การศึกษารายกรณี พฤติกรรม ซึม เศร้า

We’ve updated our privacy policy so that we are compliant with changing global privacy regulations and to provide you with insight into the limited ways in which we use your data.

You can read the details below. By accepting, you agree to the updated privacy policy.

Thank you!

View updated privacy policy

We've encountered a problem, please try again.

รายงานการศึกษาเด็กเป็นรายกรณีปีการศึกษา 2548

 ชื่อผู้รับการศึกษา                 เด็กชายดี  มีสุข (นามสมมุติ)สาเหตุที่ศึกษา                      ต้องการปรับพฤติกรรมเงียบขรึม ซึมเศร้า ไม่ร่าเริง ของนักเรียนช่วงเวลาการศึกษา             วันที่ 16 พฤษภาคม ถึง 31 สิงหาคม 2548 รวม 3 เดือน 16 วันประวัตินักเรียนด้านต่าง ๆ โดยย่อ                ประวัติส่วนตัวและครอบครัว                อายุ 13 ปี เรียนอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/10 เป็นเด็กรูปร่างค่อนข้างผอม ผิวดำแดง หน้าตาอยู่ในเกณฑ์ดี แต่งกายถูกต้องตามระเบียบของโรงเรียน สีหน้าแววตาเรียบเฉยไม่ยิ้มแย้มไม่ค่อยยอมพูดจากับใคร                พ่อเสียชีวิตตอนนักเรียนอายุ 10 ขวบ ด้วยโรคเอดส์(จากการสืบทราบประวัติเชิงลึกหลังจากดูข้อมูลการมอบตัวซึ่งมีใบมรณะบัตรของพ่อนักเรียน) แม่ทำงานโรงงานและได้ย้ายไปทำงานที่ไต้หวัน เป็นลูกคนเดียว  เด็กชายดีต้องอาศัยอยู่กับยายและน้า ซึ่งน้าก็มีลูกหลายคนแต่ก็เลี้ยงดูเด็กชายดี ด้วยความรักและสงสาร แต่ไม่มีเวลาพูดคุยกับเด็กชายดีมากนัก ส่วนลูกของน้า 3 คน ก็ อายุห่างกับเด็กชายดี มากคือคนโตอายุ 2 ขวบ คนเล็กอายุ 1 ขวบ                ในด้านการศึกษาจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ด้วยคะแนนค่อนข้างดี โดยมีคะแนนเฉลี่ยสะสม3.50 ชอบเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์ เพราะไม่ชอบท่องจำ                ในด้านสุขภาพ เด็กชายดี สูง 145 เซนติเมตร น้ำหนัก 29 กิโลกรัม ซึ่งผอมมาก แต่ไม่มีโรคประจำตัวและไม่มีประวัติการเจ็บป่วยใด ๆ                ในด้านสังคม เด็กชายดีเป็นเด็กเงียบมาก ไม่ยิ้มแย้มไม่ค่อยยอมพูดจากับใครง่าย ๆ บางครั้งนั่งเหม่อลอย ชอบเดินคนเดียว ไม่มีเพื่อน จากการสัมภาษณ์ครูประจำวิชาทุกวิชา และเพื่อน ๆบอกตรงกันว่าเด็กชายดีมีความรับผิดชอบส่งงานครูทุกคนครบทุกครั้ง แต่ไม่ยอมตอบคำถามต่าง ๆ ในชั้นเรียน ซึ่งหากให้ตอบลงกระดาษจะทำได้ดีการวินิจฉัย                จากข้อมูลต่าง ๆ ที่ได้พอสรุปได้ว่าเด็กชายดี มีปัญหาด้านการปรับตัว คือ มีพฤติกรรมเงียบเฉย ไม่ร่าเริงตามวัย เพราะมีปัญหาทางจิตใจเนื่องจากทราบสาเหตุการตายของพ่อและกังวลกับแม่ที่อาจได้รับเชื้อเอดส์ แต่ด้วยความเป็นเด็กเงียบอยู่ก่อนแล้ว