย่างเป็นกระบวนการ

หลักการที่ 5 การบริหารเป็นระบบ การบ่งชี้ การทำความเข้าใจ และการบริหารการจัดการในเชิงระบบที่ประกอบด้วยกระบวนการต่าง ๆ ที่มีความสัมพันธ์ต่อกันเพื่อวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ จะช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพและประสิทธิผลขององค์กร

หลักการที่ 6 การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง การปรับปรุงอย่างต่อเนื่องควรได้รับการกำหนดให้เป็นวัตถุประสงค์ถาวรขององค์กร

หลักการที่ 7 การตัดสินจากข้อมูลที่เป็นจริง การตัดสินใจที่ทรงประสิทธิภาพ ควรดำเนินการบนพื้นฐานของการวิเคราะห์ข้อมูลสารสนเทศ

หลักการที่ 8 ความสัมพันธ์กับผู้ขายเพื่อประโยชน์ร่วม องค์กรและผู้ส่งมอบต่างต้องพึ่งพาอาศัยกันและการมีความสัมพันธ์ในเชิงผู้เกื้อกูลผลประโยชน์จะช่วยส่งเสริมความสามารถในการสร้างคุณค่าของทั้งสองฝ่าย

Top

4.แนวคิดและข้อกำหนดของระบบมาตรฐานคุณภาพ ISO 9001:2008 

มาตรฐานฉบับนี้ ได้ระบุข้อกำหนดสำหรับระบบบริหารคุณภาพที่สามารถใช้ได้โดยองค์กรเน้นถึงความพึงพอใจของลูกค้า โดยทำให้ได้ตามข้อกำหนดของลูกค้าและข้อกำหนดที่เป็นไปตามกฎเกณฑ์ที่ตั้งไว้ นอกจากนั้นมาตรฐานนี้ยังใช้ได้สำหรับองค์กรเองและหน่วยงานภายนอก รวมทั้งหน่วยงานรับรอง (Certification Bodies) เพื่อการประเมินความสามารถขององค์กรว่า ทำได้ตามข้อกำหนดของลูกค้าและข้อกำหนดที่เป็นไปตามกฎเกณฑ์ที่ตั้งไว้หรือไม่ มาตรฐานฉบับนี้สนับสนุนให้มีการดำเนินงานเป็นกระบวนการในการบริหารคุณภาพ ทั้งนี้กิจกรรมใดก็ตามที่ได้รับปัจจัยนำเข้า (Inputs) และเปลี่ยนแปลงปัจจัยเหล่านั้นไปเป็นผลที่ได้ (Outputs) สามารถพิจารณาได้ว่าคือกระบวนการ (Process)

ข้อกำหนดของระบบมาตรฐานคุณภาพ ISO 9001:2008 ประกอบด้วย

1.ขอบข่าย (Scope) ระบุว่า องค์กรต้องแสดงให้เห็นถึงความสามารถในการผลิตผลิตภัณฑ์ที่สอดคล้องกับข้อกำหนดของลูกค้าและข้อกำหนดในกฎระเบียบที่บังคับใช้ และเน้นความพึงพอใจของลูกค้า โดยนำมาปรับปรุงกระบวนการอย่างต่อเนื่อง และป้องกันการเกิดสภาพผิดเงื่อนไข 

2.เอกสารอ้างอิง

3. นิยามและคำจำกัดความ ระบุว่า คำศัพท์และคำนิยามที่ระบุไว้ใน ISO 9000:2000 นำมาใช้กับ ISO 9001:2008

4.ระบบบริหารคุณภาพ

-ข้อกำหนดโดยทั่วไประบุว่า องค์กรต้องจัดทำเอกสารการปฏิบัติงานจริง และปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง

-ข้อกำหนดทางด้านการจัดทำเอกสาร ระบุระเบียบวิธีปฏิบัติในการจัดทำเอกสารที่กำหนดไว้ตามมาตรฐานฉบับนี้

5.ความรับผิดชอบของฝ่ายบริหาร

- ความมุ่งมั่นของฝ่ายบริหารระบุว่า ผู้บริหารระดับสูงต้องแสดงให้เป็นที่ประจักษ์ถึงความมุ่งมั่นในการพัฒนาและปรับปรุงระบบการบริหารคุณภาพ

-มุ่งเน้นที่ลูกค้าระบุว่า ผู้บริหารระดับสูงต้องให้ความมั่นใจว่า ได้มีการกำหนดความต้องการและความคาดหวังของลูกค้า พร้อมทั้งได้แปลงเป็นข้อกำหนดและดำเนินการให้เป็นผลสำเร็จเพื่อให้บรรลุถึงความพึงพอใจของลูกค้า

