เกณฑ์มาตรฐานที่นิยมใช้

คุกกี้พื้นฐานที่จำเป็น เพื่อช่วยให้การทำงานหลักของเว็บไซต์ใช้งานได้ รวมถึงการเข้าถึงพื้นที่ที่ปลอดภัยต่าง ๆ ของเว็บไซต์ หากไม่มีคุกกี้นี้เว็บไซต์จะไม่สามารถทำงานได้อย่างเหมาะสม และจะใช้งานได้โดยการตั้งค่าเริ่มต้น โดยไม่สามารถปิดการใช้งานได้

คุกกี้ในส่วนวิเคราะห์ จะช่วยให้เว็บไซต์เข้าใจรูปแบบการใช้งานของผู้เข้าชมและจะช่วยปรับปรุงประสบการณ์การใช้งาน โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลและรายงานผลการใช้งานของผู้ใช้งาน

คุกกี้ในส่วนการตลาด ใช้เพื่อติดตามพฤติกรรมผู้เข้าชมเว็บไซต์เพื่อแสดงโฆษณาที่เหมาะสมสำหรับผู้ใช้งานแต่ละรายและเพื่อเพิ่มประสิทธิผลการโฆษณาสำหรับผู้เผยแพร่และผู้โฆษณาสำหรับบุคคลที่สาม

เกณฑ์มาตรฐานการเจริญเติบโตและพัฒนาการ from kkkkon

- การดูแลและควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานเป็นสิ่งสําคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงวัยรุ่นที่มีการเปลี่ยนแปลงพัฒนาการทั้งทางร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และพัฒนาการทางเพศ เพื่อดํารงไว้ซึ่งการมีสุขภาพ ที่ดี หากวัยรุ่นมีน้ําหนักที่ไม่ได้มาตรฐานแล้ว ย่อมส่งผลให้เกิด โรคต่างๆ ตามมา เช่น โรคอ้วน โรคขาดสารอาหาร โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ และโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ เป็นต้น ซึ่งแนวทางในการดูแลและควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน สามารถทําได้ ดังนี้

๑) การลดน้ำหนัก การมีน้ําหนักตัวที่มากเกินไปเป็นปัจจัยเสี่ยง ต่อการเกิดโรคต่างๆ ได้ การลดน้ำ

หนักเพื่อให้น้ําหนักอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน จึงเป็นสิ่งสําคัญที่ควรปฏิบัติให้ถูกต้อง ดังนี้ :

๑.๑) การควบคุมอาหาร เป็นวิธีการที่สําคัญวิธีหนึ่งสําหรับ การลดน้ำหนักซึ่งเป็นการควบคุมอาหารที่รับประทานในแต่ละมื้อให้มีปริมาณ เพียงพอแก่ความต้องการของร่างกาย เพื่อให้ได้รับสารอาหารครบถ้วนไม่เกินต่อ ความต้องการของร่างกาย สามารถปฏิบัติได้ ดังนี้

๑. รับประทานอาหารที่มีปริมาณไขมันต่ำ คือ การจํากัดปริมาณอาหาร ประเภทเนื้อสัตว์ และผลิตภัณฑ์นม

ผู้ที่มีน้ําหนักตัวมากเกินไปอาจก่อ ให้ได้สัดส่วนที่เหมาะสม โดยหลีกเลี่ยงการรับประทานเนื้อสัตว์ ให้เกิดปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่างๆ ที่ติดมัน หรือการรับประทานอาหารที่ผ่านกรรมวิธีการทอด แต่ เช่น โรคหัวใจ โรคไขมันในเลือดสูง

และโรคความดันโลหิตสูงได้ รับประทานอาหารที่ใช้การนึ่ง หรือต้มแทน

๒. รับประทานอาหารที่ให้พลังงานต่ำ เช่น ผัก และผลไม้ที่ไม่หวานจัด นมพร่องมันเนย เป็นต้น

๓. ลดอาหารประเภทแป้งขัดสี น้ำตาล ไขมัน และไขมันคุณภาพต่ำ เช่น เนย ไขมันปาล์ม ไขมันสัตว์ เป็นต้น

