ข้อสอบ เกี่ยวกับ cloud computing พร้อม เฉลย

ความหมาย wordpress

WordPress หรือจะเรียกย่อๆ ในบางครั้งเป็น WP คือ โปรแกรมสำเร็จรูปที่มีไว้เพื่อสร้างและจัดการเนื้อหาบนอินเตอร์เน็ต ( Contents Management System หรือ CMS) กล่าวคือ แทนที่เราจะดาวโหลดโปรแกรมมาทำการสร้างและออกแบบเว็บไซต์บนเครื่องคอมพิวเตอร์ของเราอย่างเช่น Macromedia Dreamwaver, Microsoft Fontpage (มีใครทันรึเปล่า) เป็นต้น แต่ CMS นั้นถูกสร้างมาเพื่อใช้งานบนอินเตอร์เน็ตโดยตรง หมายความว่าเมื่อคุณจะใช้งานโปรแกรมนี้ คุณก็สามารถใช้ได้ทันทีผ่านอินเตอร์เน็ต เพียงแค่คุณล็อกอินเข้าสู่ระบบจัดการของ CMS นั้นๆ บางคนอาจจะคุ้นหูกับ cms เจ้าอื่น เช่น  joomla, simple machines, open cart, magento เป็นต้น

ข้อดีของ CMS ก็คือ สะดวกต่อการใช้งาน คุณไม่ต้องเริ่มสร้างเว็บจาก 0 ไม่จำเป็นต้องมีความรู้ทางโปรแกรมเมอร์ เพราะระบบมีทุกอย่างไว้ให้ คุณมีหน้าที่เพียงแค่ใส่เนื้อหาของคุณเข้าไป

ข้อเสียของ CMS คือ บางครั้งก็อาจมีมากเกินความจำเป็น

( เพิ่มเติม คุณสามารถอ่าน ประวัติ ของ WordPress ได้ที่นี่ )

 

ขั้นตอนหลักๆ ของการสร้างเว็บไซต์ด้วย WordPress นั้นก็ง่ายๆ ค่ะ

  1. คิดก่อนว่าคุณจะทำเว็บไซต์อะไร
  2. หาธีมที่คุณชอบและเหมาะกับเว็บของคุณ (เป็นขั้นตอนที่ปกติจะใช้เวลานานที่สุดแล้ว)
  3. ติดตั้ง WordPress และ ติดตั้งธีม
  4. ติดตั้งปลั๊กอิน

คุณสามารถอ่านเรื่องเกี่ยวกับ Theme WordPress ได้ที่นี่ การเลือกธีมที่ดีจะส่งผลถึงอนาคตของเว็บไซต์ ช่วยตัดเรื่องจุกจิกบางอย่าง บางธีมมีหลายฟังชั่นจนทำให้คุณไม่จำเป็นต้องลงปลั๊กอินเสริมหลายตัว หรือหากคุณต้องการทำเว็บที่เรียบง่าย ก็ไม่จำเป็นต้องเลือกธีมที่มีลูกเล่นหลากหลาย แต่โฟกัสไปที่เนื้อหาแทน

WordPress เหมาะกับเว็บไซต์แบบไหน

จริงๆ แล้ว WordPress เหมาะกับการทำเว็บไซต์ทุกแบบ แต่บางแบบนั้นเราอาจต้องรู้ลึกซึ้งหรือมีพื้นฐานทางด้านโปรแกรมเมอร์ด้วย ดังนั้น ณ ที่นี้เราจะขอพูดในแง่ของ Beginner จริงๆ เพราะ CMS แต่ละตัวนั้นก็มีจุดเด่นแตกต่างการ เว็บเหล่านี้เป็นเว็บที่เหมาะกับการใช้งาน WordPress ค่ะ

  1. เว็บบล็อก เหมาะมากสุดๆ เป็น cms ที่บล็อกเกอร์ใช้งานมากที่สุดในโลกเลยก็ว่าได้
  2. เว็บ Article เขียนบทความต่างๆ รีวิวโรงแรม ร้านอาหาร งานฝีมือ แอปมือถือ ฯลฯ
  3. เว็บข่าว เว็บวาไรตี้ การจัดหมวดหมู่และแท็ก ( Categories, Tags ) ใน WordPress นั้นช่วยได้ง่ายมากๆ
  4. เว็บ Portfolio เป็นผลมาจากการผสมเว็บบล็อก + Custom post type แบบ Portfolio ทำให้เกิด Post 2 ลักษณะนำมาใช้งานร่วมกัน
  5. เว็บบริษัท มีธีมที่ดูน่าเชื่อถือ เป็น Professional ให้เลือกมากมาย มีเครื่องมือครบครันโดยเราแทบไม่ต้องจ้างออกแบบเพิ่ม
  6. เว็บไซต์ e-commerce ขายเสื้อผ้า ปลากระป๋อง หรืออะไรก็แล้วแต่
  7. นอกจากนี้ WordPress ยังสามารถสร้างเว็บบอร์ด และเว็บ community ได้ด้วย แต่ยังต้องอาศัยทักษะพอสมควร
  8. เว็บไซต์ที่ต้องการความแรงในด้าน seo เพราะ WP ถือว่าเด่นในเรื่องนี้มากๆ เขียนเล่นๆ ก็ติดผลการค้นหาใน Google ได้
  9. เว็บไซต์ที่มีหลายภาษา WordPress นั้นถูกแปลทั่วโลกรวมทั้ง ภาษาไทย และยังมีปลั๊กอินที่ช่วยจัดการเนื้อหาสำหรับเว็บไซต์ที่ต้องการใช้หลายภาษาด้วย

หากใครยังนึกไม่ออกว่า WordPress สามารถทำเว็บแบบไหนได้บ้าง ลองดู Live Demo ของธีมต่างๆ มากมายจาก Themeforest.net มีธีมให้เลือกทำเว็บไซต์มากกว่า 5,700+ ธีม

ความแตกต่างระหว่าง WordPress.com และ WordPress.org

มาถึงตอนนี้ หลายคนอาจสงสัยและเริ่มเสริชคำว่า WordPress ซึ่งตอนนั้นท่านอาจงงกับสิ่งที่เห็น ว่าทำไมมันมีทั้ง WordPress.com และ WordPress.org

wordpress.com  นั้นก็เหมือนกับผู้บริการบล็อกฟรีทั่วไป เช่น Blogger ของ Google, Tumbr หรือแม้แต่ของไทยอย่าง Bloggang ของเว็บ Pantip โดย WordPress ก็จะให้บริการพื้นที่ฟรีสำหรับการเขียนบล็อก โดยก็จะมีรูปแบบของเว็บที่เรียกว่า ธีม ให้เราเลือกหน้าตาเว็บไซต์ และมีโดเมนให้พร้อม โดยเหมือนบล็อกทั่วไป ที่โดเมนเรานั้นก็จะมี .wordpress.com ต่อท้าย

wordpress.org โดยจะมีลักษณะเหมือนกับ WordPress.com แทบทุกประการ เพียงแต่ WordPress.org นี้ จะนำเอาตัวหลักที่อยู่เบื้องหลังการขับเคลื่อน  WordPress.com ออกมาให้เราดาวน์โหลดไปใช้งาน โดยเราจะต้องไปหาส่วนประกอบอื่นๆ เอง ทั้งพื้นที่ (โฮ้สต์) โดเมน ธีม และปลั๊กอิน

 

 

ประโยชน์ของ wordpress

Posted: กันยายน 13, 2012 in Uncategorized

0

ประโยชน์ของการใช้เวิร์ดเพรสในการออกแบบเว็บไซด์ของคุณ

ประโยชน์ของการใช้ WordPress ในการออกแบบเว็บไซต์ของคุณ
โดย:Mr.Supamet Muenruakham

วิธีที่เร็วและง่ายที่สุดในการทำให้เว็บไซต์ของคุณดำเนินงานในเวลาเพียงไม่กี่นาทีคือการติดตั้ง Word กดซึ่งเป็นบล็อกแพลตฟอร์มฟรี. กด Word ช่วยให้คุณได้รับเว็บไซต์ฟรีที่สร้างขึ้นก่อนที่จะแสดงบางส่วนของด้านเนื้อหาเน้นชอบ, ผลกำไร, ยอดขายของเว็บไซต์อื่น ๆ. ในบทความนี้เราจะหารือเกี่ยวกับการกดคำและสิทธิประโยชน์ในรายละเอียด.

แพลตฟอร์มที่ยืดหยุ่น:

กด Word เป็นแพลตฟอร์มที่มีประสิทธิภาพและมีความยืดหยุ่นซึ่งจะช่วยให้คุณสามารถสร้างเว็บไซต์ใหม่ของคุณด้วย CMS (ระบบการจัดการเนื้อหา). มีจำนวนมากเป็นประโยชน์ในการใช้กด Word bogging แพลตฟอร์มเช่นการติดตั้งอย่างรวดเร็ว, ปรับปรุงตัวเอง, แพลตฟอร์มโอเพนซอร์ส, จำนวนมากและของปลั๊กอินบนฐานข้อมูล, ตัวเลือกเพิ่มเติมสำหรับรูปแบบเว็บไซต์อื่น ๆ.

