อายุครรภ์ 34 สัปดาห์ น้ำหนักทารก

เมื่อ ตั้งครรภ์ 34 สัปดาห์ คุณแม่คงอยากจะรู้ใช่ไหม ว่าตอนนี้ลูกน้อยในครรภ์มีการเจริญเติบโตอย่างไรบ้าง มีน้ำหนัก และขนาดตัวเท่าไหร่ ดังนั้นในบทความนี้เราจะพาคุณแม่ไปหาคำตอบกัน พร้อมแนะนำเกี่ยวกับสิ่งที่คุณแม่ควรทำและควรดูแลตนเองในช่วงนี้ด้วย โดยสามารถดูได้จากข้อมูลดังต่อไปนี้ได้เลย

ตั้งครรภ์ 34 สัปดาห์ ลูกน้อยตัวแค่ไหน

อายุครรภ์ 34 สัปดาห์ ลูกน้อยในครรภ์ของคุณสามารถได้ยินเสียงและฟังเสียงรอบตัวได้แล้ว เขาอาจจะชื่นชอบเพลงกล่อมเด็กที่คุณเปิดหรืออาจจะจดจำเพลงที่คุณร้องให้ฟังได้ทุกคืน เมื่อคลอดออกมาก็มีแนวโน้มว่าจะจดทำโทนเสียงที่คุ้นเคยได้ดี โดยทารกในครรภ์มีขนาดประมาณ 45 ซม. มีน้ำหนักประมาณ 2,000 กรัม ในช่วงนี้น้ำคร่ำจะเพิ่มมากขึ้น ท้องของคุณแม่ก็จะขยายใหญ่มากขึ้นตามไปด้วย

สิ่งที่คุณแม่ควรทำ เมื่อตั้งครรภ์ 34 สัปดาห์

มาดูกันว่าในช่วงอายุครรภ์ 34 สัปดาห์ คุณแม่ควรทำอะไรบ้าง

1.นอนตะแคงข้าง

ในช่วงตั้งครรภ์ 34 สัปดาห์แนะนำให้คุณแม่นอนตะแคงข้าง ซึ่งเป็นท่าที่เหมาะสมที่สุด การนอนหงายจะเพิ่มความเสี่ยงทำให้ทารกเสียชีวิตขณะอยู่ในครรภ์ได้ ถ้าหากคุณแม่มีปัญหาเรื่องการนอน ลองเปลี่ยนเป็นท่ากึ่งนั่งกึ่งนอน และควรเพิ่มเวลางีบหลับตอนกลางวันเพื่อให้ร่างกายได้พักผ่อนอย่างเพียงพอ

2.รับประทานอาหารที่ดีมีประโยชน์

ตั้งครรภ์ 34 สัปดาห์ควรรับประทานอาหารที่ดีและมีประโยชน์ โดยคุณแม่สามารถเพิ่มปริมาณอาหารได้อีก 200 แคลอรี่ต่อวัน ซึ่งเพียงพอต่อคุณแม่และทารกในครรภ์แล้ว สำหรับเมนูอาหารแนะนำอาจจะเป็น โจ๊กหรือข้าวต้ม ผลไม้ โยเกิร์ต ปลานึ่ง ปลาย่าง รวมถึงอาหารประเภทอื่นๆ ที่ย่อยง่ายและรสไม่จัด

3.ว่ายน้ำ

เป็นการออกกำลังกายที่ปลอดภัยต่อข้อต่อและร่างกายของคุณแม่อย่างมาก เพราะน้ำช่วยรองรับน้ำหนักได้ดี แต่ควรอยู่ในความดูแลของผู้สอน หลีกเลี่ยงการว่ายน้ำที่ต้องเคลื่อนไหวมากๆ เพื่อป้องกันอาการบาดเจ็บบริเวณกระดูกเชิงกราน

4.วางแผนตั้งชื่อลูก

เป็นกิจกรรมสร้างสรรค์ของครอบครัว ถ้าหากคุณยังไม่ได้ชื่อลูกที่ถูกใจ ช่วงเวลานี้ถือเป็นเวลาที่เหมาะสม นอกจากนี้ยังควรเตรียมวางแผนอื่นๆ เพื่อเตรียมพร้อมต้อนรับสมาชิกใหม่ของครอบครัวด้วย

