เปลี่ยนงานที่ เงินเดือน ลดลง

หลายๆ คนที่กำลังรู้สึกเหนื่อยและเครียดกับการทำงาน และกำลังตัดสินใจว่าจะเปลี่ยนงานดีหรือทำงานที่เดิมต่อไป งานใหม่จะมาพร้อมความเสี่ยงใหม่ๆ แล้วมันจะดีกับเรามั้ย หรืองานเก่าจะยังเหมาะกับเราอยู่มั้ย ก่อนที่จะย้ายงานกันไป เราจะมาดูว่าการเปลี่ยนงานมาพร้อมข้อดีข้อเสียอะไรบ้าง และปัจจัยต่างๆ ที่ควรต้องคำนึงก่อนจะย้ายงานมีอะไรบ้าง

ข้อดีของการเปลี่ยนงาน

  1. ลดความเครียดลง หากที่ทำงานเดิมไม่เหมาะกับเรา
  2. เพิ่มโอกาสที่จะได้เงินเดือนมากขึ้น
  3. เพิ่มโอกาสที่จะได้เลื่อนตำแหน่ง
  4. อาจจะทำให้มี work-life balance มากขึ้น หากนโยบายบริษัทใหม่เหมาะกับเรา
  5. ได้ทำอะไรใหม่ๆ หรือได้ท้าทายตัวเองมากขึ้น
  6. ได้เรียนรู้สิ่งใหม่ที่มากับงานใหม่

ข้อเสียของการเปลี่ยนงาน

  1. เพิ่มความเสี่ยงที่งานใหม่อาจจะไม่เหมาะกับเรา
  2. จะต้องมีช่วงทดลองงาน หรือ probation period
  3. เพิ่มโอกาสที่อาจจะตกงานได้ หากไม่ผ่านช่วงทดลองงาน
  4. การสัมภาษณ์งานหรือบททดสอบจากงานใหม่ อาจจะทำให้เครียดได้
  5. ต้องปรับตัวกับสิ่งแวดล้อมใหม่ ที่ไม่รู้จะเป็นอย่างไร
  6. หากคุณเป็นคนที่เปลี่ยนงานบ่อยๆ จะทำให้ resume ดูไม่ดีสำหรับการสมัครงานในอนาคต

ปัจจัยที่คุณควรจะต้องคำนึงเมื่อตัดสินใจจะย้ายงาน

  1. ประเมินสถานการณ์ความเครียดที่มาจากที่ทำงานเดิมก่อน ว่ามันเป็นสิ่งที่อาจจะเกิดขึ้นได้บ้างจากการทำงานไม่ว่าที่ไหน หรือเป็นความเครียดที่มากเกินเหตุ เช่นที่ทำงานมี toxic culture หรือ เพื่อนร่วมงานไม่ดี
  2. ลองพิจารณาดูก่อนว่า ปัญหาหรือความเครียดที่เราพบกับที่ทำงานปัจจุบันสามารถแก้ไขได้หรือไม่ หรือสามารถคุยกับหัวหน้างานว่าสามารถปรับเปลี่ยนได้อะไรได้ไหม
  3. ประเมินความสนใจของตัวเอง ว่าเป็นคนชอบทำอะไร มีฝีมือด้านไหน ทำอะไรได้ดีเป็นพิเศษ
  4. หาค่านิยมและเป้าหมายของตัวเองให้พบ

การเปลี่ยนงานอาจจะไม่ใช่คำตอบที่ดีที่สุดเสมอไป หากคุณเพียงแค่รู้สึกเหนื่อยและเครียดจากการทำงาน บางทีการหยุดพักผ่อน การเปลี่ยนทัศนคติเรื่องการทำงาน หรือการได้พูดคุยถึงความไม่สบายใจกับเพื่อนร่วมงานหรือหัวหน้างาน อาจจะช่วยให้คุณผ่านจุดเหนื่อยจุดนี้ไปได้

แต่หากพิจารณาทุกอย่างแล้ว การเปลี่ยนงานคือคำตอบที่ดีที่สุด เราก็ขอให้คุณประสบความสำเร็จกับก้าวต่อไปในอาชีพการงานของคุณ และทรู ดิจิทัล พาร์คก็กำลังจะมีงาน Tech ConNEXT Job Fair 2022: Connecting Your Next Opportunities ที่จะเปิดโอกาสใหม่ให้กับผู้ที่อยากหางานสายเทค จัดขึ้นวันที่ 7-9 กรกฎาคม เวลา 10.00 - 18.00 น. ที่ ทรู ดิจิทัล พาร์ค ติด BTS ปุณณวิถี