ได้อย่างรวดเร็วและง่ายต่อการติดตั้ง:

ถ้าคุณต้องการสร้างเว็บไซต์สำหรับ บริษัท ที่กำลังทำงานอยู่ที่แผงควบคุม cPanelX ของเว็บมาสเตอร์, แล้วคุณจะได้รับ “Fantastico De Luxe” ในแผงควบคุมของคุณและถ้าคุณคลิกที่ไอคอนที่คุณจะถูกนำไปยังหน้าเว็บที่จะแสดงการใช้งานจำนวนมากที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์ของคุณ. คุณจะต้องทำตามคำแนะนำง่ายๆที่จะช่วยให้การเชื่อมโยงของคุณและติดตั้งโปรแกรม Word กดบนเว็บไซต์ของคุณ. คุณอาจถูกขอบางข้อมูลทั่วไปก่อนการติดตั้งเสร็จสมบูรณ์. ในแบบที่คุณสามารถติดตั้ง Word กดบนเว็บไซต์ของคุณ.

การปรับปรุงตนเอง:

ในรุ่นล่าสุด, Word กดได้มีคุณสมบัติพิเศษต่างๆที่จะช่วยคุณในการเลือกของคุณที่ต้องการ WP ปลั๊กอิน, ที่จะได้รับการอัพเกรดระบบปฏิบัติการหรือการปรับปรุงอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง. คุณจะได้รับแจ้งทันทีหากมีการอัพเกรดใด ๆ ที่มีให้สำหรับคุณ. คุณจะต้องคลิกลิงก์เพื่อการอัพเกรดที่ต้องการติดตั้งโดยอัตโนมัติและการปรับปรุง.

ใบสมัครที่มาเปิด:

ตั้งแต่ Word กดได้รับการสร้างใน PHP, ใครก็ตามที่ใช้โปรแกรมสามารถดูรหัสที่มาของมัน. นอกจากนี้ยังช่วยโปรแกรมเมอร์ในการทำงานภายใน Codex เพื่อให้ได้ฟังก์ชันที่จำเป็นของพวกเขาและการดำเนินงาน. โปรแกรมนอกจากนี้ยังมีเอกสารครบวงจรด้านบนของมันซึ่งจะช่วยให้บุคคลหนึ่งบุคคลใดที่มีความรู้เพียงเล็กน้อยเกี่ยวกับ PHP ในการทำงานกับ Codex ของ, ธีมและปลั๊กอินที่ไม่มีความพยายามที่ดี.

ชุดรูปแบบเว็บไซต์:

หลายคนชอบที่จะใช้รูปแบบที่กำหนดเอง Word กดซึ่งจะช่วยให้คุณสามารถเปลี่ยนลักษณะของโดเมนของคุณ, อัปโหลดอะไรที่จะโดเมนของคุณและเปลี่ยนความรู้สึกของเว็บไซต์ของคุณ. บางคนชอบธีม WP ซึ่งมีรุ่นที่ชำระเงินและฟรีทั้ง. กว่า 1000 ชุดรูปแบบเว็บไซต์ที่มีอยู่ในปัจจุบันซึ่งสามารถโหลดได้โดยตรงในเว็บไซต์ของคุณ.

ฟังก์ชันของเว็บไซต์กดคำว่า:

ถ้าคุณต้องการให้ฟังก์ชันการทำงานที่เฉพาะเจาะจงใด ๆ ที่จะดำเนินการสำหรับเว็บไซต์ของคุณแล้วคุณสามารถจ้างโปรแกรมเมอร์เพื่อให้คำกด plug – ins ในลักษณะที่พวกเขาจะทำหน้าที่เป็นที่ต้องการของคุณต้องการของคุณ. มีตันกด plug – in คำที่มีอยู่ในฐานข้อมูลกดคำมีวันนี้.

ถ้าคุณต้องการเลือก Plug – in เพื่อการทำงานที่คุณต้องการ, เพียงแค่ดาวน์โหลดปลั๊กอินที่, เปิดเครื่องรูดมันแล้วคุณจะต้องอัปโหลดไปยังปลั๊กอินใด ๆ ที่เชื่อถือได้ในไดเรกทอรี. เมื่อคุณได้กระทำนี้, คุณโดยตรงสามารถไปที่หน้าผู้ดูแลระบบเพื่อเปิดใช้งานได้. โดยวิธีการนี้ฟังก์ชันการทำงานที่ต้องการของคุณสามารถทำได้อย่างง่ายดาย.

 

ข้อดีและข้อเสีย Blog และ WordPress

ข้อดีข้อเสียของ Blogger และ WordPress

ข้อดีของเว็บ WordPress….

1. ใช้ง่าย ตรงไปตรงมา ง่ายที่สุดในCMSทั้งหมด
2. module/theme เยอะมาก

1. WordPress เป็น Opensource แสดงว่า ฟรี

2. WordPress ไม่ได้เป็นแค่เครื่องมือเขียนบล๊อกอีกต่อไป…

3. WordPress เป็นทำงานบนอินเตอร์เน็ต ทำให้ผู้ใช้งานสามารถ สร้าง ปรับแต่ง ลบ แก้ไข ได้จากอินเตอร์เน็ต

4. WordPress สามารถเล่นได้ทุกที่ทุกเวลา

5. WordPress ใช้งานง่าย ขนาดที่ เด็กๆ ประถม หรือท่าน ส.ว. (สูงวัย) ก็ยังเล่นได้ เล่นเป็น เล่นสนุก

6. WordPress มีความยืดหยุ่นในระดับดีทีเดียว

7. WordPress มีการแยกเมนูที่ชัดเจน แยกส่วน Setting ออกจากส่วน Content

8. WordPress มีลูกเล่นจัดวางตำแหน่งหน้าจอ ตามชอบ (Drag&Drop)

9. WordPress สามารถลดความเว่นเว้อ ด้วยการเปิด – ปิดส่วนต่างๆ ของระบบเบื้องหลังในหน้าจอได้ตามชอบ

10. WordPress มีเทมเพลตสวยงาม และฟรีเยอะมากๆ

11. WordPress มีปลั๊กอินที่ฟรี และก็ดี มีมาใหม่ทุกสัปดาห์ ปลั๊กอินฟรีมีมากกว่า 13,767 ตัว

12. WordPress ถ้าคิดจะสร้างเมนู ง่าย ดั่งใจ จะซับซ้อนขนาดไหนก็ ได้ง่ายๆ

13. WordPress มีระบบจัดการผู้ใช้ที่แสนง่ายดาย

14. WordPress เจ๋งขนาดไหน มีคนรักขนาดไหน ดูได้จากสถิติ

15. WordPress มีกลุ่มชุมชนผู้ใช้ WordPress ทั้งน้อยใหญ่ กระจายอยู่ทั่วโลก ทั่วทุกประเทศ

ที่ว่ากันไปด้านบนนั้น เป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น แต่ต่อไปนี้คือสิ่งสำคัญ ที่ทำให้คนนิยม WordPress ในปัจจุบันคือ

1. WordPress ถูกสร้างตามมาตรฐานของเว็บไซต์ในปัจจุบัน ทุกประการ (Web Standard)

2. WordPress เป็น CMS ที่ทำการแยกระบบ Content ออกจาก Design ทำให้ปรับแต่งแก้ไขเทมเพลตได้ง่าย และสวยงามขึ้น

3. WordPress กับระบบ Pingback Trackback

4. WordPress ของคุณจะมีคนทั่วโลกรู้จักมากขึ้นด้วย ระบบ Update Service ที่ CMS ตัวอื่นไม่มี

5. WordPress ระบบลิ้ง อัจฉริยะ ด้วย XFN™ (XHTML Friends Network)

6. WordPress มีระบบรักษาความปลอดภัยของข้อมูลในระดับดีทีเดียว

7. WordPress มีการอัพเดตให้ตัวเองมีความทันสมัยและน่าใช้อยู่ตลอดเวลา

8. WordPress รองรับการทำงานบนมือถือ ไม่ว่าจะดู จะอ่าน หรือเขียนบทความ ได้ทั้งนั้น

9. WordPress มีโค๊ดต่างๆ ที่ง่าย ไม่ยุ่งยากซับซ้อน เขียนแบบ Structure ทำให้คนทั่วไปเข้าใจได้ง่าย

10. WordPress เพิ่มฟังก์ชั่นเอง เพิ่มเพิ่มการทำงานได้หลากหลายและตรงใจมากขึ้น

12. WordPress แต่ละ ธีม มักจะมีการสร้างระบบ Framework ขึ้นมาใช้งานเองเพื่อความเป็นหนึ่งเดียวของระบบ เพื่อให้ผู้ใช้ไม่งง

ข้อเสียของเว็บ WordPress….

ความสามารถยังไม่มากนัก ถ้าจะทำเว็บขนาดใหญ่ เนื้อหาหลายชนิด

ข้อดีของเว็บ Blogger….

