โครง งาน ไค โต ซาน จาก เปลือก กุ้ง

ไคโตซานจากเปลือกกุ้ง


บทที่1

บทนำ

ที่มาและความสำคัญ

       ในแต่ละปีประเทศไทยมีการส่งออก นำเข้าและบริโภคกุ้ง ปูและปลาหมึกเป็นจำนวนมากซึ่งจากสถิติในช่วงปี พ.ศ. 2536 -2543 พบว่าประเทศไทยมีปริมาณมวลรวมของการส่งออกนำเข้า และบริโภคในประเทศสำหรับกุ้ง ปู และปลาหมึก ประมาณ 57000 และ 190000 ตันต่อปี ตามลำดับ ซึ่งปริมาณเหล่านี้จะเป็นดัชนีแสดงถึงปริมาณเหล่านี้จะเป็นดัชนีแสดงถึงปริมาณกากของเหลือที่เกิดขึ้นจะมากตามไปด้วยดังนั้นแนวทางหนึ่งในการแปรรูปกากของเหลือเหล่านี้ให้มีมูลค่าสูงขึ้น คือ การแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ไคตินและไคโตซาน

                จากการศึกษาข้อมูลพบว่า ในชุมชนของเรานิยมรับประทานกุ้งกุลาดำเป็นส่วนใหญ่เพราะหาได้ง่าย และมีราคาถูกส่วนเปลือกกุ้งที่เหลือจากการรับประทานนั้น ถูกมองว่าเป็นเศษอาหารที่ไร้ค่าเพราะไม่มีใครนำมันมาใช้ประโยชน์

                จากการที่เราได้ศึกษาเบื้องต้นเกี่ยวกับสารไคติน ทำให้เรารู้ว่าสารไคตินมีมากในเปลือกของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง เช่น กุ้ง ปู รวมทั้งแมลงต่างๆ และสารไคตินนั้นยังมีประโยชน์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านการแพทย์ ด้านเกษตรกรรม อุตสาหกรรม เป็นต้น จากคำกล่าวข้างต้น ทำให้เราเกิดความคิดขึ้นว่า “มีวิธีการที่จะทำสารไคตินที่อยู่ในเปลือกกุ้งนี้ออกมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดอย่างไร”

จากการที่เราได้รับการศึกษาเบื้องต้นเกี่ยวกับสารไคติน  และได้อ่านงานวิจัยของศาสตราจารย์ จากมหาวิทยาลัยต่างๆเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์จากสารไคติน ไม่ว่าจะเป็นด้านเกษตรกรรม ด้านการแพทย์ ด้านอุตสาหกรรม    ตั้งแต่อยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1  อีกทั้งคุณครูยังเคยกล่าวถึงโครงงานเกี่ยวกับสารไคตินที่สกัดจากเปลือกแมลงสาบ เพื่อเคลือบผิวผลไม้  กลุ่มของเรามีความเห็นตรงกันว่า โครงงานนี้น่าสนใจเป็นอย่างมาก  จึงเป็นแรงผลักดันให้สมาชิกในกลุ่มศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับสารไคตินนี้มากขึ้น  ผลปรากฏว่า  สารไคตินนั้นยังสามารถสกัดได้จากเปลือกของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง เช่น กุ้ง ปู รวมทั้งแมลงปีกแข็งชนิดต่างๆได้อีกด้วย  พอกลับมามองที่ชุมชนของเรา  ซึ่งนิยมรับประทานกุ้งกุลาดำเป็นส่วนใหญ่ เพราะ หาได้ง่าย และมีราคาถูก  ส่วนเปลือกกุ้งที่เหลือจากการรับประทานนั้น ก็กลายเป็นเศษอาหารที่ไร้ค่า  เนื่องจากไม่มีใครนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์   กลุ่มของเราจึงนำความรู้ที่ได้มานั้นมาใช้ โดยเราจะสกัดสารไคตินนี้จากเปลือกกุ้งกุลาดำ แล้วนำมาเคลือบผิวของมะนาว (สาเหตุที่เลือกมะนาวเพราะ มะนาวเป็นผลไม้ที่มีขนาดเล็ก และผู้คนนิยมบริโภคเป็นส่วนมาก)

