ว ฒนธรรมก บภ ม ป ญญาต างอย างไร

ใน พ.ศ. 2544 ยูเนสโกได้ทำการสำรวจ เพื่อพยายามให้นิยามและจัดทำอนุสัญญาว่าด้วยการสงวนรักษามรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ (Convention for the Safeguarding of the Intangible Cultural Heritage) จนแล้วเสร็จใน พ.ศ. 2546 เพื่อการคุ้มครองและสนับสนุนวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้

ปัจจุบัน (ธันวาคม 2564) ยูเนสโกขึ้นทะเบียนมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้แล้วทั้งสิ้น 629 รายการ ใน 139 ประเทศทั่วโลก

นิยาม[แก้]

หน้ากากโน; ญี่ปุ่นเป็นประเทศแรกที่ออกกฎหมายมาคุ้มครองและส่งเสริมมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้

ตามอนุสัญญาว่าด้วยการสงวนรักษามรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ พ.ศ. 2546 คำว่า "มรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ (Intangible Cultural Heritage)" นิยาม ดังนี้

“มรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้” หมายถึง การปฏิบัติ การเป็นตัวแทน การแสดงออก ความรู้ ทักษะ ตลอดจนเครื่องมือ วัตถุ สิ่งประดิษฐ์ และพื้นที่ทางวัฒนธรรมอันเป็นผลจากสิ่งเหล่านั้น ซึ่งชุมชน กลุ่มชน และในบางกรณีปัจเจกบุคคลยอมรับว่าเป็นส่วนหนึ่งของมรดกทางวัฒนธรรมของตน มรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้นี้ซึ่งถ่ายทอดจากคนรุ่นหนึ่งไปยังคนอีกรุ่นหนึ่งเป็นสิ่งซึ่งชุมชนและกลุ่มชนสร้างขึ้นใหม่อย่างสม่ำเสมอเพื่อตอบสนองต่อสภาพแวดล้อมของตน เป็นปฏิสัมพันธ์ของพวกเขาที่มีต่อธรรมชาติและประวัติศาสตร์ของตน และทำให้คนเหล่านั้นเกิดความรู้สึกมีอัตลักษณ์และความต่อเนื่อง ดังนั้นจึงก่อให้เกิดความเคารพต่อความหลากหลายทางวัฒนธรรมและการคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์ เพื่อให้เป็นไปตามจุดประสงค์ของอนุสัญญาฉบับนี้ จะมีการพิจารณาเฉพาะมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้เท่าที่สอดคล้องกับบทบัญญัติที่มีอยู่ด้านสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศเท่านั้น รวมทั้งข้อกำหนดให้มีการเคารพซึ่งกันและกันระหว่างชุมชนทั้งหลาย กลุ่มชน และปัจเจกบุคคล และต่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

ประวัติศาสตร์มุขปาฐะ[แก้]

มรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้แตกต่างจากประวัติศาสตร์มุขปาฐะเล็กน้อย (ประวัติศาสตร์มุขปาฐะเป็นการบันทึก สงวนไว้ และตีความซึ่งข้อมูลทางประวัติศาสตร์โดยอยู่บนประสบการณ์ส่วนบุคคลและความคิดเห็นของผู้เล่า) มรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้มุ่งไปที่การสงวนรักษามรดกทางวัฒนธรรม 'ไว้กับ' ผู้คนหรือชุมชนโดยปกป้องกระบวนการที่ทำให้ประเพณีและความรู้ที่สืบทอดกันมาสามารถส่งทอดต่อไปได้ ในขณะที่ประวัติศาสตร์มุขปาฐะมุ่งไปที่การเก็บและรักษาข้อมูลทางประวัติศาสตร์จากปัจเจกชนหรือกลุ่มบุคคล

ในประเทศไทย[แก้]

นิยามศัพท์ของคำว่า "Intangible Cultural Heritage" ในบริบทของประเทศไทยมีผู้นิยามไว้หลากหลาย เช่น มรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ มรดกทางวัฒนธรรมที่ไม่ใช่กายภาพ และมรดกวัฒนธรรมทางจิตใจ เป็นต้น