1. เจ้าของบล็อกมีอิสระที่จะนำเสนอ อะไรก็ได้ ที่ไม่ไปก้าวล่วงบุคคลอื่น ที่ไม่ผิดกติกาของผู้ให้บริการบล็อกที่เราทำอยู่ (oknation) ที่ไม่ผิดกฎหมายและศีลธรรม ประเพณีที่ดีงาม ถ้าเราใช้จริยธรรมในใจกำกับ กฎต่างๆก็อยู่ที่เราจะกำหนดเองค่ะ
2. เปิดโอกาสให้ บล็อกเกอร์ได้รับฟัง แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันได้โดยอิสระ จะรับไว้ จะไม่อ่าน จะตอบ จะลบ ก็ขึ้นอยู่กับวิจารณญาณของเจ้าของบล็อก แต่ก็ไม่ลดสิทธิ์ที่ผู้ให้บริการบล็อกจะเข้ามาช่วยดูแลในกรณี ฉุกเฉิน หรือมีปัญหาที่ต้องดำเนินการ
3. ในด้านเทคนิค เจ้าของบล็อกสามารถปรับแต่งบล็อกให้เป็นรูปแบบที่ตนต้องการได้โดยไม่ต้องมี ความรู้ในเรื่องภาษาคำสั่งของโปรแกรมมากมาย อาศัยบทเรียนง่ายๆ การสังเกตุ การทดลอง สามัญสำนึกช่วยก็ทำเองได้ หรืออาจขอความช่วยเหลือเล็กๆน้อยๆจากผู้ที่มีประสบการณ์ก็สามารถเข้าไปแก้ไข Source Code เองได้
4. สามารถสร้างเครือข่าย ชุมชนสัมพันธ์ระหว่างบล็อกเกอร์ที่มีความคิด ความสนใจ ความรู้สึก ร่วมกันได้
5. ช่วยเป็นกระบอกเสียง ทำประชาสัมพันธ์ในเรื่องต่างๆได้ รวมทั้งผลงานให้เป็นที่รู้จัก หากบุคคล นักธุรกิจ คนดัง นักร้อง ค่ายเพลง นักแสดง หมอดู นักการเมือง องค์กร ห้างร้านสนใจมาทำบล็อกก็จะได้ประโยชน์ในเรื่องการตลาดอย่างมาก หากใช้อย่างมีเป้าหมาย มีการวางแผน ด้วยความรอบคอบ ระมัดระวัง และบริหารบล็อกอย่างมืออาชีพ หรือด้วยมืออาชีพ
6. เปิดโอกาสให้เจ้าของบล็อกทำธุรกิจได้ ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจที่หารายได้จากการจำหน่ายสินค้า บริการ หรือ หารายได้จากการเป็นสมาชิก การลงโฆษณา ก็ตาม
7. ได้พื้นที่ใช้งานฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย แถมมีคนคอยบริการ ช่วยเหลือเมือ่มีปัญหาทางด้านเทคนิค หรือปัญหาทั่วๆไปที่เกี่ยวกับ บล็อก
8. ได้เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ หรือ สิ่งเก่าๆ ที่ยังไม่รู้ ให้รู้มากขึ้น จากการนำมาแลกเปลี่ยนกันและกัน
9. ได้มิตรภาพใหม่ๆ จากความสัมพันธ์กับคนในชุมชนบล็อก กับเพื่อนของบล็อกเกอร์ และเพื่อนของเพื่อนของ
10. ใช้เป็นช่องทางสื่อสารกับครอบครัว เพื่อนฝูง เมื่อยามห่างไกลกัน
11. เปิดโอกาสให้เจ้าของบล็อกได้แสดงออกถึงความสามารถ ความคิดเห็นได้อย่างไม่เคยมีมาก่อน บางท่านอาจจะกลายเป็นคนดังได้ เช่น คุณ kittinunป้ามด และอีกหลายๆท่าน
12. เปิดโอกาสให้ประชาชนคนธรรมดา กลายเป็น ผู้สื่อข่าวได้ เพียงแค่นำเรื่องใกล้ตัวที่น่าสนใจ น่าตระหนัก มาเสนอในช่วงเวลาที่เหมาะสม
13. เปิดโอกาสให้บล็อกเกอร์ได้แสดงตัวตนที่เป็นตัวเอง หรืออาจจะเป็นด้านที่ไม่มีใครรู้มาก่อนได้ แม้จะอยู่ชื่อแฝง หรือจะอยู่ในชื่อจริงก็ตาม
14. เป็นไดอารี่บันทึกประจำวัน เป็นที่เก็บข้อมูลประจำครอบครัว ประจำสถาบัน ใช้เป็นจดหมายเหตุได้
15. เป็นที่พบปะสังสรรค์เพือนเก่า เครือญาติ ศิษย์เก่าสถาบันต่างๆได้
16. เก็บไว้เป็นที่ระลึกถึงตัวเอง ถึงคนอันเป็นที่รัก ที่ชัง ครอบครัว เพื่อน คนอื่นรวมไปถึงสัตว์เลี้ยง พืช งานอดิเรก ของรัก ของหวง รวมถึงเหตุการณ์ที่น่าจดจำรำลึก ในยามที่เลิกหรือไม่ได้ทำบล็อกแล้ว
17. เป็นแหล่งข้อมูลความรู้ ให้บุคคลอื่นเข้ามาค้นคว้า ศึกษาได้ในปัจจุบันและอนาคต
18. เปิดโอกาสให้ผู้ที่อาจจะต้องอยู่ในมุมมืด เช่นผู้มีอาชีพพิเศษ นักโทษ ผู้ที่ไม่ต้องการเผยตัว ได้ใช้เป็นเวทีแสดงออกและแลกเปลี่ยน เรื่องราว ความคิดเห็น แนวทาง โดยไม่จำเป็นต้องเผยชื่อ
19. เปิดโอกาสให้ผู้ที่มีความคิดเห็นแตกต่างกัน มาอยู่ร่วมในชุมชนเดียวกัน เพิ่มโอกาสให้มีการปรับแนวทางความคิด ความเข้าใจซึ่งกันและกัน และอาจจะนำไปสู่ความรู้รักสามัคคี และการสมานฉันท์ ในการนำส่วนที่ดีดี มาใช้ร่วมกันก็เป็นได้
20. ใช้เป็นเครื่องมือในการทำงาน เช่นกรณีของการนำเสนอข่าวอย่างฉับไว เจาะลึก มีพร้อมทั้งภาพและเสียง ผ่านสื่อต่างๆหลายรูปแบบ ซึ่งในเครือ The Nation ใช้อยู่ในปัจจบุนนี้
21. ใช้เป็นศูนย์รวมการให้ความรู้ การศึกษาวิชาการ วิชาชีพ ศิลปะ การติว การให้การบ้าน การส่งการบ้าน ของครู อาจารย์ นักเรียน นักศึกษา บุคคลทั่วไป
22. ใช้สร้าง รวมกลุ่ม ชุมชนออนไลน์ย่อยๆ เพื่อการระดมความคิด พบปะพูดคุย ปรึกษาธุระ แสดงผลงานร่วมกัน เช่น ร้อยแก้ว ร้อยกรอง วรรณกรรม การ์ตูน งานศิลปะอื่นๆ ตามแตความสนใจของกลุ่มย่อยนั้น ในบางกรณี ยังสามารถกำหนด password ในการเข้าบล็อกของกลุ่มเพื่อรักษาความลับไม่ให้รั่วไหล
23. ใช้เป็นสถานีวิทยุออนไลน์ ให้บริการข่าว ฟังเพลง ตลอด 24 ชั่วโมง

