การแต่งกายสมัยอยุธยา ผู้หญิง

การแต่งกายตามกฎมณเฑียรบาล เป็นแบบของเจ้านาย ข้าราชการชั้น ผู้ใหญ่ ทั้ง ผู้ชายและผู้หญิงตลอดจนพวกมีฐานะจะแต่งตามไปด้วย ผู้หญิงยังมีการเกล้ามวยอยู่

  • การแต่งกายแบบชาวบ้าน (ระยะกลางของสมัยอยุธยา) มีการนุ่งโจงกระเบนทางแถบ เมืองเหนือ ผู้ชายอาจไว้ผมยาว ส่วนทางใต้ลงมาตัดผมสั้น ลง ครั้นสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ได้มีการไว้ผมมหาดไทย ผู้หญิงยังคงไว้ผมยาวนิยมห่มสไบ

  • ยุคสงคราม (สมัยอยุธยาตอนปลาย) ทั้งผู้ชายและผู้หญิงต้องช่วยกันต่อสู้กับศัตรู ผู้หญิงตัดผมสั้น ลง เพื่อปลอมเป็นผู้ชาย และสะดวกในการหลบหนี เสื้อผ้าอาภรณ์จึงตัดทอน ไม่ให้รุ่มร่าม เป็นอุปสรรคต่อการเคลื่อนที่และเคลื่อนไหว มีการห่มผ้าตะเบงมานคือห่มไขว้กัน บริเวณหน้าอกแล้วรวบไปผูกไว้หลังคอ ส่วนผู้ชายไม่มีการเปลี่ยนแปลง (อภิโชค แซ่โค้ว, 2542: 22)

  • การแต่งกายยุคกรุงศรีอยุธยา จึงแบ่งออกเป็น 4 สมัย ดังนี้ (สมภพ จันทรประภา, 2526: 28)

    สมัยที่ 1 พ.ศ. 1893 ถึง พ.ศ. 2031

    หญิง
    ผม ยังคงเกล้าผม การเกล้ามี 2 แบบ คือ เกล้าไว้ท้ายทอย และเกล้าสูงบน(หนูนหยิก) ศีรษะมีเครื่องประดับเรียกว่า เกี้ยว เป็นเครื่องรัดมวยผม

    เครื่องประดับ สร้อยตัว สร้อยข้อมือ กำไล ต่างหู

    เครื่องแต่งกาย นุ่งซิ่นจีบหน้า สวมเสื้อ แขนกระบอก คอกลม ผ่าหน้า เสื้อ ยาวเข้ารูป มีผ้าคลุมสะโพกไว้ด้านในของตัวเสื้อ แต่ปล่อยชายออกด้านนอก ต่อมาได้ต่อเข้ากับตัวเสื้อ เป็น ชายเสื้อลงมาอีกทีหนึ่ง

    ชาย
    ผม มหาดเล็กและคนรับใช้ตัดผมสั้น ชายยังคงเกล้าผมกลางกระหม่อมเช่นเดียวกับ หญิง

    เครื่องแต่งกาย นุ่งกางเกงยาวลงมาแค่หน้าแข้ง ปลายขาเรียวเล็กกว่าเดิม นุ่งผ้าหยักรั้ง แบบเขมรซ้อนทับกางเกง ชายผ้ายาวเสมอเข่า ใช้ผ้าคาดเอว สวมเสื้อคอแหลม แขนยาวจรดข้อมือ ผ่าอก สาบซ้ายทับสาบขวา มีผ้ากุ๊นตรงปลายแหลม คอ สาบหน้า และชายเสื้อ

    เครื่องประดับ จากหลักฐานการขุดกรุใต้พระปรางค์วัดราชบูรณะพบว่า ส่วนบนของ มงกุฎที่ครอบมวยพระเศียรของกษัตริย์ พาหุรัดหรือทองกร เครื่องประดับศีรษะถักด้วยลวดทองคำ

    การแต่งกายสมัยอยุธยา (สมัยที่ 1)


    ภาพเขียนเลียนแบบจากพวงผกา คุโรวาท (2535: 55)

