Fta ไทย ส งคโปร ต องใช เอกสารอะไร ม ย

Hello ค่าFC ไหนใครอยากไปเที่ยวต่างประเทศแล้วบ้างยกมือขึ้น🙋‍♀️ วันนี้หนีแม่เที่ยวพาไปเที่ยวประเทศไม่ไกลจากไทยมากนัก แต่รับรองว่าเป็นประเทศที่น่าไปน่าอยู่มากนั่นคือ #สิงคโปร์ นั่นเองง!! หตอนนี้ไปสิงคโปร์ไม่ต้องกักตัว ไม่ต้องทำThai pass แล้วนะจ๊ะไปสิรอไร

ก่อนจะไปวันนี้เรามาดูว่าเราต้องเตรียมเอกสารอะไรบ้างกันดีกว่า

1.ตั๋วเครื่องบิน ไป-กลับ สิ่งนี้ขาดไปก็คือเอ๊ะ! นะ จะไปได้จะได๋ มีหลากหลายสายการบินให้เลือกเลยนะ ราคาขึ้นอยู่กับสายการบินและช่วงเวลาค่ะ

2.Passport ใครไม่มีเขาไม่ให้ออกประเทศเด้อสู ไปทำค่ะ ส่วนใครมีดูวันหมดอายุด้วยน้าต้องมากกว่า 6เดือนนะ ถึงจะใช้ได้ / ใครที่อยากไปทำPassport แล้วไม่รู้จะทำไง ใน Lemon 8 🍋มีคนรีวิวไว้เพียบ สามารถเข้าไปดูวิธีการได้เลย

3. Vaccine passport มีทั้งแบบรูปเล่มและแบบอิเล็กทรอนิกส์ ถ้าใครไม่อยากถือให้ยุ่งยากวุ่นวายก็ขอแบบ Digital Vaccination Certificate(DVC) จากแอพหมอพร้อมได้เลย เราขอได้เร็วมากประมาณ 1 ชั่วโมง ก็ได้เอกสารแล้ว (ขอกระซิบว่าต้องครบโดสนะจ๊ะถึงจะไปได้ )

4. Singapore Arrival Card เป็นเอกสารที่กรอกก่อนบิน 3 วัน/กรอกได้แค่ก่อนบิน3วันเท่านั้น (มันคือใบตม.นั่นเเหละ เเค่เปลี่ยนเป็นออนไลน์ อย่างเช่นที่อยู่ที่จะพำนักอะไรก็กรอกในนี้เลย) ถ้าเรากรอกในนี้ครบทุกอย่างและถูกต้องเรียบร้อย ตม.จะไม่ค่อยถามหรือไม่ถามเลยนะคะ ไม่ต้องปริ้นส์เอกสารหรือสถานที่ตั่งๆมาพกให้ลำบากเลย จัดการดีสุดๆ “ประเทศที่เจริญแล้ว”

เมื่อเรากรอกเสร็จระบบจะส่งอีเมลมาคอนเฟิร์มเอง ตอนถึงหน้าด่าน พอจนท.เเสกนพาสปอร์ตเราปุ๊บ ข้อมูลที่กรอกไว้มันจะเด้งขึ้นมาให้เจ้าหน้าที่เอง ไม่จะเป็นต้องปริ้นท์มาน้า😉

ขอให้ทุกคนเที่ยวให้สนุกนะคะ enjoy trip kaa 💓🇸🇬

#หยุดยาวไปไหนค้า #เที่ยวสิงคโปร์ #สิงคโปร์ #เที่ยวต่างประเทศราคาถูก #เที่ยวต่างประเทศ #งบน้อยก็ปังได้ #ติดเที่ยว #เที่ยวกับแฟน #ทริปเที่ยว #เที่ยวไหนดี #วัยรุ่นเค้าไปกัน #ไปไหนก็ได้โตแล้ว #พักผ่อนวันหยุด #เช็คอินกินเที่ยว #ติดเทรนด์ #หนีแม่เที่ยว

FTA ย่อมาจาก Free Trade Area หรือเขตการค้าเสรี เป็นการทำความตกลงทางการค้าของประเทศ อาจเป็น 2 ประเทศ (ทวิภาคี) หรือเป็นกลุ่มประเทศ (พหุภาคี) ที่จะร่วมมือขจัดอุปสรรคทางการค้าทั้งที่เป็นภาษีศุลกากรและไม่ใช่ภาษีศุลกากร

