ขั้นตอนการบำบัดรักษาผู้ติดสารเสพติด

Article Sidebar

เผยแพร่แล้ว: ก.ย. 30, 2019

คำสำคัญ:

การบำบัดรักษา; ผู้ติดยาเสพติด

Main Article Content

บทคัดย่อ

               บทความนี้ต้องการนำเสนอเกี่ยวกับการบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติด เพราะการติดยาเสพติดเป็นโรคชนิดหนึ่ง ที่ผู้ติดยาเสพติดเป็นผู้ป่วยที่มีสภาพจิตผิดปกติ การแก้ปัญหาก็เป็นการให้การรักษา และหากเห็นว่า ผู้ติดยาเสพติด เป็นผู้โชคร้ายที่เป็นเหยื่อของปัญหาสังคม เขาก็ควรได้รับการช่วยเหลือ ส่วนวิธีการในการรักษาผู้ติดยาเสพติด ในปัจจุบันยังไม่มีวิธีใดที่เป็นที่ยอมรับ และมีหลักฐานว่า เป็นวิธีที่ได้ผลแน่นอน อาจแบ่งการรักษาได้ดังนี้


  1. การถอนพิษยา เป็นการรักษาอาการของการที่ร่างกายขึ้นกับยา เพื่อจะได้หยุดยาได้ สำหรับผู้ที่ติดยานอนหลับ พวกบาร์บิทูเรต การถอนยาอาจมีอาการมากถึงกับเป็นอันตรายต่อชีวิตได้ เช่นอาการไข้สูง ชัก และช็อก การรักษาจึงต้องอาศัยแพทย์ที่มีความรู้และอุปกรณ์เพียงพอ แต่ผู้ที่ติดยา ประเภทฝิ่น มอร์ฟีน และเฮโรอีน อาการถอนยาไม่รุนแรง

  2. การปรับปรุงแก้ไขจิตใจ และบุคลิกภาพ ในโครงการรักษาผู้ติดยาบางโครงการ เป้าหมายหลักในการรักษาเป็นการปรับปรุงแก้ไขด้านจิตใจ เพื่อให้สามารถหยุดยาได้ตลอดไป หรือลดปัญหาลง 

  3. การสร้างเครื่องยึดเหนี่ยว ผู้ที่ติดยาเสพติดมีบุคลิกภาพที่ไม่ดีอยู่เดิม สภาพการที่จิตใจขึ้นกับยา การสร้างสิ่งยึดเหนี่ยว อาจช่วยให้ผลการบำบัดรักษาดีขึ้น

  4. การแก้ไขสภาพแวดล้อม การให้การฝึกอาชีพ การจัดหางาน การสังคมสงเคราะห์ อาจช่วยผู้ติดยาบางคนที่ไม่มีงานทำได้ มีความรู้ความสามารถ ในการทำมาหากิน มีรายได้ เมื่อกลับเข้าไปสู่สังคมอีกครั้งหนึ่ง การให้คำปรึกษาหารือแก่พ่อแม่ ผู้ปกครองของ ผู้ที่ติดยาเสพติดให้เข้าใจปัญหา และได้ช่วยกันแก้ไข เพื่อให้สภาพแวดล้อมดีขึ้น โอกาสที่จะกลับไปใช้อีกจะได้น้อยลง

  5. การรักษาเพื่อลดปัญหาทางสังคมและเศรษฐกิจของการติดยาเสพติด เทคนิคการรักษาแบบต่างๆ ที่กล่าวมาแล้วมีเป้าหมายที่จะให้ผู้ติดยาเสพติดได้เลิกเสพ และกลับเข้าไปสู่สังคม เป็นพลเมืองดี ของประเทศชาติต่อไป แต่สำหรับผู้ติดยาเสพติดจำนวนไม่น้อย ความหวังที่จะให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าวนี้ เป็นไปได้ยากยิ่ง หรือเป็นไปไม่ได้เลย การรักษาจึงจำเป็นต้องลดเป้าหมายลงมา ไม่ต้องให้ถึงกับหยุดยาเสพติดโดยเด็ดขาด แต่ให้สามารถควบคุมได้ และสภาพการติดยาไม่ก่อให้เกิดปัญหาทางเศรษฐกิจ หรือปัญหาอาชญากรรม อันเป็นอันตรายต่อสังคมต่อไป