    สมัยที่ 2 พ.ศ. 2034-2171

    หญิง
    ผม ตัดผมสั้น หวีเสยขึ้น ไปเป็นผมปีก บ้างก็ยังไว้ผมยาวเกล้าบนศีรษะ เลิกเกล้าเมื่อ พ.ศ. 2112 เพราะต้องทำงานหนักไม่มีเวลาเกล้าผม

    เครื่องแต่งกาย นุ่งกางเกงหรือโจงกระเบน สวมเสื้อแขนกระบอก คอกลมผ่าอก ไม่นิยมสไบ ผู้หญิงชั้น สูงสวมเสื้อคอแหลม มีผ้าคล้องไหล่ 2 ข้าง

    การห่มสไบมีหลายแบบ

    1. พันรอบตัวเหน็บทิ้งชาย

    2. ห่มแบบสไบเฉียง คือ พันรอบอก 1 รอบแล้วเฉวียงขึ้นบ่าปล่อยชายไว้ข้างหลังเพียงขาพับ

    3. แบบสะพัก สองบ่า ใช้ผ้าพันรอบตัวทับกันที่อกแล้วจึงสะพักไหล่ทั้งสองปล่อยชายไปข้าง หลัง ทั้ง 2 ข้าง

    4. แบบคล้องไหล่ เอาชายไว้ข้างหลังทั้งสองชาย

    5. แบบคล้องคอห้อยชายไว้ข้างหน้า

    6. แบบห่มคลุม

    ชาย
    ผม ตัดผมสั้น แสกกลาง

    เครื่องแต่งกาย นุ่งโจงกระเบน ไม่สวมเสื้อ มีผ้าคล้องไหล่

    การแต่งกายสมัยอยุธยา (สมัยที่ 2)


    ภาพเขียนเลียนแบบจากพวงผกา กุโรวาท (2535: 56)

    สมัยที่ 3 พ.ศ. 2173 – พ.ศ. 2275

    หญิง
    ผม สตรีในสำนักไว้ผมแบบหญิงพม่าและล้านนาไทย คือ เกล้าไว้บนกระหม่อมแล้ว คล้องด้วยมาลัย ถัดลงมาปล่อยผมสยายยาว ส่วนหญิงชาวบ้านตัดผมสั้น ตอนบนแล้วถอนไรผม รอบ ๆ ผมตอนที่ถัดลงมาไว้ยาวประบ่า เรียกว่า “ผมปีก” บางคนโกนท้ายทอย คนรุ่นสาวไว้ผม ดอกกระทุ่มไม่โกนท้ายทอยปล่อยยาวเป็นรากไทร

    การแต่งกาย หญิงในราชสำนักนุ่งผ้าซิ่น สวมเสื้อ ผ่าอก คอแหลม (เดิมนิยม คอกลม) แขนกระบอกยาวจรดข้อมือหญิงชาวบ้านนุ่งผ้าจีบห่มสไบ มี 3 แบบ คือ รัดอก สไบเฉียง และห่ม ตะเบงมาน (ห่มไขว้กันแล้วรวบไปผูกไว้หลังคอ) เหมาะสำหรับเวลาทำงาน บุกป่า ออกรบ

    เครื่องประดับ ปักปิ่นทองที่มวยผม สวมแหวนหลายวง สร้อยคอ สร้อยข้อมือ

    การแต่งหน้า หญิงชาววัง ผัดหน้า ย้อมฟัน และเล็บเป็นสีดำ ไว้เล็บยาวทางปากแดง หญิงชาวบ้าน ชอบประแป้งลายพร้อย ไม่ไว้เล็บ ไม่ทาแก้ม ปาก

    ชาย
    ผม ตัดสั้น ทรงมหาดไทย (คงไว้ตอนบนศีรษะรอบๆ ตัดสั้น และโกนท้ายทอย)

    การแต่งกาย นุ่งโจงกระเบน ใช้ผ้าขาวม้าคล้องคอ แล้วตลบไปห้อยชายไว้ทางด้านหลัง สวมเสื้อคอกลม ผ่าอกแขนยาวจรดข้อมือ ในงานพิธีสวม เสื้อ ยาวถึงหัวเข่า ติดกระดุม ด้านหน้า 8 – 10 เม็ด แขนเสื้อ กว้าง และสั้น มาก ไม่ถึงศอก นิยมสวมหมวกแบบต่าง ๆ ขุนนางจะสวม ลอมพอกยอดแหลม ไปงานพิธีจะสวมรองเท้าแตะปลายแหลมแบบแขกมัวร์