-นโยบายคุณภาพระบุว่า ผู้บริหารระดับสูงต้องให้ความมั่นใจว่า นโยบายคุณภาพเหมาะสมกับวัตถุประสงค์ขององค์กร ให้กรอบแนวทางการกำหนดและการทบทวนวัตถุประสงค์คุณภาพ ได้สื่อให้เป็นที่เข้าใจกับบุคลากรทุกระดับ

-การวางแผนคุณภาพระบุว่า ผู้บริหารระดับสูงต้องให้ความมั่นใจว่า มีการกำหนดวัตถุประสงค์คุณภาพขึ้น มีการบ่งชี้และวางแผนเกี่ยวกับทรัพยากรที่จำเป็นต่อการปฏิบัติงาน ผลจากการวางแผนต้องนำมาจัดทำเป็นเอกสาร

-การบริหาร ระบุถึง หน้าที่ความรับผิดชอบและอำนาจเพื่อให้การบริหารคุณภาพเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ มีการแต่งตั้งผู้แทนฝ่ายบริหาร มีการสื่อสารภายในองค์กร มีการจัดทำคู่มือคุณภาพ

-การทบทวนโดยฝ่ายบริหาร ระบุว่า ผู้บริหารระดับสูงต้องทบทวนระบบการบริหารคุณภาพตามช่วงเวลาที่วางแผนไว้ เพื่อให้มั่นใจว่าระบบบริหารคุณภาพยังคงเหมาะสม

6.การจัดสรรทรัพยากร

-การจัดสรรทรัพยากรระบุว่า องค์กรต้องกำหนดและจัดสรรทรัพยากรที่จำเป็นในเวลาที่เหมาะสม

-ทรัพยากรบุคคลระบุว่า องค์กรต้องมีการมอบหมายงานให้กับบุคลากร พร้อมทั้งฝึกอบรมให้แก่บุคลากร

-สาธารณูปโภคระบุว่า องค์กรต้องบ่งชี้ จัดหา และคงไว้ซึ่งสิ่งเอื้ออำนวยความสะดวกที่จำเป็นต่อการปฏิบัติงานเพื่อให้ได้ซึ่งผลิตภัณฑ์ที่เป็นไปตามข้อกำหนด

-สภาวะแวดล้อมในการทำงานระบุว่า องค์กรต้องบ่งชี้และจัดการปัจจัยที่ประกอบเป็นสภาพแวดล้อมของการทำงานซึ่งจำเป็นต่อการทำให้บรรลุซึ่งการได้ผลิตภัณฑ์ที่สอดคล้องกับข้อกำหนด

7.การทำให้ผลิตภัณฑ์เป็นจริง

-การวางแผนเพื่อให้ผลิตภัณฑ์เป็นจริงระบุว่า องค์กรต้องระบุลำดับขั้นตอนของกระบวนการต่าง ๆ ที่จำเป็นต่อการได้มาซึ่งผลิตภัณฑ์ การวางแผนกระบวนการผลิต และจัดทำเป็นเอกสารในรูปแบบเหมาะสมกับการดำเนินงานขององค์กร

-กระบวนการที่เกี่ยวข้องกับลูกค้าระบุว่า องค์กรต้องกำหนดความต้องการของลูกค้า ทบทวนข้อกำหนดที่ลูกค้าบ่งชี้ไว้ก่อนที่จะส่งมอบผลิตภัณฑ์ให้กับลูกค้า ต้องสื่อสารกับลูกค้าโดยรับข้อมูลย้อนกลับจากลูกค้า รวมทั้งข้อร้องเรียนจากลูกค้า

-การออกแบบและพัฒนาระบุว่า องค์กรต้องวางแผนและควบคุมการออกแบบ การพัฒนาผลิตภัณฑ์

-การจัดซื้อระบุว่า องค์กรต้องควบคุมการจัดซื้อ เพื่อให้มั่นใจว่า ผลิตภัณฑ์ที่สั่งซื้อสอดคล้องกับข้อกำหนดโดยประเภทและขอบเขตของการควบคุมต้องขึ้นอยู่กับผลกระทบของผลิตภัณฑ์ที่จัดซื้อมีผลกระทบต่อกระบวนการผลิตหรือการให้บริการ

-การดำเนินการผลิตและการให้บริการระบุว่า องค์กรต้องควบคุมการผลิตและการให้บริการ มีการดูแลผลิตภัณฑ์ให้อยู่ในสภาพที่เป็นไปตามข้อกำหนดของลูกค้าก่อนที่จะส่งมอบ มีการรับรองกระบวนการผลิตว่า จะไม่พบข้อบกพร่อง

