Huawei FreeBuds 4i ใช้กับ iPhone ได้ ไหม

ความเดิมตอนที่แล้ว : ลองแล้วเล่า : Huawei FreeBuds 3 “Ear-buds ที่ดี มี Wind+Noise Cancelling”

หนึ่งปีผ่านไปไวเหมือนโกหก… จำได้ลาง ๆ ว่าเราเพิ่งรีวิว FreeBuds 3 กันไปเมื่อไม่นานมานี้เองนี่นา… แต่เอาเถอะครับ ไหน ๆ ก็ ไหน ๆ แล้ว Huawei เปิดตัว “FreeBuds 4i” รุ่นที่ 5 ของตระกูล FreeBuds ทั้งที เอามาขายแล้วด้วยในราคาเพียง 2,799 บาททั้งที เราไม่เอามาเล่าต่อก็คงจะไม่ได้กระมัง หึหึ

และแล้ววันเวลาท่ามกลางสถานการณ์อันไม่แน่ไม่นอนของโควิด-19 ก็มาถึง Huawei จัดแจงส่ง FreeBuds 4i พร้อมโพย 1 แผ่น มาให้เราใช้กันถึงที่ คงไม่ต้องถามอะไรมาก มันก็เป็นหูฟังนี่เนาะ… ว่าแล้ว หยิบมาชาร์จ และเปิดใช้งานกันเลยดีกว่า แฮ่!

แต่ก่อนจะถึงตอนนั้น ผมโดนคำเปรยมาจากคนที่ได้ลองจับเจ้า FreeBuds 4i ในงานเปิดตัวมาก่อนหน้านี้ว่า “ระวังเจ้าจะลืมทุกสิ่งเกี่ยยวกับ AirPods” ทำเอาตัวผมถึงกับชะงักว่า เดี๋ยวก่อนนะ วันนี้เรามีหูฟังที่เกรดไม่ใช่ Audiophile แล้วมีความสามารถ และให้ประสบการณ์ได้ดีเท่า AirPods ออกสู่ตลาดแล้วงั้นหรือ? ผมแทบไม่เชื่อคำเปรยคำนั้นจนกระทั่งได้หยิบมาลองด้วยตัวเอง มันก็เลยเป็นแบบนี้…

หมายเหตุ : มือถือที่เราเอามาลองด้วยคือ “Samsung Galaxy Note 20 Ultra 5G”, “iPhone X” และ “Infinix Note 8” ที่เรารีวิวไปก่อนหน้านี้ ไม่ใช่มือถือ Huawei ที่มี EMUI 11 เนื่องจากเราไม่มีเครื่องในมือ ฉะนั้นแล้วจะมีความสามารถบางอย่างที่ผมไม่สามารถพูดถึงได้ โดยเฉพาะความสามารถที่ต้องใช้ร่วมกับมือถือ Huawei เท่านั้น จึงขออภัยมาล่วงหน้า ณ ที่นี่ สำหรับแฟน ๆ Huawei ที่เข้ามาอ่านแล้วพบว่าบทความนี้ไม่ได้พูดถึงการใช้งานร่วมกับมือถือ Huawei นะครับ

ส่องกันหน่อย

แวบแรกที่ได้เห็นรูปของ FreeBuds 4i ถึงกับผงะเล็กน้อยว่า เอ๊ะ นี่มัน….​สบู่ใช่ไหม เพราะว่าตัวกล่องชาร์จของ FreeBuds 4i มีรูปร่างหน้าตาแบบนี้แหละครับ ไม่มีอะไรหวือหวาหรอก เป็นสบู่ขาว ๆ ตามสีหูฟังเลย เช่นสีดำ Ceramic Black ก็จะเป็นสีดำ และสีแดง Red Edition ก็จะเป็นสีแดง สีที่เราได้มาคือสีขาว Ceramic White ก็จะขาว ๆ แบบนี้แหละครับ

ตัวกล่องไม่มีอะไรหวือหวามาก ทุกอย่างเหมือนกับ FreeBuds 3 เลยคือ มีไฟแสดงสถานะหูฟังกับกล่องชาร์จ (ไม่แยกกันเหมือน FreeBuds 3) พอร์ต USB-C ที่ตอนนี้ไม่เลือกสายแล้ว และปุ่มสำหรับเปิดโหมด Paring ของหูฟัง