ข้อเสียของเว็บ Blogger….
1. บล็อกเกอร์มีอิสระในการนำเสนอ โดยไม่ต้องมีการตรวจสอบจากใครก่อน อาจโพสเรื่องที่ไม่เหมาะสม เรื่องที่หมิ่นเหม่ หรือ เข้าข่ายผิดกฎหมาย ผิดประเพณีและศีลธรรมอันดีได้ จึงต้องมีกติกาให้ตัวเอง หรือใช้จริยธรรมของแต่บุคคล ความมีเหตุมีผล ความระมัดระวัง รอบคอบ ของบล็อกเกอร์มากำกับไว้เอง
2. ผู้ให้บริการบล็อก ไม่สามารถกลั่นกรองเนื้อหาได้ 100% เว้นแต่จะสร้างระบบกรองคำหยาบ คำต้องห้ามไว้เพื่อให้มีการตรวจทานก่อนเผยแพร่ อาจมีความเสี่ยงเป็นผู้กระทำผิดกฎหมายไปด้วยหากมีบล็อกเกอร์โพสข้อความ รูปภาพ ไม่เหมาะสมแล้วมีการฟ้องร้องขึ้นมา
3. ในทางปฏิบัติ ผู้ให้บริการบล็อก ไม่สามารถบังคับหรือกำหนดแนวทางให้บล็อกเกอร์นำเสนอได้ แม้จะโปรโมทให้ oknationเป็นสังคมของ CJ Citizen Jouranalistแต่ก็เป็นที่ยอมรับกันว่า จะไม่สามารถอยู่ได้หากไม่มีบล็อกเกอร์ที่ทำบล็อกในแนวอื่น ซึ่งเปรียบเสมือนมีคอมลัมน์หลากหลายในหนังสือพิมพ์แต่ละฉบับ จึงน่าจะถือว่า เป็นเรื่องของการสร้างชุมชนที่ดีร่วมกัน
4. เนื้อหาที่อยู่ในบล็อก หากไม่ใช่ผลงานวิจัย หรือ วิทยานิพนธ์ ที่ทำตามหลักวิชาการ หรือ ตัวบทกฎหมาย ก็อาจมีความน่าเชื่อถือน้อยถึงน้อยมาก
5.ความ น่าเชื่อถือของข้อมูลขึ้นกับความน่าเชื่อถือของบล็อกเกอร์ มากกว่าตัวข้อมูลเอง หากเกิดความผิดพลาดใดๆ ผู้ที่นำข้อมูลไปใช้อ้างอิง อาจประสบปัญหาได้
6. เปิดโอกาสให้พวกป่วนเข้ามาเปิดบล็อก ก่อกวน
7. เปิดโอกาสให้ผู้ที่มีความคิดเห็นแตกต่างกัน มาอยู่ร่วมในชุมชนเดียวกัน เพิ่มโอกาสให้มีการแสดงออกถึงการขัดแย้งอย่างไม่มีเหตุผล สร้างความไม่สามัคคี ทะเลาะกันได้ หากไม่ใช้การวางจิตเป็นกลาง ไม่นำเหตุและผลมาโต้แย้งกันโดยสันติ
8. เปิดโอกาสให้มีการเผยแพร่ กระจายข่าวปั้นแต่ง ข่าวลือ ข่าวลวง ข่าวยั่วยุ
9. การที่มีบล็อก และเรื่องใหม่ๆมากมายในแต่ละวัน การนำเสนอเรื่องเดิมซ้ำๆกันอาจเกิดขึ้นได้ เช่นการนำ ข้อความจากฟอร์เวิร์ดเมล์ มาโพส เป็นต้น

 

การประยุกต์ใช้ Cloud computing เพื่อพัฒนาการจัดการการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21

การประมวลผลแบบกลุ่มเมฆ  (Cloud computing)  เป็นลักษณะของการทำงานของผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ผ่านอินเตอร์เน็ต ที่ใช้บริการใดบริการหนึ่งกับผู้ใช้ โดยผู้ให้บริการจะแบ่งปันทรัพยากรให้กับผู้ต้องการใช้งานนั้น การประมวลผลแบบกลุ่มเมฆ เป็นลักษณะที่พัฒนาขึ้นต่อมาจากความคิดและบริการของเวอร์ชัวไลเซชั่นและเว็บเซอร์วิส โดยผู้ใช้งานนั้นไม่จำเป็นต้องมีความรู้ในเชิงเทคนิคสำหรับตัวพื้นฐานการทำงานนั้น (Danielsom, Krissi (2008-03-26), “Distinguishing Cloud from Utility Computing”, Ebizq.net.)

Cloud Computing   คือวิธีการประมวลผลที่อิงกับความต้องการของผู้ใช้ โอยผู้ใช้สามารถระบุความต้องการไปยังซอฟต์แวร์ของระบบ Cloud Computing จากนั้นซอฟแวร์จะร้องขอให้ ระบบจัดสรรทรัพยากรและบริการให้ตรงกับความต้องการผู้ใช้ ทั้งนี้ระบบสามารถเพิ่มและลด จำนวนของทรัพยากรรวมถึงเสนอบริการให้พอเหมาะกับความต้องการของผู้ใช้ได้ตลอดเวลา โดยที่ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องทราบเลยว่าการทำงานหรือเหตุการณ์เบื้องหลังเป็นเช่นไร

นิยามความหมายของคำหลักๆ 3 คำที่เกี่ยวข้องกับ Cloud Computing มีดังนี้

ความต้องการ (Requirement) คือ โจทย์ปัญหาทู้ใช้ต้องการให้ระบบคอมพิวเตอร์ แก้ไขปัญหาหรือตอบปัญหาตาม ที่ผู้ใช้กำหนดได้ ยกตัวอย่างเช่น ความต้องการพื้นที่จัดเก็บ ข้อมูลขนาด 1,000,000 GB, ความต้องการประมลผล โปรแกรมแบบขนานเพื่อค้นหายารักษาโรคไข้หวัดนกให้ได้สูตรยาภายใน 90 วัน, ความต้องการโปรแกรมและพลังงานประมวลผล สำหรับสร้างภาพยนตร์แอนนิเมชัน ความยาว 2 ชั่วโมง ให้แล้วเสร็จภายใน 4 เดือน, และความต้องการค้นหาข้อมูลท่องเที่ยวและโปรแกรมทัวร์ในประเทศอิตาลีในราคาที่ถูกที่สุดในโลก แต่ปลอดภัยในการเดินทางด้วย เป็นต้น

ทรัพยากร (Resource) หมายถึง ปัจจัยหรือสรรพสิ่งที่เกี่ยวข้องกับการประมวลผล หรือเกี่ยวข้องกับการแก้ไข ปัญหาตามโจทย์ที่ความต้องการของผู้ใช้ได้ระบุไว้ อาทิเช่น CPU, Memory (เข่น RAM), Storage (เช่น Harddisk), Database, Information, Data, Network, Application Software, Remote Sensor เป็นต้น

บริการ (Service) ถือว่าเป็นทรัพยากรและในทางกลับกันก็สามารถบอกได้ว่าทรัพยากรก็คือบริการโดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้าน Cloud Computing แล้ว เราจะใช้คำว่าบริการ แทนคำว่าทรัพยากร คำว่าบริการหมายถึงการกระทำ (Operation) เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ที่สนองต่อความต้องการ (Requirement) แต่การกระทำของบริการจะเกิดขึ้นได้จำเป็นต้องพึ่งพาทรัพยากร โดยการใช้ทรัพยากรที่เกี่ยวข้องเพื่อแก้ปัญหาให้เกิดผลลัพธ์สนองต่อความต้องการ

สำหรับ (Cloud Computing) แล้ว ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องสนใจเลยว่าระบบเบื้องล่างทำงานอย่างไร ประกอบไปด้วยทรัพยากร (resource) อะไรบ้าง ผู้ใช้แค่ระบุความต้องการ จากนั้นบริการ ก็เพียงให้ผลลัพธ์แก่ผู้ใช้ ส่วนบริการจะไปจัดการกับทรัพยากรอย่างไรนั้นผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องสนใจ

Cloud Computing เป็นแนวคิดของ OS ที่ไม่ต้องติดตั้งในเครื่อง หรือก็คือ ออนไลน์ตลอดการทำงาน เป็นแนวคิดที่ใช้พัฒนา Google Chrome OS พัฒนาจากบราวเซอร์ที่ชื่อ Google Chrome ที่เราใช้กันอยู่ในปัจจุบันคอนเซ็ปของ Chrome OS เน้นความสะดวกสบายของผู้ใช้ Google ต้องการให้ผู้ใช้รู้สึกว่า OS ทำงานอยู่ตลอดเวลา ไม่อืดเวลาติดตั้งโปรแกรมใหม่เข้าไป เรียกได้ว่าความเร็วเครื่องเหมือนตอนเปิดครั้งแรกเลยครับที่เป็นเช่นนั้นเพราะโปรแกรมมันไม่ได้ติดตั้งไว้ในเครื่อง แต่ติดตั้งไว้ในเซิร์ฟเวรอร์ครับ ซึ่งนี่เป็นคอนเซ็ปของ Cloud Computing นั่นเอง

Cloud Computing คือแนวคิดของ OS ที่ใช้พื้นฐานของ Web-base ในการทำงาน ข้อเสียของมันคือ ถ้าไม่มีอินเตอร์เน็ต คอมพิวเตอร์ก็แทบไม่ต่างจากเศษเหล็กเลย แต่ข้อดีคือ มันติดตั้งตัวเองเร็วมาก ไฟล์น้อยมากและเบามาก

Cloud Computing in Thailand

ปัจจุบันในประเทศไทยได้มีนักพัฒนาหลายคนได้พัฒนาระบบบน Cloud Computing แล้วซึ่งส่วนมากเป็น Application ที่ใช้สำหรับคนทั่วโลก ไม่ได้เน้นเฉพาะคนไทยเป็นหลัก โดยปัญหาหลักคือ Bandwidth ของไทยที่ไปต่างประเทศนั้นน้อยกว่า Bandwidth ในประเทศรวมทั้งราคา Bandwidth ต่างประเทศแพงกว่า Bandwidth ในประเทศหลายเท่า ดังนั้นผู้ให้บริการประเภท Web service ที่มีลูกค้าเป็นคนไทยจึงยังไม่สนใจใช้บริการ Cloud Computing จากต่างประเทศ

