ข้อสอบองค์ประกอบศิลป์สําหรับงานคอมพิวเตอร์ พร้อมเฉลย

ค่าน้ำหนักความเข้มของสีเดียวที่ไล่ระดับอ่อนแก่ในตัวเองช่วยในงานทัศนศิลป์มีการแปรเปลี่ยนเกิดมิติและความกลมกลืนหมายถึงสีประเภทใด

          1. สีกลมกลืน

2. สีโทนร้อน  สีโทนเย็น

3.  ค่าของสี

4. สีเอกรงค์

5. แม่สี

19 ข้อใด ไม่ใช่ ลักษณะของการไล่ค่าน้ำหนักของสีเดียว

          1. การผสมสีขาวไล่ค่าน้ำหนัก

2. การผสมสีดำไล่ค่าน้ำหนัก

3. การผสมสีใดสีหนึ่งที่ไม่ใช่สีตรงข้ามในวงจรสีไล่ค่าน้ำหนัก

4. การไล่ค่าระดับความเข้มสีในวงจรสี

5. การลดค่าของสีสีเดียว

20. สีที่เป็นคู่ตรงข้ามกันในวงจรสีให้ความรู้สึกทางสายตาเมื่ออยู่ใกล้กันในปริมาณที่เท่ากันหมายถึงข้อใด

          1. สีตัดกัน

2. สีโทนเย็น

3.  สีส่วนรวม

4. สีเอกรงค์

5. สีโทนร้อน

21. คู่สีในข้อใดเป็นสีตัดกัน

          1. ม่วงน้ำเงิน กับ แดง

2. ส้ม กับ เหลือง

3. แดง กับ ส้มแดง

4. เหลือง กับ ม่วง

5. เขียว น้ำเงิน

22. สี 5 สี ที่มีค่าความเข้มใกล้เคียงกันอยู่ในวรรณะเดียวกันของวงจรสี หมายถึงข้อใด

          1. สีเอกรงค์                        

2. สีส่วนรวม

3.  สีตัดกัน                         

4. ค่าของสี

5. สีโทนร้อน

23. กลุ่มสีในข้อใดจัดเป็นสีเอกรงค์

          1. เขียวเหลือง  เขียว  เขียวน้ำเงิน  น้ำเงิน  ม่วงน้ำเงิน

2. ส้มเหลือง  เหลือง  เขียวเหลือง  เขียว  เขียวน้ำเงิน

3.  น้ำเงิน  ม่วงน้ำเงิน  ม่วง  ม่วงแดง  แดง

4. เขียว  เขียวเหลือง  เหลือง  ส้มเหลือง  ส้ม

5. น้ำเงิน  ม่วงน้ำเงิน  ส้ม  ม่วงแดง  แดง

24. ข้อใดไม่ใช่ความหมายของบริเวณว่าง (SPACE)

