สิ่งมีชีวิตใด อยู่ มีความสัมพันธ์แบบเดียวกับ มดดำ และ เพลี้ย

  ระบบนิเวศประกอบด้วยโครงสร้าง  2  ชนิด  คือ       โครงสร้างทางกายภาพหรือสิ่งที่ไม่มีชีวิตในระบบนิเวศ (Abiotic  Factor  หรือ  Abiotic Component)       โครงสร้างทางชีวภาพหรือสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศ  (Biotic  Factor  หรือ  Biotic Component)

โครงสร้างของระบบนิเวศทางกายภาพหรือส่วนประกอบที่ไม่มีชีวิต
แสงเป็นแหล่งพลังงานที่จำเป็นต่อสิ่งมีชีวิตทุกชนิด  พืชรับพลังแสงมาใช้ในกระบวนการสังเคราะห์แสง  ดิน  มีความสำคัญต่อสิ่งมีชีวิตต่อพืชและสัตว์ เพราะเป็นแหล่งที่อยู่อาศัย  และแหล่งอาหารของสิ่งมีชีวิต
แร่ธาตุหมายถึง เกลือแร่ที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตทั้งพืช และสัตว์ ในร่างกายของพืชและสัตว์จะมีสารประกอบพื้นฐาน คือ  คาร์บอน ออกซิเจน ไฮโดรเจน และไนโตรเจน  แร่ธาตุต่างๆ เหล่านี้จะมีการหมุนในระบบนิเวศจะผ่านทางร่างกายของสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อมโดยการกิน แก๊สในบรรยากาศซึ่งมีหลายชนิดแต่ที่สำคัญต่อสิ่งมีชีวิต ได้แก่  แก๊สออกซิเจน ซึ่งมีอยู่ในอากาศ  21 %  สิ่งมีชีวิตใช้สำหรับการหายใจซึ่งได้  จากการสังเคราะห์ของพืชสีเขียวต่างๆ  คาร์บอนไดออกไซด์ มีความสำคัญต่อกระบวนการสังเคราะห์แสงของพืช (หนูทิพย์  จำรัส.  2550)
อุณหภูมิ  เป็นปัจจัยหนึ่งที่มีผลต่อการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตภายในระบบนิเวศ   สิ่งมีชีวิตในเขตร้อนจะมีช่วงอุณหภูมิที่เหมาะสมที่  20 – 30  องศาเซลเซียส ส่วนสิ่งมีชีวิตที่อาศัยในเขตหนาว จะมีช่วงอุณหภูมิที่เหมาะสมที่   0 -  5  องศาเซลเซียส  ความชื้น   ปริมาณไอน้ำในอากาศขณะใดขณะหนึ่งในบริเวณใดบริเวณหนึ่งความชื้นของอากาศสูงหรือต่ำเกินไปจะมีผลต่อการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตทั้งพืชและสัตว์หลายชนิด   

โครงสร้างทางชีวภาพหรือสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศ           ผู้ผลิต(producers) หมายถึง  สิ่งมีชีวิตที่สร้างอาหารขึ้นได้เองด้วยการสังเคราะห์ด้วยแสง ได้แก่  พืชที่มีสีเขียวเพราะสีเขียวในพืชมีคลอโรฟิลด์ที่สามารถดูดกลืนพลังงานแสงอาทิตย์ มาใช้ในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง โดยใช้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ น้ำ และแร่ธาตุมาผลิตเป็นคาร์โบไฮเดรต ยังมีพืชบางชนิด  เช่น ต้นหม้อข้าวหม้อแกงลิง  ต้นแขนงนายพราน ต้นกาบหอยแครง  ซึ่งนอกจากจะสร้างอาหารเองแล้วก็ยังดักจับแมลงเป็นอาหารด้วย

