วิวัฒนาการ ดนตรีไทย สมัยอยุธยา ส่ง ผล ต่อ ดนตรีไทยในปัจจุบัน

        สมัยรัชกาลที่ 3 วงปี่พาทย์ได้พัฒนาขึ้นเป็นวงปี่พาทย์เครื่องคู่

 เพราะได้มีการประดิษฐ์ระนาดทุ้ม มาคู่กับระนาดเอก และประดิษฐ์

ฆ้องวงเล็กมาคู่กับ ฆ้องวงใหญ่

        สมัยรัชกาลที่ 4 วงปี่พาทย์ได้พัฒนาขึ้นเป็นวงปี่พาทย์เครื่องใหญ่ 

เพราะได้มีการประดิษฐ์ เครื่องดนตรี เพิ่มขึ้นอีก 2 ชนิด เลียนแบบ 

ระนาดเอก และระนาดทุ้ม โดยใช้โลหะทำลูกระนาด และทำรางระนาด

ให้แตกต่างไปจากรางระนาดเอก และระนาดทุ้ม (ไม้) เรียกว่า 

ระนาดเอกเหล็ก และระนาดทุ้มเหล็ก นำมาบรรเลงเพิ่มใน

วงปี่พาทย์เครื่องคู่ ทำให้ ขนาดของ วงปี่พาทย์ขยายใหญ่ขึ้นจึงเรียกว่า

 วงปี่พาทย์เครื่องใหญ่ 

        อนึ่งในสมัยนี้ วงการดนตรีไทย นิยมการร้องเพลงส่งให้ดนตรีรับ 

หรือที่เรียกว่า "การร้องส่ง" กันมากจนกระทั่งการขับเสภาซึ่่งเคยนิยม

กันมาก่อนค่อย ๆ หายไป 

        การร้องส่งก็เป็นแนวทางให้มีผู้คิดแต่งขยายเพลง 2 ชั้นของเดิม

ให้เป็นเพลง 3 ชั้น และตัดลง เป็นชั้นเดียว เรียกเพลงที่มีลักษณะ

แบบนี้ว่าเพลงเถา  โดยเพลงเถาจะบรรเลงตั้งแต่อัตราจังหวะ 3 ชั้น 2 ชั้น

และชั้นเดียว ตามลำดับ เช่น เพลงแขกบรเทศ เถา, เพลงกล่อมนารี เถา ฯลฯ

นับว่าเพลงเถาเกิดขึ้นมากมายในสมัยนี้ นอกจากนี้ 

วงเครื่องสาย 

ก็เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลนี้เช่นกัน

        สมัยรัชกาลที่ 5 ได้มีการปรับปรุงวงปี่พาทย์ขึ้นใหม่ชนิดหนึ่ง

 ซึ่งต่อมาเรียกว่า "วงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์" โดยสมเด็จกรมพระยา

นริศรานุวัดติวงศ์ สำหรับใช้บรรเลงประกอบการแสดง "ละครดึกดำบรรพ์"

 ซึ่งเป็น ละครที่เพิ่งปรับปรุงขึ้นในสมัยรัชกาลนี้เช่นกัน หลักการปรับปรุง

ของท่านก็โดยการตัดเครื่องดนตรีชนิดเสียงเล็กแหลมหรือดังเกินไปออก

 คงไว้แต่เครื่องดนตรีที่มีเสียงทุ้ม นุ่มนวล กับเพิ่มเครื่องดนตรีบางอย่าง

เข้ามาใหม่ เครื่องดนตรี ในวงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์ จึงประกอบด้วย