 วัตถุประสงค์

 1.เพื่อสกัดสารไคตินจากเปลือกกุ้งกุลาดำ

2.เพื่อศึกษาหาอัตราส่วนโดยน้ำหนักของ ไคติน ต่อ NaOH50 %   ที่ดีที่สุดในเปลี่ยนสาร

ไคตินให้เป็นสารไคโตซาน

 3.เพื่อศึกษาหาอัตราส่วนโดยน้ำหนักของไคโตซาน ต่อ สารละลายกรดแอซิติก ที่มีประสิทธิภาพดีที่สุดในการเคลือบผิวมะนาว

สมมติฐาน

                1.อัตราส่วนโดยน้ำหนักของไคติน ต่อ NaOH50 % เป็น 1:90 จะได้สารไคโตซานที่มีปริมาณมากที่สุด

                2.อัตราส่วนโดยน้ำหนักของไคโตซาน ต่อ สารละลายกรดแอซิติกเป็น 1:90 จะมีประสิทธิภาพในเคลือบผิวมะนาวและเก็บรักษาผลมะนาวหลังเก็บเกี่ยวได้นานที่สุด

 ขอบเขตการศึกษา

ตอนที่ 1 การผลิตไคโตซาน

                ตัวแปรต้น : อัตราส่วนโดยน้ำหนักของไคติน ต่อ โซเดียมไฮดรอกไซด์ 50 % มีดังนี้

                1.   1:90

                2.   1:120

                3.   1:150

             ตัวแปรตาม : ปริมาณไคโตซานที่ได้จากการผลิต

             ตัวแปรควบคุม  :  

              1.ความเข้มข้นของกรดไฮโดรคลอริก,โซเดียมไฮดรอกไซด์ที่ใช้ในการผลิตไคติน

              2.อุณหภูมิ

              3.ระยะเวลา

              4.ชนิดของกุ้ง

ตอนที่ 2 การเคลือบผิวมะนาวด้วยไคโตซาน

             ตัวแปรต้น :  อัตราส่วนโดยน้ำหนักของไคโตซาน  ต่อสารละลายกรดแอซิติก  มีดังนี้

      1.   1:90

      2.   1:120

      3.   1:150

      ตัวแปรตาม :   ระยะเวลาในการเก็บรักษาผลมะนาว

      ตัวแปรควบคุม :

      1.อุณหภูมิ

      2.ชนิดของผลไม้(มะนาว)

      3.ความเข้มข้นของสารละลายกรดแอซิติก


ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

      1.ได้ทราบกระบวนการในการสกัดสารไคตินจากเปลือกกุ้ง

      2.ได้อัตราส่วนโดยน้ำหนักของไคติน ต่อ NaOH  ที่ดีที่สุดในการเปลี่ยนไคตินให้เป็นไคโตซาน

      3.ได้ทราบอัตราส่วนโดยน้ำหนักของไคโตซานต่อสารละลายกรดแอซิติก ที่เหมาะสมที่สุดในการเคลือบผิวมะนาวและเก็บรักษาผลมะนาวหลังเก็บเกี่ยวได้นานที่สุด

ระยะเวลาทำโครงงาน

       โครงงานนี้มีระยะเวลา  2 เดือน  เริ่มตั้งแต่ ตุลาคม 2552 – พฤศจิกายน  2552

สถานที่ที่ใช้ในการทำโครงงาน

        ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์  ห้องปฏิบัติการเคมี  กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์  โรงเรียนสกลราชวิยานุกูล

 นิยามศัพท์เฉพาะ

         -ไคติน   คือ  โพลิเมอร์ธรรมชาติ โดยพบเป็นองค์ประกอบของเปลือกแข็งที่หุ้มเซลล์ของรา  ยีสต์  และจุลินทรีย์หลายชนิด  หรือ พบเป็นโครงสร้างแข็งของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง เช่น กุ้ง  ปู  และแมลงทุกชนิด  ซึ่งโครงงานนี้จะสกัดสารไคตินจากเปลือกกุ้งกุลาดำ

        -ไคโตซาน  คือ อนุพันธ์ของไคตินที่ตัดเอาหมู่อะซิทิล  ของน้ำตาล N-acetyl-D-glucosamine ออกตั้งแต่ 50% ขึ้นไป และมีสมบัติในการละลายในกรดอ่อน