ส่วนการให้บริการ Cloud Computing ในไทย ปัจจุบันยังไม่มีการให้บริการประเภทนี้ แต่มีหลายองค์กรที่เริ่มศึกษาและเริ่มนำมาใช้ในองค์กรก่อน หรือเรียกได้ว่าเป็น Private Cloud

 Cloud Computing ถูกนิยามว่า คือการนำเครื่องคอมพิวเตอร์จำนวนมากมาเชื่อมต่อเข้าด้วยกันคอมพิวเตอร์ทั้งหมดในกลุ่ม Cloud อาจไม่จำเป็นต้องติดตั้งอยู่ในสถานที่เดียวกัน แต่อาจมีการเชื่อมต่อผ่านเครือข่ายสื่อสารความเร็วสูง และที่สำคัญก็คือบรรดาคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกันเองนี้อาจไม่จำเป็นมีฮาร์ดแวร์และระบบปฏิบัติการเหมือนกันไปทั้งหมด ยกตัวอย่างเช่น ในกลุ่ม Cloud หนึ่งๆ อาจมีทั้งเครื่องพีซี และเครื่องแอปเปิล หรือมองอีกมุมหนึ่ง ระบบปฏิบัติการ (Operating System หรือ OS) ที่อาจมีอยู่หลายชนิด เป้าหมายของการนำเครื่องคอมพิวเตอร์มาเชื่อมต่อกันเช่นนี้ ก็เพื่อจะดึงพลังในการประมวลผล ของคอมพิวเตอร์ทั้งหมดมาประสานกัน เพื่อนำไปใช้จัดการงานประมวลผลใหญ่ๆ ที่แต่เดิมอาจต้องใช้คอมพิวเตอร์คุณภาพสูง ต้นทุนมหาศาล แต่กับเทคโนโลยี Cloud Computing แล้ว ผู้ลงทุนสามารถลดต้นทุน และหันมาใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ราคาประหยัดมาทำงานร่วมกันแทน ซึ่งมีคำที่เกี่ยวข้องอีก คือ

* Cloud Provider หมายถึงผู้ให้บริการระบบ Cloud

* Cloud Storage คือสถานที่เก็บทรัพยากรสำหรับระบบ Cloud

สำหรับ Cloud Computing แล้ว ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องสนใจเลยว่าระบบหลังบ้านจะต้องทำงานอย่างไร ประกอบไปด้วยทรัพยากรอะไรบ้าง ผู้ใช้แค่ระบุความต้องการ จากนั้นบริการก็เพียงให้ผลลัพธ์แก่ผู้ใช้ ส่วนบริการจะไปจัดการกับทรัพยากรอย่างไรนั้นผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องสนใจ สรุปได้ว่า ผู้ใช้มองเห็นเพียงบริการซึ่งทำหน้าที่เสมือนซอฟต์แวร์ที่ทำงานตามโจทย์ของผู้ใช้ โดยที่ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องรับทราบถึงทรัพยากรที่แท้จริงว่ามีอะไรบ้างและถูกจัดการเช่นไร หรือไม่จำเป็นต้องทราบว่าทรัพยากรเหล่านั้นอยู่ที่ไหน

ในปัจจุบันเราจะพบว่าเราอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์เพื่อใช้งานอินเตอร์เน็ตมากขึ้น ไม่ใช่แค่เพียง chat, เช็ค Email, และเปิดหน้าเว็บเพื่ออ่านข่าวเท่านั้น หากแต่เป็นการใช้งานเพื่อเข้าสังคมผ่าน Group และ Web board รวมไปถึง blog       ส่วนตัวและ Social network อย่าง Hi5 หรือ         Facebook รวมไปถึงการแชร์ไฟล์ต่างๆไม่ว่าจะแชร์รูปภาพผ่าน Flickr แชร์วีดีโอผ่าน Youtube รวมไปถึงการเข้าไปใช้งาน application ต่างๆที่ออนไลน์บนโลกอินเตอร์เน็ต อย่างที่ Hi5 และ Facebook ได้บริการ application แบบต่างๆ ไว้ให้อยู่ใช้มามารถติดตั้งไว้บนหน้าเว็บส่วนตัวได้ และอย่างที่ Google ได้เตรียม Google Dog ไว้เป็นโปรแกรมสร้างเอกสารที่สามารถเข้าถึงได้ทุกที่ทุกเวลา เราจะเห็นตัวอย่างของ Web 2.0 ที่เป็นจุดพลิกผลันให้เกิด Cloud Computing ได้จาก Google apps ที่รวม application ต่างๆผ่านจุดเดียว รวมไปถึงบริการที่มีอยู่มากมาย และเมื่อไหร่ก็ตามที่บริการและ  application ต่างๆเหล่านี้ทำงานร่วมกันเสมือนเป็นระบบเดียว รวมไปถึงสามารถแชร์ทรัพยากรและใช้งานร่วมกันระหว่างผู้ใช้อื่นๆได้ก็จะทำให้เกิด Cloud Computing ขึ้นมาในที่สุดและตัวอย่างความสำเร็จนี้เกิดขึ้นจริงแล้ว ในกรณีระหว่าง Salesforce.com และ Google ได้ร่วมมือกันสร้างเครือข่ายดังกล่าวขึ้นเพื่อการทำงานร่วมกันระหว่างพนักงานขายของบริษัทเดียวกันหรือแม้แต่ระหว่างบริษัท ทำให้เพิ่มประสิทธิภาพในการขายสินค้าและบริการ

เทคโนโลยี Cloud Computing ก็เป็นอีกวัตกรรมหนึ่งแห่งโลกสารสรเทศ ซึ่งกำลังได้รับความสนใจ  และอยู่ในช่วงเริ่มต้น พร้อมที่จะก้าวขึ้นเป็นธุรกิจมูลค่ามหาศาลภายในชั่วระยะเวลาอันสั้น ที่สำคัญเรื่องของ Cloud Computing นี้ก็ไม่ใช่เรื่องไกลตัวผู้ประกอบธุรกิจทั่วไป ประกอบกับปัจจัยสนับสนุนในเรื่องของโครงข่ายสื่อสารข้อมูล ที่ปัจจุบันทั่วโลกกำลังมีการพัฒนา เพื่อสร้างวงจรเชื่อมต่อความเร็วสูงสำหรับรองรับข้อมูลมัลติมีเดียและสื่อดิจิตอลต่างๆ ก็ยิ่งทำให้ธุรกิจ Cloud Computing อยู่ในสภาพของ “เสือติดปีก” พร้อมทะยานขึ้นเป็นดาวรุ่งแห่งโลกไอซีที การทำความเข้าใจถึงเทคโนโลยี Cloud Computing และรูปแบบธุรกิจที่เกี่ยวข้องจึงกลายเป็นเรื่องที่มากกว่าคำว่าจำเป็น

ข้อดีข้อเสีย
  1. ลดต้นทุนค่าดูแลบำรุงรักษาเนื่องจากค่าบริการได้รวมค่าใช้จ่ายตามที่ใช้งานจริง เช่น ค่าจ้างพนักงาน ค่าซ่อมแซม ค่าลิขสิทธิ์ ค่าไฟฟ้า ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง ค่าอัพเกรด และค่าเช่าคู่สาย เป็นต้น
  2. ลดความเสี่ยงจาการเริ่มต้นหรือทดลองโครงการ
  3. มีความยืดหยุ่นในการเพิ่มหรือลดระบบตามความต้องการ
  4. ได้เครื่องแม่ข่ายที่มีประสิทธิภาพ มีระบบสำรองข้อมูลที่ดี มีเครือข่ายความเร็งสูง
  5. มีผู้เชี่ยวชาญดูแลระบบและพร้อมให้บริการช่วยเหลือ 24 ชั่วโมง
  1. เนื่องจากเป็นการใช้ทรัพยากรที่มาจากหลายที่ หลายแห่งทำให้อาจมีปัญหาในเรื่องของ ความต่อเนื่องและความเร็วในการเข้าทรัพยากรมากกว่าการใช้บริการHost ที่ Local หรืออยู่ภายในองค์การของเราเอง
  2. ยังไม่มีการรับประกันในการทำงานอย่างต่อเนื่องของระบบและความปลอดภัยของข้อมูล
  3. ความไม่มีมาตรฐานของแพลทฟอร์ม ทำให้ลูกค้ามีข้อจำกัดสำหรับตัวเลือกในการพัฒนาหรือติดตั้งระบบ

 

การใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ เพื่อการศึกษา

แนวคิดเรื่อง Social Network หรือ เครือข่ายสังคมออนไลน์ มักปรากฏให้เห็นในลักษณะของการนำมาใช้เพื่อดำเนินงานหรือกิจกรรมต่างๆ โดยมีตัวบุคคลหรือหน่วยงานต่างๆ ร่วมกันเป็นเครือข่าย เพื่อให้สามารถใช้ทรัพยากรร่วมกัน แลกเปลี่ยนแบ่งปันทรัพยากร ข้อมูลข่าวสาร แต่ปัจจุบันคำว่า Social Network จะหมายถึงระบบเครือข่ายบนโลกออนไลน์ หรือการติดต่อสื่อสารถึงกันผ่านอินเตอร์เน็ตนั่นเอง