อาการต่างๆ ที่มักจะพบในช่วงนี้

มาดูกันว่ามีอาการอะไรที่อาจจะเกิดขึ้นในช่วงตั้งครรภ์ 34 สัปดาห์บ้าง เพื่อที่คุณแม่จะได้เตรียมพร้อมรับมือได้ทันนั่นเอง

1.ตาพร่ามัว

เป็นเพราะฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลง ปริมาณน้ำคร่ำที่เพิ่มมากขึ้น และการนอนหลับไม่เพียงพอในเวลากลางคืน อาจทำให้ตาพร่ามัวได้ ซึ่งอาจจะเป็นๆ หายๆ แต่ถ้ามีอาการตามัว ร่วมกับมีอาการตัวบวม ปวดศีรษะ น้ำหนักเพิ่มขึ้น อาจเป็นสัญญาณของครรภ์เป็นพิษ ต้องรีบพบแพทย์โดยด่วน

2.เหนื่อยล้า

ความเหนื่อยล้าอาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ ส่วนหนึ่งเกิดจากการแบกรับน้ำหนักทารกน้อยในครรภ์ซึ่งมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทุกวัน รวมถึงการนอนหลับไม่เพียงพอ จึงทำให้เกิดอาการเหนื่อยล้ามากขึ้น แนะนำให้พักงีบระหว่างวัน ซึ่งจะช่วยให้ร่างกายได้ผ่อนคลายมากขึ้น

3.ท้องผูก

อาการนี้เกิดขึ้นได้เป็นปกติของคนท้องแก่ ทำให้รู้สึกไม่สบายตัว คุณแม่ควรออกกำลังกายเบาๆ รับประทานผักผลไม้ให้มากขึ้น ดื่มน้ำเยอะๆ เพื่อช่วยกระตุ้นระบบขับถ่ายให้ทำงานได้ดีกว่าเดิม

4.ริดสีดวงทวาร

อาการนี้มักมาพร้อมกับท้องผูก เป็นอาการที่มักเกิดขึ้นคู่กัน สาเหตุหลักๆ มาจากน้ำหนักของทารกน้อยที่กดทับส่วนปลายลำไส้ใหญ่ ทำให้เป็นริดสีดวงทวารได้ง่าย ควรหลีกเลี่ยงการยืน เดิน หรือนั่งอยู่ในท่าเดิมเป็นเวลานาน ฝึกขับถ่ายอุจจาระเป็นเวลา ไม่กลั้นและไม่เบ่งอุจจาระ

ในช่วงตั้งครรภ์ 34 สัปดาห์ เวลาใกล้คลอดเช่นนี้ นอกจากจะคอยสังเกตอาการของคุณแม่อย่างใกล้ชิดแล้ว ยังควรเตรียมพร้อมและตรวจสอบสิ่งต่างๆ ที่จำเป็นเตรียมไว้ในกระเป๋าก่อนไปโรงพยาบาล จัดการเคลียร์ตารางงานของคุณพ่อให้พร้อม จัดสรรงบประมาณและค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เมื่อถึงวันคลอดคุณแม่จะได้พร้อมเดินทางไปโรงพยาบาลได้ทันทีไม่ต้องกังวล

ช่วงนี้ต้องระวังคำพูดหน่อยนะคะ! ลูกน้อยที่อยากรู้อยากเห็นสามารถได้ยินเสียงคุณแม่และกำลังฟังเวลาคุณแม่พูดคุยในช่วงสัปดาห์ที่ 34 นี้ ที่จริงแล้วลูกอาจจะอยากฟังเพลงกล่อมเด็กสักหน่อย เพราะฉะนั้นลองหาเพลงมาร้องให้ลูกฟังดูนะคะ ผู้เชี่ยวชาญบางท่านบอกว่า หลังจากคลอดออกมาแล้ว ลูกจะสามารถจำเพลงที่คุณแม่ร้องให้ฟังขณะอยู่ในครรภ์ได้ และอาจจะหายงอแงง่ายขึ้นหากได้ยินเสียงที่เคยได้ยินมาก่อนที่จะออกมาอยู่ใน “โลกภายนอก” และไม่ต้องห่วงค่ะ ลูกไม่สนใจเลยว่าคุณแม่จะร้องเพี้ยนหรือไม่

ทารกในครรภ์อายุ 34 สัปดาห์มีขนาดตัวเท่าใด

ในสัปดาห์นี้ลูกมีขนาดเท่าฟักทองน้ำเต้าแล้วนะคะ เหลืออีกเพียงไม่ถึง 2 เดือนลูกก็จะออกมาแล้ว ตอนนี้ลูกมีน้ำหนักประมาณ 4.7 ปอนด์และยาวประมาณ 17.7 นิ้วค่ะ

ตั้งครรภ์ 34 สัปดาห์เท่ากับกี่เดือน

34 สัปดาห์เท่ากับ 8 เดือนค่ะ อีกเพียง 6 สัปดาห์คุณแม่ก็จะกลายเป็นคุณแม่เต็มตัวแล้ว!