  1. ความเป็นมาของเขตการค้าเสรี

    แนวคิดของการมีนโยบายการค้าเสรี คือประเทศจะเลือกผลิตสินค้าที่ตนเองถนัด และมีต้นทุนการผลิตต่ำที่สุด คือจะผลิตสินค้าที่คิดว่าประเทศตนได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบ (Comparative Advantage)มากที่สุด แล้วนำสินค้าที่ผลิตได้นี้ไปแลกเปลี่ยนกับสินค้าที่ประเทศตนไม่ถนัด หรือเสียเปรียบ โดยแลกเปลี่ยนสินค้ากับประเทศอื่นที่ผลิตสินค้าแล้วได้เปรียบ ดังนั้นประเทศทั้งสองก็จะทำการค้าต่อกันได้ โดยต่างฝ่ายต่างสมประโยชน์กัน (Win-Win Situation) นโยบายการค้าเสรีมีดังนี้

    1. การผลิตตามหลักการแบ่งงานกันทำเลือกผลิตสินค้าที่มีต้นทุนการผลิตต่ำและประเทศมีศักยภาพในการผลิตสินค้านั้นสูง
    2. ไม่เก็บภาษีคุ้มกัน (Protective Duty) เพื่อคุ้มครองหรือปกป้องอุตสาหกรรมภายในประเทศ
    3. ไม่ให้สิทธิพิเศษหรือกีดกันสินค้าของประเทศใดประเทศหนึ่ง
    4. เรียกเก็บภาษีในอัตราเดียวและให้ความเป็นธรรมแก่สินค้าของทุกประเทศเท่ากัน ไม่มีข้อจำกัดทางการค้า (Trade Restriction) ที่เป็นอุปสรรคต่อการค้าระหว่างประเทศไม่มีการควบคุมการนำเข้า หรือการส่งออกที่เป็นอุปสรรคต่อการค้าระหว่างประเทศ ยกเว้นการควบคุมสินค้าบางอย่างที่เกี่ยวกับสุขภาพอนามัยและเป็นอันตรายต่อมนุษย์และสินค้าที่เกี่ยวด้วยศีลธรรมจรรยาหรือความมั่นคงของประเทศ
  2. ความหมายของเขตการค้าเสรี เขตการค้าเสรี หมายถึง การวมกลุ่มเศรษฐกิจโดยมีเป้าหมายเพื่อลดภาษีศุลกากรระหว่างกันภายในกลุ่ม ที่ทำข้อตกลงให้เหลือน้อยที่สุดหรือเป็น 0% และใช้อัตราภาษีปกติที่สูงกว่ากับประเทศนอกกลุ่ม การทำเขตการค้าเสรีในอดีตมุ่งในด้านการเปิดเสรีด้านสินค้า โดยการลดภาษีและอุปสรรคที่ไม่ใช่ภาษีเป็นหลักแต่เขตการค้าเสรีในระยะหลัง ๆ นั้น รวมไปถึงการเปิดเสรีด้านอื่น ๆ ด้วย เช่น ด้านการบริการการลงทุน เป็นต้น
  3. เขตการค้าเสรีที่สำคัญของไทย เขตการค้าเสรีที่มีมูลค่าสูงในทางการค้า ได้แก่ เขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA) เขตการค้าเสรีอาเซียน-จีน ไทย-ญี่ปุ่น อาเซียน-เกาหลี เป็นต้น

ประโยชน์และผลกระทบของการทำ FTA

ในภาพรวมแล้วการทำ FTA มีทั้งผลดีและผลกระทบ แต่คู่เจรจาได้พยายามศึกษารวบรวมข้อมูล และเจรจาเพื่อให้ต่างฝ่ายต่างพอใจ ได้รับผลประโยชน์มากที่สุด หรือได้รับผลกระทบน้อยที่สุด อย่างไรก็ตาม สภาพแวดล้อมเฉพาะ และสภาพแวดล้อมทั่วไปของคู่เจรจาจะแตกต่างกันไปในแต่ละ FTA หากจะวิเคราะห์แต่ละด้านของแต่ละ FTA จะมีบางกลุ่มอุตสาหกรรม บางกลุ่มสินค้าได้ประโยชน์ บางกลุ่มสินค้าไม่ได้รับผลกระทบ สำหรับกลุ่มสินค้าที่ได้รับผลกระทบ การเจรจาก็สามารถยืดเวลาในการลดหรือยกเว้นภาษีออกไปจนกว่าภาคการผลิตจะสามารถปรับตัวได้ หรือภาครัฐจะเข้ามาช่วยเหลือ เยียวยา ชดเชยผลกระทบเหล่านั้นในภาพรวมการทำ FTA น่าจะมีประโยชน์ดังนี้