          1. บริเวณว่างระหว่างรูปร่าง  รูปทรง  พื้นผิว  สี

2. ปริมาตรของอากาศที่ห้อมล้อมรูปทรงหรือวัตถุ

3.  ไม่มีมิติ  ไม่มีความกว้าง  ความยาว

4. ปริมาตรของอากาศที่ห้อมล้อมด้วยขอบเขต

5. มีลักษณะเป็นสามมิติ  มีความกว้าง  ความลึก  ความสูง

25. ข้อใดเป็นความสำคัญของบริเวณว่างในผลงานทัศนศิลป์

          1. กำหนดขอบเขตของรูปและพื้น

2. ทำให้ผลงานละเอียด ปราณีตขึ้น

3.  ให้ความรู้สึกตื้นลึกในภาพ

4. สร้างความสัมพันธ์ระหว่างรูปกับพื้น

5. ทำให้ผลงานมีความหลากหลายของวัตถุ

26. สีขั้นที่ 1 คือข้อใด

          1. สีเอกรงค์

2. สีวรรณะร้อน

3.  สีกลมกลืน

4. พหุรงค์

5. แม่สี

27. สีขั้นที่ 1 ได้แก่สีใดบ้าง

          1. ม่วง  แสด  แดง 

2. เขียว  ส้ม  ชมพู

3.  ม่วง  คราม  น้ำเงิน

4. น้ำเงิน  เหลือง  แดง

5. ขาว  ม่วง  เขียว

28. สีข้อใดหมายถึงสีขั้นที่ 2

          1. สีที่เกิดจากการผสมของแม่สีทีละคู่

2. คู่สี 2 สี ที่มีความเข้มเท่าเทียมกันในวงจรสี

3.  สีที่มีความเข้มอยู่ในลำดับที่ 2  จากการไล่ค่าระดับความเข้มของสี

4. สีที่มีความอ่อนอยู่ในลำดับที่ 2  จากการไล่ค่าระดับความเข้มของสี

5. สีที่มีความหนาแน่นของเนื้อสีในลำดับที่ 2

29. สีขั้นที่ 2 ได้แก่สีใดบ้าง

          1. ม่วง  ส้ม  เขียว 

2. คราม  น้ำตาล  เขียวแก่

3. น้ำเงิน  ส้ม  ม่วง

4. แดง  ม่วง  เขียว

5. ดำ  ส้ม  เหลือง
30. ข้อใดหมายถึงสีขั้นที่ 3

          1. สีที่เกิดจากการผสมของสีขั้นที่ 1 และสีขั้นที่ 2 

2. สีที่เกิดจากการผสมของแม่สีและสีกลาง

3.  สีที่มีความเข้มอยู่ในลำดับที่ 3 จากการไล่ค่าระดับความเข้มของสี

4. สีที่มีความอ่อนอยู่ในลำดับที่ 3 จากการไล่ค่าระดับความเข้มของสี

5. สีที่เกิดจากสีกลางผสมกับสีขาวหรือสีดำเพื่อไล่ระดับความเข้ม

31. ข้อใดไม่ใช่สีขั้นที่ 3

          1. ม่วงแดง 

2. ส้มแดง

3. ชมพูแดง

4. เขียวเหลือง

5. เหลืองส้ม

32. วงจรสีมีทั้งหมดกี่สี

          1. 6  สี 

2. 9  สี

3. 12  สี

4. 15  สี

5. 18  สี

33. ในวงจรสี สีที่อยู่ตรงข้ามกับแดงคือสีใด

          1. ส้ม 

2. ม่วง

3. เขียว

4. เหลือง

5. น้ำเงิน
34. ในวงจรสี สีที่อยู่ติดกับม่วงแดง คือสีใด

          1. ม่วง และ น้ำเงิน 

2. น้ำเงิน และ แดง

3. ม่วง และ แดง

4. น้ำเงิน และ ม่วง

5. ม่วง และ ส้ม

35. ข้อใดเป็นสีวรรณะเย็นทั้งหมด

          1. แดง  น้ำเงิน 

2. ม่วง  ส้ม

3. ม่วงน้ำเงิน  เขียว

4. ส้ม  เขียวน้ำเงิน

5. ส้มแดง  แดง

36. ข้อใดเป็นสีวรรณะร้อนทั้งหมด

          1. แดง  ม่วง 

2. เหลือง  น้ำเงิน

3. ม่วงแดง  น้ำเงิน

4. เขียวน้ำเงิน  ม่วง

5. ส้มแดง  เขียวน้ำเงิน

37. ภาพวาดที่ใช้ที่วรรณะเย็นให้ความรู้สึกอย่างไร

          1. สงบเย็น   

2. เร่าร้อน

3. ตื่นเต้น

4. เร้าใจ

5. สนุกสนาน

38. ข้อใดคือความหมายของเอกภาพ

          1. การประสานกัน 

2. การจัดระเบียบของส่วนต่างๆ

3. ความเป็นน้ำหนึ่งอันเดียวกัน

4. ความกลมกลืนกัน

5. การรวมกันของส่วนประกอบย่อยมีความประสานกลมกลืนเป็นหนึ่งเดียว
39. ข้อใดไม่ใช่ส่วนประกอบที่ทำให้เกิดเอกภาพ

          1. การขัดแย้ง 

2. รูปแบบ

3. สัดส่วน

4. สมดุล

5. การประสาน
40. ข้อใดไม่ใช่ความขัดแย้งในธรรมชาติ

          1. ผู้หญิง  กับ  ผู้ชาย 

2. สีขาว  กับ  สีดำ

3. ดอกไม้สีแดง  กับ  ใบไม้สีเขียว

4. ก้อนหิน  กับ  น้ำ

5. กลางวัน  กับ  กลางคืน

41. ข้อใดเป็นความขัดแย้งในงานศิลปะที่แตกต่างจากกลุ่ม

          1. การขัดแย้งด้วยเส้น 

2. การขัดแย้งด้วยสี

3. การขัดแย้งด้วยรูปร่าง

4. การขัดแย้งด้วยรูปทรง 

5. การขัดแย้งด้วยเรื่องราว

42. ความกลมกลืนหมายถึง ข้อใด

          1. การรวมกัน

          2. การรวมกันของหน่วยย่อยๆ

          3. การประสานกัน

          4. การปรองดอง

          5. การรวมกันของหน่วยย่อย ประสานกันได้อย่างสนิท

43. ข้อใดเป็นลักษณะของความกลมกลืนที่แตกต่าง

          1. ความกลมกลืนด้วยเส้น

          2. ความกลมกลืนด้วยรูปร่าง

          3. ความกลมกลืนด้วยขนาด

          4. ความกลมกลืนด้วยสี

          5. ความกลมกลืนที่มีลักษณะเหมือนกัน


44. ข้อใดกล่าวถูกต้อง

          1. ดุลยภาพแบ่งได้เป็น 3 ประเภท

          2. ดุลยภาพแบบสมมาตรเป็นดุลยภาพที่มีวัตถุอยู่ด้านข้างและด้านขวาเส้นแกนสมมุติเหมือนกัน

          3. ดุลยภาพแบบอสมมาตร เป็นดุลยภาพที่มีวัตถุอยู่ด้านซ้ายและด้านขวาเส้นแกนสมมุติเหมือนกัน

          4. ดุลยภาพแบบตาชั่งจีน คือวัตถุขนาดใหญ่จะอยู่ห่างจากเส้นแกนสมมุติ วัตถุขนาดเล็กจะอยู่ติดกับ เส้นแกนสมมุติ

