เรียน นิติ ทํา งาน อะไร ได้ บ้าง

Posted by SAU TEAM on Apr 2, 2020 2:49:24 PM

เรียนรู้เส้นทางสาย นิติศาสตร์ กับ SAU จบแล้วทำอาชีพอะไรได้บ้าง?

    เมื่อกฎหมายกลายเป็นเรื่องสำคัญ คณะ นิติศาสตร์ จึงกลายเป็นอีกหนึ่งคณะยอดฮิตที่หลายคนเลือกเรียนต่อในระดับมหาวิทยาลัย นอกจากจะสร้างความรู้ด้านกฎหมายให้แล้ว การเรียนในคณะนี้ยังสร้างโอกาสให้คุณสามารถประกอบอาชีพได้หลากหลายไม่ได้มีเพียงแค่อาชีพทนายความหรือผู้พิพากษาเท่านั้น อีกทั้งยังได้รับค่าตอบแทนที่ดีด้วย แล้วอาชีพน่าสนใจเหล่านั้นมีอะไรบ้าง มาดูกันเลย!

   

เรียนจบคณะนิติศาสตร์ นอกจากจะประกอบอาชีพสายกฎหมายที่มีทั้งงานของภาครัฐและเอกชนแล้ว คุณยังสามารถนำความรู้ด้านกฎหมายไปใช้ในการทำงานในสายงานอื่น ๆ ได้ด้วย เช่น ด้านการเงิน, วิชาการ, สังคมสงเคราะห์ และการเมือง เป็นต้น โดยมีอาชีพที่น่าสนใจ ดังนี้

  • นิติกร ก้าวแรกของคนเรียนจบนิติศาสตร์
        นิติกร ทำหน้าที่ดูแลงานทุกอย่างด้านกฎหมายของหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน ไม่ว่าจะเป็นการศึกษา วิเคราะห์ วางแผน เขียนโครงการ วางระเบียบ เสนอความเห็น หรืองานเอกสารที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย โดยผู้ที่จะประกอบอาชีพนี้อาจจะยังไม่ต้องมีใบอนุญาตว่าความหรือตั๋วทนาย ทำให้เป็นอาชีพที่นิยมสำหรับเด็กจบใหม่ ซึ่งค่าตอบแทนที่จะได้เริ่มต้นประมาณ 15,000-18,000 บาท
  • ผู้จัดการและพนักงานฝ่ายบุคคล อีกหนึ่งอาชีพที่น่าสนใจ
        ฝ่ายบุคคล มีหน้าที่สำคัญในการสรรหาแะจัดสรรคบุคลากรเข้ามาทำงาน โดยจะต้องบริหารจัดการ พัฒนา และประเมินผลอย่างเป็นระบบ โดยส่วนมากจะได้ค่าตอบแทนเริ่มต้นประมาณ 17,000 บาทขึ้นไป
  • เจ้าหน้าที่สินเชื่อ สายงานด้านการเงินที่คุณก็ทำได้
         เจ้าหน้าที่สินเชื้อ เป็นตำแหน่งงานที่จะต้องใช้ความรู้ความเข้าใจในด้านกฎหมาย และกฎระเบียบด้านการเงินต่าง ๆ โดยจะทำหน้าที่ดูแลเรื่องของสภาวะลูกหนี้ทั้งหมด พิจารณาการให้สินเชื่อ และแจกแจงข้อกฎหมายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยมีค่าตอบแทนเริ่มต้นประมาณ 15,000-16,000 บาท
  • ที่ปรึกษาด้านกฎหมาย อีกหนึ่งอาชีพสายกฎหมาย
         ที่ปรึกษาด้านกฎหมาย ทำหน้าที่ให้คำปรึกษา และแนะนำด้านกฎหมาย เช่น การทำธุรกรรมทางการเงิน การร่างสัญญาต่าง ๆ เป็นต้น ให้แก่หน่วยงานภาครัฐและเอกชน ซึ่งค่าตอบแทนเริ่มต้นประมาณ 20,000 บาทขึ้นไป โดยจะเพิ่มขึ้นตามประสบการณ์การทำงาน
  • ผู้พิพากษา ผู้ที่นั่งอยู่บนบัลลังก์ศาล
         ผู้พิพากษา มีหน้าที่หลักในการควบคุมการดำเนินคดีในชั้นศาล โดยมีอำนาจในการพิพากษาคดีที่ฟ้องร้องกันในศาลให้เป็นไปตามกฎหมายและรัฐธรรมนูญ ค่าตอบแทนเริ่มต้นประมาณ 50,000 บาทขึ้นไป
  • นักวิชาการและอาจารย์ งานด้านกฎหมายสายวิชาการ
         มีหลายคนเลือกศึกษาต่อในระดับปริญญาโทและปริญญาเอก ต่อยอดความรู้ด้านกฎหมาย เพื่อประกอบอาชีพนักวิชาการและอาจารย์สอนกฎหมายในมหาวิทยาลัย ซึ่งค่าตอบแทนที่ได้เริ่มต้นประมาณ 40,000 บาทขึ้นไป
  • พนักงานอัยการ อาชีพที่หลายคนใฝ่ฝัน
         พนักงานอัยการ มีหน้าที่สำคัญคือ รักษาผลประโยชน์ของรัฐ คุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชน และอำนวยความยุติธรรมในสังคม โดยผู้ที่ประกอบอาชีพนี้จะได้รับค่าตอบแทนสูงถึงหลักแสนเลยทีเดียว
  • ทนายความ อาชีพอิสระที่คนเรียนสายกฎหมายทำได้
         ทนายความ มีหน้าที่สำคัญในการผดุงความยุติธรรม โดยรับปรึกษากฎหมาย ให้บริการด้านกฏหมายอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านให้คำแนะนำต่อลูกความเกี่ยวกับปัญหาอื่นๆของกฎหมายในแง่ของธุรกิจและส่วนบุคคล รวมทั้งเป็นผู้ใช้กฎหมายดำเนินการแทนคู่ความทั้งทางอาญาและแพ่ง โดยค่าตอบแทนอาจสูงถึงหลักแสน หากมีประสบการณ์ในการทำงานมามาก อีกทั้งยังขึ้นอยู่กับงานที่ได้รับด้วย