Social Network จึงหมายถึงการที่มนุษย์สามารถเชื่อมโยงถึงกัน ทำความรู้จักกัน สื่อสารกันได้ผ่านทางระบบอินเตอร์เน็ต ซึ่งหากเป็นเว็บไซด์ที่เรียกว่าเป็นเว็บ Social Network ก็คือเว็บไซต์ที่เชื่อมโยงผู้คนไว้ด้วยกันนั่นเอง โดยเว็บไซต์เหล่านี้จะมีพื้นที่ให้ผู้คนเข้ามารู้จักกัน มีการให้พื้นที่ บริการเครื่องมือต่างๆ เพื่ออำนวยความสะดวกในการสร้างเครือข่าย สร้างเนื้อหาตามความสนใจของผู้ใช้ ปัจจุบันมีเว็บไซต์ประเภท Social Network เกิดขึ้นจำนวนมาก ทั้งที่มีเป้าหมายเชิงพาณิชย์ และไม่แสวงหากำไรนอกจะใช้ในการติดต่อสื่อสารเพื่อความสนุก เพลิดเพลิน บันเทิงแล้วเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่นำใช้เพื่อการศึกษาได้

ทวิตเตอร์ Twitter เป็นบริการเครือข่ายสังคมออนไลน์จำพวกไมโครบล็อก โดยผู้ใช้สามารถส่งข้อความยาวไม่เกิน 140 ตัวอักษร ว่าตัวเองกำลังทำอะไรอยู่ หรือ ทวีต (Tweet – เสียงนกร้อง)

ข้อความอัปเดตที่ส่งเข้าไปยังทวิตเตอร์จะแสดงอยู่บนเว็บเพจของผู้ใช้คนนั้นบนเว็บไซต์ และผู้ใช้คนอื่นสามารถเลือกรับข้อความเหล่านี้ทางเว็บไซต์ทวิตเตอร์, อีเมลล์, เอสเอ็มเอส, เมสเซนเจอร์ หรือผ่านโปรแกรมเฉพาะอย่าง Twitterific Twhirl ปัจจุบันทวิตเตอร์มีหมายเลขโทรศัพท์สำหรับส่งเอสเอ็มเอสในสามประเทศ คือสหัฐอเมริกา แคนาดา และสหราชอานาจักร

ทวิตเตอร์กับการเรียนการสอน

จากการจัดอันดับของเครื่องมือสื่อสารสนเทศที่เหมาะสมเพื่อใช้ในการเรียนการสอนพบว่าทวิตเตอร์เป็นเครื่องมืออันดับหนึ่งในปี พ.ศ. 2552 ด้วยเหตุผลดังนี้

  1.  ทวิตเตอร์ทำให้ข่าวสารและข้อมูลแพร่กระจายใปสู่คนหมู่มากได้อย่างรวดเร็ว
  2. ทวิตเตอร์ช่วยทำให้ ทั้งให้และรับได้อย่างรวดเร็วรวมทั้งสามารถแลกเปลี่ยนการสนทนาความคิดกับผู้อื่นที่มีความสนใจได้ดี
  3. ข้อความในทวิตเตอร์สั้นทำให้ได้รับข้อมูลไม่ยาวเกินความจำเป็น
  4. มีแอพที่ทำให้การเข้าถึงทวิตเตอร์และการเผยแพร่ข้อมูลที่ทวิตเตอร์ง่าย เช่น Google Chrome, Firefox ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ทำให้หัวข้อฟีดไปแสดงที่บัญชีทวิตเตอร์โดยอัตโนมัติ

การประยุกต์ใช้งาน Youtube เพื่อการเรียนการสอน

Youtube เป็นเว็บไซต์ที่ให้บริการแลกเปลี่ยนภาพวีดีโอระหว่างผู้ใช้ได้ฟรี โดยทำเทคโนโลยีของ Adobe Flash มาใช้ในการแสดงภาพวีดีโอ ซื่งซูทูบมีนโยบายไม่ให้อัปโหลดคลิปที่มีภาพโป๊เปลือยและคลิปที่มีลิขสิทธิ์ นอกเสียจากเจ้าของลิขสิทธิ์ได้อัปโหลดเอง

เมื่อสมัครสมาชิกแล้วผู้ใช้จะสามารถใส่ภาพวีดีโอเข้าไป แบ่งปันภาพวีดีโอให้คนอื่นดูด้วย แต่หากไม่ได้สมัครสมาชิกก็สามารถเข้าไปเปิดดูภาพวีดีโอที่ผู้ใช้คนอื่นๆ ใส่ไว้ใน Youtube ได้ แม้จะก่อตั้งได้เพียงไม่นาน (Youtube ก่อตั้งขึ้นเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2005) Youtube เติบโตอย่างรวดเร็วมาก เป็นที่รู้จักกันแพร่หลายและได้รับความนิยมทั่วโลก ต่อมาปี ค.ศ.2006 กูเกิ้ลซื้อยูทูบ ตอนนี้ยูทูบจึงกลายเป็นส่วนหนึ่งของกูเกิ้ลแล้ว

แต่ด้วยตัวยูทูบเองที่มีเนื้อหามากมายเป็นแสนชิ้น ทั้งสื่อและเครื่องมือการเรียนรู้ดีๆที่สามารถใช้เป็นสื่อการเรียนการสอนในห้องเรียนได้ แต่ในขณะเดียวกันก็มีสื่อประเภทที่สุ่มเสี่ยง และทำให้เด็กและเยาวชนไขว้เขวไปได้ ทั้งจากมิวสิควีดีโอ การ์ตูน และไม่ได้ใช้เป็นช่องทางเพื่อการเรียนรู้สักทีเดียว จึงเป็นที่มาของการเปิดหน้าการศึกษาล่าสุดของยูทูบขึ้น ที่เรียกว่า “ยูทูบสำหรับโรงเรียน” หรือ (Youtube for Schools) เป็นช่องทางการเรียนรู้ที่จัดตั้งขึ้น โดยจะมีเนื้อหาแต่เรื่องการศึกษาแต่เพียงอย่างเดียว โดยได้ร่วมมือกัยภาคีด้านการศึกษากว่า 600 แห่ง เช่น TED, Smithsonian เว็บไซด์ชื่อดังเรื่องที่ได้รวบรวมแหล่งเรียนรู้และนิทรรศการต่างๆเอาไว้ , Steve Spangler แหล่งผลิตเกมส์และของเล่นเพื่อการพัฒนาทักษะด้านวิทยาศาสตร์ หรือ Numberphile ที่สอนคณิตศาสตร์ออนไลน์ เป็นต้น นอกจากนี้เพื่อให้ง่ายต่อการค้นหา ยูทูบได้ทำงานร่วมกับครูในการจัดการแบ่งเนื้อหากว่า 300 ชิ้น ออกเป็นรายวิชา และระดับชั้น โดยสื่อเหล่านี้ยูทูบเชื่อว่าจะช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ในห้องเรียนได้เป็นอย่างดี ทำให้ห้องเรียนสนุกสนานขึ้น และเด็กๆก็จะตั้งใจเรียนมากยิ่งขึ้น

Youtube สำหรับโรงเรียน

1. กว้างขวางครอบคุม

ประโยชน์ของ Youtube สำหรับโรงเรียนต่างๆ เข้าถึงวีดีโอเพื่อการศึกษาฟรีนับแสนรายการจาก Youtube EDU วีดีโอเหล่านี้มาจากองค์กรที่มีชื่อเสียงต่างๆ รวมทั้งจากพันธมิตรที่กำลังได้รับความนิยมของ Youtube ซึ่งมียอดผู้ชมนับล้านๆ คน

2. ปรับแก้ได้

สามารถกำหนดค่าเนื้อหาที่ดูได้ในโรงเรียนของคุณ โรงเรียนทั้งหมดจะได้รับสิทธิ์เข้าถึงเนื้อหาYoutube EDU ทั้งหมด แต่ครูและผู้ดูแลระบบอาจสร้างเพลย์สิสต์วีดีโอที่ดูได้เฉพาะในเครือข่ายของโรงเรียนเท่านั้นได้เช่นกัน

3. เหมาะสมสำหรับโรงเรียน

ผู้บริหารโรงเรียนและครูสามารถลงชื่อเข้าใช้และดูวีดีโอใดๆ ก็ได้ แต่นักเรียนจะไม่สามารถลงชื่อเข้าใช้และดูได้เฉพาะวีดีโอ Youtube EDU และวีดีโอที่โรงเรียนได้เพิ่มเข้าไปเท่านั้น ความคิดเห็นและวีดีโอที่เกี่ยวข้องทั้งหมดจะถูกปิดใช้งานและการค้นหาจะจำกัดเฉพาะวีดีโอ Youtube EDU เท่านั้น

4. เป็นมิตรกับครู

Youtube.com/Teachers มีเพลย์ลิสต์วีดีโอนับร้อยรายการที่ได้มาตรฐานการศึกษาทั่วไปและจัดระเบียบตามหัวเรื่องและระดับชั้น เพลย์ลิสเหล่านี้สร้างขึ้น โดยครูเพื่อเพื่อนครูด้วยกัน ดังนั้นคุณจึงมีเวลาในการสอนมากขึ้นและใช้เวลาค้นหาน้อยลง

