ความด น ม ผลต อ ความหนาแน นย งไร

ความแข็งแรงของกระดูกอาจเป็นสิ่งที่หลายคนกังวล ยิ่งในปัจจุบันประเทศไทยกำลังเข้าสู่ภาวะสังคมผู้สูงอายุ ซึ่งผู้ที่มีอายุมากกว่า 50 ปี จะมีโอกาสเสี่ยงเกิดโรคกระดูกพรุนได้สูง พบในเพศหญิงมากกว่าเพศชายเป็นภัยเงียบ เนื่องจากจะไม่มีอาการ แต่จะรู้เมื่อกระดูกหักไปแล้ว เพราะเกิดจากมวลกระดูกที่ลดลง และโครงสร้างกระดูกเปลี่ยนแปลงไป ทำให้ความแข็งแกร่งน้อยลง เมื่อถูกแรงกระแทกเพียงเล็กน้อยอาจทำให้กระดูกหักได้ง่ายขึ้น ดังนั้นเราควรที่จะป้องกันหรือรีบรักษาภาวะกระดูกพรุนตั้งแต่ระยะเริ่มต้นเพื่อป้องกันไม่ให้มีกระดูกหักเกิดขึ้น

จะทราบได้อย่างไรว่ามี “ภาวะกระดูกพรุน” หรือไม่ ?

ภาวะกระดูกพรุนนั้นจะไม่มีอาการเตือนล่วงหน้ามาก่อน อาการของโรคกระดูกพรุนนี้มักค่อยๆ เกิดขึ้นโดยที่เราไม่ทันได้สังเกตเห็น เช่น รู้สึกปวดตามบริเวณเอว หลัง ข้อมือหรือเริ่มมีรูปร่างเปลี่ยนไป เช่น หลังโก่ง ไหล่งุ้ม หรือเตี้ยลง เป็นต้น บริเวณที่พบกระดูกหักจากภาวะกระดูกพรุนได้บ่อย ได้แก่ บริเวณกระดูกข้อมือ กระดูกหลัง และกระดูกสะโพก ซึ่งการหักของกระดูก โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณกระดูกสะโพกในคนที่มีภาวะกระดูกพรุนนั้น เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดความพิการ วิธีการที่ดีที่สุดที่จะรู้ได้ว่า คุณกำลังเสี่ยงต่อภาวะกระดูกพรุนหรือไม่ และมากน้อยเพียงใด คือ “การตรวจมวลกระดูก หรือการตรวจดูความหนาแน่นของกระดูก (Bone Densitometry)”

การตรวจดูความหนาแน่นของกระดูก (Bone densitometry) คืออะไร

การตรวจมวลกระดูก หรือ การตรวจดูความหนาแน่นของกระดูก (Bone Densitometry) เป็นการตรวจหาค่าความหนาแน่นของกระดูกตามส่วนต่างๆ เช่น กระดูกสันหลัง กระดูกสะโพก ข้อมือ และกระดูกทั้งตัว ว่ามีภาวะกระดูกพรุนมากน้อยเพียงใด โดยการใช้รังสีที่เรียกว่า Dual Energy X-ray Absorptiometry scanner หรือ DEXA scanner พลังงานต่ำสะท้อนภาพเนื้อเยื่อกระดูก ซึ่งจะทราบผลการตรวจอย่างรวดเร็ว แม่นยำ และปลอดภัย

ขั้นตอนการตรวจความหนาแน่นของกระดูก (Bone densitometry)

ก่อนการตรวจผู้เข้ารับการตรวจไม่จำเป็นต้องเตรียมตัวใดๆ เป็นพิเศษทั้งสิ้น สามารถตรวจได้เลย และในวันตรวจสามารถรับประทานอาหารและดื่มน้ำได้ตามปกติ เมื่อตรวจเสร็จแล้วก็สามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ โดยไม่มีรังสีใดๆ หลงเหลืออยู่ในตัว แต่อาจต้องมีการเปลี่ยนชุด จึงขอแนะนำให้ผู้เข้ารับการตรวจใส่ชุดที่สบาย ถอดเปลี่ยนได้ง่าย และไม่ใส่เครื่องประดับ

โดยทั่วไปแพทย์จะตรวจกระดูกที่มีโอกาสหักได้ง่ายจากโรคกระดูกพรุนใน 3 ตำแหน่ง ได้แก่ กระดูกสะโพก (Hip) กระดูกสันหลังส่วนเอว (Lumbar spine) และกระดูกแขนส่วนปลาย (Forearm) โดยเฉพาะกระดูกสะโพกและกระดูกสันหลังส่วนเอวที่นิยมตรวจกันมากที่สุด ใช้เวลาประมาณ 10-15 นาที และสามารถทราบผลได้ทันที

ทั้งนี้เราสามารถประเมินสภาวะโรคกระดูกพรุนโดยสามารถวัดได้จากค่า T-Score ซึ่งเป็นหน่วยวัดความหนาแน่นของกระดูกในเชิงเปรียบเทียบกับกระดูกของผู้อื่นที่อยู่ในวัย 30 ปี ที่ถือว่าเป็นวัยที่กระดูกกำลังมีความหนาแน่นสูงที่สุดเป็นมาตรฐาน ดังนี้

  • ค่า T-Score มากกว่า -1 ขึ้นไป = กระดูกหนาแน่นปกติ (Normal bone)
  • ค่า T-Score อยู่ระหว่าง -1 ถึง -2.5 = โรคมวลกระดูกน้อยหรือกระดูกบาง (Osteopenia)
  • ค่า T-Score ต่ำกว่า -2.5 = โรคกระดูกพรุน (Osteoporosis)