          5. เส้นแกนสมมุติ มี 3 ลักษณะ คือ เส้นแกนแนวตั้ง เส้น เส้นแกนแนวราบ และเส้นแกนแนวเฉียง
45. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับดุลยภาพของสี

          1. สีเขียวกับสีแดงขนาดเท่ากันบนพื้นสีขาว

          2. สีแดงมีขนาดใหญ่กว่าสีเทาบนพื้นสีขาว

          3. สีส้มมีขนาดใหญ่กว่าสีน้ำเงินบนพื้นสีแดง

          4. สีเหลืองมีขนาดใหญ่กว่าสีม่วงบนพื้นสีส้ม

          5. สีแดงมีขนาดใหญ่กว่าสีเขียวบนพื้นสีขาว

46. ข้อใดไม่เหมาะสมสำหรับการจัดวางจุดเด่น

          1. ด้านซ้าย

          2. ด้านขวา

          3. ตรงกลางภาพ

          4. ด้านบน

          5. ด้านล่าง

47. การวางจุดเด่นในทางลึกไม่นิยมวางในตำแหน่งใด

          1. ระยะหน้า

          2. ระยะกลาง

          3. ระยะหลัง

          4. ระหว่างระยะหน้ากับระยะกลาง

          5. ระหว่างระยะกลางกับระยะหลัง

48.  การซ้ำในข้อใดที่ให้ความรู้สึกจืดชืดธรรมดา

          1.  การซ้ำที่เหมือนกัน                       

          2.  การซ้ำที่เปลี่ยนแปลงไปบ้าง

          3.  การซ้ำที่ปะปนกัน                       

          4.  การซ้ำที่จัดจังหวะให้น่าสนใจ

          5.  การซ้ำที่ขัดแย้งกัน

49.  ข้อใดเป็นจังหวะที่แตกต่าง

          1.  การซัดของคลื่น                          

          2.  เสียงสูง เสียงต่ำของดนตรี

          3.  การเดินของมนุษย์                       

          4.  การเล่นฟุตบอล

          5.  การกระโดดเชือก

50.  สัดส่วนทองหรือโกลเดนเซคชั่น ซึ่งมีที่มาจากรูปด้านหน้าของวิหารพาร์เธนนอนที่มีขนาดสัดส่วนอย่างไร

          1.  กว้าง 3 ส่วน ยาว 4 ส่วน               

          2.  กว้าง 3 ส่วน ยาว 6 ส่วน

          3.  กว้าง 2 ส่วน ยาว 4 ส่วน                4.  กว้าง 2 ส่วน ยาว 2 ส่วน

          5.  กว้าง 3 ส่วน ยาว 5 ส่วน



**************************************************












>> บทความสอน Adobe Illustrator
 1. ประวัติความเป็นมาของ illustrator
2. แนะนำเครื่องมือของโปรแกรม Adobe Illustrator
3. การใช้งาน Vertical Type Tool
4. การทำธงพริ้วไหว
5. การทำเส้นผม จากโปรแกรม Illustrator 10
6. การทำให้รูปภาพเข้าไปอยู่ในตัวอักษร
7. การทำอักษร 3 มิติ
8. การปรับแต่งรอยมาร์คเพื่อการตัด(ต่อจากเรื่องนามบัตร)
9. การพิมพ์ตัวอักษรวิ่งรอบวงกลม
10. การลอกลาย
11. การสร้างนามบัตรอย่างง่าย
12. การสร้างรูปออกมาให้เป็นรูปวงกลมโดย Illustrator
13. การสร้างโลโก้ Central
14. การสร้างโลโก้โดยใช้เส้น Path(ตอนที่ 1)
15. การสร้างโลโก้โดยใช้เส้น Path(ตอนที่ 2)
16. การสร้างสี Gradient และจัดเก็บลงใน Swatches
17. การใส่ขอบสีให้กับตัวอักษร
18. การใส่ขอบให้กับตัวอักษรแบบ Multi Stroke
19. เทคนิคการหมุนภาพแบบสั่งองศาได้
20. เทคนิคในการสร้าง wallpaper รูปดาว โดยใช้ illustrator
21. มาลองวาดหน้าตัวการ์ตูนด้วย illustrator กันเถอะ
22. เรื่องของไฟล์ EPS และ TIF
23. สร้าง Stamp แบบง่ายๆโดยใช้ Illustrator
24. สร้างกลีบดอกไม้ให้ซ้อนกันโดย Illustrator
25. สร้างกิ่งก้านดอกไม้ด้วย Illustrator
26. สร้างข้อความแบบ wave โดย Illustrator
27. สร้างข้อความให้พลิ้วไว้กับริบบิ้น
28. สร้างดิสโก้บอลบน Illustrator
29. สร้างพลุแอนนิเมชั่น โดยเริ่มจาก Illustrator
30. สร้างพื้นหลังสวยๆสไตล์นักธุรกิจ โดย Illustartor
31. สร้างแสงกระจายใน Illustrator
32. สร้างไอคอน RSS แบบสามมิติ โดยใช้ Illusrtrator
33. สร้างอักษร 3 มิติ ด้วย Illustrator
34. สร้างไอคอนโฟล์เดอร์ โดยใช้ Illustrator
35. Adobe Illustrator CS2 กับ PDF
36. แป้นลัดของโปรแกรม Adobe Illustrator 10