-การควบคุมเครื่องมือวัดและการเฝ้าติดตามระบุว่า องค์กรต้องบ่งชี้การตรวจวัดที่กระทำ รวมทั้งเครื่องมือวัด เพื่อให้มั่นใจได้ว่า ความสามารถของการวัดสอดคล้องกับข้อกำหนดในเรื่องการตรวจวัด

8.การวัด การวิเคราะห์ และปรับปรุง

-ทั่วไประบุว่า องค์กรต้องนิยาม วางแผน และดำเนินกิจกรรมการตรวจวัด และการติดตามตรวจสอบที่จำเป็นสำหรับการประกันความสอดคล้องของผลิตภัณฑ์ตามข้อกำหนดและประกันการปรับปรุงที่สัมฤทธิผล ในที่นี้ต้องกำหนดความจำเป็นและการใช้วิธีต่าง ๆ ตลอดจนเทคนิคทางสถิติ

-เฝ้าติดตามและวัดผลระบุว่า องค์กรต้องติดตามตรวจสนอบความพึงพอใจของลูกค้า รวมทั้งต้องดำเนินการตรวจติดตามภายใน (Internal Audit) เป็นระยะ เพื่อพิจารณาว่า ระบบบริหารคุณภาพสอดคล้องกับข้อกำหนดของมาตรฐานนานาชาติหรือไม่ และได้ดำเนินงานจริงและรักษาไว้อย่างมีประสิทธิภาพหรือไม่

-การควบคุมผลิตภัณฑ์ที่ไม่เป็นไปตามข้อกำหนดระบุว่า องค์กรต้องมั่นใจว่า ผลิตภัณฑ์ที่ไม่เป็นไปตามข้อกำหนดได้รับการบ่งชี้และควบคุม เพื่อป้องกันการนำไปใช้งานหรือส่งมอบโดยไม่ตั้งใจ กิจกรรมต่าง ๆ นั้นต้องจัดทำเป็นเอกสาร

- การวิเคราะห์ข้อมูลระบุว่า องค์กรต้องรายงานและวิเคราะห์ข้อมูลที่เหมาะสม เพื่อพิจารณาความเหมาะสมและประสิทธิผลของระบบการบริหารคุณภาพ และบ่งชี้การปรับปรุงที่สามารถจะกระทำได้ 

-การปรับปรุงระบุว่า องค์กรต้องมีการวางแผนการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง และต้องปฏิบัติการแก้ไขเพื่อกำจัดสาเหตุของผลิตภัณฑ์ที่ไม่เป็นไปตามข้อกำหนด

Top

5. หัวใจของมาตรฐานระบบคุณภาพ ISO 9000 (บรรจง จันทมาศ 2544: 10–11)

1.ผู้บริหารทุกระดับในองค์กร โดยเฉพาะระดับสูงจะต้องเข้าใจบทบาทและหน้าที่ของตนเองในการกำหนดนโยบายคุณภาพ กำหนดโครงสร้างการบริหารงานขององค์กร กำหนดบุคลากรให้เหมาะสมกับงาน แก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น และสนับสนุนงบประมาณ

2.ระบบคุณภาพ ISO 9000 เน้นในการจัดทำเอกสารระบบคุณภาพเพราะถือว่า เอกสารมีไว้เพื่อเป็นข้อตกลงให้ทุกคนที่อยู่ในระบบมีความเข้าใจในการปฏิบัติงาน จะต้องมีการจัดเก็บ การติดตามวิเคราะห์ รายงานกำหนดหน้าที่ในการตรวจรับ และต้องติดตามให้ปฏิบัติตามที่ได้เห็นชอบไว้ การจัดทำเอกสารจะทำให้การปรับปรุงคุณภาพเป็นไปอย่างมีระบบ

3.ISO 9000 เน้นที่การจัดตั้งหน่วยงานตรวจสอบ (Audit) ซึ่งเป็นการตรวจสอบภายในองค์กร เพื่อติดตามผลการดำเนินงานให้แน่ใจว่า ระบบคุณภาพที่วางไว้ได้ถูกนำไปปฏิบัติอย่างถูกต้องและตรงเป้าหมาย เพื่อนำผลที่ได้จากการติดตามให้ผู้ถูกติดตามได้แก้ไขข้อบกพร่องและปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้น

Top

6.การตรวจติดตามคุณภาพ (Quality Audit)