ระนาดเอก ฆ้องวงใหญ่ ระนาดทุ้ม ระนาดทุ้มเหล็ก ขลุ่ย ซออู้ 

ฆ้องหุ่ย (ฆ้อง 7 ใบ) ตะโพน กลองตะโพน และเครื่องกำกับจังหวะ

        สมัยรัชกาลที่ 6 ได้การปรับปรุงวงปี่พาทย์ขึ้นมาอีกชนิดหนึ่ง 

โดยนำวงดนตรีของมอญมาผสมกับ วงปี่พาทย์ของไทย ต่อมาเรียก

วงดนตรีผสมนี้ว่า "วงปี่พาทย์มอญ" โดยหลวงประดิษฐไพเราะ 

(ศร ศิลปบรรเลง) เป็นผู้ปรับปรุงขึ้น วงปี่พาทย์มอญดังกล่าวนี้ ก็มีทั้ง

วงปี่พาทย์มอญเครื่องห้า เครื่องคู่ และเครื่องใหญ่ เช่นเดียวกับ

วงปี่พาทย์ของไทย และกลายเป็นที่นิยมใช้บรรเลงประโคมในงานศพ

 มาจนกระทั่งบัดนี้ นอกจากนี้ยังได้มีการนำเครื่องดนตรีของต่างชาติ

 เข้ามาบรรเลงผสมกับ วงดนตรีไทย บางชนิดก็นำมาดัดแปลงเป็น

เครื่องดนตรีของไทย ทำให้รูปแบบของ วงดนตรีไทย เปลี่ยนแปลง

พัฒนา ดังนี้ คือ การนำเครื่องดนตรีของชวา หรืออินโดนีเซีย คือ

 "อังกะลุง" มาเผยแพร่ในเมืองไทยเป็นครั้งแรก โดยหลวง

ประดิษฐไพเราะ(ศร ศิลปบรรเลง) ทั้งนี้โดยนำมาดัดแปลง ปรับปรุง

ขึ้นใหม่ให้มีเสียงครบ 7 เสียง (เดิมมี 5 เสียง) ปรับปรุงวิธีการเล่น 

โดยถือเขย่าคนละ 2 เสียง ทำให้เครื่องดนตรีชนิดนี้ กลายเป็น

เครื่องดนตรีไทยอีกอย่างหนึ่ง เพราะคนไทยสามารถทำอังกะลุงได้เอง

อีกทั้งวิธีการบรรเลงก็เป็นแบบเฉพาะของเราแตกต่างไปจากของชวา

โดยสิ้นเชิง การนำเครื่องดนตรีของต่างชาติเข้ามาบรรเลงผสมใน

วงเครื่องสายได้แก่ ขิมของจีน และออร์แกนของฝรั่ง ทำให้วง

เครื่องสายพัฒนารูปแบบของวงไปอีกลักษณะหนึ่ง คือ 

"วงเครื่องสาย ผสม"

        นอกจากนี้เป็นสมัยที่การละครและดนตรีเจริญรุ่งเรืองมาก

 ถือได้ว่าเป็นยุคทองของดนตรีไทยตามวังเจ้านายและคหบดี

ต่างมีวงปี่พาทย์และครูที่มีภูมิรู้ประจำวง

          เกิดการพัฒนาด้านวิชาการดนตรี ทั้งแนวคิด หลักการ วิธีการ

 ตลอดจนเทคนิคการประพันธ์ มีการวางระบบการบรรเลงหลากหลายวิธี

ทั้งแบบพื้นฐาน การบรรเลงชั้นสูง และการบรรเลงเดี่ยว

          เกิดกลุ่มนักดนตรีในราชสำนัก กลุ่มนักดนตรีอาชีพ และกลุ่ม

นักดนตรีสมัครเล่น พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรง

ทำนุบำรุงบรรดาครูดนตรีฝีมือดีให้กินอยู่ดีมีสุข พร้อมทั้ง

พระราชทานนามสกุล บรรดาศักดิ์ให้ด้วย

วงอังกะลุง

        สมัยรัชกาลที่ 7 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงสน

พระทัยทางด้าน ดนตรีไทย มากเช่นกัน 

         พระองค์ได้พระราชนิพนธ์ เพลงไทยที่ไพเราะไว้ถึง 3 เพลง คือ 

เพลงโหมโรงคลื่นกระทบฝั่ง 3 ชั้น เพลงเขมรละออองค์ (เถา) 