ยิ่งเงียบเพิ่มขึ้นอย่างน่ากลัวเพราะไม่ทราบว่าเด็กชายดี คิดอะไรอยู่ การช่วยเหลือ1. เยี่ยมบ้านเด็กชายดี 4 ครั้ง ให้ความใกล้ชิดสนิท สนม เพื่อสร้างความไว้วางใจ สร้างความคุ้นเคย จนให้เด็กชายดี รู้สึกไว้ใจ และเรียกมาพูดคุยอย่างสม่ำเสมอ ทำให้เด็กชายดี พูดคุยด้วยมากขึ้น และยอมรับว่ามีปัญหาในใจเรื่องสาเหตุการตายของพ่อและกังวลกับแม่ที่อาจได้รับเชื้อเอดส์                2. ตัดสินใจโทรศัพท์พูดคุยปัญหาของเด็กชายดีให้แม่ที่ทำงานไต้หวันทราบและให้แจ้งความจริงกับลูก ซึ่งในเบื้องต้นแม่ตกใจเพราะปกปิดเป็นความลับของครอบครัว จึงแจ้งว่าเด็กชายดี ทราบเรื่องการตายของพ่อ และพอจะรับรู้ว่าโรคเอดส์ อาจติดต่อไปถึงแม่จึงกังวลมาก ทราบจากแม่ว่าหลังจากทราบว่าก่อนสามีไปมีความสัมพันธ์กับผู้ติดเชื้อก็แยกกันอยู่แล้ว แต่ก็ไม่ได้ห้ามสามีเข้าบ้านและได้ตรวจร่างกายพบว่าไม่มีเชื้อเอดส์ แต่คิดว่าเป็นเรื่องไม่ดีเลยไม่ได้พูดให้ลูกฟัง ได้แนะนำให้แม่บอกความจริงลูกจะได้หายกังวลและสามารถมีพัฒนาการได้เต็มที่ แม่จึงให้น้านำใบผลการตรวจให้ลูกชายดูและโทรศัพท์พูดคุยกับลูกชาย รวมทั้งพยายามหาเวลาโทรศัพท์มาหาลูกชายบ่อยครั้งมากขึ้น                3. คัดเลือกนักเรียนในห้องที่มีมนุษยสัมพันธ์ดีและเป็นเพื่อนที่เด็กชายดี ไว้วางใจคอยดูแลให้ความใกล้ชิดเป็นพิเศษ คือ เด็กชายยอดชาย (นามสมมุติ) โดยบอกว่าเด็กชายดี คิดถึงแม่มาก เพื่อนเหงา ว้าเหว่ ต้องช่วยครูดูแลอย่างใกล้ชิด4. ทุกวันช่วงเข้าแถวเคารพธงชาติ ผู้ศึกษาจะไปจับมือ จับแขน หรือโอบกอด เด็กชายดี เพื่อสร้างความอบอุ่นสบายใจ และขณะเดียวกันก็ปฏิบัติกับนักเรียนทุกคน เพื่อนักเรียนจะได้ไม่ริษยากันการติดตามผล1.       สอบถามพฤติกรรมจากครูประจำวิชา2.       ผู้ศึกษาสังเกตพฤติกรรมด้วยตนเอง3.       สอบถามพฤติกรรมจากเพื่อนในห้องเรียนการสรุปและข้อเสนอแนะ                จากการติดตามผล พบว่าเด็กชายดี แม้จะเงียบขรึมบางครั้งแต่ก็ยอมพูดคุยกับครูคนอื่น ๆ และเพื่อนมากขึ้น น้ำหนักเพิ่มขึ้น 3 กิโลกรัม อาการเหม่อลอยลดลง อย่างชัดเจน จนไม่มีอาการเหมอลอย แววตาสดใสมากขึ้นและมีรอยยิ้ม เสียงหัวเราะบ้าง แม้จะไม่มากเท่าเพื่อนคนอื่น ๆ แต่ผู้ศึกษาก็ดีใจและพยายามจะดูแลช่วยเหลือพัฒนาต่อไป จนกว่าเด็กชายดี จะไปเรียนต่อที่โรงเรียนอื่น                การทำให้นักเรียนรักและไว้วางใจเป็นบันไดขั้นแรกของการแก้ปัญหาต่าง ๆ แม้ว่าปัญหานั้นดูเหมือนจะยากต่อการแก้ไข                                                                 ลงชื่อผู้ศึกษา                                                                                         (นางอภินันท์  สีสันต์)                                                                                                 ครูที่ปรึกษา