อาการเมื่อตั้งครรภ์ได้ 34 สัปดาห์

อาการส่วนใหญ่ที่คุณแม่ต้องประสบในสัปดาห์ที่ 34 นี้ ซึ่งจะเป็นเรื่องปกติในการตั้งครรภ์ช่วงท้าย และจะทำให้รู้สึกรำคาญมาก ๆ ตั้งแต่นี้เป็นต้นไปค่ะ

  • ดวงตาพร่ามัว เกิดจากทั้งฮอร์โมนที่แปรปรวน ของเหลวที่เพิ่มขึ้น และการนอนไม่พอ ทั้งหมดนี้ทำให้คุณแม่มีสายตาที่ “แย่ลง” เล็กน้อย บางครั้งมันก็เป็นเพียงอาการระหว่างการตั้งครรภ์ที่แสนจะธรรมดา แต่ถ้าดวงตาพร่ามัวมาพร้อมกับอาการบวม ปวดหัว น้ำหนักขึ้นอย่างรวดเร็ว หรือตัวบวมอย่างรวดเร็ว มันก็สามารถเป็นสัญญาณของภาวะครรภ์เป็นพิษได้ ดังนั้นจึงต้องรีบแจ้งคุณหมอโดยด่วนค่ะ
  • อ่อนเพลีย การต้องแบกน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นไปไหนมาไหนด้วยก็เป็นเรื่องที่เหนื่อยจะแย่อยู่แล้ว (ไม่ว่าคุณแม่จะอุ้มท้องลูกคนเดียวหรือลูกแฝดก็ตาม!) แถมคุณแม่ยังนอนไม่ค่อยหลับอีก
  • ท้องผูก อาการขับถ่ายไม่สะดวกในสัปดาห์นี้เป็นเรื่องปกติค่ะ ซึ่งจะยิ่งทำให้คุณแม่รู้สึกไม่สบายตัวมากขึ้นไปอีก อย่าลืมเดินบ่อย ๆ รับประทานอาหารที่มีไฟเบอร์สูง (เช่น ผักใบเขียว) และดื่มน้ำมาก ๆ เพื่อให้ระบบขับถ่ายทำงานได้ดีนะคะ
  • ริดสีดวงทวาร นี่เป็นวงจรที่แย่มากเลยค่ะ! การเบ่งเวลาเข้าห้องน้ำสามารถทำให้เกิดอาการที่ไม่สนุกอย่างยิ่งนี้ได้นะคะ ไหนจะน้ำหนักที่ลูกกดทับลำไส้ของคุณแม่อีก การบรรเทาทำได้โดยจัดการกับปัญหาท้องผูกและพยายามเปลี่ยนท่านั่งท่ายืนบ่อย ๆ เพื่อคลายแรงกดในบริเวณนั้น ๆ ค่ะ
  • ข้อเท้าและเท้าบวม คุณแม่พยายามนั่งและยกขาสูงทุกครั้งที่ทำได้นะคะ เพื่อที่จะได้ลดอาการบวมค่ะ
  • แรงกดในช่องท้อง เนื่องจากลูกเตรียมตัวที่จะออกมาดูโลกและเคลื่อนตัวต่ำลง คุณแม่จึงรู้สึกได้ถึงแรงกดในอุ้งเชิงกรานและอาจจะปัสสาวะบ่อยขึ้นมากเลยค่ะ
  • เจ็บเตือนหรือเจ็บหลอก ในสัปดาห์นี้ ความรู้สึกบีบเกร็งในช่องท้องเป็นเรื่องธรรมดาค่ะ เพราะร่างกายของคุณแม่กำลังเตรียมพร้อมเมื่อวันจริงมาถึง แต่ให้ระวังไว้ว่าในสัปดาห์นี้อาการเจ็บหัวหน่าวก็อาจเป็นสัญญาณของปัญหาได้เช่นกัน หากมีอาการมดลูกบีบตัวที่เกิดขึ้นต่อเนื่องเกินหนึ่งชั่วโมง มีเลือดออกจากช่องคลอด และปวดหลังช่วงล่าง นั่นเป็นอาการของการคลอดก่อนกำหนดค่ะ ถ้าคุณแม่มีอาการที่น่ากังวลเหล่านี้ รีบแจ้งคุณหมอให้ทราบด่วนนะคะ