ผู้ที่สนใจมางาน กรุณาลงทะเบียนที่ //www.eventpop.me/e/13032/techconnext-job-fair-2022

หนึ่งในปัจจัยสำคัญอันดับต้น ๆ ที่ทำให้คนตัดสินใจเปลี่ยนงาน เห็นจะมีอยู่ไม่กี่เรื่อง ไม่เบื่องานก็เบื่อคน หรือยิ่งทำไปเรื่อย ๆ ยิ่งรู้สึกว่าผลตอบแทนที่ได้ไม่นั้นคุ้มค่า งานเยอะเงินน้อย ทำเกิน Job Description ไปเรื่อย ๆ อย่างไม่มีที่สิ้นสุด ซึ่งตรงนี้ถ้ามองว่าเป็นเรื่องของการได้พัฒนาตัวเอง หรือสั่งสมประสบการณ์ก็ถือว่าเป็นสิ่งที่ดี แต่ถ้าสิ่งเหล่านั้นมากเกินความจำเป็น แถมรายรับไม่สัมพันธ์กับสิ่งกับแรงกายแรงใจ 

เรียกเงินเดือนเพิ่มเท่าไหร่

ในฐานะคนทำงานเองคงต้องเริ่มตั้งคำถามกับสิ่งเกิดขึ้น ว่าเราอยู่ถูกที่ถูกทางหรือไม่?

บางทีการเปลี่ยนงานอาจจะเป็นคำตอบที่คุณกำลังตามหาก็เป็นได้

5 ปัจจัยที่คุณนำมาเรียกเงินเดือนเพิ่มได้

การเปลี่ยนงานเป็นช่องทางของการเรียกเงินเดือนเพิ่มก็จริง แต่ปัจจัยอะไรบ้างละ ที่คุณควรจะนำมาประมวลผลเพื่อแปรออกมาเป็นตัวเลข ว่าควรเรียกเพิ่มในจำนวนเท่าไร มากน้อยแค่ไหนจากงานเดิม ไม่ใช่เรียกไปโดยไม่คำนึงถึงความคุ้มค่าใด ๆ เดี๋ยวจะเป็นการหนีเสือปะจระเข้เอาได้

1. เรตเงินเดือนพื้นฐานของตำแหน่งที่คุณทำ

สิ่งแรกที่คุณต้องนำมาประเมินในการเรียกเงินเดือนเพิ่มคือ “เรตเงินเดือนพื้นฐาน” ในสายงานที่คุณทำ หากไม่รู้จะเริ่มต้นตรงไหนก่อน แนะนำให้ตั้งต้นจากสิ่งนี้เป็นอย่างแรก ลองดูราคากลางในตลาดทั่วไปว่า ปกติแล้วมีเรตอยู่ที่ประมาณเท่าไร เพราะถ้าคุณตั้งสูงไปก็อาจจะทำให้ทางบริษัทที่คุณยื่นสมัครไปลังเลได้ หรือหากตั้งน้อยไป คุณเองก็เป็นฝ่ายเสียโอกาส 

อย่างไรก็ตาม การเรียกเงินเดือนยังมีปัจจัยอื่น ๆ ที่ต้องนำมาพิจารณาควบคู่กันไปด้วย ไม่ได้มีสูตรอะไรตายตัว ถึงคุณเรียกเงินไปสูงแต่หากคุณมีประสบการณ์ แล้วงาน ๆ นั้นต้องอาศัยความเฉพาะด้านแบบลงลึก มีสกิลต่าง ๆ แบบพร้อมทำงาน คุณเองก็สามารถเอา “จุดแข็ง” ส่วนนี้ มาใช้เรียกเงินได้สูงกว่าราคาตลาดได้

2. สวัสดิการต่าง ๆ ของบริษัทใหม่

นอกจาก “ตัวเลขรายได้” ที่คุณต้องพิจารณาแล้ว สวัสดิการและค่าตอบแทนส่วนต่าง ๆ ยังต้องนำมาคิดประกอบกัน บางที่อาจจะแลกมากับระบบการทำงานที่ยืดหยุ่น เน้นการ Work from home หรือทำงานแบบ Hybrid เข้าออฟฟิศ 2-3 วัน เบิกค่าเดินทางและค่าอินเทอร์เนตได้ หรือมีอาหารกลางวันให้รับประทานฟรี รวมถึงสามารถเบิกค่าเรียนคอร์สต่าง ๆ เพื่อพัฒนาตัวเองได้ ซึ่งทั้งหมดนี้เมื่อนำมาคำนวณรวม ๆ แล้ว น่าจะช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายบางส่วนได้ คุณก็อาจจะลดตัวเลขเงินเดือนที่เรียกไปลงได้ 