บทที่  2เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
 ไคติน และไคโตซาน

ไคโตซาน เป็นสารอนุพันธ์ที่ไม่ละลายน้ำของไคติน ซึ่งสามารถสกัดได้จากเปลือกของกุ้งขนาดกลางและเล็ก กุ้งกร้ามกราม หรือปู มีการวิจัยทางคลินิกวิทยามากว่า 17 ปี ถึงการใช้ไคโตซานเป็นสารลดน้ำหนักธรรมชาติโดยใช้เป็นใยอาหาร(ไฟเบอร์) เพื่อทำให้อืดอิ่ม และใช้ในการทำความสะอาดสำไส้ เรื่อยจนมาถึงปัจจุบัน ไคโตซานมีคุณสมบัติในสมบัติในการดูดซับน้ำมัน คราบไขมันและสารพิษบางชนิด เพื่อทำให้กำจัดได้ง่ายขึ้น ไคโตซานถูกนำมาใช้อย่างกว้างขวางในอุตสาหกรรมอาหาร เครื่องสำอาง รวมทั้งผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร การทดลองของฮาน (Han L. K.) และเพื่อนร่วมงานของเขา (1999) ที่โรงเรียนการแพทย์ในประเทศญี่ปุ่นชี้ให้เห็นว่า ไคโตซานป้องกันการเพิ่มของน้ำหนักตัว ป้องกันภาวะไขมันในเลือดสูง และการมีไขมันสะสมในตับมากอันเนื่องมาจากการบริโภคอาหารที่มีไขมันสูง มีการทดลองที่ทำการเปรียบเทียบการขับไขมันออกจากร่างกาย และคุณสมบัติในการลดน้ำหนักของใยอาหารจากพืชผักหลากหลายชนิดกับไคโตซาน ผลปรากฎว่าไคโตซานให้ผลดีเหนือกว่าใยอาหารอื่นทั้งหมด ไม่เพียงใช้ในอุตสาหกกรมอาหารไคโตซานยังใช้เป็นไหมเย็บบาดแผลและเส้นเลือดที่ขาด นักวิทยาศาสตร์บางท่านได้จัดให้ไคโตซานเป็นหนึ่งในกลุ่มอาหารเพื่อหน้าที่ หรือที่รู้จักกันว่า ฟังก์ชันนอล ฟูด

ไคโตซาน เป็นไบโอโพลิเมอร์ธรรมชาติอย่างหนึ่ง ซึ่งมีองค์ประกอบสำคัญในรูปของ D – glucosamine สามารถพบเจอได้จากธรรมชาติ ซึ่งเป็นองค์ประกอบอยู่ในเปลือกนอกของสัตว์พวก กุ้ง ปู แมลง และเชื้อรา และ เป็นสารธรรมชาติที่ มีลักษณะโดดเด่นเฉพาะตัว คือเป็นวัสดุชีวภาพ ( Biometerials ) สามารถย่อยสลายตามธรรมชาติ ซึ่งมีความปลอดภัยในการนำมาใช้กับมนุษย์โดยไม่เกิดผลเสียและปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อม ไม่เกิดอาการแพ้ ไม่เป็นวัตถุไวไฟและไม่เป็นพิษ ( non– phytotoxic ) ต่อพืช นอกจากนี้ยังส่งเสริมการเพิ่มปริมาณของสิ่งมีชีวิตที่มีประโยชน์ต่อพืชและสัตว์