๔. หลีกเลี่ยงการอดอาหาร เพราะการอดอาหารอาจทําให้เกิดการสูญเสีย ระบบสมดุลในร่างกายได้ ถึงแม้ว่าจะอดเพียงบางมื้อก็ตาม ก็อาจทําให้เกิดอันตรายต่อร่างกายได้ เช่นกัน ดังนั้นการอดอาหารจึงไม่ใช่วิธีที่ถูกต้องสําหรับการลดน้ำหนัก

๕. หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพราะแอลกอฮอล์ลดประสิทธิภาพ ในการเผาผลาญไขมัน นอกจากนี้ยังให้พลังงานสูงถึง ๗ กิโลแคลอรี/กรัม ซึ่งมากกว่าสารอาหารหลัก ประเภทคาร์โบไฮเดรตและโปรตีนเกือบ ๒ เท่า

๑.๒) การใช้ยาลดน้ำหนัก หรือที่เรียกกันว่า ยาลดความอ้วน พบว่ามีผลข้างเคียง และส่งผลเสียต่อสุขภาพหลายอย่าง แพทย์จึงไม่แนะนําให้ใช้ในระยะยาว ซึ่งในการใช้ยาลดความอ้วน

นั้นมีหลักการที่ควรทราบ ดังนี้

๑. ยาที่ช่วยในการควบคุม น้ําหนัก แต่ไม่ได้หมายความว่าจะรักษาโรคอ้วน ให้หายไป โดยเมื่อมีการหยุดยาก็จะทําให้เกิด ผลข้างเคียงที่เรียกว่า โยโยเอฟเฟกต์ (Yoyo Efect) ตามมา คือ จะทําให้มีน้ําหนักที่เพิ่มขึ้น เหมือนเดิม ซึ่งก่อให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพกาย และสุขภาพจิตได้

๒. ยาลดความอ้วนจะใช้ได้

ผลดี ก็ต่อเมื่อมีการใช้ร่วมกับการปรับเปลี่ยน การใช้ยาลดความอ้วนนั้น อาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงและ พฤติกรรมสุขภาพด้านการบริโภค และมีการ ผลเสียต่อสุขภาพหลายอย่าง ซึ่งอาจทําให้เกิดอันตราย ออกกําลังกายร่วมด้วยอย่างสม่ำเสมอ จนถึงขั้นเสียชีวิตได้

๓. ไม่ควรซื้อยาลดความอ้วน หรือตัดสินใจนํามารับประทานเอง ควรอยู่ในความดูแลของแพทย์ เพราะอาจทําให้เกิดอันตราย จนถึงขั้นเสียชีวิตได้

๔. ยาบางชนิดไม่ใช่ยาลดความอ้วน เช่น ยาขับปัสสาวะ ยาระบาย เป็นต้น เป็นยาที่ทําให้น้ำหนักตัวลดลงชั่วขณะ เพราะขับน้ําออกจากร่างกาย จึงทําให้ดูเหมือนว่าน้ําหนัก ตัวลดลง การใช้ยาประเภทนี้ หากรู้เท่าไม่ถึงการณ์อาจเป็นอันตรายแก่ร่างกายได้ )

๕. ไม่ควรใช้ยาลดน้ำหนักในเด็ก

๑.๓) การออกกําลังกาย เป็นวิธีที่ช่วยให้ร่างกายได้ระบายพลังงานที่ได้รับจาก อาหารออกไปจากร่างกาย โดยหลักการออกกําลังกายเพื่อการลดน้ําหนักที่ควรทราบ มีดังนี้ -

๑. ออกกําลังกายอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อยสัปดาห์ละ ๓-๕ ครั้ง ครั้งละ ไม่ต่ํากว่า ๓๐ นาที สําหรับผู้ที่มีน้ำหนักอยู่ในเกณฑ์ปกติ และสําหรับผู้ที่ต้องการลดน้ำหนัก ควรออกกําลังกายแบบแอโรบิก สัปดาห์ละ ๕-๖ ครั้ง ครั้งละ 50 นาที ร่วมกับการควบคุมอาหาร

๒. ออกกําลังกายให้เหมาะสมกับเพศและวัยของตนเอง

๓. หากไม่มีเวลาออกกําลังกาย อาจทํากิจกรรมทดแทน เช่น เดินแทน การนั่งรถ การขึ้นบันไดแทนการใช้ลิฟต์ เพื่อกระตุ้นให้ร่างกายเคลื่อนไหวบ้าง อย่างไรก็ตาม กิจกรรมดังกล่าวไม่อาจสามารถทดแทนการออกกําลังกายได้ทั้งหมด ดังนั้นควรที่จะหาเวลาในการ ออกกําลังกายให้เพียงพอเพื่อเป็นการสร้างเสริมสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง

๔. ปรับเปลี่ยนค่านิยม ความเชื่อผิดๆ เกี่ยวกับการออกกําลังกายที่ว่า การออกกําลังกายจะทําให้หิวเร็วและรับประทานอาหารเพิ่มขึ้น ทําให้ร่างกายอ่อนเพลีย และ ทําให้โครงสร้างกล้ามเนื้อดูไม่สวยงามได้สัดส่วน เป็นต้น

๕. ไม่ควรที่จะหักโหม ต่อการออกกําลังกายมากจนเกินไป ซึ่งในการ ออกกําลังกายทําได้โดยการเล่นกีฬา การบริหาร ร่างกาย การวิ่งเหยาะๆ ตลอดจนการใช้เครื่อง ออกกําลังกายต่างๆ

๑.๔) การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การลดน้ําหนักให้ได้ผลดีนอกเหนือไปจาก การควบคุมอาหารและการออกกําลังกายแล้ว การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมก็นับว่าเป็นสิ่งที่สําคัญ ที่จะช่วยทําให้การลดน้ำหนักเกิดประสิทธิผล มากยิ่งขึ้น

การขึ้นลงบันไดแทนการใช้ลิฟต์ เป็นการออกกําลังกาย อีกวิธีหนึ่ง เพื่อการลดน้ำหนัก

เกร็ดน่ารู้

หลัก ๕ ส เพื่อการลดน้ำหนัก โดยหลักการที่ควรทราบในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมนั้น ใช้หลักการ ๕ ส เพื่อการลดน้ําหนักมี ดังนี้

๑. สัญญา คือ การให้คํามั่นสัญญาโดยการตั้งเป้าหมาย มีจิตใจมั่นคง และมีความเชื่อมั่นในตนเองต่อ การลดน้ําหนักว่าจะต้องทําให้ได้

๒. สะสาง คือ การเก็บกวาดอาหารที่ทําให้เกิดความต้องการรับประทานหรืออาหารที่ชอบออกจาก ตู้กับข้าว ตู้เย็น โดยเลือกเอาไว้แต่อาหารที่ให้พลังงานต่ำ

๓. สุขนิสัย คือ การสร้างสุขนิสัยในด้านการบริโภคให้ถูกต้อง หมั่นชั่งน้ำหนักเป็นประจําเพื่อให้ทราบ ถึงความเปลี่ยนแปลง รวมถึงฝึกการคํานวณพลังงานจากอาหาร ซึ่งอาจจัดโปรแกรมอาหารในแต่ละวันให้ครบ ทุกมื้ออาหาร และจะต้องคํานึงถึงปริมาณแคลอรีในแต่ละวันด้วย โดยเปรียบเทียบได้ดังนี้

คาร์โบไฮเดรต ๑ กรัม ให้พลังงาน ๔ กิโลแคลอรี

โปรตีน ๑ กรัม ให้พลังงาน ๔ กิโลแคลอรี

ไขมัน ๑ กรัม ให้พลังงาน ๕ กิโลแคลอรี

๔. สุขลักษณะ คือ การสร้างและปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อมที่เป็นปัจจัยเอื้อต่อการลดน้ําหนักให้ถูกต้อง เช่น ไม่รับประทานอาหารในห้องนอน หรือขณะดูโทรทัศน์ เป็นต้น

๕. สม่ําเสมอ คือ การปรับปรุงพฤติกรรมตนเองเพื่อการลดน้ำหนักเป็นประจํา โดยไม่ย่อท้อ หรือล้มเลิกความตั้งใจ (ซึ่งถ้าหากย่อท้อ หรือคิดที่จะล้มเลิกความตั้งใจเมื่อใดให้กลับไปดูในข้อที่ ๑.)