    การแต่งกายสมัยอยุธยา(สมัยที่ 3)


    ภาพเขียนเลียนแบบจากพวงผกา คุโรวาท (2535: 58,60)

    สมัยที่ 4 พ.ศ. 2275 ถึง พ.ศ. 2310

    หลักฐานจากวัดใหญ่สุวรรณารามจังหวัดเพชรบุรีเป็นลักษณะเครื่องทรงในพระมหา กษัตริย์และคนชั้น สูง

    หญิง การแต่งผม มี 3 แบบ คือ

    1. ทรงผมมวยกลางศีรษะ

    2. ทรงผมปีกมีจอนผม

    3. ทรงหนูนหยิกรักแครง (เกล้าพับสองแล้วเกี้ยว กระหวัดไว้ที่โคน รักแครง เกล้า ผมมวยกลมเฉียงไว้ด้านซ้ายหรือขวา)

    4. ทรงผมประบ่า มักจะรวมผมปีกและผมประป่าอยู่ในทรงเดียวกันและผมปีกทำ เป็นมวยด้วย

    เครื่องประดับ นิยมสวมเทริด สวมกำไลข้อมือหลายอัน มีสร้อยข้อมือที่ใหญ่กว่าสมัยใด สร้อยตัวสวมเฉียงบ่ามีลวดลายดอกไม้ สิ่งที่ใหม่กว่าสมัยใดคือ สวมแหวนก้อยชนิดต่าง ๆ และ แหวนงูรัดต้นแขน

    การแต่งหน้าแต่งตัว ทาขมิ้น ให้ตัวเหลืองดังทอง ผัดหน้าขาว ย้อมฟันดำ ย้อมนิ้ว และเล็บด้วยดอกกรรณิการ์ให้สีแดง

    การแต่งกาย ของคนชั้น สูงนุ่งซิ่นยก จีบหน้า ห่มตาด สวมเสื้อริ้วทอง (ทำด้วยผ้าไหม สลับด้วยเส้นทองแดง) ห่มสไบ ชาวบ้านท่อนบนคาดผ้าแถบหรือห่มสไบ นุ่งโจงกระเบนหรือ ผ้าถุง

    การห่มสไบมี 2 แบบ คือ

    1. ห่มคล้องคอตลบชายไปข้างหลังทั้ง 2 ข้าง กันบนเสื้อ ริ้วทอง และใช้เจียระบาด (ผ้าคาดพุง) คาดทับเสื้อปล่อยชายลงตรงด้านหน้า

    2. ห่มสไบเฉียงไม่ใส่เสื้อเมื่ออยู่กับบ้าน

    ชาย ไว้ทรงมหาดไทย ทาน้ำมันหอม

    การแต่งกาย สวมเสื้อคอกลมสวมศีรษะ แขนยาวเกือบจรดศอก มีผ้าห่มคล้องคอแล้ว ตลบชายทั้งสองไปข้างหลัง นุ่งโจงกระเบน ส่วนเจ้านายจะทรงสนับเพลาก่อน แล้วทรงภูษา จีบโจง มีไหมถักรัดพระองค์ แล้วจึงทรงฉลองพระองค์ คาดผ้าทิพย์ทับฉลองพระองค์อีกที

    การแต่งกายสมัยอยุธยา สำหรับผู้ที่สนใจควรศึกษาลายละเอียดเพิ่มเติมจากหนังสือ อยุธยาอาภรณ์ ของสมภพ จันทรประภา 2526 และการแต่งกายไทย : วิวัฒนาการจากอดีตสู่ ปัจจุบัน 1 สำนักงานเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ 2543 จะได้ลายละเอียดเพิ่มเติม

    การแต่งกายสมัยอยุธยา (สมัยที่ 4)


    ภาพเขียนเลียนแบบจากพวงผกา คุโรวาท (2535: 62)