>> บทความสอน Adobe Illustrator
 1. ประวัติความเป็นมาของ illustrator
2. แนะนำเครื่องมือของโปรแกรม Adobe Illustrator
3. การใช้งาน Vertical Type Tool
4. การทำธงพริ้วไหว
5. การทำเส้นผม จากโปรแกรม Illustrator 10
6. การทำให้รูปภาพเข้าไปอยู่ในตัวอักษร
7. การทำอักษร 3 มิติ
8. การปรับแต่งรอยมาร์คเพื่อการตัด(ต่อจากเรื่องนามบัตร)
9. การพิมพ์ตัวอักษรวิ่งรอบวงกลม
10. การลอกลาย
11. การสร้างนามบัตรอย่างง่าย
12. การสร้างรูปออกมาให้เป็นรูปวงกลมโดย Illustrator
13. การสร้างโลโก้ Central
14. การสร้างโลโก้โดยใช้เส้น Path(ตอนที่ 1)
15. การสร้างโลโก้โดยใช้เส้น Path(ตอนที่ 2)
16. การสร้างสี Gradient และจัดเก็บลงใน Swatches
17. การใส่ขอบสีให้กับตัวอักษร
18. การใส่ขอบให้กับตัวอักษรแบบ Multi Stroke
19. เทคนิคการหมุนภาพแบบสั่งองศาได้
20. เทคนิคในการสร้าง wallpaper รูปดาว โดยใช้ illustrator
21. มาลองวาดหน้าตัวการ์ตูนด้วย illustrator กันเถอะ
22. เรื่องของไฟล์ EPS และ TIF
23. สร้าง Stamp แบบง่ายๆโดยใช้ Illustrator
24. สร้างกลีบดอกไม้ให้ซ้อนกันโดย Illustrator
25. สร้างกิ่งก้านดอกไม้ด้วย Illustrator
26. สร้างข้อความแบบ wave โดย Illustrator
27. สร้างข้อความให้พลิ้วไว้กับริบบิ้น
28. สร้างดิสโก้บอลบน Illustrator
29. สร้างพลุแอนนิเมชั่น โดยเริ่มจาก Illustrator
30. สร้างพื้นหลังสวยๆสไตล์นักธุรกิจ โดย Illustartor
31. สร้างแสงกระจายใน Illustrator
32. สร้างไอคอน RSS แบบสามมิติ โดยใช้ Illusrtrator
33. สร้างอักษร 3 มิติ ด้วย Illustrator
34. สร้างไอคอนโฟล์เดอร์ โดยใช้ Illustrator
35. Adobe Illustrator CS2 กับ PDF
36. แป้นลัดของโปรแกรม Adobe Illustrator 10

อ๊ะ หน้าตาคุ้นๆ ใช่แล้วครับ โปรแกรม Illustrator นั้น มีหน้าตาคำสั่งแทบจะถอดแบบกันมากับโปรแกรม Photoshop นั่นเองครับ โดยแทบเครื่องมือต่างๆไกล้เคียงกันมีทั้ง เมนูด้านบน , Tool Bar พื้นที่ทำงาน สามารถกำหนดได้หรือตามที่ตัวโปรแกรมให้มาได้ครับ

มาพูดถึงเรื่องรูปภาพ Bitmap และ Vector บ้างครับเพื่อเข้าใจงานในแบบ Vector Graphic

ภาพBitmap

ข้อสอบองค์ประกอบศิลป์สําหรับงานคอมพิวเตอร์ พร้อมเฉลย



ภาพจะเป็นภาพที่เกิดจากพิกเซล ซึ่งจะการเรียงจุดสีจุดสี่เหลี่ยมๆหลายๆอันประกอบกันจนเป็นรูปภาพดังนั้นความคมชัดก็อยู่ที่จำนวนจุดสีถ้ามีมากก็จะคมชัดมากแต่ถ้ามีจุดสีเรียงกันน้อยภาพที่ขยายขึ้นมาความคมชัดที่ได้จะน้อยลง หรือถาพแตกที่เราเรียกๆกันนั่นแหละ

ภาพ Vector Graphic

ข้อสอบองค์ประกอบศิลป์สําหรับงานคอมพิวเตอร์ พร้อมเฉลย


ภาพแบบ Vector  Graphic นั้นจะประกอบไปด้วยเส้นลักษณะต่างๆ ที่เกิดจากการคำนวนทางคณิตศาตร์ ภาพที่ได้จะมีความคมชัด ไม่ว่าจะย่อหรือขยายภาพที่ได้ก็จะยังคมชัดเสมอไม่มีการสูญเสียความละเอียดและชัดเจนเท่าเดิม

โหมดสีของตัวโปรแกรม โหมดที่จะใช้ทำงานซึ่งต้องเลือกให้เหมาะกับการทำงาน มีให้เลือก2โหมดคือ RGB และ CMYK ซึ่งจะใช้ต่างกันในงานแต่ละประเภท

ในโหมดของRGB จะใช้ทำงานเกี่ยวกีบพวกมัลติมิเดีย ทำเว็บ แสดงผลที่หน้าจอคอมพิวเตอร์ มอนิเตอร์