รายงานการศึกษาเด็กเป็นรายกรณีปีการศึกษา 2549

 ชื่อผู้รับการศึกษา                 เด็กชายสุข  มีดี (นามสมมุติ)สาเหตุที่ศึกษา                      ต้องการปรับพฤติกรรมก้าวร้าว ของนักเรียนช่วงเวลาการศึกษา               วันที่ 1 มิถุนายน  ถึง 31 กรกฎาคม  2549 รวม  2 เดือน ประวัตินักเรียนด้านต่าง ๆ โดยย่อ                ประวัติส่วนตัวและครอบครัว                อายุ 13 ปี เรียนอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/5 เป็นเด็กรูปร่างล่ำสัน ผิวดำแดง หน้าตาอยู่ในเกณฑ์ดี แต่งกายไม่ค่อยถูกต้องตามระเบียบของโรงเรียน สีหน้าแววตาหยาบกระด้าง ชอบพูดคำหยาบและรังแก เพื่อน ๆ คบนักเรียนรุ่นพี่ที่มีปัญหา                พ่อไม่ทราบไปไหน แม่รับราชการครู มีสามีและลูกใหม่ 2 คน กับสามีที่เป็นตำรวจ เด็กชายสุข  เป็นลูกคนเดียวกับพ่อคนแรก  เด็กชายสุข  ต้องอาศัยอยู่กับยายและตา  ซึ่งตาเป็นครูเกษียณแล้ว ตามใจเด็กชายสุข  ทุกอย่าง ส่วนยายก็กลัวตามากไม่กล้าว่ากล่าวดูแลมากนัก นอกจากให้เงิน แม่ก็ไม่มาดูแลเด็กชายสุข  เพราะต้องดูแลลูกใหม่ 2 คน                ในด้านการศึกษาจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ด้วยคะแนนปานกลาง โดยมีคะแนนเฉลี่ยสะสม2.15 ชอบเรียนวิชาพลศึกษา ส่วนวิชาอื่น ๆ ไม่ชอบ  เพราะไม่ชอบท่องจำ และไม่สนุก                ในด้านสุขภาพ เด็กชายสุข สูง 155 เซนติเมตร น้ำหนัก 47 กิโลกรัม ซึ่งดูล่ำสัน แข็งแรง ไม่มีโรคประจำตัวและไม่มีประวัติการเจ็บป่วยใด ๆ                ในด้านสังคม เด็กชายสุข เป็นเด็กช่างพูด พูดจาหยาบคาย ชอบเกเรเพื่อนทั้งในห้องเดียวกันและต่างห้อง คบนักเรียนรุ่นพี่ที่มีปัญหา เป็นที่รังเกียจของเพื่อน ๆ และมักถูกครูประจำวิชาตำหนิ  จากการสัมภาษณ์ครูประจำวิชาทุกวิชา และเพื่อน ๆบอกตรงกันว่าเด็กชายสุขมีพฤติกรรมก้าวร้าว พูดจาไม่สุภาพ ชอบรังแกเพื่อน และไม่สนใจเรียนการวินิจฉัย                จากข้อมูลต่าง ๆ ที่ได้พอสรุปได้ว่าเด็กชายสุข มีปัญหาด้านการปรับตัว คือ มีพฤติกรรมก้าวร้าว เกเร เพราะมีปัญหาทางจิตใจเนื่องจากพ่อทิ้ง แม่ไม่สนใจ ตา ยาย เลี้ยงอย่างตามใจเพื่อชดเชยและกำลังเริ่มเปลี่ยนสังคมใหม่จากประถมมาอยู่มัธยม จึงเรียกร้องความสนใจจากคนรอบข้างด้วยพฤติกรรม ดังกล่าว การช่วยเหลือ1. เยี่ยมบ้านเด็กชายดี 5 ครั้ง เพื่อขอความร่วมมือตา และยาย ให้แก้ปัญหา ร่วมกันเพื่ออนาคตของหลาน                2. พบแม่ เพื่อพูดคุยปัญหาของเด็กชายสุข ให้ทราบและขอความร่วมมือให้ดูแลเด็กชายสุขมากขึ้น โดยแนะนำว่าควรพบลูกอาทิตย์ละครั้งเป็นอย่างน้อยและโทรศัพท์พูดคุยหรือพาลูกไปเที่ยวบ้างตามโอกาสสมควร                3. ทำสัญญาทางการเรียนกับเด็กชายสุข                 4. คัดเลือกนักเรียนในห้องที่เด็กชายสุข ไว้วางใจคอยดูแลให้ความใกล้ชิดเป็นพิเศษ คือ เด็กหญิงยอดหญิง* (นามสมมุติ) โดยบอกว่าเด็กชายสุข มีปัญหาต้องการเพื่อนที่ยอมรับ และดูแลตักเตือนเรื่องการเรียน การส่งงาน ให้ครบ5. ทุกวันช่วงเข้าแถวเคารพธงชาติ ผู้ศึกษาจะไปจับมือ จับแขน หรือโอบกอด เด็กชายสุข เพื่อสร้างความอบอุ่นสบายใจ และขณะเดียวกันก็ปฏิบัติกับนักเรียนทุกคน เพื่อนักเรียนจะได้ไม่ริษยากันการติดตามผล1.       