ตัวหูฟังมีขนาดเล็กกว่า FreeBuds 3 มาก และเปลี่ยนทรงจากตอน FreeBuds 3 มาก คือมันสั้นลงแหละ และก็เปลี่ยนเป็น In-ear ด้วยแหละ รวม ๆ คือ มันเหมือน FreeBuds Pro แหละ แต่ตรง Touch Surface ไม่ได้เหลี่ยมจัดเหมือน FreeBuds Pro มันยังมีความมน ๆ ในงานดีไซน์อยู่ รวม ๆ แล้วก็ดูดีนะ แล้วตรงช่วงใหญ่ ๆ กลม ๆ นั่นคือจุดขายหลักเค้าที่เป็นไดรเวอร์ขนาดใหญ่ 10 mm ชนิดให้เสียงได้ครบทุกไดนามิก อืม.. ไว้ว่ากันต่อไปดีกว่า

แต่ประทานโทษเถอะครับ…. ก่อนจะเข้าเรื่องต่อ ขอนอกเรื่องเล็กน้อย เพราะปกติผมว่าปกติผมใส่ In-Ear จุกไซส์ XL ตลอด แต่ FreeBuds 4i ขนาดไซส์ M ใส่แล้วมันมีอาการเจ็บช่องหู แรก ๆ คิดว่าสิวคงขึ้น แต่เช็คไปเช็คมา อ้าว สิวไม่ได้ขึ้นด้วย ส่วนตัวเลยคิดว่าตรงส่วนไดรเวอร์น่าจะทิ่มเข้ามาในช่องหูตอนสวมใส่ และน่าจะมีปัญหาเยอะสำหรับคนหูเล็กแน่ ๆ ฉะนั้นแล้วถ้าไม่ชัวร์จริงว่าใส่แล้วจะเจ็บหรือไม่ แนะนำให้ลองใส่ก่อน เพื่อหาความเหมาะสมต่อไปครับ

เนื่องด้วยข้อจำกัดตามที่เขียนไว้ในย่อหน้าแรก การเชื่อมต่อหูฟังเลยดูทุลักทุเลพอสมควร เพราะตัวหูฟังต้องใช้ร่วมกับแอปฯ Huawei AI Life เวอร์ชันใหม่ ซึ่ง “ต้องดาวน์โหลดจาก AppGallery” แต่ถ้าไม่มีล่ะ? Huawei ก็ไม่ได้ใจร้ายไส้ระกำอะไรขนาดนั้น เราสามารถสแกน QR Code ข้างกล่องเพื่อดาวน์โหลด AI Life เวอร์ชันใหม่มาใช้งานได้ ส่วน iOS หรอ หึหึหึ ตามธรรมเนียมเหมือน FreeBuds 3 นั่นคือต้องหามือถือ Android มาเซ็ตอะไรให้เรียบร้อยก่อน แล้วค่อยเอาไปเชื่อมต่อภายหลังครับ

แต่ถ้าเป็นสมาร์ทโฟน Huawei ไอที่เขียนมาข้างบนทั้งหมดจะหายไปทันที เพียงแค่เปิดฝา ตัวเครื่องจะเชื่อมต่อให้เอง ง่ายไหมล่ะ หึหึ

เริ่มฟังโลด!

สั้น ๆ ครับ… “ไม่มีอะไรต่างจาก FreeBuds 3 ครับ” ปึ๊ง จบ สวัสดี….

ถ้าแค่นี้จริง ๆ ผมโดน Huawei ตบตายดั่งบอสไล่กระทืบยกตี้แน่นอนครับ แต่ความรู้สึกโดยรวมมันก็ไม่ได้ต่างจาก FreeBuds 3 จริง ๆ นี่นา ถ้าบอกว่านั่นคือ 1 อาทิตย์แรกที่ได้ลองใช้ ผมก็คงบอกเช่นนั้นไปจริง ๆ แต่นี่อยู่กับผมมาสองอาทิตย์ ตลอดเวลากึ่ง Lock-down ที่บ้าน ก็เลยเห็นความต่างในหลาย ๆ จุดอย่างเห็นได้ชัด โดยเฉพาะการใช้งานร่วมกับ Dolby Atmos ที่มีอยู่บน Note 20 Ultra 5G หรือ DTS Surround บน Infinix Note 8 ด้วยนั่นเอง

ภาพรวม เสียงของ FreeBuds 4i จะออกไปทางกลาง ๆ ทุ้มเล็ก ๆ แต่มีมิติครบ ซึ่งทั้งหมดนี้ต้องยกความดีความชอบให้ไดรเวอร์ขนาดใหญ่ที่โฆษณาตั้งแต่ต้นว่าสามารถขับเสียงได้ครบทุกมิติ ซึ่งมันก็ครบทุกมิติจริง ๆ ไม่มีช่วงที่หล่นหาย และเบสไม่หายหมด มันยังมีความทุ้มแบบผู้ดี ฟังแล้วเพลินหู ไม่ได้มีอะไรหวือหวามากนัก