ความสับสนของการนิยามความหมายของ "Intangible Cultural Heritage" ในประเทศไทยดังกล่าว ก่อให้เกิดการถกเถียงเป็นวงกว้าง กระทรวงวัฒนธรรมในฐานะผู้รับผิดชอบจึงได้หาบทสรุปโดยการเปิดเวทีรับความคิดเห็น และมีมติให้ใช้คำว่า "มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม" แทนคำว่า "มรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้" ตามที่บัญญัติไว้ใน พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม พ.ศ. 2559 อย่างไรก็ตาม การนิยามความหมายของคำว่า "มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม" ในพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาฯ ที่ทางการไทยจัดทำ และคำว่า "Intangible Cultural Heritage" ใน อนุสัญญาว่าด้วยการสงวนรักษามรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ พ.ศ. 2546 ที่ยูเนสโกจัดทำ มีความแตกต่างกันบางประการ

การสงวนรักษา[แก้]

ก่อนที่จะมีอนุสัญญาของยูเนสโก ได้มีความพยายามของประเทศต่าง ๆ ในการสงวนรักษามรดกทางวัฒนธรรมให้คงอยู่ต่อไป ญี่ปุ่นเป็นประเทศแรกในโลกที่ออกกฎหมายในการคุ้มครองสมบัติทางวัฒนธรรมเมื่อ พ.ศ. 2493 ซึ่งคุ้มครองมรดกทางวัฒนธรรมทั้งประเภทที่จับต้องได้และจับต้องไม่ได้ ประเทศอื่น ๆ อาทิ เกาหลีใต้ ฟิลิปปินส์ สหรัฐอเมริกา ไทย ฝรั่งเศส โรมาเนีย สาธารณรัฐเช็ก และโปแลนด์ต่างก็มีโครงการคล้ายกันในเวลาต่อมา

อนุสัญญาที่ยูเนสโกประกาศใช้เมื่อ พ.ศ. 2546 (มีผลเมื่อวันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2549) กำหนดให้ประเทศภาคีจัดทำรายชื่อมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ และดำเนินการเพื่อให้มรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ สามารถดำรงสืบทอดอยู่ต่อไปได้ นอกจากนี้ยังเปิดช่องให้ระดมเงินบริจาคระหว่างประเทศสมาชิกยูเนสโกมาใช้เพื่อการทำนุบำรุงมรดกที่ขึ้นทะเบียนแล้วอีกด้วย ยูเนสโกยังมีโครงการอื่นเกี่ยวกับวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ เช่น โครงการขึ้นทะเบียน "Proclamation of Masterpieces of the Oral and Intangible Heritage of Humanity" ซึ่งเริ่มต้นด้วย 19 รายการเมื่อ พ.ศ. 2544 เพิ่มเติมเป็น 28 รายการเมื่อ พ.ศ. 2546 และเป็น 43 รายการใน พ.ศ. 2548 เหล่านี้ดูเหมือนว่าจะเป็นการแก้ไขความไม่สมดุลในโครงการขึ้นทะเบียนแหล่งมรดกโลก (World Heritage Sites) ที่ซีกโลกใต้เองมักจะเสียเปรียบเพราะมีอนุสาวรีย์หรือสิ่งก่อสร้างที่สำคัญจำนวนไม่มากเท่าซีกโลกเหนือ และท้ายที่สุดโครงการนี้ได้รับการทดแทนโดยการจัด "มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม" หรือ "มรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้" โดยองค์การยูเนสโก (UNESCO Intangible Cultural Heritage Lists) ใน พ.ศ. 2551

ประเภทการสงวนรักษา[แก้]

การขึ้นทะเบียนตามอนุสัญญามรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ มี 3 รายการ ได้แก่

  1. รายการตัวแทนมรดกทางวัฒนธรรมของมนุษยชาติ (Representative List of the Intangible Cultural Heritage of Humanity : RL)
  2. รายการที่ต้องได้รับการสงวนรักษาอย่างเร่งด่วน (Intangible Cultural Heritage in Need of Urgent Safeguarding : USL)
  3. รายการที่เป็นแบบอย่างที่ดีในการสงวนรักษา (Register of Good Safeguarding Practices : GSP)