สอบถามพฤติกรรมจากครูประจำวิชา2.       ผู้ศึกษาสังเกตพฤติกรรมด้วยตนเอง3.       สอบถามพฤติกรรมจากเพื่อนในห้องเรียนการสรุปและข้อเสนอแนะ                จากการติดตามผล พบว่าเด็กชายสุข แม้จะยังพูดจาหยาบคายบางครั้งเพราะความเคยชินแต่พฤติกรรมเกเร หนีเรียน ลดลงอย่างชัดเจน แม้จะไม่ดีเท่าเพื่อนคนอื่น ๆ ในชั้นเรียน แต่ผู้ศึกษาก็   ดีใจที่แก้ปัญหาได้บางส่วน และพยายามจะดูแลช่วยเหลือพัฒนาต่อไป                 การแก้ปัญหานักเรียนต้องได้รับความร่วมมือจากผู้ปกครอง เพื่อน ๆ ในห้องเรียน และตัวนักเรียนเอง แม้ปัญหานั้นจะยากต่อการแก้ไข ก็สามารถแก้ไขให้ลุล่วงได้แม้บางส่วนก็ยังดีกว่าให้ปัญหานั้นเพิ่มพูน                                                                                                  ลงชื่อ                                                     ผู้ศึกษา                                                                                                                (นางอภินันท์  สีสันต์)                                                                                                                          ครูที่ปรึกษา 

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ศัพท์ทางทหาร military words แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 พจนานุกรมศัพท์ทหาร ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง ไทยแปลอังกฤษ ประโยค lmyour แปลภาษา การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ประปาไม่ไหล วันนี้ ฝยก. ย่อมาจาก หยน ห่อหมกฮวก แปลว่า เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษาจีน ่้แปลภาษา onet ม3 การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 1 ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง ตตตตลก บบบย ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ เขียน อาหรับ แปลไทย เนื้อเพลง ห่อหมกฮวก แปลไทย asus zenfone 2e กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น การประปานครหลวง ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบภาษาอังกฤษ ม.ปลาย พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ชขภใ ชื่อเต็ม ร.9 คําอ่าน ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน นยน. ย่อมาจาก ทหาร บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ฝสธ. ย่อมาจาก มัดหัวใจเจ้าชายเย็นชา 2 ซับไทย มัดหัวใจเจ้าชายเย็นชา 2 เต็มเรื่อง ยศทหารบก เรียงลําดับ ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 รัชกาลที่ 10 ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คอร์ด