Ookbeecomics present ม ธยมปลายโรงเร ยนรามเก ยรต the series

หลายๆคนคงจะเริ่มนับ 1 ในชีวิตมหาวิทยาลัยเมื่อจบ ม.6 ตอนที่อายุ 18-19 ปี มันคือการเปลี่ยนระบบการเรียนจากโรงเรียน/วิทยาลัยให้ก้าวเข้าสู่ระบบมหาวิทยาลัย ที่ต้องใช้ความรับผิดชอบมากขึ้นไปอีก แต่จะดีกว่าไหมถ้าจะก้าวเข้าสู่ระบบการเรียนแบบมหาวิทยาลัยควบคู่ขณะกำลังเรียนชั้น ม.4/ปวช.

ก้าวสู่มหาวิทยาลัยตั้งแต่ตอนนี้

เริ่มนับ 1 ในชีวิตมหาวิทยาลัยตั้งแต่อายุ 16 ด้วยระบบพรีดีกรี กับการเรียนควบคู่ชั้นม.ปลาย(หรือเทียบเท่า)ไปพร้อมกับการสอบสะสมหน่วยกิตของมหาวิทยาลัยรามคำแหง เริ่มต้นก่อนก็ถึงเส้นชัยก่อน

พรีดีกรี (Pre-degree) คืออะไร

พรีดีกรีเป็นการเรียนเพื่อสะสมหน่วยกิตในระดับปริญญาตรีของมหาวิทยาลัยรามคำแหงล่วงหน้า โดยอนุญาตให้ผู้ที่มีวุฒิการศึกษาระดับม.ต้น(วุฒิ จบ ม.3 หรือ กศน.จบ ม.3) เป็นต้นไปมาสมัครเป็นนักศึกษาระดับพรีดีกรีได้ โดยเลือกลงทะเบียนเรียนวิชาใดๆก็ได้ของคณะที่สนใจได้เลย

นิ้ง พิชชาภา กันตพิชญาธร (นิ้ง SWEAT16) อดีตนักศึกษาพรีดีกรี ปัจจุบันจบการศึกษาระดับปริญญาตรีแล้ว

พรีดีกรี เหมาะกับใคร ?

พรีดีกรีเหมาะอย่างยิ่งสำหรับน้องๆที่กำลังเรียนอยู่ ม.ปลาย (หรือเทียบเท่า) รวมถึงน้องๆ ปวช. ที่ต้องการสะสมหน่วยกิตของมหาวิทยาลัย เพื่อจะได้จบปริญญาตรีของมหาวิทยาลัยรามคำแหงได้เร็วขึ้น (ถ้ามีวุฒิ ม.6 อยู่แล้ว สมัครเป็นนักศึกษาภาคปกติได้เลย) สำหรับนักศึกษา ปวส. ก็สามารถสมัครเรียนได้แต่ขอให้พิจารณาการลงทะเบียนในระบบพรีดีกรีไม่ให้ซ้ำซ้อนกับหน่วยกิตที่จะสามารถเทียบโอนจากวุฒิ ปวส. ได้ในอนาคต โดยอาจเลือกลงทะเบียนเรียนวิชาเอกได้เลย และเมื่อเรียนจบ ปวส.แล้ว ก็ให้เทียบโอนหน่วยกิตจากปวส.+หน่วยกิตที่สะสมได้ตอนเรียนพรีดีกรี เพื่อสมัครเป็นนักศึกษาภาคปกติ