การประยุกต์ใช้งาน Facebook เพื่อการเรียนการสอน

เฟสบุ๊กเป็นศูนย์แห่งการเรียนรู้ที่ยังคงเฟื่องฟูและได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่องจึงส่งผลให้สถานศึกษาต่างๆนำเฟสบุ๊กไปประยุกต์ใช้เป็นศูนย์แห่งการเรียนรู้ในสถานศึกษาเพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์และแบ่งปันข้อมูลด้านวิชาการในการเรียนการสอนรวมถึงการส่งเสริมความสำพันธ์ที่ดีต่อกันระหว่างครูผู้สอนกับครูผู้สอนระหว่างครูผู้สอนกับนักเรียน และผู้เรียนกับผู้เรียน

จากการค้น “เฟสบุ๊กเพื่อการศึกษา (Youtube for Education)” ในกูเกิลจะพบแหล่งข้อมูล 922 ล้านรายการ และจากการค้น “ศูนย์แห่งการเรียนรู้บนเฟสบุ๊ก (Learning Center on Facebook)” ในกูเกิลจะพบแหล่งข้อมูล 173 ล้านรายการ จะเห็นได้ว่ามีการนำเฟสบุ๊กไปประยุกต์ใช้เพื่อการศึกษาและเป็นศูนย์แห่งการเรียนรู้ในสาขาวิชาต่างๆ มากมาย ยิ่งกว่าไปนั้น เฟสบุ๊กได้เป็นสื่อสังคมยอดนิยมสำหรับครูผู้สอน ซึ่งเมื่อเมษายน 2554 เพียร์สัน ได้รายงานผลสำรวจการใช้สื่อสังคมของครูผู้สอนในระดับอุดมศึกษาประมาณ2000แห่ง สรุปได้ว่า ครุผู้สอนร้อยละ 57 นิยมใช้เฟสบุ๊กในด้านส่วนตัว และครูผู้สอน ร้อยละ30 ใช้เฟสบุ๊กในด้านวิชาชีพ เว็บ พีซีเทคแม็กกาซีน ได้อ้างถึงเหตุผล 4 ประการที่ครูผู้สอนควรพิจารณาเลือกใช้เฟสบุ๊กเป็นศูนย์แห่งการเรียนรู้ในสถานศึกษา

  1. การพัฒนาด้านภาษาซึ่งครูผู้สอนและผู้เรียนจำเป็นต้องใช้เฟสบุ๊กในการติดต่อสื่อสารและแสดงความเห็นต่างๆเกี่ยวกับวิชาที่เรียนบนเฟสบุ๊ก
  2. การสื่อสารระหว่างบุคคลซึ่งเป็นการสร้างสัมพันธภาพที่ดีระหว่างครูผู้สอนกับครูผู้สอน ระหว่างครูผู้สอนกับนักเรียน และผู้เรียนกับผู้เรียนในการติดต่อสื่อสารและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ร่วมกัน
  3. การทำงานร่วมกันเป็นกลุ่มบนเฟสบุ๊ก
  4. เพิ่มทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

เฟสบุ๊กมีซอฟต์แวร์ประยุกต์ใช้ หรือ แอพพริเคชั่น เพื่อการศึกษามากมายที่ช่วยอำนวยความสะดวกให้แก่ครูผู้สอนในการเตรียมเนื้อหาการสอนและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ใหม่ๆ ตัวอย่างเช่น

  1. ไฟลล์ (Files) สำหรับอัพโหลดแฟ้มข้อมูลให้กับผู้เรียน
  2. เมอะควิซ (Make a Quiz) สำหรับสร้างคำถามออนไลน์เพื่อทดสอบความรู้ของผู้เรียน
  3. คาเลนเดอร์ (Calendar) สำหรับสร้างปฏิทินแจ้งเตือนกำหนดการต่างๆ
  4. คอร์ส (Course) สำหรับจัดการเนื้อหาการเรียนการสอน

การพัฒนาระบบช่วยสอนเสริมแบบปรับเหมาะ : Development of an Adaptive Tutoring System (ATS)

งานวิจัยเป็นการนำเสนอรูปแบบและวิธีการพัฒนาระบบช่วยสอนเสริมแบบปรับเหมาะ เพื่อใช้เป็นกิจกรรมเสริมในกระบวนการเรียนการสอนของวิชาการเขียนโปรแกรมบนระบบปฏิบัติการแบบเท็กซ์โหมด สำหรับนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 2 สาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ โดยระบบจะทำการจัดรูปแบบการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับระดับความรู้ของผู้เรียนแต่ละบุคคล ผู้เรียนสามารถศึกษาบทเรียนได้ด้วยตนเองขึ้นอยู่กับความสามารถของแต่ละบุคคล  หลักการทำงานของระบบใช้แนวคิดของระบบช่วยสอนแบบอัจฉริยะมาประยุกต์ใช้ในการพัฒนา ขั้นตอนการทำงานของระบบเหมือนกับรูปแบบการเรียนแบบปกติทั่วไป และกรณีที่ค่าระดับความสามารถของผู้เรียนต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ระบบจะทำการนำเสนอบทเรียนเสริมพิเศษเพิ่มเติมขึ้น

E – portfolio

E – portfolio เป็นระบบการบันทึกผลการปฏิบัติงานของบุคลากรตาม P{D (Position Description) หรือตามแผนปฏิบัติการ ของรายบุคคลหรือของหน่วยงาน ซึ่งจะช่วยให้ฝ่ายที่มีหน้าที่ดูแล สามารถกำกับติดตามความคืบหน้าของการปฏิบัติงานได้

E – portfolio เป็นวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลและการเก็บรักษาเกี่ยวกับตนเอง ซึ่งอาจจะรวมไปถึงความสนใจอื่นๆ รวมไปถึงประสบการณ์ในชีวิตประจำวัน การทำงานหรืออาจจะเป็นทักษะต่างๆ ของตัวเราเองและที่สำคัญสามารถนำภาพมาใส่เพื่อเผยแพร่ให้ผู้อื่นได้เห็น

การสร้าง E – portfolio ขึ้นมานั้นมีประโยชน์เป็นอย่างมากเพราะสามารถนำข้อมูลที่เป็นประโยชน์มาเผยแพร่ให้บุคคลอื่นได้ทราบและได้รู้

E – portfolio เป็นพื้นทีส่วนตัวที่สามารถออนไลน์ได้ เพื่อสนทนากับบุคคลทั่วไป และสามารถเก็บข้อมูลต่างๆ

กระบวนการของการสร้าง E – portfolio เป็นมากกว่าการเก็บข้อมูล เพราะมันจะช่วยสะท้อนให้เห็นถึงแนวคิดและวิธีคิดของตนเองว่ามีลักษณะอย่างไร มีความเป็นมาอย่างไร และเป็นวิธีที่ดีที่สุดที่จะสามารถนำเสนอให้บุคคลอื่นได้ทราบ

E – portfolio มักจะรวมถึงสิ่งต่อไปนี้

  1. พื้นที่จัดเก็บที่สามารถจัดระเบียบข้อมูลได้
  2. พื้นที่สนทนาที่สามารถเห็นการสื่อสารได้
  3. พื้นที่นำเสนอซึ่งสามารถกรองและจัดเรียงข้อมูลที่จะนำเสนอได้

E – portfolio เป็นระบบดิจิตอลหรือระบบออนไลน์ที่ข้อมูลสามารถเกิดการสูญเสียได้ เมื่อเวลาผ่านไปเป็นเวลานาน แต่เพื่อให้ E – portfolio ไม่เกิดการสูญเสียข้อมูลหรือสูญหายไปจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีข้อมูลใหม่ๆ เกิดขึ้นหรือมีข้อมูลที่เป็นประโยชน์เป็นประจำ ซึ่งสามารถทได้ง่ายเพียงแค่มีเครื่องคอมพิวเตอร์ หรืออินเตอร์เน็ตเท่านั้นเอง

สาเหตุการสร้างผลงานทาง E – portfolio

  1. เพื่อช่วยเตรียมเรซูเม่หรือการฝากเรซูเม่เพื่อให้ผู้อื่นสนใจเข้ามาอ่าน
  2. เพื่อเก็บบันทึกของการเรียนรู้ของผู้ทำในเรื่องต่างๆ เพื่อต้องการจะสื่อสารถึงบุคคลอื่น

E – Tutor

E – Tutor ถือเป็นเทคโนโลยีการเรียนรู้แบบใหม่ ที่สอดคล้องกับความต้องการและวิถีชีวิตของบุคคลากรในธุรกิจหลักทรัพย์ที่ต้องการพัฒนาตนเองสู่ความเป็นมืออาชีพ เนื่องจากผู้เรียนสามารถเลือกเวลาและสถานที่ในการเรียนได้ตามสะดวก โดยยังคงได้เรียนรู้เนื้อหาของหลักสูตรต่างๆอย่างครบถ้วน เช่นเดียวกับหลักสูตรอบรมในห้องเรียน รวมทั้งได้ทดลองทำข้อสอบในสถานการณ์เหมือนจริง พร้อมการแนะแนวทางการเตรียมตัวเพื่อให้เกิดความพร้อมสูงสุดในการเข้ารับการทดสอบ

