ตัวอย่างการจัดการภาครัฐแนวใหม่

ด้านอำนวยการ

ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ

ด้านตรวจสอบปราบปราม

ด้านกฎหมาย

About Menu

การจัดการภาครัฐแนวใหม่ (New Public Management)

การจัดการภาครัฐแนวใหม่หรือ New Public Management กล่าวได้ว่าเป็นพาราไดม์ (Paradigm) ที่สำคัญที่นักวิชาการทางรัฐประศาสนศาสตร์ให้การยอมรับในปัจจุบันว่าเป็นกรอบแนวคิดที่ถูกนำมาใช้ในการบบริหารภาครัฐในปัจจุบัน ได้เป็นอย่างดี โดยที่แนวคิดการบริหารการจัดการภาครัฐแนวใหม่ถูกมองว่าเป็นปรัชญาการบริหารที่รัฐบาลนำมาใช้ตั้งแต่ทศวรรษที่ 1980 โดยมีจุดประสงค์หลักเพื่อให้การบริหารภาครัฐมีความทันสมัย(New Public Management is a management philosophy used by Governments since the 1980s to modernise the Public Sector) (Wikipedia Encyclopedia ค้นคืนใน //en.wikipedia.org/wiki/ New_Public_Management) และถ้าจะกล่าวถึงสาระสำคัญของแนวคิดการจัดการภาครัฐแนวใหม่นี้แล้วนักวิชาการคนที่สำคัญแรกๆ ที่ได้กล่าวถึงไว้ก็คือ โจนาธาน บอสตัน (Jonathan Boston) และคณะได้สรุปให้เห็นสาระสำคัญของการจัดการภาครัฐแนวใหม่ไว้ ดังต่อไปนี้ (Boston 1996)

1. มองว่าการบริหารงานที่มีลักษณะเป็นสากล หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง คือ ไม่มีความแตกต่างอย่างเป็นนัยสำคัญระหว่างการบริหารงานของภาคธุรกิจ เอกชนและการบริหารงานของภาครัฐ 2. ปรับเปลี่ยนจากการให้น้ำหนักความสำคัญที่เดิมมุ่งเน้นให้ความสำคัญต่อการควบคุมปัจจัยนำเข้าหรือทรัพยากรและกฎระเบียบต่าง ๆ มาเป็นการควบคุมในเรื่องของการผลผลิตและผลลัพธ์ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง คือ ปรับเปลี่ยนจากการให้ความสำคัญในภาระรับผิดชอบต่อกระบวนการของการทำงาน (process accountability) มาเน้นภาระรับผิดชอบต่อผลสัมฤทธิ์ (accountability for results) แทน 3. ให้ความสำคัญต่อเรื่องของการใช้ความสามารถหรือทักษะการบริหารมากกว่าการที่ให้ความสำคัญต่อการกำหนดนโยบายแต่เพียงอย่างเดียว

4. ให้ความสำคัญต่อการมอบอำนาจการควบคุมของหน่วยงานกลาง (devolution of centralized power) ไปให้หน่วยงานผู้ปฏิบัติ เพื่อให้ผู้บริหารของแต่ละหน่วยงานมีอิสระและมีความคล่องตัวในการบริหารและการดำเนินงาน

5. เน้นปรับเปลี่ยนโครงสร้างหน่วยงานราชการใหม่ให้มีขนาดเล็กลงในรูปแบบของหน่วยงานอิสระในกำกับ โดยเฉพาะการแยกส่วนระหว่างการกำกับดูแลควบคุมที่เป็นภารกิจงานเชิงพาณิชย์และไม่ใช่เชิงพาณิชย์ออกจากกัน รวมถึงแยกภารกิจงานเชิงนโยบายและการให้บริการออกจากกันอย่างเด็ดขาด

6. เน้นการแปรสภาพกิจการของรัฐให้เป็นเอกชน (privatization) และให้มีการจ้างเหมาบุคคลภายนอก (outsourcing) รวมทั้งประยุกต์ใช้วิธีการจัดจ้างและการแข่งขันประมูลงาน (competitive tendering) เพื่อลดต้นทุนและปรับปรุงคุณภาพการให้บริการให้สูงขึ้น

7. ปรับเปลี่ยนรูปแบบสัญญาจ้างบุคลากรของภาครัฐให้มีลักษณะเป็นระยะสั้นและกำหนดเงื่อนไขข้อตกลงให้มีความชัดเจนสามารถตรวจสอบได้