    การแต่งกายของไทยเราจะแสดงลักษณะเด่นชัดตอนสมัยสุโขทัยเป็นราชธานีลงมา เครื่องแต่งกายของคนย่อมเป็นไปตามสภาพดินฟ้าอากาศ ในปัจจุบันก็ยังสรุปไม่ได้อย่างสิ้นเชิง ว่าคนไทยเคยอยู่ตอนใต้ของประเทศจีนหรืออยู่ ณ ที่นี้มานานแล้ว มีความสำคัญในการที่จะ สันนิษฐานว่า การแต่งตัวเหมือนเผ่าไทยที่ยังอยู่ในเขตแดนจีน มีอากาศหนาวจึงสวมเสื้อหลายชั้น ถ้าคนไทยอยู่ใน ณ ที่นั้นนานแล้ว ซึ่งจะมีอากาศร้อน เสื้อ ผ้าก็จะมีลักษณะชนิดพันหลวม ๆ มากว่าจะเป็นแบบรัดตรึงแนบตัว

    นับตั้งแต่สมัยสุโขทัยลงมาเห็นได้ว่าเครื่องแต่งกายของคนอินเดียได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่ง ของเครื่องแต่งกายไทย ผ้าจีบและสไบก็คือผ้าส่าหรีดัดแปลงเป็นสองท่อน ส่วนผ้านุ่งก็คือผ้านุ่ง ของผู้ชายอินเดีย คนไทยมีลักษณะพิเศษเฉพาะตัวอยู่อย่างหนึ่งคือ เมื่อรับวัฒนธรรมของใคร มาแล้วรู้จักดัดแปลงให้เข้ากับสภาพวิถีชีวิตของตนเอง จนกลายเป็นไทยในที่สุด นุ่งโจงห่มจีบ ของไทยก็ได้มาจากห่มส่าหรีของแขกก็จริงแต่ไม่ใช่แขก เรามีการใช้คำว่าเครื่องนุ่งห่มมาก่อน เครื่องแต่งกาย เพราะใช้นุ่งและห่มจริง คือใช้ปกคลุมท่อนล่างและบนแยกกันเป็นคนละส่วน

    เครื่องนุ่งห่มของไทยตั้งแต่อดีตเป็นการใช้ประโยชน์ทั้งในด้านความเหมาะสม การประหยัด และความคล่องตัวในการดัดแปลง เช่น ในสมัยอยุธยาการแต่งกายของสตรีไทยตามปกติจะ แสดงออกซึ่งความนุ่มนวลและความเป็นผู้หญิง แต่พอถึงปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา เมื่อไทยจะทำ สงครามกับพม่าเป็นเวลาที่สตรีไทยต้องออกต่อสู้เคียงบ่าเคียงไหล่กับชาย การแต่งกายของสตรีก็ เปลี่ยนไปให้เหมาะสมกับบทบาทใหม่ คือ แต่งกายให้รัดกุม ไม่รุ่มร่าม สะดวกในการเคลื่อนไหว เป็นการห่มผ้าแบบ “ตะเบงมาน” ผมก็ตัดสั้น เพื่อสะดวกในการรบ หนีภัย และการปลอมแปลง เป็นชาย

    สำหรับเครื่องแต่งกายที่ใช้สำหรับทำงานกลางแจ้ง หรือทำไร่ ทำนาของคนไทยนั้น ก็จะใช้ สีเข้ม เพื่อไม่ให้สกปรกง่าย ตัวเสื้อ ของสตรีเป็นเสื้อ ผ่าอก แขนกระบอกเพื่อกันแดด (นฤมล ปราชญ์โยธิน, 2525: 1,7)

    สมัยรัตนาโกสินทร์รัชกาลที่ 1-3 ระยะเวลา 69 ปี (พ.ศ. 2325-2394)

    การแต่งกายของผู้หญิง: ผู้หญิงจะนุ่งผ้าจีบ ห่มสไบเฉียง ตัดผมไว้ปีกประบ่า กันไรผมวงหน้าโค้ง หากเป็นชาวบ้านอาจนุ่งผ้าถุงหรือโจงกระเบน สวมเสื้อรัดรูปแขนกระบอก ห่มตะเบงมาน หรือผ้าแถบคาดรัดอก แล้วห่มสไบเฉียง

    การแต่งกายของผู้ชาย: ผู้ชายจะนุ่งผ้าม่วง โจงกระเบน สวมเสื้อนอกคอเปิด ผ่าอก กระดุม 5 เม็ด แขนยาว หากเป็นชาวบ้านจะไม่สวมเสื้อ

