เขตปลอดภัยทางเดินอากาศ

โครงการปรับปรุงเขตปลอดภัยในการเดินอากาศ กรมการบินพลเรือน

กลุ่มบริษัทซีดีจี ได้รับความไว้วางใจจากกรมการบินพลเรือนให้เป็นผู้จัดทำโครงการปรับปรุงเขตปลอดภัยในการเดินอากาศให้เป็นระบบดิจิทัล ซึ่งระบบตรวจสอบความปลอดภัยสำหรับงานการเดินอากาศ ประกอบด้วยการจัดทำข้อมูลความสูงภูมิประเทศเชิงเลขและข้อมูลความสูงสิ่งกีดขวาง (ETOD – Electronic Terrain and Obstacle Data) ซึ่งเป็นข้อมูลที่มีความจำเป็นอย่างยิ่งในการรักษาความปลอดภัยตามข้อกำหนดขององค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO – International Civil Aviation Organization) โดยได้มีการจัดทำข้อมูลความสูงของสิ่งกีดขวางเพื่อใช้ในการจัดการ และควบคุมสิ่งก่อสร้างบริเวณโดยรอบของสนามบิน และช่วยในการบริหารด้านความปลอดภัยในการเดินอากาศสำหรับสนามบินทั้ง 26 แห่ง ภายใต้การดูแลของกรมการบินพลเรือน โดยข้อมูลความสูงภูมิประเทศเชิงเลข และข้อมูลความสูงสิ่งกีดขวางจะถูกนำมาใช้วิเคราะห์พื้นที่เสี่ยง และพื้นที่ได้รับผลกระทบด้านความปลอดภัยสำหรับการเดินอากาศจากขอบเขตพื้นผิวสำหรับระบุสิ่งกีดขวางเพื่อความปลอดภัย (Obstruction and Identification Surface) ซึ่งแผนที่ต้องถูกจัดทำอย่าง เหมาะสมให้สัมพันธ์กับความถูกต้องของการสำรวจตามข้อกำหนดขององค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ

นอกจากนั้น กลุ่มบริษัทฯ ได้นำเทคโนโลยีด้าน GIS เข้าไปช่วยเก็บข้อมูลภูมิประเทศเชิงเลขด้วยระบบ LIDAR ตลอดจนการลงพื้นที่สำรวจเสาสูง และสิ่งปลูกสร้างทั้งหมดในบริเวณรอบสนามบินให้อยู่ในรูปแบบดิจิทัล สามารถสืบค้นได้จากโปรแกรมด้านสารสนเทศภูมิศาสตร์ ทำให้เจ้าหน้าที่กรมการบินพลเรือนสามารถใช้ซอฟต์แวร์ในการวิเคราะห์ และพิจารณาใบอนุญาตได้โดยไม่ต้องลงพื้นที่ซ้ำซ้อน ช่วยประหยัดเวลาของเจ้าพนักงาน สร้างความสะดวกรวดเร็วแก่ประชาชน และช่วยลดค่าใช้จ่ายขององค์กร

ด้วยความเชี่ยวชาญในการทำงานทั้งการสำรวจพื้นที่ ผสานการประยุกต์ใช้ข้อมูลภูมิศาสตร์ของกลุ่มบริษัทฯ จึงสามารถตอบโจทย์ความต้องการของกรมการบินพลเรือนได้อย่างสมบูรณ์ หนึ่งในผลลัพธ์ที่เห็นได้ชัดเจน คือสามารถลดเวลาในการออกใบอนุญาตแต่ละครั้งจากเดิมใช้เวลาประมาณ 2 อาทิตย์ เหลือไม่เกิน 3 วัน ซึ่งสร้างความประทับใจให้แก่ประชาชนเป็นอย่างมาก

Company: GISC

เขตปลอดภัยในการเดินอากาศ

  • แผนที่บริเวณเขตปลอดภัยในการเดินอากาศ สนามบินดอนเมือง พ.ศ. 2540
  • แผนที่บริเวณเขตปลอดภัยในการเดินอากาศ สนามบินสุวรรณภูมิ พ.ศ. 2550