แต่ที่ชื่นชอบสุดคือโหมด Noise Cancelling รอบนี้แก้เกมมาดี เพราะไม่ต้องมานั่งเปิดทุกครั้งเหมือน FreeBuds 3 และเมื่อเปิด Noise Cancelling ปุ๊บ ทุกอย่างจะถูกตัดขาดจากโลกภายนอกทันที มันจะเหลือไว้แต่ความเงียบ แบบที่เงียบมาก เงียบสนิท เงียบจนไม่ได้ยินแม้กระทั่งเสียงประกาศรถ MRT ที่ขึ้นชื่อว่าโคตรดัง (เมื่อเทียบกับ BTS และ ARL) ชนิดทำเอาเกือบลงผิดสถานีก็เคยมีมาแล้ว แต่ปัญหานี้สามารถแก้ได้ด้วยการปรับโหมดเป็น Awareness ด้วยการแตะหูฟังค้างไว้ หูฟังจะอนุญาตให้เสียงบางอย่างลอดเข้ามาได้ เช่น เสียงประกาศ เสียงพูดคุย หรือแม้กระทั่งเสียงรางรถไฟฟ้ากระทบกับล้อก็ลอดเข้ามาได้หมด รวม ๆ ถือว่า Noise Cancelling รอบนี้ปรับปรุงมาได้ดีมาก ไม่รู้ยกความสามารถมาจาก FreeBuds Pro ทั้งหมดเลยหรือเปล่า แต่รวม ๆ ผมชอบนะ และอยากให้เป็นแบบนี้ตั้งแต่แรกเลยด้วยซ้ำ แต่อย่างว่า รอบแรกมักจะไม่สมบูรณ์เท่าไหร่นัก AirPods ก็เช่นกัน หึหึ

การฟังเพลง ยอมรับว่ามิติเสียงที่ได้ออกมาดีมาก เมื่อเปิด Dolby Atmos แล้วเสียงยิ่งดีเข้าไปใหญ่ เพลงร็อคก็ให้เบสที่ครบ สนั่น เสียงกลองดังตุบ ๆ ฟังเพลงแนว Electronic ก็ให้เสียงครบทุกมิติ เสียงเอฟเฟคต่าง ๆ ก็มาครบ พูดตามตรงว่าการมีไดรเวอร์ขนาดใหญ่ มันช่วยให้เสียงที่ออกมามีความตื่นเต้น เร้าใจ และดูครบเครื่องกว่าสมัย FreeBuds 3 เยอะมาก รวม ๆ แล้ว ถือว่าในแง่การฟังเพลง FreeBuds 3 ทำการบ้านมาดี ไม่มีขาดตกบกพร่องแต่อย่างใด

ในส่วนของการดูหนัง FreeBuds 3 ให้รายละเอียดเสียงแบบใด FreeBuds 4i ก็ย่อมให้รายละเอียดเสียงได้แบบเดียวกัน เรียกว่าแทบไม่มีความต่างให้เห็นได้แบบชัดเจนเหมือนตอนฟังเพลง แต่ในแง่มิติถือว่าออกผลงานได้ดีกว่ามาก และรวม ๆ แล้ว ถือว่าสอบผ่านในด้านการดูหนัง ฉะนั้นสองเรื่องนี้ ไว้ใจได้เลย

ที่เซอร์ไพร์สสุดคือการใช้โทรศัพท์นี่แหละ เสียงสนทนาถือว่าชัดเจนมาก มากจนปลายสายแยกไม่ออกว่าใช้เครื่องหรือใช้หูฟังคุยอยู่ ต้องขอบคุณที่เทคโนโลยี Beamforming ของไมโครโฟน และ AI Noise Reduction สามารถช่วยทำให้เสียงพูดมีความชัดเจน ไร้เสียงรบกวนใด ๆ ได้ตามที่โฆษณาไว้จริง แม้กระทั่งอยู่เงียบ ๆ ใน Discord ก็แทบจะไม่มีเสียงรบกวนใด ๆ เล็ดลอดเข้ามาในหูฟังเลยแม้แต่น้อย