         นอกจากนี้ ยังมีงานราชการสายยุติธรรมของบรรดากระทรวงต่าง ๆ เช่น เจ้าพนักงานสรรพากร ข้าราชการสำนักงานกฤษฎีกา ตำรวจ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ เจ้าพนักงานคุมประพฤติ ข้าราชการสำนักงานกฤษฎีกา ศุลกากร นายทหารฝ่ายพระธรรมนูญ ปลัดอำเภอ ปลัดเทศบาล ปลัดอบจ. เป็นต้น

         บรรดาอาชีพเหล่านี้ คงจะแสดงให้เห็นชัดเจนแล้วว่า เรียนจบนิติศาสตร์มีอาชีพรองรับที่แน่นอน และมีสายงานค่อนข้างหลากหลาย เพราะความรู้ด้านกฎหมายสามารถนำต่อยอดในการประกอบอาชีพสายอื่น ๆ ได้มากมาย ดังนั้น คณะนิติศาสตร์จึงเป็นอีกหนึ่งคณะน่าเรียนที่มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์เปิดสอน ซึ่งใครที่สนใจสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมหรือสมัครเรียนได้ที่ www.sau.ac.th/

Topics: มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์, SAU, นิติศาสตร์, ทนายความ, นักกฎหมาย

ใครที่กำลังมองหาสาขาวิชาเรียนต่อในมหาวิทยาลัย คณะนิติศาสตร์ น่าจะเป็นอีกหนึ่งสาขาที่หลายคนให้ความสนใจศึกษาต่อ แต่ก็อาจจะสงสัยว่าจบมาแล้วทำงานอะไรได้บ้าง

ก่อนอื่นมาดูกันก่อนดีกว่าว่าเรียนนิติศาสตร์ในมหาวิทยาลัย 4 ปี เรียนอะไรบ้าง การเรียนนิติศาสตร์ จะเป็นการศึกษาเกี่ยวกับกฎหมาย

ในช่วงปี 1 หลักสูตรแต่ละมหาวิทยาลัยส่วนใหญ่จะเน้นการปูพื้นฐานช่วงเทอมแรก ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมาย กฎหมายลักษณะบุคคล เพื่อเป็นการปูทางไว้ต่อยอดในระดับชั้นสูงต่อไป และจะมีวิชาพื้นฐานที่มหาวิทยาลัยกำหนดเอาไว้ให้เรียนด้วย ต่อมาในเทอมสองความเข้มข้นก็จะเริ่มเข้ามา ซึ่งจะมีวิชากฎหมายเพิ่มเข้ามาเยอะพอสมควร หลักๆ จะเป็นกฎหมายแพ่ง และกฎหมายมหาชน แต่ยังมีวิชาพื้นฐานอยู่