และเพลงราตรีประดับดาว (เถา) พระองค์และพระราชินีได้โปรดให้ครู

ดนตรีเข้าไปถวายการสอนดนตรีในวัง แต่เป็นที่น่าเสียดาย ที่ระยะเวลา

แห่งการครองราชย์ของพระองค์ไม่นาน เนื่องมาจากมีการเปลี่ยนแปลง

การปกครอง และพระองค์ทรงสละราชบัลลังก์ หลังจากนั้นได้ 2 ปี

 มิฉะนั้นแล้ว ดนตรีไทย ก็คงจะเจริญรุ่งเรืองมาก ในสมัยแห่งพระองค์

 อย่างไรก็ตามดนตรีไทยในสมัยรัชกาลนี้ นับว่าได้พัฒนารูปแบบ 

และลักษณะ มาจนกระทั่ง สมบูรณ์ เป็นแบบแผนดังเช่นในปัจจุบันนี้แล้ว

จะเห็นได้ว่า ในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชมีผู้นิยมดนตรีไทยกันมาก

 และมีผู้มีฝีมือ ทางดนตรี ตลอดจน มีความคิดปรับปรุงเปลี่ยนแปลง

 ให้พัฒนาก้าวหน้ามาตามลำดับ พระมหากษัตริย์ เจ้านาย ตลอดจน

ขุนนางผู้ใหญ่ ได้ให้ความอุปถัมภ์ และทำนุบำรุงดนตรีไทย ในวังต่าง ๆ

 มักจะมีวงดนตรีประจำวัง เช่น วงวังบูรพา วงวังบางขุนพรหม 

วงวังบางคอแหลม และวงวังปลายเนิน เป็นต้น แต่ละวงต่างก็ขวนขวาย

หาครูดนตรี และนักดนตรีที่มีฝีมือเข้ามาประจำวง มีการฝึกซ้อมกัน

อยู่เนืองนิจ บางครั้งก็มีการประกวดประชันกัน จึงทำให้ดนตรีไทย

เจริญเฟื่องฟูมาก

     ต่อมาภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2475 เป็นต้นมา

 ดนตรีไทยเริ่มซบเซาลง อาจกล่าวได้ว่า เป็นสมัยหัวเลี้ยวหัวต่อที่

ดนตรีไทยเกือบจะถึงจุดจบ เนื่องจากรัฐบาลในสมัยหนึ่งมีนโยบาย

ทีเรียกว่า "รัฐนิยม" ซึ่งนโยบายนี้มีผลกระทบต่อดนตรีไทยด้วย 

กล่าวคือมีการห้ามบรรเลงดนตรีไทย เพราะเห็นว่าไม่สอดคล้องกับ

การพัฒนาประเทศ ให้ทัดเทียมกับอารยประเทศ ใครจะจัดให้มี

การบรรเลงดนตรีไทยต้องขออนุญาตจากทางราชการก่อน อีกทั้ง

 นักดนตรีไทยก็จะต้องมีบัตรนักดนตรีที่ทางราชการออกให้ จนกระทั่ง

ต่อมาอีกหลายปี เมื่อได้มี การสั่งยกเลิก "รัฐนิยม" ดังกล่าวเสีย

แต่ถึงกระนั้นก็ตาม ดนตรีไทยก็ไม่รุ่งเรืองเท่าแต่ก่อน ยังล้มลุกคลุกคลาน 

มาจนกระทั่งบัดนี้ เนื่องจากวิถีชีวิต และสังคมไทยเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม

วัฒนธรรมทางดนตรีของต่างชาติได้เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของ

คนไทยเป็นอันมาก ดนตรีที่เราได้ยินได้ฟัง และได้เห็นกันทางวิทยุ

 โทรทัศน์ หรือที่บรรเลงตามงานต่างๆ โดยมากก็เป็นดนตรีของต่างชาติ 

หาใช่ "เสียงพาทย์ เสียงพิณ" ดังแต่ก่อนไม่ ถึงแม้ว่าจะเป็นที่น่ายินดี

ที่เราได้มีโอกาสฟังดนตรีนานาชาตินานาชนิด แต่ถ้าดนตรีไทยถูกทอดทิ้ง

 และไม่มีใครรู้จักคุณค่าก็นับว่าเสียดายที่จะต้องสูญเสียสิ่งที่ดีงาม 

ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของชาติอย่างหนึ่งไป ดังนั้นจึงควรที่คนไทยทุกคน

