วิพากษ์วิธีทางประวัติศาสตร์ หมายถึง

วิธีการทางประวัติศาสตร์ หมายถึง กระบวนการสืบค้นเรื่องราวในอดีตของสังคมมนุษย์ เริ่มต้นที่ความอยากรู้อยากเห็นของผู้ต้องการศึกษาและต้องการสอบสวนค้นคว้าหาคำตอบด้วยตนเอง จากร่องรอยที่คนในอดีตได้ทำไว้และตกทอดเหลือมาถึงปัจจุบัน โดยไม่หลงเชื่อคำพูดของใครคนใดคนหนึ่ง หรืออ่านหนังสือเพียงเล่มใดเล่มหนึ่งแล้วเชื่อว่าเป็นจริง สิ่งที่ต้องทำเป็นอันดับแรกของการสืบค้นอดีต เมื่อมีประเด็นที่ต้องการสืบค้นแล้ว คือการเก็บรวบรวมข้อมูลจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์อย่างกว้างขวางและละเอียดลออ ด้วยวิธีการต่างๆ เช่น สอบถามผู้รู้ ศึกษาเอกสาร เรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้ด้วยตนเอง ตรวจสอบข้อมูลจากหลักฐานทุกชิ้นด้วยจิตสำนึกว่า หลักฐานไม่ได้บอกความจริงทั้งหมด หรือบอกความจริงเสมอไป แล้วรวบรวมข้อเท็จจริงที่ได้ จากนั้นนำเสนอผลที่ศึกษาได้พร้อมอ้างอิงหลักฐานให้ชัดเจนเพื่อให้ผู้อื่นตรวจสอบ หรือศึกษาค้นคว้าต่อไปได้

ขั้นตอนของวิธีการทางประวัติศาสตร์ ประกอบด้วย[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

1. การกำหนดหัวข้อเรื่องที่ต้องการศึกษาให้ชัดเจน (เรื่องอะไร ช่วงเวลาใด ที่ไหน)

2. รวบรวมข้อมูลจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ให้ครบถ้วน ครอบคลุม

3.  ตรวจสอบความจริงจากหลักฐาน ที่เรียกว่า การวิพากษ์วิธีทางประวัติศาสตร์

4.  วิเคราะห์ข้อมูลและตีความเพื่อค้นหาข้อเท็จจริง

5.  นำเสนอผลงานความรู้ที่ค้นพบ โดยปราศจากอคติและความลำเอียง

วิธีการทางประวัติศาสตร์กับวิธีการทางวิทยาศาสตร์[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

วิธีการทางประวัติศาสตร์ กับวิธีการทางวิทยาศาสตร์ มีบางส่วนที่คล้ายคลึงกัน และมีบทส่วนแตกต่างกันดังนี้

1. วิธีการทางประวัติศาสตร์มีการกำหนดประเด็นปัญหา เพื่อสืบค้นหาคำตอบ เช่นเดียวกับวิธีการทางวิทยาศาสตร์ที่มีการสร้างสมมติฐานขึ้นแล้วทดลองเพื่อตรวจสอบสมมติฐานนั้น

2. วิธีการทางวิทยาศาสตร์ใช้วิธีการสร้างสถานการณ์ใหม่ หรือ ทดลองเพื่อทดสอบสมมติฐานที่ตั้งขึ้น แต่นักประวัติศาสตร์ไม่สามารถสร้างสถานการณ์ขึ้นใหม่ให้เหมือนกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจริงในอดีตได้  เพราะเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอดีตจะเกิดขึ้นครั้งเดียว มีลักษณะเฉพาะ และไม่สามารถสร้างซ้ำได้อีก แต่นักประวัติศาสตร์จะรวบรวมข้อมูลจากหลักฐานอย่างหลากหลาย ตรวจสอบความน่าเชื่อถือของหลักฐาน จนกระทั่งได้ข้อมูลที่จะสร้างความมั่นใจว่าจะสามารถอธิบายและสรุปเป็นหลักการได้ ดังนั้นแม้นักประวัติศาสตร์จะมิได้เห็นเหตุการณ์นั้นโดยตรง แต่พยายามหาข้อมูลให้มาก เพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงให้ถูกต้องตามความเป็นจริงที่น่าเป็นไปได้ แต่นักวิทยาศาสตร์จะทดสอบหรือทดลองให้ได้ผลสรุปด้วยตนเอง