ในโหมดของCMYK จะใช้สำหรับงานพิมพ์ หนังสือ โบรชัวร์ ป้ายโฆษณา

ดังนั้นก่อนเลือกทำงานต้องมั่นใจเสียก่อนว่าจะนำงานไปใช้อะไรเพื่อให้ได้งานที่ถูกต้องสีไม่ผิดเพี้ยนไป ไม่งั้นจะหาว่าไม่เตือนกันนะครับ เพราะบางทีทำในโหมดสี RGB แสดงผลบนหน้าจอสวยแต่ไปพิมพ์กับได้สีที่ผิดเพี้ยนไป ดังนั้นเลือกให้ถูกประเภทของงานที่ทำครับ

ข้อสอบองค์ประกอบศิลป์สําหรับงานคอมพิวเตอร์ พร้อมเฉลย

ข้อสอบองค์ประกอบศิลป์สําหรับงานคอมพิวเตอร์ พร้อมเฉลย

 ภาพจาก http://www.arthousegroups.com/stocks/news_image/252_20090615150520.jpg



เรื่องความหมายและความสำคัญขององค์ประกอบศิลป์      

           มนุษย์เรารับรู้ถึงความสวยความงาม ความพอใจ ของสิ่งต่างๆได้แตกต่างกับ ระดับความพอใจของแต่ละบุคคล

ก็แตกต่างกันออกไปทั้งนี้อาจขึ้นกับรสนิยม สภาพสังคม ศาสนา ความเชื่อและสิ่งแวดล้อมที่ผู้รับรู้นั้นดำรงชีวิตอยู่ 

หากแต่ว่าผู้รับรู้นั้นได้เข้าใจถึงกระบวนการ องค์ประกอบและพื้นฐานที่สำคัญของสิ่งที่ได้สัมผัส ก็ย่อมทำให้รับรู้ถึงความงาม

 ความพอใจนั้นๆเกิดขึ้นได้อย่างแท้จริง               

           ศิลปะนั้นดูเหมือนว่าจะไม่มีกฎเกณฑ์อะไรมากนัก เพราะอาศัยแต่ความสุนทรียะทางอารมณ์เพียงประการเดียว

แต่หากว่าได้ศึกษาถึงความสุนทรียะอย่างลึกซึ้งแล้ว จะเห็นว่ามันมีกฎเกณฑ์ในตัวของมันเอง ซึ่งผู้เรียนจะต้องศึกษาถึง

องค์ประกอบต่างๆเหล่านั้นที่ประกอบกันขึ้นเป็นงานศิลปะ  หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือผู้เรียนจะต้องเข้าใจในหลัก

องค์ประกอบของศิลปะ เป็นพื้นฐานเสียก่อนจึงจะสามารถสร้างสรรค์งานศิลปะที่มีคุณค่าและรับรู้ถึงความงามทางศิลปะ

ได้อย่างถูกต้อง               


1. ความหมายขององค์ประกอบศิลป์    องค์ประกอบของศิลปะหรือ(Composition )นั้นมาจากภาษาละติน

โดยคำว่า Post นั้นหมายถึง การจัดวาง และคำว่า Comp หมายถึง เข้าด้วยกัน ซึ่งเมื่อนำมารวมกันแล้วในทางศิลปะ

 Composition จึงหมายความถึง องค์ประกอบของศิลปะ การจะเกิดองค์ประกอบศิลป์ได้นั้น ต้องเกิดจากการเอาส่วน

ประกอบของศิลปะ (Element of Art) มาสร้างสรรค์งานศิลปะเข้าด้วยหลักการจัดองค์ประกอบศิลป์ (Principle of Art)

จึงจะเป็นผลงานองค์ประกอบศิลป์  ความหมายขององค์ประกอบศิลป์นั้นได้มีนักวิชาการหลายท่านได้ให้ความหมายเอาไว้

ซึ่งพอสรุปได้ดังนี้              
               

          คำว่าองค์ประกอบ ตามความหมายพจนานุกรมราชบัณฑิยสถานคือ ส่วนต่างๆที่ประกอบกันทำให้เกิดรูปร่างใหม่ขึ้นโดยเฉพาะ
              

          องค์ประกอบศิลป์ หมายถึง สิ่งที่ศิลปินและนักออกแบบใช้เป็นสื่อในการแสดงออกและสร้างความหมาย

โดยนำมาจัดเข้าด้วยกันและเกิดรูปร่างอันเด่นชัด (สวนศรี   ศรีแพงพงษ์ : 82) 


          องค์ประกอบศิลป์หมายถึง เครื่องหมายหรือรูปแบบที่นำมาจัดรวมกันแล้วเกิดรูปร่างต่างๆ ที่แสดงออกในการสื่อ

ความหมายและความคิดสร้างสรรค์ (สิทธิศักดิ์   ธัญศรีสวัสดิ์กุล : 56)


          องค์ประกอบศิลป์ หมายถึงศิลปะที่มนุษย์สร้างขึ้นเพื่อแสดงออกทางอารมณ์ ความรู้สึก ความคิดหรือความงาม

ซึ่งประกอบด้วย ส่วนที่มนุษย์สร้างขึ้นและส่วนที่เป็นการแสดงออกอันเป็นผลที่เกิดจากโครงสร้างทางวัตถุ 