๒) การเพิ่มน้ำหนัก แม้ว่าความผอมจะไม่ทําให้เกิดความวิตกกังวลได้เท่ากับ - ความอ้วน แต่ความผอมก็ทําให้เกิดปัญหาด้านสุขภาพได้เช่นกัน โดยเฉพาะคนที่ผอมมากๆ

ดังนั้นหากบุคคลใดที่ผอมจึงจําเป็นต้องมีการ เพิ่มน้ำหนัก เพื่อให้มีน้ำหนักอยู่ในเกณฑ์ มาตรฐาน ดังนี้

๒.๑) ปรับค่านิยมและความเชื่อ ผิดๆ ที่ว่าคนที่มีรูปร่างปกติคือคนที่มีรูปร่างผอม เพราะแท้ที่จริงการมีน้ำหนักน้อยเกินไปนั้น เป็นสาเหตุของการทําให้ร่างกายอ่อนแอ เกิด โรคได้ง่าย

๒.๒) ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การรับประทาน เพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหาร

เพิ่มขึ้น ดังนี้

๑. รับประทานอาหาร ร่างกายและจิตใจดีอีกด้วย

ให้ครบ ๕ หมู่ในแต่ละวัน และมีปริมาณที่ เพียงพอแทนการเพิ่มน้ําหนักด้วยการรับประทานอาหารที่มีไขมัน หรือพลังงานในปริมาณสูง และเป็นประจํา

๒. เพิ่มปริมาณอาหาร ว่างระหว่างมื้ออาหารทุกมื้อ โดยเพิ่มทีละน้อย ในทุกวันของอาหารทุกมื้อ

๓. ควรดื่มนมอย่างน้อย วันละ ๒ แก้ว ให้เหมาะสมตามวัย

๔. ให้ความสําคัญต่อ การศึกษาจํานวนพลังงาน (แคลอรี) ของอาหาร เพื่อจะได้เลือกรับประทานได้อย่างหลากหลายและได้รับพลังงานในปริมาณที่ร่างกายต้องการ

๕. การเพิ่มน้ําหนักที่ดี กิโลแคลอรี ต่อ ๑ ผลควรเพิ่มไม่เกินสัปดาห์ละ ๐.๕-๑ กิโลกรัม

๒.๓) การออกกําลังกาย ควรออกกําลังกายทุกวัน หรืออย่างน้อยสัปดาห์ละ ๓ ครั้ง อย่างน้อยครั้งละ ๓๐ นาที

๒.๔) สร้างสุขภาพจิตที่ดี โดยการทําจิตใจให้ร่าเริงแจ่มใสอยู่เสมอ รวมถึงนอนหลับ พักผ่อนให้เพียงพอ ไม่หมกมุ่น หรือวิตกกังวลเรื่องใดมากเกินไป

๓) การควบคุมน้ำหนัก การควบคุมน้ำหนักเป็นวิธีการรักษาน้ําหนักให้อยู่ในเกณฑ์ มาตรฐานที่คงที่ ไม่อ้วน หรือผอมเกินไปจนต้องลดหรือเพิ่มน้ำหนัก อีกทั้งยังเป็นวิธีการรักษา สุขภาพของตนเองให้แข็งแรง เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรค ดังนั้นการควบคุมน้ำหนักให้คงที่ และอยู่ในระดับที่เหมาะสม จึงเป็นสิ่งสําคัญในการดูแลสุขภาพของตนเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในช่วงของวัยรุ่นซึ่งควรปฏิบัติดังนี้

๓.๑) ด้านโภชนาการและพฤติกรรมการบริโภค มีหลัก ในการปฏิบัติ ดังนี้

๑. รับประทานอาหารให้ตรงเวลา และครบทั้ง ๓ มื้อ

๒. ควรรับประทานให้พออิ่ม ในปริมาณใกล้เคียงกันทุกมื้อ ไม่ควรรับประทานเร็ว เกินไป และควรเคี้ยวช้าๆ

๓. รับประทานอาหารให้ครบ ๕ หมู่ ให้ถูกต้องตามหลักโภชนาการในแต่ละหมู่ โดยเน้น ผักและผลไม้ที่มีใยอาหารและแป้งไม่ขัดขาวในมื้ออาหาร

๔. หลีกเลี่ยงอาหารที่มีรสจัด อาหาร ที่มีไขมันมาก และอาหารสําเร็จรูป ควรเลือกใช้วิธีการปรุง การดื่มน้ำเปล่าอย่างเพียงพอในแต่ละวัน