แต่ไฮไลต์สุดท้ายและท้ายสุด และผมก็ไม่มีเครื่องลองด้วยนี่สิ นั่นคือการเล่นเกม เพราะหูฟังตัวนี้มีความลับที่ในงานเปิดตัวก็ไม่ได้บอกครับ ความลับที่ว่านั่นคือหูฟังตัวนี้มีเทคโนโลยี Low Latency mode อันเป็นเทคโนโลยีที่ปรับค่าการส่งสัญญาณให้มีค่าความหน่วงเวลาที่ต่ำสุด ๆ แต่!!! ความสามารถนี้ต้องใช้กับสมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ต Huawei ที่ติดตั้ง EMUI 11 แล้วเท่านั้น เท่ากับว่าความสามารถนี้แทบเป็นไปไม่ได้เลย ถ้าใช้กับสมาร์ทโฟนรุ่นอื่น ๆ ที่ไม่ใช่ Huawei

แต่การเล่นเกมด้วย Note 20 Ultra 5G เป็นเกมดนตรีด้วย (MuseDash/TapSonic Top ครับ~) ทำไมผมกลับรู้สึกว่า ต่อให้ไม่ต้องมีสมาร์ทโฟน Huawei การใช้ FreeBuds 4i เล่นเกมพวกนี้ ก็ได้ความรู้สึกแทบไม่ต่างจากเสียบหูฟังสายเลยแม้แต่น้อย เพราะต่อให้ปรับค่า Input Lag ก็ปรับน้อยมาก เพียงไม่กี่ ms เท่านั้น เสียงที่ได้ก็มีความเที่ยงตรง และแม่นยำพอที่จะให้ทำ Perfect Play ก็ยังได้ ฉะนั้นภาพรวมแล้วถือว่า FreeBuds 4i ทำมาดี แต่มันคงจะดีกว่านี้ ถ้ามีสมาร์ทโฟน Huawei อยู่ในมือจริง ๆ

ภาพรวมของ FreeBuds 4i ถือว่ารอบนี้ทำการบ้านมาดี มีการแก้ไขจุดบกพร่องเยอะกว่าตอน FreeBuds 3 รวมถึงการใช้ไดรเวอร์ขนาดใหญ่มาช่วยขับเสียงถือว่าเป็นการแก้เกมเรื่องคุณภาพเสียงในทางที่ดี เสียงที่ได้ยอมรับเลยว่ามีความครบเครื่องทุกมิติ ไม่มีขาดตกบกพร่อง และก็ตัว Touch Surface ที่ผมเคยบ่นไว้ใน FreeBuds 3 ก็แทบจะไม่ได้เห็นปรากฎการณ์เดียวกันใน FreeBuds 4i ฉะนั้นถือได้ว่า รอบนี้ Huawei สอบผ่าน แบบผ่านฉลุย 100% เหลือเพียงอย่างเดียว คือ Huawei จะสร้างชื่อให้ดังได้มากน้อยแค่ไหนก็เท่านั้นเอง

การใช้พลังงานและแบตเตอรี่

รอบที่แล้วผมบอกว่า FreeBuds 3 สอบตกในเรื่องแบตเตอรี่ เช่นกันครับ FreeBuds 4i ก็ยังคง… “สอบตก” ในเรื่องแบตเตอรี่เหมือนกัน แบบที่ไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงเลย

ผมว่า Huawei น่าจะมีปัญหากับการจัดการพลังงานตอนวางทิ้งไว้จริง ๆ แหละ เพราะถ้านำมาใช้งานจริง ๆ FreeBuds 4i สามารถใช้งานได้นานติด ๆ กัน 3-4 ชั่วโมง หูฟังถึงจะร้อง Battery Low และเมื่อเสียบกลับ ก็ชาร์จได้ประมาณ 5-6 รอบ ถือว่าใช้งานได้เกินเป้า 22 ชั่วโมงที่ Huawei ตั้งใจไว้ แต่ถ้าเมื่อใด มีการวางทิ้งไว้ป๊าบ แบตเตอรี่จะค่อย ๆ หายไปทีละน้อยจนกระทั่งหมด ไม่รู้ว่ากล่องชาร์จไม่มันชาร์จหูฟังอยู่แบบนั้นเรื่อย ๆ หรือเปล่า หรือตัวกล่องยังมีอาการคลายประจุของแบตให้เห็นอยู่กันแน่