สิงคโปร์จัดทำความตกลงการค้าเสรี (Free Trade Agreement: FTA) กับต่างประเทศ ทั้งในรูปแบบทวิภาคีและพหุภาคี เพื่อเปิดเสรีด้านการค้าทั้งสินค้าและบริการ รวมถึงการอำนวยความสะดวกด้านการลงทุน การจัดทำการค้าเสรียังช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและอำนาจต่อรองทางการค้าแก่สิงคโปร์ ซึ่งมีระบบเศรษฐกิจที่พึ่งพาการค้าและการลงทุนกับต่างประเทศเป็นหลัก ทั้งยังเป็นการสร้างพันธมิตรด้านเศรษฐกิจและสร้างฐานการขยายการค้า การลงทุน และการเปิดตลาดกับประเทศหรือกลุ่มประเทศที่ห่างไกล

ความตกลงการค้าเสรีที่มีผลบังคับใช้แล้ว

ความตกลงการค้าเสรีทวิภาคี

ลำดับประเทศคู่ภาคีชื่อความตกลงวันที่มีผลบังคับใช้ 1นิวซีแลนด์New Zealand-Singapore Comprehensive Economic Partnership (ANZSCEP)1 มกราคม 2544 2ญี่ปุ่นJapan-Singapore Economic Partnership Agreement (JSEPA)30 พฤศจิกายน 2545 3สหรัฐอเมริกาUnited States-Singapore Free Trade Agreement (USSFTA)1 มกราคม 2547 4อินเดียIndia-Singapore Comprehensive Economic Cooperation Agreement (CECA)1 สิงหาคม 2548 5จอร์แดนSingapore-Jordan Free Trade Agreement (SJFTA)22 สิงหาคม 2548 6ออสเตรเลียSingapore-Australia Free Trade Agreement (SAFTA)28 กรกฎาคม 2548 7สาธารณรัฐเกาหลีKorea-Singapore Free Trade Agreement (KSFTA)2 มีนาคม 2549 8ปานามาPanama-Singapore Free Trade Agreement (PSFTA)24 กรกฎาคม 2549 9จีนChina-Singapore Free Trade Agreement (CSFTA)1 มกราคม 2552 10เปรูPeru-Singapore Free Trade Agreement (PeSFTA)1 สิงหาคม 2552 11คอสตาริกาSingapore-Costa Rica Free Trade Agreement (SCRFTA)1 กรกฎาคม 2556 12ตุรกีTurkey-Singapore Free Trade Agreement (TRSFTA)1 ตุลาคม 256013 ศรีลังกาSri Lanka – Singapore Free Trade Agreement (SLSFTA)1 พฤษภาคม 2561 14สหภาพยุโรปEuropean Union-Singapore Free Trade Agreement (EUSFTA)21 พฤศจิกายน 2562 15สหราชอาณาจักรUnited Kingdom-Singapore Free Trade Agreement (UKSFTA)11 กุมภาพันธ์ 2564

ความตกลงการค้าเสรีพหุภาคี

ลำดับภาคี/หุ้นส่วน ชื่อความตกลงวันที่มีผลบังคับใช้ 1อาเซียน – ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ASEAN-Australia-New Zealand Free Trade Area (AANZFTA)1 มกราคม 2553 2อาเซียน – จีนASEAN-China Free Trade Area (ACFTA)กรกฎาคม 2548 3อาเซียน – ฮ่องกงASEAN-Hong Kong, China Free Trade Area (AHKFTA)11 มิถุนายน 2561 4อาเซียน – อินเดียASEAN-India Free Trade Area (AIFTA)พฤษภาคม 2554 5อาเซียน – ญี่ปุ่นASEAN-Japan Comprehensive Economic Partnership (AJCEP)เมษายน 2551 6อาเซียน – สาธารณรัฐเกาหลีASEAN-Korea Free Trade Area (AKFTA)1 มิถุนายน 2550 7อาเซียน (10 ประเทศ)ASEAN Free Trade Area (AFTA) 8 เม็กซิโก ญี่ปุ่น นิวซีแลนด์ แคนาดา ออสเตรเลีย สิงคโปร์ เวียดนาม เปรูComprehensive and Progressive Agreement for Trans-Pacific Partnership (CPTPP)30 ธันวาคม 2561

(เวียดนาม: 14 มกราคม 2562)

9ไอซ์แลนด์ นอร์เวย์ สวิตเซอร์แลนด์ ลิกเตนไสตน์ สิงคโปร์EFTA-Singapore Free Trade Agreement (ESFTA)1 มกราคม 2546 10บาห์เรน คูเวต โอมาน ซาอุดีอาระเบีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ กาตาร์ สิงคโปร์GCC-Singapore Free Trade Agreement (GSFTA)1 กันยายน 255611 บรูไนฯ ชิลี นิวซีแลนด์ สิงคโปร์Trans-Pacific Strategic Economic Partnership (TPSEP)1 พฤษภาคม 2549