สถิติ[แก้]

อันดับประเทศที่มีมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมมากที่สุด[แก้]

อันดับ ประเทศ จำนวนรายการที่ขึ้นทะเบียน 1

จีน43 2
ตุรกี30 3
ฝรั่งเศส28 4
สเปน25 5
อิหร่าน24 6
อาเซอร์ไบจาน23 7
โครเอเชีย,
ญี่ปุ่น,
เกาหลีใต้22 8
อิตาลี19 9
เบลเยียม18 10
อินเดีย,
คีร์กีซสถาน,
มองโกเลีย,
เวียดนาม,
สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์,
อุซเบกิสถาน15 11
โคลอมเบีย,
โมร็อกโก,
โอมาน,
เปรู14 12
อินโดนีเซีย,
คาซัคสถาน,
ซาอุดีอาระเบีย13 13
เม็กซิโก12 14
แอลจีเรีย,
ออสเตรีย11 15
เช็กเกีย,
เยอรมนี,
กรีซ,
โปรตุเกส,
โรมาเนีย,
สวิตเซอร์แลนด์10 16
โบลิเวีย,
บราซิล,
ฮังการี,
มาลี,
สโลวาเกีย,
เวเนซุเอลา9 17
อาร์มีเนีย,
บัลแกเรีย,
อียิปต์8 18
ไซปรัส,
มาเลเซีย,
ไนจีเรีย,
สโลวีเนีย,
ตูนิเซีย7 19
กัมพูชา,
คิวบา,
มาลาวี,
มอริเตเนีย,
ปาเลสไตน์,
ฟิลิปปินส์,
โปแลนด์,
ซีเรีย,
ยูกันดา6 20
บังกลาเทศ,
เบลารุส,
เอสโตเนีย,
เคนยา,
ลักเซมเบิร์ก,
เนเธอร์แลนด์,
ยูเครน,
แซมเบีย5 21
สาธารณรัฐโดมินิกัน,
เอกวาดอร์,
ฟินแลนด์,
กัวเตมาลา,
ไอร์แลนด์,
โกตดิวัวร์,
คูเวต,
ลิทัวเนีย,
มอริเชียส,
มอลโดวา,
เกาหลีเหนือ,
กาตาร์,
ไทย,
เยเมน4 22
อันดอร์รา,
บาห์เรน,
บอตสวานา,
ลัตเวีย,
มาดากัสการ์,
โมซัมบิก,
ปากีสถาน,
สวีเดน3

อันดับประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมมากที่สุด[แก้]

ข้อมูล ณ วันที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2566

ประเทศ จำนวน

เวียดนาม15
อินโดนีเซีย13
มาเลเซีย7
กัมพูชา6
ฟิลิปปินส์6
ไทย4
ลาว2
สิงคโปร์1
ติมอร์-เลสเต1

ประเทศไทย[แก้]

มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมในประเทศไทย ที่มีการขึ้นทะเบียนจากองค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) มีทั้งหมด 4 รายการ

ประเทศไทยได้ลงนามในอนุสัญญาเมื่อวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2559 (ค.ศ. 2016)

รายการที่ขึ้นทะเบียนแล้ว (Inscribed)[แก้]

หมายเหตุ: ชื่อตามที่ได้ขึ้นทะเบียนในบัญชีมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมฯ รายการ ภาพ ปีขึ้นบัญชี (พ.ศ./ค.ศ.) หมายเหตุ อ้างอิง โขน ละครรำสวมหน้ากากในไทย