3. ค่าใช้จ่ายส่วนอื่น ๆ ที่เพิ่มเข้ามา

ส่วนนี้เป็นค่าใช้จ่ายแฝงที่บางคนอาจมองข้าม การย้ายที่ทำงานใหม่ เสมือนเป็นการเปลี่ยนสังคมใหม่ไปในตัว โดยสังคมที่ว่านั้นเป็นเรื่องของค่าเดินทาง ค่าที่พัก ค่าภาษีสังคม ค่ากินค่าอยู่ต่าง ๆ หากออฟฟิศนั้นมีทำเลอยู่ย่านใจกลางเมือง ค่าครองชีพต่าง ๆ ย่อมสูงขึ้นเป็นเงาตามตัว แน่นอนว่าไลฟ์สไตล์และการใช้ชีวิตย่อมเปลี่ยนไป ทั้งเพื่อนร่วมงาน การสังสรรค์ต่าง ๆ สิ่งเหล่านี้เป็น Fix cost ที่ควรนำมาคิดด้วย เพราะมีผลต่อการคิดคำนวณการขึ้นเงินเดือน

4.ค่าประสบการณ์และความเก๋า

ใครที่เพิ่งจบใหม่หรือทำงานมาได้ไม่กี่ปี อาจจะให้น้ำหนักในการพิจารณาข้อนี้น้อยหน่อย เพราะส่วนนี้เป็นเรื่องของประสบการณ์ ความช่ำชองในสายงานล้วน ๆ ยิ่งคุณมีทักษะมาก เรียกว่าคลุกคลีกับงานจนพร้อมเริ่มงานได้ทันทีแบบไม่ต้องเรียนรู้อะไรมาก ยิ่งเป็นจุดแข็งในการเรียกเงินเดือนเพิ่ม 

ทั้งนี้การเรียนเพิ่มเติมและฝึกอบรมในหลักสูตรต่าง ๆ รวมถึงผลงานชิ้นโบแดงอันสุดแสนจะภูมิใจ สามารถนำมาพิจารณาแปรเปลี่ยนเป็นค่าเงินได้เช่นเดียวกัน เพราะทั้งหมดนั้นแสดงถึงคุณค่าและความสามารถของเรา ทั้งยังเป็นการแสดงให้เจ้านายใหม่เห็นว่า เงินเดือนที่เราเรียกไปนั้นเหมาะสมกับความสามารถที่เรามี

5.ลักษณะงานใหม่และความท้าทายที่ต้องทำ

เป็นธรรมดาในโลกธุรกิจ เงินเดือนที่เพิ่มขึ้นย่อมตามมาด้วยภาระงานที่มากขึ้น ยากขึ้นและชาเลนจ์กว่าเดิม คงไม่มีใครเพิ่มเงินเดือนให้คุณง่าย ๆ โดยไม่แลกกับอะไร เพราะฉะนั้นอย่าลืมพิจารณาและสอบถามถึงสโคปงานให้ชัดเจนถี่ถ้วน ก่อนที่คุณจะตัดสินใจย้ายไป 

เนื้องานเป็นอย่างไร มีทีมซัพพอร์ตคุณหรือไม่ หรือคุณเป็นคนเดียวที่ต้อง Hold งานนี้เองทั้งหมด ดูแล้วต้องใช้ความทุ่มเทในการทำงานสูงกว่างานเก่ามากน้อยแค่ไหน เพราะรายละเอียดเหล่านั้น เป็นสิ่งที่คุณต้องนำมาประเมินถึงความคุ้มค่ากับเงินเดือนที่จะเรียกไปด้วย ในทางกลับกัน หากคุณมองว่าความท้าทาย หรืออะไรที่ชาเลนจ์ เป็นสิ่งที่ทำให้คุณเติบโตในสายงาน หรือเป็นโอกาสที่ดีได้เรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ อาจจะพอมองข้ามเรื่องเหล่านี้ได้

วิธีคำนวณเงินเดือนใหม่ที่ควรเรียก

เมื่อไตร่ตรองทั้ง 5 ปัจจัยด้านบนมาอย่างรอบด้านแล้ว ถึงเวลาเข้าสู่เรื่องของตัวเลขกันบ้าง ปกติแล้วอัตราการเรียกเงินเดือนเมื่อย้ายงานใหม่ จะอยู่ราว 10-30% ของเงินเดือนเก่า โดยเงินเดือนเก่าที่ว่านั้นรวมรายได้ทั้งหมดที่คุณได้รับ ทั้งฐานเดือนและค่าคอมมิชชัน หรือรายได้อื่น ๆ ที่คุณได้รับจากทางบริษัท