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

References

ภาวิณี อยู่ประเสริฐ. (2540).“ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการใช้สารเสพติดของนักเรียนวัยรุ่นของ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 กรุงเทพมหานคร.” วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหิดล.
คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด, ความรู้เกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษ, หน้า 6.
สันติ จัยสินและคณะ.(2547). เทคนิคการเผยแพร่ความรู้เรื่องการป้องกันยาเสพติด. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร.
ปิ่น โค.(2540).“ประสิทธิผลของโปรแกรมสุขศึกษาที่มีต่อพฤติกรรมป้องกันยาบ้าของ นักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 1 จังหวัดพระนครศรีอยุธยา.” วิทยานิพนธ์ การศึกษามหาบัณฑิต.บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสาน มิตร.
พูนสุข นิติวัฒนะ. (2545). “การดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในสถานศึกษา ของผู้บริหาโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา กรุงเทพมหานคร.” วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต . บัณฑิตวิทยลัย : มหาวิทยาลัย ศรี นครินทรวิโรฒประสานมิตร.
เสกสรร สงวนนาม. (2544). “เจตคติต่อยาเสพติดและพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากยา เสพติดของนักศึกษา ระดับ มัธยมศึกษาตอนต้น ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน จังหวัดอุดรธานี.” วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต. บัณฑิต วิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สุขฤดี ธัชศฤงคารสกุล.(2543).“โปรแกรมการเสริมสร้างทักษะชีวิตเพื่อป้องกันการเสพ ยาบ้าของนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 1 ในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรม สามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการในเขตกรุงเทพมหานค.” วิทยานิพนธ์ ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิ โรฒ ประสารมิตร.
สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 9 : online แหล่งที่มา //kanchanapisek.or.th; วันที่สืบค้น 3/2/2562.
สุดสงวน สุธีสร.(2548). เอกสารประกอบการบรรยาย หลักสูตร พนักงานคุมประพฤติเรื่อง อาชญาทยา (Criminology).

การบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติด

         การบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติด หมายถึง การดำเนินงานเพื่อแก้ไชสภาพร่างกายและจิตใจของผู้ติดยาเสพติดให้เลิกจากการเสพ และ สามารถกลับ ไปดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างปกติสุข

การบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติดมีกระบวนการบำบัดอยู่ 3 ระบบคือ

•  ระบบสมัครใจ คือ การเปิดโอกาสให้ผู้ติดยาเสพติดที่ต้องการเลิกสามารถเข้ารับการบำบัดในสถานพยาบาลต่างๆทั้งภาครัฐ และเอกชน

•  ระบบต้องโทษ คือ การที่ผู้ติดยาเสพติดกระทำความผิดเกี่ยวกับคดียาเสพติดและถูกคุมขัง ซึ่งจะต้องรับการบำบัด ในสถานพยาบาล ภายใต้ขอบเขต เช่น กรมราชทัณฑ์ กรมคุมประพฤติและสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน เป็นต้น

•  ระบบบังคับ คือ การใช้กฎหมายบังคับตามพระราชบัญญัติฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ. 2534 โดย ศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพ ผู้ติดยาเสพติด เป็นผู้บำบัดรักษา

ขั้นตอนการบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติด

•  ขั้นเตรียมการก่อนบำบัดรักษา ประกอบไปด้วยขั้นตอนต่อไปนี้

•  สัมภาษณ์ประวัติผู้ติดยา

•  การลงทะเบียนประวัติ

•  แนะนำและชี้แจงวิธีการบำบัดรักษาทางการแพทย์

•  แนะนำและชักชวนให้ครอบครัวมีส่วนร่วมในการบำบัด

•  ตรวจสุขภาพของผู้ติดยาเสพติด

•  ขั้นตอนการรักษา เช่น การบำบัดอาการทางกายที่เกิดจากการใช้ยาเสพติด เพื่อช่วยระงับความต้องการยา ซึ่งขั้นตอนนี้จะเป็น การถอนพิษตามสภาพร่างกายและชนิดของยาเสพติดที่ใช้ เพื่อรักษาอาการขาดยา และสภาวะแทรกซ้อนต่างๆทั้งทางร่างกายและจิตใจ

•  ขั้นตอนการฟื้นฟูสมรรถภาพ เป็นขั้นตอนที่สำคัญที่สุด โดยจะทำการฟื้นฟูสภาพร่างกายและจิตใจของผู้ที่ติดยาเสพติด โดยมีเจ้าหน้าที่บำบัด หลายๆฝ่ายร่วมกัน เช่น นักจิตวิทยา แพทย์ นักสังคมสงเคราะห์ ครูอาชีวบำบัด เป็นต้น