(ชลูด   นิ่มเสมอ :18)
             

          องค์ประกอบศิลป์หมายถึง ส่วนประกอบต่างๆของศิลปะ เช่น จุด เส้น รูปร่าง ขนาด สัดส่วน น้ำหนัก แสง เงา

ลักษณะพื้นผิว ที่ว่างและสี (มานิต  กรินพงศ์:51)


          องค์ประกอบศิลป์คือความงาม ความพอดี ลงตัว อันเป็นรากฐานเนื้อหาของศิลปะ อีกทั้งยังเป็นเครื่องมือที่สำคัญ

ทางศิลปะให้ผู้สร้างสรรค์ได้สื่อสารความคิดของตนเองไปสู่บุคคลอื่น (สุชาติ เถาทอง,สังคม  ทองมี,ธำรงศักดิ์  ธำรงเลิศ

ฤทธิ์,รอง  ทองดาดาษ: 3)


              จากความหมายต่างๆข้างต้น พอสรุปได้ว่า องค์ประกอบศิลป์ หมายถึงสิ่งที่มนุษย์ใช้เป็นสื่อ

ในการแสดงออกอย่างสร้างสรรค์ โดยนำส่วนประกอบของศิลปะมาจัดวางรวมกันอย่างสอดคล้องกลมกลืนและมีความหมาย

เกิดรูปร่างหรือรูปแบบต่างๆอันเด่นชัด


              ซึ่งจากความหมายข้างต้น จะเห็นได้ว่าการที่จะเกิดผลงานศิลปะดีๆสักชิ้นนั้นผู้สร้างสรรค์จะต้องใช้กระบวนการ

ที่หลากหลายมาประกอบกันได้แก่ องค์ประกอบพื้นฐานทางศิลปะ องค์ประกอบของศิลปะ และการจัดองค์ประกอบ

ของศิลปะ มาถ่ายทอดลงในชิ้นงานหรือผลงานนั้นๆเพื่อให้ได้ผลงานที่มีคุณค่าทั้งด้านความงามและมีคุณค่าทางจิตใจ

อันเป็นจุดหมายสำคัญที่ศิลปินทุกคนมุ่งหวังให้เกิดแก่ผู้ชมทั้งหลาย


2.ความสำคัญขององค์ประกอบศิลป์    ในการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะในสาขาต่างๆไม่ว่าจะเป็นสาขาวิจิตรศิลป์

หรือประยุกต์ศิลป์ ผู้สร้างสรรค์นั้นต้องมีความรู้เบื้องต้นด้านศิลปะมาก่อน และศึกษาถึงหลักการองค์ประกอบพื้นฐาน

องค์ประกอบที่สำคัญ การจัดวางองค์ประกอบเหล่านั้น รวมถึงการกำหนดสี ในลักษณะต่างๆเพิ่มเติมให้เกิดความเข้าใจ

เพื่อเวลาที่สร้างผลงานศิลปะ จะได้ผลงานที่มีคุณค่า ความหมายและความงามเป็นที่น่าสนใจแก่ผู้พบเห็น

หากสร้างสรรค์ผลงานโดยขาดองค์ประกอบศิลป์ ผลงานนั้นอาจดูด้อยค่า หมดความหมายหรือไม่น่าสนใจไปเลย

ดังนั้น จะเห็นได้ว่าองค์ประกอบศิลป์นั้นมีความสำคัญอย่างมากในการสร้างงานศิลปะ         

มีนักการศึกษาด้านศิลปะหลายท่านได้ให้ทรรศนะในด้านความสำคัญขององค์ประกอบศิลป์ที่มีต่อการสร้างงานศิลปะไว้

พอจะสรุปได้ดังนี้
                  

          การสร้างสรรค์งานศิลปะให้ได้ดีนั้น ผู้สร้างสรรค์จะต้องทำความเข้าใจกับองค์ประกอบศิลป์เป็นพื้นฐานเสียก่อน

ไม่เช่นนั้นแล้วผลงานที่ออกมามักไม่สมบูรณ์เท่าไรนักซึ่งองค์ประกอบหลักของศิลปะก็คือรูปทรงกับเนื้อหา

(ชลูด  นิ่มเสมอ) 

                               
          องค์ประกอบศิลป์เป็นเสมือนหัวใจดวงหนึ่งของการทำงานศิลปะ เพราะในงานองค์ประกอบศิลป์หนึ่งชิ้น

จะประกอบไปด้วย การร่างภาพ(วาดเส้น) การจัดวางให้เกิดความงาม (จัดภาพ) และการใช้สี(ทฤษฎีสี)

ซึ่งแต่ละอย่างจะต้องเรียนรู้สู่รายละเอียดลึกลงไปอีก องค์ประกอบศิลปืจึงเป็นพื้นฐานสำคัญที่รวบรวมความรู้หลายๆอย่างไว้

ด้วยกัน จึงต้องเรียนรู้ก่อนที่จะศึกษาในเรื่องอื่นๆ (อนันต์   ประภาโส) 

                             
          องค์ประกอบศิลป์  การจัดองค์ประกอบและการใช้สี เป็นหลักการที่สำคัญในการสร้างสรรค์ให้งานศิลปะ