สูตรที่ JobsDB นำเสนอคือ เงินเดือนปัจจุบัน x 12 (เดือน) กรณีมีโบนัสประจำ ให้นำมาคิดรวมกับเงินเดือน เช่น เงินเดือน 20,000 บาท มีโบนัสประจำ 3 เดือน ก็จะเป็น 20,000 x 15 = 300,000 บาท ก็จะเท่ากับเงินเดือนทั้งปีของเรา 

สำหรับใครที่มีเงินพิเศษ เบี้ยเลี้ยงอื่น ๆ ที่จ่ายไม่เท่ากันในแต่ละครั้ง ให้นำเงินพิเศษส่วนนี้มารวมกันทั้งหมดแล้วหารจำนวนปีที่เราทำงาน เช่น คุณทำงาน 3 ปี มีโบนัสพิเศษตามนี้ 10,000+20,000+20,000 = 50,000 หาร  3 จะได้ 16,667 แล้วค่อยนำยอดที่ได้มารวมกับเงินเดือนทั้งปีของเรา แล้วหารด้วย 12 เดือน 

จะได้ 300,000 (รายได้หลักแต่ละปี) + 16,667 (รายได้พิเศษ )= 316,667 / 12 = 26,388 และนี่คือเงินเดือนขั้นต่ำที่เราควรได้รับ

สุดท้ายนี้อย่าลืมนำค่าใช้จ่ายที่เพิ่มเข้ามา อย่างการเดินทาง ค่ากินค่าอยู่ ค่าภาษีสังคมอื่นใด มาหักลบเพิ่มเติมในตัวเลขของเงินเดือนที่เรียกไปด้วย รวมถึงสวัสดิการและค่าตอบแทนต่าง ๆ ที่จะได้เพิ่มมา หากหักลบดูแล้วคุณพอใจที่ตัวเลขเท่าไร ก็ยืนไปได้เลย 

เข้าใจว่าอะไรที่เกี่ยวกับตัวเลขเป็นอะไรที่ชวนปวดหัวอยู่ไม่น้อย แต่พอเป็นเรื่องค่าตอบแทน JobsDB อยากให้ทุกคนได้ค่าตอบแทนที่เหมาะสม ที่สำคัญการประเมินเงินเดือนไว้คร่าว ๆ ยังเป็นการเตรียมพร้อมรับโอกาสดี ๆ อยู่เสมอ 

ค้นหาตำแหน่งงานเงินเดือนดีได้ที่ JobsDB แอปพลิเคชันหางานที่ให้คุณเจองานใหม่ง่าย ๆ แค่ปลายนิ้ว

ดาวน์โหลดได้แล้ววันนี้ทั้ง iOS และ Android

เลือกงานที่ใช่ ใช้ชีวิตที่ชอบ ด้วยการค้นหางานที่ง่ายและรวดเร็ว พร้อมทั้งจัดการเรซูเม่อย่างมีประสิทธิภาพ ให้คุณอัปโหลด ดู และลบได้ทุกเมื่อที่ต้องการ เพลิดเพลินไปกับประสบการณ์การใช้งานแสนง่าย ด้วยระบบ AI ใหม่ ช่วยค้นหางานที่ตรงใจมากขึ้นถึง 6 เท่า​
ทางแก้…เมื่อพนักงานเงินเดือนตัน
5 วิธีฟื้นตัวหากโดนลดเงินเดือนช่วงโควิด

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ศัพท์ทางทหาร military words แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 พจนานุกรมศัพท์ทหาร ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง ไทยแปลอังกฤษ ประโยค lmyour แปลภาษา การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ประปาไม่ไหล วันนี้ ฝยก. ย่อมาจาก หยน ห่อหมกฮวก แปลว่า เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษาจีน ่้แปลภาษา onet ม3 การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 1 ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง ตตตตลก บบบย ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ เขียน อาหรับ แปลไทย เนื้อเพลง ห่อหมกฮวก แปลไทย asus zenfone 2e กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น การประปานครหลวง ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบภาษาอังกฤษ ม.ปลาย พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ชขภใ ชื่อเต็ม ร.9 คําอ่าน ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน นยน. ย่อมาจาก ทหาร บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ฝสธ. ย่อมาจาก มัดหัวใจเจ้าชายเย็นชา 2 ซับไทย มัดหัวใจเจ้าชายเย็นชา 2 เต็มเรื่อง ยศทหารบก เรียงลําดับ ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 รัชกาลที่ 10 ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คอร์ด