จะได้ตระหนักถึงคุณค่าของดนตรีไทย และช่วยกันทะนุบำรุงส่งเสริม

และรักษาไว้ เพื่อเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของชาติสืบต่อไป

สมัยรัชกาลที่ 8
       การดนตรีไทยในสมัยนี้เป็นสมัยหลังการเปลี่ยนแปลง

การปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นการ

ปกครองในระบอบประชาธิปไตย สมัยนี้“เป็นระยะที่ดนตรีไทย

เข้าสู่สภาวะมืดมนเพราะรัฐบาลไม่ส่งเสริมดนตรีไทย และยัง

พยายามให้คนไทยหันไปเล่นดนตรีสากลแบบตะวันตก” 

ต่อมาก็เกิดรัฐนิยมขึ้น “ การที่มีรัฐนิยมเกิดขึ้น กล่าวคือ ห้าม

การบรรเลงดนตรีไทย ด้วยเห็นว่าดนตรีไทยไม่เหมาะสมกับ

ชาติที่กำลังพัฒนา ให้ทัดเทียมกับอารยประเทศ จึงมีการห้าม

โดยเคร่งครัด แต่ยังอนุญาตให้บรรเลงในงานพิธีหรือในบาง

ประเพณี แต่จะต้องไปขออนุญาตที่กรมศิลปากรหรืออำเภอ

ก่อนและต้องมีบัตรนักดนตรี ที่ทางราชการออกให้ จึงทำให้

นักดนตรีหัวใจห่อใจเหี่ยวไปตาม ๆ กัน บางคนถึงกับขาย

 เครื่องดนตรีอันวิจิตรงดงาม เพราะถึงเก็บไว้ก็เปล่าประโยชน์ 

เครื่องดนตรีอันงดงามวิจิตร หลายชิ้นที่ถูกขายไปในรูปแบบ

ของเก่า หรือขายต่อให้ต่างประเทศไปอย่างน่าเสียดาย แต่ก็

ยังมีนักดนตรีอีกไม่น้อยที่ไม่ยอมทิ้งดนตรีไทย เช่น 

หลวงประดิษฐ์ ไพเราะ ( ศร ศิลปบรรเลง) ยังคงแต่งเพลงต่อ

ไปอย่างไม่ย่อท้อ เพลงเอกของท่านที่เกิดขึ้นในสมัยรัชกาล

ที่ ๘ เช่น แสนคำนึงเถา กราวรำเถา แขกเงาะ และแขกชุมพล

 เป็นต้น และอาจารย์ มนตรี ตราโมท ก็หันมาประดิษฐ์เพลง

ระบำมากขึ้น ซึ่งเพลงไทยในระยะนี้ มีผู้นำทำนองเพลงไทย

มาใส่เนื้อร้องเต็มตามทำนองบ้าง แต่งขึ้นเองบ้าง เพื่อ

ประกอบละครพูด ละครประวัติศาสตร์ และภาพยนตร์ ผู้แต่ง

มีหลายท่าน เช่น พรานบูรณ์ หลวงวิจิตรวาทการ ล้วน 

ควันธรรม ฯลฯ สำหรับหลวงวิจิตรวาทการร่วมกับอาจารย์

มนตรี ตราโมทแต่งเพลงประกอบบทละครประวัติศาสตร์

หลายเพลง เช่น เพลงเพื่อนไทย ใต้ร่มธงไทย 

ในน้ำมีปลาในนามีข้าว ฯลฯ เพลงเหล่านี้ มีลักษณะเป็นแบบ

ตามใจผู้แต่ง จะเป็นเพลงไทยก็ไม่ใช่ เพลงฝรั่ง  ก็ไม่ใช่ 

การแต่งเพลงของหลวงวิจิตรวาทการแต่งโดยใช้จินตนาการ

ของตนเองบ้าง บางเพลงก็นำทำนองของฝรั่งมาใส่เนื้อ

ไทยบ้าง เช่น ภาพเธอ นักแต่งเพลงอื่น เช่น พรานบูรณ์ 

มีจุดมุ่งหมาย   ของการแต่งเพลงเพื่อนำไปประกอบภาพยนต์