กุ้ง


จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง ชั้น Crustacea อันดับ Decapoda มีด้วยกันหลายวงศ์ กุ้งเป็นสัตว์น้ำ หายใจด้วยเหงือก ลำตัวยาว แบนหรือกลม แบ่งเป็นปล้องๆ เปลือกที่หุ้มท่อนหัวและอกคลุมมาถึงอกปล้องที่ 8 ส่วนใหญ่กรีมีลักษณะแบนข้าง ก้ามและขาอยู่ที่ส่วนหัวและอก มี 10 ขา มีทั้งในน้ำจืดและน้ำเค็ม โดยปกติชอบหลบซ่อนตัวอยูเงียบ ๆ ตามพื้นน้ำหรือในวอกมือด ๆ จะออกหากินในเวลากลางคืน กุ้งกินทั้งพืชและสัตว์เป็นอาหาร เช่น กิน กุ้งด้วยกันเอง ลูกปลา ไส้เดือน สัตว์หน้าดินขนาดเล็กชนิดต่าง ๆ ข้าว เนื้อมะพร้าวตลอดจนซากสัตว์ สามารถแบ่งออกได้หลายชนิด เช่น กุ้งกุลาดำ กุ้งก้ามกราม กุ้งนาง กุ้งหลวง กุ้งก้ามเกลี้ยง กุ้งตะกาด กุ้งตะเข็บ กุ้งฝอย กุ้งหัวแข็ง กุ้งหัวโขน กุ้งขาว กุ้งรู กุ้งหิน กุ้งดีดขัน กุ้งแชบ๊วย กุ้งเครย์ฟิช


บทที่ 3

วิธีการดำเนินการทดลอง
วัสดุอุปกรณ์และสารเคมี
1.กระดาษกรอง
2.เทอร์มอมิเตอร์
3.บีกเกอร์ขนาด 50 , 100 และ 250 มิลลิลิตร
4.ปิเปต
5.หลอดหยด
6.Hot plate
7.เครื่องคนแม่เหล็ก
8.เครื่องชั่ง 2 ตำแหน่ง
9.เตาอบ(Oven)
10.กรวยกรอง
11.NaOH  2 M
12.HCl     2  M
13.NaOH 50%
       14.ผลมะนาว
15.สารละลายกรดแอซิติก
16. เหล็กคีบ
17.ผ้าเช็ด
18.เปลือกกุ้ง
19.แท่งแก้วคนสาร
20.ขวดรูปชมพู่
21.สารส้ม
22.น้ำกลั่น
 วิธีการทดลอง  แบ่งออกได้เป็น  2 ขั้นตอน
ขั้นตอนที่ 1  การผลิตไคโตซาน
การสกัดสารไคติน
1.การเตรียมวัตถุดิบ
นำเปลือกกุ้งกุลาดำ มาแยกเอาส่วนเนื้อ ไขมัน และขากุ้งออก แล้วนำมาล้างด้วยน้ำสะอาดหลายๆครั้ง  จากนั้นนำไปตากแดดไว้จนแห้ง 
2.การกำจัดแร่ธาตุ
นำเปลือกกุ้งที่ตากไว้จนแห้ง มาแยกแร่ธาตุ  (ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นเกลือแคลเซียมคาร์บอเนต) ด้วยกรดไฮโดรคลอริก ความเข้มข้น 2 M  ปริมาณ 100 มิลลิลิตร คนตลอดเวลา 2 ชั่วโมง ที่อุณหภูมิห้อง(30±2 องศาเซลเซียส) โดยใช้เครื่อง Stirring Hot Plate   หลังจากนั้น ล้างน้ำให้สะอาด แล้วจึงกรองด้วยกระดาษกรองเพื่อเอากากที่ติดอยู่บนผิวของกระดาษกรอง
3.การกำจัดโปรตีน
นำกากของเปลือกกุ้งที่ได้จากการแยกแร่ธาตุ มากำจัดโปรตีนด้วยสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ ที่มีความเข้มข้น 2 M ปริมาณ 100 มิลลิลิตร  คนตลอดเวลา 2 ชั่วโมง ที่อุณหภูมิ 100 องศาเซลเซียส
หลังจากนั้น ล้างน้ำให้สะอาดแล้วกรองด้วยกระดาษกรอง  จะได้สารไคตินอยู่บนผิวของกระดาษกรอง
4.การกำจัดสี
นำสารไคตินที่ได้มากำจัดสีออก โดยใช้เอทานอล 95%  เทกรองผ่านกระดาษกรองและกรวยกรอง
จนกว่าสีใกล้จะหมด  แล้วนำไปอบจนแห้ง    จากนั้นนำไปเปรียบเทียบร้อยละกับสารตั้งต้น
 การเตรียมสารไคโตซาน
นำสารไคตินที่ได้มากำจัดหมู่อะซิทิล  ด้วยสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ 50%  โดยใช้อัตราส่วนโดยน้ำหนัก ของสารไคติน ต่อ โซเดียมไฮดรอกไซด์ 50%เป็น 1:90, 1:120 และ 1:150
จากนั้นคนตลอดเวลา 2 ชั่วโมง ที่อุณหภูมิ 140±10 องศาเซลเซียส ด้วยเครื่อง Stirring Hot Plate
หลังจากนั้นนำไคโตซานที่ได้ไปล้างน้ำ แล้วกรองจนหมดด่าง ขั้นตอนสุดท้ายนำไปอบจนแห้ง 
จากนั้นนำไปเปรียบเทียบร้อยละกับสารไคตินตั้งต้น และเปรียบเทียบร้อยละจากปริมาณเปลือกกุ้งข้างต้น


