ม อาการเหน อยง าย ห วใจเต นเร ว

หากใครสักคนเดินมาบอกคุณว่า “มันรู้สึกใจหวิวๆ วูบๆ อย่างบอกไม่ถูก”, “เหมือนตกจากที่สูง ตกจากสะพานบางครั้งก็รู้สึกวาบๆ สักพักก็หายไป” โปรดอย่าคิดไปไกล เขาอาจไม่ได้กำลังบอกรักหรือบอกชอบคุณ แต่เขาอาจกำลังมีอาการ “ใจสั่น” อยู่ก็ได้! แล้วอาการที่ว่านี้เป็นอย่างไร ร้ายแรงไหม จะรักษาได้อย่างไร ไปหาคำตอบจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านหัวใจกันได้เลย

อาการใจสั่น เป็นอย่างไร?

  • ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ
  • โครงสร้างหัวใจผิดปกติแต่กำเนิด พันธุกรรม
  • กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด ห้องหัวใจโต
  • โรคลิ้นหัวใจ โรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย
  • ภาวะผิดปกติจากระบบอื่นๆ เช่น ต่อมไทรอยด์เป็นพิษ ภาวะซีดเลือดจาง ความผิดปกติของเกลือแร่
  • ความเครียด และสารเคมีบางชนิด เช่น ยา แอลกอฮอล์

    หากคุณมีอาการใจสั่น ขอให้ลองสังเกตตนเองดังนี้

  1. อาการใจสั่นเกิดขึ้นทันทีทันใดหรือไม่ มีสิ่งใดเป็นตัวกระตุ้น
  2. อัตราการเต้นของหัวใจขณะที่มีอาการ เต้นประมาณกี่ครั้งต่อนาที เต้นสม่ำเสมอหรือไม่
  3. ตอนที่มีอาการมีการอื่นร่วมด้วยหรือไม่ เช่น อาการเจ็บหน้าอก แน่นหายใจไม่ออก หรือว่าวูบเป็นลม หน้ามืด
  4. อาการเป็นอยู่ประมาณกี่นาที เป็นบ่อยแค่ไหน
  5. ตอนหายเป็นปกตินั้น อาการค่อยๆ ดีขึ้นหรือหายทันทีทันใดเลย มีสิ่งใดหรือทำอะไรแล้วอาการจะดีขึ้น

    การตรวจวินิจฉัยอาการหัวใจสั่น

หากจะให้หาสาเหตุของอาการใจสั่น จำเป็นต้องตรวจพิเศษเพิ่มเติม เช่น การทำอัลตราซาวด์หัวใจ (Echocardiogram) การติดเครื่องติดตามการเต้นของหัวใจ 24 ชั่วโมง (Holter monitoring) การวิ่งสายพาน (Exercise stress test) การฉีดสีหลอดเลือดหัวใจ (Coronary angiogram) เพื่อประเมินภาวะเส้นเลือดหัวใจตีบ หรือแม้กระทั่งการใส่อุปกรณ์พิเศษเข้าไปในห้องหัวใจ เพื่อประเมินและหาความผิดปกติ (Electrophysiology Study)

อย่างไรก็ตาม ถึงแม้วิทยาการจะก้าวหน้าไปมาก แต่ประวัติที่ได้จากคนไข้และการตรวจร่างกายก็ยังเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้อยู่ดี บางครั้งลำพังเพียงประวัติคนไข้และข้อมูลที่ครบถ้วนเพียงอย่างเดียวก็นำไปสู่การวินิจฉัยได้แล้ว

อาการใจสั่นที่เกิดจากหัวใจเต้นผิดจังหวะ

อาการใจสั่นที่เกิดจากหัวใจเต้นเร็วผิดปกติ อาจแบ่งได้เป็น 2 ชนิดตามตำแหน่งที่เกิดขึ้น คือ