3. การนำเสนอผลงานของนักวิทยาศาสตร์ และนักประวัติศาสตร์ก็อาศัยหลักการความเป็นไปได้มาคาดคะเน และสรุปผลเช่นกัน แต่ผลสรุปทางวิทยาศาสตร์ จะสามารถนำไปทดลองซ้ำๆ ก็จะได้ผลเช่นนั้นทุกครั้ง แต่ผลสรุปทางประวัติศาสตร์ไม่สามารถนำไปทดลองได้ และมีความแตกต่างที่เป็น “มิติของเวลา” เช่นเดียวกับศาสตร์ทางสังคมศาสตร์อื่นๆ ที่ไม่สามารถควบคุมปัจจัยที่เป็นตัวแปรได้ทั้งหมด

4. ประวัติศาสตร์เป็นศาสตร์ที่ไม่สามารถนิยามคำเฉพาะ เพราะความหมายจะไม่ชัดเจนตายตัวในทุกกาลและเทศะ เช่น ประชาธิปไตยของท้องถิ่นหนึ่ง กับอีกท้องถิ่นหนึ่งจะมีนัยแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับผู้ใช้หรือผู้นิยาม  ซึ่งแตกต่างกับวิทยาศาสตร์ที่สามารถให้นิยามคำเฉพาะที่มีความหมายตายตัวไม่เปลี่ยนแปลงตามเวลา และสถานที่

คุณค่าของวิธีการทางประวัติศาสตร์[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

คุณค่าของวิธีการทางประวัติศาสตร์ ได้แก่

1.  วิธีการทางประวัติศาสตร์เป็นวิธีการวิจัยเอกสารและหลักฐานอื่นๆ ที่เป็นร่องรอยจากอดีตอย่างกว้างขวาง เพื่อให้ได้มาซึ่งความรู้ใหม่บนพื้นฐานของการวิเคราะห์ข้อมูลที่รวบรวมมาอย่างเป็นระบบ และมีเหตุมีผล

            2.  ขั้นตอนการวิพากษ์วิธีทางประวัติศาสตร์หรือการตรวจสอบความจริงจากข้อมูลและหลักฐาน ซึ่งเป็นขั้นตอนของการค้นหาความหมายที่ซุกซ่อนอยู่ในหลักฐานจะทำให้ผู้ศึกษาประวัติศาสตร์ระมัดระวัง และคิดพิจารณาข้อเท็จ และข้อจริงที่แฝงอยู่ในหลักฐานให้ชัดเจน

            3. วิธีการทางประวัติศาสตร์เน้นการเข้าใจอดีต  คือ การให้ผู้ศึกษาเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ต้องทำความเข้าใจยุคสมัยที่ตนศึกษา เพื่อให้เข้าถึงความคิดของผู้คนในยุคนั้น โดยไม่นำความคิดของปัจจุบันไปตัดสินอดีต            

ดูเพิ่ม[แก้ไข | แก้ไขต้นฉบับ]

  • ศักราช
  • วิธีการทางประวัติศาสตร์            

    วิธีการทางประวัติศาสตร์มีอยู่ 5 ขั้นตอน คือ

        1. การกำหนดหัวเรื่องที่ต้องการจะศึกษา

                การศึกษาเรื่องราวในประวัติศาสตร์ ควรเริ่มต้นจากการกำหนดเป้าหมาย เพื่อให้ทราบจุดประสงค์การศึกษาให้แน่ชัด ซึ่งเราจำเป็นจะต้องตั้งคำถามในสิ่งที่ต้องการศึกษา และใช้การอ่านและสังเกตในการตอบคำถาม นอกจากนี้ ก็ควรต้องมีความรู้พื้นฐานทางประวัติศาสตร์ให้มากเพียงพอ เพื่อที่จะสามารถตอบได้ว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนั้นเกิดขึ้นได้อย่างไร