ช่วงเวลาค้นหาตัวเอง

การเรียนที่มหาวิทยาลัยรามคำแหง เปิดโอหาสให้ทุกคนได้มีเวลาค้นหาตัวเองโดยเฉพาะเรื่องการเรียน และระบบพรีดีกรีไม่สังกัดคณะใดๆ หมายความว่า นักศึกษาพรีดีกรีไม่ใช่นักศึกษาของคณะใดคณะหนึ่ง ลอยตัวอยู่เหนือคณะทั้งหมด ถึงแม้ว่าตอนสมัครเรียนเขาจะให้เราเลือกคณะไปแล้วนี่นา? การที่มหาวิทยาลัยถามคณะตั้งแต่ตอนที่สมัคร ก็เพราะมหาวิทยาลัยจะได้เลือกหยิบวิชาในคณะที่เราสนใจมาให้เรา เป็นการอำนวยความสะดวกให้ตอนสมัครครั้งแรกเท่านั้น สมมติ ถ้าตอนนี้ชอบรัฐศาสตร์และมุ่งมั่นว่าในอนาคตก็จะเรียนคณะรัฐศาสตรแน่ๆ ก็ให้เราหยิบวิชาของรัฐศาสตร์มาสอบสะสมไว้ในระบบพรีดีกรีเรื่อยๆไปก่อน มันจะเป็นตัวช่วยให้เราจบรัฐศาสตร์ตอนที่เป็นนักศึกษาภาคปกติได้เร็วขึ้น แต่ถ้าเรียนไปแล้วเกิดเปลี่ยนใจขึ้นมาล่ะ ? ก็อย่างที่บอกว่า “พรีดีกรีไม่สังกัดคณะใดๆ” ถ้าเราไม่ชอบรัฐศาสตร์แล้ว แต่หันไปชอบสื่อสารมวลชนแทน เราก็เปลี่ยนไปหยิบวิชาของคณะสื่อสารมวลชนมาสอบสะสมต่อได้เลย ไม่ต้องแจ้งใคร ไม่ต้องแจ้งมหาวิทยาลัย แค่นี้เอง “…ปีนี้ชอบรัฐศาสตร์ ปีหน้าอาจจะชอบสื่อสารมวลชนขึ้นมาก็ได้นี่นา…”

ระบบพรีดีกรี และ ภาคปกติ เรียนต่างกันไหม ?

การเรียนระบบพรีดีกรี กับ การเรียนในภาคปกติ เหมือนกันเกือบทุกประการ คือ นักศึกษาพรีดีกรีเลือกสะสมหน่วยกิตได้ทุกสาขาวิชา ใช้กำหนดการในปฏิทินการศึกษาเดียวกัน เรียนเนื้อหาเดียวกัน เรียนห้องเดียวกัน ใช้ข้อสอบชุดเดียวกันกับนักศึกษาภาคปกติ และนักศึกษาพรีดีกรีต้องดูและตัวเองในทุก ๆ ด้าน ทั้งการวางแผนลงทะเบียนเรียน การสอบ ซึ่งจะต้องมีการแบ่งเวลาการเรียนทั้งที่โรงเรียนและมหาวิทยาลัยรามคำแหงเป็นอย่างดี สิ่งที่แตกต่างกันบางอย่างคือ ค่าใช้จ่ายระบบภาคปกติ และพรีดีกรี คือ นักศึกษาภาคปกติ ค่าหน่วยกิตละ 25 บาท , นักศึกษาพรีดีกรี หน่วยกิตละ 50 บาท

เรียนพรีดีกรีจะได้รับปริญญาไหม ?