RL 2561/2018 เป็นศิลปะการแสดงของไทย ที่ผสมผสานองค์ประกอบทางดนตรี การร้อง วรรณกรรม นาฏศิลป์ พิธีกรรม และงานฝีมือ 01385 นวดไทย การนวดแผนไทย
RL 2562/2019 เป็นส่วนหนึ่งของศิลปะ วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมของการดูแลสุขภาพแบบไทย ในฐานะการรักษาโดยไม่ใช้ยาและการบำบัดด้วยตนเอง เกี่ยวข้องกับการขยับร่างกายโดยผู้ประกอบวิชาชีพ ช่วยปรับสมดุลร่างกาย พลังงาน และโครงสร้างของผู้ป่วย เพื่อรักษาอาการเจ็บป่วย 01384 โนรา นาฏศิลป์ในภาคใต้ของไทย
RL 2564/2021 เป็นการแสดง เต้นรำและการร้องเพลงสดที่มีชีวิตชีวาพร้อมกายกรรมจากภาคใต้ของไทย โดยปกติแล้ว การแสดงประกอบด้วยการกล่าวอัญเชิญด้วยวาจา ตามด้วยการนำเสนอโดยตัวละครหลักที่เต้นรำด้วยการเคลื่อนไหวของขา แขน และนิ้วอย่างมีพลังและซับซ้อน 01587 สงกรานต์ในไทย เทศกาลปีใหม่ไทยดั้งเดิม
RL 2566/2023 เป็นประเพณีวันขึ้นปีใหม่ของไทยมาแต่โบราณ เป็นประเพณีที่งดงาม อ่อนโยน เอื้ออาทร และเต็มไปด้วยบรรยากาศของความกตัญญู ความสนุกสนาน ความอบอุ่น และการให้เกียรติเคารพซึ่งกันและกัน สะท้อนให้เห็นถึงลักษณะของความเป็นไทยได้อย่างชัดเจน โดยใช้น้ำเป็นสื่อในการเชื่อมสัมพันธไมตรี 01719

รายการที่เสนอขึ้นทะเบียนแล้ว อยู่ระหว่างการพิจารณาของยูเนสโก (On-going nominations)[แก้]

  • ต้มยำกุ้ง (พิจารณาในวันที่ 2-7 ธันวาคม พ.ศ. 2567)
  • เกอบายา (Kebaya) (พิจารณาในวันที่ 2-7 ธันวาคม พ.ศ. 2567 โดยเสนอขึ้นทะเบียนร่วมกับประเทศอินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์ และบรูไน)
  • ผ้าขาวม้า (รอประกาศช่วงเวลาในการพิจารณาของยูเนสโกอย่างเป็นทางการ)

รายการที่เตรียมเสนอขึ้นทะเบียน หรือกำลังศึกษาความเป็นไปได้เพื่อขึ้นทะเบียน[แก้]

  • มวยไทย (กำลังดำเนินการศึกษาจัดทำข้อมูล เพื่อเสนอขอความเห็นชอบต่อคณะรัฐมนตรี ในการนำเสนอให้ยูเนสโกพิจารณาภายในปี พ.ศ. 2567)
  • ผีตาโขน
  • กัญชาไทย
  • ข้าวแกง – อาจเสนอขึ้นทะเบียนร่วมกับประเทศสิงคโปร์ ในรายการ "Hawker culture in Singapore (วัฒนธรรมอาหารริมทางของสิงคโปร์)" ที่ขึ้นทะเบียนแล้วเมื่อ พ.ศ. 2563
  • ข้าวเหนียวมะม่วง
  • หนังใหญ่ (กำลังศึกษาความเป็นไปได้เพื่อขึ้นทะเบียน)
  • หมอลำ (กำลังศึกษาความเป็นไปได้เพื่อขึ้นทะเบียน)
  • ชุดไทยพระราชนิยม (กำลังดำเนินการศึกษาจัดทำข้อมูล เพื่อเสนอขอความเห็นชอบต่อคณะรัฐมนตรี ในการนำเสนอให้ยูเนสโกพิจารณาภายในปี พ.ศ. 2567)
  • ประเพณีลอยกระทง (กำลังดำเนินการศึกษาจัดทำข้อมูล เพื่อเสนอขอความเห็นชอบต่อคณะรัฐมนตรี ในการนำเสนอให้ยูเนสโกพิจารณาภายในปี พ.ศ. 2567)

ดูเพิ่ม[แก้]

  • แหล่งมรดกโลก
  • ความทรงจำแห่งโลก

อ้างอิง[แก้]