  • การขออนุญาตก่อสร้างภายในเขตปลอดภัยในการเดินอากาศ

หมายเหตุ

การแก้ปัญหาบราวเซอร์ Chrome ดาวน์โหลดไฟล์ .zip ไม่ได้
วิธีที่ 1 คลิกขวาที่ลิงก์, เลือก “เปิดลิงก์ในหน้าต่างใหม่”
วิธีที่ 2 คลิกขวาที่ลิงก์, เลือก “คัดลอกที่อยู่ลิงก์”, เปิดแท็บใหม่, paste ที่อยู่ลิงก์, กด Enter
วิธีที่ 3 คลิกสามจุดที่มุมขวา, เลือก “การตั้งค่า”, ที่หมวด “ข้อมูลส่วนบุคคลและความปลอดภัย” เลือก “การตั้งค่าเว็บไซต์”, ที่ด้านล่างสุดเลือก “เนื้อหาที่ไม่ปลอดภัย”, คลิก “เพิ่ม” ที่อยู่ข้างหลัง “ได้รับอนุญาตให้แสดงเนื้อหาที่ไม่ปลอดภัย”, พิมพ์ชื่อเว็บไซต์ “asa.or.th”, คลิก “เพิ่ม”
วิธีที่ 4 ใช้ browser ตัวอื่น เช่น Microsoft Edge

  • แจ้ง link ไม่สมบูรณ์ หรือแสดงความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ ที่ศูนย์ข้อมูลกฎหมายอาคาร: 

เขตปลอดภัยทางเดินอากาศ
21 Aug

เขตปลอดภัยในการเดินอากาศคืออะไร

เขตปลอดภัยในการเดินอากาศบริเวณใกล้เคียงสนามบิน หมายถึง พื้นที่โดยรอบสนามบินที่ถูกกำหนดโดยประกาศกระทรวงคมนาคม ให้เป็นพื้นที่ควบคุมสิ่งปลูกสร้าง หรืออาคาร หรือต้นไม้ยืนต้น เพื่อมิให้เป็นอุปสรรคต่อการเดินอากาศของอากาศยานที่จะมาขึ้นลง ณ สนามบินนั้น และห้ามมิให้บุคคลใดทำการก่อสร้างสิ่งปลูกสร้าง หรืออาคาร หรือปลูกต้นไม้ยืนต้นภายในบริเวณนี้เว้นแต่จะได้รับ อนุญาตเป็นหนังสือจากพนักงานเจ้าหน้าที่ (กรมการบินพลเรือน)

  • ทวีต
  • แชร์
  • สั่งพิมพ์

คู่มือการให้บริการ (Guidance Material)

การขออนุญาตก่อสร้างภายในเขตปลอดภัยในการเดินอากาศ (Proposed Development in Air Navigation Safety Zone Approval)

  18 ตุลาคม 2565

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

  • พระราชบัญญัติการเดินอากาศ พ.ศ. 2497

มาตรา 58  ให้รัฐมนตรีมีอำนาจประกาศในราชกิจจานุเบกษากำหนดเขตบริเวณใกล้เคียงสนามบิน หรือสถานที่ตั้งเครื่องอำนวยความสะดวก
ในการเดินอากาศเป็นเขตปลอดภัยในการเดินอากาศ

มาตรา 59  ภายในเขตปลอดภัยในการเดินอากาศตามมาตรา 58 ห้ามมิให้บุคคลใดก่อสร้างหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงอาคารหรือสิ่งปลูกสร้าง
อย่างอื่น หรือปลูกต้นไม้ยืนต้น เว้นแต่จะได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากพนักงานเจ้าหน้าที่
ในการให้อนุญาตตามมาตรานี้ พนักงานเจ้าหน้าที่จะกำหนดเงื่อนไขอย่างใด ๆ ตามที่เห็นสมควรก็ได้

มาตรา 60  ถ้าปรากฏว่ามีการฝ่าฝืนต่อมาตรา 59 วรรคหนึ่ง หรือฝ่าฝืนเงื่อนไขตามมาตรา 59 วรรคสอง ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจสั่งเป็นหนังสือให้ผู้ฝ่าฝืนจัดการรื้อถอนอาคารหรือสิ่งปลูกสร้าง หรือตัด หรือย้ายต้นไม้นั้นภายในเวลาที่กำหนด
ในกรณีที่มีการฝ่าฝืนคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามวรรคก่อน ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจจัดการรื้อถอนอาคารหรือสิ่งปลูกสร้าง
หรือตัด หรือย้ายต้นไม้นั้นเสียเอง ค่าใช้จ่ายในการนี้ให้ผู้ฝ่าฝืนเป็นผู้ชดใช้