        2. การรวบรวมหลักฐานที่เกี่ยวข้อง

                การรวบรวมหลักฐานที่ต้องการศึกษา มีทั้งที่เป็นหลักฐานลายลักษณ์อักษร และหลักฐานที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร ซึ่งอาจอแบ่งหลักฐานทางประวัติศาสตร์ออกได้เป็น ‘หลักฐานชั้นต้นหรือหลักฐานปฐมภูมิ’ กับ ‘หลักฐานชั้นรองหรือหลักฐานทุติยภูมิ’ ดังต่อไปนี้
    1) หลักฐานชั้นต้น (Primary Sources) เป็นหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์นั้นๆโดยตรง เช่น หลักฐานทางราชการ ประกาศ สุนทรพจน์ บันทึกความทรงจำของผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์ ผู้เห็นเหตุการณ์ วีดิทัศน์ ภาพยนตร์ หรือภาพถ่าย เป็นต้น
    2) หลักฐานชั้นรอง (Secondary Sources) เป็นหลักฐานที่ทำขึ้นจากหลักฐานชั้นต้น บุคคลที่สร้างขึ้นไม่ได้เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์นั้นโดยตรง แต่ได้รับรู้โดยผ่านบุคคลหรือผลงานอื่น
ด้วยเหตุนี้ หลักฐานชั้นต้นจึงมีความสำคัญมากกว่าหลักฐานชั้นรอง อย่างไรก็ตาม หลักฐานชั้นรองจะเป็นตัวช่วยในการอธิบายเรื่องราวให้เข้าใจมากยิ่งขึ้น และเป็นตัวช่วยที่จะนำไปสู่หลักฐานข้อมูลอื่นๆ การค้นคว้าเรื่องราวในประวัติศาสตร์ควรมองให้รอบด้านและระมัดระวัง เนื่องจากหลักฐานทุกประเภทมีจุดเด่นและจุดด้อยที่แตกต่างกัน

        3. การประเมินคุณค่าของหลักฐานที่ได้มา

        ก่อนจะนำหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่ค้นคว้ามาได้มาศึกษา จะต้องมีการประเมินคุณค่าของหลักฐานนั้นเสียก่อน ว่าเป็นหลักฐานที่แท้จริงหรือไม่เพียงใด โดยการประเมินคุณค่าของหลักฐานนี้ อาจเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “การวิพากษ์วิธีทางประวัติศาสตร์” ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 วิธี ได้แก่
    1) การประเมินคุณค่าภายนอกหรือวิพากษ์วิธีภายนอก คือ การประเมินคุณค่าของหลักฐานจากลักษณะภายนอก และเนื่องจากบางครั้งหลักฐานอาจมีการปลอมแปลงให้ผิดไปจากความเป็นจริง หรือเพื่อผลประโยชน์ทางการเมืองหรือการค้า ดังนั้น การประเมินข้อเท็จจริงของเอกสารจึงเป็นสิ่งสำคัญ  โดยการประเมินวิธีภายนอก จะพิจารณาจากสิ่งที่ปรากฏภายนอกเป็นหลัก เช่น การพิจารณาเนื้อกระดาษ ที่สามารถบ่งบอกได้ว่ามีที่มาจากชาติไหน เป็นต้น
    2) การประเมินคุณค่าภายในหรือวิพากษ์วิธีภายใน คือ การประเมินคุณค่าของหลักฐานโดยอาศัยข้อมูลภายในหลักฐานนั้นๆ ไม่ว่าจะเป็น ‘ชื่อบุคคล’ ‘สถานที่’ หรือ ‘เหตุการณ์’ ยกตัวอย่างเช่น หากในหลักฐานเชื่อกันว่าเป็นหลักฐานสมัยสุโขทัย แต่เนื้อหาภายในมีการกล่าวถึงสหรัฐอเมริกา ก็ควรตั้งข้อสงสัยว่าหลักฐานนั้นอาจไม่ใช่หลักฐานสมัยสุโขทัยจริง เนื่องจากประเทศสหรัฐอเมริกายังไม่เข้ามาในสมัยสุโขทัย