การเรียนระบบพรีดีกรีไม่สามารถจบการศึกษาระดับปริญญาตรีได้ เนื่องจากระบบพรีดีกรีเป็นการสะสมหน่วยกิตเท่านั้น แต่หน่วยกิตที่สะสมไว้จะปูทางไปสู่การจบปริญญาตรีได้เร็วขึ้น ! (อ่านกรณีสมมติจะเข้าใจได้มากขึ้น) กรณีสมมติ น้อง A สมัครเป็นนักศึกษาพรีดีกรีด้วยวุฒิ ม.3 และกำลังเรียน ม.ปลายอยู่ด้วย หลังจากสมัครเรียนแล้วเวลาผ่านไป 3 ปี ปรากฎว่าน้อง A สะสมหน่วยกิตขณะเรียนพรีดีกรีได้ 100 หน่วยกิต จนเกือบครบตามหลักสูตรปริญญาตรีแล้ว(วงกลมสีเขียว) และถ้าสะสมอีกไม่กี่หน่วยกิตก็จะทำให้น้อง A เรียนครบหลักสูตรทันที แต่น้อง A จะจบปริญญาตรีไม่ได้… ถ้าไม่นำวุฒิ จบ ม.6 มาเปลี่ยนระบบให้เป็นนักศึกษาภาคปกติเสียก่อน ถ้าต้องการจบการศึกษาและรับพระราชทานปริญญาบัตร น้อง A ต้องลาออกจาการเป็นนักศึกษาพรีดีกรี และมัครเป็นนักศึกษาภาคปกติด้วยวุฒิฯ ม.6 และลงทะเบียนเรียนหน่วยกิตที่เหลือ(วงกลมสีม่วง) พร้อมกับเทียบโอนหน่วยกิตที่เคยสะสมเอาไว้ตอนที่เรียนพรีดีกรี(วงกลมสีเขียว)เข้าด้วยกัน จากนั้นเรียนและสอบในระบบปกติให้เสร็จสิ้น หากสอบผ่านทั้งหมดก็จะถือว่าจบการศึกษาทันที เข้าพิธีพระราชทานปริญญาบัตรได้ (บางคนสมัครเป็นนักศึกษาภาคปกติและเรียนต่อเพียงเทอมเดียวก็จบการศึกษาได้เลย เพราะสะสมหน่วยกิตตอนพรีดีกรีเอาไว้มากนั่นเอง)

ค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นขณะเรียน/หลังเรียนพรีดีกรี

1. ค่าใช้จ่ายในการสมัคร(ต้องจ่ายแน่ๆในวันสมัคร)

ค่าสมัครและลงทะเบียนเรียนครั้งแรก ส่วนกลาง : ไม่เกิน 3,100 บาท / ส่วนภูมิภาค : ไม่เกิน 4,080 บาท ค่าลงทะเบียนเรียนภาคการศึกษาต่อ ๆ ไป ส่วนกลาง : ไม่เกิน 1,400 บาท / ส่วนภูมิภาค : ไม่เกิน 2,000 บาท *อัตราค่าใช้จ่ายการลงทะเบียนเรียนขึ้นอยู่กับจำนวนหน่วยกิตที่ลงทะเบียนเรียน หากลงทะเบียนหน่วยกิตในภาคเรียนนั้นๆมาก ค่าใช้จ่ายจะมากตามไปด้วย ซึ่งมหาวิทยาลัยกำหนดให้ลงทะเบียนเรียนอย่างน้อย 9 หน่วยกิต/ภาคเรียน เท่านั้น แต่นักศึกษาสามารถลงทะเบียนเรียนได้สูงสุดถึง 21 หน่วยกิต

2. ค่าใช้จ่ายการเปลี่ยนระบบจากพรีดีกรีให้เป็นระบบปกติ(ต้องจ่ายในอนาคต)

ค่าใชัจ่ายนี้จะเกิดขึ้นเมื่อ นักศึกษาพรีดีกรีเรียนจบชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย หรือเทียบเท่า(ปวช. กศน.)แล้ว ต้องนำวุฒิการศึกษานี้มาสมัครเป็นนักศึกษา ป.ตรี ภาคปกติ และเทียบโอนหน่วยกิตที่สะสมได้เข้าสู่ระบบปกติด้วย โดยแบ่งเป็นค่าใช้จ่าย 2 ส่วน คือ 2.1 ค่าสมัครและลงทะเบียนเรียน(ปริญญาตรี ภาคปกติ) ไม่เกิน ส่วนกลาง : ไม่เกิน 3,750 บาท / ส่วนภูมิภาค : ไม่เกิน 4,730 บาท 2.2 ค่าเทียบโอนหน่วยกิต หน่วยกิตละ 50 บาท เช่น หากสะสมระหว่างเรียนพรีดีกรีได้ 60 หน่วยกิต จะเป็นเงินค่าเทียบโอน 60×50= 3,000 บาท ** เงินค่าสมัครและลงทะเบียนเรียน(2.1)จำเป็นต้องชำระในวันสมัคร แต่ค่าเทียบโอนหน่วยกิต(2.2)สามารถชำระได้ภายหลังโดยไม่มีค่าปรับภายใน 1 ปีนับจากวันที่สมัครเรียน