  • ประกาศกระทรวงคมนาคม เรื่อง กำหนดเขตบริเวณใกล้เคียงสนามบิน เป็นเขตปลอดภัยในการเดินอากาศ
  • ประกาศสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย เรื่อง แบบหนังสืออนุญาตให้ก่อสร้าง หรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงอาคารหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่น หรือปลูกต้นไม้ยืนต้น ภายใน เขตปลอดภัยในการเดินอากาศบริเวณใกล้เคียงสนามบิน พ.ศ. 2564
  • ข้อกำหนดของสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 14 ว่าด้วยมาตรฐานสนามบิน

การขอตรวจสอบความสูง

  • การตรวจสอบความสู

ผู้ขออนุญาตประสงค์ขอทราบความสูงที่สูงสุดของสิ่งปลูกสร้างที่สามารถก่อสร้างได้ ภายในเขตปลอดภัยในการเดินอากาศ โดย​ให้ยื่น
แบบคำขอตรวจสอบความสูงภายในเขตปลอดภัยในการเดินอากาศพร้อมเอกสารหลักฐานให้ครบถ้วนและถูกต้อง ทั้งนี้ ไม่ต้องยื่นแบบแปลนรูปด้าน รูปตัด ที่แสดงความสูงของอาคารหรือสิ่งปลูกสร้าง จากระดับพื้นดิน

  • หลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไขในการยื่นคำขอและการพิจารณาอนุญาต
  1. ผู้ขอรับหนังสือเป็นผู้ที่มีความประสงค์จะดำเนินการขอตรวจสอบความสูงอนุญาตที่สามารถก่อสร้างได้ของสิ่งปลูกสร้างภายในเขตปลอดภัยในการเดินอากาศบริเวณใกล้เคียงสนามบิน ตามประกาศกระทรวงคมนาคม เรื่อง กำหนดเขตบริเวณใกล้เคียงสนามบินเป็นเขตปลอดภัย ในการเดินอากาศ ให้ยื่นคำขอและเอกสารหลักฐานให้ครบถ้วนและถูกต้องตามที่กำหนด

  2. ขั้นตอนการดำเนินงานจะเริ่มนับระยะเวลาตั้งแต่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้รับคำขอและเอกสารหลักฐานที่ถูกต้องและครบถ้วนสมบูรณ์เท่านั้น

  3. สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทยจะยังไม่พิจารณาคำขอและยังไม่เริ่มนับระยะเวลาดำเนินงานจนกว่าผู้ขอรับใบอนุญาตจะดำเนินการแก้ไขคำขอและ/หรือเอกสารหลักฐาน และ/หรือยื่นเอกสารเพิ่มเติมนั้นเรียบร้อยแล้ว

  4. เอกสารหลักฐานทุกรายการจะต้องนำส่งในรูปแบบของขนาดกระดาษ A4 เท่านั้น

  5. เอกสารประกอบการพิจารณาทุกฉบับที่เป็นฉบับสำเนาต้องลงนามรับรองสำเนาถูกต้อง โดยผู้ขอรับหนังสือ และในกรณีนิติบุคคลต้องลงนามรับรองสำเนาถูกต้องโดยผู้มีอำนาจ ลงนามหรือผู้ได้รับมอบอำนาจลงนาม พร้อมประทับตราบริษัท

  6. ระยะเวลาดำเนินงานไม่รวมระยะเวลาในการดำเนินการของผู้ขอรับหนังสือ การปรับปรุงแก้ไขร่างข้อบังคับฯ ความล่าช้าในกรณีเอกสารไม่ครบถ้วน การนำส่งเอกสาร และระยะเวลาที่ผู้ขอรับหนังสือ แก้ไขความไม่สมบูรณ์ของเอกสาร การตรวจสอบจากหน่วยงานภายนอก และการลงพื้นที่ตรวจสอบ

หมายเหตุ รายละเอียดหนังสือมอบอำนาจและเอกสารประกอบการมอบอำนาจสามารถตรวจสอบได้ที่ไฟล์แนบ

ระยะเวลาดำเนินการ

12 วันทำการ

อัตราค่าธรรมเนียม

ไม่เรียกเก็บค่าธรรมเนียม

การขออนุญาตก่อสร้างภายในเขตปลอดภัยในการเดินอากาศ

  • การขออนุญาตก่อสร้าง

ผู้ขออนุญาตประสงค์ขออนุญาตก่อสร้างสิ่งปลูกสร้างภายในเขตปลอดภัยในการเดินอากาศ โดยผู้ขออนุญาตมีหนังสือตรวจสอบความสูง หรือ
ไม่มีหนังสือตรวจสอบความสูง ให้ยื่นแบบคำขออนุญาตก่อสร้างภายในเขตปลอดภัยในการเดินอากาศพร้อมเอกสารหลักฐานให้ครบถ้วนและ
ถูกต้อง ทั้งนี้ หากมีหนังสือตรวจสอบความสูง ให้แนบสำเนาหนังสือฯ มาพร้อมด้วย

  • หลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไขในการยื่นคำขอและการพิจารณาอนุญาต
  1. ผู้ขอรับหนังสือเป็นผู้ที่มีความประสงค์จะดำเนินการก่อสร้างสิ่งปลูกสร้างภายในเขตปลอดภัยในการเดินอากาศบริเวณใกล้เคียงสนามบิน ตามประกาศกระทรวงคมนาคม เรื่อง กำหนดเขตบริเวณใกล้เคียงสนามบินเป็นเขตปลอดภัยในการเดินอากาศ โดยผู้ขอรับหนังสือมี หรือไม่มีหนังสือตรวจสอบความสูง ให้ยื่นคำขอและเอกสารหลักฐานให้ครบถ้วนและถูกต้องตามที่กำหนด กรณีที่มีการติดตั้งทาวเวอร์เครน (Tower Crane) ให้ยื่นแคตตาล็อกของทาวเวอร์เครน (Tower Crane) พร้อมทั้งระบุข้อมูลส่วนที่ 4 ในแบบคำขอให้ถูกต้องครบถ้วน  ทั้งนี้ หากผู้ขอรับหนังสือมีหนังสือตรวจสอบความสูง ให้แนบสำเนาหนังสือฉบับดังกล่าวมาพร้อมด้วย

  2. ขั้นตอนการดำเนินงานจะเริ่มนับระยะเวลาตั้งแต่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้รับคำขอและเอกสารหลักฐานที่ถูกต้องและครบถ้วนสมบูรณ์เท่านั้น

  3. สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทยจะยังไม่พิจารณาคำขอและยังไม่เริ่มนับระยะเวลาดำเนินงานจนกว่าผู้ขอรับหนังสือจะดำเนินการแก้ไขคำขอและ/หรือเอกสารหลักฐาน และ/หรือยื่นเอกสารเพิ่มเติมนั้นเรียบร้อยแล้ว

  4. เอกสารหลักฐานทุกรายการจะต้องนำส่งในรูปแบบของขนาดกระดาษ A4 เท่านั้น

  5. เอกสารประกอบการพิจารณาทุกฉบับที่เป็นฉบับสำเนาต้องลงนามรับรองสำเนาถูกต้อง โดยผู้ขอรับหนังสือ และในกรณีนิติบุคคลต้องลงนามรับรองสำเนาถูกต้องโดยผู้มีอำนาจ ลงนามหรือผู้ได้รับมอบอำนาจลงนาม พร้อมประทับตราบริษัท

  6. ระยะเวลาดำเนินงานไม่รวมระยะเวลาในการดำเนินการของผู้ขอรับหนังสือ การปรับปรุงแก้ไขร่างข้อบังคับฯ ความล่าช้าในกรณีเอกสารไม่ครบถ้วน การนำส่งเอกสาร และระยะเวลาที่ผู้ขอรับหนังสือ แก้ไขความไม่สมบูรณ์ของเอกสาร การตรวจสอบจากหน่วยงานภายนอก และการลงพื้นที่ตรวจสอบ

  7. หากดำเนินการโดยยังไม่ได้รับการอนุญาตฯ กพท. จะพิจารณาเข้าสู่กระบวนการบังคับใช้ ตามกฎหมายต่อไป

หมายเหตุ รายละเอียดหนังสือมอบอำนาจและเอกสารประกอบการมอบอำนาจสามารถตรวจสอบได้ที่ไฟล์แนบ

ระยะเวลาดำเนินการ

22 วันทำการ

อัตราค่าธรรมเนียม

ไม่เรียกเก็บค่าธรรมเนียม


ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม

ฝ่ายมาตรฐานสนามบิน สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย
333/105 อาคารหลักสี่พลาซ่า ชั้น 9 ถนนกำแพงเพชร 6 แขวงตลาดบางเขน เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ 10210
โทรศัพท์ 02-568-8826 วันจันทร์ – วันศุกร์ เวลา 08.30 – 16.30 น. (มีพักเที่ยง)

ไฟล์แนบ