•  ขั้นตอนติดตามผล เป็นการติดตามผลดูแลผู้ที่เลิกยาหลังจากที่ผ่านขั้นตอนทั้ง 3 มาแล้ว เพื่อให้คำแนะนำ กำลังใจ และช่วยแก้ปัญ หาของผู้ที่ติด ยาเสพติดไม่ให้หันกลับมาเสพอีก โดยวิธีการต่อไปนี้

•  การติดตามผลทางตรง คือการพบปะพูดคุยกับผู้ป่วยโดยตรง

•  การติดตามผลทางอ้อม คือการพูดคุยทางโทรศัพท์ จดหมายหรือผ่านบุคคลที่ 3

รูปแบบการบำบัดรักษาผู้ติดยา

•  การบำบัดรักษาทางร่างกาย มี 3 วิธี คือ

•  การบำบัดแบบการแพทย์แผนปัจจุบัน เช่นการบำบัดรักษาโดยใช้ยาอื่นแทนเพื่อถอนพิษ มีรูปแบบการบำบัดดังนี้

•  ใช้ยาอื่นทดแทน เพื่อถอนพิษยาเสพติด ทำให้ผู้เสพหมดความต้องการทางยาซึ่งยาที่จะเข้าไปแทนต้องเป็นยาที่ให้ โทษน้อยกว่า

•  การให้ยาเพื่อต้านฤทธิ์ยาเสพติด

•  การรักษาเพื่อให้คงสภาพการติดยา เช่น การให้สารเสพติดแก่ผู้เสพ ภายใต้การควบคุมของแพทย์ในปริมาณที่ลดลงเรื่อยๆ

•  การบำบัดแบบการแพทย์แผนโบราณ มีรูปแบบการบำบัดรักษาดังนี้

•  บำบัดรักษาโดยใช้ยาสมุนไพร นิยมใช้ตามสำนักสงฆ์ โดยนำสมุนไพรมาใช้เพื่อการล้างพิษโดยให้ผู้ป่วยดื่มซึ่งจะทำให้อา เจียน และถ่ายออกมา

•  การฝังเข็ม เช่น การใช้หลักวิชาการแพทย์สมัยโบราณโดยใช้เข้มฝังตามจุดต่างๆของร่างการพร้อมทั้งต่อสายไฟและปล่อย กระแสอ่อนๆเข้าสู่ร่างกาย

•  การบำบัดรักษาโดยวิธีอื่นๆ เช่น

•  การหักดิบ เป็นวิธีการที่ให้ผู้ที่ติดยาเสพติดเลิกเสพยาโดยทันทีโดยไม่ต้องใช้ยาอื่นมาทดแทน ผู้เสพจะมีอาการ เสี้ยนยา อย่าง รุนแรง ใน 5 วันแรก ถ้าผ่านช่วงนี้ไปได้จะทำให้เข็ดไม่กล้ากลับมาเสพอีก

•  การบำบัดโดยใช้เครื่องกระตุ้นไฟฟ้ากำลังต่ำตามจุดต่างๆของร่างกาย ทำให้เกิดการเลิกยาได้

•  การบำบัดรักษาทางด้านจิตใจ มี 4 วิธี คือ

•  วิธีจิตบำบัด เพราะโดยทั่วไปผู้ที่ติดยาเสพติดมีสาเหตุจากด้านจิตใจ ดังนั้นการฟื้นฟูสภาพจิตใจให้เข้มแข็งขึ้น ทำให้ผู้ติดยาสามารถ แก้ปัญหา ต่างๆได้โดยไม่ต้องพึ่งยาเสพติดอีกต่อไป วิธีจิตบำบัดมี 3 รูปแบบคือ

•  การให้คำปรึกษาเป็นการรายบุคคล

•  การให้คำปรึกษาเป็นกลุ่ม

•  การให้คำปรึกษาแก่ครอบครัว

•  วิธีบำบัดยาเสพติดโดยใช้ศาสนา เนื่องจากผู้ที่ติดยาเสพติดมักมีปัญหาแก้ไขไม่ได้ จึงหันไปพึ่งยาเสพติด การนำหลักธรรมศาสนา มาช่วยจะทำให้ผู้ที่เสพยาเสพติดมีจิตใจที่เข้มแข็งขึ้น รู้จักแก้ไขปัญหาได้อย่างเหมาะสม