    การแต่งกายของชาววังและชาวบ้านจะไม่แตกต่างกันมาก จะมีแตกต่างกันก็ตรงส่วนของเนื้อผ้าที่สวมใส่ ซึ่งหากเป็นชาววังแล้วจะห่มผ้าไหมอย่างดี ทอเนื้อละเอียด เล่นลวดลาย สอดดิ้นเงิน-ทอง ส่วนชาวบ้านทั่วไปจะนุ่งผ้าพื้นเมือง หรือผ้าลายเนื้อเรียบๆ หากเป็นราษฎรทั่วไปที่มีอาชีพเกษตรกร ทำไร่ ทำนาแล้วจะนุ่งผ้าในลักษณะถกเขมร คือจะนุ่งเป็นโจงกระเบนแต่จะถกสั้นขึ้นมาเหนือเข่า เพื่อความสะดวก ไม่สวมเสื้อ หากอยู่บ้านจะนุ่งลอยชาย หรือโสร่งแล้วมีผ้าคาดพุง แต่ถ้าแต่งกายไปงานเทศกาลต่างๆ มักนุ่งโจงกระเบนด้วยผ้าแพรสีต่างๆ และห่มผ้าคล้องคอปล่อยชายทั้งสองยาวไว้ด้านหน้า การตัดผมของสตรีสาวจะตัดผมทรงดอกกระทุ่ม ปล่อยท้ายทอยยาวถึงบ่า หากเป็นผู้ใหญ่แล้วจะตัดผมปีกแบบโกนท้ายทอยสั้น

    สมัยรัชกาลที่ 4 ระยะเวลา 17 ปี (พ.ศ. 2394-2411)

    เนื่องจากสมัยโบราณคนไทยไม่นิยมสวมเสื้อแม้แต่เวลาเข้าเผ้า ในสมัยรัชกาลที่ 4 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงประกาศให้ข้าราชกาลสวมเสื้อเข้าเฝ้า และทรงสนับสนุนให้มีการศึกษาภาษาอังกฤษ จึงทำให้มีการรับวัฒนธรรมตะวันตกเข้ามา การแต่งกายของสตรีจึงมีการเปลี่ยนแปลงไป

    การแต่งกายของผู้หญิง: ผู้หญิงจะนุ่งผ้าลายโจงกระเบน หรือนุ่งผ้าจีบ ใส่เสื้อแขนยาว ผ่าอก ปกคอตั้งเตี้ยๆ (เสื้อกระบอก) แล้วห่มผ้าแพรสไบจีบเฉียงทับบนเสื้อ ตัดผมไว้ปีกเช่นเดิม แต่ไม่ยาวประบ่า

    การแต่งกายของผู้ชาย: ผู้ชายจะนุ่งผ้าม่วงแพรโจงกระเบน สวมเสื้อเปิดอกคอเปิด หรือเป็นเสื้อกระบอกแขนยาว เรื่องของทรงผมผู้ชายยังไว้ทรงมหาดไทยอยู่ ส่วนรัชกาลที่ 4 จะไม่ทรงไว้ทรงมหาดไทย

    สมัยรัชกาลที่ 5 ระยะเวลา 42 ปี (พ.ศ. 2411-2453)

    ในสมัยรัชกาลที่ 5 นี้ ถือเป็นยุคแห่งการเปลี่ยนแปลงการแต่งกายของคนไทย เนื่องจากรัชกาลที่ 5 ทรงเสด็จประพาสยุโรป และมีการนำแบบอย่างการแต่งกายของชาวยุโรปกลับมาประยุกต์ใช้ในประเทศไทย อีกทั้งในสมัยนี้ยังมีกำเนิดชุดชั้นในรุ่นแรกที่ดัดแปลงจากเสื้อพริ้นเซส ซึ่งต่อมาได้พัฒนาให้เป็นเสื้อชุดชั้นในที่เรียกว่า เสื้อคอกระเช้า ที่ยังคงเป็นที่รู้จักกันในปัจจุบันนี้

    สมัยรัชกาลที่ 5 ตอนต้น

    การแต่งกายของหญิง: ผู้หญิงจะนุ่งผ้าลายโจงกระเบน เสื้อกระบอก แขนยาว ผ่าอก ห่มผ้าแพร จีบตามขวาง สไบเฉียงทับบนเสื้ออีกชั้นหนึ่ง ถ้าอยู่บ้านจะห่มแต่สไบ ไม่สวมเสื้อ เมื่อมีงานพิธีจะนุ่งห่ม ผ้าตาด เลิกไว้ผมปี และหันมาไว้ผมยาวประบ่า