  • "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-12-26. สืบค้นเมื่อ 2016-03-03.
  • . UNESCO. สืบค้นเมื่อ 2007-06-20.
  • "Official website". UNESCO. สืบค้นเมื่อ 2007-06-20.
  • Browse the Lists of Intangible Cultural Heritage and the Register of good safeguarding practices
  • ↑ Yang Jongsung (2003). Cultural Protection Policy in Korea: Intangible Cultural Properties and Living National Treasures. Jimoondang International. pp. 33ff. ISBN 1931897050.
  • Article 2 – Definitions For the purposes of this Convention, 1. The “intangible cultural heritage” means the practices, representations, expressions, knowledge, skills – as well as the instruments, objects, artefacts and cultural spaces associated therewith – that communities, groups and, in some cases, individuals recognize as part of their cultural heritage. This intangible cultural heritage, transmitted from generation to generation, is constantly recreated by communities and groups in response to their environment, their interaction with nature and their history, and provides them with a sense of identity and continuity, thus promoting respect for cultural diversity and human creativity. For the purposes of this Convention, consideration will be given solely to such intangible cultural heritage as is compatible with existing international human rights instruments, as well as with the requirements of mutual respect among communities, groups and individuals, and of sustainable development.
  • มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ : บทเรียนจากเพื่อนบ้าน (Heritage of the Nations: lessons learned from the neighboring countries) วิภาวดี โก๊ะเค้า ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)
  • มาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม พ.ศ. ๒๕๕๙ บัญญัติว่า “มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม” หมายความว่า ความรู้ การแสดงออก การประพฤติปฏิบัติ หรือทักษะ ทางวัฒนธรรมที่แสดงออกผ่านบุคคล เครื่องมือ หรือวัตถุ ซึ่งบุคคล กลุ่มบุคคล หรือชุมชน ยอมรับและรู้สึกเป็นเจ้าของร่วมกัน และมีการสืบทอดกันมาจากคนรุ่นหนึ่งไปยังคนอีกรุ่นหนึ่งโดยอาจมีการปรับเปลี่ยนเพื่อตอบสนองต่อสภาพแวดล้อมของตน
  • Deacon, Harriet (et al.) (2004). "The Subtle Power of Intangible Heritage: Legal and Financial Instruments for Safeguarding Intangible Heritage" (PDF). Human Sciences Research Council. p. 21. ISBN 0796920745. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-10-12. สืบค้นเมื่อ 2013-11-04.
  • ↑ Kurin, Richard (1 May 2004). "Safeguarding Intangible Cultural Heritage in the 2003 UNESCO Convention: a critical appraisal". Museum International. 56 (1–2): 66–77. doi:10.1111/j.1350-0775.2004.00459.x.
  • . UNESCO.
  • "China – intangible heritage".
  • "Turkey – intangible heritage".
  • "France – intangible heritage".
  • "Spain – intangible heritage".
  • "Iran – intangible heritage".
  • "Azerbaijan – intangible heritage".
  • "Croatia – intangible heritage".
  • "Japan – intangible heritage".
  • "Republic of Korea – intangible heritage".
  • "Italy – intangible heritage".
  • "Belgium – intangible heritage".
  • "India – intangible heritage".
  • "Kyrgyzstan – intangible heritage".
  • "Mongolia – intangible heritage".
  • "Viet Nam – intangible heritage".
  • "United Arab Emirates – intangible heritage".
  • "Uzbekistan – intangible heritage".
  • "Colombia – intangible heritage".
  • "Morocco – intangible heritage".
  • "Oman – intangible heritage".
  • "Peru – intangible heritage".
  • "Indonesia – intangible heritage".
  • "Kazakhstan – intangible heritage".
  • "Saudi Arabia – intangible heritage".
  • "Mexico – intangible heritage".
  • "Algeria – intangible heritage".
  • "Austria – intangible heritage".
  • "Czech Republic – intangible heritage".
  • "Germany – intangible heritage".
  • "Greece – intangible heritage".
  • "Portugal – intangible heritage".
  • "Romania – intangible heritage".
  • "Switzerland – intangible heritage".
  • "Bolivia – intangible heritage".
  • "Brazil – intangible heritage".