 ละคร เพลงที่แต่งจึงพยายามให้เหมาะกับเนื้อเรื่องเป็นสำคัญ

 เช่น เพลงดูซิดูโน่นซิ เพลงร้อนแดด ฯลฯ อาจกล่าวได้ว่า

 เพลงในระยะนี้เป็นเพลง   ที่ยังไม่เป็นไปตามกฎเกณฑ์

ทฤษฎีตะวันตกอย่างแท้จริง ถึงอย่างไรก็ตาม ดนตรีไทย

สมัยนี้ก็มิได้ซบเซาถึงขนาดจะขาดตอน เหมือนเมื่อครั้ง   

เราเสียกรุงศรีอยุธยา แม้จะซบเซาลงบ้างและเกิดเพลง

ไทยสากลขึ้น เพลงไทยสากลที่เกิดขึ้นใหม่นี้ ก็ยังเอาเค้า

ของเดิมหรือเอาเพลงไทยของเดิมมาร้องเล่น เพียงแต่เปลี่ยน

จังหวะให้กระชับขึ้นเป็นแบบฝรั่ง ของไทยแท้จึงไม่ถึงกับ

สูญและโชคดีที่ยุดนี้สั้นมาก มีการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลกัน

บ่อยในที่สุด ดนตรีไทยแท้ก็กลับคืนมาอีกครั้ง

รัชกาลที่ 9 (พ.ศ. 2489 – ปัจจุบัน)

– มีการนำทำนองเพลงพื้นเมืองหรือเพลงไทยเดิมสองชั้น ชั้นเดียว มาใส่เนื้อร้อง

ใหม่แบบเนื้อเต็มตามทำนอง เกิดเป็นเพลงลูกทุ่ง เพลงลูกกรุง

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงให้วงดนตรีไทยที่มีชื่อเสียง

มาบรรเลงบันทึกเสียงออกอากาศผ่านทางสถานีวิทยุ อ.ส. พระราชวังดุสิต

เป็นประจำ เช่น คณะศรทองของหลวงประดิษฐ์ไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) 

คณะพาทยโกศล วงของคุณหญิงชิ้น ศิลปบรรเลง และวงของนายมนตรี ตราโมท

 เป็นต้น บางครั้งพระองค์ทรงบันทึกเสียงกับวงดนตรีไทยด้วย เช่น วงของ

ข้าราชบริพาร และวงเครื่องสายผสมของคณะแพทย์สมาคม (แพทย์อาวุโส) เป็นต้น

       - พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้กรมศิลปากรจัดพิมพ์

สมุดโน๊ตเพลงไทยออกเผยแพร่เป็นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2505

– พ.ศ. 2512 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้คณะวิศวกรรมศาสตร์

 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วัดความถี่ของเสียงดนตรีไทยเพื่อให้เป็นมาตรฐาน

การสอนดนตรีไทยได้รับการส่งเสริมเข้าสู่โรงเรียนและสถาบันการศึกษา

ทั่วประเทศ ทั้งในระดับประถมฯ มัธยมฯ จนถึงอุดมศึกษา มีการก่อตั้งชุมนุม

ดนตรีไทยในสถาบันการศึกษาต่างๆ และมีการจัดประกวดวงดนตรีไทยใน

ระดับต่างๆโดยภาครัฐและเอกชน

– พ.ศ. 2528 สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ เริ่มต้นการประกาศ