          ผู้บริโภค (consumers) หมายถึง สิ่งมีชีวิตที่สร้างอาหารเองไม่ได้  ต้องรับสิ่งมีชีวิตอื่นเป็นอาหาร  ได้แก่  สัตว์ต่าง ๆ ซึ่ง  สิ่งมีชีวิตที่ต้องอาศัยการบริโภคสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นเป็นอาหารเพื่อการดำรงชีวิต ไม่สามารถสร้างอาหารได้เอง เป็นผู้เชื่อมโยงการถ่ายทอดพลังงานภายในระบบนิเวศ ได้แก่ สัตว์ชนิดต่างๆและหากแบ่งตามลักษณะของการบริโภค สามารถแบ่งย่อยได้เป็น 4   กลุ่ม ดังนี้            - สิ่งมีชีวิตที่กินพืชเป็นอาหารเพียงอย่างเดียว  เช่น  ม้า  วัว ควาย  กระต่าย             -  สิ่งมีชีวิตที่กินสัตว์เป็นอาหารเพียงอย่างเดียว  เช่น  เสือ  งู  กบ เป็นต้น           -  สิ่งมีชีวิตที่กินทั้งพืชและสัตว์เป็นอาหาร  เช่น  คน  เป็ด  หมู  สุนัข  เป็นต้น

           -  สิ่งมีชีวิตที่บริโภคซากสิ่งมีชีวิตเป็นอาหาร เช่น  แบคทีเรีย  รา  เห็ด  

ผู้ย่อยสลาย (decomposer)  เป็นพวกไม่สามารถปรุงอาหารได้แต่จะกินอาหารโดย การผลิตเอนไซม์ออกมาย่อยสลายแร่ธาตุต่าง ๆ ในส่วนประกอบของสิ่งที่มีชีวิตให้เป็นสารโมเลกุลเล็ก แล้วจึงดูดซึมไปใช้เป็นสารอาหารบางส่วน ส่วนที่เหลือปลดปล่อยออกไปสู่ระบบนิเวศซึ่งผู้ผลิตจะสามารถเอาไปใช้ต่อไป จึงนับว่าผู้ย่อยสลายเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้สารอาหารสามารถหมุนเวียนเป็นวัฏจักรได้ ส่วนใหญ่เป็นพวกสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กที่ย่อยสลายสารอินทรีย์ให้กลายเป็นสารอนินทรีย์ ซึ่งจะเป็นตัวสำคัญในกระบวนการหมุนเวียนของธาตุต่างๆ

                                 

ภาวะพึ่งพา (mutualism) (+,+)/(-,-)  เป็นความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิต  2  ชนิดที่อาศัยอยู่ร่วมกันตลอดชีวิต และต่างฝ่ายต่างได้ประโยชน์จากกันและกันแต่หากแยกจากกันจะไม่สามารถดำรงชีวิตต่อไปได้  ตัวอย่างเช่น
                         Ø  ไลเคน  (lichen)  พบตามเปลือกต้นไม้ขนาดใหญ่บริเวณที่มีความชื้นสูงไลเคนเป็นสิ่งมีชีวิต 2  ชนิดคือ รากับสาหร่ายสีเขียว การอยู่ร่วมกันนี้ทั้งสาหร่ายและราต่างได้รับประโยชน์ กล่าวคือ สาหร่ายสร้างอาหารได้เองแต่ต้องอาศัยความชื้นจากรา ราก็ได้อาศัยอาหารที่สาหร่ายสร้างขึ้น และ ให้ความชื้นแก่สาหร่าย  
                        Ø  ด้วงกับมดดำ  ด้วงขนาดเล็กให้สารอาหารที่สร้างขึ้นกับมด  มดเลี้ยงดูและป้องกันศัตรูให้ด้วง 
  ปลวกกับโพรโทซัวที่อยู่ในลำไส้ปลวก Ø โพรโทซัวได้อาหารและที่อยู่อาศัยจากปลวก  ปลวกอาศัยโพรโทซัวช่วยย่อยไม้ที่กินเข้าไป   
Ø  แบคทีเรียพวกไรโซเบียม (Rhizobiun)  ที่อาศัยอยู่ที่ปมรากพืชตระกูลถั่ว โดยแบคทีเรียได้อาหารและที่อาศัยจากต้นถั่ว  พืชตระกูลถั่วได้อาหารจากแบคทีเรียช่วยเปลี่ยนแก๊สไนโตรเจนจากอากาศเป็นปุ๋ย  (หนูทิพย์   จำรัส.  2550