  • "Hungary – intangible heritage".
  • "Mali – intangible heritage".
  • "Slovakia – intangible heritage".
  • "Venezuela – intangible heritage".
  • "Armenia – intangible heritage".
  • "Bulgaria – intangible heritage".
  • "Egypt – intangible heritage".
  • "Cyprus – intangible heritage".
  • "Malaysia – intangible heritage".
  • "Nigeria – intangible heritage".
  • "Slovenia – intangible heritage". ich.unesco.org (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 10 December 2023.
  • "Tunisia – intangible heritage".
  • "Cambodia – intangible heritage".
  • "Cuba – intangible heritage".
  • "Malawi – intangible heritage".
  • "Mauritania – intangible heritage".
  • "Palestine – intangible heritage".
  • "Philippines – intangible heritage".
  • "Poland – intangible heritage".
  • "Syria – intangible heritage".
  • "Uganda – intangible heritage".
  • "UNESCO - Bangladesh". ich.unesco.org (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 7 December 2023.
  • "Belarus – intangible heritage".
  • "Estonia – intangible heritage".
  • "Kenya – intangible heritage".
  • "Luxembourg – intangible heritage".
  • "Netherlands – intangible heritage".
  • "Ukraine – intangible heritage".
  • "Zambia – intangible heritage".
  • "Dominican Republic – intangible heritage".
  • "Ecuador – intangible heritage".
  • "Finland – intangible heritage".
  • "Guatemala – intangible heritage".
  • "Ireland – intangible heritage".
  • "Ivory Coast – intangible heritage".
  • "Kuwait – intangible heritage".
  • "Lithuania – intangible heritage".
  • "Mauritius – intangible heritage".
  • "Moldova – intangible heritage".
  • "North Korea – intangible heritage".
  • "Qatar – intangible heritage".
  • "Thailand – intangible heritage".
  • "Yemen – intangible heritage".
  • "Andorra – intangible heritage".
  • "Bahrain – intangible heritage".
  • "Botswana – intangible heritage".
  • "Latvia – intangible heritage".
  • "Madagascar – intangible heritage".
  • "Mozambique – intangible heritage".
  • "Pakistan – intangible heritage".
  • "Sweden – intangible heritage".
  • Browse the Lists of Intangible Cultural Heritage and the Register of good safeguarding practices
  • Thailand and the 2003 Convention
  • Nora, dance drama in southern Thailand
  • การประชุมคณะกรรมการส่งเสริมและรักษามรดกภูมิปัญญาฯครั้งที่ 1/2566
  • การประชุมคณะกรรมการส่งเสริมและรักษามรดกภูมิปัญญาฯครั้งที่ 1/2566
  • Thailand, Phakhaoma, a multifunctional cloth in Thai life (RL), Files pending priority ‘0’ treatment
  • โขน:กระทรวงวัฒนธรรมเตรียมเสนอนวดไทย โนรา และมวยไทย ให้ยูเนสโก หลังโขนได้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกทางวัฒนธรรมโลก จัดใหญ่"ผีตาโขน"เล็งขึ้นบัญชีมรดกวัฒนธรรมโลก... อ่านต่อที่ : //d.dailynews.co.th/education/649093/

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ศัพท์ทางทหาร military words แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 พจนานุกรมศัพท์ทหาร ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง ไทยแปลอังกฤษ ประโยค lmyour แปลภาษา การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ประปาไม่ไหล วันนี้ ฝยก. ย่อมาจาก หยน ห่อหมกฮวก แปลว่า เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษาจีน ่้แปลภาษา onet ม3 การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 1 ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง ตตตตลก บบบย ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ เขียน อาหรับ แปลไทย เนื้อเพลง ห่อหมกฮวก แปลไทย asus zenfone 2e กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น การประปานครหลวง ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบภาษาอังกฤษ ม.ปลาย พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ชขภใ ชื่อเต็ม ร.9 คําอ่าน ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน นยน. ย่อมาจาก ทหาร บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ฝสธ. ย่อมาจาก มัดหัวใจเจ้าชายเย็นชา 2 ซับไทย มัดหัวใจเจ้าชายเย็นชา 2 เต็มเรื่อง ยศทหารบก เรียงลําดับ ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 รัชกาลที่ 10 ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คอร์ด