ยกย่องศิลปินแห่งชาติเป็นปีแรก โดยนายมนตรี ตราโมท ได้รับการยกย่องเป็น

ศิลปินแห่งชาติสาขาศิลปะการแสดงดนตรีไทย

ศิลปินรุ่นใหม่พัฒนาดนตรีไทยในแนวทางร่วมสมัย เช่น การประสมวงที่มี

เครื่องดนตรีไทยกับเครื่องดนตรีตะวันตก การใช้เทคโนโลยีการบันทึกเสียง

สร้างมิติเสียงใหม่ๆในดนตรีไทย

ดนตรีไทยได้รับการเผยแพร่ผ่านทางสื่อรูปแบบใหม่ ทั้งแถบบันทึกเสียง 

และซีดี รายการวิทยุ รายการโทรทัศน์ และเว็บไซต์

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเป็นองค์อุปถัมภ์

ศิลปวัฒนธรรมดนตรีที่สำคัญยิ่ง พระองค์ทรงพระปรีชาสามารถในทางการ

บรรเลงดนตรีไทยและขับร้องตลอดจนพระราชนิพนธ์เนื้อร้องสำหรับนำไป

บรรจุเพลงต่างๆ ผลงานเพลงพระราชนิพนธ์ที่มีชื่อเสียง เช่น เพลงไทยดำเนินดอย

 เพลงเต่าเห่ เพลงชื่นชุมนุมกลุ่มดนตรีไทย เป็นต้น เสด็จไปร่วมงานมหกรรม

ดนตรีไทยต่างๆ งานแสดงดนตรีไทยครั้งสำคัญๆ งานพิธีไหว้ครูดนตรีไทย 

และงานพระราชทานรางวัลศิลปินแห่งชาติ ให้แก่ศิลปินดนตรีไทยและศิลปินด้านอื่นๆ

ที่มา : //sites.google.com/site/hymusic2011/wicha-dntri-m-4-raywicha-phun-than-dntri/bth-reiyn-thi-2-khwam-ru-phun-than-dan-dntri-thiy/dntri-thiy-ni-taela-yukh-smay

กิจกรรมพัฒนาความรู้

1.เมื่อนักเรียนศึกษาความรู้เกี่ยวกับประวัติดนตรีไทยแล้ว ให้จับกลุ่ม 

กลุ่มละ 5 คน สรุปเนื้อหาดังนี้

กลุ่มที่ 1-3 เรื่องประวัติดนตรีไทยสมัยสุโขทัย-ธนบุรี

กลุ่มที่ 4-6 เรื่องประวัติดนตรีไทยสมัยรัชกาลที่1-5

           กลุ่มที่ 7-10 เรื่องประวัติดนตรีไทยสมัยรัชกาลที่ 6-9

ทำลงในกระดาษ 100 ปอน เขียนด้วยลายมือ วาดรูปประกอบที่เกี่ยวข้อง

กับเนื้อหา ออกแบบและลงสีได้อิสระตามแนวคิดของนักเรียน นำเสนอ

     รายงานหน้าชั้นเรียน

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ศัพท์ทางทหาร military words แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 พจนานุกรมศัพท์ทหาร ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง ไทยแปลอังกฤษ ประโยค lmyour แปลภาษา การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ประปาไม่ไหล วันนี้ ฝยก. ย่อมาจาก หยน ห่อหมกฮวก แปลว่า เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษาจีน ่้แปลภาษา onet ม3 การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 1 ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง ตตตตลก บบบย ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ เขียน อาหรับ แปลไทย เนื้อเพลง ห่อหมกฮวก แปลไทย asus zenfone 2e กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น การประปานครหลวง ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบภาษาอังกฤษ ม.ปลาย พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ชขภใ ชื่อเต็ม ร.9 คําอ่าน ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน นยน. ย่อมาจาก ทหาร บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ฝสธ. ย่อมาจาก มัดหัวใจเจ้าชายเย็นชา 2 ซับไทย มัดหัวใจเจ้าชายเย็นชา 2 เต็มเรื่อง ยศทหารบก เรียงลําดับ ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 รัชกาลที่ 10 ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คอร์ด