E – Tutor คือ การเรียน e-Learning รูปแบบพิเศษ ที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนเกิดความพร้อมสูงสุดก่อนการทดสอบใบอนุญาต ซึ่ง e-Tutor จะมีลักษณะสำคัญดังนี้

– การเพิ่มตัวอย่างข้อสอบไว้ในตอนท้ายของบทเรียน

– การจัดแบ่งข้อสอบเป็นหมวดตามวัตถุประสงค์

– การเฉลยพร้อมคำอธิบายอย่างละเอียด และการ Link ไปยังเนื้อหาในบทเรียนที่เกี่ยวข้อง

– การรายงานผลการสอบตามหมวดการทดสอบ พร้อมการเทียบคะแนนสอบที่ได้รับกับเกณฑ์การผ่านมาตรฐาน

ระบบคลังข้อสอบ (item bank)

ธนาคารข้อสอบหรือคลังข้อสอบ คือสถานที่หรือแหล่งเก็บรวบรวมข้อทดสอบที่มีการบริหารจัดเก็บและการใช้อย่างมีระบบและธนาคารข้อสอบด้วยคอมพิวเตอร์ คือสถานที่หรือแหล่งเก็บรวบรวมข้อทดสอบที่มีการบริหารจัดการจัดเก็บและการใช้อย่างมีระบบโดยใช้คอมพิวเตอร์

ระบบคลังข้อสอบ เป็นการรวบรวมข้อสอบที่ได้ออกไปในแต่ละวิชาในแต่ละปี มารวมเข้าไว้ด้วยกันที่จุดเดียว มีการรักษาความปลอดภัยของข้อสอบไม่ให้รั่วไหลไปยังผู้ที่ไม่ประสงค์ดี โดยมีการจัดทำฐานข้อมูลคลังข้อสอบอัตโนมัติ โดยไม่ให้ผู้สอบเห็นข้อสอบทุกรูปแบบ ตลอดตั้งแต่ขั้นตอนการรับข้อมูลดิบจากผู้ออกข้อสอบถึงการเลือสุ่มข้อสอบอัตโนมัติ ระบบคลังข้อสอบที่ดีนั้น ควรมีจำนวนข้อสอบที่ใช้จริงประมาณ 5 เท่า

องค์ประกอบของคลังข้อสอบ

สิ่งที่คลังข้อสอบจัดเก็บและมีไว้เพื่อการบริการการวัดผลการเรียน ประกอบด้วยสิ่งต่างๆ ตั้งแต่ง่ายๆ ไปจนถึงระบบที่ก้าวหน้า ดังต่อไปนี้

  1. ข้อทดสอบทุกรูปแบบ
  2. เฉลยข้อสอบทุกรูปแบบ
  3. ข้อสอบซึ่งจำแนกตามวัตถุประสงค์ของการทดสอบ
  4. ข้อสอบซึ่งวิเคราะห์แล้วมีความเที่ยงตรง มีความเชื่อถือได้ มีอำนาจจำแนก มีค่าวิเคราะห์ข้อสอบเป็นรายข้อ
  5. ข้อสอบซึ่งจำแนกตามคุณลักษณะของข้อสอบแต่ละข้อ
  6. ข้อสอบกลางและข้อสอบมาตรฐานในแต่ละวิชาแต่ละประเภทของการทอสอบ
  7. ข้อทดสอบจำนวนมากในแต่ละเรื่องที่ต้องการทดสอบ
  8. รวบรวมคำถามประเภทคำถามสำหรับปากเปล่า คำเขียนตามคำบอก หัวข้อโครงการและหัวข้อทดลอง
  9. ชุดของข้อสอบประเภท Sample-free test

ประเภทของคลังข้อสอบ

คลังข้อสอบมีการแบ่งประเภทตามความเหมาะสม โดยแบ่งได้ 3 แบบ คือ

1. คลังข้อสอบแบบง่าย เป็นแบบที่รวบรวมที่มีอยู่แล้วไว้ด้วยกัน มีลักษณะเป็น Test Pool หรือเป็น Item Pool การเก็บรวบรวมแบบง่ายๆนี้ อาจจะจัดไว้อย่างเป็นระบบหรือไม่เป็นระบบก็ได้ แต่ให้เป็นที่รู้กันว่าข้อสอบเก่าๆที่เคยมี ที่เคยรวมกันไว้แล้วจะรวมกันอยู่ที่ใดที่หนึ่ง อาจนำมาใช้ซ้ำหรือปรับปรุงสร้างข้อสอบใหม่ได้สะดวก

2. คลังข้อสอบแบบพัฒนาการสร้างคลังข้อสอบแบบพัฒนาขึ้นในโรงเรียนนั้น เป็นการสะท้อนให้เห็นถึงการพัฒนาทางด้านการวัดผลและประเมินผลการศึกษาของโรงเรียนค่อนข้างชัดเจน ยังเป็นที่รวมของข้อทดสอบต่างๆ แต่ได้มีการจัดระบบไว้เป็นอย่างดีสอดคล้องกับหลักวิชาการด้านวัดผลและประเมินผลการศึกษา

3. คลังข้อสอบแบบก้าวหน้า คลังข้อสอบแบบก้าวหน้านี้เริ่มด้วยการวางระบบงาน มีการจัดองค์กร มีสายงานรองรับในลักษณะที่เป็นศูนย์ทดสอบขนาดใหญ่ที่ชัดเจน มีผู้บริหารและผู้รับผิดชอบงานในส่วนต่างๆ ของคลังหรือศูนย์ทดสอบอย่างสมบูรณ์

ประโยชน์ของคลังข้อสอบ

  1. ช่วยและอำนวยความสะดวกแก่ครู ในการเลือกข้อสอบที่เคยใช้แล้วมาใช้ใหม่ หรือนำมาปรับปรุงใช้ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น
  2. สำหรับคลังข้อสอบที่พัฒนาก้าวหน้ายิ่งขึ้น คือการวิเคราะห์ข้อสอบที่มีอยู่แล้ว มีการจำแนกหมวดหมู่ ตามการวัดการเรียนรู้ตามจุดประสงค์ของการเรียนรู้
  3. สำหรับคลังข้อสอบที่เป็นระบบที่ก้าวหน้ามากจะมีข้อสอบในลักษณะที่เรียกว่า Sample-Free Test ซึ่งเป็นแบบทดสอบที่พัฒนาไปจนถึงขั้นที่ระดับความยาก ง่าย
  4. การมีคลังข้อสอบขึ้นในโรงเรียนแสดงถึงความก้าวหน้าทางด้านการวัดผลและการประเมินผลการศึกษาของโรงเรียน
  5. การมีคลังข้อสอบขึ้นในโรงเรียนทำให้มีเครื่องมือสำหรับตรวจสอบระดับมาตรฐานทางวิชาการ
  6. การจัดให้มีคลังข้อสอบในโรงเรียนจึงเป็นบันไดสำคัญที่จะนำไปสู่การปรับปรุงและพัฒนางานการทดสอบการเรียนการสอนให้ดีและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
  7. ช่วยลดการสูญเสียแรงงานซ้ำซ้อนในการจัดทำข้อสอบใหม่ทั้งหมด
  8. อำนวยความสะดวกให้กับครู-อาจารย์ที่จะใช้แบบทดสอบในกรณีฉุกเฉิน
  9. ช่วยกระตุ้นและเปิดโอกาสให้ครู-อาจารย์ได้ใช้ความรู้ความสามารถในการสร้าง ปรับปรุง และพัฒนาข้อสอบหรือแบบทดสอบให้มีคุณภาพดียิ่งขึ้นได้อย่างมากมาย

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ศัพท์ทางทหาร military words แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 พจนานุกรมศัพท์ทหาร ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง ไทยแปลอังกฤษ ประโยค lmyour แปลภาษา การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ประปาไม่ไหล วันนี้ ฝยก. ย่อมาจาก หยน ห่อหมกฮวก แปลว่า เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษาจีน ่้แปลภาษา onet ม3 การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 1 ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง ตตตตลก บบบย ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ เขียน อาหรับ แปลไทย เนื้อเพลง ห่อหมกฮวก แปลไทย asus zenfone 2e กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น การประปานครหลวง ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบภาษาอังกฤษ ม.ปลาย พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ชขภใ ชื่อเต็ม ร.9 คําอ่าน ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน นยน. ย่อมาจาก ทหาร บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ฝสธ. ย่อมาจาก มัดหัวใจเจ้าชายเย็นชา 2 ซับไทย มัดหัวใจเจ้าชายเย็นชา 2 เต็มเรื่อง ยศทหารบก เรียงลําดับ ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 รัชกาลที่ 10 ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คอร์ด