ภาวะได้ประโยชน์ร่วมกัน       ภาวะได้ประโยชน์ซึ่งกันและกัน (protocooperation) (+,+)/(0,0)  สิ่งมีชีวิต 2 ชนิดเมื่ออาศัยอยู่ร่วมกันต่างก็ได้รับประโยชน์จากกันและกันแต่ไม่จำเป็นต้องอยู่ร่วมกันเสมอไปแม้แยกกันอยู่ก็สามารถดำรงชีวิตอยู่ต่อไปได้  เช่น              ¯ มดดำกับเพลี้ย   เพลี้ยอาศัยมดดำพาไปวางไข่ตามต้นพืช  มดดำได้อาหารจากเพลี้ยด้วยการดูดน้ำเลี้ยงจากเพลี้ย                ¯ นกเอี้ยงกับควาย   นกเอี้ยงได้กินแมลงต่าง ๆ  บนหลังควาย   ควายสบายตัวเพราะไม่มีแมลงมารบกวน              ¯ ดอกไม้กับแมลง   แมลงได้น้ำหวานจากดอกไม้เป็นอาหาร   ดอกไม้ได้แมลงช่วยผสมเกสร                ¯ ปูเสฉวนกับดอกไม้ทะเล  ดอกไม้ทะเลจะเกาะอยู่บนเปลือกของปูเสฉวน สามารถเคลื่อนที่ไปหาแหล่งอาหารใหม่ ๆ ได้ และยังได้รับอาหารบางส่วนจากปูเสฉวนด้วย ในขณะที่ปูเสฉวนก็ใช้ดอกไม้ทะเลช่วยพรางตาศัตรูได้  (หนูทิพย์   จำรัส.  2550)

ภาวะอิงอาศัย           ภาวะอิงอาศัย(commensalism ) (+,0)/(-,0)  เมื่ออยู่ร่วมกันฝ่ายหนึ่งได้ประโยชน์อีกฝ่ายหนึ่งไม่ได้และไม่เสียประโยชน์ เมื่อแยกจากกันตัวที่ไม่ได้ไม่เสียประโยชน์จะเหมือนเดิมแต่ฝ่ายที่เคยได้รับประโยชน์จะไม่ได้อะไรแทนหรืออาจจะเสียประโยชน์เมื่อไม่ได้อยู่รวมกันกับผู้อื่น เช่น   ¯  พืชที่เจริญเติบโตบนต้นไม้ใหญ่ µ  กล้วยไม้บนต้นไม้ กล้วยไม้เป็นพืชที่เกาะอยู่บนต้นไม้อื่นๆ โดยไม่ชอนไชรากลงไปเพื่อแย่งน้ำหรืออาหารจากต้นไม้µ  เฟิร์น  พลูด่าง  เถาวัลย์ ที่เลื้อยพันอยู่กับต้นไม้ใหญ่ เฉพาะบริเวณเปลือกของลำต้นซึ่งอาศัยความชื้นและแร่ธาตุบางอย่างจากเปลือกต้นไม้เท่านั้น โดยต้นไม้ใหญ่ไม่เสียประโยชน์          ¯  เหาฉลามกับปลาฉลาม เหาฉลามจะเคลื่อนที่ไปพร้อมกับปลาฉลามและได้รับอาหารที่เหลือจากปลาฉลามด้วย ส่วนปลาฉลามก็ไม่ได้หรือเสียประโยชน์อะไร(หนูทิพย์   จำรัส.  2550)

ภาวะปรสิต(Parasitism) ใช้สัญลักษณ์   + / -   อาศัยอยู่กับ Host ได้ 2 ลักษณะ   1. ปรสิตภายนอก(Ectoparasite) ได้แก่  กาฝาก  ฝอยทอง เหา หมัด โลน  เป็นต้น

2. ปรสิตภายใน(Endoparasite) ได้แก่  แบคทีเรีย ไวรัส พยาธิต่างๆ

การล่าเหยื่อ (Predation)  ใช้สัญลักษณ์  + / -    1. สัตว์กินสัตว์ เช่น เสือกินวัว นกกินแมลง    2. สัตว์กินพืช เช่น ตั๊กแตนปาทังก้ากินต้นข้าวโพด พะยูนกินหญ้าทะเล