ท้องของคุณแม่ที่ตั้งครรภ์ 34 สัปดาห์

ครรภ์อายุ 34 สัปดาห์ของคุณแม่อาจจะดูเหมือนลดต่ำลงมาเล็กน้อย (หรือมาก) กว่าเมื่อสองสามสัปดาห์ที่แล้ว นั่นเป็นเพราะตอนนี้ลูกเคลื่อนลงมาอยู่ในอุ้งเชิงกรานแล้วค่ะ ซึ่งจะทำให้คุณแม่หายใจได้สบายขึ้นเล็กน้อย เนื่องจากปอดมีพื้นที่มากขึ้น โล่ง! (ทารกบางคนก็อาจจะไม่ได้เคลื่อนลงมาจนถึงวันที่คลอดจริง ข้อนี้จึงรับปากไม่ได้ทั้งหมดนะคะ) แต่แน่นอนว่าผลที่เกิดจากการเคลื่อนตัวลงมานี้คือแรงกดบริเวณกระเพาะปัสสาวะที่เพิ่มขึ้น ดังนั้นเตรียมตัวให้พร้อมหากต้องเข้าห้องน้ำบ่อยขึ้นในช่วงสัปดาห์ข้างหน้านี้นะคะ

ในสัปดาห์นี้ ท้องของคุณแม่ควรจะมีขนาด 32 - 36 เซนติเมตร วัดจากยอดมดลูกจนถึงกระดูกหัวหน่าว หากวัดแล้วท้องใหญ่กว่าหรือเล็กกว่านี้เล็กน้อย ก็อาจจะหมายความว่าลูกของคุณแม่ตัวใหญ่หรือตัวเล็กกว่าค่าเฉลี่ย ยังไม่กลับหัว หรือตะแคงอยู่นะคะ รวมถึงอาจจะมีปัญหาเรื่องระดับของน้ำคร่ำด้วย ไม่ว่าจะมีความผิดปกติใดก็ตามเกี่ยวกับความสูงของยอดมดลูก (การวัดท้องนั่นเอง) คุณหมอก็อาจสั่งให้คุณแม่ได้รับการอัลตราซาวนด์เพื่อหาต้นเหตุของปัญหาค่ะ

ข้อเท็จจริงที่น่าสนใจ: น้ำคร่ำจะอยู่ในระดับสูงที่สุดระหว่างสัปดาห์ที่ 34 - 36 ดังนั้นคุณแม่จึงอาจจะรู้สึกว่าท้องของตัวเองไม่ได้ใหญ่ขึ้นมากหลังจากช่วงนี้ นั่นก็เพราะของเหลวจะลดลงเพื่อให้ลูกโตขึ้นและมีพื้นที่ขยับมากขึ้น ตอนนี้ลูกจะรู้สึกสบายพอสมควร และทำให้เวลาที่ลูกดิ้นนั้นคุณแม่จะรู้สึกต่างจากก่อนหน้านี้ไปเล็กน้อยค่ะ

คุณแม่ต้องคอยนับอัตราการดิ้นของลูกอย่าให้ขาดนะคะ ทำทุกวัน วันละสองครั้ง ให้คุณแม่ตั้งนาฬิกาและดูว่าลูกใช้เวลาเท่าไรในการดิ้น 10 ครั้ง (ควรจะไม่เกิน 1 ชั่วโมงหรือน้อยกว่านั้น) แจ้งคุณหมอทันทีนะคะหากมีการเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจนเกิดขึ้น

ถ้าคุณแม่ตั้งท้องลูกแฝด คุณแม่อาจจะรู้สึกกระสับกระส่ายพอสมควรทีเดียว ซึ่งนั่นอาจจะเป็นสัญญาณทางจิตวิทยาที่คอยเตือนแบบอ้อม ๆ ว่าลูกกำลังจะคลอดแล้ว สำหรับคุณแม่ลูกแฝด เริ่มนับถอยหลังได้แล้วนะคะ เนื่องจากการตั้งครรภ์แฝดนั้นใช้เวลาเต็มที่ประมาณ 37 สัปดาห์ หากคุณแม่ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องคลอดก่อนหน้านี้ คุณแม่ก็จะเจ็บท้องคลอดในราวสัปดาห์ที่ 37 นี้เองค่ะ