        4. การวิเคราะห์ สังเคราะห์ และจัดหมวดหมู่ข้อมูล

            หลังจากแน่ใจแล้วว่าหลักฐานนั้นเป็นของแท้ และให้ข้อมูลที่เป็นจริงตามประวัติศาสตร์ ผู้ศึกษาก็ต้องพิจารณาเพิ่มเติมว่า ข้อมูลทางประวัติศาสตร์นั้นสมบูรณ์มากน้อยเพียงใด หรือข้อมูลนั้นๆมีจุดมุ่งหมายเบื้องต้นอย่างไรบ้าง หลังจากนั้น จึงนำเอาข้อมูลทั้งหลายมาแบ่งหมวดหมู่ตามความเหมาะสม เพื่อให้ง่ายต่อการดำเนินงานขั้นต่อไป
            ขั้นตอนต่อไป คือ การพยายามหาความสัมพันธ์ของประเด็นต่างๆ และตีความข้อมูลนั้นๆว่า มีข้อเท็จจริงอื่นใดที่ยังคงถูกซ่อนและไม่กล่าวถึงอีกบ้าง รวมไปถึงการพิจารณาด้วยว่า ข้อมูลที่ได้มานั้นกล่าวเกินจริงไปหรือไม่ ซึ่งผู้ศึกษาประวัติศาสตร์จำเป็นต้องมีความละเอียดรอบคอบ เป็นกลาง รอบรู้ หรือมีจินตนาการ เพื่อที่จะนำข้อมูลทั้งหมดมาวิเคราะห์เปรียบเทียบ หรือจัดหมวดหมู่ได้อย่างเป็นระบ[

        5. การเรียบเรียงหรือการนำเสนอข้อมูล

            หลังจากดำเนินขั้นตอนมาตามที่กล่าวไว้ข้างต้นแล้ว ก็จะมาจบลงที่การเรียบเรียงหรือการนำเสนอ ซึ่งเป็นขั้นตอนสุดท้ายของวิธีการทางประวัติศาสตร์ ขั้นตอนนี้มีความสำคัญเป็นอย่างมาก เนื่องจากเป็นขั้นตอนที่จะขมวดเอาข้อมูลทั้งหมดเข้าด้วยกัน และนำเสนอให้ตรงกับประเด็นหัวเรื่องที่สงสัย รวมไปถึงการสืบหาความคิดใหม่ที่ได้จากการศึกษาครั้งนี้ เพื่อจำลองเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ที่เคยเกิดขึ้นในอดีต ให้กลับมาใหม่อีกครั้ง
สำหรับขั้นตอนการนำเสนอ ผู้ศึกษาจะต้องอธิบายเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างเป็นขั้นเป็นตอน มีเหตุมีผล และมีข้อมูลสนับสนุนที่น่าเชื่อถือ รวมถึงการปิดท้ายด้วยข้อเสนอแนะ เพื่อนำทางให้ผู้ที่สนใจคนอื่นๆได้ศึกษาต่อไป

credit : www.siam.today/วิธีการทางประวัติศาสตร/

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ศัพท์ทางทหาร military words แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 พจนานุกรมศัพท์ทหาร ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง ไทยแปลอังกฤษ ประโยค lmyour แปลภาษา การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ประปาไม่ไหล วันนี้ ฝยก. ย่อมาจาก หยน ห่อหมกฮวก แปลว่า เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษาจีน ่้แปลภาษา onet ม3 การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 1 ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง ตตตตลก บบบย ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ เขียน อาหรับ แปลไทย เนื้อเพลง ห่อหมกฮวก แปลไทย asus zenfone 2e กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น การประปานครหลวง ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบภาษาอังกฤษ ม.ปลาย พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ชขภใ ชื่อเต็ม ร.9 คําอ่าน ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน นยน. ย่อมาจาก ทหาร บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ฝสธ. ย่อมาจาก มัดหัวใจเจ้าชายเย็นชา 2 ซับไทย มัดหัวใจเจ้าชายเย็นชา 2 เต็มเรื่อง ยศทหารบก เรียงลําดับ ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 รัชกาลที่ 10 ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คอร์ด