ภาวะแข่งขัน (Competition) ใช้สัญลักษณ์ -/-   บัวกับผักตบชวาในสระน้ำ จอกกับแหนในแหล่งน้ำ ต้นถั่วที่ปลูกมากมายในกระป๋องเล็กๆต้นไม้ในป่าที่แข่งกันสูง เพื่อแข่งกันรับแสงสว่าง  มอด 2 ชนิดต่างก็ต่อสู้แย่งอาหารชนิดเดียวกัน

ความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตคู่ใดเหมือนความสัมพันธ์ของแบคทีเรียในปมรากถั่ว

รูปที่ 1.4 ความสัมพันธ์แบบ mutualism ระหว่างราและสาหร่าย แบคทีเรียไรโซเบียม (Rhizobium) ในปมรากพืชวงศ์ถั่ว ตรึงไนโตรเจนจากอากาศให้แก่รากถั่ว ในขณะเดียวกันแบคทีเรียก็ได้รับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และแร่ธาตุจากต้นถั่ว รูปที่ 1.5 ปมรากถั่วซึ่งภายในมีแบคทีเรียไรโซเบียม

มดดำกับเพลี้ยอ่อนมีความสัมพันธ์กันอย่างไร

มดดำกับเพลี้ย เพลี้ยได้รับประโยชน์ในการที่มดดำพาไปดูดน้ำเลี้ยงที่ต้นไม้ และมดดำก็จะได้รับน้ำหวาน ปูเสฉวนกับดอกไม้ทะเล (Sea Nnemone) ปูเสฉวนอาศัยดอกไม้ทะเลพรางตัวจาก ศัตรู และยังอาศัยเข็มพิษจากดอกไม้ทะเลป้องกันศัตรู ส่วนดอกไม้ทะเลก็ได้รับ

สิ่งมีชีวิตมีความสัมพันธ์กันอย่างไร

ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตต่างชนิด (Interspecific interactions) หมายถึง ความเกี่ยวข้องหรือสายสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นจากการอาศัยอยู่ร่วมกันของสิ่งมีชีวิตต่างชนิดในระบบนิเวศ โดยก่อให้เกิดทั้งภาวะของการพึ่งพาอาศัยกันและกัน การแก่งแย่งแข่งขัน หรือแม้แต่การเบียดเบียนสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นเพื่อความอยู่รอด

สิ่งมีชีวิตชนิดใด มีความสัมพันธ์แบบได้ประโยชน์ร่วมกัน

1. การได้รับประโยชน์ร่วมกัน (mutualism) เป็นการอยู่ร่วมกันของสิ่งมีชีวิต 2 ชนิดที่ได้ประโยชน์ด้วยกันทั้งสองชนิด ใช้สัญลักษณ์ +, + เช่น แมลงกับดอกไม้ แมลงดูดน้ำหวานจากดอกไม้เป็นอาหาร และดอกไม้ก็มีแมลงช่วยผสมเกสร นกเอี้ยงกับควาย นกเอี้ยงได้กินแมลงต่าง ๆ จากหลังควาย และควายก็ได้นกเอี้ยงช่วยกำจัดแมลงที่มาก่อความรำคาญ

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ศัพท์ทางทหาร military words แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 พจนานุกรมศัพท์ทหาร ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง ไทยแปลอังกฤษ ประโยค lmyour แปลภาษา การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ประปาไม่ไหล วันนี้ ฝยก. ย่อมาจาก หยน ห่อหมกฮวก แปลว่า เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษาจีน ่้แปลภาษา onet ม3 การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 1 ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง ตตตตลก บบบย ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ เขียน อาหรับ แปลไทย เนื้อเพลง ห่อหมกฮวก แปลไทย asus zenfone 2e กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น การประปานครหลวง ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบภาษาอังกฤษ ม.ปลาย พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ชขภใ ชื่อเต็ม ร.9 คําอ่าน ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน นยน. ย่อมาจาก ทหาร บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ฝสธ. ย่อมาจาก มัดหัวใจเจ้าชายเย็นชา 2 ซับไทย มัดหัวใจเจ้าชายเย็นชา 2 เต็มเรื่อง ยศทหารบก เรียงลําดับ ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 รัชกาลที่ 10 ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คอร์ด