8. เลียนแบบวิธีการบริหารจัดการของภาคธุรกิจเอกชน เช่น การวางแผนกลยุทธ์และแผนธุรกิจ การทำข้อตกลงว่าด้วยผลงาน (performance agreement) การจ่ายค่าตอบแทนตามผลงาน การจัดจ้างบุคคลภายนอกให้เข้ามาปฏิบัติงานเป็นการชั่วคราวเฉพาะกิจ การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารงานและการให้ความสำคัญต่อการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีขององค์การ (corporate image)

9. มีการสร้างแรงจูงใจและให้รางวัลตอบแทนในรูปของตัวเงิน (monetary incentives) มากขึ้น

10.สร้างระเบียบวินัยและความประหยัดในการใช้จ่ายเงินงบประมาณ โดยพยายามลดต้นทุนค่าใช้จ่ายและเพิ่มผลผลิต

การจัดการความรู้กับการบริหารราชการแนวใหม่

โดย  อาจารย์อรวรรณ น้อยวัฒน์

          การปฏิบัติราชการสมัยเก่าให้มีความก้าวหน้านักวิชาการจะเน้นในเรื่องการทำผลงานเป็นหลัก ซึ่งความรู้ที่ใช้ในการปฏิบัติงานส่วนใหญ่เป็นแบบความรู้ชัดแจ้ง (explicit  knowledge) คือ ความรู้ในรูปของหนังสือ ตำรา วารสาร เป็นต้น  แต่ในปัจจุบันมีความเจริญทางด้านเศรษฐกิจและเทคโนโลยีที่มีความสลับซับซ้อนมากขึ้น การที่หน่วยงานราชการจะสร้างผลสัมฤทธิ์หรือผลกระทบแก่สังคมหรือแก่ประชาชนได้ หน่วยราชการจะต้องเปลี่ยนวิธีคิดและวิธีการทำงานจากการมุ่งเน้นที่หน่วยงานของตนเป็นหลักไปเป็นเน้นความร่วมมือระหว่างหน่วยงาน ทั้งที่เป็นหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน  ภาคการศึกษา  และภาคประชาสังคม ซึ่งพลังหลักในการทำงานจะเปลี่ยนจากข้าราชการเป็นคน (individual) ไปเป็นปฏิสัมพันธ์ระหว่างคน (relationship)  เครื่องมือหรือแรงขับเคลื่อนหลักในการปฏิบัติราชการ จะต้องยกระดับจากข้อมูล (data) และสารสนเทศ (information) ไปเป็นความรู้ (knowledge)  ทั้งในรูปของความรู้ชัดแจ้ง (explicit knowledge)  และที่อยู่ในรูปของความรู้ที่ฝังลึก (tacit knowledge) ดังนั้น การจัดการความรู้จึงถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการบริหารราชการแนวใหม่ในปัจจุบันเพื่อให้หน่วยงานเกิดการพัฒนาความรู้ความคู่กับการดำเนินงาน  มีรายละเอียดดังนี้