การอัลตราซาวนด์เมื่อตั้งครรภ์ได้ 34 สัปดาห์

คุณแม่น่าจะได้พบคุณหมอในสัปดาห์นี้ เนื่องจากตอนนี้จะต้องพบทุก ๆ สองสัปดาห์ ถ้าหากคุณหมอมีคำสั่งมา คุณแม่ก็อาจจะได้รับการตรวจ Biophysical profile (BPP) ซึ่งเป็นการผสมระหว่างการอัลตราซาวนด์ในสัปดาห์ที่ 34 และการตรวจ Non-stress test (NST) ซึ่งเป็นการวัดอัตราการเต้นของหัวใจทารกในช่วงระยะเวลา 20 นาที การตรวจทั้งสองอย่างนี้จะช่วยให้คุณหมอยืนยันได้ว่าลูกมีปฏิกิริยาตอบสนองที่ดีต่อความเครียดและการเจริญเติบโตค่ะ

สัปดาห์หน้า คุณแม่จะยังไม่ต้องพบคุณหมอนะคะ ขอให้คุณแม่ทำใจให้สบาย เพราะตั้งแต่สัปดาห์ที่ 36 เป็นต้นไป คุณแม่จะต้องพบคุณหมอทุกสัปดาห์ค่ะ ในช่วงสัปดาห์ที่ 36 นี้ คุณแม่อาจต้องเข้ารับการตรวจหาเชื้อ GBS (Group B streptococcus) ซึ่งเป็นเชื้อแบคทีเรียที่อาศัยอยู่ในลำไส้ ท่อปัสสาวะ และช่องทางระบบสืบพันธุ์ มักจะพบที่ช่องคลอดหรือทวารหนักของสตรีมีครรภ์ การตรวจหาเชื้อทำได้โดยป้ายของเหลวจากช่องคลอดและทวารหนักไปตรวจ 10 - 30% ของหญิงตั้งครรภ์มีผลตรวจเป็นบวกค่ะ ซึ่งอาจจะมีอันตรายต่อเด็กได้หากมีการส่งผ่านเชื้อระหว่างคลอด แต่ถึงคุณแม่มีผลตรวจเป็นบวกก็ไม่ใช่เรื่องที่ต้องกังวลนะคะ คุณแม่เพียงแค่จะต้องได้รับยาปฏิชีวนะระหว่างเจ็บท้องและตอนคลอดเท่านั้นเอง จะหาหนังสือไปนั่งอ่านเล่นระหว่างรอก็ได้ค่ะ

รายการตรวจสอบสำหรับการตั้งครรภ์ 34 สัปดาห์

เรื่องที่ต้องทำในสัปดาห์นี้:

  1. นัดฝากครรภ์สัปดาห์ที่ 36
  2. กรุยทางเพื่อการคลอดที่ราบรื่น
  3. เขียนคำขอบคุณสำหรับงานเบบี้เชาเวอร์

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ศัพท์ทางทหาร military words แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 พจนานุกรมศัพท์ทหาร ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง ไทยแปลอังกฤษ ประโยค lmyour แปลภาษา การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ประปาไม่ไหล วันนี้ ฝยก. ย่อมาจาก หยน ห่อหมกฮวก แปลว่า เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษาจีน ่้แปลภาษา onet ม3 การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 1 ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง ตตตตลก บบบย ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ เขียน อาหรับ แปลไทย เนื้อเพลง ห่อหมกฮวก แปลไทย asus zenfone 2e กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น การประปานครหลวง ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบภาษาอังกฤษ ม.ปลาย พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ชขภใ ชื่อเต็ม ร.9 คําอ่าน ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน นยน. ย่อมาจาก ทหาร บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ฝสธ. ย่อมาจาก มัดหัวใจเจ้าชายเย็นชา 2 ซับไทย มัดหัวใจเจ้าชายเย็นชา 2 เต็มเรื่อง ยศทหารบก เรียงลําดับ ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 รัชกาลที่ 10 ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คอร์ด