ช่วยในเรื่องระบบขับถ่ายและยังมีส่วนช่วย อาหารด้วยกรรมวิธีการนึ่ง ต้ม แทนการทอดด้วยน้ำมันต่างๆ จะ

ให้ผิวพรรณดีอีกด้วย

๕. ควรดื่มน้ำเปล่าแทนเครื่องดื่มชนิด อื่นๆ เช่น น้ําอัดลม ชา กาแฟ เป็นต้น

๖ควรมีการคํานวณพลังงานในการรับประทานอาหาร ดังนี้ ๑ เลือกรับประทานอาหารที่มีไขมันไม่ควรเกินร้อยละ ๒๐-๓๐ และเนื้อ นม ไข่ให้ได้ในปริมาณ ร้อยละ ๑๕ ของพลังงานที่กําหนดในแต่ละวัน ส่วนที่เหลือเป็นข้าว แป้ง และน้ำตาลธรรมชาติ

๒ลดปริมาณพลังงานที่รับประทานต่อวัน ร่วมกับการปรับเปลี่ยนการบริโภคนิสัย ตลอดจนเพิ่ม การใช้พลังงานในแต่ละวัน ด้วยการออกกําลังกายหรือทํากิจกรรมต่างๆ แทนการนั่งหรือนอน อยู่เฉยๆ เป็นต้น

๓.๒) ด้านการออกกําลังกาย ปกติร่างกายของคนเรายิ่งอายุเพิ่มขึ้นก็ยิ่งต้องการ พลังงานในปริมาณที่น้อยลง หากเราต้องการควบคุมน้ําหนักด้วยการออกกําลังกายเพียงอย่างเดียว

เราจะต้องทําการออกกําลังกายอย่างหนักและ ต่อเนื่อง ซึ่งเป็นสิ่งที่ทําได้ยาก ดังนั้นจึงต้องมี การออกกําลังกายควบคู่กับการควบคุมอาหาร ไปด้วยถึงจะได้ผลดีที่สุด ซึ่งการออกกําลังกาย ควรปฏิบัติ ดังนี้

    ๑. ควรออกกําลังกาย อย่างน้อยสัปดาห์ละ ๓ ครั้ง อย่างน้อยครั้งละ๓๐ นาที โดยต้องเลือกให้เหมาะสมกับเพศและวัย การทํางานบ้านต่าง ๆ ถือเป็นการออกกําลังกายอย่างหนึ่ง

    ๒. หากไม่สะดวกหรือ ที่มีส่วนช่วยในการสร้างเสริมสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง ไม่มีเวลาในการออกกําลังกาย ควรมีการปฏิบัติ กิจกรรมทดแทน ซึ่งการทํางานบ้านก็ถือว่าเป็นการออกกําลังกายอย่างหนึ่ง ยิ่งได้มีการทําร่วมกับ ครอบครัวด้วยแล้ว ก็ย่อมเป็นผลพลอยได้ในการช่วยสร้างเสริมสัมพันธภาพในครอบครัวควบคู่กันไป

    ๓. กําหนดตารางเวลาในการออกกําลังกายอย่างเคร่งครัด และจริงจัง โดยมีความตั้งใจจริงที่จะควบคุมน้ําหนักให้ได้

๓. การส่งเสริมและพัฒนาตนเองให้เจริญเติบโตสมวัย

การส่งเสริมและพัฒนาตนเองให้เจริญเติบโตสมวัย เป็นการพัฒนาคุณภาพชีวิตของบุคคล ในแต่ละวัยให้เหมาะสม โดยการปลูกฝังพฤติกรรมสุขภาพ เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงความรู้

เจตคติ และมีพฤติกรรมที่ถูกต้อง ตลอดจนทราบ แนวทางการพัฒนาตนเองให้ดีขึ้น เพื่อนําไปสู่ การดํารงชีวิตที่มีความสุข มีดังนี้

    ๑) การรู้จักพฤติกรรมของมนุษย์ มนุษย์แต่ละคนและแต่ละวัยนั้น ย่อมมีพฤติกรรม ที่แตกต่างกัน ดังนั้น การเรียนรู้ ค่านิยม เจตคติ แรงจูงใจ ฯลฯ ต่อพัฒนาการของคน จะช่วยทําให้เราเข้าใจถึงธรรมชาติและพฤติกรรมที่ ไม่เหมาะสมได้ดียิ่งขึ้น