    การแต่งกายของชาย: ผู้ชายจะนุ่งผ้าม่วงโจงกระเบน สวมเสื้อราชประแตน สวมหมวกหางนกยูง ถือไม้เท้า และไว้ผมรองทรง หากไปงานพฺธีจะสวมถุงเท้าและรองเท้าด้วย การสวมเสื้อแพรสีจะสวมตามกระทรวงและหมวดต่างๆ ดังนี้

    – ชั้นเจ้านาย สวมเสื้อสีไพล

    – ชั้นขุนนางกระทรวงมหาดไทยสวมเสื้อแพรสีเขียวแก่

    – ชั้นขุนนางกระทรวงกะลาโหม สวมเสื้อแพรสีลูกหว้า

    – ชั้นขุนนางกรมท่า (กระทรวงต่างประเทศ) เสื้อแพรสีน้ำเงิน (สีกรมท่า)

    – ชั้นมหาดเล็ก สวมเสื้อแพรสีเหล็ก

    – พลเรือน สวมเสื้อปีก เป็นเสื้อคอปิด มีชายไม่ยาวมาก คาดเข็มขัดไว้นอกเสื้อ

    สมัยรัชกาลที่ 5 ตอนกลาง

    การแต่งกายของหญิง: ผู้หญิงจะนุ่งผ้าจีบไว้ชายพกแต่หากมีงานพิธีก็ยังคงให้นุ่งโจงกระเบนอยู่ สวมเสื้อแบบตะวันตกแขนยาว ต้นแขนพองแบบหมูแฮม ปกคอตั้ง มีผ้าแพรหรือผ้าห่มสไบเฉียงทับตัวเสื้ออีกที ไว้ผมยาวเสมอต้นคอ สตรีชาววังจะมีผ้าแพรชมพูปักดิ้น มีลวดลายตามยศพระราชทาน สวมรองเท้าบูตและถุงเท้า

    การแต่งกายของชาย: การแต่งกายจะเหมือนสมัยต้นรัชกาล ฝ่ายพลเรือนจะมีเครื่องแบบเต็มยศ เป็นเสื้อแพรสีกรมท่า ปักทองที่คอและที่ข้อมือ เวลาปกติจะสวมเสื้อคอปิด ผูกผ้าพันคออย่างชาวตะวันตก นุ่งผ้าไหมสีน้ำเงินแก่ สวมหมวกเฮลเม็ท (Helmet) สวมถุงเท้าขาวและรองเท้าหนังสือดำ

    สมัยรัชกาลที่ 5 ตอนปลาย

    การแต่งกายของหญิง: ผู้หญิงจะนุ่งโจงกระเบน สวมเสื้อแพรไหม ลูกไม้ ตัดแบบตะวันตก แขนยาว พองฟู เอวเสื้อเข้ารูป มีการคาดเข็มขัดหรือสายห้อยนาฬิกา มีสายสะพายผ้าแพร สวมถุงเท้ามีลวดลายและรองเท้าส้นสูงให้ไว้ผมทรงดอกกระทุ่ม และมักนิยมเครื่องประดับมุกสายสร้อยหลายชั้น

    การแต่งกายของชาย: ผู้ชายจะนุ่งกางเกงแบบฝรั่งแทนโจงกระเบน สวมหมวกกะโล่ ข้าราชการจะแต่งเครื่องแบบเหมือนอารยประเทศ (แบบพระราชกำหนด)

    สมัยรัชกาลที่ 6 ระยะเวลา 15 ปี (พ.ศ. 2453-2468)

    การแต่งกายของหญิง: ผู้หญิงเริ่มมีการนุ่งผ้าซิ่นตามพระราชนิยม สวมเสื้อแพรโปร่งบาง หรือผ้าพิมพ์ดอก คอกว้างขึ้น หรือแขนเสื้อสั้นประมาณต้นแขน ไม่มีการสะพายแพร ส่วนทรงผมจะไว้ยาวเสมอต้นคอ ตัดเป็นลอน หรือเรียกว่า ผมบ๊อบ มีการดัดผมด้านหลังให้โค้งเข้าหาต้นคอเล็กน้อย นิยมคาดผมด้วยผ้าหรือไข่มุก