‘พรีดีกรี’ ทางด่วนไปสู่ความสำเร็จ

อดีตนักศึกษาระบบพรีดีกรี ที่สมัครเรียนและสะสมหน่วยกิตล่วงหน้า และจบปริญญาตรีตั้งแต่อายุยังน้อย

สิรพิชญ์ สินมา (พิงค์)

จบปริญญาตรี คณะนิติศาสตร์ ด้วยการสะสมหน่วยกิตจากระบบพรีดีกรี เมื่ออายุอายุ 18 ปี, เนติบัณฑิตยสภา 19 ปี, จบปริญญาโท 2 ใบ จาก University of San Diego และ California Western School of Law สหรัฐอเมริกา เมื่ออายุ 21 ปี, ปัจจุบันเป็นผู้ช่วยผู้พิพากษา

ประวีณ์ธิดา จารุนิล

เรียนพรีดีกรีตั้งแต่ ม.4 สะสมหน่วยกิตได้ 128 หน่วยกิต เรียนภาคปกติต่ออีก 1 เทอมก็จบปริญญาตรีเมื่ออายุ 18 ปี และเรียนต่อปริญญาโทสาขากฎหมายมหาชน ม.รามคำแหง และจบการศึกษาเมื่ออายุ 21 ปี

พันจ่าอากาศโท

ดร.สุวินท์ รักสลาม

เรียนพรีดีกรีในระหว่างเรียนที่โรงเรียนจ่าอากาศ จบปริญญาตรี เมื่ออายุ 18 ปี, ต่อปริญญาโท(บริหารรัฐกิจ) ม.รามคำแหง ขณะอายุ 20 ปี และจบปริญญาดุษฎีบัณฑิต(การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ม.รามคำแหง) เมื่อปี 2556 เป็น ดร. อายุ 23 ปี

อัญรินทร์ ธีราธนันพัฒน์ (ทับทิม)

นักแสดงจากช่อง 7 สะสมหน่วยกิตระบบพรีดีกรีตอนอยู่ชั้น ม.4 และเรียนต่อปริญญาตรีจนจบ ปัจจุบันทับทิมยังจบปริญญาโท ม.รามคำแหง อีกด้วย

ร.ต.อ.ทศพร รุ่งเรืองศุภรัตน์

จบปริญญาตรี คณะนิติศาสตร์ ด้วยการสะสมหน่วยกิตจากระบบพรีดีกรี เมื่ออายุ 19 ปี, เนติบัณฑิตยสภา อายุ 20 ปี ปัจจุบันรับราชการตำรวจ

ภาณุวุฒิ วงศ์จีน

อดีตนักศึกษาพรีดีกรี สาขาวิทยบริการฯ จ.เชียงราย สมัครเรียนพรีดีกรีตั้งแต่ชั้น ม.4 (โรงเรียนสามัคคีวิทยาคม) สะสมหน่วยกิตได้ 136 หน่วยกิต เทียบโอนและเรียนต่อเพียง 1 เทอม ก็จบปริญญาตรี เมื่ออายุ 18 ปี

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ศัพท์ทางทหาร military words แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 พจนานุกรมศัพท์ทหาร ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง ไทยแปลอังกฤษ ประโยค lmyour แปลภาษา การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ประปาไม่ไหล วันนี้ ฝยก. ย่อมาจาก หยน ห่อหมกฮวก แปลว่า เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษาจีน ่้แปลภาษา onet ม3 การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 1 ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง ตตตตลก บบบย ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ เขียน อาหรับ แปลไทย เนื้อเพลง ห่อหมกฮวก แปลไทย asus zenfone 2e กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น การประปานครหลวง ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบภาษาอังกฤษ ม.ปลาย พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ชขภใ ชื่อเต็ม ร.9 คําอ่าน ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน นยน. ย่อมาจาก ทหาร บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ฝสธ. ย่อมาจาก มัดหัวใจเจ้าชายเย็นชา 2 ซับไทย มัดหัวใจเจ้าชายเย็นชา 2 เต็มเรื่อง ยศทหารบก เรียงลําดับ ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 รัชกาลที่ 10 ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คอร์ด