๒) การรู้จักตนเองและผู้อื่น การเข้าใจในตนเอง ความภูมิใจในตนเอง การยอมรับตนเอง การรู้จักปรับปรุงแก้ไขตนเอง การพัฒนาบุคลิกภาพ การอยู่ร่วมกันกับผู้อื่น การสร้างมนุษยสัมพันธ์ที่ดีต่อผู้อื่น การยกย่อง ผู้อื่น ฯลฯ เป็นสิ่งที่จะช่วยทําให้เราสามารถ เข้าใจตนเองและผู้อื่น ตลอดจนยอมรับผู้อื่นได้ ส่งผลให้สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้ อย่างมีความสุข

๓) การทํางานร่วมกัน การอยู่ใน สังคมได้อย่างเป็นสุข ต้องอาศัยการอยู่ร่วมกัน การรู้จักทํางานร่วมกันเป็นหมู่คณะ รู้จักสร้าง กลุ่มทํางาน (Team Work) รู้จักขจัดปัญหา การฝึกทํางานร่วมกันตั้งแต่เด็ก ถือเป็นการส่งเสริมและ ความขัดแย้ง การสร้างภาวะผู้นําและผู้ตามที่ดี พัฒนาตนเองให้สามารถทํางานร่วมกับผู้อื่นได้อย่าง ซึ่งการฝึกการทํางานร่วมกันตั้งแต่วัยเยาว์มีความสุข นอกจากจะเป็นการส่งเสริมการพัฒนาตนเองให้อยู่ร่วมกันกับผู้อื่นได้แล้ว ยังเป็นการช่วยพัฒนา บุคคลในสังคมให้เกิดการแลกเปลี่ยนการเรียนรู้ซึ่งกันและกัน ทําให้สามารถที่จะดําเนินการ แก้ไขปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้อย่างทันท่วงที่ด้วยสันติวิธี โดยไม่ก่อให้เกิดความขัดแย้งซึ่งนําไปสู่ ความรุนแรงได้ในที่สุด

๔) การพัฒนากายและจิต กาย และจิตเป็นสิ่งที่สัมพันธ์กันอย่างลึกซึ้ง แนวทาง ในการส่งเสริมและพัฒนาตนเองให้เจริญเติบโต สมวัยนั้น จําเป็นที่จะต้องพัฒนากายและจิต ควบคู่กัน ด้วยวิธีการต่างๆ เช่น การตรวจ สุขภาพร่างกายประจําปี การออกกําลังกาย การหลีกเลี่ยงสารเสพติด การดูแลทันตสุขภาพ การป้องกันอุบัติภัย ส่วนการพัฒนาจิตก็อาจ ทําได้โดยการฝึกสมาธิ เป็นคนมองโลกในแง่ดี มีอารมณ์ขัน ร่าเริงแจ่มใส และรู้จักจัดการกับ ความเครียดด้วยวิธีการต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการ นอนหลับพักผ่อน การทํางานอดิเรก การปฏิบัติ การนั่งสมาธิเป็นการพัฒนากายและจิตอย่างหนึ่งที่ช่วยส่งเสริมและพัฒนาตนเองให้เจริญเติบโตสมวัย กิจกรรมนันทนาการ เป็นต้น

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ศัพท์ทางทหาร military words แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 พจนานุกรมศัพท์ทหาร ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง ไทยแปลอังกฤษ ประโยค lmyour แปลภาษา การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ประปาไม่ไหล วันนี้ ฝยก. ย่อมาจาก หยน ห่อหมกฮวก แปลว่า เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษาจีน ่้แปลภาษา onet ม3 การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 1 ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง ตตตตลก บบบย ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ เขียน อาหรับ แปลไทย เนื้อเพลง ห่อหมกฮวก แปลไทย asus zenfone 2e กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น การประปานครหลวง ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบภาษาอังกฤษ ม.ปลาย พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ชขภใ ชื่อเต็ม ร.9 คําอ่าน ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน นยน. ย่อมาจาก ทหาร บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ฝสธ. ย่อมาจาก มัดหัวใจเจ้าชายเย็นชา 2 ซับไทย มัดหัวใจเจ้าชายเย็นชา 2 เต็มเรื่อง ยศทหารบก เรียงลําดับ ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 รัชกาลที่ 10 ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คอร์ด