แนวคิดการจัดการความรู้กับการบริหารราชการแนวใหม่

          การบริหารราชการแนวใหม่หรือการบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่ (New Public Management)  เป็นแนวคิดพื้นฐานของการบริหารจัดการภาครัฐ ซึ่งจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงระบบต่างๆ ขององค์กรภาครัฐ โดยมีแนวทางในการบริหารจัดการ 7 ประการ คือ
1) การให้บริการที่มีคุณภาพแก่ประชาชน
2) การคำนึงถึงความต้องการของประชาชนเป็นหลัก  
3) รัฐพึงทำบทบาทเฉพาะที่รัฐทำได้ดีเท่านั้น
4) การลดการควบคุมจากส่วนกลาง เพิ่มความอิสระแก่หน่วยงาน
5) ระบบการบริหารงานที่มุ่งผลสัมฤทธิ์
6) การมีระบบสนับสนุนทางด้านบุคลากรและเทคโนโลยี
7) เน้นการแข่งขันระหว่างหน่วยงานภาครัฐกับเอกชน
ส่วนการจัดการความรู้เป็นเครื่องมือสร้าง “พลังทวีคูณ” (synergy) ในการปฏิบัติราชการ คือ พลังของข้าราชการระดับสูง ข้าราชการระดับกลาง และข้าราชการระดับล่าง ให้สามารถสร้างผลงานในระดับสร้างสรรค์และมีผลสัมฤทธิ์สูง  ซึ่งในการบริหารราชการแนวใหม่นี้ ส่วนราชการจะต้องพัฒนาความรู้ความเชี่ยวชาญให้เพียงพอแก่การปฏิบัติงานให้สอดคล้องกับสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว และสถานการณ์ของต่างประเทศที่มีผลกระทบต่อประเทศไทยโดยตรง ซึ่งในการบริหารราชการตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.2546 จะต้องมีการวางแผนการปฏิบัติราชการทุกระยะ มีการปรับแผนเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย มีการกำหนดผลสัมฤทธิ์ของงานที่เป็นความจริง ดังนั้น แนวความคิดของผู้ปฏิบัติงานภาครัฐจะต้องเปลี่ยนแปลงทัศนคติเดิมเสียใหม่ จากการที่ยึดแนวคิดว่า “ต้องปฏิบัติงานตามระเบียบแบบแผนที่วางไว้ตั้งแต่อดีตจนต่อเนื่องถึงปัจจุบัน” ให้ “เน้นการสร้างความคิดใหม่ๆ ตามวิชาการสมัยใหม่ และนำมาปรับใช้กับการปฏิบัติราชการตลอดเวลา ประกอบกับส่วนราชการต้องมีการพัฒนาความรู้เพื่อให้มีลักษณะเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้อย่างสม่ำเสมอ โดยมีแนวทางปฏิบัติ ดังนี้
1) หน่วยงานต้องสร้างระบบให้สามารถรับรู้ข่าวสารได้อย่างกว้างขวาง
2) หน่วยงานต้องสามารถประมวลผลความรู้ในด้านต่าง ๆ เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติราชการได้อย่างถูกต้อง รวดเร็ว และเหมาะสมกับสถานการณ์ที่มีการเปลี่ยนแปลงไป
3)หน่วยงานต้องมีการส่งเสริมและพัฒนาความรู้ความสามารถ สร้างวิสัยทัศน์ และปรับเปลี่ยนทัศนคติของข้าราชการ เพื่อให้ข้าราชการทุกคนเป็นผู้มีความรู้ความสามารถในวิชาการสมัยใหม่ตลอดเวลา มีความสามารถในการปฏิบัติหน้าที่ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด และมีคุณธรรม
4) หน่วยงานต้องมีการสร้างความมีส่วนร่วมในหมู่ข้าราชการให้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกัน เพื่อการนำมาพัฒนาใช้ในการปฏิบัติราชการร่วมกันให้เกิดประสิทธิภาพ"

รูปแบบการจัดการความรู้อย่างง่ายในหน่วยงานราชการ

          หลักการสำคัญที่สุดในการดำเนินการจัดการความรู้ คือ ต้องดำเนินการอย่างง่ายที่สุด ไม่เน้นการใช้เครื่องมือหรูหราหรือยุ่งยาก เริ่มจากกิจกรรมดี ๆ เช่น best practice   กิจกรรมกลุ่มสร้างสรรค์ในงานประจำที่มีอยู่แล้วภายในหน่วยงานหรือองค์กร นำมาจัดการประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ โดยมีผู้ทรงคุณวุฒิช่วยกระตุ้นและมีการตั้งคำถาม เพื่อให้กลุ่มงานมีการนำเสนอกิจกรรมของตนอย่างมีชีวิตชีวา และเกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่ทรงพลัง เช่น

1) มีใครหรือเหตุการณ์ใดที่เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดการพัฒนางานจนเกิด best practice อย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ในช่วงเวลาของการพัฒนาดังกล่าว ใครบ้างเข้ามามีส่วนร่วม ร่วมอย่างไร เกิดกระบวนการอะไรบ้างที่เป็นปัจจัยสำคัญนำไปสู่ความสำเร็จ ความยากลำบากที่ต้องเผชิญคืออะไรบ้าง ได้เอาชนะอุปสรรคนั้นอย่างไร

2) มีการใช้ความรู้อะไรบ้างในการดำเนินกิจกรรม/ ดำเนินงาน และได้ความรู้เหล่านั้นมาจากไหน
3) มีแผนจะทำให้ดียิ่งขึ้นอย่างไร ต้องการความช่วยเหลืออะไรบ้าง

4) คิดว่ามีหน่วยงานใดบ้างที่น่าจะเรียนรู้จากกิจกรรมของกลุ่มของท่านได้

5) มีความรู้อะไรบ้างที่พร้อมจะแลกเปลี่ยนกับเพื่อนร่วมงานในหน่วยงานอื่นภายในองค์กร

          กล่าวโดยสรุป การจัดการความรู้เป็นเครื่องมือที่ผู้บริหารองค์การนำมาใช้การบริหารหน่วยงานให้เป็นไปตามรูปแบบการบริหารราชการแนวใหม่  เพื่อให้หน่วยงานเกิดการพัฒนาความรู้ควบคู่กับการดำเนินงาน  ส่งผลให้เกิดการปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานระหว่างหน่วยงานทั้งภาครัฐ  ภาคเอกชน  และภาคประชาชน

..............................