ปี 2 วิชากฎหมายเข้ามาแทบจะเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของนักศึกษาคณะนิติศาสตร์ ยังมีวิชาพื้นฐานของมหาวิทยาลัยอยู่แต่น้อยลง จะได้เริ่มเรียนกฎหมายหลากหลายสาขามากขึ้น เช่น กฎหมายอาญาทั้งภาคทั่วไปและภาคความผิด รัฐธรรมนูญ หรือกฎหมายปกครอง

ปี 3 ในปีนี้หากใครที่ผ่านวิชาพื้นฐานหมดแล้วจะเป็นการศึกษากฎหมายล้วนๆ ลึกขึ้นกว่าเดิม และมีวิชาใหม่เข้ามาเช่น กฎหมายวิธิพิจารณาฯ ส่วนกฎหมายแพ่ง กฎหมายปกครองก็จะเริ่มเข้าเนื้อหาลึกขึ้น วิชากฎหมายเกี่ยวกับศาลต่างๆ นอกจากนี้ยังมีกฎหมายระหว่างประเทศเข้ามาด้วย ยังไม่หมดแค่นั้นยังมีสาขาวิชาให้เลือกเรียนด้วย เช่น กฎหมายแพ่ง กฎหมายอาญา กฎหมายธุรกิจ กฎหมายมหาชน หรือกฎหมายระหว่างประเทศ เลือกเรียนได้ตามความต้องการ ในสาขาเลือกเหล่านั้นจะมีกฎหมายต่างๆ มากมายให้เรียน

ปี 4 ซึ่งเป็นปีสุดท้ายของการศึกษา ความเข้มข้นก็ยังคงมีอยู่ แต่จะมีกฎหมายพิเศษต่างๆ มากมายให้เราได้ศึกษา เพื่อเตรียมความพร้อมสู่เส้นทางอาชีพต่อไป

หากนำวิชากฎหมายแต่ละตัวที่ได้เรียน มาแบ่งก็จะสามารถแบ่งออกได้ตามหมวดหมู่ 4 หมวด หรือเรียนว่ากฎหมาย 4 มุมเมือง ดังนี้

1.กฎหมายแพ่งและพาณิชย์

เป็นกฎหมายที่เน้นความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนต่อเอกชนด้วยกัน ตั้งแต่การเกิด ทรัพย์สิน ละเมิด ความสัมพันธ์ในครอบครัว ไปจนถึงตาย และมรดก ซึ่งจะได้ทำการศึกษาทั้งหมด รวมไปถึงกฎหมายที่เกี่ยวกับนิติบุคคล ไม่ว่าจะเป็นห้างหุ้นส่วน หรือบริษัท

2. กฎหมายอาญา

เป็นการศึกษาประมวลกฎหมายอาญาทั้งหมด โดยแบ่งเป็น 2 พาท คือ 1. ภาคทั่วไป จะเป็นการอธิบายว่าการกระทำใดที่จะมีความรับผิดทางอาญา เหตุยกเว้นโทษต่างๆ และ 2. ภาคความผิด เป็นการเรียนรู้ฐานความผิดต่างๆ ตามประมวลกฎหมายอาญา ว่าการกระทำใดเป็นความผิดฐานใด

3. กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

ส่วนใหญ่จะเป็นการศึกษาเกี่ยวกับวิธีการดำเนินคดีทางศาล ศึกษาถึงเขตอำนาจศาล คดีไหนอยู่ศาลไหน ต้องฟ้องที่ศาลใด ใครฟ้องคดีได้บ้าง ในหมวดของกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ศึกษาว่าใครเป็นผู้เสียหาย ซึ่งจะส่งผลไปถึงการฟ้องคดีในศาล รวมไปถึงการค้น การจับ การสอบสวน การสืบสวน การสืบพยานในศาล และกระบวนการพิจารณาในศาล

ส่วนกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง จะเป็นเรื่องการฟ้องคดีแพ่ง กรณีเกิดข้อพิพาทตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ กระบวนการต่างๆ ไปจนถึงการบังคับคดี

บางกฎหมายมีศาลพิเศษขึ้นมาก็จะมีกฎหมายเกี่ยวกับวิธีพิจารณาคดีในศาลนั้นๆ แยกออกไปอีกต่างหาก ส่วนศาลทั่วไปก็จะมีกฎหมายเกี่ยวกับพระธรรมนูญศาลยุติธรรม เพื่อควบคุมว่าคดีใดฟ้องศาลใด ใช้ผู้พิพากษากี่คน ตัดสินอย่างไร