การตรวจติดตามคุณภาพ หมายถึง กระบวนการซึ่งเป็นระบบ เป็นอิสระ และจัดทำเอกสารเพื่อแสดงให้เห็นว่า กิจกรรมต่าง ๆ ในระบบคุณภาพมีผลลัพธ์สอดคล้องกับแผนหรือเกณฑ์ที่กำหนดไว้ และถูกนำไปปฏิบัติอย่างมีประสิทธิผล เหมาะสม และสามารถบรรลุวัตถุประสงค์ขององค์กร

ระบบการตรวจติดตามคุณภาพ (Audit System) แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ

1.การตรวจติดตามภายใน (Internal of First Party Audit) หมายถึง การตรวจติดตามที่ผู้ตรวจ (Auditor) เป็นบุคลากรขององค์กรเอง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ฝ่ายบริหารทราบว่า กิจกรรมต่าง ๆ ในระบบคุณภาพที่สร้างขึ้นมาถูกนำไปปฏิบัติอย่างสอดคล้องตามข้อกำหนดของ ISO 9001:2008  และช่วยให้มีโอกาสในการปรับปรุงและพัฒนาระบบอย่างต่อเนื่อง

2.การตรวจติดตามโดยลูกค้า (Second Party Audit) หมายถึง การตรวจติดตามโดยลูกค้าของเราหรือองค์กรที่กำลังจะกลายมาเป็นลูกค้าของเรา ซึ่งการตรวจติดตามลักษณะนี้ ส่วนหนึ่งก็เพื่อใช้ในการตัดสินใจซื้อสินค้าหรือบริการนั่นเอง

3.การตรวจติดตามโดยองค์กรผู้ให้การรับรอง (Third Party Audit) หมายถึง การตรวจติดตามโดยองค์กรภายนอก (ซึ่งไม่มีส่วนได้ส่วนเสียกับองค์กร) ซึ่งจะมาตรวจระบบคุณภาพขององค์กรว่า สอดคล้องตามข้อกำหนดของ ISO 9001:2008 หรือไม่ ส่วนใหญ่จะเป็นการตรวจโดย Certificaiton Body (CB) การตรวจติดตามประเภทนี้จัดทำขึ้นเพื่อให้การรับรองกับองค์กรว่า ได้ปฏิบัติตามข้อกำหนด ISO 9001:2008 ซึ่งจะทำให้ลูกค้าขององค์กรมั่นใจได้ว่า กระบวนการตลอดจนสินค้าและบริการขององค์กรมีคุณภาพ โดยลูกค้าไม่ต้องตรวจติดตามด้วยตนเอง สามารถลดความจำเป็นในการตรวจติดตามโดยลูกค้า (Second Party Audit) ซึ่งต้องเสียเวลาและค่าใช้จ่ายจำนวนมาก

สรุป ประโยชน์จากการนำระบบคุณภาพ ISO 9000 มาใช้สามารถพัฒนาบุคลากร พัฒนากระบวนการผลิต และพัฒนาประสิทธิภาพในการบริหารงานภายในองค์กร สามารถลดค่าใช้จ่ายและต้นทุนในการผลิต ตลอดจนความสูญเสียต่าง ๆ อันเกิดจากการผลิต ทั้งนี้เพราะระบบคุณภาพ ISO 9000 สร้างจิตสำนึกในการทำงานให้กับพนักงาน มีการทำงานที่มีระบบ มีแนวปฏิบัติที่ชัดเจน สามารถควบคุมและตรวจสอบได้ง่าย และที่สำคัญคือ สามารถเพิ่มผลผลิตและสร้างภาพลักษณ์ที่ดีแก่องค์กร นับเป็นการประกาศเกียรติคุณอีกทางหนึ่งด้วย

Top

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ศัพท์ทางทหาร military words แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 พจนานุกรมศัพท์ทหาร ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง ไทยแปลอังกฤษ ประโยค lmyour แปลภาษา การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ประปาไม่ไหล วันนี้ ฝยก. ย่อมาจาก หยน ห่อหมกฮวก แปลว่า เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษาจีน ่้แปลภาษา onet ม3 การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 1 ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง ตตตตลก บบบย ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ เขียน อาหรับ แปลไทย เนื้อเพลง ห่อหมกฮวก แปลไทย asus zenfone 2e กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น การประปานครหลวง ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบภาษาอังกฤษ ม.ปลาย พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ชขภใ ชื่อเต็ม ร.9 คําอ่าน ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน นยน. ย่อมาจาก ทหาร บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ฝสธ. ย่อมาจาก มัดหัวใจเจ้าชายเย็นชา 2 ซับไทย มัดหัวใจเจ้าชายเย็นชา 2 เต็มเรื่อง ยศทหารบก เรียงลําดับ ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 รัชกาลที่ 10 ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คอร์ด