•  วิธีการบำบัดรักษาแบบชุมชนบำบัด เป็นวิธีการบำบัดที่ทำให้ผู้ติดยาเสพติดหรือสมาชิกได้พัฒนาตนเอง โดยมีการจำลองครอบครัว ขนาดใหญ่ เพื่อให้ผู้ที่ติดยามีโอกาสปรับปรุงตนเองในสถานที่ที่มีความอบอุ่น การบำบัดแบบนี้มี 3 ขั้นตอน คือ

1. ระยะจูงใจ ใช้เวลา 30 วัน เพื่อเตรียมความพร้อม

2. ระยะบำบัดรักษา ใช้เวลา 1- 11 เดือน หรือ 2 ปี คือ การให้ผู้ที่ติดยาเรียนรู้ความผิดและรู้จักวิธีการแก้ไขปัญหา

3. ระยะกลับเข้าสู้สังคม ใช้เวลา 3- 5 ปี เช่น การให้ผู้ตดยากลับไปใช้ชีวิตจริงในสังคม

•  การบำบัดแบบชีวบำบัด การบำบัดวิธีนี้ มีวัตถุประสงค์ให้ผู้ติดยาใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ด้วยการฝึกหัดอาชีพ

•  การบำบัดรักษาทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ คือการบำบัดรักษาในรูปแบบของการทำค่ายบำบัด ดังนั้นผู้ที่ผ่าน ค่ายบำบัด จะต้อง ได้รับการฟื้นฟูสภาพจิตใจและมีการติดตามผลอย่างสม่ำเสมอ

ขั้นตอนและวิธีการทำค่ายบำบัดรักษา

1.  ประเมินสภาพปัญหาของผู้ติดยาที่จะเข้าค่ายบำบัด

2.  บำบัดรักษาผู้ที่มีอาการถอนยา ตามสภาพปัญหาของผู้ติดยา

3.  จัดให้มีการสอนและฝึกอบรมด้านวิชาชีพแก่ผู้ติดยา

4.  จัดให้มีกิจกรรมนันทนาการ เพื่อลดความเครียด

5.  จัดให้มีกิจกรรมกลุ่มบำบัด เพื่อเป็นการรักษาทางด้านจิตใจ

6. จัดให้มีกิจกรรมบำบัดรักษาและพัฒนาคุณค่าชีวิตทางด้านศาสนา เพื่อเสริมความเข้มแข็งทางด้านจิตใจ

7.  จัดให้มีกิจกรรมอื่นๆที่เสริมสร้างและฟื้นฟูสมรรถภาพทั้งทางด้านร่างการและจิตใจ เช่น การออกกำลังกาย การทำสมาธิ การสร้างงานอดิเรก เป็นต้น

ค่าใช้จ่ายในการบำบัดรักษา

         ค่าใช้จ่ายจะมากน้อยแตกต่างกันออกไปตามลักษณะของสถานพยาบาลและเวลาที่ใช้ในการรักษา ถ้าเป็นสถานพยาบาลของเอกชน ค่าใช้ จ่ายจะอยู่ที่ 10,000 – 20,000 บาท ต่อสัปดาห์ แต่ถ้าเป็นสถานพยาบาลของรัฐจะเสียค่าใช้จ่ายน้อยกว่านี้ และมีหน่วยงานคอย ช่วยเหลือ ผู้เข้าบำบัด รักษาตามสภาพปัญหาของแต่ละบุคคล

ที่มา //www.uttaradit.police.go.th/ya005.html

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ศัพท์ทางทหาร military words แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 พจนานุกรมศัพท์ทหาร ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง ไทยแปลอังกฤษ ประโยค lmyour แปลภาษา การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ประปาไม่ไหล วันนี้ ฝยก. ย่อมาจาก หยน ห่อหมกฮวก แปลว่า เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษาจีน ่้แปลภาษา onet ม3 การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 1 ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง ตตตตลก บบบย ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ เขียน อาหรับ แปลไทย เนื้อเพลง ห่อหมกฮวก แปลไทย asus zenfone 2e กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น การประปานครหลวง ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบภาษาอังกฤษ ม.ปลาย พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ชขภใ ชื่อเต็ม ร.9 คําอ่าน ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน นยน. ย่อมาจาก ทหาร บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ฝสธ. ย่อมาจาก มัดหัวใจเจ้าชายเย็นชา 2 ซับไทย มัดหัวใจเจ้าชายเย็นชา 2 เต็มเรื่อง ยศทหารบก เรียงลําดับ ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 รัชกาลที่ 10 ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คอร์ด