4. กฎหมายอื่นๆ

หลักๆ จะเป็นกฎหมายปกครอง รวมไปถึงรัฐธรรมนูญ และกฎหมายระหว่างประเทศต่างๆ ที่สำคัญ ตั้งแต่ทฤษฎีไปจนถึงตัวบทกฎหมาย

จบ “นิติศาสตร์” ทำงานอะไรได้บ้าง

เมื่อเรียนจบคณะนิติศาสตร์เป็นที่เรียบร้อยแล้ว มีอาชีพมากมายให้เลือกทำ แนวคิดง่ายๆ “ทุกหน่วยงานมีกฎหมายกำกับ” ดังนั้น นักกฎหมายขาดไม่ได้ มาดูดีกว่าว่าทำอาชีพอะไรได้บ้าง

ทนายความ

อาชีพทนายความ คือสายตรงที่เรียนกฎหมายมาทั้งหมดจะได้ใช้อย่างแน่นอน นอกจากนี้ยังจะต้องศึกษากฎหมายอื่นๆ เพิ่มเติมอีกด้วย หน้าที่หลักๆ คือทำหน้าที่ว่าความ และดำเนินกระบวนการในศาล การแก้ต่างให้กับจำเลย หรือฟ้องคดีให้กับโจทก์ รวมถึงจัดทำเอกสารทางกฎหมาย สัญญาต่างๆ

การที่จะเป็นทนายความได้จะต้องมีการสอบในภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ เมื่อผ่านการสอบแล้วจะได้รับใบอนุญาตว่าความ โดยสามารถว่าความได้ทั่วประเทศ

ที่ปรึกษากฎหมาย

อาชีพที่ปรึกษากฎหมายนั้นมีให้เห็นอยู่ไม่มาก ส่วนใหญ่จะมาในชื่ออื่น เช่น นิติกร ซึ่งจะอธิบายต่อไป โดยหน้าที่หลักๆ คือการให้คำปรึกษา แนะนำ ตรวจดูสัญญา เพื่อให้ผู้ว่าจ้างไม่ถูกเอาเปรียบและเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของผู้ว่าจ้าง

นิติกร

เป็นอาชีพแรกเริ่มของผู้จบการศึกษานิติศาสตร์ที่ยังไม่มีใบอนุญาตว่าความ ซึ่งมีทั้งในหน่วยงานของรัฐ และเอกชน หน้าที่ส่วนใหญ่จะเหมือนกับที่ปรึกษากฎหมาย และการศึกษา วิเคราะห์ ร่างแผน เขียนโครงการ ร่างระเบียบ เพื่อเสนอผู้บังคับบัญชาออกคำสั่งให้ผู้ใต้บังคับบัญชา ภายใต้กฎหมาย

อัยการ

เป็นอาชีพที่นักศึกษานิติศาสตร์หลายคนใฝ่ฝันจะประกอบอาชีพนี้ มีหน้าที่อำนวยความยุติธรรม ฟ้องคดีต่อศาลแทนรัฐ ดำเนินกระบวนการทางศาลเหมือนกับทนายความ แต่เน้นรักษาผลประโยชน์ของรัฐเป็นหลัก ส่วนใหญ่จะเน้นหนักในการดำเนินกระบวนการยุติธรรมทางอาญา เป็นอาชีพหนึ่งที่มีค่าตอบแทนสูง

การจะสอบอัยการได้นั้นจะต้องสอบผ่านเนติบัณฑิต และมีประสบการณ์ทางกฎหมายตามที่ได้กำหนดเอาไว้

ผู้พิพากษา

ผู้พิพากษา ถือว่าเป็นจุดสูงสุดของการประกอบอาชีพนักกฎหมายเลยก็ว่าได้ โดยทำหน้าที่ตัดสินคดีความต่างๆ ที่มีการฟ้องร้องมายังศาลยุติธรรม การสอบแต่ละครั้งมีคนสอบได้น้อยมาก ไม่ต้องแข่งกับใคร แข่งกับตัวเองเพียงอย่างเดียว เพราะหากสอบผ่านยังไงก็ถูกเรียกทำงานอย่างแน่นอน ค่าตอบแทนสูงมาก

อาจารย์

อาชีพอาจารย์เป็นอีกอาชีพหนึ่งที่ได้รับความนิยม แต่ว่าอาจจะต้องมีการไปศึกษาเพิ่มเติมในระดับปริญญาโท หรือปริญญาเอก หลังจากจบปริญญาตรีแล้ว เพราะส่วนใหญ่แต่ละมหาวิทยาลัยจะรับสมัครบุคคลที่จบการศึกษาระดับปริญญาโทขึ้นไป