เอกสารอ้างอิง

ศูนย์นวัตกรรมเพื่อการพัฒนาระบบราชการไทย. ความหมายของนวัตกรรมการบริหารจัดการภาครัฐ. สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) [ออนไลน์] ค้นคืนจาก //www.opdc.go.th/psic/main.php?url=content&gp=1&mn=3
การบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่ ( การประยุกต์ทฤษฎีสู่การปฏิบัติ ) [ออนไลน์] ค้นคืนจาก //kalai.exteen.com/20051121/entry

การจัดการภาครัฐแนวใหม่ มีอะไรบ้าง

การจัดการความรู้กับการบริหารราชการแนวใหม่.
การให้บริการที่มีคุณภาพแก่ประชาชน.
การคำนึงถึงความต้องการของประชาชนเป็นหลัก.
รัฐพึงทำบทบาทเฉพาะที่รัฐทำได้ดีเท่านั้น.
การลดการควบคุมจากส่วนกลาง เพิ่มความอิสระแก่หน่วยงาน.
ระบบการบริหารงานที่มุ่งผลสัมฤทธิ์.
การมีระบบสนับสนุนทางด้านบุคลากรและเทคโนโลยี.

การบริหารภาครัฐมีลักษณะสําคัญอย่างไร

การบริหารภาครัฐ คือ การกำหนด และการดำเนินยุทธศาสตร์ และนโยบายสาธารณะ เพื่อประโยชน์สาธารณะ ระบบการบริหารภาครัฐ คือ ปฏิสัมพันธ์ของระบบย่อยต่างๆ ในระบบภาครัฐ และกับระบบที่ใหญ่กว่า ภายใต้บริบททางสังคม เศรษฐกิจการเมือง และเทคโนโลยี ซึ่งรวมทั้งโครงสร้าง กระบวนการ และพฤติกรรมภาครัฐ

New Public Administration หมายถึงอะไร

รัฐประศาสนศาสตร์แนวใหม่หรือการบริหารรัฐกิจใหม่ (New Public Administration : NPA) เกิดขึ้นครั้งแรกในปี ค.ศ.1968 เมื่อนักรัฐประศาสนศาสตร์รุ่นใหม่ที่น าโดย Dwight Waldo ได้จัดการประชุม สัมนาในหัวข้อ “รัฐประศาสนศาสตร์แนวใหม่” ขึ้น ณ ศูนย์ประชุมมินนาวด์บรู๊ค มหาวิทยาลัยซีราคิวส์ สหรัฐอเมริกา เพื่อแสวงหาและน าเสนอแนวทางในการ ...

New Public Managementมีความสําคัญอย่างไร

New Public Management หรือ NPM) มีเป้าหมายในเรื่องของความพยายามที่จะเปลี่ยนแปลงกระบวนทัศน์ของการบริหารการปกครองไปจากเดิม โดยพยายามลดบทบาทและจำกัดขนาดของรัฐบาล เช่น การโอนถ่ายไปสู่ระบบตลาดและภาคธุรกิจเอกชน การปรับปรุงระบบการบริหารจัดการให้มีความทันสมัย การจัดตั้งองค์กรบริหารอิสระหรือองค์กรมหาชน การกระจายอำนาจให้แก่ ...

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ศัพท์ทางทหาร military words แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 พจนานุกรมศัพท์ทหาร ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง ไทยแปลอังกฤษ ประโยค lmyour แปลภาษา การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ประปาไม่ไหล วันนี้ ฝยก. ย่อมาจาก หยน ห่อหมกฮวก แปลว่า เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษาจีน ่้แปลภาษา onet ม3 การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 1 ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง ตตตตลก บบบย ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ เขียน อาหรับ แปลไทย เนื้อเพลง ห่อหมกฮวก แปลไทย asus zenfone 2e กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น การประปานครหลวง ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบภาษาอังกฤษ ม.ปลาย พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ชขภใ ชื่อเต็ม ร.9 คําอ่าน ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน นยน. ย่อมาจาก ทหาร บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ฝสธ. ย่อมาจาก มัดหัวใจเจ้าชายเย็นชา 2 ซับไทย มัดหัวใจเจ้าชายเย็นชา 2 เต็มเรื่อง ยศทหารบก เรียงลําดับ ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 รัชกาลที่ 10 ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คอร์ด