เกิดความงาม ไม่ว่าจะเป็นจิตรกรรม วาดเขียน ประติมากรรม สถาปัตยกรรมและการพิมพ์ภาพ หากปราศจากความรู้

ความเข้าใจเสียแล้วผลงานนั้นๆก็จะไม่มีค่าหรือความหมายใดๆเลย  (สวนศรี    ศรีแพงพงษ์)                              
                    

          องค์ประกอบศิลป์จัดเป็นวิชาที่มีความสำคัญสำหรับผู้ศึกษางานศิลปะ หากว่าขาดความรู้ความเข้าใจในวิชานี้แล้ว

ผลงานที่สร้างขึ้นมาก็ยากที่ประสบความสำเร็จ โดยเฉพาะอย่างยิ่งงานศิลปะสมัยใหม่ที่มีการแสดงเฉพาะ เส้น สี แสง เงา

น้ำหนัก พื้นผิว จังหวะ และบริเวณที่ว่าง มีความจำเป็นอย่างยิ่งต้องนำหลักการองค์ประกอบศิลป์มาใช้ 

         หลักการจัดองค์ประกอบศิลป์มีความวำคัญและเกี่วข้องกับงานทัศนศิลป์โดยตรง ทั้งวิจิตรศิลป์และประยุกต์ศิลป์

การจัดภาพหรือออกแบบสร้างสรรค์ผลงานทัศนศิลป์ให้เกิดคุณค่าความงามนั้น การจัดองค์ประกอบศิลป์จะมีบทบาทสำคัญ

มากที่สุด (จีรพันธ์   สมประสงค์: 15)                               
               

          จากทรรศนะต่างๆ สรุปได้ว่า องค์ประกอบศิลป์เป็นหัวใจสำคัญของงานศิลปะทุกสาขา  เพราะงานศิลปะใดหากขาด

การนำองค์ประกอบศิลป์ไปใช้ ก็จะทำให้งานนั้นดูไม่มีคุณค่า ทั้งด้านทางกายและทางจิตใจของผู้ดูหรือพบเห็นขณะเดียวกัน

ก็จะบ่งบอกถึงภูมิความรู้ ความสามารถของผู้สร้างสรรค์ผลงานนั้นด้วย                                

          การที่จะเข้าถึงศิลปะ(Appreciation) นั้น จะต้องผ่านการฝึกฝนและหาทางดูเพื่อให้เกิดความเข้าใจ ทั้งจะต้องมี

รสนิยมที่ดีพอสมควร การฝึกฝน การทำซ้ำๆอย่างสนใจ เมื่อนานเข้าก็จะเกิดความเข้าใจ ทำด้วยความคุ้นเคยกับสิ่งเหล่านั้น

จึงจะเข้าใจ รู้เห็นในคุณค่าของศิลปะนั้นๆได้ดี


องค์ประกอบพื้นฐานด้านนามธรรมของศิลปะ

          องค์ประกอบพื้นฐานด้านนามธรรมของศิลปะ เป็นแนวคิด หรือจุดกำเนิดแรกที่ศิลปินใช้เป็นสิ่งกำหนดทิศทาง

ในการสร้างสรรค์ ก่อนที่จะมีการสร้างผลงานศิลปะ ประกอบด้วย เนื้อหากับเรื่องราว

1.เนื้อหาในทางศิลปะ   คือ ความคิดที่เป็นนามธรรมที่แสดงให้เห็นได้โดยผ่านกระบวนการทางศิลปะ เช่น

ศิลปินต้องการเขียนภาพที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับชนบท ก็จะแสดงออกโดยการเขียนภาพทิวทัศน์ของชนบท

หรือภาพวิถีชิวิตของคนในชนบทเป็นต้น

2.เรื่องราวในทางศิลปะ    คือส่วนที่แสดงความคิดทั้งหมดของศิลปินออกมาเป็นรูปธรรมด้วยกระบวนการทางศิลปะ

เช่นศิลปินเขียนภาพชื่อชาวเขา ก็มักแสดงรูปเกี่ยวกับวิถีชีวิต หรือกิจกรรมส่วนหนึ่งของชาวเขา นั่นคือเรื่องราว

ที่ปรากฏออกมาให้เห็น

          ประเภทของความสัมพันธ์ของเนื้อหากับเรื่องราวในงานทัศนศิลป์นั้น เนื้อหากับเรื่องราวจะมีความสัมพันธ์กัน

น้อยหรือมาก หรืออาจไม่สัมพันธ์กันเลย หรืออาจไม่มีเรื่องเลยก็เป็นไปได้ทั้งนั้น โดยขึ้นกับลักษณะของงาน และเจตนา

ในการแสดงออกของศิลปิน ซึ่งเราสามารถแยกได้ดังต่อไปนี้คือ

(1) การเน้นเนื้อหาด้วยเรื่อง

(2) เนื้อหาที่เป็นผลจากการผสมผสานกันของศิลปินกับเรื่อง

(3) เนื้อหาที่เป็นอิสระจากเรื่อง

(4) เนื้อหาไม่มีเรื่อง 

             
          1. การเน้นเนื้อหาด้วยเรื่อง ได้แก่ การใช้เรื่องที่ตรงกับเนื้อหา และเป็นตัวแสดงเนื้อหาของงานโดยตรง