ขั้นตอนที่ 2 การเคลือบผิวมะนาวด้วยสารละลายไคโตซาน

1.เตรียมสารละลาย ไค โตซานกับสารละลายกรดแอซิติก  โดยใช้อัตราส่วนโดยน้ำหนักที่แตกต่างกัน ดังนี้
1.    1 : 90
2. 1 : 120
3. 1 : 150
2.นำผลมะนาวไปล้างให้สะอาด จากนั้นเช็ดให้แห้งแล้วจุ่มลงในสารละลายที่เตรียมไว้ เป็นเวลา 3 นาที
3.นำไปผึ่งไว้จนแห้ง
4.เก็บมะนาวไว้ที่อุณหภูมิห้อง  สังเกตการณ์เปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับมะนาวทั้ง  4ลูก
5.บันทึกผลการทดลองทุกๆ 2 วัน

ประโยชน์

    ไคโตซานจากเปลือกกุ้งซึ่งนำไปใช้ในกระบวนการเคลือบผิวมะนาว เพื่อให้มีผลสดนานกว่าปกติ  ซึ่งปลอดภัยกว่าใช้สารเคมีในการเคลือบ และต้นทุนในการผลิตถูกกว่าการใช้สารเคมี 
สามารถผลิตเองได้ นั่นก็เป็นผลดีต่อเกษตรกรที่ค้าขายมะนาวและผู้บริโภคอีกด้วย


แหล่งที่มา

ดาวน์โหลดแบบจำลอง 3 มิติ (HTML5)

สามรถเปิดดูแบบจำลอง 3 มิติ นี้ได้โดยการเปิดผ่าน Browser ที่รับรอง HTML5 และ 3D 

เช่น FireFox ...

เปิดไฟล์ 3DLoader.html เพื่อดูแบบจำลอง 3 มิติ 

................................................................


ผู้จัดทำโครงงาน

The TurTer

1)นางสาวกนกกร  ห่อแก้ว  ห้องม.504 เลขที่1



2)นางสาววิชญา  ภักดีพันธ์ ห้องม.504 เลขที่11


3)นายคณากาต์  รอบการ ห้อง ม.504 เลขที่ 17

อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์ :อ.กัลยา  รอดผล


อาจารย์ที่ปรึกษาคอมพิวเตอร์ : อ.จิรัฎฐ์  พงษ์ทองเมือง

โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย นครศรีธรรมราช

Princess Chulabhorn's College,Nakhon Si Thammarat 

(Chulabhorn  Science High  School)


Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ศัพท์ทางทหาร military words แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 พจนานุกรมศัพท์ทหาร ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง ไทยแปลอังกฤษ ประโยค lmyour แปลภาษา การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ประปาไม่ไหล วันนี้ ฝยก. ย่อมาจาก หยน ห่อหมกฮวก แปลว่า เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษาจีน ่้แปลภาษา onet ม3 การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 1 ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง ตตตตลก บบบย ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ เขียน อาหรับ แปลไทย เนื้อเพลง ห่อหมกฮวก แปลไทย asus zenfone 2e กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น การประปานครหลวง ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบภาษาอังกฤษ ม.ปลาย พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ชขภใ ชื่อเต็ม ร.9 คําอ่าน ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน นยน. ย่อมาจาก ทหาร บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ฝสธ. ย่อมาจาก มัดหัวใจเจ้าชายเย็นชา 2 ซับไทย มัดหัวใจเจ้าชายเย็นชา 2 เต็มเรื่อง ยศทหารบก เรียงลําดับ ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 รัชกาลที่ 10 ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คอร์ด