งานราชการอื่นๆ

งานราชการอื่นๆ ที่คนจบนิติศาสตร์ นั้นสามารถไปต่อได้กว้างขวางมาก ไม่ว่าจะเป็น ปลัดอำเภอ ตำรวจ ทหาร พนักงานคุมประพฤติ เจ้าพนักงานบังคดี หรือในกรมต่างๆ เช่น กรมศุลกากร กรมสรรพากร เป็นต้น เรียกได้ว่าอยู่ได้ทุกกระทรวง ทบวง กรม เลยทีเดียว หากมีการเปิดสอบลองดูคุณสมบัติเรื่องวุฒิการศึกษาก็จะเห็น

งานธนาคาร

งานในธนาคารหรือสถาบันการเงิน ก็เป็นอีกหนึ่งอาชีพที่ได้รับความนิยม สำหรับผู้ที่ชื่นสอบสายงานเอกชน ไม่ว่าจะเป็น เจ้าหน้าที่เร่งรัดหนี้สิน เจ้าหน้าที่สินเชื่อ หากผู้ที่จบนิติศาสตร์จะมีทักษะทางกฎหมายมากกว่าผู้ที่จบจากสายอื่น

เป็นอย่างไรกันบ้าง หวังว่าคงจะได้ความรู้ไม่มากก็น้อยว่า เรียน “นิติศาสตร์” นั้นทำงานอะไรได้บ้าง และเรียนอะไรกันบ้าง เพื่อเป็นแนวทางในการเลือกศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัย หรือผู้ที่ต้องการศึกษาเพิ่มเติม

เรียนนิติ ทําอาชีพอะไรได้บ้าง

เรียนจบคณะนิติศาสตร์ทำงานอะไรได้บ้าง.
ทนายความ.
ที่ปรึกษาทางกฎหมาย.
ผู้พิพากษา.
พนักงานอัยการ.
นิติกร.
งานราชการ.
งานธนาคาร.
อาจารย์พิเศษ.

นิติ จุฬา ทํา งานอะไร

ผู้สำเร็จการศึกษาจากคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้แยกย้ายกันไปประกอบอาชีพที่หลากหลาย เช่น เป็นผู้พิพากษา อัยการ ทนายความ อาจารย์สอนวิชากฎหมาย ที่ปรึกษากฎหมาย นิติกร ข้าราชการตามกระทรวง ทบวง กรมต่างๆ ประกอบอาชีพธุรกิจเอกชน นักการเมือง ฯลฯ ได้สร้างผลงานและชื่อเสียงให้เป็นที่ปรากฏแก่วงการต่างๆ ทั้งในระดับชาติและ ...

คณะนิติศาสตร์ต้องเรียนอะไรบ้าง

เรียนเกี่ยวกับกฎหมายปกครอง กฎหมายลักษณะครอบครัว กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง กฎหมายภาษีและวิชาเลือก

นิติศาสตร์ จบมาทํางานอะไร เงินเดือน

เงินเดือนประมาณ 30,000 - 40,000 บาท (ประสบการณ์ 0-5 ปี) ผู้จัดการฝ่ายกฎหมาย (มีประสบการณ์ มากกว่า 5 ปี) เงินเดือนประมาณ 60,000 - 200,000 บาท

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ศัพท์ทางทหาร military words แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 พจนานุกรมศัพท์ทหาร ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง ไทยแปลอังกฤษ ประโยค lmyour แปลภาษา การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ประปาไม่ไหล วันนี้ ฝยก. ย่อมาจาก หยน ห่อหมกฮวก แปลว่า เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษาจีน ่้แปลภาษา onet ม3 การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 1 ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง ตตตตลก บบบย ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ เขียน อาหรับ แปลไทย เนื้อเพลง ห่อหมกฮวก แปลไทย asus zenfone 2e กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น การประปานครหลวง ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบภาษาอังกฤษ ม.ปลาย พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ชขภใ ชื่อเต็ม ร.9 คําอ่าน ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน นยน. ย่อมาจาก ทหาร บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ฝสธ. ย่อมาจาก มัดหัวใจเจ้าชายเย็นชา 2 ซับไทย มัดหัวใจเจ้าชายเย็นชา 2 เต็มเรื่อง ยศทหารบก เรียงลําดับ ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 รัชกาลที่ 10 ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คอร์ด