ตัวอย่างเช่น เมื่อศิลปินต้องการให้ความงามทางด้านดอกไม้เป็นเนื้อหาของงาน เขาก็จะหาดอกไม้ที่สวยงามมาเป็นเรื่อง

สีสันและความอ่อนช้อยของกลีบดอกจะช่วยให้เกิดความงามขึ้นในภาพ 

          2.  เนื้อหาที่เป็นผลจากการผสมผสานระหว่างศิลปินกับเรื่อง  ในส่วนนี้ศิลปินจะเสนอความเห็นส่วนตัว หรือผสม

ความรู้สึกส่วนตัวเข้าไปในเรื่อง เป็นการผสมกันระหว่างรูปลักษณะของเรื่องกับจินตนาการของศิลปิน เช่นเรื่องความงาม

ของดอกไม้ โดยศิลปินผสมความรู้สึกนึกคิดของตนเองลงไปในเรื่องด้วย เขาจะดัดแปลง เพิ่มเติมรูปร่างของดอกไม้

ให้งามไปตามทัศนะของเขาและใช้องค์ประกอบทางศิลปะเป็นองค์ประกอบทางรูปทรงให้สอดคล้องกับความงามของเรื่อง 

           
          3.  เนื้อหาที่เป็นอิสระจากเรื่อง   เมื่อศิลปินผสมจินตนาการของตนเองเข้าไปในงานมากขึ้น ความสำคัญของเรื่อง

จะลดลง ดอกไม้ที่สวยที่เป็นแบบอาจถูกศิลปินตัดทอนขัดเกลา หรือเปลี่ยนแปลงมากที่สุด จนเรื่องดอกไม้

นั้นหมดความสำคัญไปอย่างสิ้นเชิง เหลือแต่เนื้อหาที่เป็นอิสระ การทำงานแบบนี้ศิลปินอาศัยเพียงเรื่อง เป็นจุดเริ่มต้นแล้ว

เดินทางห่างออกจากเรื่องจนหายลับไป เหลือแต่รูปทรงและตัวศิลปินเองที่เป็นเนื้อหาของงาน กรณีนี้เนื้อหาภายในซึ่ง

หมายถึงเนื้อหาที่ที่เกิดขึ้นจากการประสานกันของรูปทรงจะมีบทบาทมากกว่าเนื้อหาภายนอก หรือบางครั้งจะไม่แสดงเนื้อหา

ภายนอกออกมาเลย 

             
          4. เนื้อหาไม่มีเรื่อง ศิลปินบางประเภท ไม่มีความจำเป็นต้องใช้เรื่องเป็นจุดเริ่มต้น งานของเขาไม่มีเรื่อง มีแต่รูปทรง

กับเนื้อหา โดยรูปทรงเป็นเนื้อหาเสียเองโดยตรง เป็นเนื้อหาภายในล้วนๆ เป็นการแสดงความคิด อารมณ์ และบุคลิกภาพ

ของศิลปินแท้ๆ ลงไปในรูปทรงที่บริสุทธิ์ งานประเภทนี้จะเห็นได้ชัดในดนตรีและงานทัศนศิลป์ที่เป็นนามธรรม

และแบบนอนออบเจคตีฟ 

              
         องค์ประกอบพื้นฐานด้านรูปธรรมของศิลปะองค์ประกอบพื้นฐานด้านรูปธรรมของศิลปะ คือสิ่งที่แสดงแนวดิดเกี่ยวกับ

เนื้อหาและเรื่องราวของศิลปินให้เห็นหรือรับรู้ผ่านผลงานศิลปะ ประกอบด้วย เอกภาพ ดุลยภาพ และจุดเด่น

  
1.   เอกภาพหมายถึงการนำองค์ประกอบของศิลปะมาจัดเข้าด้วยกันให้แต่ละหน่วยมีความสัมพันธ์ เกี่ยวข้องซึ่งกันและกัน

 ประสานกลมกลืนเกิดเป็นผลรวมที่แบ่งแยกไม่ได้ โดยถ่ายทอดเป็นผลงานศิลปะด้วยกระบวนการศิลปะ


2.   ดุลยภาพ คือการนำองค์ประกอบของศิลปะมาจัดเข้าด้วยกันให้เกิดความเท่ากันหรือสมดุล โดยมีเส้นแกนสมมุติ 2 เส้น

เป็นตัวกำหนดดุลยภาพเส้นแกนสมมุติจะทำหน้าที่แบ่งภาพออกเป็นด้านซ้านและด้านขวา หรือด้านบนและด้านล่าง

เพื่อให้ผลงานศิลปะที่ปรากฏเกิดความสมดุลในลักษณะใดลักษณะหนึ่ง เช่นแบบซ้ายขวาเหมือนกันและแบบซ้าย ขวา ไม่

เหมือนกัน

3.   จุดเด่น คือ ส่วนที่สำคัญในภาพ มีความชัดเจนสะดุดตาเป็นแห่งแรก รับรู้ได้ด้วยการมองผลงานที่สำเร็จแล้ว

จุดเด่นจะมีลักษณะการมีอำนาจ ตระหง่าน ชัดเจนกว่าส่วนอื่นทั้งหมด โดยเกิดจากการเน้นให้เด่นในลักษณะใดลักษณะนึ่ง