ใครบ้างควรตรวจวัดความหนาแน่นของกระดูก

การส่งตรวจวัดความหนาแน่นของกระดูก (Bone Densitometry) ได้ประโยชน์และคุ้มค่าในกลุ่มนี้

  1. ผู้หญิงที่มีอายุมากกว่า 65 ปี และผู้ชายที่มีอายุตั้งแต่ 70 ปีขึ้นไป
  2. ผู้หญิงที่หมดประจำเดือนเร็วกว่าอายุ 45 ปี (early menopause) รวมถึงผู้ที่ถูกตัดรังไข่ทั้งสองข้าง
  3. ผู้ที่มีฮอร์โมนเอสโตรเจนอยู่ในระดับต่ำต่อเนื่องนานกว่า 1 ปี ก่อนวัยหมดประจำเดือน เช่น เจ็บป่วยเรื้อรัง intensive exercise เป็นต้น ยกเว้นการตั้งครรภ์และให้นมบุตร
  4. ผู้ที่ได้รับยา Steroid เป็นเวลานาน (prednisolone มากกว่าหรือเท่ากับ 7.5 mg/day หรือเทียบเท่า นานกว่า 3 เดือน)
  5. บิดาหรือมารดามีกระดูกสะโพกหัก
  6. ผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนที่ส่วนสูงลดลง มากกว่าหรือเท่ากับ 4 cm.
  7. ผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนที่ BMI น้อยกว่า 20 kg/m2
  8. ผู้หญิงที่ได้รับการรักษาด้วย Aromatase Inhibitors หรือ ผู้ชายที่ได้รับการรักษาด้วย Androgen Deprivation Therapy
  9. ตรวจพบกระดูกบาง หรือ กระดูกสันหลังผิดรูปจาก X-ray
  10. มีประวัติกระดูกหักจากอุบัติเหตุที่ไม่รุนแรง (low trauma fracture)
  11. ประเมิน FRAX อยู่ใน intermediate risk
  12. ประเมิน OSTA score, KKOS score อยู่ในกลุ่มความเสี่ยงปานกลางขึ้นไป หรือ ความเสี่ยงจาก nomogram มากกว่าหรือเท่ากับ 0.3 ในหญิงหมดประจำเดือน
  13. สูบบุหรี่ ดื่มกาแฟมากกว่า 4 แก้วต่อวัน ดื่มน้าอัดลมมากกว่า 1 ลิตรต่อวัน บุคคลที่มีโรคหรือภาวะที่ทำให้มวลกระดูกลดลง เช่น ไตวาย เบาหวาน โรคข้ออักเสบ รูมาตอยด์ ภาวะต่อมพาราไทรอยด์ทางานมากเกินไป พิษสุราเรื้อรัง ธาลัสซีเมีย โรคมะเร็ง เป็นต้น

ใครบ้างที่ไม่ควรตรวจ

  1. ผู้หญิงตั้งครรภ์
  2. ผู้ที่เพิ่งเข้ารับการตรวจที่ต้องรับประทานสารทึบรังสี หรือสารกัมมันตรังสี
  3. ผู้ป่วยที่มีข้อจำกัดในการจัดท่าที่เหมาะสมสำหรับการตรวจ

ฉะนั้นการป้องกันไม่ให้เกิดภาวะกระดูกพรุน ควรสะสมมวลกระดูกตั้งแต่วัยเด็กและวัยรุ่น ด้วยการออกกำลังกายที่เหมาะสม เช่น การเดิน การวิ่ง การปั่นจักรยาน หรือการรำมวยจีน เป็นต้น การรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ โดยเฉพาะอาหารมีแคลเซียมสูง เช่น นม กุ้งแห้ง ปลาตัวเล็กที่กินได้ทั้งตัว ถั่วต่างๆ เต้าหู้ งาดำ ผักใบเขียว ได้แก่ ผักโขม คะน้า ชะพลู ใบยอ ลดอาหารมีไขมันสูง เพราะจะขัดขวางการดูดซึมแคลเซียม งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ งดสูบบุหรี่ ที่สำคัญอย่าลืมตรวจสุขภาพและตรวจวัดความหนาแน่นของมวลกระดูกอย่างน้อย 1 ครั้ง/ปี

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ศัพท์ทางทหาร military words แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 พจนานุกรมศัพท์ทหาร ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง ไทยแปลอังกฤษ ประโยค lmyour แปลภาษา การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ประปาไม่ไหล วันนี้ ฝยก. ย่อมาจาก หยน ห่อหมกฮวก แปลว่า เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษาจีน ่้แปลภาษา onet ม3 การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 1 ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง ตตตตลก บบบย ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ เขียน อาหรับ แปลไทย เนื้อเพลง ห่อหมกฮวก แปลไทย asus zenfone 2e กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น การประปานครหลวง ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบภาษาอังกฤษ ม.ปลาย พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ชขภใ ชื่อเต็ม ร.9 คําอ่าน ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน นยน. ย่อมาจาก ทหาร บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ฝสธ. ย่อมาจาก มัดหัวใจเจ้าชายเย็นชา 2 ซับไทย มัดหัวใจเจ้าชายเย็นชา 2 เต็มเรื่อง ยศทหารบก เรียงลําดับ ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 รัชกาลที่ 10 ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คอร์ด