    การแต่งกายของชาย: ผู้ชายยังคงนุ่งผ้าม่วงโจงกระเบน สวมเสื้อราชประแตน แต่เริ่มมีการนุ่งกางเกงแบบชาวตะวันตกในภายหลัง แต่ประชาชนธรรมดาจะนุ่งกางเกงผ้าแพรของจีน สวมเสื้อคอกลมสีขาว (ผ้าบาง)

    สมัยรัชกาลที่ 7 ระยะเวลา 9 ปี (พ.ศ. 2468-2477)

    การแต่งกายของหญิง: ผู้หญิงเลิกนุ่งโจงกระเบน แต่จะนุ่งเป็นผ้าซิ่นแค่เข่า สวมเสื้อทรงกระบอก ไม่มีแขน ไว้ผมสั้นดัดลอน ซึ่งจะดัดลอนมากขึ้น

    การแต่งกายของชาย: ผู้ชายจะนุ่งกางเกงเป็นสีต่างๆ แต่ข้าราชการจะผ้าม่วงหรือสีน้ำเงิน สวมเสื้อราชประแตน สวมรองเท้าและรองเท้า แต่ในปี 2475 มีการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตย ทำให้อารยธรรมตะวันตกมีอิทธพลต่อการแต่งกายของคนไทยมากขึ้น ผู้ชายจึงจะมีการนุ่งกางเกงขายาวแทนการนุ่งผ้าม่วง

    แต่ถึงอย่างไร สามัญชนทั่วไปยังคงแต่งกายแบบเดิมคือ ผู้ชายสวมกางเกงแพรหรือกางเกงไทย สวมเสื้อธรรมดา ไม่สวมรองเท้า ส่วนผู้หญิงสวมเสื้อคอกระเช้าเก็บชายไว้ในผ้าซิ่นหรือโจงกระเบน เวลาออกนอกบ้านจึงแต่งกายสุภาพ

    สมัยรัชกาลที่ 8 ระยะเวลา 12 ปี (พ.ศ. 2477-2489)

    โดยสรุปแล้วในสมัยนี้จะมีการแต่งกายที่เป็นสากลมากยิ่งขึ้น อีกทั่งยังเป็นยุครัฐนิยมซึ่งจอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้กำหนดเครื่องแต่งกายออกเป็น 3 ประเภท

    1. ใช้ในที่ชุมชน

    2. ใช้ทำงาน

    3. ใช้ตามโอกาส

    ผู้หญิงจะสวมเสื้อแบบไหนก็ได้ แต่ต้องคลุมไหล่ มีการนุ่งผ้าถุง แต่ต่อมาจะเริ่มนุ่งกระโปง หรือผ้าถุงสำเร็จสวมรองเท้า สวมหมวก และเลิกกินหมาก ส่วนผู้ชายจะสวมเสื้อมีแขน คอปิดหรือจะเปิดก็ได้

    Toplist

    โพสต์ล่าสุด

    แท็ก

    ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ศัพท์ทางทหาร military words แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 พจนานุกรมศัพท์ทหาร ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง ไทยแปลอังกฤษ ประโยค lmyour แปลภาษา การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ประปาไม่ไหล วันนี้ ฝยก. ย่อมาจาก หยน ห่อหมกฮวก แปลว่า เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษาจีน ่้แปลภาษา onet ม3 การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 1 ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง ตตตตลก บบบย ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ เขียน อาหรับ แปลไทย เนื้อเพลง ห่อหมกฮวก แปลไทย asus zenfone 2e กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น การประปานครหลวง ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบภาษาอังกฤษ ม.ปลาย พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ชขภใ ชื่อเต็ม ร.9 คําอ่าน ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน นยน. ย่อมาจาก ทหาร บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ฝสธ. ย่อมาจาก มัดหัวใจเจ้าชายเย็นชา 2 ซับไทย มัดหัวใจเจ้าชายเย็นชา 2 เต็มเรื่อง ยศทหารบก เรียงลําดับ ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 รัชกาลที่ 10 ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คอร์ด