  1. หัวใจเต้นเร็วผิดจังหวะที่หัวใจห้องบน เกิดจากทางเดินของกระแสไฟฟ้าหัวใจเพิ่มขึ้นจากปกติ ทำให้เกิดกระแสไฟฟ้าลัดวงจรและไปกระตุ้นให้หัวใจเต้นเร็วจากภาวะปกติ พบมากในคนสูงอายุ ผู้ป่วยที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง หรือผู้ป่วยโรคลิ้นหัวใจบางชนิด เป็นต้น
  2. หัวใจเต้นเร็วผิดจังหวะที่หัวใจห้องล่าง เกิดจากความผิดพลาดของคลื่นไฟฟ้าหัวใจที่หัวใจห้องล่าง ทำให้อัตราการเต้นของหัวใจเพิ่มขึ้น เมื่อหัวใจเต้นเร็วมากก็ทำให้ไม่สามารถสูบฉีดไปยังส่วนต่างๆ ในร่างกายได้ เมื่อหัวใจเต้นเร็วเกินไปจะทำให้มีเวลารับเลือดไม่พอ และถ้าเต้นไม่สม่ำเสมอ จะทำให้ไม่สามารถบีบตัวเพื่อส่งเลือดไปเลี้ยงร่างกายได้อย่างมีประสิทธิภาพ

    การรักษาอาการใจสั่น

ผู้ป่วยหลายคนอาจกังวลว่า อาการใจสั่นจะรักษาได้ไหม? จริงๆ แล้วการรักษาอาการใจสั่นจะรักษาตามเหตุ โดยส่วนใหญ่หากมีอาการไม่มากก็มักจะหายไปได้เองโดยที่แพทย์ไม่สามารถหาสาเหตุได้ ซึ่งกรณีนี้ไม่จำเป็นต้องรักษา แต่แพทย์จะแนะนำให้หลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นที่ทำให้เกิดอาการ เช่น งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์หรือคาเฟอีน หยุดสูบบุหรี่ หยุดใช้ยาที่มีสารกระตุ้นบางชนิด เช่น ยาแก้ไอ ยาแก้หวัด ใบกระท่อม น้ำมันกัญชา สมุนไพรหรือผลิตภัณฑ์อาหารเสริม ผ่อนคลายความเครียดหรือความวิตกกังวลด้วยการออกกำลังกายที่ช่วยผ่อนคลาย หรือบำบัดด้วยวิธีอื่นๆ เช่น อะโรมาเทอราพี (Aromatherapy) ซึ่งหากหลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นเหล่านี้ และปรับพฤติกรรมแล้วแต่ก็ยังไม่ได้ผล แนะนำให้มาแพทย์เพื่อรักษาต่อไป

แต่หากแพทย์พบว่าสาเหตุของใจสั่นมาจากภาวะทางร่างกายหรือโรคประจำตัว แพทย์ก็จะรักษาและแก้ไขภาวะหรือโรคนั้นๆ รวมไปถึงขั้นตอนที่ใช้รักษาภาวะผิดปกติที่เกิดขึ้นกับหัวใจโดยตรง เช่น

หัวใจเต้นผิดจังหวะ คือ การที่หัวใจเต้นไม่เป็นจังหวะตามธรรมชาติ โดยอาจเต้นเร็วเกินไปหรือช้าเกินไป ซึ่งเป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงของกระแสไฟฟ้าในหัวใจหรือเกิดไฟฟ้าลัดวงจรในห้องหัวใจ ทำให้การสูบฉีดเลือดไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกายไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร และอาจส่งผลให้ผู้ป่วยมีภาวะเสี่ยงต่อภาวะหัวใจล้มเหลวหรือหลอดเลือดสมองอุดตันเพิ่มมากขึ้น

สาเหตุที่ทำให้หัวใจเต้นผิดปกติมีความแตกต่างกันไปในผู้ป่วยแต่ละราย โดยการที่หัวใจจะเต้นเร็วหรือช้าลงขึ้นกับพฤติกรรมในการดำเนินชีวิต ประวัติสุขภาพ และปัจจัยแวดล้อมของผู้ป่วยแต่ละราย โดยสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ ได้แก่

  • ความผิดปกติแต่กำเนิดหรือความผิดปกติของโครงสร้างหัวใจ เช่น กล้ามเนื้อหัวใจผิดปกติแต่กำเนิด ลิ้นหัวใจรั่ว ผนังหัวใจหนาผิดปกติ หลอดเลือดหัวใจตีบ
  • ความผิดปกติของร่างกายที่มีผลต่อการทำงานของหัวใจ เช่น ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง เบาหวาน ภาวะไทรอยด์เป็นพิษ อิเล็กโทรไลต์ในร่างกายผิดปกติ
  • ยาและสารบางชนิด เช่น ยาที่มีส่วนประกอบของแอมเฟตามีน คาเฟอีนที่อยู่ในชา กาแฟ หรือน้ำอัดลม
  • ความเครียดและความวิตกกังวล