ในส่วนของการชาร์จแบต ถือว่ารอบนี้ทำการบ้านและแก้เกมได้ดี เพราะรอบที่แล้ว FreeBuds 3 ทำตัวเหมือนคุณนายเลือกสาย (เหมือน iPad Pro เด๊ะ ๆ) ถ้าสายไม่ผ่าน ก็ไม่เปิดวงจรชาร์จให้ แต่รอบนี้ FreeBuds 4i ทำตัวสำส่อน ใช้งานได้ทุกสายที่มีบนโลก ถือว่าเป็นเรื่องดีนะ เพราะถ้าจนมุมแล้วมีสาย USB-C เส้นเดียว อย่างน้อยก็อุ่นใจว่าได้ชาร์จหูฟังแน่ ๆ และในการชาร์จตัวกล่องชาร์จแบตได้ค่อนข้างไว้ เสียบทิ้งไว้ประมาณ 30 นาที (ด้วยที่ชาร์จ 60W ของ MacBook) แบตก็เต็ม หรือที่ชาร์จปกติเพียง 18W ก็ใช้เวลาไม่นานมากแบตถีงจะเต็ม และในระหว่างชาร์จกล่อง มันก็ช่วยชาร์จหูฟังให้ด้วย เรียกว่าเสียบครั้งเดียว ชาร์จเร็วสองต่อ ชนิดที่เสียบเอาไว้แปปเดียว ก็ดึงหูฟังออกมาใช้งานต่อได้เลย

สรุป "นี่มัน AirPods Pro ใช่ไหมครับเนี่ยยยยยยย"

ก็ยอมรับเลยครับว่า ไอประโยคที่ลอยมาข้างต้นว่าระวังจะลืมทุกสิ่งที่เกี่ยวกับ AirPods อืม.. มันก็จริงนะ เพราะประสบการณ์ของ FreeBuds 4i ที่ราคาเพียง 2,800 บาท กับ AirPods Pro ราคา 9,xxx บาท มันแทบจะไม่ต่างกันเลย คุณภาพเสียงแม้จะตามหลังเพียงน้อยนิด แต่สำหรับคนที่ไม่ได้อะไรกับหูฟังจริง ๆ นี่เป็นผลงานที่น่าชื่นชมชิ้นหนึ่งของ Huawei เลยแหละ ใช้แทนกันได้ในราคาถูกกว่าครึ่งหนึ่ง แถมยังให้ประสบการณ์การฟังที่ดีไม่แพ้ AirPods Pro เลยแม้แต่น้อย

แต่ก็อย่าลืมว่า ณ ตอนนี้เรายังไม่เห็น AirPods รุ่นใหม่ออกสู่ตลาด ฉะนั้น หูฟังรุ่นใหม่ ๆ ที่ออกตอนนี้ ก็ถือได้ว่าเป็นหูฟังที่มีคุณภาพทัดเทียมกับ AirPods ได้อย่างสูสี ซึ่งถ้าถึงวันที่ Apple ออก AirPods ใหม่แล้ว และ AirPods มีคุณสมบัติที่ก้าวเหนือคู่แข่งไปอีกระดับหนึ่ง ถึงตอนนั้นน่าจะมีคนตามได้ยาก และอาจจะต้องใช้เวลาหลักหลายปี กว่าเราจะได้เห็นผลิตภัณฑ์ที่ทัดเทียม AirPods อีกครั้ง

แต่ถ้าเป็นปัจจุบัน การเลือกซื้อหูฟังใหม่ ยังไงวันนี้ก็มองข้าม Huawei ไปไม่ได้แล้วล่ะครับ เป็นตัวเลือกที่ดี แถมราคาก็ดีกว่าเยอะด้วยแหละ : )

ย้ำอีกครั้ง ใครที่อ่านจนจบ และสนใจอยากได้ FreeBuds 4i สามารถหาซื้อได้แล้ววันนี้ในราคา 2,799 บาท มีวางขายที่ตัวแทนจำหน่าย Huawei ทั่วประเทศ, JD Central, Lazada, Shopee และที่ Huawei Official Store

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ศัพท์ทางทหาร military words แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 พจนานุกรมศัพท์ทหาร ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง ไทยแปลอังกฤษ ประโยค lmyour แปลภาษา การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ประปาไม่ไหล วันนี้ ฝยก. ย่อมาจาก หยน ห่อหมกฮวก แปลว่า เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษาจีน ่้แปลภาษา onet ม3 การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 1 ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง ตตตตลก บบบย ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ เขียน อาหรับ แปลไทย เนื้อเพลง ห่อหมกฮวก แปลไทย asus zenfone 2e กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น การประปานครหลวง ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบภาษาอังกฤษ ม.ปลาย พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ชขภใ ชื่อเต็ม ร.9 คําอ่าน ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน นยน. ย่อมาจาก ทหาร บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ฝสธ. ย่อมาจาก มัดหัวใจเจ้าชายเย็นชา 2 ซับไทย มัดหัวใจเจ้าชายเย็นชา 2 เต็มเรื่อง ยศทหารบก เรียงลําดับ ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 รัชกาลที่ 10 ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คอร์ด