ชิลี: 8 พฤศจิกายน 2549

บรูไนฯ: 29 กรกฎาคม 2551

12อาเซียน (10 ประเทศ) จีน ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์Regional Comprehensive Economic Partnership (RCEP)1 มกราคม 2565

ความตกลงการค้าเสรีที่ยังไม่มีผลผูกพัน

ความตกลงการค้าเสรีที่ลงนามแล้วแต่ยังไม่มีผลผูกพัน ได้แก่

(1) ความตกลง Eurasian Economic Union – Singapore Free Trade Agreement (EAEU) ซึ่งเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2562 สิงคโปร์และกลุ่มประเทศยูเรเซีย อาร์เมเนีย เบราลุส คาซัคสถาน คีร์กีซสถาน และรัสเซีย ได้ลงนามความตกลงการค้าเสรีเรียบร้อยแล้ว และอยู่ระหว่างการดำเนินกระบวนการภายในเพื่อให้ความตกลงมีผลบังคับใช้ต่อไป

(2) ความตกลง Pacific Alliance-Singapore Free Trade Agreement (PASFTA) ซึ่งสิงคโปร์เจรจาจัดทำความตกลงร่วมกับประเทศในภูมิภาคลาตินอเมริกา 4 ประเทศ ได้แก่ โคลอมเบีย เม็กซิโก ชิลี และเปรู โดยเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2564 กระทรวงการค้าและอุตสาหกรรมสิงคโปร์เผยแพร่ข่าวสารนิเทศว่า ภาคีทั้ง 5 ประเทศ ได้บรรลุการเจรจาจัดทำความตกลงการค้าเสรีดังกล่าวแล้ว และเมื่อวันที่ 26 มกราคม 2565 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการค้าและอุตสาหกรรมสิงคโปร์ได้เป็นผู้แทนของสิงคโปร์ในการลงนามความตกลงฯ และปฏิญญาร่วม (Joint Declaration) ร่วมกับประเทศ ภาคีเรียบร้อยแล้ว ในขั้นต่อไป สิงคโปร์และประเทศภาคีจะดำเนินกระบวนการภายในเพื่อให้สัตยาบันเพื่อให้ความตกลงมีผลบังคับใช้ต่อไป โดยความตกลงฯ จะเริ่มมีผลบังคับใช้เมื่อสิงคโปร์และประเทศ Pacific Alliance อย่างน้อย 2 ประเทศให้สัตยาบันแล้ว ซึ่งคาดว่าน่าจะแล้วเสร็จภายในปี 2565

(3) เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2565 สิงคโปร์และกลุ่มประเทศ MERCOSUR ได้จัดการประชุมระดับรัฐมนตรี โดยได้บรรลุการเจรจาการจัดทำความตกลง MERCOSUR-Singapore Free Trade Agree (MCSFTA) ซึ่งเริ่มเจรจากันมาตั้งแต่ปี 2561 ในขั้นต่อไป ประเทศภาคีความตกลงฉบับนี้จะดำเนินการตามกระบวนการภายในประเทศของตนเอง เพื่อให้ความตกลงมีผลบังคับใช้ในโอกาสแรก อนึ่ง MERCOSUR ประกอบด้วยประเทศกลุ่มลาตินอเมริกา ได้แก่ อาร์เจนตินา บราซิล ปารากวัย และอุรุกวัย มีประชากรรวมกันประมาณ 295 ล้านคน และขนาด GDP รวมกัน 2.2 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ มูลค่าการค้าระหว่างสิงคโปร์กับ MERCOSUR ปี 2564 รวม 7,900 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ศัพท์ทางทหาร military words แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 พจนานุกรมศัพท์ทหาร ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง ไทยแปลอังกฤษ ประโยค lmyour แปลภาษา การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ประปาไม่ไหล วันนี้ ฝยก. ย่อมาจาก หยน ห่อหมกฮวก แปลว่า เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษาจีน ่้แปลภาษา onet ม3 การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 1 ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง ตตตตลก บบบย ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ เขียน อาหรับ แปลไทย เนื้อเพลง ห่อหมกฮวก แปลไทย asus zenfone 2e กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น การประปานครหลวง ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบภาษาอังกฤษ ม.ปลาย พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ชขภใ ชื่อเต็ม ร.9 คําอ่าน ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน นยน. ย่อมาจาก ทหาร บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ฝสธ. ย่อมาจาก มัดหัวใจเจ้าชายเย็นชา 2 ซับไทย มัดหัวใจเจ้าชายเย็นชา 2 เต็มเรื่อง ยศทหารบก เรียงลําดับ ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 รัชกาลที่ 10 ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คอร์ด