โดยส่วนใหญ่แล้วผู้ป่วยภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะมักไม่ทราบว่าตนเองมีปัญหา โดยมักพบภาวะนี้จากการตรวจสุขภาพหรือเมื่อป่วยด้วยโรคอื่นแล้วมาพบแพทย์ แต่ในผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการปรากฏให้สังเกตได้ เช่น

  • วิงเวียน
  • หน้ามืด
  • ตาลาย
  • ใจสั่นบริเวณหน้าอก
  • หายใจขัด
  • เจ็บแน่นบริเวณหน้าอก
  • เป็นลม หมดสติ
  • การซักประวัติอย่างละเอียด เช่น การดื่มชา กาแฟ หรือน้ำอัดลม โรคประจำตัวต่างๆ (เช่น เส้นเลือดหัวใจอุดตัน ความดันโลหิตสูง เบาหวาน หรือภาวะไทรอยด์)
  • การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG) ในขณะที่มีอาการ
  • การติดเครื่องบันทึกคลื่นหัวใจไว้ที่ตัวผู้ป่วยเป็นเวลา 24 หรือ 48 ชั่วโมง (Holter monitoring test) ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการบ่อยแต่ไม่ได้เป็นตลอดเวลา
  • การตรวจสมรรถภาพหัวใจขณะที่ผู้ป่วยออกกำลังกาย (exercise stress test; EST)
  • การตรวจคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูง (echocardiogram)
  • การตรวจระบบการนำไฟฟ้าภายในหัวใจ (cardiac electrophysiology study)

การรักษาภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ แพทย์จะพิจารณาตามสาเหตุ อาการ ตำแหน่ง และความรุนแรงของโรค โดยภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะบางชนิดอาจไม่ต้องทำการรักษา แต่ในบางชนิดที่ต้องทำการรักษาจะมีทางเลือกในการรักษา ดังนี้

  • การใช้ยาควบคุมจังหวะของหัวใจ ซึ่งถึงแม้จะไม่ช่วยให้หายขาด แต่ก็ลดความถี่และความรุนแรงของการได้ โดยพบว่าหัวใจเต้นผิดจังหวะหลายชนิดตอบสนองดีต่อการใช้ยา
  • การใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจ (pacemaker) เป็นการฝังเครื่องมือเล็กๆ ไว้ใต้ผิวหนังบริเวณกระดูกไหปลาร้า เพื่อตรวจจับจังหวะการเต้นของหัวใจ และสอดสายนำไฟฟ้าไปยังหัวใจเพื่อควบคุมและกระตุ้นให้หัวใจเต้นตามอัตราที่กำหนด
  • การใช้ไฟฟ้ากระตุกเพื่อปรับการเต้นของหัวใจ (cardioversion) ใช้ในกรณีที่หัวใจเต้นเร็วเกินไป โดยแพทย์จะใช้กระแสไฟฟ้าจากเครื่องส่งภายนอกร่างกายซึ่งมีลักษณะเป็นแผ่นแปะที่หน้าอกของผู้ป่วยเพื่อปรับจังหวะการเต้นของหัวใจใหม่
  • การใช้สายสวนเพื่อจี้กล้ามเนื้อหัวใจที่นำไฟฟ้าผิดปกติ (ablation therapy) วิธีนี้เป็นการรักษาที่ต้นเหตุซึ่งอาจช่วยให้ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะบางชนิดหายขาดได้ โดยเป็นวิธีการรักษาที่ต่อเนื่องจากการตรวจระบบการนำไฟฟ้าภายในหัวใจ เมื่อสอดสายสวนไปยังตำแหน่งที่เชื่อว่าน่าจะเป็นสาเหตุของความผิดปกติ แพทย์จะปล่อยคลื่นวิทยุความถี่สูงเป็นจุดเล็กๆ เพื่อทำลายเนื้อเยื่อหัวใจที่เป็นสาเหตุของหัวใจเต้นผิดจังหวะนั้น
  • การฝังเครื่องกระตุกไฟฟ้าหัวใจ (implantable cardioverter defibrillator) เป็นการฝังเครื่องมือคล้ายกับเครื่องกระตุ้นหัวใจ ใช้ในกรณีที่ผู้ป่วยมีความเสี่ยงหัวใจห้องล่างเต้นผิดปกติ (ventricular fibrillation) ซึ่งอาจอันตรายต่อชีวิต โดยเมื่อหัวใจเต้นช้า เครื่องมือจะทำหน้าที่ในการกระตุ้นหัวใจ แต่เมื่อหัวใจเต้นเร็ว เครื่องมือจะปล่อยพลังงานไฟฟ้าในระดับที่เหมาะสมเพื่อกระตุกหัวใจให้กลับมาเต้นปกติทันที

ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะอาจไม่สามารถป้องกันได้เสมอไป แต่สามารถลดโอกาสเกิดให้น้อยลงได้ ดังนี้

  • หลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงต่างๆ เช่น กาแฟ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ความเครียด การสูบบุหรี่
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์
  • ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
  • ตรวจสุขภาพและพบแพทย์สม่ำเสมอ

แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

คะแนนโหวต 9.20 of 10,จากจำนวนคนโหวต 349 คน

Related Health Blogs

อาการใหลตายคือกลุ่มอาการเสียชีวิตเฉียบพลันโดยไม่ทราบสาเหตุ (Sudden Unexplained Death Syndrome; SUDS) โดยผู้ป่วยจะเสียชีวิตเพราะหัวใจหยุดเต้นกระทันหันโดยไม่มีอาการผิดปกติใดๆ มาก่อน สร้างความสูญเสียให้กับหลายครอบครัวในทุกๆ ปี และอาการครั้งแรกที่เกิดขึ้นอาจจะทำให้เสียชีวิตได้โดยไม่มีโอกาสครั้งที่สอง การป้องกันโรคนี้จะทำได้อย่างไรติดตามได้จากบทความนี้

โรคหัวใจสถาบันโรคหัวใจหัวใจเต้นผิดจังหวะ

อ่านเพิ่มเติม

การที่หัวใจของคนเราเต้นได้นั้น มีสิ่งหนึ่งที่สำคัญมาก นั่นก็คือระบบไฟฟ้าหัวใจ วิดีโอนี้จะพาทุกท่านไปทำความรู้จักระบบไฟฟ้าหัวใจกัน ติดตามได้เลย

หัวใจเต้นผิดจังหวะ

อ่านเพิ่มเติม

วิวัฒนาการทางการแพทย์ทำให้คนในปัจจุบันสามารถเข้าถึงบริการด้านสุขภาพได้สะดวกง่ายดายมากขึ้น แตสำหรับภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้วหรือที่เรียกกันว่า Atrial Fibrillation หรือ AF หรือ A Fib โรคที่อาจไม่แสดงอาการ คนส่วนใหญ่มาพบแพทย์เมื่อมีอาการผิดปกติเกิดขึ้น ทำให้การรักษาอาจล่าช้าไป ทำให้ผู้ป่วยต้องทุพพลภาพตลอดชีวิตหรือเสียชีวิตฉับพลัน ใครคือกลุ่มเสี่ยง ทำอย่างไรให้รอดพ้นจากความสูญเสียนี้ได้ บทความนี้มีคำตอบค่ะ

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ศัพท์ทางทหาร military words แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 พจนานุกรมศัพท์ทหาร ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง ไทยแปลอังกฤษ ประโยค lmyour แปลภาษา การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ประปาไม่ไหล วันนี้ ฝยก. ย่อมาจาก หยน ห่อหมกฮวก แปลว่า เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษาจีน ่้แปลภาษา onet ม3 การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 1 ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง ตตตตลก บบบย ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ เขียน อาหรับ แปลไทย เนื้อเพลง ห่อหมกฮวก แปลไทย asus zenfone 2e กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น การประปานครหลวง ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบภาษาอังกฤษ ม.ปลาย พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ชขภใ ชื่อเต็ม ร.9 คําอ่าน ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน นยน. ย่อมาจาก ทหาร บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ฝสธ. ย่อมาจาก มัดหัวใจเจ้าชายเย็นชา 2 ซับไทย มัดหัวใจเจ้าชายเย็นชา 2 เต็มเรื่อง ยศทหารบก เรียงลําดับ ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 รัชกาลที่ 10 ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คอร์ด